ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม บาลีมูลกัจจายน์ กับ มูลกรรมฐาน ไม่ใช่ ตัวเดียวกันหรือครับ  (อ่าน 1908 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม บาลีมูลกัจจายน์ กับ มูลกรรมฐาน ไม่ใช่ ตัวเดียวกันหรือครับ

ตอบ ที่จริงก็ได้ตอบไปหลายครั้งแล้วนะ เรื่องนี้ แต่เอาอีกทีก็ได้หวังว่าคงไม่ต้องถามกันอีกนะ

บาลีมูลกัจจายน์ กับ มูลกัมมัฏฐาน นั้น เป็นอันเดียวกันหรือป่าว

บาลีมูลกัจจายน์ นั้น เป็นการสอนการแปล บาลี โดยมีแม่บท มี 8 หมวด 673 รูป 683 ปสิทธิ ทั้งหมดเรียกว่า รูปสิทธิ
1.สนธิกัณฑ์ 2.นามกัณฑ์ 3.การกกัณฑ์ 4.สมาสกัณฑ์ 5.ตัทธิตกัณฑ์ 6.อาขยาตกัณฑ์ 7.กิพพิธานกัณฑ์ 8.อุณาทิกัณฑ์

ทั้งหมดนี้เรียกว่า แบบแผนเรียน การเรียนการแปลบาลี ซึ่งในสมัยก่อน ก็จะใช้เป็นการเรียนในหลักสูตร เปรียญตรี และเปรียญโท (นิดหน่อย)

ดังนั้นบาลีมูลกัจจายน์ ไม่มีเรื่องการปฏิบัติภาวนาอะไรทั้งนั้น เป็นเพียงแบบเรียนไวยากรณ์ ของเดิม ที่เปรียญตรี ต้องท่องแม่บททั้งหมดเพื่อเข้าสอบและแปล

พอขึ้นเป็นเปรียญโท ก็มีการแปล มงคลทีปนี และ วินัย เช่นเดียวกับเปรียญชั้นโทในปัจจุบัน เพราะวินัย และ มงคลเป็นเรื่องที่ต้องรู้ก่อนการภาวนา

พอขึ้นเปรียญเอก จึงจะได้เรียน มูลกัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นภาษาบาลี มีแม่บทเช่นกัน และเป็นแม่บทภาษาที่แปลซับซ้อนเพราะเป็นเรื่อง อธิจิต โดยตรงในปัจจุบัน หลักสูตรเปรียญสมัยใหม่ได้ใช้ วิสุทธิมรรค 1-2- 3 แทนในปัจจุบันแล้ว

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า

บาลีมูลกัจจายน์ ไม่ใช่ วิชากรรมฐาน ซึ่งบาลีมูลกัจจายน์ ทาง สนง ส่งเสริม ได้จัดออกมาแล้วเมื่อต้นปี โดยสืบจากฉบับ ที่มีอยู่จริงและผ่านการชำระแล้ว ตั้งแต่
1.ฉบับรดน้ำดำโท สมัย ร3.
2.ฉบัับทองน้อย
3.ฉบับทองทึบ
4.ฉบับล่องชาด
5.ฉบับวัดสังขจายน์
6.ฉบับเทพชุมนุม

โดยมีลำดับ ฉบับรดน้ำดำโท เป็นฉบับหลัก และฉบับ รดน้ำดำโท แตก ออกเป็น 2 ฉบับ คือ ฉบับทองน้อย และ ฉบับเทพชุมนุม จากนั้น ฉบับทองน้อย ก็แยกมาอีก 3 ฉบับ เป็นฉบับทองทึบ ล่องชาด และ สังขจายน์

กล่าวได้ว่า บาลีมูลกัจจายน์ ไม่ได้เป็นคัมภีร์เกี่ยวกับ กรรมฐานเลยสักนิด เป็นเพียงหลักไวยากรณ์ เท่านั้น

ส่วนคัมภีร์ มูลกัมมัฏฐาน นั้น แยกออกเป็น สามส่วน
มูลกัมมัฏฐาน รูปกัมมัฏฐานสังคหวิภาค อรูปกัมมัฏฐานสังคหวิภาค และ วิปัสสนากัมมัฏฐาน
รูปกัมมัฏฐาน นั้นมี 2 ผูก
อรูปกัมมัฏฐาน ก็มี 2 ผูก
วิปัสสนากัมมัฏฐาน ก็มี 2 ผูก
รวมทั้งหมด 6 ผูก
แต่ตัวมูลกัมมัฏฐาน ที่เป็นฉบับใบลาน ต้นนั้นมีจำนวนมาก ตามหลักวิชากัมมัฏฐาน แบ่งเป็นเนื้อหาตามหลัก ตั้งแต่ บุพพกรณ์กรรมฐาน 3 ผูก อนุสสติ 6 และ 4 มีจำนวน 10 ผูก ต่อด้วย กสิณ 10 อีก 10 ผูก อสุภะ 10 อีก 10 ผูก จตุธาตุววัตถาน อีก 10 ผูก อัปปมัญญา 4 ผูก ทิศาผรณา 1 ผูก .......( พอเนาะ ยิ่งเขียนยิ่งเยอะ )

มูลกัมมัฏฐาน จึงเป็นวิชากรรมฐาน จริง ๆ เนื่องด้วยศัพท์บาลี ในมูลกัมมัฏฐาน นั้นมีความซับซ้อน ในเรื่อง อธิจิต ตามหลักสูตร จึงจัดเป็นการแปลที่ต้องมีความระวัง เว้นจากการตีความ ให้แปลตรงตัวก่อน ถ้าจะตีความให้ทำเป็น อรรถกถา ออกมา หรือ ฏีกา อนุฎีกา ไปตามลำดับ

พระที่มีความรู้น้อย ไม่เข้าใจ ไม่เคยเรียนบาลี ไม่เคยสัมผัสการเรียนการแปล ในสมัยใหม่มาก่อน ก็จะไม่ค่อยรู้เรื่องการแปลแบบเก่า เช่นกัน แต่ถ้าจะกล่าวว่า รู้ ต้องมีความรู้ถึง ระดับ ปธ 8 ขึ้นไป ที่ได้แปล วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นเรื่อง อธิจิต ก่อนจนถึง วิปัสสนา

สรุป บาลีมูลกัจจายน์ ไม่ใช่ วิชากรรมฐาน ควรจะเรียกว่า โยชนา กัจจายนะ จะได้เข้าใจให้ถูกต้อง ทาง สนง ส่งเสริมพระกรรมฐาน ได้จัดพิมพ์ เล่มโยขนา ออกมาแล้ว ในชื่อว่า ปโมกขันติ เมื่อต้นปีนี้ เนื่องด้วยฉบับใบลานนั้น ยืมยาก อ่านได้ยาก เป็นสมบัติแห่งชาติ

ส่วนมูลกัมมัฏฐาน นั้นเป็น วิชากรรมฐาน โดยตรง

และมูลกัมมัฏฐาน นี้ ได้เริ่มตีพิมพ์เป็นฉบับย่อ โดยถอดจากใบลาน วัดราชาธิวาส ( วัดสมอราย ) เป็นหนังสือ บาง ๆ เล่มเล็ก จำหน่ายในราคา 1 บาท เมื่อปี พ.ศ.2477 มีผู้ตีพิมพ์ อยู่ 2 - 3 ท่าน ครั้งละ 1000 เล่ม และจำหน่ายให้เป็นแบบเรียนเบื้องต้น ในราคา 1 บาทเช่นกัน

ส่วนความเป็นจริงนั้น ตัว คัมภีร์โยชนา หรือ คัมภีร์มูลกัจจายน์ นั้นเป็นการรวบรวม หลักไวยากรณ์ โดย พระญาณกิตติเถระ ใน พ.ศ. 2046 - 2047 ซึ่งขณะนั้นท่านจำพรรษา อยู่ที่วัด ปนสาราม ( แปลว่า ขนุน หรือเรียกชื่อว่า วัดขนุน ) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ ศรีนครเชียงใหม่ ซึ่ง มีความเกี่ยวพันกับ พระเจ้าติโลกนาถ เมืองพะเยา ด้วย

ส่วนมูลกัมมัฏฐาน นั้นไม่ได้เกิดจากการแต่งของ พระญาณกิตติ ดังที่พระที่ไปอธิบายผิด แต่มีมาก่อน เนิ่นนานตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยา ตอนต้น แต่สืบกันมาด้วย เป็นแบบแผนสำหรับการฝึกภาวนา อันอ้างอิงได้จาก พระไตรปิฏก เนื่องด้วยพระไตรปิฏก ทุกสมัยนั้นมาด้วยภาษาบาลี ทั้งหมด คนที่จะได้อ่านอย่างยุคปัจจุบัน กระทำได้ยาก สมัยก่อนจึงมักนิยมฟังพระอ่านกัณฑ์เทศน์ มากกว่า ซึ่ง มูลกัมมัฏฐาน ก็มีความเป็นมาแนบมาด้วยกันเป็นหลักการอธิบายวิธีการฝึก กรรมฐาน ตั้งแต่ สมถ จน ถึง วิปัสสนา

เล่าไว้พอเท่านี้

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม อยากเรียนถามท่าน ธัมมะวังโส บทต้น มูลกัมมัฏฐาน ในใบลาน ที่ท่านมีนั้น กล่าวไว้อย่างไร ครับ

ตอบ เป็นภาษาบาลี นะ จะเอานำให้อ่านแค่ สัก 4 - 5 บรรทัดพอนะ ( ขี้คร้านพิมพ์ )

บทต้นอยู่ หน้า ๖ ในหนังสือ มูลกัมมัฏฐาน และ อยู่ที่ คัมภีร์ มูลกัมมัฏฐาน กัจายนะ รูปกัมมัฏฐาน สังคหวิภาค กถา ฉบับที่ ๑ แผ่นที่ ๑๕ ของใบลาน บันทึกโดย พระปัญญาวิศาลเถร ถอดจาก อักขระขอมบาลี ในยุค รัชกาลที่ ๑ มีจำนวนทั้งสิ้น ๒ ผูก สำหรับ รูปกัมมัฏฐาน ( ฉบับล่องชาด เป็น ภาษาขอมบาลี ) ต้นฉบับใบลาน เป็นของ วัดราชาธิวาส ( วัดสมอราย)

สมถวิปสฺสนานํ ภาวนมิโต ปรํ
กมฺมฏฺฐานํ ปวกฺขามิ ทุวิธมฺปิ ยถากฺกมํ ฯ
ตตฺถ สมถสงฺคเห ตาว ทส กสิณานิ ทส อสุภา ทส อนุสฺสติโย จตสฺโส อปฺปมญฺยาโย เอกา สญฺญา เอกํ ววฏฺฐานํ จตฺตาโร อรุปฺปา เจติ สตฺตวิเธน สมถกมฺมฏฐาน สงฺคโห ฯ
ข้อความบาลี มี ต่อไป อีกสองหน้า

คำแปล ตามหนังสือ
ในกรรรมฐาน เจ้า ทั้งมวญนี้ มีธรรมคติ ๔ ประการ คือ ปุพพาภิสังขาร ๑ ธัมมะยาจนา ๑ ธัมมะวะวัฏฐานะ ๑ ธัมมะวิกุพพะนา ๑
ปุพพาภิสังขาร มี ๗ ประการ และข้อความต่อไป เรื่อย ๆ.......

( เอาเพียงเท่านี้นะ ขี้คร้านพิมพ์ )

เจริญธรรม / เจริญพร

( กำลังจะเริ่มดำเนินการจัดทำหนังสือ วิโมกข์ วิภังค์ เล่ม 2 เพื่อรับศิษย์ รุ่นสุดท้าย ก่อนจากกัน ใครสนใจเป็นเจ้าภาพ ต้องการมีส่วนร่วม ด้วย หลังไมค์เลยนะ )
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

sinsae

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 277
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า