ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - teepung
หน้า: [1]
1  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / ไม่ได้ยิน สัญญาณวิทยุ ตั้งแต่เวลา 15.20 น. ครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2013, 03:47:49 pm
ไม่ได้ยิน สัญญาณวิทยุ ตั้งแต่เวลา 15.20 น. ครับ

  แจ้งไว้เพื่อทราบครับ กำลังรับฟังบรายการต่อเนื่องครับ

    thk56
2  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สิ่งสูงสุด ของ พราหมณ์ และ พุทธ เมื่อ: ธันวาคม 27, 2012, 03:44:03 pm



๑.เรื่องสิ่งสูงสุด

ศาสนาพราหมณ์ (หรือฮินดู)  เป็นศาสนาประเภท "เทวนิยม" คือ เคารพยอมรับเรื่องเทพเจ้าเป็นสิ่งสูงสุดโดยเทพเจ้า ๓ องค์ที่ชาวฮินดูให้ความเคารพสูงสุด อันได้แก่

๑. พระพรหม    ที่เป็นเทพเจ้าผู้สร้างหรือให้กำเนิดทุกสิ่งใน  จักรวาลขึ้นมา

๒. พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์    เป็นเทพเจ้าผู้ปกป้องรักษา

๓. พระอิศวร หรือ พระศิวะ    เป็นเทพเจ้าผู้ทำลาย

เทพเจ้าทั้ง ๓ องค์นี้รวมเรียกว่า "ตรีมูรติ" ที่เป็นเทพเจ้าสูงสุด แต่ชาวฮินดูยังนับถือเทพเจ้ารอง ๆ ลงมาอีกมากมาย

ส่วน "พุทธศาสนา" จะสอนว่า  สิ่งสูงสุดในโลกและในจักรวาล ที่คอยควบคุมและบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปก็คือ "ธรรมชาติ" ที่แสดงออกมาในลักษณะของกฎของธรรมชาติที่ชื่อว่า "กฎอิทัปปัจจยตา" (คือกฎที่มีใจความสรุปว่า “ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องมีเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น”)


3  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การอธิษฐาน กรรมฐาน นั้นทำครั้งเดียวได้หรือไม่ ? เมื่อ: ธันวาคม 19, 2012, 08:32:54 pm
คือจำขั้นตอนไม่ได้ อธิษฐาน ก่อนนั่งกรรมฐาน ไปครั้งเดียวแล้ว ว่า พุทโธ ไปเรื่อย ๆ อย่างนี้ไปเลยได้หรือไม่ครับ คือไม่ต้องไปกำหนด นึก เลื่อน จิต อะไร ต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะพอนึกถึงอย่างนั้นแล้วรู้สึก อึดอัด บางครั้งไม่แน่ใจ ว่า ถูกหรือ ผิด เหมือนกับ การย้ำคิด ย้ำทำ ในจิต ทำให้รู้สึกสับสน เวลาภาวนาครับ

   :c017: :smiley_confused1: :25:
4  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทางสายกลาง หมายความว่า ทำให้สมดุลย์ ในดี และ ชั่ว ใช่หรือไม่ครับ เมื่อ: ตุลาคม 15, 2012, 08:51:03 pm
ทางสายกลาง หมายความว่า ทำให้สมดุลย์ ในดี และ ชั่ว ใช่หรือไม่ครับ
  คือ เราต้องรับไว้ทั้งดี และ ชั่ว ใช่หรือไม่ ครับ ถึงจะเรียกว่า ทางสายกลางครับ

   :49: :13: :)
5  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เรียนถามว่า อากาส กับ ลม ต่างกันอย่างไร ครับ เมื่อ: ตุลาคม 15, 2012, 08:48:20 pm
เรียนถามว่า อากาส กับ ลม ต่างกันอย่างไร ครับ
 หมายถึงเรื่อง ธาตุ นะครับ ว่าต่างกันอย่างไรครับ
ขอบคุณมากครับ

  :25: :smiley_confused1: :c017:
6  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถ้าท่านเข้าใจคำว่า "วิ่งตามหา เพชรบนหน้าผาก ทำไมกัน" เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2012, 08:42:52 pm
ปรารภเรื่องนี้มาจาก ที่ได้่ยินมาว่า หาเพชร หาให้เจอ เจอแล้ว หรือยัง สะดุดใจมาก ๆ ก็เลยค้นเมลข้อความเก่า ๆ รับมาครั้งนั้นอ่านไปเพียง รอบเดียว วันนี้หายไปกลับโปรแกรมที่ลงใหม่เสียแล้ว สะดุดใจแต่ยังจำชื่อเรื่องได้ คิดว่ามีในหัวข้อกระทู้ ค้นหาแล้วไม่เจอครับ เรื่อง

ถ้าท่านเข้าใจคำว่า "วิ่งตามหา เพชรบนหน้าผาก ทำไมกัน"

  ไม่ทราบว่าใครได้รับเมลเรื่อง นี้จากพระอาจารย์บ้างครับ ของผมหายไปแล้วครับคิดว่าเป็นธรรมบทความที่เป็นประโยชน์ นะครับ ใครมีนำมาโพสต์ให้อ่านได้หรือไม่ครับ คือ ผมนึกขึ้นได้ว่ามีประโยคเด็ดๆ โดนใจมากครับ

  เช่นมีประโยคหนึ่ง กล่าวว่า "เราเป็นครูอาจารย์ ที่ไม่ผูกพันลูกศิษย์ ใครใคร่ปฏิบัติอย่างไร ก็ตามใจเขา"
 
   "มีลูกศิษย์มาหาฉัน หน้าห้อง แล้วก็กลับ ไม่กล้าเรียกหรือบอก คิดว่าฉันไม่รู้่ ฉันรู้แต่ก็ทดสอบน้ำใจเขา"

 ถ้าใครมีเรื่องนี้นำมาโพสต์ ให้อ่านด้วยนะครับ
 

 :c017: :c017: :c017: :25:
7  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เป็นคนเชื่อยาก โดยเฉพาะเรื่องกรรมฐาน ควรจะเริ่มปฏิบัติอย่างไรในเบื้องต้นครับ เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 10:06:07 pm
คือผมเป็นคนนิสัย เชื่อยาก พูดตามตรงก็คือยังไม่ค่อยจะเชื่อเรื่อง ฌาน เรื่อง ภพหน้า อะไรประมาณนี้ครับ เพราะเหตุว่าเชื่อยาก ถ้าไม่พิสูจน์ให้เห็นก็เชื่อยากมากครับ จึงไม่รู้ว่าถ้าจะปฏิบัติกรรมฐาน โดยที่ไม่มีความเชื่ออย่างนี้ ควรจะเริ่มอย่างไร ดีครับ ในการภาวนาเบื้องต้น

   :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
8  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เมื่อได้ไปปฏิบัติธรรม ที่วัดอัมพวัน มาเล่าสู่กันฟัง เมื่อ: มีนาคม 29, 2012, 02:01:48 pm
ทั้งหมดทั้งมวลเป็นการปฏิบัติของเราเอง  เพราะเป็นความรู้ความเข้าใจเล็กๆน้อยของเราที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ซึ่งจะผิดหรือถูกนั้น อย่าเพิ่งเชื่อ ลองปฏิบัติดูค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติธรรมกันยิ่งๆขึ้นไป และอาจจะพอเป็นประโยชน์บ้างเล็กๆน้อยๆ

ใหม่ๆ เริ่มปฏิบัติเพียงเพื่ออยากเปลี่ยนตัวเอง ตรงที่มีนิสัยโกรธง่าย ถึงแม้จะหายเร็ว แต่บางทีเรื่องไร้สาระ ก็ยังทำให้โกรธได้ ซึ่งก็ไม่เข้าใจว่าทำไม ขออนุญาตเริ่มจากการไปฝึกสติจากวัดอัมพวัน เป็นวัดแรกที่ไปปฏิบัติแบบมีครูบาอาจารย์

พระคุณเจ้าจะย้ำเสมอว่า ควรจะเริ่มจากการสวดมนต์ เดินจงกรม แล้วค่อยนั่งสมาธิ ท่านให้ความเมตตา แนะนำเรื่องสติ ซึ่งตอนนั้น ทำตามคำแนะนำ ทำแบบโง่ๆแหละ เพราะโง่จริงๆ มาปฏิบัติด้วยศรัทธาในพระพุทธองค์และหลวงพ่อจรัญล้วนๆ ด้วยความหวังอย่างเดียวคือแก้ปัญหานิสัยเสียของตัวเอง

ขั้นตอนการปฏิบัติ คงไม่ได้เล่าอย่างละเอียด ยกเพียงแค่บางส่วนที่อาจจะมีประโยชน์กับผู้อื่นแม้เพียงเล็กน้อย ใหม่ๆนั้น การที่เริ่มสวดมนต์ก่อน ทำให้จิตลดความฟุ้งซ่านได้ในระดับนึง มาเดินจงกรม ซึ่งเป็นของใหม่ (เพราะก่อนหน้านั้นไม่รู้วิธี ได้แต่ทำมั่วๆ ตามสัญญาเลอะเลือนของเรา) ทำให้เราตั้งใจกับการเดินจงกรม พอถึงเวลาที่นั่งสมาธิ ฟุ้งซ่านจะน้อย แต่พอปฏิบัติไปจะมีเวทนาทางกายเกิดขึ้นบ่อยๆ เราก็อดทนตามที่พระคุณเจ้าแนะนำ ซึ่งตรงนี้สำหรับเรา คือประโยชน์สูงสุดในช่วงเวลานั้นๆ เพราะเราอาศัยตรงนี้ ทำให้จิตผูกกับอารมณ์เดียว สิ่งที่เราสังเกตตัวเราเองตอนปฏิบัติใหม่ๆ คือ เวทนาทางกายจะเกิดขึ้นรุนแรงช่วงใกล้จะหมดเวลาปฏิบัติ อดทนไปจนหมดเวลา ก็รู้สึกยินดี รีบขยับขา ซึ่งตรงนี้ต้องบอกว่าเสียโอกาส แต่ตอนนั้นไม่รู้



ปฏิบัติใหม่ๆ จะรู้สึกเหมือนวูบไป แวบหนึ่ง จะว่าหลับก็ไม่ใช่ แต่พอหายวูบเกิดความสงสัย ทีนี้ก็เริ่มฟุ้ง ก็เพราะสติไม่ไวพอ เกิดความสงสัยแล้วไม่รู้ตัว เลยโดนหลอกให้ตั้งคำถามขึ้นเยอะแยะกับตัวเอง  อาการฟุ้งของเราตอนปฏิบัติส่วนใหญ่จะเกิดขึ้น ตอนสมาธิลดระดับลง ซึ่งน่าจะเป็นกับผู้ปฏิบัติมากมาย ส่วนตัวขอแนะนำให้ ตามรู้ แต่อย่าเข้าไปช่วยปรุงแต่ง เช่นพอคิดปุ๊บก็กำหนดไป แล้วแต่สะดวก ส่วนตัวก็คิดหนอๆๆๆ มันมาอีก ก็กำหนดอีก ถ้าเราไม่มีสติ ไม่ระลึกรู้ ก็จะเกิดความฟุ้งซ่าน จนอาจเลิกปฏิบัติไปทั้งๆที่ยังไม่หมดเวลาที่ตั้งใจไว้ แรกๆจะไม่ชอบเลยเรื่องความฟุ้งซ่าน เพราะลืมที่จะใช้สติระลึกรู้ แต่พอเริ่มยอมรับมันว่า สภาพธรรมะของเราเป็นแบบนี้เอง ก็เริ่มที่จะฝึกให้มีสติตลอดเวลาที่นึกได้ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่สมาธิลดลง มันก็จะเกิดการเรียนรู้ ว่าไม่มีอะไรแน่นอน จิตที่ตั้งมั่นขึ้นเรื่อยๆ จนระดับหนึ่งแล้วก็อยู่อย่างนั้นพักหนึ่ง แล้วก็ค่อยๆลดลงมา แล้วก็ตั้งอยู่ และก็ค่อยๆเพิ่มขึ้น เป็นแบบนี้


ปีติในช่วงแรกๆ เราจะรู้สึกยินดีมากๆ ชอบมากๆ ที่เด่นชัดที่สุด ก็ตอนออกจากสมาธิ แล้วรู้ว่าตัวเองอยู่ในความสุข เป็นช่วงเวลาที่เดินเรียงแถวไปรับประทานอาหาร ภาพที่เกิดขึ้นภายนอกไม่สนใจ สนแต่ความสุขตรงนั้น จำไม่ได้ว่าตอนนั้นอารมณ์แบบนี้อยู่นานเท่าไหร่ จนเมื่อเกิดปีติอีกแบบซึ่งตอนนั้นไม่รู้ว่าคือปีติ เริ่มรู้สึกว่าตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หรือบางที ก็เหมือนที่ผิวหนังเป็นคลื่นๆ ยังไงไม่รู้ แต่ที่รับรู้ได้คือ ความสุขนั้นกลับมาอีกแล้ว ยินดีเป็นอย่างยิ่ง จนมีอยู่ครั้งหนึ่ง ปีติเกิดตอนสวดมนต์ ซึ่งเราเป็นคนชอบสวดมนต์ เราก็ไม่สนใจมัน แค่รับรู้ว่ามันมา พอรู้แล้วก็หายไป เป็นอยู่สองที อ้อ เลยทำให้เข้าใจว่า ไม่ว่าจะสนใจหรือไม่สนใจ มันเกิด แล้วมันก็ดับ แต่สิ่งที่ต่างกันคือ ถ้าสนใจ ก็เหมือนกับเราเข้าไปคลุกคลีกับมัน ก็เรียกว่าขาดสติ แล้วพอมันหายไป สิ่งที่ตามมา คืออารมณ์ต่างๆที่จะเข้ามา โดยเราจะตั้งรับกับมันทันบ้างไม่ทันบ้าง ส่วนใหญ่จะไม่ทัน แต่ถ้าเราระลึกรู้ พอมันดับไป สมาธิก็ยังอยู่ (แต่อย่างไรเสีย ก็อย่าไปคิดว่าจะอยู่เช่นนั้นตลอด) และที่สำคัญสติก็ยังอยู่ พร้อมจะเผชิญสภาวะธรรมต่างๆได้ เลยทำให้เข้าใจขี้นเล็กน้อยว่า ไม่ใช่แค่เรื่องสมาธิลด ปีติก็ด้วย และก็ในทุกๆสภาพธรรมที่เกิดขึ้น

จากที่บอก เราจะเกิดเวทนาบ่อยมากๆ แล้วเราก็ไม่หนี แต่วิธีอาจจะไม่ถูกต้องนัก มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลังจากปฏิบัติมาได้พักหนึ่งแล้ว เราจะสังเกตตั้งแต่ ขาเริ่มเป็นเหน็บชา ดูมันตั้งแต่เห็นว่าเริ่มมีเหมือนประจุไฟ เกิดแบบไวมากๆ เริ่มจากน้อยไปหามากแผ่กระจายไปทั่ว จนมันรวมกันเป็นหนึ่ง แล้วความเจ็บปวดก็ทวีตามจนสูงสุดในช่วงเวลานั้นๆ ก็ดูมันไป แต่ก็ยังคลุกอยู่ตรงนั้น จนมันค่อยๆจาง เหมือนกรอเทปกลับ ประจุไฟ จากที่รวมกัน ก็เริ่มน้อยลง จนหายไป แสงสว่างก็เริ่มกลับมา แต่ลึกๆแล้ว ยังมีความกลัวอยู่มากๆ รู้เลยว่าต้องเกิดอะไรขึ้น เพราะเหตุการณ์นี้มันเคยเกิดกับเราแล้ว คือเหมือนมันจะดึงเราเข้าไปในแสงสว่าง เราคอยดูอยู่ที่จิตที่มันดิ้นรนกระวนกระวายและความกลัว สุดท้าย จิตมันแยกออกมาดู ไม่ปะปนกับอารมณ์ เห็นทั้งแสงสว่างที่ยังอยู่ และอารมณ์ที่กลัว มันจะไวมากๆ พอถูกดึง ก็รู้สึกเจ็บเหมือนดึงกันไปมา แต่ตัวที่ดูก็ยังอยู่ สลับกันไปมา จนสุดท้าย แสงสว่างหายไป ตรงนี้ ทำให้เข้าใจ ทำให้รู้นิดๆ เรื่อง จิตที่แยกออกมาจากอารมณ์ เหตุการณ์แบบนี้นั้น มิใช่เกิดขึ้นเสมอ และมิใช่เกิดจากทางเดียว มีอีกหลายหลากวิธีที่จิตจะแยกออกจากอารมณ์ สุดแล้วแต่สภาพธรรมที่เกิดขึ้นของแต่ละท่าน




เมื่อปฏิบัติแล้ว ถึงได้เข้าใจ ศีลนั้นสำคัญเช่นไร ศีลเป็นตัวคุมสมาธิ ให้ไปในทางที่ถูกที่ควร ไม่ใช่ว่าไม่มีศีลแล้วจะทำสมาธิไม่ได้ ทำได้ อย่างเช่นบุคคลที่ชอบทางไสยศาสตร์ ท่านเหล่านั้นล้วนได้สมาธิระดับหนึ่ง แต่กิเลสไม่ลดลง อาจจะทำให้เพิ่มขึ้นพร้อมๆกับสมาธิด้วยซ้ำ ยิ่งเราพยายามรักษาให้ศีลบริสุทธิ์มากเท่าใด เราก็คุมกายวาจาใจเรามากเท่านั้น ควบคู่กับการทำสมาธิ โอกาสที่จะเป็นมิจฉาสมาธิ ก็น้อยตาม เรื่องปัญญาไม่ต้องพูดถึง เมื่อเราไม่รักษาศีล  แล้วอะไรจะเป็นตัวทำให้เกิดปัญญาถ้าไม่มีสัมมาสมาธิ สัมมาสติ
จริงอย่างที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ศีล สมาธิ ปัญญา

เจริญในธรรมค่ะทุกๆท่าน

จากคุณ    : คุณป้าจำเป็น
9  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / แผ่เมตตา ด้วยความสงสัย ผู้รับการแผ่เมตตา จะได้ส่วนบุญประมาณไหน จ๊ะ เมื่อ: มีนาคม 29, 2012, 01:52:45 pm
1. เวลานั่งสมาธิสวดมนต์ เราจะแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลให้ทุก ๆ สรรพชีวิตเลยค่ะ

คำถามก็คือ เราแผ่เมตตาเสร็จแล้วก็อุทิศส่วนกุศล และอธิษฐานจิตแบบนี้ เขาจะได้รับไหมคะ?
หรือได้รับเฉพาะคนที่เราเอ่ยชื่อ?? มีตัวอย่างของการแผ่เมตตาแล้ว ได้รับกำลังที่เราแผ่เมตตาให้คะ

2. เวลาที่เราสงสัยว่าเขาจะได้หรือไม่ ( คือไม่ค่อยจะเชื่อมั่น ) อย่างนี้เขาจะได้รับบุญที่เราแผ่ไปให้ กี่เปอร์เซ็นคะ คือจะได้รับ หรือ ไม่ได้รับ

3. เราแผ่เมตตาออกไปแล้ว กาย จิต ของเราควรเป็นอย่างไร คะ


  :25: :c017:

10  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / เรื่อง จริง ที่เด็กไทย ต้องเจอ เมื่อ: มีนาคม 29, 2012, 01:44:14 pm


Uploaded by pooztheclassiciamcnx on Mar 22, 2012

ไม่มีผลประโยชน์ใดๆครับ แค่อยากบอกบางอย่างกับสังคม


  อันที่จริง วีดีโอ นี้ผมดูจบแล้ว ก็รู้สึถึงการมีศีลธรรม แต่ การมีศีลธรรมถ้าจะเริ่ม ๆ ตรงไหนผมเองก็คิดว่าผมเป็นคนดีไม่เคยไปเบียดเบียนใคร แต่ตัวผมเองก็ถูกเบีิยดเบียนประจำ ถูกเบียดเบียนจน แทบจะไม่เหลือที่จะยืนแล้ว อยากจะช่วย แล้วจะำทำอย่างไร จัง

    ดูวิดีโอนี้ จบ แล้วท่านคิดอย่างไร

    1.โลกก็เป็นอย่างนี้ เฉย ๆ ดี กว่า
    2.อยากช่วยให้เด็ก เยาวชน มีศีลธรรม มากขึ้น
    3.มองหาปัญหา และพยายามจะช่วยเหลือ
    4.อื่น ๆ ......

 :coffee2: :coffee2: :coffee2:

หน้า: [1]