ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มีใครเข้าใจ อธิบาย บทสวด มหากรุณาธารณีสูตร บ้างคะ  (อ่าน 24204 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สุกัญญา

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 66
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือได้ฟังเป็นบทสวด ไมรู้ว่าเป็นของจีน หรือ ธิเบต บทสวดบทนี้ใช้สวดกรณีอะไรคะ
มีเนื้อหา ของสูตร อย่างไรบ้างคะ

ขอบคุณคะ

 :c017:

บันทึกการเข้า
อยากให้โลกนี้สดใส ด้วยเสียงเพลงแห่งสันติ
อยากให้โลกนี้สดชื่น ด้วยเสียงธรรมที่สดใส
อยากให้โลกนี้สุขกายสบายใจ
อยากให้โลกนี้ร่มเย็น เหมือนแดนนิพพาน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28437
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครเข้าใจ อธิบาย บทสวด มหากรุณาธารณีสูตร บ้างคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 06:56:57 pm »
0
.

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปางสหัสภุชสหัสเนตร ที่พุทธอุทยานฝอกวงซาน เมืองเกาซ่ง, ไต้หวัน | ภาพโดย วัศย์รุจ ปริญญาวุฒิชัย


มหากรุณาธารณี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหากรุณาธารณี (สันสกฤต : महा करुणा धारनी, จีน : 大悲咒 : ธารณีว่าด้วยความกรุณาอันยิ่งใหญ่) หรือ นิลกัณฐธารณี (สันสกฤต : नीलकण्ठ धारनी : ธารณีว่าด้วยพระผู้มีศอสีนิล) เป็นชื่อบทสวด(ธารณี) สำคัญในพระพุทธศาสนามหายาน

เป็นธารณีประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางสหัสภุชสหัสเนตร (พันหัตถ์พันเนตร) ในภาษาจีนเรียกธารณีนี้ว่า ไต่ปุ่ยจิ่ว (จีน : 大悲咒 ; พินอิน : Dàbēi zhòu ; "ต้าเปย์โจ้ว" ตามสำเนียงจีนกลาง) มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย พระภควธรรมเถระชาวอินเดียนำเข้าไปแปลในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถัง และมีฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตด้วย

มหากรุณาธารณีเป็นมนตร์อันเกิดจากความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระอวโลกิเตศวร ที่มีต่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในโลก ในคัมภีร์กล่าวว่า ธารณีนี้มีชื่อต่างๆ กัน เช่น มหาไวปุลยสัมปุรณธารณี, อกิญจนมหากรุณาธารณี, อายุวัฒนธารณี, วิกรมอุตตรภูมิธารณี, มโนมัยอิศวรธารณี เป็นต้น

อักษรหนึ่งตัวและประโยคหนึ่งในบทธารณีมนตร์นี้ ล้วนขยายเป็นอรรถธรรม อันจะนำเข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ

@@@@@@@

ประวัติ

ในประเทศไทยธารณีสูตรฉบับนี้ ได้แปลโดยหลวงจีนคณาจีนพรต(เย็นบุญ) เจ้าอาวาสวัดทิพย์วารีวิหาร แขวงบ้านหม้อ เขตพระนคร กรุงเทพ ในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน คือ คัมภีร์ "สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตธารณีสูตรมหากรุณามนตระ"

นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึง บทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร คือ มหากรุณาหฤทัยธารณี อันจะยังอานิสงส์ความศักดิ์สิทธิ์ให้บังเกิดขึ้นแก่ผู้สวดนานัปการ

เนื้อหากล่าวถึง เมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาตแสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้ เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์

ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่า "พระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต" พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า

     "สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง"

ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า
 
    "ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล"

เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่างๆ อย่างปราศจากขอบเขต

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพตั้งจิตสวดธารณีมนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง


@@@@@@@

บทพระสูตร

    • ภาษาสันสกฤต

(ภาษาสันสกฤต)
नमो रत्नत्रयाय नमह् अर्य अवलोकितेश्वराय बोधिसत्त्वाय महासत्वाय महाकारुनिकाय ॐ सर्वरभय सुधनदस्ये नमस्क्र्त्वा इमम् आर्यावलोकितेश्वर रंधव नमो नरकिन्दि। ह्रिह् महावधसम सर्व अथदु शुभुं अजेयं।सर्व सत्य नम वस्त्य नमो वाक मार्ग दातुह्। ॐ अवलोकि लोचते करते ए ह्रिह् महाबोधिसत्त्व। सर्व सर्व मल मल महिम हृदयम् कुरु कुरु कर्मुं धुरु धुरु विजयते महाविजयते धर धर धिरीनिश्वराय चल चल मम विमल मुक्तेले एहि एहि शिन शिन आरषं प्रचलि विष विषं प्राशय हुरु हुरु मर हुलु हुलु ह्रिह् सर सर सिरि सिरि सुरु सुरु बोधिय बोधिय बोधय बोधय । मैत्रिय नारकिन्दि धर्षिनिन भयमान स्वाहा सिद्धाय स्वाहा महासिद्धाय् स्वाहा सिद्धयोगेश्वराय स्वाहा नरकिन्दि स्वाहा मारणर स्वाहा शिर संह मुखाय स्वाहा सर्व महा असिद्धाय स्वाहा चक्र असिद्धाय स्वाहा पद्म हस्त्राय स्वाहा नारकिन्दि वगलय स्वाहा मवरि शन्खराय स्वाहा नमः रत्नत्रयाय नमो आर्यवलोकितेश्वराय स्वाहा ॐ सिधयन्तु मन्त्र पदाय स्वाहा

(คำอ่าน)
นะโมรัตนะตรายายะ นะโมอารยะ อวโลกิเตศะวะรายะ โพธิสัตตะวายะ มหาสัตตะวายะ มหากรุณิกายะ โอม สะวะละวะติ ศุททะนะ ตัสสะยะ นมัสกฤต วานิมาง อาระยะ อวโลกิเต ศะวะระลันตะภา นะโม นิลากันถะ ศรีมหาปะฎะศะมิ สระวาทวะตะศุภัม อสิยูม สะระวะสัตตะวะ นะโมปะวะสัตตวะ นะโมภะคะมะภะเตตุ ตัทยะถา โอมอวโลกา โลกาเต กาละติ อิศีลี มหาโพธิสัตตะวะ สาโพสาโพ มะรามะรา มะศิมะศิ ฤธะยุ คุรุคุรุฆามัม ธูรูธูรูภาษียะติ มหาภาษียะติ ธาระธาระ ถิรินี ศะวะรายะ ชะละชะละ มามะภา มะละมุธิริ เอหิเอหิ ศินะศินะ อาละลินภะละศรี ภาษาภาษิน การะศะยะ หูลุหูลุมะระ หุลุหุลุศรี สะระสะระ สีรีสีรี สุรุสุรุ พุทธายะพุทธายะ โพธายะโพธายะ ไมตรีเยนิละกันสะตะ ตรีสะระณะ ภะยะมะนะ สวาหา สีตายะ สวาหา มหาสีตายะ สวาหา สีตายะเย ศะวะรายะ สวาหา นีลากันถิ สวาหา มะละนะละ สวาหา ศรีสิงหะมุขายะ สวาหา สะระวะ มหาอัสตายะ สวาหา จักระอัสตายะ สวาหา ปัทมะเกสายะ สวาหา นีละกันเต ปันตะลายะ สวาหา โมโผลิศัง กะรายะ สวาหา นะโม รัตนะตรายายะ นะโมอารยะ อวโลกิเต ศะวะรายะ สวาหา โอมสิทธะยันตุ มันตรา ปะทายะ สวาหา. [1]

    • ภาษาจีน

(อักษรจีนตัวเต็ม)
南無喝囉怛那哆囉夜耶 南無阿唎耶 婆盧羯帝爍缽囉耶 菩提薩埵婆耶 摩訶薩埵婆耶 摩訶迦盧尼迦耶 唵 薩皤囉罰曳 數怛那怛寫 南無悉吉慄埵伊蒙阿唎耶 婆盧吉帝室佛囉愣馱婆 南無那囉謹墀 醯利摩訶皤哆沙咩 薩婆阿他豆輸朋 阿逝孕 薩婆薩哆那摩婆薩哆那摩婆伽 摩罰特豆 怛姪他 唵阿婆盧醯 盧迦帝 迦羅帝 夷醯唎 摩訶菩提薩埵 薩婆薩婆 摩囉摩囉 摩醯摩醯唎馱孕 俱盧俱盧羯蒙 度盧度盧罰闍耶帝 摩訶罰闍耶帝 陀囉陀囉 地唎尼 室佛囉耶 遮囉遮囉 摩麼罰摩囉 穆帝隸 伊醯伊醯 室那室那 阿囉參佛囉舍利 罰沙罰參 佛囉舍耶 呼嚧呼嚧摩囉 呼嚧呼嚧醯利 娑囉娑囉 悉唎悉唎 蘇嚧蘇嚧 菩提夜菩提夜 菩馱夜菩馱夜 彌帝唎夜 那囉謹墀 地利瑟尼那 波夜摩那 娑婆訶 悉陀夜 娑婆訶 摩訶悉陀夜 娑婆訶 悉陀喻藝 室皤囉耶 娑婆訶 那囉謹墀 娑婆訶 摩囉那囉 娑婆訶 悉囉僧阿穆佉耶 娑婆訶 娑婆摩訶阿悉陀夜 娑婆訶 者吉囉阿悉陀夜 娑婆訶 波陀摩羯悉陀夜 娑婆訶 那囉謹墀皤伽囉耶 娑婆訶 摩婆利勝羯囉夜 娑婆訶 南無喝囉怛那哆囉夜耶 南無阿唎耶 婆嚧吉帝 爍皤囉夜 娑婆訶 唵悉殿都漫多囉跋陀耶娑婆訶 [2]

(อักษรจีนตัวย่อ)
南无喝囉怛那哆囉夜耶 南无阿唎耶 婆卢羯帝烁钵啰耶 菩提萨埵婆耶 摩诃萨埵婆耶 摩诃迦卢尼迦耶 唵 萨皤囉罚曳 数怛那怛写 南无悉吉栗埵伊蒙阿唎耶 婆卢吉帝室佛啰愣驮婆 南无那囉谨墀 醯利摩诃皤哆沙咩 萨婆阿他豆输朋 阿逝孕 萨婆萨哆那摩婆萨哆那摩婆伽 摩罚特豆 怛姪他 唵阿婆卢醯 卢迦帝 迦罗帝 夷醯唎 摩诃菩提萨埵 萨婆萨婆 摩啰摩啰 摩醯摩醯唎驮孕 俱卢俱卢羯蒙 度卢度卢罚闍耶帝 摩诃罚闍耶帝 陀啰陀啰 地唎尼 室佛啰耶 遮啰遮啰 摩么罚摩啰 穆帝隶 伊醯伊醯 室那室那 阿啰参佛啰舍利 罚沙罚参 佛啰舍耶 呼嚧呼嚧摩啰 呼嚧呼嚧醯利 娑囉娑囉 悉唎悉唎 苏嚧苏嚧 菩提夜菩提夜 菩驮夜菩驮夜 弥帝唎夜 那囉谨墀 地利瑟尼那 波夜摩那 娑婆诃 悉陀夜 娑婆诃 摩诃悉陀夜 娑婆诃 悉陀喻艺 室皤囉耶 娑婆诃 那囉谨墀 娑婆诃 摩啰那囉 娑婆诃 悉啰僧阿穆佉耶 娑婆诃 娑婆摩诃阿悉陀夜 娑婆诃 者吉啰阿悉陀夜 娑婆诃 波陀摩羯悉陀夜 娑婆诃 那囉谨墀皤伽囉耶 娑婆诃 摩婆利胜羯啰夜 娑婆诃 南无喝囉怛那哆囉夜耶 南无阿唎耶 婆嚧吉帝 烁皤囉夜 娑婆诃 唵悉殿都漫多啰跋陀耶娑婆诃 [3]

(พินอิน) [a]
Nāmo hēlàdánà duōlàyèyé. Nāmo alīyé. Pólújiédì. Shuòbōlàyé. Pútísàduǒpóyé. Móhāsàduǒpóyé. Móhājiālúníjiāyé. Ǎn. Sàbólàfáyì. Shùdană dáxiĕ. Nāmo xījílí duǒyīmēng alīyé. Pólújiédì shìfólà. Léngtuópó. Nāmo nălàjĭnchí. Xīlīmóhā bóduōshāmiē. Sàpó atādòu shūpéng. Āshìyùn. Sàpósàduō nămó pósàduō nămó pójiā. Mófá tèdòu. Dázhítā. Ǎn apólúxī. Lújiādì. Jiāluódì. Yíxīlī. Móhā pútísàduǒ. Sàpó sàpó. Mólà mólà. Móxī móxī lītuóyùn. Jùlú jùlú jiéméng. Dùlú dùlú fáshéyédì. Móhā fáshéyédì. Tuólà tuólà. Dìlīní. Shìfólàyē. Zhēlà zhēlà. Mómó fámólà. Mùdìlì. Yīxī yīxī. Shìnă shìnă. Ālàshēn fólàshělì. Fáshā fáshēn. Fólàshěyé. Hūlú hūlú mólà. Hūlú hūlú xīlī. Suōlà suōlà. Xīlī xīlī. Sūlú sūlú. Pútíyè pútíyè. Pútuóyè pútuóyè. Mídìlīyè. Nălàjĭnchí. Dìlī sènínà. Pōyèmónà. Suōpóhā. Xītuóyè. Suōpóhā. Móhā xītuóyè. Suōpóhā. Xītuóyùyì. Shìbólàyè. Suōpóhā. Nălàjĭnchí. Suōpóhā. Mólà nălà. Suōpóhā. Xīlàsēng amùqūyé. Suōpóhā. Suōpó móhā axītuóyé. Suōpóhā. Zhějílà axītuóyè. Suōpóhā. Bōtuómó jiéxītuóyè. Suōpóhā. Nălàjĭnchí bóqiélàyé. Suōpóhā. Mópólì shèngjiélàyè. Suōpóhā. Nāmo hēlàdánà duōlàyèyé. Nāmo alīyé. Pólújídì. Shuōbólàyè. Suōpóhā. Ǎn xīdiàndū. Mànduōlà. Bátuóyé. Suōpóhā. [4]

@@@@@@@

มหากรุณาธารณีจากต้นฉบับทิเบต

     • ต้นฉบับ

(ภาษาทิเบต)
༄༅།། ན་མོ་རཏྣ་ཏྲ་ཡ༷་ཡ། ན་མ་ཨཱ་རྻ། ཨ་བ་ལོ་ཀི་ཏེ་ཤྭ་ར་ཡ། བོ་དྷི་སཏྭ་ཡ། མ་ཧཱ་ སཏྭ༌ཡ། མ༌ཧཱ༌ཀཱ༌རུ༌ཎི༌ཀཱ༌ཡ། ཨོཾ༌ས༌བ་ལ་བ་ཏི། ཤུ་དྷ་ན་ཏ་སྱ། ན་མོ་སྐ་ཏྭ་ནི་མཾ་ཨཱ་རུ། ཨ་བ་ལོ་ཀི་ཏེ་ཤ་ར་ལཾ་ཏ་བྷ། ན་མོ་ཎཱི་ལ་ཀནྡྷ། ཤྲི་མ་ཧཱ་པ་ཏ་ཤ་མི། སརྦ་ཏྭ་ཏ་ཤུ་བྷ། ཨ་ཤི་ཡུཾ། སརྦ་སཏྭ་ན་མོ་པ་སཏྭ་ན་མ་བྷ་བ། མ་བྷ་ཏེ་ཏུ། ཏདྱཐྭ། ཨོཾ་ཨཱ་བ་ལོ་ཀ། ལོ་ཀ་ཏེ། ཀ་ལ་ཏི། ཨི་ཤི་རི། མ་ཧཱ་བོ་དྷི་ས་ཏྭ། ས་བྷོ་ས་བྷོ། མ་ར་མ་ར། མ་ཤི་མ་ཤི་ རི་དྷ་ཡུ། གུ་རུ་གུ་རུ་ག་མཾ། དུ་རུ་དུ་རུ་བྷ་ཤི་ཡ་ཏི། མ་ཧཱ་བྷ་ཤི་ཡ་ཏི། དྷ་ར་དྷ་ར། དྷི་རི་ཎི། ཤྭ་ར་ཡ། ཛ་ལ་ཛ་ལ་མ་མ་བྷ་མ་ར། མུ་ངྷི་ལི། ཨེ་ཧྱ་ཧི། ཤི་ན་ཤི་ན། ཨ་ལ་ ཤྀ་བྷ་ལ་ཤ་རི། བྷ་ཤ་བྷ་ཤྀ། པར་ཤ་ཡ། ཧུ་ལུ་ཧུ་ལུ་མ་ར། ཧུ་ལུ་ཧུ་ལུ་ཤྲི། ས་ར་ས་ར། སི་རི་སི་རི། སུ་རུ་སུ་རུ། བུད་དྷྱ་བུད་དྷྱ། པོ་དྷ་ཡ་པོ་དྷ་ཡ། མཻ་ཏྲི་ཡེ། ནཱི་ལ་ཀརྞ། ཏྲི་ཤ་ ར༌ཎ༌། བྷ༌ཡ༌མ༌ཎ༌སྭཱ༌ཧཱ། སི༌ཏ༌ཡ༌། སྭཱ་ཧཱ། མ་ཧཱ་སི་ཏ༌། སྭཱ་ཧཱ། སི་ཏ་ཡ་ཡེ། ཤ་ར་ ཡ། སྭཱ་ཧཱ། ཎཱི་ལ་ཀརྞཱི། སྭཱ་ཧཱ། མ་ར་ཎི༌ལ། སྭཱ་ཧཱ། ཤཱི་སིཾ་ཧ་མུ༌ཁ༌ཡ། སྭཱ་ཧཱ། སརྦ་ མ་ཧཱ་ཨ་སྟ་ཡ།སྭཱ་ཧཱ། ཙ་ཀྲ་ཨསྟ་ཡ།སྭཱ་ཧཱ། པདྨ་ཀེ་ཤ་ཡ།སྭཱ་ཧཱ། ཎཱི་ལ་ཀཧྞ་པརྞྞ་ལ་ཡ། སྭཱ་ཧཱ། མོ་བྷོ་ལི་ཤངྒ་ར་ཡ།སྭཱ་ཧཱ། ན་མོ་རཏྣ་ཏྲ་ཡཱ་ཡ། ན་མཿཨཱ་རུ། ཨ་བ་ལོ་ཀི་ཏེ་ ཤྭ་ར་ཡ། སྭཱ་ཧཱ། ཨོཾ་སི་ཏྲིནྟུ། མནྟཱ། པ་ཏ་ཡེ་སྭཱ་ཧཱ༔༎

    • ฉบับที่ปริวรรตเป็นอักษรไทยโดยหลวงจีนคณาณัติจีนพรต (เย็นบุญ) วัดโพธิ์แมนคุณาราม

นะโมรัตนะตรายายยะ นะโมอาระยะ อวโลกิเตศะวะรายะ โพธิสัตตวายะ มหาสัตตวายะ มหากรุณิกายะ โอม สะวะละติ ศุททะนะตัสยะ นมัสกฤตวานิมางอาระยะ อวโลกิเตศะวะละรันตะภา นะโมนิลากันถะ ศรีมหาปะฏะศะมิ สระวาทฺวะตะสุภัม อสิยูม สะรวะสัตตวะนะโมปวสัตตวะนโมภควะ มะภะเตตุ ตัทยะถา โอมอวโลกา โลกาเต กาละติ อีศีลี มหาโพธิสัตตวะ สาโพสาโพ มะรามะรา มะศิมะศิฤธะยุ คุรุคุรุฆามัม ธูรูธูรูภาษียะติ มหาภาษียะติ ธาระธาระ ถิริณี ศะวะรายะ ชะละชะละ มามะภามะละ มุธิริ เอหิเอหิ ศินะศินะ อาละลินภะระศรี ภาษาภาษิน การะศะยะ หูลุหูลุมะละ หุลุหุลุศรี สะระสะระ สิรีสิรี สุรุสุรุ พุทธายะพุทธายะ โพธายะโพธายะ ไมตรีเย นิละกันสะตะ ตริสะระณะ ภะยะมะนะ สวาหา สีตายะ สวาหา มหาสีตายะ สวาหา สีตายเย ศะวะรายะ สวาหา นีลากันถิ สวาหา มะละนะละ สวาหา ศรีสิงหะมุขายะ สวาหา สะระวะมหาอัสตายะ สวาหา จักระอัสตายะ สวาหา ปัทมะเกสายะ สวาหา นิลากันเตปันตะลายะ สวาหา โมโผลิศังกะรายะ สวาหา นโมรัตนตรายายะ นะโมอาระยะ อวโลกิเต สะวะรายะ สวาหา โอมสิทธยันตุ มันตรา ปะทะเย สวาหา


@@@@@@@

มหากรุณาธารณีฉบับของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

นะโม รัตนะตระยายะ นะมะ อารยะวะโลกิเตศะวะรายะ โพธิสัตตวายะ มหาสัตตวายะ มหาการุณิกายะ โอม สระวะภะเย ศูตะระณะกะรายะ ตัสยะ นะมัสกฤตะวา อิมัม อารยาวโลกิเตศะวะราราธัม นามะ นีละกัณฐะหฤทะยัม อวตาระยิษะยามิ สระวาระถะสาธะกัม ภะวะ มาระคา วิศุทธะกัม ตัทยะถา โอม อวโลเก โลกะติ กะรานเต เห หะเร มหาโพธิสัตตวะ สะระวะ สะระวะ มะละมะละ มะเหมะเห หฤทะยัม กุรุกุรุ กะระมะ ธุรุ วิชะยันติ มหาวิชะยันติ ธะระ ธะระ ธะเร อินทเร ศะวะรายะ เจละ เจละ มะมะ วิมะละมุททะเร เอหะเยหิ ศฤณุ ศฤณุ หระษัม ประศเล ภาษะภาษะ ประศาสยะ หุลุ หุลุ มะละ หุลุ หุลุ หิเล สระ สะระ สะระ สิริ สิริ สุรุ สุรุ พุทธายะ พุทธายะ โพธะยะ โพธะยะ ไมเตระระยะ นีละกัณฐิ ธฤษฏีนัม ประหะลาทะยะมาเน สุวาหา สิทธะเย สุวาหา มหาสิทธายะ สวาหา สิทธะโยเค ศวะรายะ สวาหา นีละกัณเฐ สวาหา วราหะมุขายะ สวาหา ศีระสิงหะมุขายะ สวาหา ศัมพะหัสตายะ สวาหา จักรหัสตายะ สวาหา ปัทมะหัสตายะ สวาหา นีละกัณฐิภะยังกะรายะ สวาหา ตระยายะ นะมะ อาระยะวะโลกิเตศะวะรายะ สวาหา โอม สิทธะยันตุ มันตระปทายะ สวาหา ๚

@@@@@@@

อานิสงส์ของการสวดธารณี

ในพระสูตรกล่าวว่า ผู้ที่ตั้งใจสวดมหากรุณามนตร์นี้ด้วยจิตศรัทธาตั้งมั่น จะประกอบด้วยอานิสงส์เป็นกุศล ๑๕ ประการ คือ

    ๑. ที่ที่เกิดจะพบแต่กุศล ๕ ประการ
    ๒. ได้เกิดในประเทศกุศล
    ๓. พบแต่ยามดี
    ๔. พบแต่มิตรดี
    ๕. ร่างกายประกอบด้วยอินทรีย์พร้อมมูล
    ๖. จิตเป็นธรรมโดยสมบูรณ์
    ๗. ไม่ผิดศีล
    ๘. ญาติบริวารมีความกตัญญู ปรองดองกัน มีสามัคคีกัน
    ๙. ทรัพย์สมบัติ โภคทรัพย์มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
  ๑๐. มีผู้เคารพและให้ความช่วยเหลือเสมอ
  ๑๑. ทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่มีใครมาปล้นชิง
  ๑๒. คิดปรารถนาสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา
  ๑๓. ทวยเทพ นาค ให้ความปกปักรักษาอยู่ทุกเมื่อ
  ๑๔. เกิดในที่ที่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า
  ๑๕. สามารถเข้าถึงอรรถแห่งพระธรรมที่ได้สดับ

นอกจากนี้ยังมีอานิสงส์ทำให้ไม่ต้องทุมรณะด้วยเหตุ ๑๕ ประการ คือ

    ๑. ไม่ต้องมรณะด้วยความอดอยากข้นแค้น
    ๒. ไม่ต้องมรณะด้วยการใส่ขื่อคา กักขัง และเฆี่ยนโบย
    ๓. ไม่ต้องมรณะด้วยศัตรูจองเวร
    ๔. ไม่ต้องมรณะด้วยการศึกสงคราม
    ๕. ไม่ต้องมรณะด้วยสัตว์ขบกิน
    ๖. ไม่ต้องมรณะด้วยงูพิษ แมลงป่อง
    ๗. ไม่ต้องมรณะด้วยการจมน้ำ ไฟไหม้
    ๘. ไม่ต้องมรณะด้วยยาพิษ
    ๙. ไม่ต้องมรณะด้วยแมลงร้ายขบกัด
  ๑๐. ไม่มรณะด้วยจิตใจว้าวุ่น เป็นบ้า
  ๑๑. ไม่มรณะด้วยตกจากภูเขา ต้นไม้ และหน้าผาสูง
  ๑๒. ไม่ต้องมรณะด้วยการสาปแช่งภูตผีปีศาจ
  ๑๓. ไม่ต้องมรณะเพราะเทพร้ายและผีสาง
  ๑๔. ไม่ต้องมรณะด้วยโรคร้ายเรื้อรัง
  ๑๕. ไม่ต้องมรณะด้วยความไม่ประมาณตนจนเกินฐานะ


@@@@@@@

บทสวดนี้เป็นที่นับถือและสวดบูชาพระอวโลกิเตศวร (กวนอิม) กันอยู่ทั่วไปในหมู่พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่อินเดียเหนือ เนปาล ทิเบต ไปจนถึงจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มหากรุณาธารณีนี้เป็นบทสวดของพระอวโลกิเตศวรปางพันหัตถ์พันเนตร ในคัมภีร์ระบุว่า ผู้ที่เลื่อมใสถวายสักการะต่อพระอวโลกิเตศวรอยู่เป็นเนืองนิตย์ ตั้งใจสวดสรรเสริญพระนาม ย่อมจะถึงพร้อมในกุศลทั้งปวง สามารถยังวิบากกรรมอันมิมีประมาณให้สิ้นสูญ ครั้นเมื่อวายชนม์จะไปอุบัติ ณ สุขาวดีโลกธาตุแห่งองค์พระอมิตาภพุทธเจ้า








ขอขอบคุณ :-
website : https://th.wikipedia.org/wiki/มหากรุณาธารณี
Photo : https://th.wikipedia.org/wiki/มหากรุณาธารณี

อ้างอิง :-
[1] https://www.tipniramit.com/article/2/บทสวดเจ้าแม่กวนอิม-ที่มาบทสวดมหากรุณาธารณีสูตร-ความเป็นมาแห่งมหามนตรา
[2] https://en.wikipedia.org/wiki/Nīlakaṇṭha_Dhāraṇī
[3] https://en.wikipedia.org/wiki/Nīlakaṇṭha_Dhāraṇī
[4] https://en.wikipedia.org/wiki/Nīlakaṇṭha_Dhāraṇī
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 05, 2024, 12:10:57 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28437
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครเข้าใจ อธิบาย บทสวด มหากรุณาธารณีสูตร บ้างคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 07:07:28 pm »
0
.



มหากรุณาธารณีสูตร (ไต่ปุยจิ่ว) ฉบับแปลเป็นไทย



มหากรุณาธารณีสูตร (ไต่ปุยจิ่ว)
The Great Compassion Mantra

พระสูตรที่แสดงถึงความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระศรีศากยะมุนีพุทธเจ้า แสดงผ่านพระอวโลกิเตศวร

มหากรุณาคือจิตเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ไพศาล ธารณีคือมนตร์คาถาหรือคำระหัสแห่งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้าที่ได้จากฌานสมา มหากรุณาธารณีจึงเป็นธรรมมูลฐานที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ด้วยมหาเมตตา ผู้ตั้งใจสวดท่องจึงได้รับผลสนองตอบอันยิ่งใหญ่ ด้วยว่าในขณะสวดท่องธารณีนี้จะปรากฏพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์เจ้า เทพธรรมบาล 84 พระองค์คอยให้ความช่วยเหลือคุ้มครองและนำพาให้บรรลุธรรม

ฉบับแปลภาษาทิเบต

นโม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ./ นา.มา.อา.รยา./ อ.วา.โล.กิ.เต.โซ.รา.ยา./โบ.ธิ.สัต.โต.ยา./ ม.หา.สัต.โต.ยา./ ม.หา.กา.รุ.ณิ.กา.ยะ./ โอม**สา.วา.ลา.วา.ติ /ศุ.ดา.นา.ตา.เซ. น.โม.สกา.ตวา.นิ.มัม.อา.รยา./ อ.วา.โล.กิ.เต.โซว์.รา.ลัม.ตา.บา./ น.โม.นี.ลา.เกน.ถา./ ศรี.ม.หา.ปา.ตา.ศา.มิ./ สวา.โต.ตา.ศุ.บัม./ อะ.ศี.ยัม./ สวา.สัต.โต.นะ.โม.ปา.สัต.โต.นา.มา.บา.คา./ มา.บา.เต.ตุ /ตา ยา.ถา./ โอม**อ.วา.โล.กา./ โล.กา.เต./ กา.ลา.ติ./ อี.ศี.รี./ ม.หา.โบ.ธิ.สัต.โต./ สา.โบ.สา.โบ./ มา.รา.มา.รา./ มา.ศิ.มา.ศิ.ริ.ดา.ยุ./ คู.รู.คู.รู.คา.มัม./ ตู.รู.ตู.รู.บา.ศี.ยา.ติ ./ ม.หา.บา.ศี.ยา.ติ./ ดา.รา.ดา.รา./ ดิ.ริ .ณี. /โซว์.รา.ยา./ จา.ลา.จา.ลา./ มา.มา.บา.มา.รา./ มุ.ดิ.ลิ. / เอ.ฮา.ยา.เฮ./ ศิ.นา.ศิ.นา./ อา.ลา.ศิน.บา.ลา.ศา.รี. /บา.ศา.บา.ศิน. /บา.รา.ศา.ยา./ ฮู.ลู.ฮู.ลู.มา.รา./ ฮู. รู. ฮู. รู. ศรี./ สา.รา.สา.รา./ สิ. รี. สิ. รี./ สุ. รู. สุ. รู. /บุด.ดา.ยะ.บุด.ดา.ยะ./ โบ.ดา.ยะ.โบ.ดา.ยะ./ ไม.ตรี.เย./ นี.ลา.เกน.ถา./ ตริ.ศา.รา.นา./ บา.ยา.มา.นา./ โซ. ฮา./ สิ.ตา.ยา./ โซ. ฮา./ ม.หา.สิ.ตา.ยา./ โซ. ฮา/สิ.ตา.ยา.เย./ โซว์.รา.ยา./ โซ. ฮา./ นี.ลา.เกน.ถา./ โซ. ฮา./ นี.ลา.กัน.เถ.ปัน.ตะ.ลา.ยะ./ โซ. ฮา./ โม.โบ.ลี.ศังกะ.รา.ยะ./ โซ. ฮา./ น.โม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ./ นะ.มา.อา.รยา./ อ. วา.โล.กิ.เต./ โซว์.รา.ยะ./ โซ. ฮา./ โอม**สิท.ธริน.ตุ./ มัน.ตา.รา./ ปา.ตา.เย./ โซ. ฮา//***

@@@@@@@

ฉบับภาษาจีน

• นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย • นำ มอ ออ ลี เย • ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย • ผู่ ที สัต ตอ พอ เย • หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย • หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย • งัน• สัต พัน ลา ฮัว อี • ซู ตัน นอ ตัน เซ • นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย • ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ • นำ มอ นอ ลา กิน ซี • ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม • สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง • ออ ซี เย็น • สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นะ มอ พอ เค • มอ ฮัว เตอ เตา • ตัน จิต ทอ • งัน ออ พอ ลู ซี • ลู เกีย ตี • เกีย ลอ ตี • อี ซี ลี • หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ • สัต พอ สัต พอ • มอ ลา มอ ลา • มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน • กี ลู กี ลู กิด มง • ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี • หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี • ทอ ลา ทอ ลา • ตี ลี นี • สิด ฮู ลา เย • เจ ลา เจ ลา • มอ มอ ฮัว มอ ลา • หมก ตี ลี • อี ซี อี ซี • สิด นอ สิด นอ • ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี • ฮัว ซอ ฮัว ซัน • ฮู ลา เซ เย • ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา • ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี • ซอ ลา ซอ ลา • สิด ลี สิด ลี • ซู ลู ซู ลู • ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย • ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย • มี ตี ลี เย • นอ ลา กิน ซี • ตี ลี สิด นี นอ • ผ่อ เย มอ นอ • ซอ ผ่อ ฮอ • สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • สิด ทอ ยี อี • สิด พัน ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • นอ ลา กิน ซี • ซอ ผ่อ ฮอ • มอ ลา นอ ลา • ซอ ผ่อ ฮอ • สิด ลา เซง ออ หมก เค เย • ซอ ผ่อ ฮอ • ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย • นำ มอ ออ ลี เย • ผ่อ ลู กิต ตี • ชอ พัน ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • งัน สิด ติน ตู • มัน ตอ ลา • ปัด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ




๑. นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
นำ มอ - ความนอบน้อม
ฮอ ลา ตันนอ - ความเป็นรัตนะ
ตอ ลา เหย่ - 3
เย - นมัสการ
ขอนอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม
หมายถึง..การน้อมเอาพระไตรสรณคมน์, พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก
ผู้ต้องการปฏิบัติให้ถึงพระองค์จะต้องสาธยายมนตราด้วยความมีเมตตากรุณา และเปี่ยมด้วยศรัทธา ไม่ควรสวดด้วยเสียงอันดัง เกรี้ยวกราด และเร่งร้อน

๒. นำ มอ ออ ลี เย
นำ มอ - ความนอบน้อม
ออ ลี - องค์อริยะ
เย - นมัสการ
ขอนอบน้อมนมัสการแด่องค์พระอริยะ ผู้ห่างไกลจากบาปอกุศล
วัตถุประสงค์แห่งบทนี้... พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนชาวโลกให้ปฏิบัติทางจิตเป็นมูลฐาน พระสัทธรรมทั้งหลายล้วนกำเนิดมาแต่จิต เหตุนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความชัดแจ้งแห่งจิต และมองเห็นสภาวะแห่งตน จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อไม่แจ้งชัดในจิตก็ไม่สามารถเห็นสภาวะแห่งตน หากแต่จิตเป็นอจล มีความมั่นคง ก็สามารถเดินทางสู่พระนฤพานได้

๓. ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
ผ่อ ลู กิด ตี - การเพ่ง พิจารณา อีกนัยหนึ่งคือความสว่าง
ซอ ปอ ลา - เสียงของโลกอันเป็นอิสระ
เย - นอบน้อมนมัสการ
ขอนอบน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก
พระโพธิสัตว์ผู้สงสารชีวิตแห่งสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในกองทุกข์ เขาเหล่านั้นล้วนมีความทุกข์อันเกิดจากการหลงลืมสภาวะเดิมของตน จำต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ พระองค์พิจารณาตามนี้ จึงเกิดเมตตาจิตที่จะโปรดสัตว์

๔. ผู่ ที สัต ตอ พอ เย
ผู่ ที (โพธิ) - ตรัสรู้
สัต ตอ (สัตว์) - การมีชีวิต อารมณ์
พอเย - น้อมคารวะ
ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้แก่ทุกชีวิต...หากตั้งใจในธรรม นอบน้อมต่อความแจ้งในสภาวะเดิม ก็จะถึงความหลุดพ้น...

๕. หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย
หม่อ ฮอ - ใหญ่มาก
สัต ตอ - สัตว์โลก หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง ผู้กล้าหาญ
พอ เย - น้อมคารวะ
เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น มวลสรรพสัตว์ในโลกอันไพศาล ถ้ารู้สึกตัวแล้วลงมือปฏิบัติ ล้วนถึงความหลุดพ้นได้

๖. หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย
หม่อ ฮอ -ใหญ่มาก
เกีย ลู - กรุณา
นี เกีย - จิต
เย - คารวะ
ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต

๗. งัน
งัน (โอม) - นอบน้อม
ขอนอบน้อม บูชาถวาย
... พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความเมตตากรุณาไม่มีประมาณ นำสัทธรรมอันเป็นความดับสูญโดยแท้จริง ปลุกให้มนุษย์ฟื้นคืนสภาวะเดิมที่มีอยู่ เข้าถึงสัทธรรมอันบริสุทธิ์

๘. สัต พัน ลา ฮัว อี
สัต พัน ลา - อิสระ
ฮัว อี - อริยะ
องค์อริยะผู้อิสระ ผู้มีกายใจอันบริสุทธิ์สะอาด...กาย ใจ จะบริสุทธิ์ได้ ต้องตั้งอยู่ในสัจธรรม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล

๙. ซู ตัน นอ ตัน เซ
การปฏิบัติธรรมต้องถือความสัจเป็นพื้นฐาน ใช้ความเพียรเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่อริยสัจ...หากการปฏิบัติธรรมไม่ประกอบด้วยความสัจ ก็จะไม่พบหนทางสู่ความสำเร็จ เนื่องจากความสัจนั้นเป็นธรรมที่ปราศจากการหลอกลวง จิตจึงรวมเป็นหนึ่งได้ เมื่อมีความสัจ ก็จะมีความเข้าใจ เมื่อเข้าใจก็จะมองเห็นความปลอดโปร่ง เมื่อปลอดโปร่งก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลง และกลับกลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น

๑๐. นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย
นำ มอ - นอบน้อม
สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง - ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์
ออ ลี เย - การปฏิบัติธรรมจะรีบร้อนให้ได้ผลในทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้
...ผู้ที่จะน้อบน้อมเข้าถึงองค์อริยะ จำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร มีจิตใจมั่นคงเป็นหนึ่ง จะกระทำโดยเร่งรีบไม่ได้ ต้องทำใจให้ว่างเข้าถึงองค์แห่งพระธรรมคัมภีร์ หมั่นในการปฏิบัติตามหลักธรรม มีความคิดดำริมั่นที่จะก้าวข้ามห้วงแห่งโอฆะ คิดจะกระทำประโยชน์แก่สรรพชีวิต


@@@@@@@

๑๑. ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ
ผ่อ ลู กิด ตี - จิตต้องกับธรรม
สิด ฮู ลา - ท่องเที่ยวไปอย่างอิสระ
เลง ถ่อ พอ - เนื่องด้วยสำเร็จในมรรคผล
...ผู้ปฏิบัติต้องจงใจมุ่งไปข้างหน้า ฝึกฝนให้กายและจิตรวมเป็นหนึ่ง (เอกัคคตา)

๑๒. นำ มอ นอ ลา กิน ซี
นำ มอ - นอบน้อม
นอ ลา กิน ซี - การคุ้มครองคนดี นักปราชญ์ นักปฏิบัติ
..ด้วยความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ ทรงย้ำเตือนให้ยึดถือพระไตรสรณาคมน์ ต้องปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม ทำตนเป็นตัวอย่างเพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้รับรู้เป็นแบบอย่างและเจริญรอยตาม สาธุชนผู้ปฏิบัติตามพระพุทธองค์และพระธรรมยิ่งต้องมีความเมตตากรุณาจิตและโพธิจิตเพื่อโปรดสัตว์ รักษาพระธรรมยิ่งกว่าชีวิตและเผื่อแผ่ทั่วไปไม่มีประมาณ

๑๓. ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม
ซี ลี หม่อ ฮอ - ความเมตตากรุณาอันไพศาล สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขได้
พัน ตอ ซา เม - ผู้มีบุญวาสนาจะได้รับการคุ้มครองจากเทพเจ้า มารทั้งหลายไม่สามารถมารบกวนได้
...พระโพธิสัตว์เล็งเห็นว่าชาวโลกถือเอาความรวย, มีชื่อเสียง, ศักดินา เป็นที่นิยมศรัทธา อันเป็นการเพิ่มพูนความทุกข์ พระองค์จึงเตือนจิตให้มนุษย์ จงผ่อนใจในทางโลก โน้มน้าวจิตใจมาในทางมรรคผล เมื่อจิตว่างแล้ว พระสัทธรรมอันพิสุทธิ์ก็จะเจริญขึ้น

๑๔. สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง
สะ - การได้เห็น
พอ - เสมอภาค
ออ - พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์
ทอ เตา ซี พง - ธรรมไม่มีขอบเขต
...ทุกคนที่ปฏิบัติสามารถรู้ได้เห็นได้ และบรรลุสู่พระพุทธภูมิได้โดยเสมอกัน

๑๕. ออ ซี เย็น
ผู้ที่ทำความดีย่อมได้รับการชมเชย ผู้ทำบาปจะต้องสำนึกและขอขมาโทษ

๑๖. สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นะ มอ พอ เค
สะ พอ สะ ตอ - พุทธธรรมอันไม่มีขอบเขตสิ้นสุด สรรพสัตว์ในโลกนี้ล้วนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้
นอ มอ พอ สะ ตอ - พุทธธรรมเป็นความเสมอภาค มิได้แบ่งแยกเป็นสูงหรือต่ำ
นะ มอ พอ เค - พุทธธรรมมีความไพศาล ผู้ปฏิบัติตามจะสามารถระงับภยันตรายทุกสิ่ง
...ไม่ว่านักปราชญ์หรือผู้โง่เขลา เบาปัญญา คนหรือสัตว์ ล้วนสามารถหลุดพ้นได้ ถ้าเขาเหล่านั้นปฏิบัติธรรมด้วยความสัจ

๑๗. มอ ฮัว เตอ เตา
ผู้ปฏิบัติต้องถือพระสัทธรรมเป็นสูญ ไม่ข้องแวะ ไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิต ถือเอาสัจธรรมเป็นใหญ่ และต้องละความวิตกกังวล กำจัดความโกรธ ความโลภ ความหลง โดยใช้หลักแห่งปัญญาดับกิเลสให้จิตสงบ เป็นอยู่ในโลกนี้โดยสันติสุข

๑๘. ตัน จิต ทอ
ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องกัน จิตต้องตรงกับพระธรรม ห้ามมิให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ เนื่องจากว่าหากปล่อยให้ความคิดทางโลก เกิดขึ้นในจิต กาย ใจ ก็จะไม่บริสุทธิ์ ทำให้เกิดการขัดแย้งกับพระธรรม ไม่อาจจะพบความสันติสุขได้

๑๙. งัน ออ พอ ลู ซี
งัน - นอบน้อม เป็นบทนำ
ออ พอ ลู ซี - เป็นพระโพธิสัตว์ หมายถึงพระธรรมคือความสะอาดจิตสะอาดสดใสไร้ราคะ
ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวต่อการก่อกวนของเหล่ามาร(กามกิเลส) หากสามารถตั้งจิตข่มจิตสำรวมกาย วาจา และจิต ละทิ้งโลกาวิสัยทั้งหมดก็จะเข้าถึงพุทธสภาวะที่มีอยู่เดิม.. ถ้าทำให้จิตมีความสงบนิ่งอยู่ทุกขณะ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะมีความสำเร็จในธรรมโดยมิรู้ตัว..พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ รวมทั้งพระโพธิสัตว์เจ้าได้หลุดพ้นในขณะที่อยู่ในโลกอันมากล้นไปด้วยกิเลสนี้

๒๐. ลู เกีย ตี
เป็นโลกนาถ มีความเป็นอิสระ...มีกุศลจิตสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มัวหมอง มีรัศมีสว่างรอบกาย และสามารถร่วมกับดินฟ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รักษาความมีกุศลจิต อย่าทำลายตนเอง อย่าหลงผิดเป็นชอบ สิ่งสำคัญ...ต้องรักษาจิตให้บริสุทธิ์




๒๑. เกีย ลอ ตี
ผู้มีความกรุณา ผู้ปลดปล่อยทุกข์ เป็นผู้มีจิตในทางธรรม ดำรงมรรคมั่นคง มีสติปัญญาเฉียบแหลมยิ่งใหญ่
...เมื่อจิตมีความสงบก็สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งชั่วร้ายให้กลับกลายเป็นดี

๒๒. อี ซี ลี
กระทำตามโอวาท อย่ามีจิตหลงผิด

๒๓. หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
หม่อ ฮอ - ความไพศาลของพุทธธรรม ทุกคนน้อมนำไปปฏิบัติได้
ผู่ที - เห็นโลกนี้เป็นสูญ
สัต ตอ - การเน้นปฏิบัติอนัตตธรรม มองเห็นสรรพธรรมเป็นสูญ มองความรุ่งเรืองแห่งลาภยศ สรรเสริญเป็นสูญ มองให้เห็นเป็นเงาลวง ทำจิตใจร่างกายให้หมดจด

๒๔. สัต พอ สัต พอ
พุทธธรรมมีความเสมอภาค อีกทั้งยังอำนวยประโยชน์สุขแก่สัตว์โลก ผู้ที่มีปัจจัยแห่งบุญย่อมได้รับความสุข

๒๕. มอ ลา มอ ลา
ผู้ปฏิบัติจะได้มีมโนรถแก้วมณี แก้วมณีนี้แจ่มใสไม่มีอะไรขัดข้อง...ความคิดคำนึงเกิดมาแต่จิต จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธานแห่งบุญและบาป ผู้ปฏิบัติต้องกำจัดความคิดอันเป็นอกุศล ความคิดฟุ้งซ่าน ระงับความวิตกกังวล เพียรพยายามเสาะหาสัจธรรม ชำระล้างอายตนะภายในให้สะอาดพิสุทธิ์ ละความห่วงใยใดๆให้สิ้นเชิง

๒๖. มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน
มอ ซี - ความมีอิสระทันที ผู้ปฏิบัติไม่มีเวลาใดที่ไม่เป็นอิสระคือมีอิสระทุกเมื่อ
ลี ทอ ยิน - การปฏิบัติกระทั่งสำเร็จวิชชาธรรมกาย มีอาสน์ดอกบัวรองรับ
โดยปกติแล้วผู้ที่มีจิตว่างก็จะมีความสะอาดทั้งกายและจิต เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วก็สามารถบรรลุมรรคผลได้ และก็จะตั้งอยู่เช่นนั้น ไม่มีวันเสื่อมถอย

๒๗. กี ลู กี ลู กิด มง
กี ลู - การเกิดความคิดปฎิบัติธรรมสามารถบันดาลให้เทพเจ้ามาปกปักรักษา
กิด มง - ผู้ปฏิบัติจะต้องสร้างสมบุญบารมีเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรลุสู่มหามรรค (มรรคผล-นิพพาน)

๒๘. ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี
ตู ลู - ผู้ปฏิบัติจะต้องยืนให้มั่นตั้งใจปฏิบัติ ไม่หลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถี มีความแน่วแน่ มีสมาธิ มีความสงบ
ฟา เซ เย ตี - มีความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่สามารถข้ามพ้นสังสารวัฏได้

๒๙. หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี
พระสัทธรรมอันไพศาล สามารถระงับความเกิดดับแห่งกิเลสได้ ภัยพิบัติต่างๆไม่แผ้วพาน ทุกคนสามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้เหมือนหัน...กำจัดความหลงผิด ความเห็นแก่ตัว ปล่อยวางปัจจัยทางโลก

๓๐. ทอ ลา ทอ ลา
เมื่อปฏิบัติจิตให้มีสภาพเหมือนอากาศอันโปร่งใส ไร้ละอองธุลีแม้แต่น้อย ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้


@@@@@@@

๓๑. ตี ลี นี
ตี - โลก
ลี - สัตว์ทั้งหลายล้วนสามารถรับการโปรดได้
นี - พรหมจาริณีที่ปฏิบัติธรรมอยู่

๓๒. สิด ฮู ลา เย
เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ว จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน

๓๓. เจ ลา เจ ลา
ความโกรธ ดุ สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้า กระหึ่มไปทั่วสารทิศ...ธรรมเหมือนดังฟ้าร้องคำรามไปทุกสารทิศ เป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินศัพท์สำเนียงนี้ ก็จะเกิดความสะดุ้งกลัว

๓๔. มอ มอ ฮัว มอ ลา
มอ มอ - การกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้
ฮัว มอ ลา - ธรรมะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เข้าใขยาก และมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถประมาณ หรือคาดคิดได้ เป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดทัดเทียม

๓๕. หมก ตี ลี
หลุดพ้น...ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ ย่อมบรรลุสู่ภูมิแห่งพุทธ

๓๖. อี ซี อี ซี
การชักชวนตามพระศาสนา ทุกสรรพสิ่งให้ดำเนินไปตามธรรมชาติ...ทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง อย่าฝืนกระทำตามใจชอบ

๓๗. สิด นอ สิด นอ
เป็นมหาสติ มีจิตใจมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญญา..ผู้ปฏิบัติธรรม มีความสว่างแห่งสติปัญญาอยู่ ถ้าใช้จิตนี้เป็นฐานใช้ธรรมให้เป็นประโยชน์ ก็จะได้รับฐานธาตุที่สดชื่น แต่หากไม่มีจิตใจมั่นคงกำจัดกิเลสในตนไม่หมด ก็ไม่มีทางที่จะให้ความว่างแห่งสติปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิมปรากฏออกมาได้เลย.

๓๘. ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
ออ ลา ซัน - ความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา มีความอิสระในธรรม
ฮู ลา เซ ลี - การได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งพระรัตนะ

๓๙. ฮัว ซอ ฮัว ซัน
ฮัว ซอ - ผู้ที่มีธรรม ตั้งอยู่ในขันติธรรม
ฮัว ซัน - ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริงยากจะบรรยาย
เป็นการอนุโมทนาตามเหตุตามปัจจัย...ความสุขที่แท้จริง จะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก ถ้าสามารถอดทนต่อความยากลำบากก็จะเข้าถึงความสุขอันยิ่งได้

๔๐. ฮู ลา เซ เย
จะต้องมีความรู้ด้วยตนเอง ผู้จะบรรลุธรรมหากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิม ก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์




๔๑. ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา
การประกอบพิธีตามปรารถนา ประกอบพิธีกรรมไม่ละจากตัวตน

๔๒. ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
การประกอบธรรม โดยปราศจากความคิดคำนึงมีความเป็นอิสระสูง

๔๓. ซอ ลา ซอ ลา
ผู้ปฏิบัติเพียงแต่มีความมุ่งมั่น มีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง มีจิตอันเป็นหนึ่งเดียว ก็จะได้เห็นองค์พระโพธิสัตว์

๔๔. สิด ลี สิด ลี
ความเป็นมหามงคลอันสูงสุด สามารถอำนวยประโยชน์ และคุ้มครองสรรพสัตว์โดยไม่ละทิ้ง

๔๕. ซู ลู ซู ลู
น้ำอมฤตทานสามารถอำนวยประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง

๔๖. ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
การตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ถึงภูมิจิต ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องมีความวิริยะพากเพียรอย่างแรงกล้า ปฏิบัติทุกวันทุกคืนเสมอต้นเสมอปลายไม่ท้อถอย

๔๗. ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย
เป็นการรู้ในธรรม รู้ในจิต ผู้ปฏิบัติจะต้องถือ “ตัวเขา-ตัวเรา” เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เพียงแต่ไม่เห็นลักษณะตัวเขาตัวเรา แม้สรรพสัตว์ในทุคติ ก็ต้องถือว่าเท่าเทียมกับเรา

๔๘. มี ตี ลี เย
มหากรุณา ให้ผู้ปฏิบัติต้องเจริญเมตตากรุณาจิต เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค...รักในตนเองเท่าใด ก็ให้รักผู้อื่นเท่านั้น

๔๙. นอ ลา กิน ซี
นักปราชญ์ผู้รักษาตนเองได้ มีมหากรุณาจิต...ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์ เห็นผู้ทำดีจะต้องช่วยกันรักษา ผู้ที่เกิดความท้อถอยก็ต้องส่งเสริมให้กำลังใจ

๕๐. ตี ลี สิด นี นอ
ความคมของวัชระ ให้คนเรามีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม


@@@@@@@

๕๑. ผ่อ เย มอ นอ
สุรเสียงก้องไปสิบทิศ เป็นสุรเสียงแห่งความปิติยินดี

๕๒. ซอ ผ่อ ฮอ
ความสำเร็จผล มงคล นิพพาน ระงับภัยเพิ่มพูลประโยชน์ พระสัทธรรมไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาวะอันสงบมาแต่เดิม

๕๓. สิด ถ่อ เย
ความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย เข้าถึงพระวิสุทธิมรรคปราศจากขอบเขตอันจำกัด สรรพสัตว์เพียงแต่ละวางจากลาภยศชื่อเสียง ก็จะเข้าถึงความหลุดพ้นได้

๕๔. ซอ ผ่อ ฮอ
ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในพระสัจธรรมและความหลอกลวง(ไม่แท้) ก็จะสำเร็จได้ง่าย

๕๕. หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย
ความไพศาลของพระพุทธธรรม ผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล

๕๖. ซอ ผ่อ ฮอ
เน้นย้ำประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม

๕๗. สิด ทอ ยี อี
สิด ทอ - ความสำเร็จ
ยี อี - ความว่างเปล่า
ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า (สุญญตาธรรม)

๕๘. สิด พัน ลา เย
เป็นความอิสระสมบูรณ์ เป็นการกล่าวถึงบรรดาเทพีที่ต่างสำเร็จในอิสระธรรม

๕๙. ซอ ผ่อ ฮอ
อสังสกฤตธรรมนั้น เป็นสภาวธรรมที่สมบูรณ์โดยอิสระ เป็นการประกาศมหามรรคที่ยิ่งใหญ่มีผลที่ลึกซึ้ง

๖๐. นอ ลา กิน ซี
ความสำเร็จด้วยความรัก ความเมตตากรุณา การปกปักษ์รักษา




๖๑. ซอ ผ่อ ฮอ
แสดงถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์

๖๒. มอ ลา นอ ลา
มอ ลา - มโนรถ ความหวัง ความประสงค์
นอ ลา - อนุตตรธรรม
การปฏิบัติอนุตตรธรรมสมดังประสงค์

๖๓. ซอ ผ่อ ฮอ
พระโพธิสัตว์มุ่งเน้นให้คนปฏิบัติธรรม อีกทั้งยังเปิดเผยหัวใจอันลึกซึ้งของมหามรรคนี้

๖๔. สิด ลา เซง ออ หมก เค เย
เป็นการแสดงความรักของพระโพธิสัตว์ต่อหมู่ชน

๖๕. ซอ ผ่อ ฮอ
(ต่อเนื่องกับบทก่อน) คนเรานั้นมีโรคทางจิตเป็นภัยคุกคาม พระธรรมโอสถเท่านั้นที่สามารถรักษาให้หายได้

๖๖. ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ - สัตว์ทุกประเภทมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิได้เหมือนกัน
ออ สิด ถ่อ เย - สรรพสัตว์มีโอกาสร่วมรับความสุขสบายทั่วถึงกัน
บุคคลมีขันติธรรมก็จะเข้าถึงธรรมได้ด้วยดี สามารถสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่จำกัด

๖๗. ซอ ผ่อ ฮอ
(ต่อเนื่องกับบทก่อน) ความเมตตาอันสูงสุด

๖๘. เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย
เจ กิด ลา - การใช้วชิรจักรปราบเหล่ามาร
ออ สิด ถ่อ เย - ความสำเร็จอันไม่มีสิ่งใดเทียบได้
การใช้วชิรธรรมจักร ปราบเหล่ามารศัตรูได้รับความสำเร็จ

๖๙. ซอ ผ่อ ฮอ
(ต่อเนื่องกับบทก่อน) สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนสำเร็จในความบริสุทธิ์ได้ จึงไม่ควรประกอบอกุศลกรรมทั้งหลาย

๗๐. ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย
ปอ ทอ มอ กิด - พุทธธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีขอบเขต จะต้องปฏิบัติเพื่อได้รับความสุขร่วมกัน
สิด ถ่อ เย - ย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยสติปัญญาเพื่อการหลุดพ้น ละจากกิเลส

@@@@@@@

๗๑. ซอ ผ่อ ฮอ
(ต่อเนื่องกับบทก่อน) ผู้ปฏิบัติไม่ยึดในทางใดทางหนึ่ง ปฏิบัติโดยการพิจารณา พร้อมทั้งมีหิริโอตตัปปะ..มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเอง สำเร็จได้ด้วยการพิจารณาในทุกขณะจะต้องพิจารณาจิตของตน รักษาไว้ในทุกเหตุปัจจัยไม่ให้วิตกจิตเกิดขึ้นได้

๗๒. นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
นอ ลา กิน ซี - รักษาไว้ด้วยความเป็นภัทร
พัน เค ลา เย - เถระเพ่งโดยอิสระ
เป็นที่รักของผู้เจริญ เป็นที่รักของพระอริยะ

๗๓. ซอ ผ่อ ฮอ
(ต่อเนื่องกับบทก่อน) การปฏิบัติให้ถือเอาสัมมาจิต และความมีสัจเป็นหลัก

๗๔. มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย
มอ พอ ลี เซง - ผู้กล้า
กิด ลา เย - สภาวะเดิม
คุณธรรมจะสำเร็จได้ ด้วยสภาวะแห่งเมตตาธรรม หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลก็ย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรม

๗๕. ซอ ผ่อ ฮอ
เป็นการรวมเอาพระคาถาทั้งหมดแห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ในประโยคนี้ มีนัยบ่งบอกถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับหิตานุหิตประโยขน์ มีพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย

๗๖. นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย
เน้นย้ำให้พยายามควบคุมกายใจไม่ให้ลื่นไหลไปตามอารมณ์ที่มากระทบ โน้มนำเอาฌานสมาธิเพ่งการเกิดการดับ

๗๗. นำ มอ ออ ลี เย
เป็นการสาธยายมนต์สรรเสริญพระอริยะ และกล่าวย้ำถึงการปฏิบัติธรรม ต้องละความเป็นตัวตน, บุคคล, เรา-เขา จึงสามารถไม่ให้เกิดความคิดนึกอันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ได้...ความนึกคิดติดยึดไม่เกิด ความเข้าใจถึงธรรมก็จะเป็นที่หวังได้

๗๘. ผ่อ ลู กิต ตี
พระสัทธรรมไม่มีความสิ้นสุด บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีความบริสุทธิ์เป็นเครื่องอยู่ นำทางสู่แดนสุขาวดี...มีการเกิดย่อมต้องมีการตาย มีความชนะย่อมต้องมีความพ่ายแพ้...แต่ชาวโลกผู้ตกอยู่ภายใต้อวิชชากลับยินดีต่อการเกิดเกลียดชังความตาย ท้ายที่สุดก็ต้องตายอยู่นั่นเอง ฉะนั้นหากต้องการรอดพ้นจากความตาย จะต้องค้นหาความเป็นในความตายให้ได้เสียก่อน

๗๙. ชอ พัน ลา เย
ผู้ปฏิบัติต้องสำรวมตาเห็นรูป ไม่ปรุงแต่งไปตามรูปที่มองเห็น

๘๐. ซอ ผ่อ ฮอ
(ต่อเนื่อง) สำรวมหูฟังเสียง ไม่ปรุงแต่งไปตามเสียงที่ได้ยิน

@@@@@@@

๘๑. งัน สิด ติน ตู
สำรวมจมูกดมกลิ่น ไม่ปรุงแต่งไปตามกลิ่นที่จมูกดม

๘๒. มัน ตอ ลา
สำรวมลิ้นรับรส ไม่ปรุงแต่งไปตามรสที่ลิ้นรับ

๘๓. ปัด ถ่อ เย
สำรวมกายถูกต้องสัมผัส ไม่ปรุงแต่งไปตามที่ร่างกายถูกต้องสัมผัส

๘๔. ซอ ผ่อ ฮอ
สุดท้ายสำรวมใจรับรู้อารมณ์ ไม่ปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ใดๆที่ใจรับรู้ รวมเรียกว่าสำรวมอินทรีย์ ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บรรลุเป็นโพธิสัตว์อันบริสุทธิ์






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : lannaworld.com
website : http://www.publichot.com/forums/showthread.php?t=73947
image : https://www.pinterest.ca/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 05, 2024, 11:25:51 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28437
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครเข้าใจ อธิบาย บทสวด มหากรุณาธารณีสูตร บ้างคะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 07:14:38 pm »
0






บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

vijitchai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครเข้าใจ อธิบาย บทสวด มหากรุณาธารณีสูตร บ้างคะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 07:52:35 pm »
0
อนุโมทนาครับ ครบถ้วนในเนื้อหา เลยครับ
แสดงว่าคนถาม ๆ ถูกบอร์ดครับ

ผมเองก็เลยได้อ่านความรู้เพิ่มเติม บ้างขึ้นเคยได้ยินมานานแล้วพึ่งจะรู้ว่า เป็นบทสวด นึกว่าเพลงซะอีก

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อม ครูบาอาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน ทุก ๆ รูป ครับ ข้าพเจ้าขอกล่าวถึง พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ตลอดชีวิต พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: มีใครเข้าใจ อธิบาย บทสวด มหากรุณาธารณีสูตร บ้างคะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2011, 07:57:51 am »
0
จัดเป็นบทสวด ที่ชำระใจ ที่เศร้าหมองได้อีกบทหนึ่ง
ครบทั้งเนื้อหา และความหมาย จึงมีผู้นิยมสวดกันมากทั่วโลก

เจริญพร

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28437
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.


“มหากรุณาธารณีสูตร” (ไต่ปุยจิ่ว)

南 無 喝 囉 恒 那  哆 囉 夜 耶 
นำ มอ ฮอ   ลา ตัน นอ   ตอ  ลา  เย  เย 
南 無 阿 唎 耶  婆 盧 羯 帝  爍 本 囉 耶 
นำ  มอ ออ  ลี  เย   พอ  ลู   กิด  ตี   ชอ ปอ ลา  เย   
菩 提 薩 埵 婆 耶  摩 訶 薩 埵 婆 耶 
ผู่  ที  สัก ตอ พอ เย    มอ  ฮอ สัก ตอ  พอ เย   
摩 訶 迦 盧 尼 迦 耶  唵  薩 皤 囉 罰 曳 數 
มอ ฮอ เกีย ลู  นี  เกีย  เย    งัน  สัก  พัน ลา ฟา  อี  ซู   
怛 那  怛 寫  南 無 悉 吉 溧 埵 伊 蒙  阿 唎 耶 
ตัน นอ  ตัน เซ   นำ มอ เสิด กิด  ลี  ตอ  อี มง  ออ ลี   เย     
婆 盧 吉 帝 室 佛 囉 楞 馱 婆 
พอ ลู  กิด  ตี  สิก  ฟู  ลา  เลง  ทอ พอ   
南 無 那 囉 謹 墀  醯 唎  摩 訶 皤 哆 沙 咩
นำ มอ  นอ ลา กิน  ชี    ซี   ลี   มอ  ฮอ พัน ตอ ซา เม 

薩 婆 阿 他 豆 輸 朋  阿 逝 孕 薩 婆 薩 哆
สัก พอ ออ ทอ เตา ซี  ฟง  ออ ซี   ยิน สัก พอ สัก ตอ
那 摩 婆 薩 哆   那 摩 婆 伽   摩 罰 特 豆
นอ มอ พอ สัก ตอ   นอ มอ พอ  เค   มอ ฟา ทา เตา
怛 姪 他  淹 阿 婆 盧 醯 盧 迦 帝
ตัน  จี  ทอ  งัน ออ พอ  ลู   ซี   ลู  เกีย  ตี
迦 羅 帝  夷 醯 唎  摩 訶 菩 提 薩 埵 薩 婆
เกีย ลอ ตี   อี   ซี    ลี   มอ ฮอ ผู่   ที  สัก ตอ  สัก พอ   
薩 婆 摩 囉  摩 囉   摩 醯  摩 醯 摩 唎 馱 孕
สัก พอ มอ ลา  มอ ลา    มอ  ซี   มอ  ซี  มอ ลี  ทอ  ยิน 
俱 盧  俱 盧  羯 蒙  度 盧  度 盧  罰 闍 耶 帝 
กี   ลู    กี   ลู    กิด  มง   ตู   ลู   ตู    ลู    ฟา เซ  เย ตี

摩 訶 罰 闍 耶 帝 陀 囉 陀 囉 地 唎 尼 室 佛 囉 耶
มอ ฮอ ฟา เซ เย ตี  ทอ ลา ทอ ลา  ตี  ลี  นี  สิก  ฟู ลา เย   
遮 囉 遮 囉  麼 麼 罰  摩 囉 穆 帝 隸 伊 醯 伊 醯
เจ  ลา  เจ  ลา   มอ มอ ฟา มอ ลา มก  ตี  ลี อี ซี  อี  ซี  อี
室 那 室 那  阿 囉 滲 佛 囉  舍 利 罰 娑 罰 滲
สิก นอ สิก นอ ออ ลา เซียง ฟู ลา  เซ  ลี  ฟา  ซอ ฟา เซียง
佛 囉 舍 耶  呼 盧  呼 盧  摩 囉 呼 盧  呼 盧
ฟู  ลา  เซ  เย   ฟู    ลู    ฟู   ลู  มอ  ลา  ฟู   ลู    ฟู    ลู
醯 利  娑 囉  娑 囉  悉 唎  悉 唎  蘇 嚧  蘇 嚧 
ซี   ลี  ซอ  ลา  ซอ ลา เสิด  ลี  เสิด  ลี   ซู    ลู   ซู    ลู
菩 提 夜  菩 提 夜 菩 馱夜  菩 馱 夜  彌 帝 利 夜
ผู่  ที   เย   ผู่   ที  เย   ผู่ ทอ เย  ผู่ ทอ เย   มี   ตี    ลี   เย   

那 囉 謹 墀  地 利 瑟 尼 那 婆 夜 摩 那 娑 婆 訶
นอ ลา กิน ชี   ตี  ลี   สิก นี  นอ พอ  เย  มอ นอ  ซอ พอ ฮอ
悉 陀 夜 娑 婆 訶  摩 訶 悉 陀 夜 娑 婆 訶 
เสิด ทอ เย  ซอ  พอ ฮอ   มอ ฮอ เสิด ทอ เย ซอ พอ ฮอ   
悉 陀 喻 藝  室 皤 囉 耶   娑 婆 訶
เสิด ทอ  ยี  อี   สิก พัน ลา เย    ซอ พอ ฮอ
那 囉 謹 墀 娑 婆 訶   摩 囉  那 囉  娑 婆 訶 
นอ ลา  กิน ชี  ซอ พอ ฮอ   มอ ลา  นอ ลา  ซอ พอ ฮอ   
悉 囉 僧 阿 穆 佉 耶    娑 婆 訶 娑
เสิด ลา เจง ออ  มก เค  เย   ซอ พอ ฮอ
娑 婆摩 訶 阿  悉 陀 夜 娑 婆 訶 
ซอ  พอ มอ ฮอ ออ เสิด ทอ เย  ซอ  พอ ฮอ   
者 吉 囉 阿  悉 陀 夜 娑 婆 訶   波 隴 摩 羯 悉
เจ กิด ลา ออ  เสิด ทอ เย ซอ  พอ ฮอ  ปอ ทอ มอ กิต เสิด

陀 夜 娑 婆 訶 那 囉 謹 墀 皤 伽 囉 耶 娑 婆 訶   
ทอ เย ซอ พอ ฮอ นอ ลา กิน  ชี พัน เค  ลา เย  ซอ พอ ฮอ   
摩 婆 利  勝 羯 囉 夜   娑 婆 訶
มอ พอ  ลี เซง  กิต  ลา เย    ซอ พอ  ฮอ
南 無 喝 囉 恒 那 哆 囉 夜 耶   
นำ  มอ  ฮอ ลา  ตัน นอ ตอ ลา  เย   เย     
南 無 阿 利 耶   婆 嚧 吉 帝  爍 皤 囉 夜
นำ มอ ออ  ลี   เย   พอ  ลู  กิด  ตี   ชอ พัน ลา  เย   
娑 婆 訶   淹 悉 殿 都 漫 多 囉 跋 陀 耶     
ซอ พอ ฮอ  งัน เสิด ติน ตู  มัน ตอ  ลา  ปัด ทอ แย   
娑 婆 訶
ซอ พอ ฮอ




“มหากรุณาธารณีสูตร”

มนต์คาถาอันกำเนิดจากความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ยิ่ง (大慈大悲) รวมทั้งโปรดโลกโปรดสัตว์ ปฏิบัติธรรม บรรลุพระพุทธภูมิที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ซึ่งเป็นของพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์  (觀自在菩薩) อักษรหนึ่งและประโยคหนึ่งในธารณีนี้  ล้วนเป็นสัจธรรมที่จะเข้าถึงสัมมาสัมโพธิญาณ

“ธารณีนี้” เป็นส่วนสำคัญของ “มหากรุณาจิตธารณีสูตร รวมมี 84 ประโยค” ชื่อเต็มว่า “สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวโพธิสัตว์ไพบูลย์สมบูรณ์อภิญจนมหากรุณาจิตธารณีสูตรมหากรุณามนต์ ” ที่ได้ชื่อดังนี้ มีที่มาว่า 
     
สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสต่อพระอานนท์ว่า “ธารณีนี้ มีชื่อต่างๆ เช่น มหาไพบูลย์หนึ่ง อกิญจนมหากรุณาหนึ่ง ปลดทุกข์ธารณีหนึ่ง อายุวัฒนธารณีหนึ่ง ดับทุกข์คติธารณีหนึ่ง กำจัดกิญจนบาปหนึ่ง สมบูรณ์ปณิธานหนึ่ง มโนมัยอิศวรหนึ่ง วิกรมอุตตรภูมิธารณีหนึ่ง”

พระมหาโพธิสัตว์องค์นี้ที่มีนามว่า “สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกเตศวร มหาโพธิสัตว์” นั้น ก็เนื่องจากในพุทธกาลพระสหัสประภาศานติสถิตยถาคตพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าองค์นี้ได้ตรัส “มหาไพบูลย์สมบูรณ์อกิญจนมหากรุณาธารณี” แก่ท่านมหาโพธิสัตว์ และตรัสต่อไปว่า
    “สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัแห่งอนาคตกาล โดยทั่วถึง”

ตามพระสูตรได้กล่าวไว้ว่า ในขณะนั้นเมื่อพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ได้ฟังมนต์คาถานี้แล้ว  ก็ได้จากปฐมภูมิของโพธิสัตว์บรรลุถึงภูมิที่ 8 คือ อจลภูมิ จึงได้ตั้งปณิธานว่า
    “ในอนาคตกาลถ้าเราสามารถสร้างประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้าได้มีพันกรพันเนตรในทันที” 

เมื่อท่านได้ตั้งปณิธานนี้แล้วได้เกิดมีพันกรพันเนตรในบัดดล เกิดแผ่นดินไหวทั่วทั้ง 10 ทิศ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ต่างส่องอมตาภาส่องทั่วไปทั่วทศทิศอันไม่มีขอบขต 

ส่วนมนต์คาถานี้มีหลายชื่อนั้น ก็เนื่องมาจากพระศากยมุนีได้เคยตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันใหญ่ยิ่งโดยพระมหาโพธิสัตว์กล่าวว่า 
     “หากว่าเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดนามเรา พร้อมด้วยสวดนามพระพุทธอมิตาพุทธเจ้า แล้วสวดพระธารณนี้ คืนละ 5 จบก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัปได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณานี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง 10 ทิศ จะยื่นพระกรมารับแล้วให้ไปจุติในพุทธเกษตรทุกแห่ง"


@@@@@@@

อานิสงส์ของการสวดมนต์ “มหากรุณาธารณีสูตร” (ไต่ปุยจิ่ว)

หากมนุษย์ และทวยเทพสวดมนต์ “มหากรุณาธารณีสูตร” นี้จะเกิดโดยประกอบด้วยกุศล 15 ประการและไม่ต้องด้วยทุมรณะ 15 ประการ ดังนี้   

เกิดโดยประกอบด้วยกุศล 15 ประการ
    1. ที่ที่เกิดจะพบแต่กุศล 5
    2. กิดในประเทศกุศล
    3. พบแต่ยามดี
    4. พบแต่มิตรดี
    5. ร่างกายประกอบด้วยอินทรีพร้อมมูล
    6. จิตเป็นธรรมโดยสมบูรณ์
    7. ไม่ผิดศีล
    8. ญาติบริวารมีความกตัญญู  ปรองดองกันมีสามัคคีกัน
    9. ทรัพย์สมบัติ โภคทรัพย์มีสมบูรณ์ครบถ้วน
  10. มีผู้เคารพ และให้ความช่วยเหลือเสมอ
  11. ทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่มีใครมาปล้นชิง
  12. คิดต้องการอะไรจะได้สมความปรารถนา
  13. ทวยเทพ นาค ให้ความปกปักษ์รักษาอยู่เสมอ
  14. เกิดในที่ที่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์
  15. พระธรรมที่ได้ฟัง สามารถเข้าถึงแก่นสาร

ไม่ต้องด้วยทุมรณะ 15 ประการ
    1. ไม่ต้องมรณะด้วยความอดอยากข้นแค้น
    2. ไม่ต้องมรณะด้วยการใส่ขื่อกักขัง  และเฆี่ยนโบย
    3. ไม่ต้องมรณะด้วยการศึกสงคราม
    4. ไม่ต้องมรณะด้วยศัตรูจองเวร
    5. ไม่ต้องมรณะด้วยสัตว์ขบกิน
    6. ไม่ต้องมรณะด้วยงูพิษ  แมลงป่อง
    7. ไม่ต้องมรณะด้วยจมน้ำไฟไหม้
    8. ไม่ต้องมรณะด้วยยาพิษ
    9. ไม่ต้องมรณะด้วยแมลงร้ายขบกัด
  10. ไม่ต้องมรณะด้วยจิตใจว้าวุ่นเป็นบ้า
  11. ไม่ต้องมรณะด้วยตำจากภูเขา  ต้นไม้  และหน้าผาสูง
  12. ไม่ต้องมรณะด้วยการสาบแช่งภูติผีปีศาจ
  13. ไม่ต้องมรณะด้วยเทพร้ายผีสาง
  14. ไม่ต้องมรณะด้วยโรคร้ายเรื้อรัง
  15. ไม่ต้องมรณะด้วยความไม่ประมาณตนจนเกินฐานะ

ด้วยเหตุนี้ มนต์ “มหากรุณาธารณีสูตร” ไม่เพียงแต่กำจัดภยันตรายและโรคภัยต่างๆ ดังกล่าวได้ ยังให้ความสำเร็จแก่การกุศลกรรมทุกสิ่งอย่าง พ้นจากความหวั่นกลัว ฉะนั้นเราจึงต้องสวดท่องด้วยความศรัทธาและจิตใจสะอาด  จึงสามารถต้องด้วยมหากรุณาจิตของท่านพระมหาโพธิสัตว์ ตนเองจะได้รับประโยชน์มากหลาย สรรพสัตว์ที่จมอยู่ในไตรภูมิและทุคติ ถ้าสามารถสวดมนต์ “มหากรุณาธารณีสูตร” นี้อยู่เสมอ ไม่เพียงแต่จะรักษาโรคทางใจและทางกายได้ ยังสามารถให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องนี้สามารถจะพิสูจน์ได้จากประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น




ความทั่วไปของ “มหากรุณาธารณีสูตร” (ไต่ปุยจิ่ว)

ขอนมัสการพระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ขอนอบน้อมพระอริยอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์เป็นที่พึ่ง ขอนอบน้อมพระมหาโพธิสัตว์อันทรงมหากรุณาจิตธารณีนี้ ซึ่งสรรเสริญพลังพระเดชพระคุณประทานความสมบูรณ์ในสิ่งปรารถนา เป็นแสงรัศมีอันเป็นมหากรุณาที่สมบูรณ์บริสุทธิ์ เป็นพระเดชที่บรรดาภูตผีปีศาจไม่สามารถชนะได้

องค์ผู้มีธรรมนี้ไม่ตกอยู่ในความหลงของอวิชชา กิเลส ไม่ตกอยู่ในโลกลุ่มหลง เป็นมหาโพธิ์สัตว์ที่พานำไปยังโลกอันสว่าง สติปัญญาอันสว่างที่แสดงออกมา เหนือไปจากโลกวิสัย เป็นโพธิสัตว์ที่ทรงพลังบุญวาสนาที่ยิ่งใหญ่

ขอนอบน้อมพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ดั่งราชาสิงห์ เมื่อระลึกถึงมนต์ของพระมหาโพธิสัตว์อันเป็นปฏิภาณที่ได้บรรลุแล้ว ย่อมเสมือนการประกาศธรรมอันมีความอิสระเสมือนอยู่ในท่ามกลางอากาศ หรือเป็นความคิดคำนึงประกอบกิจกรรมใหญ่ และเสมือนหนึ่งการประกอบกิจการใดของพระราชา

มีความอิสระกระทำด้วยความสะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากมลทินแห่งกาย หรือเพื่อจำกัดความโลภ ความโกรธ ความหลงอันเป็นอกุศลมูลสาม อันเป็นกิเลส และเป็นพระมหาโพธิสัตว์ที่กำลังขจัดพิษภัยที่เหล่ามารแพร่หลายทั่วโลก

พระมหาโพธิสัตว์มีมาลัยอันงดงาม หรือ “ดอกบัวที่บริสุทธิ์” และพระมหาโพธิสัตว์ที่ถือดอกบัว สั่งสอนพวกเราที่มีความโง่ และบรรลุถึงความรักอันเป็นมหากรุณา ขอให้ผู้ที่บรรลุนิพพานและได้สิทธิ(ภูมิบรรลุธรรม) มีโยคะ(ต้องกัน) อันมีความเป็นอิสระ

มีพระพักตร์เป็นสิงห์ มีมือถือดอกบัว ขว้างหยกเพื่อชนะกิเลสมาร ผู้ที่ได้ยินเสียงสังข์อันไพเราะแล้วกลับความหลงผิดมาเป็นความเห็นแจ้ง ถือกระบองใหญ่ปราบปรามกาฬมารที่อยู่โลกนี้ ทางด้านซ้าย ล้วนมานอบน้อมไตรรัตน์เป็นที่พึ่ง นโมอริยอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ ขอให้ได้บรรลุพระนิพพาน เพื่อผู้สวดคาถามนต์นี้ได้บรรลุพระนิพพานเทอญ


@@@@@@@

ความศักดิ์สิทธิ์แห่ง “มหากรุณาธารณีสูตร” (ไต่ปุยจิ่ว)

พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ มีพร้อมด้วย อภัย 14 ( ช่วยระงับภัยเพื่อไม่ให้เกิดภัยขึ้น 14 ประเภท ) มีนิรมาณกาย 32 กาย ( ปรากฎต่างๆ 32 กาย เพื่อให้เข้ากับผู้ที่ต้องการให้ช่วยเห็นเป็นพวกเดียวกัน) อีกทั้งมีอภิญญาอีกมากหลาย

“อวโล” หมายถึง สติปัญญาในการเพ่งเห็น
“กิเตศวร” หมายถึง เสียงของผู้ขอร้องจากเขตโลก

“อวโลกิเตศวร” หมายถึง พระมหาโพธิสัตว์เพ่งเห็น ได้เห็นและได้ยินเสียงของผู้ตกทุกข์ได้ยาก ขอร้องให้ช่วย  และท่านจะไปช่วยไปตามเสียงขอร้องนั้น ให้ผู้ร้องพ้นจากความทุกข์ยาก ขจัดภยันตราย ได้รับความสุขสมบูรณ์ จึงได้รับนามว่า “พระอวโลกิเตศวร” (觀自在菩薩)

คำว่า “โพธิ” หมายถึงตรัสรู้   
“สัตว์” หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตอำนวยประโยชน์ให้ผู้อื่น 

ฉะนั้น รวมความหมายถึง ขอร้องต่อเบื้องบน และโปรดผู้อยู่เบื้องล่าง ทำประโยชน์ให้ตนและให้ผู้อื่นเป็นนามและหน้าที่ของผู้ปฏิบัติธรรมของมหายาน

พระมหาโพธิสัตว์อยู่เคียงข้างกับพระอมิตาภพุทธเจ้าโปรดสัตว์ในโลกนี้เป็นผู้ช่วยพระศากยมุนี โปรดสัตว์ในโลกนี้เช่นกัน น้ำอมฤตของท่านปล่อยไปทั่วสหัสสาโลก ให้สัตว์โลกทั้งหลายละจากโลกียวิสัย แล้วหลุดพ้นเป็นที่สุด  มหาโพธิสัตว์มีบุญบารมีปัจจัยสัมพันธ์กับดินแดนภาคตะวันออกนี้เป็นอันมาก ถ้าตั้งใจสวดพระนามท่านและคาถามนต์ของท่านด้วยความเคารพน้อมนอบจะได้รับผลตอบแทนทันที

พระมหาโพธิสัตว์องค์นี้ เสมือนดวงจันทร์ท่องไปตามท้องฟ้าอากาศ ถ้าสัตว์ชำระจิตใจให้สะอาดหมดจดย้อนพิจารณาอายตน และโลกียวัตร ดวงจันทร์แห่งพระมหาโพธิสัตว์ ก็จะปรากฏขึ้นในจิตของตน เหมือนกับดวงจันทร์ส่องแสงไปยังน้ำใส ย่อมปรากฏเงาของดวงจันทร์ฉันนั้น

บัดนี้ได้บรรยายคาถามนต์ของท่าน 84 ประโยค และหมายเหตุเรียบร้อยแล้ว ท่านที่สวดท่อง ขอให้สวดท่องด้วยความเมตตา กรุณา ความเสมอภาค ความไม่ประกอบกรรมบาป ความเพ่งมรรคสูญ ไม่ข้องแวะในราคะ ด้วยความเคารพ มุ่งตรงเข้าถึงธรรมด้วยความสัจจริง และด้วยความพยายามหมั่นเพียรย่อมเป็นที่ระลึกและคุ้มครองของพระมหาโพธิสัตว์ รวมทั้งทวยเทพนาคราชก็จะให้ความปกปักรักษาด้วย ซึ่งจะได้แต่ความเป็นศิริมงคลสืบทอดไปถึงลูกหลาน อันบุญวาสนานี้ แม้จะนำเมล็ดทรายแม่น้ำคงคามาเทียบก็ไม่อาจจะเทียบได้ เราท่านผู้เป็นพุทธสาวก จงสวดอธิษฐานด้วยความเคารพศรัทธา




ความวิเศษยอดเยี่ยมของ “มหากรุณาธารณีสูตร” (ไต่ปุยจิ่ว)

1. มนต์ “มหากรุณาธารณีสูตร” นี้ ตรัสโดยพระพุทธเจ้า จำนวน 99 โกฏิ  เมล็ดทรายแม่น้ำคงคา ในอดีตกาลพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ได้รับจากพระตถาคตเจ้าพระสหัสประภาราชศานติสถิตย์พุทธเจ้า ในขณะนั้นพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ยังอยู่ในปฐมภูมิเมื่อได้ฟังคาถามนต์นี้แล้วก็เข้าถึงภูมิที่ 8 ทันที มีความปลื้มปิติยินดี จึงได้ตั้งปณิธานประกาศมนต์นี้เพื่ออำนวยความสุขสบายแก่สรรพสัตว์แล้วก็เกิดสนองปณิธานทันที โดยมีพันกร พันเนตร เกิดขึ้นจากร่างกายฉับพลัน

2. พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ทูลแด่พระพุทธองค์ว่า “หากสรรพสัตว์สวดท่องมหากรุณามนต์ แล้วไม่สามารถไปจุติในพุทธเกษตร หรือไม่ได้ปฏิภาณสมาธิอันเป็นอมิต และไม่สมความต้องการทุกสิ่งในชาตินี้ เราจะไม่ยอมบรรลุสัมมาสัมพุทธ เว้นไว้แต่ผู้ที่มีจิตบาป และไม่มีความศรัทธา”

3. ผู้ที่สวดท่อง “มหากรุณาธารณีสูตร” นี้อยู่เสมอ ท่านผู้นี้คือ
   (1) พุทธกายปีฎก ด้วยพระพุทธเจ้า 99 โกฏิเมล็ดทรายแม่น้ำคงคาปกปักรักษาอยู่
   (2) เป็นแสงสว่างปีฎก ด้วยพรตถาคตทุกองค์ส่องแสงสว่างให้อยู่
   (3) เมตตากรุณาปีฎก ด้วยพระธารณีโปรดสัตว์อยู่เสมอ
   (4) เป็นสุธรรมปีฎก ด้วยรวบรวมสรรพธาณีอยู่
   (5) เป็นฌาญสมาธิปีฎก ด้วยสมาธิร้อยพัน ปรากฎต่อหน้าอยู่
   (6) เป็นอากาศปีฎก ด้วยได้ใช้ปัญญาแห่งความสุข เพ่งวิปัสสนาสรรพสัตว์อยู่
   (7) เป็นอภัยปีฎก บรรดานาค เทพ อารักขาอยู่
   (8) เป็นสุพจน์ปีฎก ด้วยเสียงแห่งธารณีไม่ขาดอยู่      
   (9) เป็นนิจสถิตย์ปีฎก ด้วยภัยทั้ง 3 ทุกกัปไม่สามารถทำลายอยู่
 (10) เป็นโมกขปีฎก ด้วยมารและเดียรถีย์ ไม่สามารถขัดขวาง 
 (11) เภษัชราชปีฎก ด้วยใช้ธารณีนี้รักษาโรคของสรรพสัตว์อยู่เสมอ             
 (12) เป็นอภินิหารปีฎก ด้วยสามารถท่องเที่ยวไปตามพุทธเกษตรต่างๆ ด้วยความอิสระอยู่ บุญวาสนาของท่านผู้นี้ ไม่สามารถจะสรรเสริญได้หมดสิ้น

@@@@@@@

บุญวาสนาที่ได้จากการสวดมนต์ “มหากรุณาธารณีสูตร” (ไต่ปุยจิ่ว)

    1. มีความสุขสบาย ปราศจากโรคร้าย มีอายุวัฒนะ ได้ความมั่งคั่ง กำจัดบาปอกุศลกรรมทั้งหลายที่ได้ทำไว้  ปราศจากภยันตราย เพิ่มพูนบุญวาสนาสำเร็จผลในกุศลอินทรี พ้นจากความหวั่นกลัว เมื่อจะถึงแก่กรรมจะได้ไปจุติตามทุกพุทธเกษตรดั่งที่ต้องการ
    2. ผู้ที่สวดมนต์นี้ จะรักษาโรคแปดหมื่นสี่พันชนิดในโลกนี้ให้หายได้
    3. เมื่อไปนั่งเพ่งฌานสมาธิตามป่าภูเขา ถ้ามีภูติผีปีศาจมารบกวน สวดมนต์จบเดียว พวกผีจะถูกจองจำไว้หมด
    4. ถ้าสวดตามวิธีแล้ว พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ จะให้เทพเจ้า และวชิรธรติดตามปกปักษ์รักษาไม่ห่างไปจากผู้นั้น เสมือนป้องกันดวงตาและชีวิตของตน

ถ้าสรรพสัตว์จะขอพรประการใดๆ ในชาตินี้ ให้สมาทานกินเจ 21 วัน โดยบริสุทธิ์ และสวดมนต์ “มหากรุณาธารณีสูตร” นี้ จะได้สมความประสงค์ทุกประการ

    จิตเดิมแท้ของเราทั้งหลายบริสุทธิ์ ความไม่ยึดมั่นข้องติด เป็นหลักประธานที่สำคัญ การทำตัวเราให้เป็นอิสระ จากการถูกดึงดูดไปตามอารมณ์ภายนอก เรียกว่า “ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยแห่งอารมณ์”
    เมื่อหลุดพ้นแล้วสภาพธรรมที่อยู่ในตัวก็จะบริสุทธิ์ ด้วยเหตุ เราจึงกล่าวว่า “ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยแห่งอารมณ์” เป็นมูลรากอันสำคัญ

    การดำรงใจให้เป็นอิสระจากสิ่งแวดล้อมไม่ถูกกลุ้มรุมด้วยกิเลสอย่างนี้ เรียกว่า “ความไม่เป็นไปตามความวิตก” ใจของเราหลีกพ้นจากสิ่งแวดล้อมอันเป็นปัจจัยปรุงแต่ง อย่าให้ปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นในใจของเรา ฉะนั้นจึงเรียกว่า “ไม่ข้องติด”






ขอขอบคุณ :-
เฟซบุ้ก : เสบียงบุญ เสบียงธรรม | 14 กันยายน 2014 
URL : https://www.facebook.com/100064651451388/posts/764525656941518/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ