ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "ธรรม มีเหตุปัจจัย อาศัยซึ่งกันและกัน มิใช่เกิดขึ้นมาโดด ๆ"  (อ่าน 5912 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
      พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  นิทานวรรค  [๑.  นิทานสังยุต]
              ๓.  ทสพลวรรค  ๓.  อุปนิสสูตร

พระไตรปิฏก เล่มที่  16 หน้าที่ 40 - 43

                  ๓. อุปนิสสูตร
               ว่าด้วยธรรมที่อาศัยกัน
            [๒๓]    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  ...  เขตกรุงสาวัตถี
            “ภิกษุทั้งหลาย    เราเมื่อรู้เห็น    จึงกล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเราเมื่อไม่รู้เห็น    จึงไม่กล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
            เมื่อรู้เห็นอะไร    ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี    คือ    เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ว่า
            ‘รูปเป็นอย่างนี้    ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้    ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
            เวทนาเป็นอย่างนี้    ฯลฯ
            สัญญาเป็นอย่างนี้    ฯลฯ
            สังขารเป็นอย่างนี้    ฯลฯ
            วิญญาณเป็นอย่างนี้    ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้    ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’
ราเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แล    ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี
            เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป(๑)    มีอยู่    ขยญาณ(ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป)    แม้ใด    ย่อมมีเรากล่าวว่าขยญาณแม้นั้นมีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งขยญาณ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘วิมุตติ‘(๒)
            เรากล่าวว่าแม้วิมุตติก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งวิมุตติ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘วิราคะ‘(๓)
            เรากล่าวว่าแม้วิราคะก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งวิราคะ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘นิพพิทา‘(๔)
            เรากล่าวว่าแม้นิพพิทาก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งนิพพิทา    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ยถาภูตญาณทัสสนะ‘(๕)
            เรากล่าวว่าแม้ยถาภูตญาณทัสสนะก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สมาธิ’
            เรากล่าวว่าแม้สมาธิก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งสมาธิ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สุข’
            เรากล่าวว่าแม้สุขก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งสุข    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ปัสสัทธิ‘(๖)
            เรากล่าวว่าแม้ปัสสัทธิก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งปัสสัทธิ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ปีติ’


(๑) ธรรมเป็นที่สิ้นไป  ในที่นี้หมายถึงมรรคและผล  (สํ.นิ.อ.  ๒/๒๓/๖๐-๖๑)
(๒) วิมุตติ  ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยอรหัตตผล  (สํ.นิ.อ.  ๒/๒๓/๖๑)
(๓) วิราคะ  ในที่นี้หมายถึงมรรค  คือ  ธรรมเครื่องกำจัดกิเลส  (สํ.นิ.อ.  ๒/๒๓/๖๑)
(๔) นิพพิทา  ในที่นี้หมายถึงนิพพิทาญาณ  คือ  ญาณที่พิจารณาเห็นสังขารว่ามีโทษจนเกิดความเบื่อหน่าย
   (สํ.นิ.อ.  ๒/๒๓/๖๑)
(๕) ยถาภูตญาณทัสสนะ  ในที่นี้หมายถึงญาณที่พิจารณาเห็นสังขารตามความเป็นจริง  (สํ.นิ.อ.  ๒/๒๓/๖๒)
(๖) ปัสสัทธิ  คือธรรมที่สงบระงับความกระวนกระวาย  อันเป็นปัจจัยแห่งความสุขที่เป็นเบื้องต้นแห่งสมาธิที่แน่วแน่
   (สํ.นิ.อ.  ๒  /๒๓/๖๒)


เรากล่าวว่าแม้ปีติก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งปีติ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ปราโมทย์’
            เรากล่าวว่าแม้ปราโมทย์ก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งปราโมทย์    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ศรัทธา’
            เรากล่าวว่าแม้ศรัทธาก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งศรัทธา    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ทุกข์’
            เรากล่าวว่าแม้ทุกข์ก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งทุกข์    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ชาติ’
            เรากล่าวว่าแม้ชาติก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งชาติ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ภพ’
            เรากล่าวว่าแม้ภพก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งภพ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘อุปาทาน’
            เรากล่าวว่าแม้อุปาทานก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทาน    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ตัณหา’
            เรากล่าวว่าแม้ตัณหาก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งตัณหา    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘เวทนา’    ฯลฯ
            สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ผัสสะ’  ...  สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สฬายตนะ’  ...  สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘นามรูป’  ...  สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘วิญญาณ’  ...  สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สังขารทั้งหลาย’
            เรากล่าวว่าแม้สังขารทั้งหลายก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘อวิชชา’
            ภิกษุทั้งหลาย    เพราะเหตุนี้    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย    วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัยผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัยอุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย    ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย    ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย    สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย    นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัยขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย
            เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกบนยอดภูเขา    น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม    ทำให้ซอกเขา    ลำธารและห้วยเต็มเปี่ยม    ซอกเขา    ลำธารและห้วยทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว    ทำหนองน้ำให้เต็มหนองน้ำเต็มเปี่ยมแล้ว    ทบึงให้เต็ม    บึงเต็มแล้ว    ทำแม่น้ำน้อยให้เต็ม    แม่น้ำน้อยเต็มแล้ว    ทำแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม    แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว    ก็ทำมหาสมุทรให้เต็ม    แม้ฉันใด
            ภิกษุทั้งหลาย    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย    วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย    ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัยอุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย    ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย    ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย    สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย    นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย    ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย    ฉันนั้นเหมือนกัน
               อุปนิสสูตรที่ ๓ จบ




ขอบคุณภาพจาก http://webecoist.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 10, 2012, 11:01:19 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสูตร นี้ ชี้แจง ลำดับของพระกรรมฐาน ต้องเป็นไปตามลำดับ มิใช่พลุ่งโพล่งขึ้นมาได้อย่างโดด ๆ จะต่างกันที่การรู้ช้า หรือ รู้ไว แต่รู้อย่างไรก็เป็นอย่างนี้ จากพระสูตร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ยก อาสวักขยญาณ เป็นจุดเริมต้น อธิบายไปสู่ที่มา ก่อนจะเป็น อาสวักขยญาณ

     เริ่มต้นดังนี้
      อาสวักขยญาณ อาศํย วิมุตติ
      วิมุตติ อาศัย วิราคะ
      วิราคะ อาศัย นิพพิทา
      นิพพิทา อาศัย ยถาภูตญาณทัศนะ
      ยถาภูตญาณทัศศนะ อาศัย สมาธิ
      สมาธิ อาศัย สุข
      สุข อาศัย ปัสสัทธิ
      ปัสสัทธิ อาศัย ปีติ
      ปีติ อาศัย ปราโมทย์
      ปราโมทย์ อาศัย ศรัทธา
      ศรัทธา อาศัย ทุกข์

      ทุกข์ อาศัย ชาติ
      ชาติ อาศัย ภพ
      ภพ อาศัย อุึปาทาน
      อุปาทาน อาศัย ตัณหา
      ตัณหา อาศัย เวทนา
      เวทนา อาศัย ผัสสะ
      ผัสสะ อาศัย สฬายตนะ
      สฬายตนะ อาศัย นามรูป
      นามรูป อาศัย สังขาร
      สังขาร อาศัย อวิชชา


   ดังนั้นการปฏิบัติ ก็เป็นไปตามลำดับ ภาวนาตามลำดับ และให้รู้ว่า ตัวเราเองนั้นยังติดขัดอยู่ที่ตรงไหน อันนี้ควรจะรู้ จะได้ปฏิบัติภาวนาได้ถูก ตรงจุดที่ติด ตรงจุดที่ขัด ทำไมผู้ปฏิบัติภาวนาส่วนใหญ่ เลิกล้มภาวนา ก็เพราะว่า นิพพิทา ( ความหน่ายต่อ อวิชชา ) ยังไม่เกิดจริง เพียงเริ่มต้นที่จะเกิด ส่งผลให้ใจมีความหน่ายบ้าง พอมาเริ่มปฏิบัิติ ก็ไปปฏิบัิติ ส่วนที่สูงกว่า เป็นวิราคะ ไปจึงทำให้ใช้เวลามากส่วนหนึ่ง เมื่อภาวนาไม่ได้ก็เกิดความเบื่อหน่าย ต่อการภาวนา ในที่สุดก็เลิกล้มการภาวนา ก็เพราะเหตุว่า ไม่รู้สถานะส่วนที่ติด ส่วนที่ขัดข้องอยู่ ช้ามลำดับกรรมฐาน ไป ดังนั้น เมื่อท่านมีทุกข์ ก็อาศัย ศรัทธา ให้เกิดความปราโมทย์ ความปราโมทย์ ส่งการเข้าถึงธรรมเป็นลำดับต่อท่าน


   
     
   
     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 10, 2012, 10:55:45 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้อ่านเรื่องนี้ แล้วจึงทำให้เห็นว่า ธรรมเป็นสิ่งที่เนื่องซึ่งกันและกัน

จะไปสู่ ขยญาณ ก็ต้องผ่านลำดับธรรม ตามนี้

ตอนนี้น่าจะติดอยู่ที่ สุข ยังไม่ได้คะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านพระสูตร และ บทความย่อสรุปจาก พอจ. แล้วรู้สึกว่า ตนเองยังบกพร่องข้ามขั้นตอนอยู่ครับ มองเห็นเลยว่ามีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจริง ๆ แล้วนะครับ คือ สมาธิ ยังไม่สมบูรณ์ ยถาภูตญาณทัศนะ ก็เลยไม่แจ่มแจ้ง ครับ

  :c017: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุขอบพระคุณกับพระธรรมที่เป็นประโยชน์นี่ครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ขอให้ ศิษย์ ทุกท่าน ทบทวน ส่วนนี้กันด้วยในการภาวนา จะได้ไม่หลงทาง

อย่ามัวแต่ติด รูปแบบภายนอก ซึ่งเป็นของโลก จงเข้าถึงธรรม ซึ่งเป็นธรรมภายใน

จงเห็นความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไป ใน สังขาร และ ธรรม ทั้งหลาย ทั้วปวง


บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา