ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: โพสต์ที่ ๙๙๙ กับ ๙๙๙ นิ้วของ"อหิงสกะ"  (อ่าน 5008 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
โพสต์ที่ ๙๙๙ กับ ๙๙๙ นิ้วของ"อหิงสกะ"
« เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 07:57:14 pm »
0
โพสต์ที่ ๙๙๙ กับ ๙๙๙ นิ้วของ"อหิงสกะ"

เพื่อนๆครับ การโพสต์ของผมเดินทางมาถึงโพสต์ที่ ๙๙๙ แล้วครับ
เป้าหมายของผมไม่ใช่การหยุดโพสต์ไว้เท่านี้ แต่จะบอกถึงนัยยะสำคัญของเลขเก้า

เลขเป็นเลขมหามงคลของคนไทย ทำการอะไรก็จะถือเลขก้าวเป็นหลัก
สถานีโทรทัศน์วัดสังฆทาน ใช้ชื่อว่า SBB TV ๙๙๙
โรงพยาบาลแพทย์แผนโบราณของที่นี้ก็มีชื่อที่ลงท้ายด้วย ๙๙๙ 
บ้านสวนพีระมิด ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่ ก็ใช้รหัสทำบุญด้วยเลขเก้าเหมือนกัน


ลองคิดกันเล่นๆนะครับ องคุลีมาลฆ่าคนมาแล้ว ๙๙๙ คน แล้วได้พบพระพุทธเจ้า สำเร็จโสดาบัน
ด้วยคำเทศน์ไม่กี่ประโยค เรื่องนี้เป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ 

หลายคนอาจสงสัยว่า องคุลีมาลฆ่าสัตว์มามาก แล้วทำไมสำเร็จอรหันต์
ขออธิบายว่า องคุลีมาลฆ่าคนโดยไม่ได้มีจิตประทุษร้าย แต่ทำไปเพราะ มิจฉาทิฏฐิ
หลงเชื่อคำอาจารย์ และอีกอย่าง คนที่องคุลีมาลฆ่า
ในชาติก่อนๆได้ร่วมกันฆ่าองคุลีมาลมาแล้ว
ชาตินี้เลยถูกองคุลีมาลฆ่าบ้าง เป็นเรื่องกรรมตามสนองนั่นเอง


และยังมีเรื่องที่หลายคนไม่ทราบ อย่างเช่น องคุลีมาลบวชแล้วอยู่ป่าเป็นวัตร และฉันมื้อเดียว

จะอย่างไรก็ตาม ผมถือโอกาสนี้ เสนอเรื่ององคุลีมาลโดยพิสดาร
ในพระสูตรได้กล่าวถึง องคุลีมาลเอาไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอเสนอไปตามลำดับดังนี้


พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๖. อังคุลิมาลสูตร


        พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดองคุลิมาลโจร
   [๕๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
   สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล ในแว่นแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีโจรชื่อว่าองคุลีมาล
เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจ มั่นในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย.
องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำชนบท
ไม่ให้เป็นชนบทบ้าง. เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้.

    ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นแล้วในเวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บ
เสนาสนะ ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จดำเนินไปตามทางที่องคุลิมาลโจรซุ่มอยู่.

พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมา ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินไปตามทางที่
องคุลิมาลโจรซุ่มอยู่ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไปทางนั้น
ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่าองคุลิมาลเป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความ
กรุณาในสัตว์ทั้งหลาย


องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็น
นิคมบ้าง กระทำชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวง
ทรงไว้ ข้าแต่สมณะ พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อมรวม
เป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ แม้บุรุษผู้นั้นก็ยังถึงความพินาศ เพราะมือขององคุลิมาลโจร.
เมื่อคนพวกนั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง ได้เสด็จไปแล้ว.

   [๕๒๒] แม้ครั้งที่สอง พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมา
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไปทางนั้น ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่าองคุลิมาล
เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย
องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำชนบท
ไม่ให้เป็นชนบทบ้าง

เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ข้าแต่สมณะ
พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อมรวมเป็นพวกเดียวกันเดิน
ทางนี้ ข้าแต่สมณะ แม้บุรุษพวกนั้นก็ยังถึงความพินาศเพราะมือขององคุลิมาล ดังนี้. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง ได้เสด็จไปแล้ว.


   [๕๒๓] แม้ครั้งที่สาม พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมา
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไปทางนั้น ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่าองคุลิมาล
เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย
องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำชนบท
ไม่ให้เป็นชนบทบ้าง

เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ข้าแต่สมณะ
พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อมรวมเป็นพวกเดียวกัน
เดินทางนี้ ข้าแต่สมณะ แม้บุรุษพวกนั้นก็ยังถึงความพินาศเพราะมือขององคุลิมาลโจร ดังนี้.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง ได้เสด็จไปแล้ว.

   [๕๒๔] องคุลิมาลโจรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล. ครั้นแล้วเขาได้มีความ
ดำริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีเลย พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี
สี่สิบคนก็ดี ก็ยังต้องรวมเป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ แม้บุรุษพวกนั้นยังถึงความพินาศเพราะ
มือเรา เออก็สมณะนี้ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนชรอยจะมาข่ม

ถ้ากระไร เราพึงปลงสมณะเสียจากชีวิต
เถิด. ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรถือดาบและโล่ห์ผูกสอดแล่งธนู ติดตามพระผู้มีพระภาคไปทาง
พระปฤษฎางค์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร โดยประการที่องคุลิมาลโจร
จะวิ่งจนสุดกำลัง ก็ไม่อาจทันพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปตามปกติ.


   ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรได้มีความดำริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีเลยด้วยว่าเมื่อก่อน
แม้ช้างกำลังวิ่ง ม้ากำลังวิ่ง รถกำลังแล่น เนื้อกำลังวิ่ง เราก็ยังวิ่งตามจับได้ แต่ว่าเราวิ่งจน
สุดกำลัง ยังไม่อาจทันสมณะนี้ซึ่งเดินไปตามปกติ ดังนี้ จึงหยุดยืนกล่าวกะพระผู้มีพระภาคว่า
จงหยุดก่อนสมณะ จงหยุดก่อนสมณะพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่า
จงหยุดเถิด.

        องคุลิมาลโจรละพยศ
   [๕๒๕] ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรดำริว่า สมณศากยบุตรเหล่านั้นมักเป็นคนพูดจริง
มีปฏิญญาจริง แต่สมณะรูปนี้เดินไปอยู่เทียว กลับพูดว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่าจง
หยุดเถิด ถ้ากระไร เราพึงถามสมณะรูปนี้เถิด.

   ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถา ความว่า
    ดูกรสมณะ ท่านกำลังเดินไป ยังกล่าวว่า เราหยุดแล้ว และ
    ท่านยังไม่หยุด ยังกล่าวกะข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่าไม่หยุด ดูกร
    สมณะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน ท่านหยุดแล้วเป็น
    อย่างไร ข้าพเจ้ายังไม่หยุดแล้วเป็นอย่างไร?


   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรองคุลิมาล เราวางอาชญาในสรรพสัตว์ได้แล้ว จึงชื่อว่า
    หยุดแล้วในกาลทุกเมื่อ ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย
    เพราะฉะนั้นเราจึงหยุดแล้ว ท่านยังไม่หยุด.


   องคุลิมาลโจรทูลว่า
    ดูกรสมณะ ท่านอันเทวดามนุษย์บูชาแล้ว แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
    มาถึงป่าใหญ่เพื่อจะสงเคราะห์ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานหนอ ข้าพเจ้า
    นั้นจักประพฤติละบาป เพราะฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรม
    ของท่าน

    องคุลิมาลโจรกล่าวดังนี้แล้ว ได้ทิ้งดาบและอาวุธ
    ลงในเหวลึกมีหน้าผาชัน องคุลิมาลโจรได้ถวายบังคมพระบาท
    ทั้งสองของพระสุคต แล้วได้ทูลขอบรรพชากะพระสุคต ณ ที่
    นั้นเอง.


    ก็แลพระพุทธเจ้าผู้ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรง
    แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลกกับทั้งเทวโลก ได้
    ตรัสกะองคุลิมาลโจรในเวลานั้นว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด
    อันนี้แหละเป็นภิกษุภาวะขององคุลิมาลโจรนั้น ดังนี้.

   ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีพระองคุลิมาลเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จจาริกไปทางพระนคร
สาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงพระนครสาวัตถีแล้ว.


             พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้า
   [๕๒๖] ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้น หมู่มหาชนประชุมกันอยู่ที่ประตูพระราชวัง
ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งเสียงอื้ออึงว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีโจร
ชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์
ทั้งหลาย

องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง
กระทำชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ขอ
พระองค์จงกำจัดมันเสียเถิด.

   ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยกระบวนม้าประมาณ
๕๐๐ เสด็จเข้าไปทางพระอารามแต่ยังวันทีเดียว เสด็จไปด้วยพระยานจนสุดภูมิประเทศที่ยานจะ
ไปได้ เสด็จลงจากพระยานแล้ว ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 06, 2011, 09:36:21 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: โพสต์ที่ ๙๙๙ กับ ๙๙๙ นิ้วของ"อหิงสกะ"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 08:23:18 pm »
0
[๕๒๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่งแล้วว่า ดูกรมหาบพิตร พระเจ้าแผ่นดินมคธจอมเสนา ทรงพระนามว่า พิมพิสาร ทรงทำ     
ให้พระองค์ทรงขัดเคืองหรือหนอ หรือเจ้าลิจฉวี เมืองเวสาลี หรือว่าพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์
เหล่าอื่น?

   พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธ จอม
เสนาทรงพระนามว่า พิมพิสาร มิได้ทรงทำหม่อมฉันให้ขัดเคือง แม้เจ้าลิจฉวีเมืองเวสาลี
ก็มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่น ก็มิได้ทำให้หม่อมฉัน
ขัดเคือง

แต่ข้าพระองค์ผู้เจริญ ในแว่นแคว้นของหม่อมฉัน มีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคน
หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาล
โจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำชนบทไม่ให้
เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ หม่อมฉันจักกำจัด
มันเสีย.

   ภ. ดูกรมหาราช ถ้ามหาบพิตรพึงทอดพระเนตรองคุลิมาลผู้ปลงผมและหนวด นุ่งห่ม
ผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้น
จากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารหนเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มหาบพิตรจะพึงทรงกระทำอย่างไร
กะเขา?

   ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงไหว้ พึงลุกรับ พึงเชื้อเชิญด้วยอาสนะ พึง
บำรุงเขาด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือพึงจัดการรักษา
ป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่องคุลิมาลโจรนั้น เป็นคนทุศีล
มีบาปธรรม จักมีความสำรวมด้วยศีลเห็นปานนี้ แต่ที่ไหน?


            ทรงเห็นพระองคุลิมาลแล้วตกพระทัย
   [๕๒๘] ก็สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาล นั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
ทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นชี้ตรัสบอกพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ดูกรมหาราช นั่นองคุลิมาล.
ลำดับนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงมีความกลัว ทรงหวาดหวั่น พระโลมชาติชูชันแล้ว. พระผู้มี

พระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกลัว ทรงหวาดหวั่น มีพระโลมชาติชูชันแล้ว
จึงได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า อย่าทรงกลัวเลย มหาราช อย่าทรงกลัวเลย มหาราช
ภัยแต่องคุลิมาลนี้ไม่มีแก่มหาบพิตร.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระงับความกลัว ความ
หวาดหวั่น หรือโลมชาติชูชันได้แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาท่านองคุลิมาลถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้
ตรัสกะท่านองคุลิมาลว่า ท่านผู้เจริญ พระองคุลิมาลผู้เป็นเจ้าของเรา.

   ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า อย่างนั้น มหาราช.
   ป. บิดาของพระผู้เป็นเจ้ามีโคตรอย่างไร มารดาของพระผู้เป็นเจ้ามีโคตรอย่างไร?
   อ. ดูกรมหาบพิตร บิดาชื่อ คัคคะ มารดาชื่อ มันตานี.
   ป. ท่านผู้เจริญ ขอพระผู้เป็นเจ้าคัคคะมันตานีบุตร จงอภิรมย์เถิด ข้าพเจ้าจักทำ
ความขวนขวาย เพื่อจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระผู้เป็นเจ้า
คัคคะมันตานีบุตร.


   ก็สมัยนั้น ท่านองคุลิมาล ถือการอยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร. ครั้งนั้น ท่านองคุลิมาลได้ถวายพระพรพระเจ้าปเสนทิ
โกศลว่า อย่าเลย มหาราช ไตรจีวรของอาตมภาพบริบูรณ์แล้ว.

   [๕๒๙] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคแล้วจึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ที่พระผู้มีพระภาคทรงทรมานได้ซึ่งบุคคลที่ใครๆ
ทรมานไม่ได้ ทรงยังบุคคลที่ใครๆ ให้สงบไม่ได้ ให้สงบได้ ทรงยังบุคคลที่ใครๆ ให้ดับไม่ได้
ให้ดับได้

เพราะว่าหม่อมฉันไม่สามารถจะทรมานผู้ใดได้ แม้ด้วยอาชญา แม้ด้วยศาตรา ผู้นั้น
พระผู้มีพระภาคทรงทรมานได้โดยไม่ต้องใช้อาญา ไม่ต้องใช้ศาตรา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
หม่อมฉันขอทูลลาไปในบัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ขอ
มหาบพิตรจงทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกจากที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วเสด็จหลีกไป.



              พระองคุลิมาลโปรดหญิงมีครรภ์
   [๕๓๐] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี. กำลังเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี
ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก. ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง
หนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ ดังนี้.

ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี
เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี
ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก. ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ
สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ ดังนี้.


   [๕๓๑] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น
และกล่าวกะสตรีนนอย่างนี้ว่า ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาแล้วจะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์
จากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์
ของท่านเถิด.

   ท่านพระองคุลิมาลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อาการนั้นจักเป็นอันข้าพระองค์
กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์แกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตเป็นอันมาก.

   ภ. ดูกรองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น แล้วกล่าวกะสตรีนั้น
อย่างนี้ว่า ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วในอริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจาก
ชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของ
ท่านเถิด.

   พระองคุลิมาลทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว
กะหญิงนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เวลาที่ฉันเกิดแล้วในอริยชาติ จะแกล้งปลงสัตว์
จากชีวิตทั้งรู้หามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์
ของท่านเถิด.


   ครั้งนั้น ความสวัสดีได้มีแก่หญิง ความสวัสดีได้มีแก่ครรภ์ของหญิงแล้ว.

              พระองคุลิมาลบรรลุพระอรหัต
   [๕๓๒] ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาล หลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด พรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่น
ยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน
แล้วเข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี ดังนี้. ก็ท่านพระองคุลิมาลได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระ
อรหันต์ทั้งหลาย.

   [๕๓๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตในพระนครสาวัตถี. ก็เวลานั้นก้อนดิน ...  ท่อนไม้ ...  ก้อนกรวดที่บุคคลขว้างไปแม้
โดยทางอื่นก็มาตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่านพระองคุลิมาลศีรษะแตก โลหิตไหล
บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ฉีกขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ. พระผู้มีพระภาคได้ทอด
พระเนตรท่านพระองคุลิมาลเดินมาแต่ไกล

ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระองคุลิมาลว่า เธอจงอด
กลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุ จะให้เธอ
พึงหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดปีเป็นอันมาก ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก ตลอดพันปีเป็นอันมาก
ในปัจจุบันนี้เท่านั้น.


       พระองคุลิมาลเปล่งอุทาน
   [๕๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลไปในที่ลับเร้นอยู่
    เสวยวิมุติสุข เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

    ก็ผู้ใด เมื่อก่อน ประมาท ภายหลัง ผู้นั้น ไม่ประมาท เขา
    ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดังพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น
    ผู้ใด ทำกรรมอันเป็นบาปแล้ว ย่อมปิดเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้น
    ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น
   
    ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมขวนขวายในพระพุทธศาสนา
    ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ
    ฉะนั้น ขอศัตรูทั้งหลายของเรา จงฟังธรรมกถาเถิด ขอศัตรูทั้ง
    หลายของเรา จงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด ขอมนุษย์ทั้ง
    หลายที่เป็นศัตรูของเรา

    จงคบสัตบุรุษผู้ชวนให้ถือธรรมเถิด
    ขอจงคบความผ่องแผ้วคือขันติ ความสรรเสริญคือเมตตาเถิด
    ขอจงฟังธรรมตามกาล และจงกระทำตามธรรมนั้นเถิด ผู้ที่เป็น
    ศัตรูนั้น ไม่พึงเบียดเบียนเราหรือใครๆ อื่นนั้นเลย ผู้ถึงความ
    สงบอย่างยิ่งแล้ว พึงรักษาไว้ซึ่งสัตว์ที่สะดุ้งและที่มั่นคง คนทด
    น้ำ ย่อมชักน้ำไปได้ ช่างศร ย่อมดัดลูกศรได้ ช่างถาก ย่อมถาก
    ไม้ได้ ฉันใด

     บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมทรมานตนได้ ฉันนั้น คน
    บางพวก ย่อมฝึกสัตว์ ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้
    บ้าง เราเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงฝึกแล้ว โดยไม่ต้องใช้อาญา
    ไม่ต้องใช้ศาตรา


    เมื่อก่อน เรามีชื่อว่าอหิงสกะ แต่ยังเบียดเบียน
    สัตว์อยู่ วันนี้ เรามีชื่อตรงความจริง เราไม่เบียดเบียนใครๆ เลย
    เมื่อก่อน เราเป็นโจร ปรากฏชื่อว่าองคุลิมาล ถูกกิเลสดุจ
    ห้วงน้ำใหญ่พัดไป มาถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแล้ว

    เมื่อก่อนเรามีมือเปื้อนเลือด ปรากฏชื่อว่า องคุลิมาล ถึงพระพุทธเจ้า
    เป็นสรณะ จึงถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพเสียได้ เรากระทำ
    กรรมที่จะให้ถึงทุคติเช่นนั้นไว้มาก อันวิบากของกรรมถูกต้อง
    แล้ว เป็นผู้ไม่มีหนี้ บริโภคโภชนะ

    พวกชนที่เป็นพาลทราม
    ปัญญา ย่อมประกอบตามซึ่งความประมาท ส่วนนักปราชญ์
    ทั้งหลาย ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อัน
    ประเสริฐ ฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงอย่าประกอบตามซึ่งความ
    ประมาท อย่าประกอบตามความชิดชมด้วยสามารถความยินดี
    ในกาม 

    เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งอยู่ ย่อมถึงความสุข
    อันไพบูลย์ การที่เรามาสู่พระพุทธศาสนานี้นั้น เป็นการมาดีแล้ว
    ไม่ปราศจากประโยชน์ ไม่เป็นการคิดผิด บรรดาธรรมที่พระผู้
    มีพระภาคทรงจำแนกไว้ดีแล้ว

    เราก็ได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐ
    สุดแล้ว (นิพพาน) การที่เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดนี้
    นั้น เป็นการถึงดีแล้ว ไม่ปราศจากประโยชน์ ไม่เป็นการคิด
    ผิด วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำ
    แล้วดังนี้.

       จบ อังคุลิมาลสูตร ที่ ๖.

ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 06, 2011, 09:58:50 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: โพสต์ที่ ๙๙๙ กับ ๙๙๙ นิ้วของ"อหิงสกะ"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 09:25:16 am »
0
บุพกรรมขององคุลีมาล
โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ


                        “หลวงพ่อคะ  หนูเคยอ่านเรื่องกฎของกรรมเรื่องหนึ่ง  คือ  นายแดงเป็นคนเนรคุณพ่อแม่และเคยทุบตีพ่อแม่  พอแกมีลูกออกมาลูกก็มีอาการเหมือนกับพ่อค่ะ  คงจะเป็นกฎของกรรมของนายแดง  แต่ หนูคิดว่าลูกของนายแดงจะต้องมีบาปเหมือนกันใช่ไหมคะ....”

                        ก็ไม่ใช่บาป

                        “แล้วกฎของ กรรมจะบันดาลให้เป็นอย่างไรคะ...”

                        นายแดงเป็นคนอกตัญญูไม่รู้คุณพ่อ แม่  ตีพ่อตีแม่ นายแดงก็เป็นคนมีจิตเลว  ฉะนั้นเด็กที่จะต้องมาเกิดด้วยก็ต้องเป็นเด็กเลว ๆ มาเกิด  คือว่าเด็กที่จะมาเกิดร่วมกันส่วนใหญ่จะต้อง มีศรัทธาเสมอกัน  มีจาคะเสมอกัน  มี ปัญญาเสมอกัน  มีศีลเสมอกัน  เสมอ กับพ่อแม่  จึงจะเข้าสู่ครรภ์ตระกูลนั้นได้

                        แต่ว่าไอ้กรรมที่เป็นอกุศลย่อมให้ ผลต่างวาระ  บางทีตอนเป็นเด็ก ๆ แกดี  ตอนโตอาจเลวไปชั่วขณะหนึ่งก็ได้

                        หมายความว่า  กรรม ที่เป็นอกุศลเดิมเข้ามาสิงจิตในช่วงกลางนะ  และใน ช่วงหนึ่งของชีวิต  เขาอาจจะมีดีในตอนปลายมือก็ได้  เพราะว่าตอนต้น ๆ พ่อเลวแม่เลว  แต่ เขาอาจมีดีอยู่  เป็นเพราะช่วงของกรรมเขาเกิดมาใน ช่วงนั้น  กรรมที่เป็นอกุศลมันให้ผลไปก่อน  แต่ว่ากรรมที่เป็นกุศลคือความดีมันอาจจะมาทีหลัง

                        “อย่าง นั้น  พระองคุลีมาลที่ต้องเป็นโจรฆ่าคนเอานิ้วมือ  ก็คงเป็นกฎของกรรมใช่ไหมคะ......”
 

                        อันนี้ก็เป็นกฎของกรรม  คือถอยหลังจากชาตินี้ไปหนึ่งชาติ  ก่อน ที่จะเกิดมาเป็นคน  ท่านเกิดเป็นควายป่า  เป็นควายแต่ว่ามีความสามารถมาก  มี ความเก่งกล้ามาก  สัตว์ในป่าทุกประเภทไม่มีใครสู้ได้ เลย  มีความว่องไว  เขาก็แหลม คม  มีกำลังดีมาก  ปะทะกันก็ แพ้หมดทุกประเภท  สัตว์ในป่าทุกประเภทเห็นท่านเดินไป ก็ยอมซูฮก

                        ทีนี้แกก็นึกในใจว่า  อ้ายสัตว์ที่อยู่ในป่าทั้งหมดเป็นลูกน้องของเราทั้งหมด  แต่อ้ายสัตว์ชาวบ้านเขาเลี้ยงมันจะเก่งแค่ไหน  เลยออกมาก็ไล่ขวิดวัวควายช้างม้าเตลิดเปิดเปิงหมด  ออกมาทีไรก็ทำแบบนั้นทุกคราว  ชาว บ้านเขาก็รำคาญ  เขาก็โกรธอ้ายควายป่าตัวนี้  ออกมาทีไรทำควายเราตายเสียบ้าง   ทำ ให้ทุพพลภาพไปบ้าง  บางทีก็เพลียไปบ้าง ใช้งานไม่ได้ตั้งหลายวัน เพราะวิ่งหนี

                        วันหนึ่งคนหมู่บ้านแถวนั้นก็มาคิด กันว่า  อ้ายควายตัวนี้ในไม่ช้ามันก็มาอีก  ถ้ามาทีนี้จะต้องฆ่าให้ตาย  คน ทั้งหมดมันมีพันคนเศษ  ก็ทำคอกให้แน่นหนาไว้  แล้วก็ทำเป็นซองคล้าย ๆ โป๊ะ  รู้จัก โป๊ะไหม

                        “ไม่รู้จักค่ะ”

                        เหมือนอย่งกับโป๊ะปลาทำปากกว้าง ๆ ซองแคบ  ข้างในเขาทำแน่นหนา  ถ้า วิ่งเข้ามา  พอถึงซองแคบตัวก็จะติด  เข้า ถึงคอกไม่ได้  เขาก็เอาควายไปไว้ในนั้น

                        ทีนี้ควายป่าตัวนั้นก็ออกเบิ่ง หน้าเบิ่งหลังซิ  ควายอื่นเห็นก็วิ่งหนีหมด  อ้ายควายคอกไม่หนี  หนีไปไหนล่ะ ใช่ไหม  แกก็โมโห   อ้ายนี่ มันหยิ่งนี่ ไม่กลัว  กูต้องจัดการ  วิ่ง ไปวิ่งมา มองหาทางเข้า  อ้อ..ไอ้ทางปากช่องเข้าได้  พอถึงที่แคบ  ตัววิ่งมาแรง  กระแทกเข้าไปก็ติด ขยับตัวไม่ได้  เขา ก็เสียบไม้  กันออก


                        ทีนี้ก็เอาซิ  เข่า เข้าไป  ศอกเข้าไป  แต่วาคน พันคน ไม่ได้ทุบทั้งพันคนนะ   พวกผู้หญิงพวกผู้ชาย ไม่ได้ลงมือตีทั้งหมด  แต่ว่าพร้อมใจตีให้ตาย  พอตีลงไปแล้ว  ก่อนจะสิ้นใจตายแก ก็ลืมตาดู  ไอ้พวกนี้มันมาก  กู คนเดียว มึงรุมฆ่ากู  ถ้าชาติหน้ามีจริงก็ขอฆ่ามึง บ้าง  นี่เป็นเวรที่จองกันไว้

                        พอเกิดมาอีกชาติหนึ่ง  พ่อตั้งชื่อให้ว่า  อหิงสกกุมาร  แปลว่ากุมารผู้ไม่เบียดเบียน  พอ เกิดมาแล้ว สติปัญญาดี  จริยามรรยาทก็ดี  ความจริงท่านเป็นคนดีมาก  พอโต ขึ้นมาหน่อย  พ่อก็พามาเฝ้าประเจ้าปเสนทิโกศล

 
กรรมเก่า เข้ามาสนอง

                        ทีนี้เวลา ไปเรียนศิลปวิทยา  เพราะความดีของท่าน  เขาเรียนกัน 4 ปี ท่านเรียน 2 ปี จบหลักสูตรทั้งหมด  ทั้งฝ่ายบู๊ ฝ่ายบุ๋น  ทั้งเพลงอาวุธด้วย  เมื่อลูกศิษย์คนอื่น ๆ สู้ไม่ได้ อาจารย์ก็ให้เป็นครูสอนแทน  ทีนี้ไอ้เพื่อนที่ไปด้วย กันมันอิจฉา  มาด้วยกันเสือกมาเป็นครู  ตอนนี้กรรมเก่าเข้ามาสนอง  ก็หาทางจะฆ่า  เลยไปยุอาจารย์  บอกว่าอหิงสก กุมารมันคิดจะตั้งตัวเป็นอาจารย์เสียเอง  มันจะฆ่า ท่านอาจารย์

                        ไอ้ลมพายุมันพัดแล้วก็ไป  แต่ไอ้ลมปากคนมันพัดบ่อย ๆ ก็ชักไหวเหมือนกัน  ตอนหลังท่านอาจารย์ก็เชื่อ  ก็คิด ในใจว่า  ถ้าเราจะฆ่าเสียเองมันจะเสียชื่อ  ทางที่ดีให้คนอื่นเขาฆ่าดีกว่า

                        วันหนึ่งจึงเรียกอหิงสกกุมารเข้า ไปถามว่า  เวลานี้เจ้าเก่งมากทั้งวิชาฝ่ายบู๊ และฝ่ายบุ๋นทั้งหมด  แม้ในการรบก็เก่ง  แต่ทว่าวิชาของอาจารย์ยังมีอีกหน่อย เขาเรียกว่า วิษณุมนต์  ถ้าหากใครเรียนได้จะปราบได้ทั่วไตรภพ  มนุษย์ก็ปราบได้ เทวดาก็ปราบได้  พรหมก็ปราบ ได้  ทีนี้คนเป็นวัยรุ่นและก็เก่งอยู่แล้วก็อยากเก่ง ต่อไป  ก็อยากเรียน อาจารย์ก็เลยบอกว่า

                        คนอื่นเรียนไม่ได้แต่อย่างเธอนี่ เรียนได้แน่  จะให้ได้คนเดียว  แต่ ก่อนที่จะเรียนต้องยกครูเสียก่อน  แต่ว่าการยกครูนี่ ไม่ใช้ของ  แต่ต้องฆ่าคนให้ได้หนึ่งพันคน  ถ้าฆ่าคนได้หนี่งพันคนละก็  เธอ จึงจะเรียนได้  ท่านก็เลยตกลงยกครูโดยการไล่ฆ่าคน  ทีนี้คนที่แกจะฆ่าได้ง่าย ๆ ก็แค่ 2-3 คนแรกเท่านั้นแหละ  ตอนหลังเขารู้ข่าวว่าอีตาคนนี้ ไล่ฆ่าคน  ใครเขาฟังข่าวก็ไม่อยากจะเห็นแก  เห็นเข้าเขาจำรูปร่างได้เขาก็หนี  กว่า จะไล่ฆ่าได้ก็แย่
 

                        ทีนี้ฆ่าไปฆ่าไป   ลืมนับจำนวน  หนัก ๆ เข้าก็ลืม  ไม่รู้เท่าไร  ทีหลังก็เริ่มต้น ใหม่  ฆ่าได้หนึ่งคนตัดเอานิ้วไว้หนึ่งนิ้ว  ตอนนี้จึงมีนามว่า องคุลีมาลโจร  แปล ว่า โจรผู้ฆ่าคนเอานิ้วมือ  ฆ่าไปจนได้ 999 นิ้ว  นี่ถ้านับจริง ๆ มันเกิน 1,000  แล้วนะ  ใช่ไหม อีตอนที่ไม่ได้เอานิ้วไว้ไม่รู้เท่าไร   แต่ว่าคู่ ปรับยังมีอีกคนเดียว ถ้าได้อีกนิ้วเดียวก็ครบคู่ปรับพอดี  และ คู่ปรับที่จะต้องฆ่าก็คือแม่  แต่ความจริงท่านไม่ได้ ตั้งใจจะฆ่าแม่  แต่ว่ามันเหลืออีกนิ้วเดียว  แต่ละนิ้วก็หาได้ยาก    วันพรุ่ง นี้จะเข้าไปกรุงพาราณสี  จะเป็นใครก็ตามที  ถ้าเห็นต้องฆ่า

                        ทีนี้คืนนั้น   แม่ ได้ยินข่าวว่าลูกชายจะมาอยู่ใกล้  ก็ตั้งใจว่าพรุ่ง นี้เช้าจะไปเยี่ยมลูก  จะไปห้าม  ถ้า แม่ไปก็ถูกฆ่า เพราะว่าเป็นคู่ปรับเดิม  สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรวจอุปนิสัยของสัตว์ตอนเช้ามืด  ทรง ทราบว่า ถ้าอหิงสกกุมารฆ่าแม่  จัดเป็นอนันตริยกรรม  มรรคผลจะไม่ได้เลย  ท่านทรงมีพระ มหากรุณาธิคุณ  ต้องการให้คนที่จะดีก็ขอให้ดีต่อไป ไม่ให้ความชั่วเข้ามาทับถม  ท่านจึงเสด็จไปก่อน  ไปก่อนแม่

                        อหิงสกกุมารเห็นพระพุทธเจ้านึกว่า หวานแล้ว  อีตานี่เดินนวยนาด สวย หล่อ ลีลาดีหม่ำสบายละ  แกก็วิ่งกวดเลย  พระ พุทธเจ้าทรงเดินเฉย ๆ  ท่านทำให้แผ่นดินสูง ๆ ต่ำ ๆ สูง ๆ แกก็วิ่งไม่ถนัด  แกเห็นแกก็กวดไม่ทัน  แกก็ร้องบอก  เอ้า...สมณะหยุดก่อน  พระพุทธเจ้าบอกตถาคตหยุดแล้ว  แล้ว ท่านก็เดินต่อไป  แกก็วิ่งไม่ทัน  พอ เหนื่อยเข้าก็ร้องบอก  ไง...สมณะทำไมพูดมุสาวาท  ท่านบอกว่าท่านหยุดแต่ท่านยังเดินอยู่

                        พระพุทธเจ้าก็ทรงหยุดหันมาบอกอหิ งสกกุมาร  ตถาคตหยุดจากบาปกรรมธรรมอันลามกมานานแล้ว นะ  เธอน่ะยังไม่หยุดอีกรึ  เพราะ กรรมที่เป็นกุศลเดิมให้ผลก็รู้สึกตัวทันที  วางดาบ  วางพวงนิ้วมือแล้วก็นุ่งผ้าให้เรียบร้อย  ทำผมให้เรียบ  วิ่งเข้าไปกราบพระพุทธเจ้า  ท่านก็ทรงให้โอวาทนิดหนึ่ง  ท่าน ก็ขอบวช  ท่านก็ให้บวช  บวช แล้วก็ได้เป็นอรหันต์


                        นี่เรื่องนี้บางคนสงสัยว่า  ทำไมองคุลีมาลฆ่าคนเหยง ๆ แต่ไปเป็นพระอรหันต์  ก็ท่านทำบุญไว้ดีน่ะซิ  แต่ไอ้บุญ ประเภทนี้เราก็ไม่อยากทำนะ


(จาก หนังสือธรรมสัญจร เล่มที่ 4)
ที่มาhttp://www.kaskaew.com/index.asp?contentID=10000004&title=%BA%D8%BE%A1%C3%C3%C1%A2%CD%A7%CD%A7%A4%D8%C5%D5%C1%D2%C5&getarticle=34&keyword=&catid=3

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: โพสต์ที่ ๙๙๙ กับ ๙๙๙ นิ้วของ"อหิงสกะ"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 12:04:38 pm »
0
เป็นเรื่องที่ ถือว่า เหมาะสมและให้กำลังใจ ในช่วงใจตกดีมากคะ

สำหรับเรื่อง พระองคุลีมาล ผู้กลับใจจากบาป จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: โพสต์ที่ ๙๙๙ กับ ๙๙๙ นิ้วของ"อหิงสกะ"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 08, 2011, 10:52:02 pm »
0
อ้างถึง
[๕๓๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตในพระนครสาวัตถี. ก็เวลานั้นก้อนดิน ...  ท่อนไม้ ...  ก้อนกรวดที่บุคคลขว้างไปแม้
โดยทางอื่นก็มาตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่านพระองคุลิมาลศีรษะแตก โลหิตไหล
บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ฉีกขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ. พระผู้มีพระภาคได้ทอด
พระเนตรท่านพระองคุลิมาลเดินมาแต่ไกล

ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระองคุลิมาลว่า เธอจงอด
กลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุ จะให้เธอ
พึงหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดปีเป็นอันมาก ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก ตลอดพันปีเป็นอันมาก
ในปัจจุบันนี้เท่านั้น.

 อ่านตรงนี้ แล้วรู้ถึงความอดทน อดกลั้น อันสูง ของ อหิงสกะภิกษุ เป็นอย่างมากแต่เพราะผลกรรมที่ได้
สร้างไว้ต้องรับผลกรรม ต่อไป :25:
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: โพสต์ที่ ๙๙๙ กับ ๙๙๙ นิ้วของ"อหิงสกะ"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 07:21:46 am »
0
กฎของกรรม  ถอยหลังจากนี้ไปหนึ่งชาติ  ท่านเกิดเป็นควายป่า  มีความสามารถ เก่งกล้า ว่องไว  เขาแหลมคม  มีกำลังมาก  สัตว์ในป่าทุกประเภทเห็นท่านก็ยอมซูฮก

ทีนี้แกก็นึกในใจว่า  อ้ายสัตว์ชาวบ้านเขาเลี้ยงมันจะเก่งแค่ไหน  เลยออกมาไล่ขวิดวัวควายช้างม้าชาวบ้าน ทำให้ทุพพลภาพไปบ้าง  บางทีก็เพลียไปบ้าง ใช้งานไม่ได้

คนหมู่บ้านแถวนั้นก็คิดที่จะต้องฆ่าให้ตาย  คนทั้งหมดมีพันคนเศษ  ก็ทำคอกไว้ ทีนี้ควายป่าตัวนั้นก็วิ่งเข้าไป  คนพันคนพร้อมใจตีให้ตาย  ก่อนจะสิ้นใจตาย  แกก็ขอฆ่าเป็นเวรที่จองกันไว้


         จากกระทู้ที่ได้ยกอ้างมาแล้ว พิจารณาได้ว่าความขัดข้องขุ่นเคืองใจระหว่างคนในสังคมนั้นล้วนมี

เหตุไม่ต่างไปจากนี้เหมือนกัน ดังนั้นจึงกล่าวให้เห็นได้ว่าทุกข์ ภัย เวร ของผู้คนที่วุ่นวายกันอยู่นั้นล้วนเป็นกรรมที่

ยากจะเลี่ยง มันเป็นกฏของธรรมชาติ หรือกฏแห่งกรรม กรรมที่เนื่องด้วยรักบ้าง โกรธบ้าง โลภบ้าง หลงบ้าง ที่พระ

อริยะเถราจารย์เจ้าทั้งหลายท่านจึงกล่าวว่า “ภัยในวัฏฏะ” นั้นมีมากก็อย่างนี้



        อภัยทาน หรือ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวรนั้น ฟังแล้วดูดี แล้วใครหละจะยอมวาง ถึงแม้จะจบ

ลงด้วยการอโหสิกรรมต่อกันเป็นอันจบระหว่างคู่กรณี แต่กฏก็ต้องเป็นกฏที่สุดกรรมยังคงสถานะในตัวมันเองที่จะ

ขับเคลื่อนผลกรรม อย่างไรเสียก็ต้องรับกรรมกับผู้อื่นต่อไปก็อย่าหมายว่าสิ้นเวรภัยเพราะเรายังต้องเวียนว่ายตาย

เกิดต่อไปไม่สิ้นตราบจนกว่าจะปรารถนาที่จะเข้าสู่นิพพานครับ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2011, 07:58:15 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา