ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความสำคัญของปิติ  (อ่าน 8634 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ความสำคัญของปิติ
« เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 11:32:59 am »
0
ความสำคัญของปิติ
ปิติ เป็นอาหาร ของพรหม
ปิติ เป็น ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
ปิติ เป็น ธรรมที่เป็นองค์ประกอบของสัมมาสมาธิ
ปิติ เป็นตัวบ่งชี้ว่า บรรลุธรรม
ปิติ เป็น สติปัฏฐาน

ปิติ เป็นอาหาร ของพรหม

สมัยที่โลกพินาศ สัตว์โลกที่มีฌานก็ได้ไปเกิดในชั้นพรหม มีรัศมี ไม่มีเพศ
มีปิติเป็นอาหาร

เมื่อโลกเกิดขึ้นใหม่  ต่อมาเกิดพื้นดินขึ้น มีกลิ่นมีสี รสดี อาภัสสรพรหมตนหนึ่งลองชิมดินนั้นจึงติดใจ สัตว์โลกอื่น ๆ ก็ชิมตามทำให้ติดใจ เกิด “ตัณหา” หมดรัศมี ต้องกลายเป็น “มนุษย์” อยู่บนพื้นโลก เกิดผิวพรรณหยาบละเอียดต่างกัน


ปิติ เป็น ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้

โพชฌงค์ ๗ คือ
๑.สติสัมโพชฌงค์
๒.ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์
๓.วิริยะสัมโพชฌงค์
๔.ปิติสัมโพชฌงค
๕.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖.สมาธิสัมโพชฌงค์
๗.อุเบกขาสัมโพชฌงค์

สติสัมโพชฌงค์
สติในธรรมภายใน มีอยู่ สติในธรรมภายนอกมีอยู่ สติในธรรมแม้ใด สติในธรรมแม้นั้น ก็ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สติในธรรมภายนอกแม้ใด สติในธรรมภายนอกแม้นั้น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ความเลือกสรรในธรรมภายใน มีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายนอกมีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้ใด ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่าธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้ใดความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

วิริยะสัมโพชฌงค์
ความเพียรทางกายมีอยู่ ความเพียรทางใจมีอยู่ ความเพียรทางกายแม้ใด ความเพียรทางกายแม้ชื่อว่า วิริยะสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเพียรทางใจแม้ใด ความเพียรทางใจแม้นั้น ก็ชื่อว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ปิติสัมโพชฌงค์
ปิติที่มีวิตก วิจารมีอยู่ ปิติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารมีอยู่ ปิติที่มีวิตกวิจารแม้ใด ปิติที่มีวิตกมีวิจารแม้นั้น ชื่อว่า ปิติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ปิติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้ใด ปิติไม่มีวิตก ปิติที่ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าปิติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
กายปัสสธิ มีอยู่ จิตปัสสัทธิมีอยู่ กายปัสสัทธิแม้ใด กายปัสสัทธิแม้นั้น ก็ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน จิตปัสสัทธิแม้ใด จิตปัสสธิแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

สมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร แม้ใด สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้นชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

อุเบกขาสัมโพชฌค์
อุเบกขาในธรรมภายในมีอยู่ อุเบกขาในธรรมภายนอกมีอยู่ อุเบกขาแม้ในธรรมภายในแม้ใด อุเบกขาแม้ในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชือว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อุเบกขาในธรรมภายนอกมแใด อุเบกขาแม้ในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


ปิติ เป็น ธรรมที่เป็นองค์ประกอบของสัมมาสมาธิ

สมาธิ มี มากมายหลายแบบ
แต่ละแบบล้วนมีประโยชน์ (ยกเว้นมิจฉาสมาธิคือมีนิวรณ์5)
เช่น เพื่อความสุข เช่นสมาธิประเภทรูปฌาน
เพื่อความสงบ เช่น สมาธิประเภทอรูปฌาน
เพื่อญานทัศนะ ปาฎิหารย์ เช่น กสินต่างๆ
แต่จะมีแบบเดียว ที่ทำให้เกิดวิชชา คือสัมมาสมาธิ ที่ต้องมี องค์ธรรมคือ ปิติ (ปิติสัมโพชฌงค์)
โดยพิจารณา ขันธ์5 ดูว่าเกิดได้อย่างไร ดับได้อย่างไร

ปิติ เป็นตัวบ่งชี้ว่า บรรลุธรรม

พุทธพจน์ ก่อนปรินิพพาน

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจ ย่อมอยู่สบาย มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อยปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิคือความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้น เป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบเหมือนเรือนที่มีฝาผนัง มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย มีหลังคาสำหรับป้องกันลม แดดและฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลมแดดและฝน กล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะต่างๆ ให้เบาบางและหมดสิ้นไป เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตราอันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียนก็ปานกัน"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ปัญญาซึ่งมีสมาธิเป็นรากฐานนั้น ย่อมปรากฏดุจไฟดวงใหญ่กำจัดความมืดให้ปลาสนาการ มีแสงสว่างรุ่งเรืองอำไพ ขับฝุ่นละอองคือกิเลสให้ปลิวหาย ปัญญาจึงเป็นประดุจประทีปแห่งดวงใจ"
"อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติ ที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไป เพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีล สมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกแล้วด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะย่อมพบกับปิติปราโมทย์อันใหญ่หลวง รู้สึกตนว่าได้พบขุมทรัพย์มหึมา หาอะไรเปรียบมิได้ อิ่มอาบซาบซ่านด้วยธรรม ตนของตนเองนั่นแลเป็นผู้รู้ว่า บัดนี้กิเลสานุสัยต่างๆ ได้สิ้นไปแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว เหมือนบุคคลผู้ตัดแขนขาด ย่อมรู้ด้วยตนเองว่าบัดนี้แขนของตนได้ขาดแล้ว"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปด ประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจ ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลายวิราคะ คือการปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐสุด บรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์แปดนี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปดนี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร"


ปิติ เป็น สติปัฏฐาน

สติปัฎฐานสุตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ โพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ โพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ?
       ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
       อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
       อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต........
       อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต...........


....
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ      ปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ ณ ภายในจิต......มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ปิติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
       หรือเมื่อปิติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
       อนึ่ง ปิติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ปิติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้
.....



       อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต.........
       อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต......
       อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
       หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
       อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้
       ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
       พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่
       อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่า ความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ โพชฌงค์ ๗ ฯ

จากคุณ    : aunemaek2
 :25:
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญของปิติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 11:53:03 am »
0


ปีติ ๕ (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ )

๑. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล )

๒. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ )

๓. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง )

๔. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ)

๕. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้ )


อ้างอิง วิสุทฺธิ.๑/๑๘๒.(คัมภีร์วิสุทธิมรรค)



วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ
 
๑.โอภาส แสงสว่าง
๒.ปีติ ความอิ่มใจ
๓.ญาณ ความรู้
๔.ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต
๕.สุข ความสบายกาย สบายจิต


๖.อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ
๗.ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี
๘.อุปัฏฐาน สติชัด
๙.อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง
๑๐.นิกันติ ความพอใจ


อ้่างอิง  วิสุทฺธิ.๓/๒๖๗.(คัมภีร์วิสุทธิมรรค)
ที่มา  พจนานุกรม พุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sutthitum

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 77
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญของปิติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 12:04:06 pm »
0
เรียนถาม คุณ Nathaponson

อย่างไรเรียกว่า การเข้าถึง ปีติ

 ปีติ กับ พระธรรมปีติ เป็นอันเดียวกันหรือไม่ครับ

 ถ้าเป็นอันเดียวกัน ก็แสดงว่าครูอาจารย์ของเรากำลังสอนให้หลงติดอยู่ใน วิปัสสนูกิเลส ใช่หรือไม่ครับ

ขอบคุณ ( ไม่ได้ถามลองภูมิ ถามเพื่อได้แลกเปลี่ยนธรรม กันครับ )

 :c017:
บันทึกการเข้า

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญของปิติ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 12:46:02 pm »
0
อ้างถึง
อย่างไรเรียกว่า การเข้าถึง ปีติ

มี 2 ประการ ตามกำลัง นะคะ

เข้าถึง ส่วนพระลักษณะ ก็คือ ภาวนา พุทโธ ลงไปในฐานจิต ให้ได้คะ

เข้าถึง ส่วนพระรัศมี ก็คือ จิตที่เข้าถึงสภาวะธรรมแห่งปีติ

( อันนี้กล่าวไม่ได้ ครูอาจารย์สั่งไว้ ไม่ให้พูดกับผู้อื่น )

ความสำเร็จจริง ๆ ในส่วนนี้ก็ตั้งแต่ พระธรรมปีติ ส่วนพระลักษณะ ครูอาจารย์ก็บอกว่าใช้ได้แล้ว คะ

  ปีติ ในส่วน วิปัสสนูกิเลส กับ ปีติ ในพระธรรมปีติ เป็นคนละแบบคะ

  ปีติ ในส่วนวิัปัสสนูกิเลสขาดธรรม

  ปีติ ในพระธรรมปีติ มีธรรม ( สภาวะธรรม 3 ระดับ )

  อันนี้ได้รับการสนทนาจากพระอาจารย์สนธยา ทางเมล นะคะ

  คิดว่าในสายศิษย์ น่าจะเข้าใจแบบ ปัจจัตตัง ได้นะคะ

 :25: :25: :25:

บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญของปิติ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 01:57:34 pm »
0
เรียนถาม คุณ Nathaponson

อย่างไรเรียกว่า การเข้าถึง ปีติ

 ปีติ กับ พระธรรมปีติ เป็นอันเดียวกันหรือไม่ครับ

 ถ้าเป็นอันเดียวกัน ก็แสดงว่าครูอาจารย์ของเรากำลังสอนให้หลงติดอยู่ใน วิปัสสนูกิเลส ใช่หรือไม่ครับ

ขอบคุณ ( ไม่ได้ถามลองภูมิ ถามเพื่อได้แลกเปลี่ยนธรรม กันครับ )

 :c017:

ขอให้ไปอ่านบทความนี้ดูนะครับ

ใครมีวิปัสสนูกิเลส ภูมิใจได้เลย!!! คุณมาถูกทางแล้ว ??
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3650.0


บางส่วนคุณ winyuchon ตอบให้แล้ว ผมขอให้พิจารณาข้อธรรมข้างล่างเพิ่มเติมครับ



องค์ฌาน ๕ เป็นปฎิปักษ์ต่อนิวรณธรรม

         องค์ฌาน ๕ เป็นปฎิปักษ์ต่อนิวรณธรรม ๕   โดยวิตกเจตสิกจรดที่อารมณ์ซึ่งทำ

ให้จิตสงบได้   และวิจารเจตสิกตามประคองอารมณ์ที่วิตกเจตสิกจรดลง    ทำให้จิตไม่

ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อื่น    ปีติเจตสิกเป็นสภาพที่เอิบอิ่ม     สุขเวทนาเพิ่มพูนยิ่งขึ้นตาม

ความเอิบอิ่ม และเอกัคคตาที่องค์ฌาน ๔ อุปการะอุดหนุนแล้ว ตั้งมั่นคงในอารมณ์โดย

อาการของปฐมฌานที่ประกอบด้วยองค์ ๕

 
องค์ฌาน ๕ เป็นปฎิปักษ์ต่อนิวรณธรรม ๕ ดังนี้

๑. วิตกเจตสิก เป็นปฎิปักษ์ต่อถีนมิทธนิวรณ์   เพราะเมื่อวิตกเจตสิกตรึกถึงแต่อารมณ์

ของสมถภาวนามากขึ้นเรื่อยๆ ความท้อถอย หดหู่ และความง่วงเหงาก็ย่อมเกิดไม่ได้



๒. วิจารเจตสิก เป็นปฎิปักษ์ต่อวิจิกิจฉานิวรณ์     เมื่อวิจารเจตสิกประคองอารมณ์ตาม

วิตกเจตสิกที่จรดลงในอารมณ์ของสมถภาวนาไปเรื่อยๆ    ความสงสัยความไม่แน่ใจใน

สภาพธรรม และในเหตุผลของสภาพธรรมก็เกิดไม่ได้


๓. ปีติเจตสิก เป็นปฎิปักษ์ต่อพยาปาทนิวรณ์ เมื่อความสงบในอารมณ์ของสมถภาวนา

เพิ่มขึ้น ปีติก็เอิบอิ่มในความสงบนั้นยิ่งขึ้น ทำให้ความพยาบาทขุ่นเคืองใจเกิดไม่ได้ใน

ระหว่างนั้น



๔. สุข (โสมนัสสเวทนา) เป็นปฎิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์     เมื่อกำลังเป็นสุขใน

อารมณ์ของ  สมถภาวนาอยู่ ความเดือดร้อนใจ กังวลใจ และความฟุ้งซ่านในอารมณ์อื่น

ก็เกิดไม่ได้ เพราะกำลังเป็นสุขในสมถอารมณ์ในขณะนั้น


๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นปฎิปักษ์ต่อกามฉันทนิวรณ์  เพราะเมื่อสมาธิตั้งมั่นในอารมณ์

ของสมถภาวนา  แล้วก็ไม่ยินดีในกามอารมณ์ใดๆ

 
ที่มา  http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=5927&PHPSESSID=8573ccd5f337d1ff7b16375dbf174d3c


พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุภิกษุณีที่ พยากรณ์การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ( พูดว่าได้บรรลุ ) ในสำนักของเรา ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง คือ
 
๑. เจริญวิปัสสนา ( ปัญญาอันเห็นแจ้ง ) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่อเจริญมรรคก็ละสังโยชน์ ( กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด ) ได้ กิเลสพวกอนุสัย ( แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน ) ย่อมไปหมด
๒. เจริญสมถะ ( ความสงบใจ ) มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า แล้วหมดกิเลส
๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน แล้วหมดกิเลส
๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งซ่าน ในธรรม ( วิปัสสนูปกิเลส =เครื่องทำวิปัสสนาให้เศร้าหมอง เช่น สิ่งที่ทำให้หลงเข้าใจผิด มีแสงสว่าง เป็นต้น ) จิตสงบตั้งหมั่น ในภายในมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วหมดกิเลส.

ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)


 จะเห็นว่า พระอานนท์ กล่าวว่า วิปัสสนูกิเลส สามารถนำมาเ็ป็นเครื่องบรรุลุอรหันต์ได้

อีกทั้งในสติปัฏฐาน ๔ ข้อธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน  ก็ระบุว่า นิวรณ์ ๕ ก็สามารถนำมาเจริญสติได้เช่นกัน

ดังนั้น ขอสรุปว่า กิเลสบางตัวนำมาปฏิบัติธรรมให้บรรลุอรหันต์ได้

ซึ่งก็หมายรวมเอา "ปิติ" ด้วยเช่นกัน


ผมยินดีตอบทุกคำถามครับ:welcome: ;) :)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 15, 2011, 02:09:28 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

vijitchai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญของปิติ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 02:04:07 pm »
0
ข้อความจากเมล พระอาจารย์สนธยา นะครับ นานมากแล้วที่ผมถามเรื่อง พระธรรมปีติ

"เคยได้รับฟังมาว่า ถ้าเราฝึกกรรมฐาน อัน ไม่มีจิตมุ่งไปเพื่อการดับกิเลส คือ ฝึกเพื่อการมีฤทธิ เป็นต้น

ปีติ ในองค์ฌาน ก็ยังประกอบด้วยกิเลส

แต่ถ้าเราฝึก เช่นพระพุทธานุสสติ อันมีปณิธาน มุ่งหมายที่การดับกิเลส ก็เป็นพระธรรมปีติ ( มีคำว่าธรรม )

ดังนั้นในสายพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงชี้ให้เห้นว่า ปีติ กับ พระธรรมปีติ เป็นคนละองค์

ไม่ใช่ วิปัสสนูกิเลส เพราะในสายกรรมฐาน ไม่ได้สอนให้ติดใน สภาวะปีติ แต่สอนให้ละ ปีติเพราะเห็นธรรมใน

ในปีติ มีการสัมปยุตธรรมเป็นธาตุ ฝึกแต่ละขั้นก็ดับกเลส ไม่ใช่ไปดับกิเลสในขั้นสุดท้าย"


 :25: :25: :25:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 15, 2011, 02:06:31 pm โดย vijitchai »
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อม ครูบาอาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน ทุก ๆ รูป ครับ ข้าพเจ้าขอกล่าวถึง พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ตลอดชีวิต พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

nongmai-new

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 73
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญของปิติ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 05:59:57 pm »
0
ปีติ ใน ฌาน กับ ปีติ ในโพชฌงค์ 7 น่าจะต่างกันโดยสิ้นเชิง เห็นด้วยครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญของปิติ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 07:13:50 pm »
0
สุขในกาม มีสุขน้อย  มีโทษมาก
สุขในฌาณ มีความสุขมาก ละเอียดปราณีต
นักบวช ฤษี ชีไพร บุคคลที่เคยได้ฌาณ พอเจอสุขกามครอบงำแล้ว
ยากที่จะถ่ายถอน

บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญของปิติ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 07:32:50 pm »
0
อ้างถึง
ฝึกแต่ละขั้นก็ดับกิเลส ไม่ใช่ไปดับกิเลสในขั้นสุดท้าย

ไม่ค่อยจะเข้าใจตรงนี้นะครับ ช่วยขยายความได้หรือไม่ครับ

 :c017:
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

nimit

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • เรามาเพื่อจรรโลงพระกรรมฐาน
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญของปิติ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 08:31:03 pm »
0
อ้างถึง
ฝึกแต่ละขั้นก็ดับกิเลส ไม่ใช่ไปดับกิเลสในขั้นสุดท้าย

ไม่ค่อยจะเข้าใจตรงนี้นะครับ ช่วยขยายความได้หรือไม่ครับ

 :c017:

ความหมายน่าจะเป็นคำว่า กิเลสเบาบางลง จนกระทั่งหมดโดยสิ้นเชิง

เหมือนเข้ากระแสนิพพาน 3 แบบ
 
   1.วิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยการข่ม
   2.ตทังควิมุตติ  หลุดพ้นชั่วขณะหนึ่ง
   3.สมุทเฉทปหานวิมุตติ หลุดพ้นโดยสิ้นเชิง

 :25: :s_hi:
บันทึกการเข้า
ธรรมจักรสถิตอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นมีแต่ความร่มเย็น

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ความสำคัญของปิติ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2011, 08:35:47 am »
0
พระธรรมปีติ เป็น คุณธรรมสภาวะแรก ในกรรมฐาน ทั้งปวง

พระธรรมปีติ เป็น ธรรมสภาวะที่ต้องเจริญ ในวิัปัสสนา นะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ