ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 )  (อ่าน 55832 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 05:06:18 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 43 ( 1 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: กันยายน 01, 2016, 10:50:13 am »
0


หลักปฏิบัติเพื่อ ไปสู่ กายทั้ง สี่ ข้อความปรากฏเป็นแม่บท
 พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  สีลขันธวรรค  [๒.สามัญญผลสูตร] เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๗๒ - ๘๔ 
  เป็นต้นไป ( ฉบับบาลี ตั้งแต่หัวข้อที่ 123 หน้าที่ 94 )

   มีหมวดจำแนกดังนี้
   1. อินทรียสังวร
      ( นิมิตฺตคฺคาหี ไม่รวบ   อนุพยญฺชนคาหี  ไม่แยกถือ สํวรํ ย่อมสำรวมระวัง ธมฺมรกฺ ย่อมรักษา ) เป็น ปราการ
   2. สติสัปชัญญะ
        การประกอบสติด้วยการรู้สึกตัว ใน 19 อิริยาบถย่อย
        1.ก้าวไป 2. ถอยกลับ 3. แลดู 4. เหลียวดู(หัน) 5. คู้เข้า ( ตึง)  6. เหยียดออก ( ผ่อน ) 7.นุ่งห่ม  8. กิน 9.ดื่ม 10. เคี้ยว 11. ลิ้ม  12.ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ  13.เดิน 14. ยืน 15.นั่ง  16.นอน 17. ตื่น 18.พูด 19.นิ่ง
   3. สันโดษ
        พอคุ้ม พออิ่ม ด้วยปัจจัย 4
   4. การละนิวรณ์ ( การทำสมาธิ )
         อาศัยอริยสังวร อริยสติสัมปชัญญะ อริยสันโดษ พักอยู่ ( นิ่ง ) ในเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง  เธอกลับจากบิณฑบาตร ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งขัด สมาธิ
         นั่งขัดสมาธิ คือ
            ตั้งกายตรง
            ดำรงสติเฉพาะหน้า
            ละอภิชฌา ในโลก   มีใจปราศจาก อภิชฌา      ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อภิชฌา
            ละพยาบาท            มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสัตว์     ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ความมุ่งร้าย
            ละถีนมิทธะ             ปราศจากถีนะมิทธะกำหนดแสงสว่าง  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนะมิทธะ
            ละอุทธัจจะกุกกุจจะ  เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจะกุกกุจจะ
            ละวิจิกิจฉา              ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรม   ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก วิจิกิจฉา
           อุปมา คนไม่มีหนี้ มีทรัพย์เหลือ / คนไข้หนัก แล้วหายป่วย / คนถูกจองจำ และสิ้นโทษ / คนเป็นทาส ได้รับความเป็นไท / คนมีทรัพย์ หาร้านไม่ได้ และหาร้านใช้ทรัพย์ได้
           ผลจากการละนิวรณ์
          ย่อมเกิดเบิกบานใจ (ปราโมทย์ ) ย่อมอิ่มใจ (ปีติ) กายย่อมสงบ ( กายปัสสัทธิ ) มีกายสงบ ( จิตตปัสสัทธิ) ย่อมได้รับสุข ( สุขสมาธิ ) เมื่อมีความสุข ( ผลสมาธิ เอกัคคตา ) จิตย่อมตั้งมั่น ( เป็นอุปจาระสมาธิ ขึ้นไป )
 
   5. การเข้าปฐมฌาน ภิกษุสงัดจากกาม และอกุศลกรรมทั้งหลายแล้ว
        ภาวนานั้นมีวิตก มีวิจาร มีปีติ และ สุข อันเกิดจากวิเวกอยู่
        เธอทำกายให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มด้วยปีติและสุข อันเกิดจากเวิเวกอยู่
        รู้สึกซาบซ่าน ไม่มีส่วนไหนของร่างกาย( กายเนื้อ กายหยาบ กายละเอียด ) ที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง
        อุปมา ดั่งก่้อนสบู่ที่มีความเย็นพอกไปที่ร่างกาย ร่างกายย่อมรู้สึกเย็นตามร่างกายที่พอกสบู่นั้น
        ปฐมฌาน ให้ผลคือ ความรู้สึกซาบซ่านแล่นไปในกายทั้ง 3 ผู้ภาวนาย่อมรู้สึกได้ด้วยตนเองว่า กายทั้ง 3 มีความซาบซ่านอยู่อย่างนั้นเช่นนั้น นี้คือผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ ซึ่งดีกว่าและประณีตกว่าผลแห่งการละนิวรณ์

     ( เป็นที่ลำบากหากจะให้พิมพ์ต่อไป ตามองไม่ค่อยเห็น แว่นตาใช้ไม่ได้ตอนนี้ )

   6. การเข้าทุติยฌาน
   7. การเข้าตติยฌาน
   8. การเข้าจตุตถฌาน
   9. วิชชา 8 ประการ
       9.1 วิปัสสนาญาณ
       9.2 มโนมยิทธิญาณ
       9.3 อิทธิวิธญาณ
       9.4 ทิพพโสตธาตุญาณ
       9.5 โจโตปริยญาณ
       9.6 ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
       9.7 ทิพพจักขุญาณ
       9.8 อาสวักขยญาณ

   นี่เป็นหลักปฏิบัติ แบบรวบรัด ที่สุดในสาย เจโตสมาธิ ไม่ใช่ ปัญญาวิมุตติ แต่เป็นที่ข้อสังเกต ตอนเริ่ม วิชชา 8 ประการ วิปัสสนา เป็นลำดับที่หนึ่ง และจบ ด้วยปัญญาเป็นลำดับสุดท้าย อันที่จริงว่าโดยสมมุติของสมถะ มองว่าเป็นอย่างนั้นแต่สำหรับ สายมูลกรรมฐาน นั้น ตั้งแต่ วิปัสสนาญาณ จนถึง อาสวักขยญาณ เป็นปัญญา ทั้งหมด เพราะ วิชชา 8 เกิดจากปัญญา มีรากเหง้ามาจากศีล มีสมาธิเป็นบาทฐาน ปัญญาเป็นที่สุด จึงได้ชื่อว่า วิชชา เพราะเป็นการใช้ปัญญา ตรง นั่นเอง ด้วย ญาณ 10 ประการนั้นต้องใช้ สุขสัญญา และ ลหุสัญญา เป็นบาทฐาน ส่วนนี้ต้องเกิดจากปัญญา มีผู้สำเร็จในการเข้าฌาน ออกฌาน ได้แต่ ญาณทั้ง 10 ก็ไม่ปรากฏ เพราะไม่มีปัญญา และความฉลาดในสมาธิ ที่เรียกว่า โคจรในสมาธิ ดังนั้น สมาธิ ไม่ใช่ปัญญา ปัญญา จึงเป็น วิชชาที่มีในสมาธิ

     ไฟล์เสียง บรรยายธรรม เรื่องนี้
   
   
   
 (๒๔๙)   เปรียบเหมือนสระน้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัวบนยอดภูเขา  คนตาดียืนที่อบสระนั้น  เห็นหอยโข่งและหอยกาบ  ก้อนกรวดและก้อนหินหรือฝูงปลากำลังแหวกว่ายอยู่บ้าง  หยุดอยู่บ้าง  ในสระนั้น  ก็คิดอย่างนี้ว่า  ‘สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว  หอยโข่งและหอยกาบ    ก้อนกรวดและก้อนหิน  และฝูงปลาเหล่านี้กำลังแหวกว่ายอยู่ก็มี  หยุดอยู่ก็มี  ในสระนั้น’  ฉันใด  เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง  ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน  ปราศจากความเศร้าหมอง  อ่อน  เหมาะแก่การใช้งาน  ตั้งมั่น  ไม่หวั่นไหวอย่างนี้  ภิกษุน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ  รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า  ‘นี้ทุกข์  นี้ทุกขสมุทัย  นี้ทุกขนิโรธ  นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  นี้อาสวะ  นี้อาสวสมุทัย  นี้อาสวนิโรธ  นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’  เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้  จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ  ภวาสวะ  และอวิชชาสวะ  เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า  หลุดพ้นแล้ว  รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว  อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว  ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว  ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ 
ฉันนั้น  ข้อนี้จัดเป็นผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์  ซึ่งดีกว่าและประณีตกว่าผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ข้อก่อน  ๆ





  (๖๔)  สิ่งที่นับไม่ได้    มีที่สุด
    ที่บุคคลรู้ไม่ได้    ๔    อย่าง
    คือ    (๑)    หมู่สัตว์    (๒)    อากาศ    (๓)    อนันตจักรวาล
    (๔)    พระพุทธญาณที่หาประมาณมิได้
    สิ่งเหล่านี้อันใคร  ๆ    ไม่อาจรู้แจ้งได้


 พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  พุทธวงศ์  ๑.  รตนจังกมนกัณฑ์ หน้าที่ ๕๖๔ เล่มที่ ๓๓






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 02, 2016, 12:29:45 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: กันยายน 01, 2016, 05:25:02 pm »
0
 :smiley_confused1:
 st11    :25:    st12    :25:    st12
ข้อวินิจฉัย อันปุถุชนพินิจไม่ได้ ควรแก่ผู้มีกายกรรม มโนกรรม ล่วงแล้วแก่ความเพียร
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 44 ( 2 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: กันยายน 02, 2016, 01:17:08 pm »
0


แม่บทย่อย -รูปํ สททํ คนฺธํ รสํ โผฏฐพพํ มนํ น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ  นานุพฺยญฺชนคฺคาหี ยตฺวาธิกรณเมน
คำแปล เมื่อเห็น เมื่อฟัง เมื่อได้กลิ่น เมื่อได้รส เมื่อได้ผัสสะ เมื่อกระทบสภาวะ  ไม่ม่รวบถือ  ไม่แยกถือ  ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมระวังใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์

แม่บทย่อย-โส อิมินา อริเยน อินฺทฺริยสํวเรน สมนฺนาคโต อชฺฌตฺตํ อพฺยาเสกสุขํ  ปฏิสํเวเทติ เอวํ โข มหาราช ภิกฺขุ อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร โหติ ฯ
คำแปล- ภิกษุผู้ประกอบด้วยความสำรวมอินทรีย์อันเป็นอริยะนี้  ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลส
ในภายใน    มหาบพิตร    ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างนี้แล


การสำรวมระวัง อินทรีย์ ก็ชื่อว่าปฏิบัติ ธรรมแล้ว เป็นทั้ง สมถะ เป็นทั้ง วิปัสสนา
ถ้าใครถามฉันว่า จะเริ่มปฏิบัติธรรมเมื่อไหร่ ก็ต้องบอกว่า เพียงท่านเริ่มสำรวมระวัง อินทรีย์ ทั้ง 6 ก็ชื่อว่า เหยี่ยบเท้าเข้าสู่ มรรค แล้ว นั่นเอง ไม่ต้องรอวันพรุ่งนี้ หรือ เวลาไหน ?

    ตา มองเห็น รูป สำรวมระวังในรูป สักว่า นั่นคือ รูป ระงับอภิชาฌาโทนัส
 ( ความเพ่งเล็งในรูป ว่าสวย ว่าไม่สวย ไม่สวย ไม่ถือเอารูปที่เห็นมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
    หู  ฟัง เสียง สำรวมระวังใน เสียง สักว่า นั่นคือ เสียง ระงับอภิชาฌาโทนัส
 ( ความเพ่งเล็งในรูป ว่าไพเราะ ว่าไม่ไพเราะ  ไม่ถือเอาเสียงที่ฟังมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
    จมูก ดม กลิ่น สำรวมระวังใน กลิ่น สักว่า นั่นคือ กลิ่น ระงับอภิชาฌาโทนัส
 ( ความเพ่งเล็งในกลิ่น ว่าดี ว่าไม่ดี  ไม่ถือเอากลิ่นที่ดมมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
    ลิ้น รับ รส สำรวมระวังใน รส สักว่า นั่นคือ รส ระงับอภิชาฌาโทนัส
 ( ความเพ่งเล็งในรส ว่าอร่วย ว่าไมอร่อย  ไม่ถือเอารสที่รับมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
    กาย กระทบ โผฏฐัพผะ สำรวมระวังใน โผฏฐัพผะ สักว่า นั่นคือ โผฏฐัพพะ ระงับอภิชาฌาโทนัส
 ( ความเพ่งเล็งในโผฏฐัพผะ ว่าดี ว่าไม่ดี  ไม่ถือเอาโผฏฐัพผะที่กระทบมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
   ใจ กระทบ อารมณ์ สำรวมระวังใน อารมณ์ สักว่า นั่นคือ อารมณ์ ระงับอภิชาฌาโทนัส
 ( ความเพ่งเล็งในอารมณ์ ว่าพอใจ ว่าไม่พอใจ  ไม่ถือเอาอารมณ์ที่กระทบมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )

    การสำรวมอินทริย์ ไม่ใช่การท่อง แต่เป็นการหักเห สังขาร พื้นฐานไม่ให้จิตผู้ปฏิบัติไปฝักใฝ่ ใน บาปอกุศล ดังนั้น วิธีการที่จะสำรวมนั้นอยู่ที่ คำเดียว ระวัง เพราะผู้ปฏิบัติยังมีกิเลส ดังนั้นจะไม่ให้รัก ไม่ให้ชอบ นั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในการสำรวมอินทรีย์ก็คือ ต้องระวัง

    ถ้า ตา จะดูเห็น รูปสวย ไม่สวย ก็ตืองห้ามตา ห้ามใจอย่าไปดู เรื่องบางเรื่องไม่เกิดเพราะไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่ที่มันเกิดก็เพราะได้เห็น ได้ยินดังนั้น อริยอินทริย์ มุ่งตรงเพื่อการหลีกเลี่ยง บาปอุกศล อันจักเกิดขึ้นได้สำหรับผู้ปฏิบัติเริ่มต้น ดังนั้น




     การสำรวมระวัง นี้ จึงมีความสำคัญ อยู่ 2 ระดับ

     คือ 1. ระดับอายตนะ ก็คือ ปิด อย่าไปยุ่งเกี่ยว
          2. ระดับใจ ก็คือ ต้องรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างนี้

   ตัวอย่าง 2 ระดับที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงแก่พระอานนท์
   พระอานนท์จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ควรที่จะปฏิบัติตนต่อสตรีอย่างไร ดังมีเนื้อความที่ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตรตอนหนึ่งว่า ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อสตรีอย่างไรพระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าดู” “เมื่อจำต้องดู จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” “อย่าพูดด้วย” “เมื่อจำต้องพูด จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” “ต้องตั้งสติไว้”




ภิกษุผู้ประกอบด้วยความสำรวมอินทรีย์อันเป็นอริยะนี้ 
ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน( กายหยาบ กายละเอียด กายทิพย์ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 02, 2016, 01:18:53 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 46 ( 3 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #44 เมื่อ: กันยายน 03, 2016, 12:48:39 pm »
0


แม่บทย่อย-(123 )กถญฺจ มหาราช ภิกฺขุ สติสมฺปชญเญน สมนฺนาคโต โหติ อิธ มหาราช ภิกฺขุ อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี  โหติ อาโลกิเต วิโลกิเต สมฺปชานการี โหติ สมฺมิญชิเต ปสาริเต สมฺปชานการี โหติ สํฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ สมปชานการี โหติ อสิเต ปีเต ขายิเต สายิเต สมฺปชานการี โหติ อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม สมฺปชานการี โหติ คเต ฐิเต         นิสินฺเน สุตฺเต ชาคริเต ภาสิเตตุณฺหีภาเว สมฺปชานการี โหติ ฯ เอวํ โข มหาราช ภิกฺขุ สติสมฺปชญฺเญน สมนฺนาคโต โหติ ฯ

(๒๑๔) มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าประกอบด้วยสติสัมปชัญญะเป็นอย่างไร คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดูการคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิบาตรและจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว  การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าประกอบด้วยสติสัมปชัญญะเป็นอย่างนี้แล

เมื่อปิดอินทริย์ด้วยการสำรวม สิ่งที่นับเนื่องหลังจากปิดสำรวมระวังแล้ว ก็ต้องประคองสติเพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ ใน เหตุทั้ง 16  ตั้งแต่การก้าวไป ถอยกลับ เป็นต้น สิ้นสุดที่ การนิ่ง ( ตุณฺหีภาเว ซึ่งเป็นสภาพ เตรียมรับจิตที่เป็นสมาธิ )

   ดังนั้น การฝึกใช้ สติ จึงเป็นลำดับที่สอง ที่ สำนักสอนปฏิบัติกรรมฐาน ควรจะต้องรีบสอนก่อนต่อจากการสำรวม อินทรีย์ 6 เพราะว่า สัมปชัญญะ เพียงเป็นตัวตื่นรู้ ( สัมปชัญญะ )  ไม่ใช่ รู้เห็น ( ญาณทัศศนะ ) หลายที่ไปพูดสอนเป็นอันเดียวกัน นั้นสอนอย่างนั้นไม่ถูก

     สัมปปชัญญะ หมายถึงการตื่นรู้ ไม่ได้มีญาณใด ๆ แต่เป็นการรู้ขณะนั้น ว่า ทำอะไรอยู่เท่านั้น พระพุทธเจ้าสรุปไว้ 19 อย่าง

   1.ก้าวไป 2. ถอยกลับ 3. แลดู 4. เหลียวดู(หัน) 5. คู้เข้า ( ตึง)  6. เหยียดออก ( ผ่อน ) 7.นุ่งห่ม  8. กิน 9.ดื่ม 10. เคี้ยว 11. ลิ้ม  12.ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ  13.เดิน 14. ยืน 15.นั่ง  16.นอน 17. ตื่น 18.พูด 19.นิ่ง

   ซึ่งทั้งหมดนั้น เป็นสภาวะสอดคล้องในชีวิตประจำวัน ลำดับก่อนหลัง ก็คือ 1 - 18 นั้น มีเกิดขึ้นก่อนหลังได้ แต่ อันดับที่ 19 เป็นอันดับสุดท้าย และ ก่อน เสมอ คือปิดหัว ปิดท้าย ถ้าเป็นสุดท้าย ก็เตรียมเป็นการเจริญจิตเป็นสมาธิ  ถ้าเป็นอันดับก่อน ก็จะเป็นการเจริญจิตเป็นสติ

     ความต่างก็ตรงนี้เท่านั้น เพราะถ้า ตุณฺหีภาเว ( การนิ่ง ) มีก่อน ก็จะนำไปสู่ อิริยาบถ ต้องดำเนินวิถีธรรมด้วย สติ
     แต่ ถ้า ตุณฺหีภาเว จบท้ายของการ อิริยาบถ หมายความว่าป็นการเข้าสู่สภาวะ สมาธิ

     เห็นไหม ว่า จบ ลง ตรงจุดเดียว ไปต่อ หรือ หยุด มันทำให้รู้ว่า จะเป็น สติ หรือ สมาธิ

     ถ้าเป็น สติ ก็ทำให้เกิด สัมปชัญญะ  ( การตื่นรู้ตัว )
     ถ้าเป็น สมาธิ ก็ทำให้เกิด ยถาภูตญาณทัศศนะ  ( รู้แจ้งเห็นตามความจริง )

     คุณสมบัติทั้งสองประการจึงไม่เหมือนกัน แต่ นับเนื่องซึ่งกันและ ตรง ตุณฺหีภาเว ( นิ่ง ) เท่านั้น

     

     

    สมฺปชานการี
     ทำความรู้สึกตัว

   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 47 ( 4 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #45 เมื่อ: กันยายน 04, 2016, 04:37:19 pm »
0


ให้ทุกท่าน ทบทวน อริยอินทรีย์ อริยสติสัปชัญญะ อริยสันโดษ 3 ประการ เพราะต่อไปจะเป็นเรื่องของการเข้าสมาธิ แล้ว ถ้า  อริยอินทรีย์ อริยสติสัปชัญญะ อริยสันโดษ 3 ประการ ไม่ผ่องใส ไม่มีทางที่จะเข้าสมาธิได้

    อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ ( เข้าใจนะ )
    บางคนคิดว่า เป็นที่การขึ้เกียจ อันที่จริงเป็น เพราะเหตุ 3 ประการนี้ ไม่ผ่องใส


    ;)


 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 04, 2016, 11:54:23 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 48 - 52 ( 5 - 9 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #46 เมื่อ: กันยายน 04, 2016, 07:59:03 pm »
0






สมาปัชชนวสี 5 ก.ย. 59  04.00 น.
วุฏฐานวสี     9 ก.ย. 59  04.30 น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 04, 2016, 08:26:55 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อนุโมทนากับทุกท่าน ทึ่คิดถึงกัน
« ตอบกลับ #47 เมื่อ: กันยายน 08, 2016, 11:16:06 am »
0
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 53 ( 10 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #48 เมื่อ: กันยายน 10, 2016, 10:37:55 am »
0




วันนี้พูดถึงเรื่องคุณแห่ง เนสัชชิกธุดงค์ บ้างหลายท่านถามมาเพราะความไม่รู้ว่า เนสัชชิกธุดงค์
สำหรับพระอริยะบุคคลในครั้งพุทธกาลที่ รักษา เนสัชชิกธุดงค์ นั้นมีทั้งสองแบบ
แบบเจโตวิมุตติ คือ พระอริยะอนุรุทธะเถระ ท่านรักษา เนสัชชิกธุดงค์ 25 ปี บรรลุวิชชา 3 เอตทัคคะด้าน ทิพย์จักษุ
แบบปัญญาวิมุตติ คือ พระจักขุบาลเถระ ท่านรักษา เนสัชชิกธุดงค์จนกระทั่งตาบอด บรรลุธรรม ขณะที่ตาบอด
สำหรับพระอริยะบุคคลที่ต่ำกว่า พระอรหันต์ ก็ยังมีอีกมากที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฏก เช่่น พระจูฬอภยเถระ เป็นต้น
เนสัชชิกธุดงค์ คือ อะไร ?
เนสัชชิกธุดงค์ จัดเป็นธุดงค์วัตรข้อสุดท้าย คือ ข้อที่ 13 มีข้อความดังนี้
13.) ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน
การสมาทาน มีความจำเป็นต้องสมาทาน เพราะธุดงค์ มีสัจจะบารมีธรรม จึงต้องสมาทาน ไม่ใช่นึกว่า จะทำก็ทำๆ อย่างนั้นไม่ได้ ถ้าทำโดยไม่สมาทาน ไม่ชื่อ่า เนสัชชิกธุดงค์
คำสมาทาน ก็มีดังนี้
เสยยัง ปฏิกขิปามิ
ทุติยัมปิ เสยยัง ปฏิกขิปามิ
ตติยัมปิ เสียยัง ปฏิกขิปามิ
เป็นวัตรข้อปฏิบัติ ว่า สามครั้งด้วยการยืนยันสัจจะ เป็นลำดับ
เนสชชิกังคัง สมาทิยามิ
เนสชชิกังคัง สมาทิยามิ
เนสชชิกังคัง สมาทิยามิ
สมาทานไม่ต้องเติมลำดับ
การสมาทาน มี 3 ระดับ ใชคำว่า ผู้มีความเพียรน้อย แต่หลายท่านไปแปลว่า เนสัชชิกภิกษุชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำ อย่างนี้ไม่สมควร
ควรจะแปล เนสัชชิกภิกษุ ผู้มีกำลังใจสูง ผู้มีกำลังใจปานกลาง ผู้มีกำลังใจน้อย อย่างนี้จึงควร
เพราะภิกษุผู้ทำเนสัชชิกธุดงค์ ย่อมเลิศกว่า ภิกษุผู้ไม่สมาทาน ถ้าไปพูดว่า ผู้ทำเนสัชชิกธุดงค์ภิกษุชั้นต่ำอย่างนี้ ภิกษุที่ไม่ได้สมาทานนั้นจะไม่ต่ำต้อยเกินไปหรือ เพราะอย่างภิกษุสมาทานหรือไม่สมาทานก็เป็นเนื้อนาบุญหากท่าน ทรงศีล ทรงธรรม เช่นกัน
เนสัชชิกธุดงค์ ของภิกษุผู้มีกำลังชั้นสูง อาศัยกำลังสมาธิเป็นหลัก ไม่มีการนั่งพิงพนัก หรือใช้อุปกรณ์ช่วยในการนั่ง นอกจาก อาสนะ
เนสัชชิกธุดงค์ ของภิกษุผู้มีกำลังใจชั้นกลาง สามารถใช้ ของหนึ่งในสาม นี้ได้หนึ่งอย่าง คือ หมอนอิงพิงหลัง พนักเก้าอี้ทำด้วยผ้า และผ้าผูกโยงไม่ให้ล้ม
เนสัชชิกธุดงค์ ของภิกษุผู้มีกำลังใจน้อย สามารถใช้อุปกรณ์ช่วยได้ 2 อย่างจากอุปกรณ์ ทั้งหมด แต่เพิ่มเก้าอี้จากองค์ 5 เป็นองค์ 7 สำหรับเก้าอี้ องค์ 7 นั้น ก็คือเก้าอี้ที่นับว่ามีที่เรียกว่า พนักพิงรอบด้าน แขน 2 หลัง 1 ขา 4 พิงแขนได้ 2 แขน พิงหลัง 1 นั้งห้อยเท้า สำหรับองค์ 5 พิงหลัง 1 ขา 4 คือพิงหลังได้ ได้หอ้ยเท้าได้
สำหรับองค์ 4 ขา 4 คือไมมีพิงหลัง
สำหรับฉันสมาทาน เป้นลำดับ 2 คือชั้นกลาง มีแค่หมอนอิงหลัง เท่านั้นไม่นั้งห้อยเท้า ใช้ท่านั่งสมาธิ เวลาจะหลับจึงนั่งพิงหลัง เวลาเข้าสมาธิไม่นั่งพิงหลัง อิริยาบถนอกสมาธิ ถ้านั่งคือพิงหลังบ้างไม่พิงหลังบ้าง
นอกจากการนั่งแล้ว ยังสามารถเดิน และ ยืนได้ ซึ่งก็สามารถหลับได้ เช่นยินพิงผนังหลับ แต่การหลับมีความเสี่ยงดังนั้นเวลาจะหลับก็ใช้ประโยชน์จาก ราวผ้า( สายโยค)ล็อกไว้ไม่ให้ล้ม
การเดินไม่เคยหลับ และหลับไม่ได้
ที่นี้พูดสภาพโดยรวมแล้ว ต่อไปจะพูดถึงอานิสงค์ ในการรักษาเนสัชชิกธุดงค์บ้าง
ประโยชน์ จริง ๆ คือการพัฒนาสติ และ สัปชัญญะ ไม่ให้ก้าวล่วงไปสู่การหลับตามปกติวิสัย ไม่เห็นแก่การนอน ดังนั้นเวลาใช้อิริยาบถ 17 อย่างยกการนอนที่ 18 ออก จะทำให้เป็นผู้สติ สัปปชัญญะอย่างรวดเร็ว
สำหรับสมาธิ นั้น มีคุณแม้ในสภาพภวังค์ นั้นจะมีก็ไม่นานจนสู่ความไม่มีภวังค์ เหตมาจากสติ สัปปชัญญะ แก่กล้า ผู้ใดที่ตกภวังค์ในสมาธิบ่อย ๆ ก็จะค่อยพัฒนา สติสัปชัญญะ ให้สมบูรณ์เป็นคุณแก่สมาธิ ฉันสามารถหลับได้โดยได้ยินเสียงลมหายใจเข้าและออก จนสามารถนับลมหายใจเข้าและออกในสภาวะที่เรียกว่า หลับ ไม่ใช่สมาธิ เมื่อภาวนาอานาปานสติ สามารถกำหนดรู้ได้ทันทีว่า ขณะที่ตื่นเป็นลมหายใจเข้า หรือ เป็นลมหายใจออก
ขณะที่หลับ (ไม่ใช่สมาธิ) หูได้ยินเสียง กายสามารถรับสัมผัส เว้นจมูก และ ลิ้น และ ตา จะไม่รับรู้
ข้อเสียของ เนสัชชิกธุดงค์
การใช้กายเกินกำลังของมนุษย์ในการพักผ่อน และการที่ไม่นอนก็จะมีโรคตามเช่น ความดัน โดยเฉพาะเรื่อง ความดันลูกตาสูง น้ำตาไหล และแม้แต่อาการปวดคอ ปวดก้น ปวดหลัง ตลอดถึงเท้าบวมเพราะนำ้ลงเท้า
( แต่คุณประโยชน์โดยตรงเป็นผู้ สติสัปชัญญะ มากกว่าเดิม และสามารถชนะภวังค์ในสมาธิได้ ด้วยการฝึกฝน สำหรับเรื่องการชนะภวังค์ใช้เวลามากหน่อย กว่ากายจะปรับ ฉันใช้เวลาสองเดือนกว่า ๆ ถึงจะฟังเสียงลมหายใจ ลมหายใจออกได้ในขณะหลับ )
พอคุยให้เป็นที่เข้าใจกันนะ
เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 55 ( 12 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #49 เมื่อ: กันยายน 11, 2016, 08:57:38 am »
0


4. การละนิวรณ์ ( การทำสมาธิ )
         อาศัยอริยสังวร อริยสติสัมปชัญญะ อริยสันโดษ พักอยู่ ( นิ่ง ) ในเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง  เธอกลับจากบิณฑบาตร ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งขัด สมาธิ
         นั่งขัดสมาธิ คือ
            ตั้งกายตรง
            ดำรงสติเฉพาะหน้า
            ละอภิชฌา ในโลก   มีใจปราศจาก อภิชฌา      ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อภิชฌา
            ละพยาบาท            มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสัตว์     ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ความมุ่งร้าย
            ละถีนมิทธะ             ปราศจากถีนะมิทธะกำหนดแสงสว่าง  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนะมิทธะ
            ละอุทธัจจะกุกกุจจะ  เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจะกุกกุจจะ
            ละวิจิกิจฉา              ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรม   ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก วิจิกิจฉา
           อุปมา คนไม่มีหนี้ มีทรัพย์เหลือ / คนไข้หนัก แล้วหายป่วย / คนถูกจองจำ และสิ้นโทษ / คนเป็นทาส ได้รับความเป็นไท / คนมีทรัพย์ หาร้านไม่ได้ และหาร้านใช้ทรัพย์ได้
           ผลจากการละนิวรณ์
          ย่อมเกิดเบิกบานใจ (ปราโมทย์ ) ย่อมอิ่มใจ (ปีติ) กายย่อมสงบ ( กายปัสสัทธิ ) มีกายสงบ ( จิตตปัสสัทธิ) ย่อมได้รับสุข ( สุขสมาธิ ) เมื่อมีความสุข ( ผลสมาธิ เอกัคคตา ) จิตย่อมตั้งมั่น ( เป็นอุปจาระสมาธิ ขึ้นไป )

    ต่อไปนี้เป็นการเจริญ สติ+สมาธิ เพื่อพัฒนาให้เป็น สมาธิ
   
    อันบุคคลผู้ไม่เคย เข้าอัปปนาวิถึ ( หมายถึง ตั้งแต่ อุปจาระฌาน จนถึง จตุตถฌาน )ย่อมไม่สามารถที่จะสร้างสมาธิ ได้โดยตรง เพราะกิเลสที่จรเข้ามาแต่ละครั้ง แต่ละครั้ง เป็นเหตุให้เกิดความไม่ตั้งมั่นต่อสมาธิ หลายท่านมีความเข้าใจผิดว่า ต้องไปละนิวรณ์ในสมาธิ แท้ที่จริง การละนิวรณ์นั้น ต้องถูกกระทำก่อนที่จะเป็นสมาธิ พระพุทธเจ้าทรงแสดง ลำดับการละนิวรณ์ก่อน ปฐมฌาน

    เมื่อก่อนฉันเองก็ วินิจฉัยผิด คิดว่า การละนิวรณ์จะมีในองค์แห่ง ฌาน แต่แท้ที่จริงเมื่อได้ลองปฏิบัติ จริง ๆ จึงรู้ว่าไม่ใช่ ต้องกลับมาเริ่มลำดับใหม่ ด้วยละการละนิวรณ์ที่ ละตัว สังเกตได้ว่า พระอริยะสารีบุครอัครสาวก ก็ได้สอน นิวรณ์เพิ่มเป็น 8 ตัวด้วยกันและสอนก่อนการทำอานาปานสติ หมายถึงว่า เมื่อบุคคลละนิวรณ์แล้วก็พึงเจริญ อานาปานสติ ไม่ใช่มีนิวรณ์อยู่แล้วไปเจริญอานาปานสติ

    ดังนั้นถ้าลำดับปัญหาให้ดี ก็คือ ก่อนที่จะทำสมาธิ ก็ต้องละนิวรณ์ 5 เป็นอย่างน้อยจึงเริ่มต้นภาวนา สมาธิ ไม่ใช่ไปละนิวรณ์ ในการะหว่างดำเนินสมาธิ การสอนอย่างนี้เป็นการสอนไม่ตรงต่อวิธีที่พระพุทธเจ้า ดูจากสามัญสูตรนี้ก็ได้ว่า พระพุทธเจ้า ตรัสการละนิวรณ์ก่อนเป็นสมาธิ นั่นหมายความว่า ผู้ภาวนา ต้องทำการละนิวรณ์ก่อน นั่นเอง โดยพระองค์ให้สูตรดังนี้

            1.ละอภิชฌา ในโลก   มีใจปราศจาก อภิชฌา      ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อภิชฌา
            2.ละพยาบาท            มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสัตว์     ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ความมุ่งร้าย
            3.ละถีนมิทธะ             ปราศจากถีนะมิทธะกำหนดแสงสว่าง  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนะมิทธะ
            4.ละอุทธัจจะกุกกุจจะ  เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจะกุกกุจจะ
            5.ละวิจิกิจฉา              ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรม   ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก วิจิกิจฉา

    1.ละอภิชฌา ในโลก   มีใจปราศจาก อภิชฌา      ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อภิชฌา
       อภิชฌาวิสมโลโภ ความโลภเพ่งเล็งอยากได้ ย่อมเป็นอุปสรรคและเป็นตัวสกัดกั้นคุณธรรม หลากหลายประการ การละอภิชฌา นั้นก็คือการทำจิตให้ว่าง เรียกว่า การทำจิตให้บริสุทธิ์ โดยการมองโลกนี้เป็นของว่างเปล่าไม่มีสาระ ไม่มีอะไรน่ายึดถือ สภาวะที่กระทบในขณะนั้น ให้ดับด้วยปัญญา อันเกิดตามสภาวะ ตั้งแต่
          1.1  อภิชฌาวิสมโลโภที่เกิดแต่ รูป   การละภาวนาว่า รูปเป็นของว่างเปล่า ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา
          1.2  อภิชฌาวิสมโลโภที่เกิดแต่ เสียง การละภาวนาว่า เสียงเป็นของว่างเปล่า ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา
          1.3  อภิชฌาวิสมโลโภที่เกิดแต่ กลิ่น การละภาวนาว่า กลิ่นเป็นของว่างเปล่า ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา
          1.4  อภิชฌาวิสมโลโภที่เกิดแต่ รส การละภาวนาว่า รสเป็นของว่างเปล่า ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา
          1.5  อภิชฌาวิสมโลโภที่เกิดแต่ โผฏฐัพผะ การละภาวนาว่า โผฏฐัพผะ เป็นของว่างเปล่า ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา
      ในส่วนนี้ไม่มีสภาวะทางใจเพราะทั้งหมดที่เกิด ๆ ที่ใจอยู่แล้ว ในระหว่างการละ 1.1 อภิชฌาวิสมโลโภ ดังนั้นการทำจิตให้บริสุทธิ์ เป็นคุณสมบัติ ของ สมาธิโลกุตตระ ที่ไม่มีการสอนในศาสนาอื่น ๆ การสอนละนิวรณ์นั้นมีเฉพาะ พระพุทธศาสนา เพราะการละนิวรณ์มีเป้าประสงค์เดียวคือการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ไม่ได้วิงวอนให้บริสุทธิ์ ไม่ได้ต่อรองบนบานให้บริสุทธิ์

     2.ละพยาบาท            มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสัตว์     ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ความมุ่งร้าย   
        พยาปาทะ มีเพราะว่า มีความเห็นแก่ตัว มาก เหตุที่เห็นแก่ตัวมาก ก็เพราะว่า มีอภิชฌามาก นั่นเอง ดังนั้น ธรรมสองประการย่อมเกิดเนื่องซึ่งกันและกัน ถ้าละอภิชฌา ได้ พยาบาทก็จะหมดไป ดังนั้นส่วนสนับสนุนส่วนนี้ ก็คือให้จิตอ่อนน้อมลงต่อความปรารถนาดี ต่อทุกชีวิต เกื้อกูลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ทุกชีวิต การสนับสนุนภาวนาส่วนนี้ก็คือ การสร้างจิตให้เกิดเมตตา นั่นเอง

     3.ละถีนมิทธะ             ปราศจากถีนะมิทธะกำหนดแสงสว่าง  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนะมิทธะ
      ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน อยากนอน ย่อมเกิดแก่บุคคลที่มีความรู้สึกว่า เป็นเวลานอน และเข้าสู่สภาวะนิ่งคือสภาวะทีจิตหยุดการปรุงแต่งวิญญาณ แต่จะเหลือการปรุงแต่ง ที่เป็นอนุสัยเกิดขึ้นดังนั้นเมื่อเราภาวนามาสักระยะหนึ่ง จนกระทั่งจิตเข้าสู่สภาวะ ที่เรียกว่า นิ่ง นั้นการปรุงแต่งภายนอกก็ดับลง เมื่อดับลงก็กลายเป็นความนิ่ง สภาวะนี้เรียกว่า สภาวะ อทุกขมสุข ดังนั้นผู้ภาวนาถ้านิ่งจนเข้าสู่ภวังค์ ก็จะตกภวังค์ไปเรื่อย จนกระทั่งจิตนั้นเข่าสู่ สภาวะที่เรียกว่าหลับ เมื่อหลับก็เข้าสู่สภาวะ การปรุงแต่งด้วยอนุสัย ที่เรียกว่า ความฝัน ดังนั้นเพื่อตัดวงจรไม่ให้ผู้ภาวนามีสภาวะ ตกไปในภวังคจิต พระพุทธเจ้าพระองค์จึงทรงตรัสให้ผู้ภาวนาระลึกถึง แสงสว่าง ด้วยการกำหนดแสงสว่าง การกำหนดแสงสว่าง ในสภาวะที่กำลังเคลิ้มนั้นไม่สามารถใช้คำภาวนาได้ เพราะยิ่งใช้ก็จะยิ่งหลับ ดังนั้นผู้ภาวนาไม่ต้องนึกหน่วง สภาวะแสงสว่างด้วยการยืน เดิน เว้นจากท่านั่ง หรือ นอน ทันทีเพราะถ้า นั่ง หรือ นอน นั้นก็จะไม่สามารถสู้ ถีนมิทธะ ได้ ดังนั้นต้องลุกขึ้นเดิน ลุกขึ้นยืน กำหนดแสงสว่าง ท่านทั้งหลายจะคิดว่า นี่ไม่ใช่สมาธิ ถูกต้อง เพราะท่านยังไม่ได้ สมาธิ จะเป็นสมาธิได้อย่างไร ตอนนี้หน้าที่คือต้องละนิวรณ์ ทำจิตให้ปราศจากนิวรณ์ทั้ง 5 ก่อน จะเริ่มภาวนาสมาธิ

      4.ละอุทธัจจะกุกกุจจะ  เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจะกุกกุจจะ
       การละอุทธัจจะกุกุจจะ นั้นละได้พร้อมกับ อภิชฌา วิธีการเดียวกัน แต่เมื่อละอภิชฌาได้ อุปสมะ ความสงบก็จะเกิดขึ้น นั้นหมายถึงความฟุ้งซ่าน รำคาญใจทั้งหลาย ก็จะดับลง เมื่อดับลง ก็เป็นความสงบ

      5.ละวิจิกิจฉา              ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรม   ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก วิจิกิจฉา
     ความสงสัยมีมากมาย แต่ความสงสัยย่อมดับไป ด้วยการจิตให้บริสุทธิ์บ้าง ให้ละจากภวังค์บ้าง ผู้ภาวนาต้องน้อมจิต นึกถึงชัยชนะที่เกิดขึ้นต่อการละนิวรณ์ที่เกิดขึ้น แม้จะเกิดบ้างไม่เกิดบ้าง ให้จดจำไว้ว่า เมื่อภาวนาตามแบบตามลำดับอย่างนั้น นิวรณ์ก็ดับได้จริงตามนั้น เมื่อระลึกอย่างนี้ ความสงสัยก็จะสิ้นไปโดยไว แม้การดำเนินจิตต่อไป ก็จะมีกำลังศรัทธาในการภาวนาเพิ่มขึ้น  ดังนั้นวิจิกิจฉา ละได้ด้วยการระลึกถึงผลการดับนิวรณ์ การเข้าไปสู่บริสุทธิ์ของจิต

       สภาวะที่จะเกิด กับ บุคคลในขณะละ นิวรณ์ นี้ มีดังนี้
      1. ถึงซึ่งอารมณ์ แห่งความว่าง
      2. โอภาสย่อมเกิด
      3. องค์แห่งฌาน เกิดขึ้นสลับกัน แม้ไม่กำหนดว่าเป็นสมาธิ ก็สามารถ มีปีติได้บ้าง มีปัสสัทธิบ้าง
      4. ถ้าน้อมใจไปวิปัสสนามาก แตจะเกิดจากการฝึกฝนไปในทางสติ  อุปจาระสมาธิ จะเปลี่ยนเป็นแสงสว่าง สีขาวสว่าง ไม่มีนิมิตใด ๆ ให้กำหนดจิตจะแสวงไปสู่ ความสงบอย่างเดียว ไม่มุ่งเรื่องสมาธิ แต่มุ่งที่การละกิเลส ถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่า เข้าสู่โสดาปัตติมรรค ฝ่ายปัญญาวิมุตติแล้ว ไม่มีวิธีแก้ไขา กลับมาเป็น เจโตวิมุตติได้ การฝึกสมาธิไม่สามารถกระทำ ปฐมฌานได้ต่อไป แต่ได้อำนาจสมาธิ อุปจาระสมาธิ ที่มีนิมิต สีขาวสว่าง เป็นรางวัลอย่างถาวร
      5. สำหรับผู้ที่จะได้เป็นเจโตวิมุิตตินั้น จะได้ อุคคหนิมิต ก่อนที่จะเริ่มภาวนากรรมฐาน อื่น ๆ อุคคหนิมิตที่เกิด มีสภาพแตกต่างกันไปตาม อนุสัยบารมี ที่สั่งสมกันมา บ้างก็เป็น พระพุทธรูป บ้างก็เป็นดวงแก้ว บ้างก็เป็นวัตถุสี่่เหลี่ยม แวววาว ทั้งหมดนี้แท้ที่จริง คือ นิมิตที่เป็นอุปาทาน จากอนุสัย เป็นสภาวะที่แสดงจิตใจของผู้ละนิวรณ์ ได้ก่อนเป็นสมาธิ นั่นเอง


     เจริญธรรม / เจริญพร

( ใครมีบุญวาสนา อ่านเข้าใจ และทำได้ ขอ อนุโมทนา )
 
 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อ้างจาก: ตอบคำถาม เรื่อง บรรลุธรรมพระโสดาปัตติมรรค
4. ถ้าน้อมใจไปวิปัสสนามาก แตจะเกิดจากการฝึกฝนไปในทางสติ  อุปจาระสมาธิ จะเปลี่ยนเป็นแสงสว่าง สีขาวสว่าง ไม่มีนิมิตใด ๆ ให้กำหนดจิตจะแสวงไปสู่ ความสงบอย่างเดียว ไม่มุ่งเรื่องสมาธิ แต่มุ่งที่การละกิเลส ถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่า เข้าสู่โสดาปัตติมรรค ฝ่ายปัญญาวิมุตติแล้ว ไม่มีวิธีแก้ไขา กลับมาเป็น เจโตวิมุตติได้ การฝึกสมาธิไม่สามารถกระทำ ปฐมฌานได้ต่อไป แต่ได้อำนาจสมาธิ อุปจาระสมาธิ ที่มีนิมิต สีขาวสว่าง เป็นรางวัลอย่างถาวร

พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ปฏิสัมภิทามรรค  [๑.  มหาวรรค]
   ๑.  ญาณกถา  ๑.  สุตมยญาณนิทเทส
๑๙]    โสดาปัตติมรรคควรรู้ยิ่ง    โสดาปัตติผลสมาบัติ  ...  สกทาคามิมรรค    ...
สกทาคามิผลสมาบัติ  ...  อนาคามิมรรค  ...  อนาคามิผลสมาบัติ  ...  อรหัตตมรรค    ...
อรหัตตผลสมาบัติควรรู้ยิ่ง

 พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ปฏิสัมภิทามรรค  [๑.  มหาวรรค]
  ๑.  ญาณกถา  ๙.  สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ    ๒    อย่าง
อะไรบ้าง    คือ
                          ๑.    ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา
                          ๒.    ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
            การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ    ๒    อย่างนี้
            การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ    ๓    อย่าง
อะไรบ้าง    คือ
                          ๑.    พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา
                          ๒.    พระเสขะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
                          ๓.    พระเสขะพิจารณาแล้วย่อมเข้าผลสมาบัติ
            การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ    ๓    อย่างนี้


  การน้อมจิตไปเพื่อ พระโสดาปัตติมรรค แบบ สุกขวิปัสสก อาศัยอำนาจ สังขารุเบกขาญาณ ที่พัฒนามาจากสติ เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้จิตโน้มไปในญาณ ด้วยอำนาจ สติ ที่มีกำลังกล้ากว่า  และ มีสมาธิ ตั้งแต่ อุปจาระฌาน ขั้นหยาบ ถึง ขั้นเต็ม

      ทั้งปุถุชน และ พระเสขะ เสมอกัน ทั้ง พระ และ ผู้ครองเรือน แต่พระเสขะนั้น จะน้อมใจไปเพื่อความสงบ (อุปสมะ นิพพาน ขณะหนึ่ง )
แล้วผลสมาบัติเป็น พระโสดาปัตติผล แบบวิปัสสก


    ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 11, 2016, 10:11:21 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 56 ( 13 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #51 เมื่อ: กันยายน 12, 2016, 07:03:48 pm »
0


ให้ภาวนาพุทโธ กันให้มาก เพื่อละจากนิวรณ์
ทดสอบดูสภาวะ ของจิตที่ ภาวนาพุทโธกัน อย่าประมาท

  ( เป็นช่วงเว้นให้ท่านทั้งหลาย เข้าสู่ระบบภาวนา พุทธานุสสติกรรมฐาน ก่อนที่จะได้ บรรยายต่อเรื่อง ปฐมฌาน )

 ขอให้ท่านทั้่งหลาย ทบทวน กรรมฐาน ที่กระทำเพื่อละ นิวรณ์ ตรง ๆ อย่างพุทธานุสสติกรรมฐาน นี้ ให้บ่อย ๆ มาก ๆ






บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 57 ( 14 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: กันยายน 14, 2016, 03:48:18 pm »
0


สัปดาห์แห่งการภาวนา พุทโธ
ให้ภาวนา พุทโธ ให้ขึ้นใจ
ทำไม่ได้ มันสอนต่อไม่ได้
โปรดเข้าใจด้วย เพราะเรื่องต่อไป คือเรือ่ง ปฐมฌาน

ปฐมฌาน ใช้วิธีการเรียนปริยัติไม่ได้ ถ้าเรียนก็ได้แค่เรียน ก็อ่านข้อความ ตามสามัญผล เลยนะ

  คำถามมีดังนี้
   ใน วสี ทั้งห้า วสี ไหน ที่สำคัญต่อ การเข้า ปฐมฌาน
   ใน ปฐมฌาน ยกจิตต่อจากการละนิวรณ์ อย่างไร
   ใน นิวรณ์ 5 นิวรณ์ใด เป็นอุปสรรคมากที่สุด
   ใน นิมิต ของการละนิวรณ์ นั้น นิมิต เกิดตรงไหน
   ใน นิมต ที่เกิดนั้น เมื่อเกิดแล้ว ทำอย่างไร
   อะไรเป็นเป้าหมาย ของ การละนิวรณ์
   องค์คุณ สติ หรือ สมาธิ ที่ทำให้ละนิวรณ์





ใครทำได้ส่งเสียงมาสักคน เพื่อจะได้สอบและอธิบายต่อ


รอหนึ่งอาทิตย์ ถ้าไม่มีใครตอบมาว่าทำได้ และตอบฉันได้ ก็จะข้ามไปเรื่อง วิปัสสนา เลย



 ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2016, 03:52:37 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 58 ( 15 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: กันยายน 15, 2016, 11:42:01 am »
0


กรรมฐาน 40 กอง นั้นก็คือ วิธีการละนิวรณ์ ที่สอนกันปัจจุบันนี้ เป็นการสอนละนิวรณ์ ไม่ใช่สอนเรื่องการเดิน ฌานจิตวิถี หรือ สมาธิโคจร ตั้งแต่ ปฐมฌานไป ท่านทั้งหลายอย่าเข้าใจผิดกัน

 
 
อะไรเป็นข้อผิดพลาดที่ทำให้เราไม่ได้สมาธิ ต้องจัดการไปตามลำดับ

ให้อ่านที่ลิงก์นี้ให้เข้าใจ
ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7878.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2016, 12:01:18 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ปัญหา ที่ไม่ใช่ปัญหา
« ตอบกลับ #54 เมื่อ: กันยายน 15, 2016, 11:59:33 am »
0
เวลาฝึกกรรมฐาน ทุกคนมักจะมองกว้างเกินไปในกองกรรมฐาน
มูลกรรมฐาน กัจจายนะ สอนให้มีมุมมองไปตามลำดับ เพื่อสอบตนเองและวัดผลตนเอง

   วิเคราะห์ ทำไมถึงปฏิบัติกรรมฐานไม่ได้
   1. ไม่ทราบวิธีการ
      ตอบ ก็เรียนวิธีการ   
   2. มีการปรามาส พระรัตนตรัย
      ตอบ ทำการขอขมา และไม่กระทำการปรามาสเพิ่มขึ้น
  3. ไม่อธิษฐานนิมิต
      ตอบ ทำการอธิษฐาน นิมิต
   5. ไม่ดำเนินนิมิต
      ตอบ ศึกษาขั้นตอนของนิมิต
   6. ไม่เข้าใจการปรากฏของ สภาวะธรรม สมาธิ
        6.1 ปีติ
            ตอบ ศึกษาสภาวะปีติ       
        6.2 ยุคลธรรม
            ตอบ ศึกษาสภาวะยุคลธรรม
        6.3 สุข
            ตอบ ศึกษาสภาวะสุข
        6.4 สมาธิ
            ตอบ ศึกษาสภาวะสมาธิ
    7.ภาวนาไม่ติดต่อ
        ตอบ ต้องหมั่นประคองความเพียรไว้ ไม่ย่อหย่อนเกินไป และไม่ตึงเกินไป
    8.ไม่ได้ตั้งเป้าหมาย
         ตอบ ศึกษาเป้าหมายของการฝึกกรรมฐาน
    9. ตั้งเป้าหมายกว้างเกินไป
         ตอบ จำกัดเป้าหมายให้ลงรวมเหมาะสมกับกรรมฐาน
   10. ไม่เข้าใจสภาวะที่เกิด
         ตอบ ต้องเข้าหากัลยาณมิตร




   คนโง่ มัวแต่นั่งทอดถอนถอดใจ ยอมรับความพ่ายแพ้ ทั้ง ๆ ที่ มันก็แพ้ มาตลอด
ถ้าคิดอย่างนี้แล้วยอมแพ้ ก็จงอยู่ในสังสารวัฏต่อไป เพราะไม่มีเทพเจ้าองค์ไหน จะช่วยให้
ท่านรอดจากสังสารวัฏ นอกจากตัวท่านเอง



   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เข้าใจผิด มันก็เลย ท้อแท้ ไปกันใหญ่ เดี๋ยวนี้สอนเลอะเทอะไปแล้ว

   เรื่องที่พบบ่อย และเป็นปัญหา เสมอๆ ตั้งแต่ อดีต เวลาครูอาจารย์ สอนลูกศิษย์ แล้ว แจกแจงลำดับกรรมฐาน แล้ว ก็มักจะท้อแท้ ว่า ลำดับมันเยอะมาก แท้ที่จริง ลำดับมันเป็นเพียงการแจกแจ้งเท่านั้น แต่สภาวะธรรม ที่เกิดนั้นมันเร็ว ยิ่งกว่าสายฟ้าแลบ

    ผู้ฝึกละนิวรณ์ ได้ปีติ ถามว่า มีปีติอย่างเดียว หรือ ที่เกิดขึ้นขณะนั้น
    คำตอบ ไม่ใช่มันมีสภาวะธรรม อย่างอื่นรวมอยู่ ด้วย ในขณะที่ปีติเกิดขึ้น ความไม่สบายกาย ก็เกิดขึ้น ความสุขทางจิต ก็มีปริมาณมากขึ้น ถ้าเป็นอย่างนี้  เรียกว่า สมดุลย์จิต

    สูตรก็คือ
          กาย ที่มีปิติย่อมถึงลำบาก เพราะปีติที่มีมาก  กาย จึงบอกลักษณะของปีติ ไม่ใช่ตัว ปีติ |
          จิต ย่อมถึงสภาวะอิ่มใจ พอใจ ด้วยสภาวะปีติ ที่เกิดขึ้น จิต ย่อมสัมผัสอารมณ์สภาวะ ที่อิ่มใจ ที่แผ่ซ่านทางจิต ด้วยรัศมี ไม่ใช่ตัวปีติ
         ปีติ เกิดขึ้นได้ เมื่อจิตมีความสงบ และกระทบ กับความสงบขณะนั้น กายปีติ และ จิตปีติ เกิดขึ้นเพราะกระทบกับความสงบในภายใน เป็นด่านแรก นั่นหมายความ จิตได้เข้าเขตน์แดนของ ความสงบ แล้วที่ชั้นต้น

          ธรรมชาติของกายและจิต เมื่อปีติเกิด ย่อมเข้าถึงซึ่งสภาวะ ความระงับปีติ เพราะว่า ถ้าไม่ระงับ กายก็พลุ่งพล่าน จิต ก็พลุ่งพล่าน การที่ปีติดับลงไปอย่างค่อย นั้น ๆ เรียกว่า ยุคลธรรม ( ปัสสัสทธิ ) ถ้าความสงบมีมากขึ้น จนนิวรณ์ 5  ทั้งปวงดับลง ขณะนั้น ก็หมายถึง สภาวะแห่งสุข ซึ่งเป็นสุขชั้นที่สาม เกิดด้วยอำนาจความสงบ ตรงนี้เรียกว่า ความสมบูรณ์ ของสมาธิระดับอุปจาระสมาธิ

          ถามว่า ต้องมีนิมิตไหม ต้องมี เพราะ นิมิตก็คือ เครื่องหมายของสภาวะกาย และ จิต
          นิมิตเป็นอย่างไร
          ถ้าวิญญาณ รับรู้ว่า กายสงบระงับ จิตสงบระงับ นั่นแสดงว่า เข้าถึง อนิมิต ( อรูปาวจร ) ซึ่งหมายความว่าผู้ภาวนา จะสามารถทรงสมาธิตรงนั้นอย่างนั้น ด้วยสภาวะ อนิมิต คือแค่รู้ว่า ปีติ และ ยุคลธรรม ดับแล้ว จิตถึงซึ่งความสุขในขณะนั้น ก็ตั้งมั่นในสุข อย่างนั้น ตลอดหนึ่งวัน ตลอดหนึ่งคืน ตามความสามารถแห่งสมาธิ

          ถ้าวิญญาณ( กายทิพย์ ) รับรู้ ลักษณะที่ดับลง และ วิญญาณ (กายทิพย์ ) รับรู้ถึงสภาวะ รัศมี ที่ปรากฏใน ใจอย่างชัดเจน ปีติ ระงับลง ยุคลธรรมระงับลง เข้าถึงสุขอันมี อุคคหนิมิต อยู่อย่างนั้น นั่นหมายความ เข้าสู่สมาธิ ระดับอัปปนาสมาธิ ( รูปาวจร ) มี ปฐมฌาน เป็นอารมณ์ มีวิตก มีวิจาร มีปีิต มีสุข และความมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว ในอุคคหนิมิต ที่ปรากฏในใจ ขณะนั้น อุคคหนิมิต ก็ไม่ดับหายไป เรียกว่า นิมิตสมาธิ

      ดังนั้นท่านที่มีอารมณ์ สองประการนี้ ย่อมแตกต่างกันด้วยคุณธรรม พวกที่ไม่มีนิมิต ไม่ใช่ไม่สำเร็จแต่จิตหน่วงวิปัสสนา เข้าสู่สาย ปัญญาวิมุตติ

      ส่วนพวกที่มีนิมิต เป็นพวกที่หน่วงใน ญาณ 10 ตามบารมี เพื่อเข้าสู่สาย อุภโตภาค เจโตวิมุตติ

      ดังนั้นจะเป็นแบบไหน ก็พึงพิจารณาเอาตามวาสนา เถิด อย่าได้ขวางธรรมตนเองเพียงเพราะว่า ปัญญา หรือ เจโต ขอให้ไปสู่วิถีธรรม เพื่อการละดับทุกข์ ดับกิเลส หมดภพ หมดชาติ โดยเร็วจะดีกว่า มานั่งสกัดกั้นตนเองไว้ ด้วยเรือ่งที่ไม่เป็นเรือ่ง เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดจากการสั่งสมบารมี มาแต่อดิตชาติด้วย

      ส่วนท่านใดที่มีความหนักใจ ว่า ขั้นตอนในกรรมฐานมันเยอะ เกรงว่ามากไป นั้นเป็นเพราะท่านใส่ความกังวลในกองกรรมฐานมากเกินไป แท้ที่จริง กรรมฐานส่วนเดียว ก็ไปถึงความเป็นพระอรหันต์ และนิพพานได้ ท่านภาวนาแค่ พระขุททกาปีติ ยกธาตุกรรมฐาน ว่า เกศา อย่างเดียว ก็สำเร็จเป็นพระอริยะได้ ดังนั้นอย่าได้กังวล เรืองขั้นตอนกันมากไปนัก เพราะแท้ที่จริงขั้นตอนต่าง ๆ ถ้าถึงเวลาที่บารมีท่านเต็มรอบ ทุกอย่างจะไปไว บางครั้งไม่ทันตั้งท่าทาง ก็บรรลุธรรมได้อย่างฉับพลัน เหมือนพระอริยะสาวกมากมายในครั้งพุทธกาล ที่บรรลุแบบฉับพลัน

    เจริญธรรม / เจริญพร
 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ก็คงเป็นไปตามกำหนด คือ เดือนสุดท้าย จะไปเน้นเรื่อง วิปัสสนา เพราะดูแล้วแต่ละท่านไม่มีใครส่งเสียงเรื่องสมาธิมาที่ฉันกันเลย แสดงให้เห็นว่า ไม่ได้สมาธิ หรือ ไม่ก้าวหน้าในสมาธิจึงลังเลในการตอบคำถาม ถึงแม้คนจะส่งจดหมาย ข้อความส่วนตัวมาให้อ่านกันบ้างแล้ว ก็เห็นว่ายังตอบผิด กันอยู่

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 60 ( 17 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #57 เมื่อ: กันยายน 16, 2016, 02:38:20 pm »
0


วัปัสสนา นะ ไม่ใช่ วิปัสสนึก

ปัจจุบันการสอนวิปัสสนา นั้น มีสำนักต่าง ๆ ทั่วประเทศดำเนินการ ๆ สอนกันอยู่ จะใหญ่ จะเล็กก็เป็นไปตามกำลังศรัทธา ของผู้ปฏิบัติภาวนา ดังนั้นถ้าจะหาหลักภาวนา วิปัสสนา นั้นในประเทศไทย สามารถหาได้มากมายจริง ๆ แต่ละสำนักนั้นก็มีการสอน มีรูปแบบบ้าง ไม่มีบ้าง มีการสอนตรงพระไตรปิฏกบ้าง สอนตามประสบการณ์ตนเองบ้าง จนเกิดการแตกแขนงหลักวิปัสสนามากมายจริง ๆ ในวันนี้ ซึ่งแต่ละแห่งแต่ละที่ ก็ล้วนพยายามจะชักจูงด้วยข้อปฏิบัติบ้าง ด้วยสถานที่บ้าง ด้วยบุคคลบ้างเป็นไปตามกลไกลของแต่ละที่ ว่ามีวัตถุประสงค์อะไร จริง ๆ แท้ ๆ ตลอด 35 ปีมานี้ฉันก็เที่ยวไป แต่ละที่อ่านหนังสือแต่ละเล่ม ที่เขาออกมาประจำสำนัก ไปนั่ง ยืน เดิน นอน แต่ละที่แต่ละแห่ง แม้กระทั่งเที่ยวจาริก แสวงหาวิเวก ก็เพราะคำว่า วิปัสสนา และก็เห็นแต่ละที่แต่ละแห่ง ก็มีอัตลักษณ์ เฉพาะตนและคำจำกัดว่า สำนักโน้น สอนไม่ถูก สำนักนี้สอนถุก ประมาณนี้แต่ละที่ ได้ยินประจำ จนฉันชักไม่แน่ใจว่า ตอนนี้เราเดินมาถูกทางหรือไม่ ?



     ก่อนจะได้พูดเรื่องการ เจริญวิปัสสนา ตามแบบอย่าง มูลกรรมฐาน กัจจายนะนั้น

      จะขอแจงวิจัย วิปัสสนา ที่ปรากฏในประเทศไทย นั้น มีหลักการ สำคัญกันอยู่ไม่มาก ส่วนใหญ่ จะสอนกันอย่างนี้ ย้ำว่า นี่ไม่ใช่แบบการสอนของมูลกรรมฐาน กัจจายนะ นะ แต่ยกให้รู้โดยร่วมขณะนี้ ส่วนใหญ่ 95 เปอร์เซ็นต์ล้วนแล้วสอนแบบนี้
   
      1. วิปัสสนา พื้นฐาน อีงกับคำสอนเรื่อง โยนิโสมนสิการ  และ นิสัมมกรณังเสยโย และความไม่ประมาท คำนี้มักจะถูกอ้างเข้ามา เสมอ อาตาปี สติมา
      2. วิปัสสนา อ้างหลักธรรมใหญ่ คือ มหาสติปัฏฐาน 4 ซึ่งหลายครูอาจารย์ กล่าวว่าครอบคลุมหลักธรรมทั้งหมด
      (  ในพระพุทธศาสนา แท้ที่จริง พระอัญญาโกณฑัญญะ สำเร็จธรรมเพราะ อริยสัจ และ อนัตตลักขณสูตร พระอรหันต์ 1250 องค์ชุดแรก พระพุทธเจ้ายังไม่ได้แสดง หลักมหาสติปัฏฐานเลย ซึ่งการแสดงหลักมหาสติปัฏฐาน นั้น ไปแสดงแก่ชาวเมืองแค่เมืองเดียว ถึงแม้ว่าการสอนอานาปานสติ จะมีหลัก สติปัฏฐาน 4 แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสเรียกว่า กายคตาสติเป็นหลักใหญ่ )
      3. วิปัสสนา ใช้วิจารของสติเป็น หลัก เพื่อพัฒนาสัปชัญญะ
     ( เพราะคิดว่า สัมปชัญญะ จะทำให้ธรรมก้าวหน้า ถึง มรรคผล นิพาน หลายคนก็พยายามพัฒนา สติสัปชัญญะ อย่างสม่ำเสมอ หลายครั้งที่จับได้ แต่ก็ต้องปล่อย )
      4. วิปัสสนา สามารถเจริญภาวนา ทุกอิริยาบถ แต่เน้นเรื่องการเดิน ยืน นอน นั่งไม่ค่อยเห็น ๆ แต่ตอนสอน คือต้องใส่การเคลื่อนไหว ไม่ใช่การอยู่นิ่ง
      5. วิปัสสนา ไม่ต้องพึ่งสมาธิ
       ( บางแห่งยืนยันว่า ใช้แค่ ขณิกะสมาธิ ก็สามารถเจริญวิปัสสนา เป็นมรรค ผลนิพพานได้เลย ขอชื่นชมด้วยถ้าทำได้ )
      6. วิปัสสนา กระทำหรือเจริญภาวนาได้ทุกที่
       ( แหมช่างเก่งจัง ขับรถ เจริญ โคตรภูได้ ช่างเยี่ยมยอด มาก บางคนเล่าให้ฟังขนาดนั้นเลย เป็นคนมีบุญญาธิการมากนะ สามาารถโคตรภูขณะขับรถอยู่  )
     10. วิปัสสนา มีมรรคผล สอง ฝ่าย คือ ฝ่ายปัญญาวิมุตติ และ เจโตวิมุตติ
      (ทีเห็นอ้างกันไว้ก็คือ อานิสงค์ สติปัฏฐาน 4 ซึ่งการเจริญ สติปัฏฐาน 4 นั้น กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา นั้น จัดเป็นสมถกรรมฐาน ซึ่งมีการเข้าสมาธิ แต่มักไม่ถูกเอามาสอนพอเริ่มเรียนก็ไปสอน อิริยปถบรรพ กันเป็นส่วนใหญ่ แม้การเจริญ กายคตาสติ นวสีวถิกา ซึ่งมีรูปแบบเป็น สมถะตรงก็ไม่เห็นมีการสอน ฉันไปอยู่ที่สำนักสอน ดัง ๆ นั้นเห็นมีสอนการภาวนาแค่ อิริยาปถบรรพ อยู่สามเดือน ย่างหนอ ยืนหนอ นั่งหนอ นอนหนอ เป็นอิริยาปถบรรพฝ่ายเดียว เท่านั้น  )
       ( แต่ทิ้งการฝึกสมาธิ และไม่เข้าสมาธิ มันจะเป็นเจโตวิมุตติได้อย่างไร )
     11. วิปัสสนา มีบริกรรม ด้วยคำว่า หนอ เป็นหลัก บริกรรมคำอื่น ไม่นิยม และไม่ใช้คำบริกรรมของ 40 กองกรรมฐาน
       ( อาจจะมีข้อผิดพลาดมากเลยตรงนี้ ถ้า วิปัสสนาล็อกคำบริกรรม )
     12. วิปัสสนา สามารถเจริญภาวนาได้แม้กระทั่งทำงาน ทำหน้าที่
        ( เห็นคนทำงานที่เจริญวิปัสสนา ทำตั้งแต่เริ่มฝึกจนกระทั่งตาย ยังไม่เคยเห็นเข้าผลสมาบัติฝ่ายวิปัสสกเลย )
     13. วิปัสสนา ไร้รูปแบบ สามารถเพิ่มพูนรูปแบบได้ตามที่ผู้ฝึกสามารถฝึกได้ จึงเกิดมีวิชาใหม่ ๆ ที่อ้างว่าเป็นวิปัสสนา และเป็นผู้ค้นพบแนวทางใหม่
        ( พวกตรัสรู้ชอบเอง แผลงวิชาแล้วก็ประกาศว่า เป็นค้นพบวิชาใหม่ ด้วยตนเอง อนุพุทธะ ไม่มีทางที่จะรู้ด้วยตนเองหรือค้นพบใหม่ได้ )
     14. วิปัสสนาไม่จำเป็นต้องใช้ ฌานจิต ส่วนใหญ่จะสอนให้ทิ้งเรื่อง ฌาน
        ( นั่นสิไม่ใช่ ฌานจิต แล้วจะครบมรรคมีองค์ 8 ได้อย่างไร สัมมาสมาธิ เป็นสมังคีสุดท้ายที่พระอริยะสาวก ทั้งปัญญาวิมุตติ และเจโตวิมุตติ ใช้ภาวนา เพื่อไปสู่มรรคผลนิพพาน อริยมรรคต้องประกอบด้วยองค์ 8 )
     15. หลักธรรมที่มักใช้อ้างในหลัก วิปัสสนา กันส่วนใหญ่ คือ อนุวิปัสสนา 3 วิสุทธิ 7 วิปัสสนาญาณ 9 10 16
        ( สภาวะวิปัสสนา พ้นจากบัญญํติ ในการเจริญวิปัสสนา ในขณะนั้น ไม่มึใครไปจำธรรมใด ขณะนั้นได้มีแต่องค์สภาวะ ปรมัตถ์ ที่กระทบในวิญญาณ( กายทิพย์ ) ซึ่งจะรู้และเข้าใจเอง สิ่งที่ต้องการก็คือ การเห็นตามความเป็นจริง ของสภาวะ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ในเบื้องต้น นี้คือระดับพระโสดาบัน เท่านั้น ระดับ พระสกทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ ก็มีระดับ วิจยะแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ ได้ยินอยู่แค่ รู้เกิด รู้ตั้งอยู่ และรู้ดับไป เท่านั้นไมเคยใครได้พูดสอนเกินกว่านี้ แม้แต่การเข้าไปเจริญ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นธรรมใหญ่ ก่อนได้ผลนั้น เป็นสิ่งจำเป็นของ พระอริยะแบบเจโตที่ต้องผ่าน ฌาน ก็ยังไม่เคยได้ยินใครอธิบายปัจจุบันนี้ )

   และก็อีกหลายประเด็นที่ฉันได้ยิน และได้ฟัง ได้สัมผัสแต่ละที่ แต่ละสำนัก สอนกัน ที่ยกมานี้ยังน้อยยังสามารถยกได้อีกมากกว่านี้ แต่ เอาหลัก ๆ 15 ข้อนี้นับว่าเป็นอัตลักษณ์ เฉพาะ แต่ละสำนัก ที่มีการสอนคล้ายกั
ส่วนจะถูกจะผิดนั้น มันก็ช่างลำบากใจอยู่เหมือนกันเพราะว่า การสอนที่เขาสอนวิปัสสนานั้น อาศัยคนที่ชอบความง่ายเป็นหลักคิดว่ารวดเร็ว ในการละกิเลส มุ่งหวังการเข้าถึงธรรมโดยฉับพลันนั่นแหละ เขาจึงสามารถชักชวนคนเหล่านี้ไปแนวทางนี้ได้ง่าย เพราะผู้ภาวนา จะรู้สึกว่า ง่าย ทำได้ ง่าย สามารถทำได้แม้ทำงาน หรือ แม้อยู่ครองเรือน ในทุกสภาวะ

       ปัญหา มันอยู่ที่ว่า เราต้องรู่ว่า มันมีสำนักสอน วิปัสสนา แบบนี้อยู่
       1. สำนักที่สอน สอนผิดทั้งหมด
       2. สำนักที่สอน ถูกทั้งหมด
       3. สำนักที่สอน ผิดบ้าง ถูกบ้าง

       ในบรรดา สำนักสามประเภทนี้ สำนักมีมากที่สุด คือ แบบที่ 3 คือ สอนผิดบ้าง ถูกบ้าง จากประสพการณ์แล้ว มีมากถึง 90 เปอร์เซ้นต์ ส่วนสำนักที่สอนผิดนั้น มีเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าสอนผิดไป คนก็ไม่ทำตาม สำนักก็ต้องปิดไปเอง ส่วนที่สอนถูก มีอยู่ 8 เปอร์เซ็นต์ แต่เพราะว่าสอนถูก สำนักไม่ค่อยเจริญทางด้านวัตถุ เพราะฝ่ายสอนถูกไม่คลุมเครือ ด้วย ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ไม่ต้องสำนักหรู ๆ หรือ เขียนตารางคอร์สออกมา ความผูกพัน กับผู้สอนก็มีในฐานะ ครูศิษย์ เหมือนพระกับโยมธรรมดา เพราะมันราบเรียบธรรมดา ดังนั้นสำนักที่สอนถูก ก็ไม่โด่งดัง ดี่เด่น เพราะไม่แข่งดี กับใคร ตามหลักวิปัสสนา

        ดังนั้นปัญหาที่ฉันจะต้องพูดตรงนี้ ก็เพราะว่า วิธีการสอนวิปัสนนา ในสายมูลกรรมฐาน กัจจายนะนั้น อยู่ใใน 8 เปอร์เซ้นต์ การสอนให้แก่ศิษย์ก็เป็นเฉพาะบุคคลไม่ได้ มุ่งหวังประโยชน์จากการสอนนอกจากให้ ศิษย์ใช้ชีวิตไปสู่ มรรค ผล และนิพพาน เท่านั้น และก็ไม่ได้สอนอย่างเอิกเกริก ปาร์ตี้รวมกลุ่ม เพราะว่าการสอนแบบนี้มีการสอบจริง ๆ ในภาควิปัสสนาจริง ๆ คนที่สอบก็คือคนที่ภาวนา ว่าสอบแล้วละกิเลสได้จริงหรือไม่ ? นั่นเอง

       สรุปตรงนี้ว่า อย่าคาดหวังและเดาว่า การสอนแบบมูลกรรมฐาน กัจจายนะจะเหมือนอย่างที่ท่านทั้งหลายเข้าใจดั่งที่ยกตัวอย่างไว้  ถึง 15 ข้อดังนั้นถ้าท่านทั้งหลายเห็นว่า ต้องการในแนวทางครบแบบ 14 ข้อนั้นให้ผ่านฉันไปได้เลย ฉันไมสนใจที่จะสอนให้อยู่แล้ว เพราะว่าการเจริญกรรมฐาน ในแนวทางของ มูลกรรมฐาน กัจจายนะต้องอาศัยความเคารพ ศรัทธา ไม่ต้องพูดเรื่องปัญญา เพราะปัญญามีตั้งแต่ต้นแล้ว คนโง่ที่ไหน จะมาเคารพพระพุทธเจ้า คนโง่ที่ไหน จะมากล่าวคำถึงไตรสรณคมณ์เป็นที่พึ่ง

       สัมมาทิฏฐิ เป็นคุณธรรมแรก ในวิชามูลกรรมฐาน กัจจายนะ ดังนั้นในสายผู้สืบทอดจึงเรียกวิชานี้ว่า มัชฌิมา แต่เพราะว่ามีการสอนเป็นลำดับ ๆ มาจึงมีการเติมคำว่า ลำดับบ้าง แต่เมื่อก่อนเขาเรียกว่า มูลกรรมฐาน เท่านั้น เวลาจะไปเรียนกับครูอาจารย์ ก็จะใช่คำพูดว่า ไปเรียนมูลกรรมฐาน กับ อาจารย์รูปนั้น รูปนี้ หรือ จบ มูลกรรมฐาน จากอาจารย์รูปนั้น องค์นี้ หมายถึงความเป็นศิษย์

       ยาวแล้ว พิมพ์ยายเหนื่อย สายตาไม่ค่อยดี ช่วงนี้เอาเป็นว่า เดือนสุดท้ายจะสอนวิปัสสนา ให้กับท่านทั้งหลาย ทีติดตามร่วมกันมาในโครงการ นับหนึ่งเข้าพรรษา ปี พ.ศ.2559 นี้ ก็ขอให้ติดตามกันต่อไป สังเกตช่วงเรื่องสมาธินี้ จะไม่ไปโพสต์ที่เฟคบุ๊คแล้ว เพราะว่าไม่ใช่เรื่องฉาบฉวย หรือเป็นพระธรรมเสริฟตรงใคร นะ ทุกคนต้องมีอุตสาหะ ความเพียร สติ ต้องติดตามกันเอาเอง ช่วงหลังเวลาโพสต์ ก็แค่โพสต์ และก็ไม่บอกด้วยว่าโพสต์ แล้วแต่บุญแต่กรรมของผู้ติดตามอ่านกัน เพราะว่า มันไม่มีอะไรเคลือบแฝงในการสอนแบบนี้ ไม่มีลาภสักการะ ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือชื่อเสียง เกรียติยศ หรือสุขสรรเสริญใด ๆ อยู่แล้ว นั่นเองจึงเรียกว่า ภาวนาปริสุทธิ นั่นเอง

    เจริญธรรม / เจริญพร


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2016, 03:31:24 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
แม่บท- ( อากาสธาตุ และ มโนมยิทธิ )
ตถาคโต   กายมฺปิ  จิตฺเต สมาทหติ  จิตฺตมฺปิ กาเย  สมาทหติ  สุขสญญญฺจ    ลหุสญฺญญฺจ กาเย   โอกฺกมิตฺวา   วิหรติ  ตสฺมึ  อานนฺท  สมเย  ตถาคตสฺส  กาโย  อปฺปกสิเรเนว   ปฐวิยา   เวหาสํ   อพฺภุคฺคจฺฉติ   ฯ   โส  อเนกวิหิตํ อิทฺธิวิธํ   ปจฺจนุโภติ   เอโกปิ   หุตฺวา   พหุธา  โหติ  พหุธาปิ  หุตฺวา  เอโก โหติ ฯเปฯ ยาว พฺรหฺมโลกาปิ กาเยน วสํ วตฺเตติ ฯ

คำแปล-ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต แลตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่
สมัยนั้น กายของตถาคต ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายคน คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
.


ตรวจสอบแล้วตรงกับพระไตรปิฏหลายพระสูตร แต่พระสูตรตรงมากที่สุดคือ อโยคุฬสูตร  ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หัวข้อที่ ๑๒๑๒ บาลีหน้าที่ ๓๖๔ ไทยจุฬา หน้าที่ ๔๑๔


บทนี้มีเรื่องที่กล่าวถึงการใช้ ฤทธิ์ วิเคระห์ธรรมดังนี้

   1. การเตรียมตัว เข้า สุขสัญญา และ ลหุสัญญา
     ตั้งกายลงไว้ในจิต และ ตั้งจิตลงไว้ในกาย
   ให้ย้อนขึ้นไปอ่าน เรือง กาย 
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70109#msg70109

  2.การเข้าสุขสัญญา และ ลหุสัญญา
 
  3.การอธิษฐานอิทธิวิธิ ต่าง ๆ ตามบารมีธรรมของแต่ละบุคคล

   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กำหนดการเข้ากรรมฐาน 9 ครั้งในช่วงเข้าพรรษา 2559
« ตอบกลับ #59 เมื่อ: กันยายน 16, 2016, 10:20:48 pm »
0
เนื่องด้วยพรรษา 2559 เดิมทีตั้งใจจะเข้ากรรมฐาน ทั้งหมด เป็นจำนวน 13 ครั้งแต่เพราะว่า ติดภาระกิจต่าง ๆ ด้านนอกทำให้พลาดการเข้าที่ตั้งใจไป 3 ครั้งแล้ว ดังนั้นคงเหลืออีก 3 ครั้ง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีเหตุขัดข้องอีกหรือไม่ ดังนั้นจะไม่ประกาศทางเฟค และ เว็บให้ทราบแล้ว ให้ท่านทั้งหลายดูจาก ปฏิทินนี้เอา

    ครั้งที่ 7 วันที่ 18 - 20 กันยายน 2559
    ครั้งที่ 8 วันที่  28 - 30 กันยายน 2559
    ครั้งสุดท้าย 9 วันที่  9 - 14 กันยายน 2559
    ( ไม่รู้จะทำได้ไหม ถ้าไม่มีเหตุขัดข้องอีกก็น่าจะได้ )
     
 พรรษานี้เข้ากรรมฐาน ยังไม่เกิน 4 วัน 4 คืน ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจไว้  3 ครั้ง

ดังนั้นท่านใดวางแผนไว้ว่า จะเข้ามาหาฉัน ต้องดูอย่าให้ทับวัน เข้ากรรมฐาน กันอีก 
 
    ส่วนวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ถ้าไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะไปที่วัดแก่งขนุน

   และวันที่ 16 ตุลาคม 2559 เป็นวันออกพรรษา
  ปีนี้ คิดว่า วันที่ 15 ตุลาคม 2559 จะไปดูบั้งไฟพญานาค เสียหน่อย ตั้งใจไปดูมา 12 ปีแล้วยังไม่ได้ไปสักครั้ง



 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2016, 10:43:05 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 61-62-63 ( 18-19-20 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #60 เมื่อ: กันยายน 18, 2016, 12:44:57 pm »
0


สำหรับเรื่องการถ่ายทอดวิปัสสนา ต้องขออภัย เนื่องด้วยครูอาจารย์ท่านได้สั่งห้าม ไม่ให้นำข้อความที่สำคัญในมูลกรรมฐาน ออกมาเนื่องท่านสั่งว่า ให้ถ่ายทอดเมื่อมีคนได้ ฌานวิถีก่อน เพราะถ้านำออกมาตอนนี้ ศิษย์ปัจจุบันในขณะนี้ มีจิตแนวโน้มเป็นปัญญาวิมุตติ ทั้งหมด จะทำให้ศิษย์บางคนที่พอจะไปได้ในแนวทาง วิชชา 3 อภิญญา 6 ปฏิสัมมภิทา 4 ไม่ได้คุณธรรมที่ควร และที่ตนเองอธิษฐานไว้

ท่านกล่าวว่า ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม ให้เร็วไป ก็จะไม่ได้อะไร เลย ศิษย์จะเสียเวลาอีกหลายชาติ


ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นภูมิ ปัญญาวิมุตติ มากกว่า ภูมิ เจโตวิมุตติ ศิษย์ปัจจุบันจึงไม่มีสำเร็จฌาน กันเลยในขณะนี้

หลายคนแสดงความเห็นให้ได้ยินบ่อยมาก เรือ่งการสวดคาถา ก็เป็นเพียงแค่อุบายทำใจให้สงบ ให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เท่านั้น บทอักขระ ไม่ได้มีผล หรือ มีอานุภาพ ใด ๆ ที่จะช่วยดลบันดาล โภคะหรือ สมาธิจิตได้


ส่วนการปฏิบัติ วิปสสนา ก็ต้องมีการสมาทาน พระวิปัสสนากรรมฐาน ขึ้นถาดกรรมฐาน เช่นกันไม่ใช่ว่า ไม่เอาเรื่อง สมถะกรรมฐาน แล้ว จะไม่ต้องขึ้นกรรมฐาน

สายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติในกองกรรมฐาน ฝ่าย สมถะ หรือ วิปสสนา ก็ต้องเจริย สัปยุตธรรม ด้วย พุทธานุสสติ กรรมฐานก่อนทุกครั้ง

ดังนั้นลูกศิษย์ ที่เรียนกรรมฐานไป แล้วมองเห็นข้อปฏิบัติ ยิบย่อยเป็นเรื่องพึ่งตัด พวกนี้แนวโน้มเป็นปัญญาวิมุตติ ทั้งหมดเลย
1. เข้ากรรมฐาน ไม่กล่าวคำขอขมาพระรัตนตรัย
    ( เพราะอะไร ? )
2. ไม่อธิษฐาน กรรมฐาน
    ( เพราะอะไร ? )
3. ไม่ปฏิบัติ ตามขั้นตอนกรรมฐาน
   ( แล้วจะมาเรียนไปทำไม ? )
4. ไม่รักษา อิริยาบถ สมาธิ คิดว่า สมาธิ จะเกิดได้ในท่าเคลื่อนไหว หรือ ท่านอนมากกว่า
    ( ทิ้งการฝึกท่านั่่ง ทำไม ? )
5. ไม่อธิษฐานออกจากกรรมฐาน
    ( เพราะอะไร ? )
6. ไม่สวดคาถา ตามที่สั่ง
   ( เพราะอะไร ? )
7. ไม่แผ่ส่วนกุศล
    ( เพราะอะไร ? )

    วิเคราะห์ได้เลยว่า มีแนวคิดว่า ขั้นตอนเป็นเรื่องไร้สาระ จึงไม่ทำตามขั้นตอน และคิดว่า สามารถประยุกต์( Apply ) วิธีการให้เข้ากับตนเอง โดยยึดถึอแค่หัวใจของการภาวนา

    ศิษย์แบบนี้ ทำอีก สามชาติ ก็ไม่ได้สำเร็จ ธรรม แม้ชาติ ปัจจุบัน ก็เดินคนละเส้นทาง กับครูอาจารย์แล้ว
     เพราะตัวฉัน ทำตามคำสั่งครูเสมอ แม้แรก ๆ อาจจะไม่ค่อยยินยอมทำตาม แต่ทุกครั้งที่ทำไม่เคยหลุดจากระเบียบที่ครูอาจารย์ สั่งให้ปฏิบัติตาม



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 18, 2016, 10:34:22 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ทางรอดของผู้ไม่ได้ ฌาน คือ รอการสอนวิปัสสนา
« ตอบกลับ #61 เมื่อ: กันยายน 18, 2016, 01:10:56 pm »
0
ทางรอดของผู้ไม่ได้ ฌาน คือ รอการสอนวิปัสสนา

    เมื่อวาน ครูอาจารย์ ท่านเข้ามาบอกเปรย ๆ ว่า ให้ระงับการสอน วิปัสสนา ในแนวทาง มูลกรรมฐาน ลงก่อนเพราะศิษย์บางคนยังพอมีบุญบารมี ทาง เจโตวิมุตติ ถ้าหากสอนลงไปตอนนี้ กำลังที่จะช่วยในด้านการสร้าง ทุติยะเจดีย์ จะน้อยลง ศิษย์จะหนักไปทาง ใช้ปัญญามากไป ซึ่งจะทำให้ขาด พระอริยะด้าน วิชชา 3 อภิญญา 6 และ ปฏฺิสัมภิทา 4 จะทำให้การเผยแผ่ธรรม นั้นไม่กว้างขวาง
     ท่านกล่าวว่า ได้ ฝ่าย อริยะด้าน วิชชา 3 อภิญญา 6 และ ปฏฺิสัมภิทา 4  สัก 4 องค์ ดีกว่าได้ วิปัสสก 4000 องค์ เพราะว่า 4 องค์จะรักษาธรรม กรรมฐาน ได้นานกว่า ส่วนปัญญาจะทำให้มูลกรรมฐาน ขาดความน่าเชื่อถือ ในอนาคต เพราะพวก ปัญญาวิมุตติ ไม่รักษา รูปแบบของกรรมฐาน ไว้
    มูลกรรมฐาน ที่มีอยู่ถึงปัจจุบันนี้ ก็เพราะว่า ฝ่าย อริยะด้าน วิชชา 3 อภิญญา 6 และ ปฏฺิสัมภิทา 4 เป็นผู้รักษาประเพณีไว้ จึงทำให้การเผยแผ่ คงอยู่ในปัจจุบัน
    แต่ถ้าหากมอบ มูลกรรมฐานให้กับ วิปัสสก รูปแบบและ ธรรมเนียม จะหมดสิ้นไป ภายในไม่ช้า

เผอิญ ว่าฉันเป็นศิษย์ ที่ฟังครูอาจารย์เสียด้วย
ท่านมีความเห็นให้ระงับการสอน ฉันเองก็ต้องระงับการสอน ตามความเห็น

ดังนั้นเรื่องวิปัสสนา ที่ได้กล่าวไว้ คงจะต้องกล่าวสอนไปแบบที่เขาสอนกัน ก่อน นะ ถ้าจะต่อหัวข้อนี้ ให้จบก่อนออกพรรษา ที่จริงก็ไม่ยากอะไร เงื่อนไขมันอยู่ที่ลูกศิษย์ มาแสดงภูมิ อัปปนาวิถีจิต ให้เห็นให้รับทราบ เท่านี้ก็สอนได้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 18, 2016, 02:01:46 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ออกกรรมฐาน ผิดวัน เนื่องด้วยถูกรบกวน โดยสัตว์
« ตอบกลับ #62 เมื่อ: กันยายน 20, 2016, 10:27:12 pm »
0
กำหนดเข้าออกกรรมฐาน ครั้งที่ 7 คือ 18 ก.ย. 59 - 20 ก.ย. 59

  ตอนสาย ๆ ได้ออกกรรมฐานออกมา ยังไม่รู้สึกอะไรที่ร่างกายแต่ปีติจางคลายลงอำนาจสมาธิหมดลง จึงได้รู้เห็นการล่วงล้ำของสัตว์ที่เข้ามา เพื่อขวางการเข้ากรรมฐาน คือหนู จำนวน 2 ตัว ในเขตกรรมฐาน ซึ่งมีการกัดทำลายบริขารไปหลายชิ้น ดังนั้นกรรมฐานจึงถูกคลายตามที่อธิษฐานไว้ว่า หากเกิดเหตุการณ์อันใดที่มีความกระทบกระเทือนกับทางกาย หรือ เป็นเรือ่งรีบด่วน ขอให้สมาธิคลายออกด้วย เพื่อป้องกันเหตุที่จะเกิดด้วย

    ดังนั้นวันนี้ 19 ก.ย. 59 จิตจึงคลายออกจากกรรมฐานเอง ซึ่งในตอนที่คลายก็ไม่ทราบเวลาอยู่แล้ว พึ่งมาทราบได้สักประมาณ 2 ชม.หลังจากจับหนูได้สองตัว เตรียมเอาไปปล่อยตอนเช้า ให้ไกลจากสถานที่เข้ากรรมฐานหน่อย ต้องรอลูกศิษย์ตื่น สำรวจบริขารมีของเสียหายหลายชิ้น

   สรุปเข้ากรรมฐาน รอบนี้ก็ไม่สามารถทำได้ตามที่ตั้งใจเช่นเดิม คงจะต้องหาเวลาเข้าใหม่อีกครั้ง

   มันจำเป็นต้องเข้า เพราะสังขารบอบช้ำมากตอนนี้อาการปวดก้น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดเมื่อยตามตัว ทวีสูงขึ้นเนื่องด้วย สัจจะเนสัชชิกธุดงค์ ก็อีกแค่ 30 วัน ก็ลุล่วงภาระกิจแล้ว จึงจำเป็นต้องเข้ากรรมฐานมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใคร่จะประกาศให้ใครทราบช่วงนี้และไม่อยากให้ใครมารบกวน ระหว่างดำเนินการเข้ากรรมฐาน

   บันทึกไว้เตือนความจำเรื่อง เหตุออกจากสมาธิเพราะการถูกรบกวนจากสัตว์

    ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๑๐.  สังคีติสูตร]
สังคีติหมวด  ๖

                  อนุสสติฏฐาน ๖
๑.    พุทธานุสสติ
(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)   
๒.    ธัมมานุสสติ
(การระลึกถึงพระธรรม)
๓.    สังฆานุสสติ
(การระลึกถึงพระสงฆ์)
๔.    สีลานุสสติ
(การระลึกถึงศีล)
๕.    จาคานุสสติ
(การระลึกถึงการบริจาค)
๖.    เทวตานุสสติ       
(การระลึกถึงเทวดา)


สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ  ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมรรค  ที่เรียกว่าสภาวะที่ถอนอัสมิมานะ  เพราะเมื่อเห็นนิพพาน
   ด้วยอำนาจผลที่เกิดจากอรหัตตมรรค  อัสมิมานะจึงไม่มี  (ที.ปา.อ.  ๓๒๖/๒๓๕,  องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๑๓/๑๐๕) ดูเทียบ  องฺ.ฉกฺก.  (แปล)  ๒๒/๘/๔๑๙-๔๒๐
 อนุสสติฏฐาน  แปลว่า  “ฐานคืออนุสสติ”  หมายถึงเหตุคืออนุสสติ  ได้แก่  ฌาน  ๓(ที.ปา.อ.  ๓๒๗/๒๓๕,
   องฺ.  ฉกฺก.อ.  ๓/๒๕/๑๑๐,๒๙/๑๑๒)
         อนุสสติ  ที่เรียกว่า  “ฐาน”  เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูลและความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
   เช่น  พุทธานุสสติ  ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ  เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธคุณอยู่  ปีติ  (ความอิ่มใจ)
   ย่อมเกิด  จากนั้น  จึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุอรหัตตผล
         อนุสสติฏฐาน  นี้จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน  แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้  (ขุ.อป.อ.๑/๒๕/๑๓๗,
   องฺ.ฉกฺก.ฏีกา  ๓/๙/๑๐๘)  และดูเทียบ  องฺ.ฉกฺก.  (แปล)  ๒๒/๙/๔๒๐-๔๒๑


 พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๑๑.  ทสุตตรสูตร]  ธรรม  ๖  ประการ

ธรรม    ๖    ประการที่ควรเจริญ    คืออะไร
 คือ    อนุสสติฏฐาน๔    ๖    ได้แก่
 ๑.    พุทธานุสสติ              (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
 ๒.    ธัมมานุสสติ              (การระลึกถึงพระธรรม)
 ๓.    สังฆานุสสติ              (การระลึกถึงพระสงฆ์)
 ๔.    สีลานุสสติ                (การระลึกถึงศีล)
 ๕.    จาคานุสสติ              (การระลึกถึงการบริจาค)
  ๖.    เทวตานุสสติ            (การระลึกถึงเทวดา)
 นี้    คือธรรม    ๖    ประการที่ควรเจริญ

   พระสุตตัตนตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  เอกกนิบาต  ๑๖.  เอกธัมมบาลี  ๑.  ปฐมวรรค
   ๑๖. เอกธัมมบาลี  บาลีว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก๑
   ๑. ปฐมวรรค     หมวดที่ ๑

ธรรมอันเป็นเอก    คืออะไร
            คือ    พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
            ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
อย่างที่สุด    เพื่อคลายกำหนัด    เพื่อดับ    เพื่อสงบระงับ    เพื่อรู้ยิ่ง    เพื่อตรัสรู้    เพื่อนิพพาน    (๑)
            [๒๙๗]    ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายอย่างที่สุด    เพื่อคลายกำหนัด    เพื่อดับ    เพื่อสงบระงับ    เพื่อรู้ยิ่ง    เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
ธรรมอันเป็นเอก  ในที่นี้หมายถึงธรรมที่มีสภาวะเป็นหนึ่ง(เอกสภาวะ)  ศัพท์ว่า  ธรรม  นี้มีความหมายว่า
   สภาวะ  ดุจในคำว่า  กุสลา  ธมฺมา  (สภาวะที่เป็นกุศล)  เป็นต้น  (องฺ.เอกก.อ.  ๑/๒๙๖/๔๑๘,  องฺ.เอกก.
   ฏีกา  ๑/๒๙๖/๒๗๕)


๔๗๓-๔๘๒]    ภิกษุเจริญพุทธานุสสติ  ...  เจริญธัมมานุสสติ    ...เจริญสังฆานุสสติ
...    เจริญสีลานุสสติ  ...  เจริญจาคานุสสติ  ...  เจริญเทวตานุสสติ  ...  เจริญอานาปานสติ
...    เจริญมรณัสสติ  ...  เจริญกายคตาสติ  ...  เจริญอุปสมานุสสติ  ...  (๙๒-๑๐๑)

( รู้สึกว่ายังไม่ขยันเพราะมีเรื่องอื่นต้องทำก่อน )
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 67 ( 24 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #64 เมื่อ: กันยายน 24, 2016, 09:21:40 am »
0


เจริญธรรม วัน ธรรมสวนะ ในพรรษา ซึ่งวันนี้ก็เป็นวันที่ ได้ผ่านการเข้าพรรษามาแล้ว ถึง 64 วัน สำหรับช่วงนี้เป็นช่วง ปัจฉิมภาคปฏิบัติแล้ว นั่นก็คือ การปฏิบัติ ที่มีการมุ่งตรงต่อ นิโรธคามินีปฏิปทา ( นิพพาน ) ดังนั้นขอให้เข้าใจความหมายตรงนี้ด้วยว่า

    เมื่อผู้ปฏิบัติ มีการสั่งสมบารมีมาจนถึงที่สุด ที่มีการนึกถึงพระนิพพาน แม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง นั้นก็ถือได้ว่า ท่านทั้งหลาย ได้ก้าวล่วงสู่ภาคสุดท้าย ของการภาวนา แต่ว่า ภาคนี้ อาจจะใช้เวลามาก หรือ น้อยก็อยู่ที่ บารมีภาวนาที่ ท่านสั่งสมมากันนั่นเอง

    สิ่งที่พระพุทธศาสนา สอน ก็คือ พระนิพพาน และต้องการให้พระนิพพาน นั้นเป็นเป้าหมายสูงสุดของผู้ภาวนาทุกท่าน ดังนั้นถ้าผู้ภาวนา มีอารมณ์แม้เพียงแค่ชั่วขณะหนึ่ง นิดหนึ่งว่าต้องการนิพพาน ด้วยความรู้ความเข้าใจ ว่า เป็นหนทางที่จะละออกจากความทุกข์ มีสังสารวัฏเป็น ที่สุดนั้น เมื่อใด แสดงว่า ท่านทั้งหลายเห็นตัวทุกข์แล้ว แต่ถ้าไม่มีก็แสดงว่า การเห็นทุกข์ยังไม่มี ก็ต้องสั่งสมบารมีกันไปเรื่อย ๆ ตามนั้น

    หลายท่านอาจจะคิดว่า การนึกหน่วงพระนิพพานเป็นเรื่องที่กระทำได้ไม่ ยาก แท้ที่จริงเป็นความเข้าใจผิด การนึกหน่วงพระนิพพาน มีได้แก่ โคตรภูบุคคล ขึ้นไปเท่านั้น คนปุถุชน ไม่สามารถนึกหน่วงพระนิพพานเป็นเป้าหมายได้ ดังนั้น นี่จึงนับว่าเป็นการน่าที่จะอนุโมทนา แก่ท่านที่ ได้ วิสภาคะรัมมะณํง เศษแห่งอารมณ์หนึ่ง ที่มีการนึกถึงพระนิพพาน เป็นเป้าหมาย

    นิพพาน ชื่อ ว่า อุปสมะ ชื่อ ว่า สุข ชื่อว่า สันติ ชื่อว่า พ้นโดยวิเศษ ชื่อว่า ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ เป็นต้น และยังมีอีกหลากหลาย แต่ พระพุทธเจ้า ตรัสที่สุด นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพาน เป็น บรมสุข นั่นเอง

    ดังนั้นท่านใดที่มีความปรารถนา นึกหน่วง พระนิพพานเป็นเป้าหมายแสดงว่า ท่านภาวนามาถูกทางแล้ว และตอนนี้กำลังเข้าสู่ ปัจฉิมภาค ภาวนา นั่นเอง

    การไปสู่พระนิพพาน ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก แค่เตรียมเชือกอ่อน 7 เส้นขมวดมันแน่นเส้นใหญ่ 1 เส้นพันเกลียวให้เป็นอันเดียวกัน

    เชือก 7 เส้นคือ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวิริยะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ส่วนเชื่อกเส้นกลางเป็นประธาน คือ สัมมาทิฏฐิ การพันเกลียว ก็คือการทำสมังคีมรรค พร้อมกัน นั่นแหละจึงจะไปถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไมมีกิจอื่น ๆ อีกต่อไป

    จึงขออนุโมทนา แก่ทุกท่านที่ ร่วมนับหนึ่งเข้าพรรษา ติดตามกันมา ตั้งแต่ต้นด้วยความตั้งใจ สมาทาน อธิษฐาน ตั้งสัจจะ กันแต่ทานและแต่ละคน ใครทำมากก็ได้มาก ใครทำน้อยก็ได้น้อย ใครไม่ทำก็ไม่ได้ ก็เป็นกฏตายตัว ในการภาวนา

    ขอให้ท่านทั้งหลาย จงอย่าท้อถอยต่อการภาวนากันเลย จงมุ่งตรงต่อพระนิพพาน จงดำเนินกิจครั้งสุดท้ายให้ลุล่วง ด้วยความเพียร และ ปัญญา อันมีศรัทธา มุ่งตรงต่อพระนิพพาน เทอญ

   เจริญธรรม / เจริญพร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2016, 05:27:12 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เข้ากรรมฐาน ครั้งที่ 8
« ตอบกลับ #65 เมื่อ: กันยายน 26, 2016, 04:21:59 pm »
0
สมาปัชชนวสี ที่ 27/9/59  02:00 น.
วุฏฐานวสี ที่ 30/9/59 02:00 น.

ปิดหู ปิดตา ปิดวาจา ปิดสื่อสาร ขอแบบเงียบ ๆเล็ก ๆ ตรงนี้
 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 64-69 ( 21-26 ก.ย. 59 )
« ตอบกลับ #66 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 06:12:50 am »
0


สำหรับสัปดาห์ นี้ เป็นสัปดาห์ที่ทางเว็บ ได้ประสบปัญหา เรื่องระบบ เน็ตเวิร์ก และเครื่อง Stanby สถานี ตามที่ได้ประกาศไปในเรื่องการซ่อมแซมระบบทำให้ไม่มีเวลา ลงข้อความในการปฏิบัติธรรมในช่วงนี้ เนื่องด้วยเครื่องหลักต้องลงโปรแกรมใหม่หมด ซึ่งเป็นผลพวงจากการถูก Hack ระบบ และ Virus PC เนื่องด้วยระบบป้องกันหมดอายุมาหลายเดือน

   จึงต้องขออภัยผู้ติดตามข้อความ ตรงส่วนนี้


   สำหรับสัปดาห์ นี้เป็นสัปดาห์เข้าสู่ การกระทำวิปัสสนา ในแนวทางทั่วไป ซึ่งการทำวิปัสสนาในแนวทางทั่วไป ถ้าจะสรุปแนวทางแล้วก็มีอยู่ประมาณ 5 แบบ ( นิวรณ์ ๕ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ ) ซึ่งทั้ง 5 แบบนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นส่วนของปัญญาวิมุตติ หรือ เจโตวิมุตติ

      ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน จึงต้องบอกตรงนี้ว่า

      การฝึกสติ และ การฝึก สมาธิ นั้นไม่ได้เป็น วิปัสสนา หรือ ธรรมานุปัสสนา ให้เข้าใจตรงนี้ก่อน

      การฝึกวิปัสสนา ก็คือ การเจริญ ธรรมานุปัสสนา

     ธรรมานุปสสนา จัดเป็น สติ + สมาธิ ด้วยเช่นกัน แต่เป็น ผลของ สติ และ ผลของสมาธิ ไม่ใช่การฝึก สติ หรือ การฝึก สมาธิ
     
     ธัมมานุปัสสนา ( ธรรมานุปัสสนา ) นั้นเป็นการรวม ของ สติปัฏฐาน ทั้งสามในเบื้องปลาย ดังนั้นไม่ว่าจะเจริญ สติปัฏฐานองค์ไหนก็ต้องมาจบที่ ธัมมานุปัสสนา ทั้งหมด ไม่มียกเว้น จะกล่าวได้ว่า ธัมมานุปัสสนา เป็นขั้นสุดท้ายของ การภาวนาเพื่อการละดับกิเลส

   


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0




เนื่องด้วยเนื้อหาช่วงนี้มีความละเอียด และยาวมาก จึงไม่สามารถพิมพ์ได้ทัน ยกยอดเป็นไฟล์เสียง



กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ

 เคล็ดไม่ลับ ใน มหาสติปัฏฐาน

   สิ่งที่ต้องตระหนักใน สติปัฏฐาน มีสองส่วน

    คือ สิ่งที่เป็นภายใน และ สิ่งที่เป็นภายนอก

  สิ่งที่เป็นนับเนื่องซึ่งกันและกันไม่แยกจากกัน เป็นเหตุปัจจัยต่อกันและกัน

    คือ ความที่เห็นที่เป็นภายในและภายนอก พร้อมกัน

  สิ่งที่เป็น สภาวะธรรมที่ ควรมอง และ เป็นองค์วิปัสสนาจริง ๆ
     
    คือ ความเกิด และความเสื่อมไป

  ธรรมสภาวะ ละกิเลสจะเกิดขึ้นเมื่อ

    เห็นธรรม คือความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ทั้งสิ่งที่เป็นภายในและสิ่งที่เป้นภายนอกพร้อมกัน


   ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 09, 2016, 01:44:57 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 77 ( 4 ต.ค. 59 )
« ตอบกลับ #68 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 08:25:13 am »
0


วันนี้เดินทางไปสู่ วัดแก่งขนุน ในการร่วมพิธีอธิษฐานจิตมอบของที่ระลึกแก่ผู้ร่วมบุญทำกฐินทาน ประจำปี 2559


การอธิษฐานปรก วัตถุ
หมายถึงการ อธิษฐาน วัตถุธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม ในรูปลักษณ์ ที่เป็นเครื่องสร้างศรัทธา ให้มีพลังและกำลังแห่ง พุทธะ คือผู้ทัสนา เบื้องต้นคือความสุขสงบร่มเย็น เป็นสรณะเตือนใจให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ และเตือนใจให้ตั้งมั่นในกุศล ผลบุญ และมั่นคงในการภาวนา


การอธิษฐาน จิต เป็นการนำพลังจิตอัน มหรคต ด้วยอำนาจสมาธิ มีเมตตาเป็นกำลัง มีอุเบกขาเป็นที่สุด เพื่อให้วัตถุที่ระลึกนั้น มีอานุภาพ เหนี่ยวนำคุณงามความดี สู่ผู้ครอบครอง เบื้องต้นให้ตั้งมั่นมีสติ เบื้องปลายก็เป็นเครื่องปกปักษ์อัตภาพตามสมควรแก่ จิตของผู้ครอบครองไม่ให้ตกไปใน อกุศล

 ดังนั้น การทำพิธีปรกอธิษฐานจิตนั้น เป็นการแผ่เมตตา โดยตรง เพราะมีความปรารถนาให้ สรรพสัตว์มีความสุข

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 78 ( 5 ต.ค. 59 )
« ตอบกลับ #69 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 08:29:07 am »
0


สิ่งที่เห็นตามความเป็นจริง พ้นจากบัญญัติ คือ ไม่รู้จะหาคำอะไรมาอธิบาย ให้เหมือนที่เห็นในสมาธิ ในขณะนั้น แม้เขียนเป็นภาพกระดาษออกมาขนาดนี้ก็ไม่ได้หมายความ ฉันได้บรรยายสมบูรณ์ในการเห็นตรงไหนๆได้ ถึง 5 เปอร์เซ้นต์เลยนะ เพราะว่า มันพ้นจากบัญญัติ มีเพียง คำว่า รู้ เห็น เกิด ตั้ง ดับ ไปอย่างไว ๆ เท่านั้น( ซึ่งก็ยังเป็นคำบัญญัติ ไม่ใช่ ปรมัตถ์จริง )

เวลาองค์แห่งธรรมเกิดขึ้นในสมาธิ มันก็เหมือนสิ่งของทีลอยไปบนกระแสน้ำที่ไหลไปอย่างรวดเร็ว เราจะมองทันหรือมองไม่ทัน ก็ต้อง ความชำนาญ ในการมองและสังเกต ฉันใดก็ฉันนั้น กิเลสที่เกิดขึ้นหลังจากนิวรณ์ดับไปแล้ว มันเป็นกิเลสขั้นละเอียด มีตัณหาเป็นแดนเกิด มีอุปทานเป็นเครื่องร้อยรัด ก็เปลี่ยนขึ้นลงไปเร็วมาเร็วจากเร็ว เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นนับไม่ทันในองค์ธาตุที่ปรากฏในสมาธิ ดังนั้นต้องอาศัยอำนาจสมาธิ ขณะนั้นว่า จดจำ ลักษณะ รัศมี และ แสงสว่าง ญาณ ในขณะนั้นได้มากน้อยขนาดไหน ดังนั้นการเข้าสมาธิบ่อย ย่อมเป็นการฝึกฝนการมองเห็นให้มึความชำนาญมากขึ้น อย่าลืมในระหว่างที่จิตดำเนินโคจรสู่สมาธิ ขณะนั้นได้ว่างจากกิเลส คือ นิวรณ์ 5 อย่างสิ้นเชิง ในขณะนั้น เป็นสภาวะ ทีจิตพ้นจากข้อผูกพันคือ คำว่า อัตตา อุปาทาน ตัณหา ไปสู่สภาวะที่ไม่ลำเอียง เข้าข้างกิเลสนั่นเอง เหตุที่คนละกิเลสไม่ได้เพราะทำอะไร ก็เข้าข้างกิเลส นั่นจึงละไม่ได้

ดังนั้น ธัมมะวิจยะในสมาธิ เกิดขึ้นไว และ เกิดขึ้นไปตามลำดับ ของปฏิจสมุปบาท ที่แสดงในภาพ แค่ ส่วน นามรูป เท่านั้นเอง ซึ่งมีธาตุ กรรมฐาน 6 ประการ คือ รูปธาตุ โสตธาตุ รสาธาตุ ฆานะธาตุ ผัสสะธาตุ และ วิญญาณธาตุ พอเราเห็นอย่างนี้แล้ว ก็จะเห็นความต่อเนื่องในรูปนิมิต ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ เหตุปัจจัย อารมณปัจจัย ไปเรื่อย ๆ นะมันจะเห็นไปตามลำดับ อย่างนั้นเอง โดยที่เราไม่ต้องไปนึกถึงธรรมอะไร แค่เมื่อไล่ปัจจัย ในรอบที่สาม ( จำเป็นต้องไล่ เพราะถ้าไม่ไล่ จะไม่มีการปหานกิเลส เกิดขึ้น ) ในรอบที่ 3 เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทนิโรธ ซึ่งมีความสำคัญมากในองค์แห่งสมาธิ ส่วนนี้จะเกิดขึ้นผ่าน อนุโลม รอบที่ 1 และเข้าปฏิโลม ในรอบที่ 2 ส่วน นิโรธเป้นรอบที่ 3 ซึ่งเกิดหลังจาก ผ่าน จตุตุถฌานไปแล้ว ตามนั้น
เจริญธรรม / เจริญพร



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2016, 09:51:56 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 79 ( 6 ต.ค. 59 )
« ตอบกลับ #70 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 08:37:38 am »
0




ตามคำขอ ของศิษย์อยากให้ ชี้แนะข้อความ ระดับ ยากมากขึ้น ซึ่งฉันเองส่วนตัวยังเห็น ระดับ Hard ยังไม่ผ่าน แต่คนปัจจุบันมีนิสัยชอบชิมลอง ก็จะออกข้อความประเภท ระดับสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
สำหรับข้อความระดับสูง จะเป็นการใช้ บัญญัติ แสดงความหมาย ปรมัตถ์ ดังนั้นจึงมีความยากมากขึ้นหากผู้ภาวนา ไม่เข้าใจ ปรมัตถ์ตรงส่วนนั้น ฉันเชื่อว่า น่าจะฟังไม่รู้เรือ่ง ซึ่งฉันเป็นมาก่อนในอาการพวกนี้ มันเหมือนการหยิบ พระไตรปิฏก พระอภิธรรม มาอ่านตรง ๆ คล้ายกันมาก หรือ จะเป็นอันเดียวกันเลยก็อาจจะว่าได้


 ask1
"เมื่อภาวนาถึงธาตุภายใน มีโคจรสงบไปในภายใน นิมิตและอนิมิต ย่อมตั้งอยู่บ้าง ย่อมหายไปบ้าง ไม่เรียกว่า การเกิดการดับ แต่เรียกว่า การปรากฏ กับการไม่ปรากฏ การเกิดและดับ ใช้ สังขารธาตุ และไม่ใช้ในโลกุตตระธาตุ โลกุตตรธาตุ เป็นวิสังขารธาตุ ปราศจากสมมุติบัญญัติ สิ่งที่เข้าไปรู้ ไม่ม่คำบัญญัติ แต่มีสภาพพ้นจากบัญญัติ คำว่ารู้ก็ไม่ใช่ เพราะรู้นั้นไม่ได้ปรากฏเพียงอย่างเดียว แต่ปรากฏรู้แจ้งพ้นวิเศษตามไปด้วย ในขณะที่รู้ ก็คือพ้นจากอวิชชา เมื่ออวิชชาไม่ครอบงำ เหตุปัจจุัยจึงปรากฏชัด เหตุปัจจัยปรากฏที่ทวาร 6 และรุ้แจ้งพ้นวิเศษตรงนั้น ในเหตุปัจจัยที่ปรากฏ มีสภาวะธรรม 3 อย่างคือ สัมปยุต ธรรม เป็นลำดับที่หนึ่ง การตั้งอยู่แห่งที่ตั้งของปัจจัยเป็นลำดับที่สอง และรูปของเหตุปัจจัยนั้นจึงปรากฏเป็นลำดับที่ 3 ในสมาธิ ภูมิ ปฐมเมื่อเข้า วิปัสนาใน ปฐมฌาน ก็เกิดอย่างนี้เป็นเบื้องต้น เมื่อผู้ภาวนารู้แจ้ง ในรปแห่งเหตปัจจัยแล้ว ก็จะเข้าใจและไหลไปสู่ อารัมณปัจจัย ในอารมัมณปัจจัย ธรรมปรากฏ 6 ประการ คือ รูปเหตุปัจจัยธาตุ ปรากฏ รูปแห่ง โสตะปัจจัยธาตุ ปรากฏ ......"



นี่เป็นข้อความ ตั้งนำบทวิปัสสนาในระดับสูง อันประกอบ ปฐมฌานเป็นลำดับแรก ใครเข้าใจอธิบายให้ฉันได้ ฉันจะส่งข้อความการบรรยายพิเศษให้ ถ้าภายในหนึ่งอาทิตย์นี้ไม่มีใครอธิบายสิ่งที่ฉันแสดงไว้ตรงนี้ก็จะต้องย้อนกลับไปศึกษา ในระดับที่เหมาะสม
เจริญธรรม / เจริญพร
ข้อความยิ่งไปสู่ปรมัตถ์มากเท่าไหร่ แสดงให้เห็นว่า ภูมิธรรมผู้ภาวนา ย่อมสูงตาม ผู้อธิบาย อรรถนี้มีเพียง แต่ อริยะปฏิสัมภิทา เท่านั้น ปัญญาวุมิตติ ไม่สามารถบรรยายธรรมส่วนนี้ได้ เหตุเพราะ ธรรมที่ปรากฏนี้ อาศัยนิมิต คือ ปฏิภาคนินิต และ อาศัยการเข้าปฐมฌาน ปัจจุบัน ครูอาจารย์ส่วนใหญ่อธิบายผิด ไปอธิบายการเข้าวิปัสสนา หลัง ฌาน 4 และ ฌาน 8 เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่ได้รู้จริงในขั้นตอนวิปัสสนา ไม่เข้าใจ ใน วิเสสสมาบัติ หรือ สมาบัติ ที่พระพุทธเจ้าสอนเลย แต่ไปเข้า ฌานโลกียะ มากกว่า ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้าสอน ฌานโลกุตตระ ไว้มากมายในพระไตรปิฏก ดังนั้นผู้ที่จะอ่านตรงนี้ต้องมีคุณสมบัติ ที่จะอ่านข้อความที่ฉันนำเสนอนี้ได้
ฉันไม่ได้คิดว่า จะมีคนอ่านเข้าใจในส่วนนี้มากเกินกว่า 4 คน ในขณะนี้ แต่จะลองออกข้อความตามที่ขอ




จริง ๆ เมื่อก่อน ฉันเองมีนิสัยชอบพูด แต่ 3 ปีมานี้ ไม่ค่อยชอบพูด พูดน้อยลง จนถึงขั้นเรียกว่าไม่พูดเลย นั่งเฉย ๆมากกว่า ไปหลายที่หลายแห่ง ส่วนใหญ่ ก็ไปนั่งฟังเขาเฉย ๆ เงียบ ๆ

เหตุเพราะไม่เห็นสาระ และไม่คิดว่าจะมีใครเข้าใจในสาระ แห่งการพ้นวัฏฏะสงสารนัก ยังไม่เจอคนที่ต้องการพ้นจริง เจอแต่คนบอกว่า อยากพ้น แต่ไม่เคยทำอะไรเพื่อจะพ้นเลย พวกนี้ยังได้เจออยู่ บอกว่าอยากพ้นจากสังสารวัฏ แต่ทุกวันทุกเวลา ไม่ภาวนาเลยอะไรเลย นอกจากรอให้มันพ้นเอง

ซึ่งฉันพิจารณา แล้วมันเป็นไปไม่ได้ จึงได้พูดว่า ทุกวันนี้ ยังไม่มีใครเดินตามฉันมาจริง ๆ มีแต่ ตะโกนเรียกฉันอยู่ว่า รอด้วย รอด้วย รอด้วย ประมาณนี้มากกว่า

ถ้ารู้ตัวก็จะดี จะได้ศึกษาภาวนาให้มันถูก ในระดับของเราเอง

เรื่องการจัด Level ก็ไม่มีอะไรมาก
1. easy ( ง่าย )
หมายถึงระดับผู้เริ่มต้น คือ ขึ้นกรรมฐานใหม่ ระดับนี้ก็คือ พระอริยะ สอน ปุถุชน

2.normal ( ปกติ )
หมายถึงระดับของผู้ภาวนาที่ เริ่มจะได้ กำลังจะได้
พระอริยะ สอน ผู้เป็น พุทธมามกะ

3.hard ( ยาก )
หมายถึงระดับ ของผู้ภาวนาที่ได้อุปจาระฌาน แล้ว
พระอริยะ สอน โคตรภูบุคคลทั้งปัญญาวิมุตติ และ เจโตวิมุตติ

4.Veryhard ( ยากมาก )
หมายถึงระดับ ของโคตรภูบุคคลที่เป็นเจโตวิมุตติ
พระอริยะ สอน โคตรภูบุคคลที่เป็นเจโตวิมุตติ ที่มี ปฏิสัมภิทา 4

5.Nohuman ( ไม่ใช่ระดับของมนุษย์แล้ว แสดงว่า เป็นอริยะ )
หมายถึงระดับ ของบุคคลที่ได้ เป็นพระอริยะแล้ว
พระอริยะ สอน พระอริยะ ตั้งแต่พระโสดาบัน ทั้งปัญญาวิมุตติ และ เจโตวิมุตติ

ดังนั้น 5 พวกนี้ สอนพร้อมกันไม่ได้ ข้อความไม่เหมือนกัน ต้องแสดงธรรมให้ถูก บุรุษบุคคล ฉันจึงชอบการสอนธรรมเป็น Private คือ ส่วนบุคคลมากกว่า กวาดทั้งศาลา ซึ่งผลที่ได้น่าจะดีกว่า

ก็เข้าใจง่าย ก็ตามนี้

นี่คือปัญหาที่หลายคนไม่เข้าใจ ว่าทำไม คนนี้ฉันสอนแค่นี้ คนนี้สอนมากกว่า จนบางคนปรามาสว่า ฉันซึ่งเป็นครูสอนไม่เป็น ดังนั้นบางคนก็ไม่รู้ตัวว่า ตนเองภาวนาได้เท่าไหน ก็ควรจะถามที่ตรงภาวนา ไม่ใช่ถามเกินตัวไป แค่อยากทดสอบครู บางคนก็แข็งมา อวดนั่นอวดนี่ อวดเข้าฌานได้ อวดสารพัด กับฉันไม่ต้องอวด แค่ภาวนาเป็นตัวทดสอบ เลย แต่บางครั้งก็พูดรักษาน้ำใจไว้ให้ ไม่อยากตำหนิ แต่จะให้กำลังใจไม่ขัด ของจริงไม่ต้องกลัว ทนต่อการพิสูจน์

การแสดงธรรมของฉัน ไม่ได้ต้องการแสดงให้เห็นว่า มันพิศดาร แต่จะใช้คำให้เรียบง่าย เพียงแต่ผู้มารับข้อความ มาอ่านข้อความแล้ว ไปคิดกันเองว่า พิศดาร

เช่น ถ้าอยู่ ระดับที่หนึ่งอ่านข้อความด้านบน ก็จะบอกว่า พิศดาร
ระดับที่สอง และ สามก็จะเห็นว่า พิศดาร
แต่เป็นระดับที่สี่ เขาก็จะมองเห็นว่า พื้น ยังไม่ลึกล้ำ
ถ้าเป็นระดับสุดท้าย เลย เขาก็จะว่า ยังอธิบายไม่ดีพอ

เป็นประจำเลย ที่ ธัมมะวังโส สนทนากับ ครูอาจารย์ ข้อความที่ฉันยกอธิบาย มักจะได้รับคำตอบว่า

   ยังอธิบาย ได้ ไม่ดีพอ บ่อย ๆ  มาก ( นี่จะเห็นว่าข้อความฉันนั้นไม่พิศดารอะไรเลย )

จะเห็นไหมว่า เจตนาของผู้แสดงธรรมไม่ได้ ต้องการแสดงให้คนอ่านเห็นว่า พิศดาร ใด ๆ เลย เพียงแต่ผู้อ่านเป็นบุคคลระดับไหนมาอ่าน มันอยู่แค่ตรงนั้น

อันนี้คือ สัจจะ ความจริงที่ต้องเห็น
ดังนั้นฉันแสดงธรรมทุกครั้ง ไม่เคยใส่ความรู้สึกว่า ฉันนั้นยอดเยี่ยมแสดงธรรมได้ล้ำลึกหรือพิศดารใด ๆ เลย เพียงแต่ใส่ความปรารถนา ว่า ผู้ใดที่มีระดับเหมาะสมจักเข้าใจธรรมส่วนนี้ จงเกิดความเข้าใจเถิด มีเพียงเท่านี้ในการแสดงธรรมของฉัน

สำหรับหัวข้อที่ยกมานั้น เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้ ถ้าต้องการแจกแจงให้ฉันฟัง ควรจะต้องเข้าใจตรงนี้ด้วย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20431.0

ถ้าจะให้ถูกต้อง ก็คือ ต้องเข้าปฐมฌาน ด้วยอธิษฐาน วิปัสสนา ในปฐมฌาน ก่อน นั่นหมายถึงว่า มีการเจริญองค์แห่งปฐมฌาน สมบุรณ์แล้ว จึงเริ่มวิปัสสนา คำอธิบายเป็น เริ่มต้นองค์วิปัสสนา ในปฐมฌาน


 ans1
วินิจฉัย คำอธิบายแรก ควรอธิบายความหมาย ของคำว่า ธาตุภายใน คืออะไร ในปฐมฌาน
มีโคจรสงบไปในภายใน หมายถึงอะไร
นิมิต และ อนิมิต เกิดขึ้นตรงไหน หายไปตรงไหน ปรากฏตรงไหน และไม่ปรากฏตรงไหน
การปรากฏ และ ไม่ปรากฏ ทำไมเป็นสังขารธาตุ
ถ้าทำในโลกุตตรธาตุ ทำตรงไหน ถึงจะพ้นจากบัญญัติ
คำว่า พ้นจากบัญญัติ หมายถึงอะไร ในการปรากฏและไม่ปรากฏ อาศัยอะไร เป็นเหตุต้น ก่อนจะเป็นเหตุปัจจัย
วิสัขารธาตุ มีอะไรเป็นสภาวะเริ่ม ในขณะนั้น
ขณะที่รู้ ที่กล่าวว่า รู้แจ้งพ้นวิเศษเป็นสภาวะที่เกิดจากอะไร อะไรเป็นตัวทำให้เกิสภาวะนั้น
สภาวะทั้ง 3 เกิดตรงไหน และสภาวะใดเป็นสภาวะของเหตุปัจจัย และต่อไปยัง อารัมณะปัจจัยอย่างไร

ทั้งหมด ถ้าไม่เคยเข้า ปฐมฌาน ไม่มีทางอธิบายได้ ถึงเคยเข้าปฐมฌาน แต่ไม่เคยอธิษฐานวิปัสสนา ก็อธิบายไม่ได้ เพราะที่เอามาอธิบายตรงนี้เป็นการเข้าปฏิจจสมุปบาทธรรม ด้วยองค์แห่งฌาน รอบที่หนึ่ง เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุบาทธรรม ซึ่งจัดเป็น วิปัสสนาขั้นสูงที่พ้นจากสังขตะ คือสภาวะ ที่เกิด ผู้ภาวนาเป็นเพียงผู้ดูเท่านั้น และ เมื่อดูก็ดับสภาวะนั้นขณะนั้น


เปรียบเหมือนคนที่เข้าไปดูหนัง โดยไม่รู้บทของหนังว่าจะไปอย่างไร ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ก็รู้อยู่ว่าการดูจะให้ผลสามอย่างคือ พอใจ ไม่พอใจ และ เฉย ดังนั้นถ้าผู้ดูหนังนั้นไม่ปรุงแต่งอารมณ์ตามบทหนังนั้น ขณะนั้น เมื่อดูจึงไม่มีสภาวะเพลิดเพลิน หรือ เบื่อหน่าย มีแต่สภาวะ อุเบกขาธรรม ที่เกิดขึ้น การดูหนังแบบนี้คือ ดูไปอย่างไม่มีอรรถรส แต่ดูด้วยอำนาจการวางเฉย ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ สภาวะจึงพ้นวิเศษ โดยชอบ  การดูหนังอย่างนี้เป็นการเจริญวิปัสสนา ที่เรียกว่า ผู้ดูเห็นสภาวะ ตามความเป็นจริง โดยปราศจากการปรุงแต่ง สภาวะที่ได้ขณะนั้นคือ อุเบกขา เรียกว่า ตัตรมัชฌัตุเปกขา ในการละดับกิเลส ขณะนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2016, 09:59:00 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 81 ( 8 ต.ค. 59 )
« ตอบกลับ #71 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2016, 01:03:10 pm »
0




( พระพุทธรูปางลีลา วัดพัชรบรรพต เมือง สระบุรี ภาพถ่ายโดย ธมฺมวํโส ปี 2546
    ตอนที่ อาจารย์เดินทางผ่านมา ณ วัดนี้ได้ขึ้นไปบนเขาชมวิว ได้ยืนมองพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งมีความสูงประมาณ 10 เมตร ตรงจุดที่ยืนมีความรู้สึกว่า เหมือนเรากำลังได้รับพรจากพระพุทธเจ้า จึงได้ถ่ายภาพนี้ไว้เป็นที่ระลึก ตรงจุดนั้น ตรงนี้แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของผู้สร้างพระพุทธรูป ได้ถ่ายทอดอารมณ์ในการทัศนา ฉายาพระพุทธเจ้า แบบต่าง ๆ การสร้างพระพุทธรูปด้วยนัยยะแห่งนี้ส่วนมากจะเห็นเป็น ทางประเทศ พม่า เขาใส่ใจในมุมมองขึ้นไปของผู้กราบสักการะ ฉายาพระพุทธเจ้า ( รูปปั้นสื่อถึงพระพุทธเจ้า ) ดังนั้นถ้าพระอาจารย์จะสร้างพระพุทธรูปก็จะยึดถือ มุมมองส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญด้วย ในกาลข้างหน้า )

พระอริยะ จะอยู่ จำนวนเท่าใดก็ตาม ที่นั้นไม่ขาดความสงัด
พระเจ้าอชาตศัตรู ครั้นได้ฟังจาก หมอชีวกโกมารภัจ ว่า ให้ไปฟังธรรมที่ สวนมะม่วงของตน เพราะพระพุทธเจ้า และพระอัครสาวก พระสาวก จำนวน ๑,๒๕๐ อยู่ที่นั่น พระเจ้าอชาตศัตรู ไปด้วยความระแวงจึงพาคนไปจำนวนมากมาย ครั้นพอถึงสวนมะม่วงแล้ว ก็เกิดความสะดุ้งกลัวหวาดระแวง ดั่งข้อความปรากฏในพระไตรปิฏก เรื่อง สามัญญผลสูตร เล่มที่ ๙ หน้า ๕๑ ดังนี้ว่า

"พอใกล้จะถึงสวนมะม่วง ท้าวเธอทรงหวาดระแวง พระโลมชาติชูชัน จึงตรัสถามหมอชีวก โกมารภัจ ว่า
 “สหายชีวก ท่านไม่ได้หลอกเรา ไม่ได้ลวงเรา ไม่ได้นำเรามาให้ศัตรูดอกหรือ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จำนวน ๑,๒๕๐ รูปทำไมจึงไม่มีเสียงจาม เสียงกระแอมไอ หรือเสียงพูดคุยกันเลย”


ที่ยกมาให้ท่านทั้งหลายทราบนั้น ก็เพื่อให้เห็นว่า พระอริยะไม่มีโทษ ไม่มีภัย ไม่ทำลาย ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้เวลาไปเพื่อความอึกทึก ถ้าไม่มีอะไรจะทำ พระอริยะจะเลือกความสงบ ความสงัดเป็นวิหารธรรมอยู่ในขณะนั้น จึงทำให้ที่ไหน ๆ ที่พระอริยะท่านอยู่ จึงไม่มีเสียงอึกทึก โหวกเหวก โวยวาย หรือ โกลาหล ดังนั้นท่านที่มีโอกาส พบพระอริยะ และได้ศึกษาธรรมเป็นศิษย์ ก็จงเรียนธรรม ด้วยความเคารพ จงศึกษาธรรมภาวนาให้มั่นคง เพราะเนื้อนาบุญเช่นนี้เป็นเนื้อนาบุญที่หาได้ยาก พระอริยะ จึงเป็น สังฆรตนะ ที่ประเสริฐ เป็นที่พึ่งได้อีก รัตนะหนึ่งเพราะเหตุนั้น

อะไรเป็นอุปกรณ์ ยัง พระสังฆรัตนะ ให้ประเสริฐ ข้อปฏิบัติเรียกว่า อริยมรรค นั่นแล เป็นหนทาง ยัง พระสังฆรัตนให้ประเสริฐ โพชฌงควิหารธรรมนั่นและ เป็นอริยผลที่ พระสังฆรัตน ยังให้มีอยู่ ในขณะดำรงค์ขันธ์ ผลสมาบัติ อเนญชาสมาบัติ นิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็น อริยผล อันพระสังฆรัตนะแสดงอนุเคราะห์แก่ชน ที่ขวนขวายพรหมจรรย์ ยังกิจที่ควรทำให้ผ่องใส ตามสมควรแก่ฐานะ

ยามใดที่ของท่านทั้งหลาย ท้อแท้ก็จงหมั่นนึกถึง พุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ แห่งรัตนะทั้งสามประการ ผู้ใดระลึกได้ก็พึงสวด เจริญ บทพุทธคุณ ธรรมคุณ และ สังฆคุณ ให้ขึ้นใจ สวดมากก็ดี มีคุณสวดน้อยก็งามเจริญใจ แม้นึกสวด ไม่มา เพียงส่วนหนึ่ง แม้นคำว่า" พุทโธ" เป็นต้น ก็ทำใจให้เบิกบาน แช่มชื่น ได้เช่นกัน


ดังนั้นท่านทั้งหลาย อย่าได้สะดุ้งหวาดกลัว ต่อ รัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้เลย จงสะดุ้งและหวาดกลัว ต่อ อกุศลธรรมเถิด


เวลาภาวนากรรมฐาน ถ้าท่านทั้งหลาย นั่งยืนเดินนอน ภาวนาแล้วนึกกรรมฐานอะไรไม่ออก ก็พึงนึก บทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ สวดเจริญไปในใจ ให้มากขึ้น บททั้งสามนี้ พระพุทธเจ้าแสงอานิสงค์ไว้ใน ธชัคคสูตรว่า ผู้ใดได้สวด บทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ย่อมถึงซึ่งความไม่หวาดหวั่น มีความอาจหาญ ร่าเริง และมีผลถึงสุขสวัสดี ในที่สุด ดังนั้นหากใครภาวนา ด้วยคำว่า พุทโธ แล้วยังไม่ตั้งมั่น ก็พึงให้สวด สัปยุตตธรรมบทนี้ให้ตั้งมั่นในใจ ให้มั่นคงเสียก่อน ภาวนา คำย่อย คำโดด นั่นแล


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

๑. พุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ


๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ


๓. สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2016, 01:41:38 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เข้ากรรมฐาน ครั้งที่ 9
« ตอบกลับ #72 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2016, 01:05:05 pm »
0
เลื่อนเวลานิดหน่อย เพื่อเปิดโอกาสให้ถวายภัตรก่อนเข้ากรรมฐาน เนื่องด้วยเป็นวันธรรมสวนะ
สมาปัชชนวสี ที่ 9/10/59  18:00 น.
วุฏฐานวสี ที่ 15/10/59 09:00 น.

ปิดหู ปิดตา ปิดวาจา ปิดสื่อสาร ขอแบบเงียบ ๆเล็ก ๆ ตรงนี้
 ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 15, 2016, 11:21:14 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ตอบคำถามวันนี้ 8 ต.ค. 59
« ตอบกลับ #73 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2016, 03:25:20 pm »
0
ตอบคำถาม อะไรเรียกว่า อทุกขมสุข ที่พระอาจารย์กล่าวถึง
คำตอบ การที่ผู้ฝึกกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานอะไร ก็ตาม ผู้ฝึกจะมีอาการ 4 อย่าง ที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ เป็นอุปสรรคของผู้ฝึกภาวนา หากไม่รู้วิธีแก้ไข ก็ย่อมไม่สามารถผ่านไปได้ 4 อย่างนั้น มีดังนี้
1.สะดุ้งตกใจ ร่างกายพุ่งวาบ ในขณะภาวนาจิตเริ่มเป็นสมาธิที่สิ่งที่กระทบกับกายในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็น อากาศ เสียง กลิ่น เป็นต้น เมื่อกระทบจิตไม่ตั้งมั่นร่างกายจะเกิด อาการพุ่งวาบ แว่บหนึ่ง ก็หายไป ซึ่งก็แล้วแต่ว่าใครมีสมาธิ ดี ก็มีอาการน้อย ใครไม่ค่อยดี ก็มีอาการมาก ๆ ซึ่งสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ ไม่ได้มีแค่เสียง แม้รูปภานนิมิตที่เกิดขึ้น ต่างก็เป็นอุปสรรคเช่นกัน
( สำหรับสายกรรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ใช้การเข้าสะกดเป็นการแก้ ส่วนนี้ แต่ไปเน้น ตรงที่เสียงเป็นปฏิปักษ์ ต่อสมาธิ )

2.อทุกขมสุขอารมณ์ เป็น สภาวะที่ผู้ภาวนา ยุติ วิตก วิจาร เข้าไปอาศัยสภาวะ ที่เรียกว่า พัก หรือ หลับ นั่นเป็นเพราะเกิดความขี้เกียจเป็นอารมณ์ ด้วยส่วนหนึ่งแต่ตรงนี้มีข้อความใน มูลกรรมฐาน ชัดเจน เหตุที่คนติดสภาวะนี้เกิดจากการปรามาส พระรัตนตรัยมาก่อน หรือ ผิดศีล จึงทำให้ ธรรมจักษุ ถูกปิดลง คนที่มีอาการอย่างนี้ ให้รู้ตัวด้วยว่า โทษของการปรามาส ปิดจักษุธรรม ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ภาวนา ดังนั้นไม่ว่า ภาวนากรรมฐาน อะไรก็ตามแบบไหนก็ตาม สุดท้ายเมื่อภาวนาไปสักครู่ สักพัก ก็จะลืมขั้นตอนของกรรมฐานทั้งหมดแล้วจิตก็จะไหลไปอยู่ที่ความนิ่ง และก็คิดว่า ความนิ่ง ๆ ตรงนั้นเป็นองค์สมาธิ บางคนอยู่ตรงนี้ได้เป้นวันก็มี แต่จิตไม่ก้าวหน้า ไม่ไปสู่ อัปปนาวิถี และ อุปจารวิถี กันเลย ทำกี่ครั้ง กี่วัน กี่เดือน กี่ปี ก็จะมาจบที่ตรงนี้ ดังนั้นใครที่เป็นอย่างนี้ก็จะมีที่สุดคือการภาวนา แบบสัปปะหงก โงกง่วง หยุดนิ่ง จำไว้
( วิธีแก้ไข ทำการขอขมา พระรัตนตรัย ดำรงศีลอุโบสถ เป็นเวลา 30 วัน ด้วยไม่ให้ขาด ไม่ให้ พร่อง ถ้าเป็นฆราวาส ก็บวช พระดำรงค์ ศีล ถ้าเป็นพระแสดงว่า ต้องอาบัติหนัก กลาง ไม่ใช่อาบัติเบา ต้องชำระวินัยให้ดีก่อน ถึงจะก้าวพ้นจากสภาวะนี้ได้ )

3.ตกภวังค์ ผู้ภาวนา เมื่อภาวนาไปก็จะเข้าสภาวะไร้สติ มีอาการมึนงง ไม่รู้ตัว เป็นพัก ๆ แล้วก็มีอาการจิตดิ่งตกสู่ สภาวะที่เรียกว่า วูบ หรือ ภาษากรรมฐาน เรียกว่า ภวังค์ ซึ่งเกิดจาการที่จิตทิ้งการโคจร หรือ ลำดับกรรมฐาน
เมื่อเข้าสู่ วิถีอัปปนา ส่วนนี้จะหนักขึ้นไป อีก 5 ระดับ ในอัปนาวิถีจิต มีชื่อภวังค์ต่าง ๆ
( สำหรับวิธีการแก้ ก็คือ ไม่ทิ้งโคจรสมาธิ แต่โคจรสมาธิ ที่ไม่มีนิมิต ทำได้ยาก ดังนั้น ผู้ที่ผ่านตรงนี้ส่วนใหญ่ ต้องอาศัยนิมิต )

4.การติดปีติ ไม่ละทิ้งปีติ

ทำให้มันถูก แก้ให้มันถูก มันก็จะไปได้
คนเรามีทั้งดี และ ชั่ว
สิ่งที่ทำชั่วไปแล้ว ก็ต้องแก้ไข ให้ถูกต้อง
หากเป็นผู้ปรารถนา นิพพาน ต้องไม่กลัวที่จะแก้ไขในสิ่งที่ผิด
เจริญธรรม / เจริญพร
( ความหมายภาพ อย่ากลัวเจ็บที่จะผ่านอุปสรรค แต่ จงกลัวที่จะตายก่อนไม่ได้ผ่านอุปสรรค การไปนิพพาน ย่อมมีอุปสรรคมากมาย อุปสรรคจริง ก็คือ ตนเอง ตัวตน ของเรา อุปาทานในตน นั่นแหละเป็นอุปสรรค )


มีผู้สอบถามมา ตอบให้คลายกังขา ไปเลยทีเดียวนะ
คำถาม พระอาจารย์ได้สอนวิชามูลกรรมฐาน กัจจายนะ ให้ใครไปบ้างแล้ว

คำตอบ ปัจจุบันวิชามูลกรรมฐาน กัจจายนะรูปเต็มนั้น ยังไม่ได้สอนใคร แต่สอนเบื้องต้นไปบ้างแล้ว ในยุครับขึ้นกรรมฐาน เนื่องด้วย ผู้มาขึ้นกรรมฐาน มีแนวทางกรรมฐานมากันแล้ว 99 เปอร์เซ็นต์ดังนั้น จึงต้องให้เขาภาวนา ให้คล่องแคล่ว ในพื้นฐานก่อน ซึ่งวิชาที่ทำให้คล่องแคล่วก็คือ พุทธานุสสติ อย่างในแนวทางหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน แต่หลายท่านที่มาขึ้นกรรมฐาน นั้นผ่านมา 10 ปีก็ยังไม่สามารถละทิ้งรูปแบบในจินตนาการกันได้ ส่วนใหญ่ 95 เปอร์เซ็นต์ที่สอนไปนั้นจึงละทิ้งวิธีการเดินจิต เลือกเอาแบบง่าย ๆ อย่างทีชอบ สุดท้ายก็ยังจมอยู่ ใน อทุกขมสุขเวทนา เช่นเดิม 11 ปี ก็เหมือนเดิม มีแต่เพียงปัญญา( ออกแนวทางเป็นปัญญาวิมุตติ ) ที่พอกพูนความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ในอรรถและธรรม แต่ทางด้านอัปปนาจิต ไม่เกิดการพัฒนากัน ฉันจึงได้ลองถ่ายทอดขั้นแรกให้ศิษย์ ทั้งหมด 6 คนด้วยกัน แต่สุดท้าย ก็ยังไม่ตั้่งมั่นในการวางอารมณ์ แต่ก็ยังพอมีบุคคลที่มีแววที่เดินตามแนวครูอย่างฉันด้วยการกลับไปนั่งคัดลายมือเช่นฉัน ซึ่งในกรณีนี้มีไม่กี่คนที่กระทำตาม ครูอย่างฉัน

หลายคนชอบความสนุกสนาน คลุกคลีด้วยหมู่คณะ และวาดฝันการภาวนาต้องเป็นหมู่คณะ เมื่อขาดหมู่คณะ(คือคนมอง) จึงไม่ภาวนา และพอใจกับการไปชี้แนะนำสอนผู้อื่น ในขณะที่ตนเองก็ยังเป็นคนกลวง คำว่า กลวงของฉันหมายถึง ไม่มีคุณธรรมของ พระโสดาบัน เลย แล้วมัวไปเที่ยวแสวงหาวิชากรรมฐาน เพื่อนำไปสอนคนอื่น แทนที่จะนำมาสอนตนเอง และพัฒนาตนเองให้เข้า สู่ วิถีแห่งผลญาณ
ลูกศิษย์ตอนนี้ส่วนใหญ่ คลั่งไคล้ การเป็นผู้นำ หรือผู้สอน ในขณะที่ครูอย่างฉัน ชอบการนั่งนิ่ง ๆ เงียบ ๆ และไม่ได้มีความคิดที่จะไปสอนใครเลยจริง ๆ ลูกศิษย์ในปัจจุบันซึ่งเหลือไม่กี่คนตอนนี้ที่ติดตามฉัน ก็ดูแววพอจะไปได้ ประมาณ 4 คนเท่านั้น จากจำนวนทั้งสิ้น 3785 คนที่ลงทะเบียนบันทึกไว้ ในขณะที่อยู่วัด ทุกคนหวังให้ฉันเป็นอาจารย์มีชื่อเสียง แต่ฉันละเรือ่งพวกนี้มาอยู่วิเวก จนทำให้ไม่มีใครรู้จักฉันกัน และเห็นความอัตคัตฉัน เป็นที่น่ารำคาญศิษย์ส่วนใหญ่นั้นจึงละทิ้งฉัน เพราะคิดว่าไม่มีชื่อเสียง ตามเป็นศิษย์ต่อไป ก็ไม่มีชื่อเสียงตาม ซึ่งฉันไม่ได้ว่าอะไร ตามสบาย ตามทางที่ทุกคนชอบเถิดตามนั้น

วิชามูลกรรมฐาน กัจจายนะ นั้น ในมุมมองจริง ๆจะเห็น ทุกๆกรรมฐานนั้นจะหมดไป ในตอนที่เข้า ปฐมฌาน ไม่ว่าคุณจะภาวนาด้วย วิตก วิจาร มาแบบไหน ด้วยกอง กรรมฐานไหน ๆ ก็ตาม แต่จะสิ้นสุดหลักวิชาทั้งหมดทุกรูปแบบ ที่ ปฐฌฌาน เพราะเป้าหมายของทุกกรรมฐาน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ มองแค่การละนิวรณ์ เท่านั้น วิธีการตามหลักพุทธศาสนาจะเริ่มที่ ปฐมฌาน คือการเจริญอัปปนาจิต ที่ประกอบด้วยวิปัสสนา ไม่ใช่ เดินจิตแบบโลกียะสมาธิ แต่เป็นการเดินจิตเข้าปฐมฌาน เป็นวิปัสสนา ซึ่งขอ้ความนี้สำคัญมาก เพราะหลายครูในยุคนี้สอนผิดจากแนวทางพุทธศาสนา ไปสอนฌานแบบ โลกียะ หรือ สอนแบบโยคี ทั้ง ๆ ที่มีข้อความมากมายในเรื่องการเดิน อัปปนาจิต ตามแบบพระพุทธเจ้า

ดังนั้นที่ฉันสอนไม่ได้สอนให้ไปเป็นครูอาจารย์ อะไร แต่สอนเพื่อให้ขจัดกิเลส แล้วรีบเป็นพระอริยะซะ ซึ่งฉันมีเวลาแนะนำให้กับพวกท่านทั้งหลายอีกไม่มาก

ดังนั้น 5 ธ.ค. 59 ก็จะถือว่า เป็นการรับศิษย์ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ รุ่นที่ 1 ( อาจจะเป็นรุ่นเดียว ที่รับ ) ในรอบ 11 ปีมานี้ที่ฉันไม่ได้รับใครเป็นศิษย์ ถ้าถามว่าฉันยกเลิกการรับศิษย์วันนี้หรือยัง ก็ยังไม่ได้ยกเลิก
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 88 ( 15 ต.ค. 59 )
« ตอบกลับ #74 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2016, 11:47:25 am »
0


และก็มาถึงวันนี้ จนได้ วันนี้ยังมีลมหายใจ ยังมีลมหายใจออก ยังพอมีเรี่ยวแรง ได้กระทำหน้าที่ด้วยกิจแห่งพรหมจรรย์ อยู่ ก็ขอบคุณใน คุณแห่งธาตุทั้งหลายที่ ยังไม่แตกดับสลายไป พอให้มีอัตภาพอยู่ต่อไปอีกเวลาหนึ่ง

  สำหรับในวาระนี้

   ก็ต้องขอนุโมทนา กุศลกับทุกท่านที่ได้รักษาสัจจะอธิษฐาน สร้างบารมีต่าง ๆ ในช่วงเข้าพรรษา จะน้อยจะมาก จะหนักจะเบา ขอให้เป็นกุศล ก็ใช้ได้ ถือว่าเป็นการเริ่มโอกาสในการเดินตามรอยพระอริยะ อย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

   บุญและทานอันเลิศ ย่อมมีอานิสงค์อันเลิศ
   ภาวนาอันเลิศ ย่อมมีอานิสงค์อันเลิศเช่นกัน

  สำหรับการถ่ายทอดธรรม ในช่วงเข้าพรรษานี้ อาตมา (ฉัน) ก็ได้ทำหน้าที่เต็ม อย่างสมบูรณ์ ( เอาใจใส่ )ต่อทุกท่านที่ติดตามข้อความธรรม ก็ถือว่าวันนี้เป็นบทสรุปที่หลายคนสงสัยว่า พระอาจารย์ ถ่ายทอดธรรมตามอริยะมรรค อย่างสมบูรณ์ เรียบร้อยแล้วหรือ ไม่ทราบเลย ไม่เป็นไร วันนี้จะสรุปเป็นหัวข้อเลยก็แล้วกัน



    การตั้งสัจจะอธิษฐาน สร้างกุศล ด้วยการเว้น และ ถือสัจจะอธิษฐาน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69388#msg69388



    คุณธรรมพื้นฐาน และ ศรัทธา ( ความเชื่อ ) นั้นมีความจำเป็น ต่อ อริยมรรค
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69389#msg69389

    รักษาศรัทธาให้ตั้งมั่น ด้วย เทวธรรม และเกรงกลัว ต่อ อบายภูมิ 4
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69407#msg69407

    ปัจจเวกขณปัจจัย 4 พอมีพอใช้ อย่ามักมากเกินความพอดี
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69432#msg69432

    อุเบกขาในภาวนา ที่ควรรู้ ควรทราบ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69498#msg69498




  พระพุทธเจ้า ใช้อานาปานสติ เป็นเครื่องตรัสรู้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69500#msg69500

   ความเพียร เป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายพรุ่งนี้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69522#msg69522

   การเจริญธรรมภาวนาต้องไปสู่ ธาตุรู้ ( ญาณ )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69597#msg69597




 สร้างภูมิคุ้มกัน กุศล ไว้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69624#msg69624

 วิธีการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69638#msg69638

ในโอฆะมีภัยแก่ผู้หลงในวัฏฏะสงสาร
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69655#msg69655



การเข้ากรรมฐาน มีความจำเป็น แก่พระอริยะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69718#msg69718

บารมี และ วิธีการสร้าง บารมี
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69730#msg69730

มาทำความเข้าใจกับพุทธานุสสติ กันสักเล็กน้อย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69738#msg69738
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 88 ( 15 ต.ค. 59 ) ต่อ 2
« ตอบกลับ #75 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2016, 12:00:33 pm »
0




หลายคนใช้ ศรัทธา ในทางที่ผิด
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69749#msg69749




  ที่พึ่งอื่น ๆ ไม่มี นอกจาก พระรัตนตรัยไม่มีที่พึ่งอื่น ๆ ได้อีก
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69763#msg69763

  อภิณหปัจจเวกขณ์ข้อที่พึงพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการ
   กิจโฉ  มนุสสปฏิลาโภ  ติ
  การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นลาภอย่างยิ่ง

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69775#msg69775

  เสียงจากรายการ ปรารภวันแม่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69782#msg69782

 เล่าความเกี่ยวเนื่อง ใน กัจจานะสูตร
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69792#msg69792

ประกาศเรื่องการจัดสร้างรูปหล่อ พระมหากัจจายนะ 16 องค์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69798#msg69798

แม่บทประวัติ พระมหากัจจายนะเถระ จาก พุทธพยากรณ์ กัจจายนะ เป็นแม่บทท้ายเล่ม
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69837#msg69837

มโนนิวารณสูตร อุปักกิเลสสูตร ยึดถือสัมมาทิฏฐิ    พ้นทุกข์ทั้งหมดได้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69857#msg69857




พื้นฐาน การเตรียมตัวเรียนธรรม
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69880#msg69880

ปริวัตร 3 ถ้าทำครบในอริยสัจทั้งหมด เรียกว่า อาการ 12
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69905#msg69905

ปฐมนิเทศ ทางสายกลาง ต้อนรับ สู่ มัชฌิมาภาวนา เดือนที่ 2
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69915#msg69915

ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69930#msg69930

สัทธัมโม คะรุกาตัพโพ  พึงเคารพพระสัทธรรม
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69955#msg69955
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 88 ( 15 ต.ค. 59 ) ต่อ 3
« ตอบกลับ #76 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2016, 12:19:49 pm »
0




ถ่ายทอดธรรมที่เรียกว่า ภาคปฏิบัติจริง ๆ แล้ว นั่นก็คือเข้าศึกษา ภาคสมาธิ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg69975#msg69975

ฝึกกรรมฐาน จำเป็นต้องขึ้น กรรมฐาน หรือไม่ ?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1437.0

ความหายนะของการปรามาสพระรัตนตรัย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=421.0

ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ    โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70001#msg70001

เนสัชชิกธุดงค์ คือ อะไร
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70016#msg70016

การสร้างจิตให้มีสุข ( ไฟล์เสียง )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70080#msg70080





ฝึกสมาธิ ควรต้องเข้าใจ เรื่อง กาย ไฟล์เสียง
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70109#msg70109

หลักปฏิบัติเพื่อ ไปสู่ กายทั้ง สี่ ข้อความปรากฏเป็นแม่บท
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70139#msg70139

อินทริย์อริยะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70151#msg70151

สติสัมปชัญญะอริยะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70151#msg70151



วิธีสมาทาน เนสัชชิกธุดงค์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70320#msg70320

รูปแบบของสมาธิทุกแขนงทุกสาย ก็แค่ละนิวรณ์ เท่านั้น
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70328#msg70328



ธรรมชาติ ของพระอริยะปัญญาวิมุตติ ย่อมน้อมจิตเข้าผลสมาบัติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70330#msg70330

กรรมฐานที่ทำให้ละนิวรณ์ ที่เหมาะแก่ทุกจริต
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70353#msg70353

ภาวนาพุทโธ ให้เป็นวสี
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70367#msg70367

อะไรเป็นข้อผิดพลาดที่ทำให้เราไม่ได้สมาธิ ต้องจัดการไปตามลำดับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70378#msg70378

ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7878.0

ปัญหา ที่ไม่ใช่ปัญหา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70379#msg70379

เข้าใจผิด มันก็เลย ท้อแท้ ไปกันใหญ่ เดี๋ยวนี้สอนเลอะเทอะไปแล้ว
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70386#msg70386

เหลืออีก 31 วัน ก็ออกพรรษาแล้ว นับหนึ่งถึงไหนกันแล้ว
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70388#msg70388

วิปัสสนา นะ ไม่ใช่ วิปัสสนึก
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70400#msg70400

กายทิพย์ ใช้เพื่อแสดงฤทธิ จึงต้องมีการเข้า สุขสัญญา และ ลหุสัญญา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70401#msg70401

ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม ให้เร็วไป ก็จะไม่ได้อะไร เลย ศิษย์จะเสียเวลาอีกหลายชาติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70424#msg70424

ทางรอดของผู้ไม่ได้ ฌาน คือ รอการสอนวิปัสสนา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70425#msg70425

รวมเรื่อง พุทธานุสสติ กรรมฐาน จากพระสูตร พระไตรปิฏก ( เยอะมากเพียงเล็กน้อย)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70487#msg70487



บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 88 ( 15 ต.ค. 59 ) ต่อ 4
« ตอบกลับ #77 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2016, 12:27:06 pm »
0




ปัจฉิมภาคปฏิบัติแล้ว นั่นก็คือ การปฏิบัติ ที่มีการมุ่งตรงต่อ นิโรธคามินีปฏิปทา ( นิพพาน )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70502#msg70502



มหาสติปัฏฐาน 4 6 ภาค ใน กัจจายนะสูตร
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70730#msg70730



นั่งปรกอธิษฐานจิต ณ วัดแก่งขนุน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70731#msg70731

สิ่งที่เห็นตามความเป็นจริง พ้นจากบัญญัติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70732#msg70732

ตามคำขอ ของศิษย์อยากให้ ชี้แนะข้อความ ระดับ ยากมากขึ้น
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70735#msg70735

พระอริยะ จะอยู่ จำนวนเท่าใดก็ตาม ที่นั้นไม่ขาดความสงัด
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70761#msg70761

อะไรเรียกว่า อทุกขมสุข ที่พระอาจารย์กล่าวถึง
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70769#msg70769




วันนี้ยังมีลมหายใจ ยังมีลมหายใจออก ยังพอมีเรี่ยวแรง ได้กระทำหน้าที่ด้วยกิจแห่งพรหมจรรย์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21828.msg70871#msg70871

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ