ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอย หลวงพ่่อโต ...... เส้นทาง นักบุญ แห่งมัธยมประเทศ  (อ่าน 11865 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

wipadakao

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระพุทธไสยาสน์ วัดสะตือ



 พระพุทธไสยาสน์ วัดสะตือ อำเภอท่าเรือ
              วัดสะตือ ตั้งอยู่ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเป็นวัดนับแต่ พ.ศ. ๒๔๐๐ เดิมตั้งอยู่ทางทิศเหนือขึ้นไปไม่ไกลนัก ที่เรียกว่า วัดสะตือ เพราะมีต้นสะตือใหญ่เป็นนิมิต ต่อเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้มาดำเนินการสร้างพระพุทธไสยาสน์แล้ว วัดสะตือจึงได้ย้ายมาตั้งที่บริเวณพระนอนนี้ ณ บริเวณที่คุณโยมมารดาของพระคุณเจ้าสมเด็จฯ เคยขึ้นจากเรือมาผูกอู่เปลเห่กล่อมภายในบริเวณหน้าวัด ริมแม่น้ำป่าสัก ซึ่งพระพุทธไสยาสน์ นาม "หลวงพ่อโต" องค์ใหญ่สร้างแบบก่ออิฐถือปูน ในถิ่นที่ถือกำเนิด เมื่อปี พ.ศ. 2413 ซึ่งใช้แรงงานจากพวกทาสในตำบลนี้และตำบลใกล้เคียง เมื่อสร้างองค์พระเสร็จได้ช่วยเจรจาปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเลิกทาส องค์พระมีขนาด ยาว 1 เส้น 6 วา สูง (ตั้งแต่พื้นถึงรัศมี) 8 วา ฐาน ยาว 1 เส้น 10 วา กว้าง 4 วา 2 ศอก หรือ ยาว 52 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 16 เมตร องค์พระโปร่ง เบื้องพระปฤษฎางค์ ทำเป็นช่องกว้าง 2 ศอก สูง 1 วา เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรีได้เสด็จขึ้นท่าน้ำตำบลนี้ และในการเสด็จประพาสครั้งที่ 2 ก็ได้เสด็จขึ้นท่าน้ำตำบลนี้ อีกครั้ง ในการเสด็จประพาสครั้งที่ 2 นั้น ตามจดหมายเหตุรัชกาลที่ 5 ระบุว่าเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2449 ได้เสด็จฯ เสวยพระกยาหารที่วัดท่างาม (ซึ่งก็คือ วัดสะตือในปัจจุบัน) แต่นั้นมาจึงเรียกตำบลนี้ว่า "ท่าหลวง" จากเดิมชื่อตำบลบ้านไก่โจน อำเภอนครน้อย (ปัจจุบันคืออำเภอท่าเรือ ) แขวงกรุงเก่า และเรียกนามวัดนี้ว่า "วัดท่าหลวง" แต่ต่อมาก็กลับไปเรียกวัดสะตือตามเดิมอีก พระพุทธไสยาสน์นับเป็นพระพุทธรูปที่องค์ใหญ่องค์หนึ่งในเมืองไทย เป็นพระพุทธรูปที่นับถือของชาวบ้านทั้งใกล้และไกลตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากมากราบไหว้บูชาแล้วหลายคนยังนิยมมาบนบาน เมื่อสำเร็จดังประสงค์แล้วมักจะมาแก้บนด้วยขนมจีน เพราะเชื่อตามที่เล่ากันมาว่าสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มาสร้างพระนอนองค์นี้มักจะทำขนมจีน เลี้ยงบรรดาทาสแรงงาน นอกจากนั้นชาวบ้านนิยมแก้บนด้วยการว่าจ้างขบวนแตรวงแห่ไปรอบองค์พระ ถ้าใครมาสักการะ ถือว่าจะได้เรื่อง แคล้วคลาดจากความชั่วร้าย และขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากตน พร้อมรับเมตตามหานิยม การเดินทาง ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ เดินทางตามเส้นทางสายเอเชีย เจอป้ายนครหลวงเบี่ยงทางซ้ายลอดใต้สะพานบรรจบเส้นทางนครหลวง – ท่าเรือ ตรงไปเจอวัดไม้รวก ผ่านวัดไม้รวกเจอทางแยกเลี้ยวขวา และตรงมาประมาณ 200 เมตร จะมีป้ายบอกทางไป “วัดสะตือ”


ขอบคุณเนื้อหาจาก
http://www.watsatue.com/view_article.php?token=7d17e0804d50442dda316d357eed1edf
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 14, 2012, 10:26:42 am โดย wipadakao »
บันทึกการเข้า

wipadakao

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
หลวงพ่อโตวัดพิตเพียน วัดกุฏีลอย วัดกุฏิีทอง


หลวงพ่อโต  หรือพระพุทธมหามุนีศรีมหาราช  ที่วัดกุฏีทอง  ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 ตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธมหามุนีศรีมหาราช หรือชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโต ซึ่งสร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นพระพุทธรูปนั่งตามแบบสมัยอยุธยาปางสะดุ้งมารพระพักตร์ยิ้มสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนมีขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 10 เมตร สูง 18 เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาประกอบพิธียกพระเกตุมาลา  พระพุทธมหามุนีศรีมหาราช หรือหลวงพ่อโต เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2515  เป็นหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนนับถือมากและนิยมมาบนหลวงพ่อแล้วแก้บนด้วยการ “วิ่ง” รอบ ๆ องค์ หลวงพ่อ  สมัยเมื่อยังมีการสัญจรทางน้ำ  คนที่พายเรือผ่านหรือนั่งเรือยนต์ผ่านมาตามแม่น้ำลพบุรี  พากันยกมือไหว้ท่วมหัวเพื่อขอพรหลวงพ่อทุกครั้งที่ผ่านหน้าวัด  ปัจจุบันมีถนนผ่านด้านข้างวัด  ต้องมุ่งหน้าแวะไปนมัสการกันโดยตรง  จึงจะได้เห็นหลวงพ่อชัดเจน
          องค์หลวงพ่อโตนี้มีประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตารามเป็นผู้สร้าง  เพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับพระอาจารย์ของท่าน  เมื่อครั้งที่ท่านยังหนุ่มอายุได้ 28 ปี ท่านได้ธุดงค์มาที่วัดพิตเพียน พระนครศรีอยุธยา (วัดกุฏีทอง ในปัจจุบัน) เพื่อมาเรียนวิชากับหลวงตาคง เจ้าอาวาสวัดพิตเพียน ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 105 ปี หลวงตาคงมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถืออย่างกว้างขวาง ท่านได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์และได้รับถ่ายทอดวิชาจากหลวงตาคงจนหมดสิ้น เมื่อเรียนจบแล้วท่านจึงออกเดินธุดงค์ต่อไป
 ต่อมาหลวงตาคงได้มรณภาพเมื่ออายุ 107 ปี สมเด็จฯโตได้เดินทางธุดงค์กลับมาจากลพบุรีพอดี จึงมีโอกาสทดแทนพระคุณอาจารย์และเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงหลวงตาคง ท่านจึงสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้น ชื่อว่า “พระพุทธมหามุนีศรีมหาราช” ซึ่งชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไปว่า “หลวงพ่อโต” ตามนามผู้สร้างและขนาดองค์พระ


ขอบคุณเนื้อหาจาก
ขอบคุณภาพจาก
http://www.culture.go.th/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 23, 2012, 04:52:18 pm โดย DANAPOL »
บันทึกการเข้า

wipadakao

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต) วัดไชโยวรวิหาร


ขอบคุณภาพจาก http://news.zubzip.com

ประวัติ พระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต) วัดไชโยวรวิหาร

         หลวงพ่อโต วัดไชโย"พระมหาพุทธพิมพ์" หรือ "หลวงพ่อโต" แห่งวัดไชโยนี้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียง ให้ความเลื่อมใสศรัทธามาก พระมหาพุทธพิมพ์ ประดิษฐานในวิหารวัดไชโยวรวิหาร ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง

         มีพุทธลักษณะ เป็นศิลปะรัตน โกสินทร์ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก 8 วา 7 นิ้ว ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ด้วยเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม

         สมเด็จพระพุฒาจารย์หรือที่เรียกกันติดปากว่าสมเด็จโตนั้น สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตสมนามของท่านมาก่อนนี้แล้วสององค์ คือ พระนอนที่วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา และพระยืนที่วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม

         เมื่อมาสร้างหลวงพ่อโตที่วัดไชโยนี้ แรกทีเดียวท่านสร้างเป็นพระนั่งขนาดใหญ่มาก ก่อด้วยอิฐและดินแต่ไม่นานก็ทลายลง ท่านจึงสร้างขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้ ใช้วิธีเดิมแต่ลดขนาดให้เล็กลงก็สำเร็จเป็นพระปางสมาธิองค์ใหญ่ถือปูนขาว ไม่ปิดทอง

         ปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "...พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนี้ รูปร่างหน้าตาไม่งามเลย...ดูที่หน้าวัด ปากเหมือนท่านขรัวโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านไม่คิดจะปิดทอง จึงได้เจาะท่อน้ำไว้ที่พระหัตถ์..."

         ต่อมา เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) สมุหนายก มีศรัทธาสร้างพระอุโบสถและพระวิหารวัดไชโย แต่เมื่อกระทุ้งรากพระวิหาร แรงสั่นสะเทือนทำให้องค์พระพังทลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างฝีมือเยี่ยมสมัยนั้นมาช่วย

         เมื่อพิจารณาแล้วทรงให้รื้อองค์พระ ออกทั้งองค์แล้ววางรากฐานใหม่ ใช้วิธีวางโครงเหล็กยึดไว้ภายในแล้วก่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิซ้อนพระหัตถ ตามลักษณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ทำไว้เดิม เมื่อแล้วเสร็จได้รับพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งคือ หลวงพ่อโต วัดไชโยองค์ที่ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต เป็นที่ประจักษ์กันดีในหมู่ชาวเมืองอ่างทองที่เคารพนับถือ กล่าวกันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มาก จะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะเห็นว่าหลวงพ่อโต กำลังจะล้มลงมาทับ

         น้ำมนต์ของหลวงพ่อก็กล่าวกันว่าศักดิ์สิทธิ์สามารถรักษาแก้ไขโรคเคราะห์ต่างๆ ได้ ทั้งเล่าลือกันว่าหลวงพ่อมักมาเข้าฝันผู้ที่เคารพบูชาบอกกล่าวเตือนภัยต่างๆ ชาวบ้านแถบนั้นจึงมักมีรูปท่านไว้กราบไหว้บูชาแทบทุกครัวเรือน

         วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง นอกจากเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตอันศักดิ์สิทธิ์และมีขนาดใหญ่มหึมา วัดแห่งนี้ ยังมีสถาปัตยกรรมของโบสถ์ วิหาร และภาพจิตรกรรมให้ชมอีกด้วย ที่สำคัญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีทิวทัศน์สวยงามให้ความรู้สึกสงบร่มเย็น

         วัดไชโยวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่า สร้างขึ้นเมื่อใด ชาวบ้านเรียกวัดไชโย หรือเกษวัดไชโย ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นที่รู้จักเมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ฝั่งธนบุรี ดำริให้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง

         ด้วยเหตุที่วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งเจ้าพระยา จึงมองเห็นองค์พระพุทธรูปขาวเด่นแต่ไกลเพราะพอกด้วยปูนขาว ต่อมาในปี พ.ศ.2430 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะจากวัดราษฎร์ ให้เป็นพระอารามหลวง พระอุโบสถวัดไชโย เป็นอาคารที่อยู่ต่อเนื่องกับวิหารหลวงพ่อโต มีทางเดินเชื่อมไปยังริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีการประดับตกแต่งอย่างเป็นระเบียบและสวยงาม

         ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระประธานปางสมาธิ ที่ผนังมีภาพจิตร กรรมสวยงาม โดยด้านหลังพระประธานเขียนเป็นรูปเหล่าทวยเทพล่องลอยในปุยเมฆ ต่างหันหน้าสู่องค์พระประธาน ที่บานประตู หน้าต่าง เขียนเป็นภาพเครื่องตั้ง เป็นการประดับตกแต่งโต๊ะโดยนำเครื่องถ้วยชามกังไส รวมถึงผลหมากรากไม้มงคลอย่างจีน มาตกแต่งบนโต๊ะประกวดกันตามงานต่างๆ เป็นที่นิยมในหมู่เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ 5

         ผู้ที่ต้องการเดินทางมาไหว้พระมหาพุทธพิมพ์ ที่วัดไชโย สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว จาก อ.ไชโย ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ไปทาง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ประมาณ 8 กิโลเมตร ข้ามสะพานข้ามคลองมหานามไป 500 เมตร จะถึงทางแยกซ้ายมือ เลี้ยวเข้าไปจนข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสี่แยกให้เลี้ยวขวาเข้าไป 200 เมตร ทางเข้าวัดอยู่ขวามือ หรือรถประจำทาง ขึ้นรถสายอ่างทอง-วัดไชโย-วัดพิกุลทอง ไปถึงอย่างแน่นอน


ขอบคุณเนื้อหาจาก
http://www.itti-patihan.com/
บันทึกการเข้า

wipadakao

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
หลวงพ่อโต (วัดอินทรฯ บางขุนพรหม) พระศรีอริยเมตไตรย

ขอบคุณภาพจาก http://uc.exteenblog.com

หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธปฏิมายืนปางทรงบาตร เดิมสร้างด้วยอิฐถือปูน ริเริ่มสร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ในปี พ.ศ. 2410 (รัชกาลที่ 4) สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2470 (รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ในสมัยพระอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) เป็นเจ้าอาวาส มีความสูง 16 วา กว้าง 5 วา 2 ศอก ประดับด้วยกระเบื้องโมเสคทองคำ 24 เค ทั้งองค์ มีพระนามว่า “พระศรีอริยเมตไตรย” ถือเป็นพระพุทธปฏิมายืนที่สูงที่สดในโลก

มีพุทธศาสนิกชนและชาวต่างประเทศเดินทางมานมัสการและชมทุกวัน โดยเฉลี่ย 200 - 300 คนต่อวัน (ยกเว้นวันอาทิตย์ และวันสำคัญทางพระพุทธ–ศาสนา 500 - 1,000 คน) ปัจจุบันองค์หลวงพ่อโตยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจากวัดศิริกัลมัลลิคราช ประเทศศรีลังกา ซึ่งบรรจุไว้ ณ ยอดเกตุมาลา


ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.watindharaviharn.org/luangpohto.php
บันทึกการเข้า

TC9

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 137
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ เป็นเรื่องน่าอ่านมากคะ วันนี้ อย่างน้อยก็รู้ว่า พระพุทธรูปทั้งหมดนี้ ถูกจัดสร้างด้วยหลวงพ่อโต

ไม่ทราบยังมีอีกหรือไม่ที่หลวงพ่อโต ท่านได้ไปสร้าง คะ


 สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ มีพระพุทธรูปที่หลวงพ่อ โต ท่านสร้าง อีกหรือไม่ครับ ได้เกร็ดประวัติดีครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุญาต ติดหมุดเรื่องนี้ นะครับ ผมว่าเป็นเรื่องที่ควรรู้กันไว้จริง ๆ นะครับ ส่วนตัวผมเองก็ได้เดินทางไปกราบนมัสการ หลวงพ่อโต ตามตำนานนี้หลายองค์ ครับ

  :25: :25: :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


กระทู้ที่คล้ายกัน
พระพุทธรูปใหญ่ ยืน เดิน นั่ง นอน...อนุสรณ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10341.msg38689#msg38689

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ