ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระยืน พระพุทธมิ่งเมือง และพระพุทธมงคลเมือง  (อ่าน 20783 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ประวัติพระยืน พระพุทธมิ่งเมือง และพระพุทธมงคลเมือง

พระพุทธมิ่งเมือง (วัดสุวรรณาวาส) และพระพุทธมงคลเมือง (วัดพุทธมงคล) ทั้งสององค์ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์เป็นปูชนียวัตถุที่ควรแก่การสักการบูชายิ่งทั้งสององค์นี้
ชาวบ้านมักนิยมเรียกกันว่า “หลวงพ่อพระยืน”

พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้เป็นปางสรงน้ำมีความสูงตลอดองค์ประมาณ 8 ศอก กว้าง 2 ศอก พระเนตรและเนื้อองค์พระสร้างด้วยศิลาแลงอย่างดีเป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยขอม ก่อนยุคสุโขทัย หลวงพ่อพระยืนทั้งสององค์ผินพระพักตร์ไปทางทิศใต้ และอยู่ห่างกันประมาณ 1.250 เมตร

หลวงพ่อพระยืนทั้งสององค์เป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ตามตำนานหรือประวัติที่หลักฐานยืนยันจากใบเสมาที่ฝังอยู่ใกล้องค์พระได้เขียนเป็นอักษรขอมว่า สร้างปี ฮวยสง่า พุทธศักราช 1399 ปัจจุบันอักษรที่ปรากฏอยู่ใบเสมาเลอะเลือนไปมากแล้ว

ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมา เดิมทีดินแดนแถบนี้ขอมได้ครอบครองมาก่อน ต่อมาทางนครเวียงจันทร์ มีอำนาจเข้าครอบครองจากขอม มีเจ้าผู้ปกครองโดยอิสระเรียกว่า “เมืองกันทาง” หรือ “เมืองคันธาธิราช” ก่อนปีมะเส็ง จุลศักราช 147 (ปี พ.ศ. 1328) ผู้ครองเมืองคนสุดท้ายมีนามว่า “ท้าวลินจง”

ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น“หลวงบริเวณ” มีภรรยาชื่อ “บัวคำ” ปกครองราษฎรหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา หัวเมืองต่างๆ ส่งส่วยขึ้นต่อเมืองคันธาธิราช ที่หลวงบริเวณปกครองอยู่เป็นประจำ ท้าวลินจงมีบุตรชายคนเดียวชื่อว่า “ท้าวสิงห์โต” หรือ “ท้าวลินทอง” บุตรชายของท้าวลินจง เป็นผู้มีจิตใจโหดเหี้ยม หากท้าวลินจงจะให้บุตรเป็นผู้ปกครองเมืองแทนตน ก็เป็นการไม่เหมาะสมจะเป็นเหตุให้ราษฎรผู้อยู่ใต้ปกครองได้รับเดือดร้อน


เนื่องจากขาดความเมตตา ความนี้ได้ทราบถึงท้าวลินทองผู้บุตรจึงมีความโกรธแค้นบิดาเป็นอย่างยิ่งจึงได้ตัดพ้อต่อว่าบิดาต่างๆ นาๆ แล้วบังคับให้บิดาตั้งตนเป็นผู้ครองเมืองแทน ผู้เป็นบิดาไม่ยินยอมท้าวลินจงจึงถูกท้าวลินทองผู้เป็นบุตรจับขังทรมานด้วยการเฆี่ยนทุบตี ใช้มีดกรีดตามเนื้อตัว เพื่อบังคับให้บิดายกเมืองให้แก่ตน บิดาก็หาได้ยอมไม่ บิดาได้รับการทรมานต่อไปด้วยการขังในห้องมืด ห้ามข้าว ห้ามน้ำ มิให้ผู้ใดเข้าเยี่ยมเด็ดขาด นอกจากมารดาเพียงผู้เดียว

แต่ห้ามมิให้นำเอาอาหารและน้ำเข้าไปให้บิดา มารดาได้ทัดทานอ้อนวอนอย่างใดท้าวลินทองก็
หาได้ฟังไม่ ด้วยความรัก และความห่วงใยสามีนางจึงทำอุบายนำข้าวน้ำ โดยเอาผ้าสะใบเฉียง ชุบข้าวบดผสมน้ำนำไปเยี่ยมสามีได้ดูดกินประทังชีวิตไปวันๆ แต่หาได้พ้นสายตามของบุตรไม่ ท้าวลินทองจึงห้ามมารดาเข้าเยี่ยมอีกต่อไป

ท้าวลินจงอดข้าว อดน้ำได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสจนถึงแก่ความตายในที่สุดก่อนที่จะสิ้นลมปราณท้าวลินจงได้ตั้งจิตอธิษฐานกล่าวฝากเทพยดาผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมผู้สถิตอยู่ ณ พื้นธรณีนั้นว่า“ด้วยจิตอันบริสุทธิ์ของข้าพเจ้าเพื่อหวังความสงบสุขของบ้านเมืองอันเป็นที่ตั้งอาศัยของข้าพเจ้าแต่



เหตุการณ์ในชีวิตกลับมีการเป็นไปได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส ขอให้เทพยดาฟ้าดินผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมขอให้ข้าพเจ้าได้เกิดในที่สุขเถิด และขอให้มนุษย์มีจิตใจโหดเหี้ยมดุร้าย ทารุณ ขาดคุณธรรม พูดจาโกหกหลอกหลวง ไม่สัตย์ซื่อนับแต่นี้ไปข้างหน้าจะเป็นผู้ใดก็ตาม หากเป็นเจ้าเมืองนี้แล้วขออย่าให้มีความสุขความเจริญเลย ขอให้ประสบแต่ความวิบัติ ความพินาศ ฉิบหาย ขอให้เกิดความเดือดร้อนหายนะต่างๆนานาเถิด”

เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้วก็สิ้นลมหายใจเมื่อท้าวลินจงถึงแก่ความตายแล้วนางบัวคำผู้เป็นมารดาจึงได้ต่อว่าท้าวลินทองผู้บุตรว่าทรมานบิดาของตนถึงแก่ความตาย ท้าวลินทองไม่พอใจเกิดโทษะจริตกอปรด้วยโมหะจริตจึงฆ่ามารดาของตนอีกคนหนึ่ง เมื่อท้าวลินจงกับนางบัวคำตายแล้วท้าวลินทองจึงได้ปกครองเมืองคันธาธิราชสืบมา

นับแต่ท้าวลินทองปกครองเมืองคันธาธิราช เป็นต้นมา บ้านเมืองมีแต่ความระส่ำระสายไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ได้รับแต่ความเดือดร้อน ท้าวลินทองเองก็รู้สึกไม่สบายกายใจไม่เป็นอันกินอันนอน ทั้งที่มีทรัพย์มากมายก่ายกอง จึงหาโหรมาทำนายทายทัก โหรทำนายว่าท้าวลินทองได้ทำบาปกรรมมหันตโทษผลกรรมจึงทำให้เดือดร้อนเป็นผลมาจากการอธิษฐานจิตอันแน่วแน่ของบิดาที่ได้สาปแช่งเอาไว้ก่อนที่จะสิ้นลมหายใจกอปรกับมาตุฆาตฆ่ามารดาตนเอง

ทั้งนี้การจะล้างบาปกรรมได้ก็โดยการสร้างพระพุทรูป เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญเพื่อทดแทนพระคุณบิดาและมารดาพระพุทธรูปองค์หนึ่งสร้างอุทิศเพื่อทดแทนพระคุณมารดาสร้างที่นอกเขตกำแพงเมืองทางทิศอุดร ผินพระพักตร์ไปเบื้องทักษิณทิศ คือพระพุทธมิ่งเมือง ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดสุวรรณาวาส (ปัจจุบัน) อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้สร้างพระพุทธรูปยืนขึ้นอีกองค์หนึ่งเพื่อทดแทนพระคุณบิดาโดยสร้างขึ้นในกำแพงเมืองผินพระพักตร์ไปเบื้องทักษิณทิศ คือ พระพุทธมงคลเมืองที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพุทธมงคล(ปัจจุบัน) อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมื่อท้าวลินทองได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสององค์เสร็จแล้ว ความเดือดร้อนกระวนกระวายใจก็มิได้เบาบางลง ท้าวลินทองก็ได้ล้มป่วยลงอย่างกะทันหัน

พอดีมีโหรมาจากเมืองพิมายเดินทางผ่านมาและขอเข้าพบและทำนายดวงชะตาชีวิตของท้าวลินทอง โหรได้ทำนายว่าท้าวลินทองจะตายภายใน เร็ววัน ท้าวลินทองได้ยินถึงกับบันดาลโทสะสั่งประหารชีวิตโหรทันที แต่พวกข้าราชการที่ปรึกษาได้ขอชีวิตโหรไว้

โหรจึงทำนายไปว่าหากท้าวลินทองสร้างพระพุทธรูปปางพุทธไสยาสน์ด้วยทองคำหนักเท่าตัวขึ้นอีกองค์หนึ่ง ความทุกข์ร้อนที่มีอยู่จะบรรเทาเบาบางลง ท้าวลินทองก็ได้สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ด้วยทองคำตามคำทำนายของโหรขึ้น แล้วจึงสร้างพระอุโบสถขึ้นครอบองค์พระไว้

แต่ด้วยบาปกรรมของท้าวลินทองเป็นมหันตโทษคือมาตุฆาต ปิตุฆาต จึงไม่สามารถสร้างให้สำเร็จได้ ท้าวลินทองก็ได้ถึงแก่ความตาย แต่ก่อนที่จะสิ้นลมหายใจท้าวลินทองก็ได้อธิษฐานว่า “พระพุทธรูปทองคำอย่าให้คนพบเห็นเป็นขาด หากผู้ใดมีเคราะห์กรรมได้พบเห็นขอให้ผู้นั้นล้มป่วยพินาศฉิบหายและให้ถึงแก่ความตาย” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีผู้ใดกล้ำกลายเขตพระอุโบสถ (พระพุทธรูปทองคำ) นั้นเลย

กาลล่วงเลยมานานจนเกิดเป็นป่าร้างต้นไม้ปกคลุมหนาทึบ พระพุทธรูปทองคำจึงไม่มีใครพบเห็น ถ้าผู้ใดชะตากรรมถึงฆาตพบเห็นก็จะเกิดอาเพศป่วยไข้ถึงแก่ความตายความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เล่าลือ ตราบเท่าทุกวันนี้ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าว คณะสงฆ์อำเภอกันทรวิชัย ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์เป็นสำนักปฏิบัติธรรมและตั้งชื่อว่าวัดพระพุทธไสยาสน์ (หรือวัดดอนพระนอน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม)

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธรูปทองคำหรือพระพุทธไสยาสน์ หลักฐานที่ปรากฏชัดเจน คือ การศึกษาจากใบเสมาที่ปรากฏในสถานที่ดังกล่าว


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/372590
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2012, 11:18:34 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ลองไปนมัสการดูนะค่ะ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธ์มาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2012, 10:33:30 am โดย jaravee »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 อนุโมทนาสาธุครับ :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตามตำนาน เมืองกันทรวิชัยนั้นเป็นเมืองต้องคำสาป  และไม่มีใครพบเห็นพระพุทธรูปทองคำมาจนถึงปัจจุบัน
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ประวัติพระยืน พระพุทธมิ่งเมือง และพระพุทธมงคลเมือง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 10:16:11 am »
0

มีภาพมาให้ดูเพิ่มเติมค่ะ




บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติพระยืน พระพุทธมิ่งเมือง และพระพุทธมงคลเมือง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 12:52:27 pm »
0

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ประวัติพระยืน พระพุทธมิ่งเมือง และพระพุทธมงคลเมือง
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 01:08:49 pm »
0
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์  ในประเทศไทย ๖๓ องค์

๑.พระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ

๒.พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศน์วิหาร กรุงเทพฯ

๓.พระศาสดา วัดบวรนิเวศน์วิหาร กรุงเทพฯ

๔.พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ

๕.พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบวรราชวัง

๖.พระทองคำ วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพฯ

๗.พระเสริม วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

๘.หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร กรุงเทพ

(เลขที่ ๙-๑๓ พระพุทธรูปลอยน้ำในเมืองไทย)

๙.หลวงพ่อวัดบางพลี อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

๑๐.หลวงพ่อโสธร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

๑๑.หลวงพ่อวัดไร่ขิง อ.เมือง จ.นครปฐม

๑๒.หลวงพ่อวัดบ้านแหลม อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม

๑๓.หลวงพ่อวัดเขาตะเครา อ.เมือง จ.เพชรบุรี

๑๔.หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.อยุธยา

๑๕.หลวงพ่อมงคลบพิตร อ.เมือง จ.อยุธยา

๑๕.พระพุทธนิมิตฯ วัดหน้าพระเมร ุอ.เมือง จ.อยุธยา

๑๖.พระพุทธรูปมีน้ำในพระเศียร วัดตูม อ.เมือง จ.อยุธยา

๑๗.พระนอนวัดป่าโมก ต.ป่าโมก อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

๑๘.หลวงพ่อโต วัดเกศไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง

๑๙.พระนอนจักรสีห์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

๒๐.พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

๒๑.หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

๒๒.สมเด็จองค์ปฐม วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี

๒๓.หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร

๒๔.พระพุทธชินราช อ.เมือง จ.พิษณุโลก

๒๕.พระเจ้าทันใจ วัดพระบรมธาตุ ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก

๒๖.พระแก้วขาว (เสตังคมณี)และ พระศิลา (สมัยพระนางจามเทวี) วัดเชียงมั่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่

๒๗.พระพุทธรูปเก่าแก่ ๓ องค์ วัดพระบาทปางแฟน ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

๒๘.พระพุทธรูปแสนทอง บ.ดง ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

๒๙.พระเจ้าโท้เมืองฮอด อ.ฮอด จ.เชียงใหม่

๓๐.พระเจ้าฝนแสนห่า วัดพระธาตุดอยจอมแจ้ง ต.ขี้เหล็ก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

๓๑.พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ อ.เมือง จ.พะเยา

๓๒.พระนั่งดิน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา 

๓๓.พระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล อ.เมือง จ.พะเยา

๓๔.พระพุทธสิกขี (พระรอดหลวง) วัดมหาวัน อ.เมือง จ.ลำพูน

๓๕.พระยืนศิลา วัดพระยืน ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน

๓๖.พระเจ้าตาเขียว (บรรจุพระเกศาธาตุใต้ฐานพระ) วัดบ้านเหล่า ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน 

๓๗.วัดพระเจ้าตนหลวง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

๓๘.วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง

      มีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ๓ องค์คือ พระแก้วมรกต(พระแก้วดอนเต้า),พระเจ้าล้านทอง,พระศิลา

๓๙.พระเจ้าหลวงสวนดอก วัดสวนดอก อ.เชียงแสน

จ.เชียงราย (เป็นที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งฉันภัตตาหาร)

๔๐.พระเจ้าล้านทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

๔๑.หลวงพ่อผาเงา วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

๔๒.พระเจ้าทองทิพย์ บ.ทองทิพย์ ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

๔๓.พระพุทธรูปแข้งคม วัดศรีเกิด ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงราย

๔๔.พระเจ้าอุ่นเมือง (มีน้ำเกิดขึ้นในพระเศียรเอง) วัดน้ำฮู ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

๔๕.พระศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย

๔๖.พระพุทธรูปทองคำ วัดพิพัฒน์มงคล อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย

๔๗.หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย

๔๘.หลวงพ่อสุก วัดหลวง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย

๔๙.หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ วัดศรีชมพูองค์ตื้อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

๕๐.พระติ้ว - พระเทียม วัดโอกาส ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม

๕๑.หลวงพ่อพระศรีโคตรบูร วัดกกต้อง ต.อาจสามารถ อ.เมือง  จ.นครพนม

     (สร้างในสมัยเดียวกับพระแก้วมรกต)

๕๒.พระเจ้าใหญ่ยางเครือ วัดบ้านยางเครือ ต.เมืองทุ่ง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

๕๓.พระมิ่งเมือง หน้าวนอุทยานโกสัมพี อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

๕๔.หลวงพ่อใหญ่ วัดบ้านโพน ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

๕๕.พระยืนวัดพุทธมงคล ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรชัย จ.มหาสารคาม

๕๖.พระยืนวัดสุวรรณาวาส ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรชัย จ.มหาสารคาม

๕๗.พระพุทธรูปวัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง ต.นาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย

๕๘.พระพุทธรูปเก่าแก่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย จ.เลย

๕๙.พระพุทธรูปปางนาคปรก วัดศิริมงคล บ้านอาฮี อ.ท่าลี่ จ.เลย

๖๐.พระเจ้าองค์ตื้อ บ.ท่าเดื่อ ต.บ้านนา อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ

๖๑.พระยืนศิลา อ.พระยืน จ.ขอนแก่น

๖๒.พระพุทธพรชัยมงคลมุนี วัดแหลมสน ต.ปากน้ำ อ.หลังสวน จ.ชุมพร

๖๓.พระพุทธมหามงคลบพิตร (อยู่ใต้ดิน) ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา



ที่มา http://www.ranthong.com/smf/index.php?topic=12731.0;wap2
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ