ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความรัก กับ กรรมฐาน  (อ่าน 5151 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

RATCHANEE

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ความรัก กับ กรรมฐาน
« เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 07:32:53 am »
0
คือมีเพื่อน รุ่นน้อง เป็นผู้หญิง นะคะ กำลังมีความรัก นัยเหมือนจะรักเขาข้างเดียว ( เป็นเพื่อน หมอ ด้วยกัน )
ดิฉันก็เลยชักชวน เธอ ไปร่วมปฏิบัติธรรม ฟังธรรม ด้วยกัน แต่ดูเหมือนจะไม่ดีอะไรขึ้นเลย นอกจากเธอจะหงุดหงิดเวลารับโทรศัพท์ ฟังธรรม ก็จะเหม่อ ๆ คะ เหมือนไม่รับคะ ไปทำงานก็ดูไม่ค่อยดี เลยคะ

 คืออยากทราบว่า สำหรับ คนที่มีความรัก หรือกำลังมีความรัก อยู่นั้น เวลาเหมาะสมในธรรม ควรเป็นตอนไหน ควรพาไปนั่งกรรมฐาน บ้างดีหรือไม่คะ แล้วจะสามารถฟังธรรมเข้าใจหรือไม่คะ

  หรือ ควรจะมอบธรรมะ เรื่องใดให้เธอ ดีคะ

  :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรัก กับ กรรมฐาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 12:52:53 pm »
0

ภาพที่ ๕๑
พระนันทะรับบาตรส่งเสด็จ นางคู่วิวาห์ร้องสั่งให้รีบกลับ พอถึงวัดกลับชวนให้ผนวช


   ในวันที่  ๕  นับแต่วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก  มีพิธีวิวาหมงคล
ระหว่างเจ้าชายศากยะที่ชื่อว่า  'นันทะ'  กับเจ้าหญิงที่มีชื่อว่า  'ชนบทกัลยาณี'


   นันทะเป็นพระอนุชาหรือน้องชายของพระพุทธเจ้า    แต่เป็นพระอนุชาต่างมารดา   กล่าวคือ
ภายหลังพระมารดาของพระพุทธเจ้า  คือ  พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์   แต่เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ
ได้ไม่กี่วันแล้ว   พระเจ้าสุทโธทนะทรงได้พระนางปชาบดีโคตมี   ผู้เป็นน้องสาวของพระนางสิริมหามายา
เป็นชายา

   เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชแล้ว  รัชทายาทของพระเจ้าสุทโธทนะจึงตกอยู่แก่นันทะ  พระ
เจ้าสุทโธทนะทรงหมายพระทัยว่า  เมื่อนันทะอภิเษกสมรสแล้ว  จะได้ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์


   ในงานวิวาหมงคลนั้น  พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จมาตามคำทูลอาราธนาของพระพุทธบิดา  เมื่อ
ทรงฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว  พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับ  ได้ทรงมอบบาตรของพระองค์ให้เจ้าชายนันทะทรง
ถือตามส่งเสด็จ   

         นันทะทรงดำริว่า    เมื่อถึงประตูพระราชนิเวศน์   พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระเชษฐาคงจะ
ทรงหันมารับบาตรคืนไปจากตน   แต่ครั้นไปถึงที่นั่น   พระพุทธเจ้ามิได้ทรงทำอย่างนั้นเลย   ครั้นนันทะจะ
มอบบาตรถวายพระพุทธเจ้าก็ไม่กล้า   ด้วยเกรงพระทัยผู้ทรงเป็นพระเชษฐา  จนไปถึงพระอารามที่ประทับ 
พระพุทธเจ้าจึงหันมาตรัสกับพระอนุชาว่า  "บวชไหม"


   นันทะจะปฏิเสธก็เกรงใจพี่ชาย   นี่ว่าตามภาษาสามัญ  จึงทูลตอบพระพุทธเจ้าว่า  "บวชพระ
เจ้าข้า"

   นันทะไม่ได้ยอมบวชด้วยน้ำใสใจจริง  เพราะกำลังจะแต่งงาน   ทั้งตอนที่จะออกจากพระราช
นิเวศน์นำบาตรมาส่งพระพุทธเจ้า  นางชนบทกัลยาณีผู้เป็นเจ้าหญิงคู่อภิเษกสมรส  ยังร้องเรียกสั่งตามมาว่า 
"เจ้าพี่ไปแล้วให้รีบเสด็จกลับ"  แต่ที่ตอบเช่นนั้น  ก็เพราะความเกรงใจพระพุทธเจ้าดังกล่าวแล้ว


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/picture/f51.html


ภาพที่ ๕๔[
ทรงพานันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง


   หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธบิดา  และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลาประ
มาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว  ได้เสด็จกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ   พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารที่ตามเสด็จในการ
นี้  พระภิกษุนันทะ  พระอนุชาผู้ถูกจับให้บวช  และราหุลสามเณรก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย


   ต่อมา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวนมากได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี  แห่งแคว้นโกศล 
ซึ่งเป็นเมืองและแคว้นใหญ่พอๆ   กับกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ  พระนันทะก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย

   แต่ตลอดเวลานับตั้งแต่บวชแล้วเป็นต้นมา  พระนันทะไม่เป็นอันปฏิบัติกิจของสมณะ  ใจให้รุ่ม
ร้อนคิดจะลาสึกอยู่ท่าเดียว เพราะความคิดถึงนางชนบทกัลยาณี เจ้าสาวคู่หมั้นซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์กับตน


   ความเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้า    ครั้งนั้น   พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน
แล้วทรงหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์  เหมือนบุรุษมีกำลัง  พึงเหยียดแขน
ที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ฯ

   ก็สมัยนั้นแล นางอัปสรประมาณ  ๕๐๐  มีเท้าดุจนกพิราบ มาสู่ที่บำรุงของท้าวสักกะจอมเทพ
ครั้งนั้นแล   พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระนันทะว่า  ดูกรนันทะ  เธอเห็นนางอัปสร  ๕๐๐  เหล่านี้ผู้มีเท้า
ดุจนกพิราบหรือไม่  ท่านพระนันทะทูลรับว่า  เห็น  พระเจ้าข้า ฯ


   พ. ดูกรนันทะ  เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน  นางสากิยานีผู้ชนบทกัลยานี  หรือนางอัปสร
ประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไหนหนอแลมีรูปงามกว่า น่าดูกว่า หรือน่าเลื่อมใสกว่า ฯ

   น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   นางลิงผู้มีอวัยวะใหญ่น้อยถูกไฟไหม้  หูและจมูกขาด  ฉันใด   นาง
สากิยานีผู้ชนบทกัลยานี  ก็ฉันนั้นแล  เมื่อเทียบกับนางอัปสรประมาณ  ๕๐๐  เหล่านี้  ย่อมไม่เข้าถึงเพียงหนึ่ง
เสี้ยว   ไม่เข้าถึงเพียงส่วนหนึ่งของเสี้ยว  ไม่เข้าถึงเพียงการเอาเข้าไปเปรียบว่าหญิงนี้เป็นเช่นนั้น    ที่แท้นาง
อัปสรประมาณ  ๕๐๐  เหล่านี้มีรูปงามกว่า  น่าดูกว่า  และน่าเลื่อมใสกว่า  พระเจ้าข้า ฯ


   พ. ยินดีเถิดนันทะ  อภิรมย์เถิดนันทะ  เราเป็นผู้รับรองเธอเพื่อให้ได้  นางอัปสรประมาณ ๕๐๐
ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ

   น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับรองข้าพระองค์เพื่อ  ให้ได้นางอัปสรประ
มาณ  ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไซร้  ข้าพระองค์จักยินดี  ประพฤติพรหมจรรย์  พระเจ้าข้า ฯ


   ลำดับนั้นแล   พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน    แล้วทรงหายจากเทวดาชั้นดาว
ดึงส์ไปปรากฏที่พระวิหารเชตวัน  เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียด  แขนที่คู้  หรือคู้แขนที่เหยียด   ฉะนั้น  ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับข่าวว่า    ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค   โอรสของพระมาตุจฉา  ประพฤติ
พรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางอัปสร  ได้ยินว่า  พระผู้มีพระภาคเป็นผู้รับรองท่าน   เพื่อให้ได้นางอัปสรประ
มาณ  ๕๐๐  ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ

   ครั้งนั้นแล    ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของท่านพระนันทะ   ย่อมร้องเรียกท่านพระนันทะด้วย
วาทะว่าเป็นลูกจ้าง  และด้วยวาทะว่าผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาว่า   ได้ยินว่า  ท่านพระนันทะเป็นลูกจ้าง
ได้ยินว่า   ท่านพระนันทะเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงไถ่มา   ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุนางอัปสร
ได้ยินว่า  พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสร  ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ


   ครั้งนั้นแล  ท่านพระนันทะอึดอัดระอาเกลียดชังด้วยวาทะว่า  เป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าเป็น
ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาของพวกภิกษุผู้เป็นสหาย   จึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว  ไม่ประมาท  มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม  ที่กุลบุตรทั้งหลายออก
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น   ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน   เข้าถึงอยู่   รู้ชัดว่า   ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำทำสำเร็จแล้ว  กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี  ก็ท่านพระนันทะได้
เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง  ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

   ครั้งนั้นแล   เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว  เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะ  งามยิ่งนัก  ยังพระวิหารเชตวัน
ทั้งสิ้นให้สว่างไสว    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ   ถวายบังคมแล้ว   ได้ยืนอยู่  ณ  ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง   ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มี
พระภาค โอรสของพระมาตุจฉาทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ  ปัญญาวิมุติ  อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไป  ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่   แม้ญาณก็ได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคว่า  พระนันทะทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ  อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ฯ


   ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป    ท่านพระนันทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ   ถวายบังคม
แล้ว  นั่งอยู่  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พระผู้มี
พระภาคทรงรับรองข้าพระองค์    เพื่อให้ได้นางอัปสร  ๕๐๐  ผู้มีเท้าดุจนกพิราบ  ข้าพระองค์ขอปลดเปลื้อง
พระผู้มีพระภาคจากการรับรองนั้น   

        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรนันทะ  แม้เราก็กำหนดรู้ใจของเธอด้วยใจของเราว่า    นันทะทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ   ปัญญาวิมุติ   อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่  แม้เทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ท่าน พระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคโอรสของพระมาตุจฉา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ  ปัญญาวิมุติ  อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป  ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน  เข้าถึงอยู่    ดูกรนันทะ   เมื่อใดแล  จิตของเธอหลุดพ้นแล้ว  จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น  เมื่อนั้น  เราพ้นแล้วจากการรับรองนี้ ฯ

   ลำดับนั้นแล  พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว  ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
         ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว  ย่ำยีหนาม  คือกามได้แล้ว  ภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะ 
ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์ ฯ

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/picture/f54.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรัก กับ กรรมฐาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 12:53:57 pm »
0
คือมีเพื่อน รุ่นน้อง เป็นผู้หญิง นะคะ กำลังมีความรัก นัยเหมือนจะรักเขาข้างเดียว ( เป็นเพื่อน หมอ ด้วยกัน )
ดิฉันก็เลยชักชวน เธอ ไปร่วมปฏิบัติธรรม ฟังธรรม ด้วยกัน แต่ดูเหมือนจะไม่ดีอะไรขึ้นเลย นอกจากเธอจะหงุดหงิดเวลารับโทรศัพท์ ฟังธรรม ก็จะเหม่อ ๆ คะ เหมือนไม่รับคะ ไปทำงานก็ดูไม่ค่อยดี เลยคะ

 คืออยากทราบว่า สำหรับ คนที่มีความรัก หรือกำลังมีความรัก อยู่นั้น เวลาเหมาะสมในธรรม ควรเป็นตอนไหน ควรพาไปนั่งกรรมฐาน บ้างดีหรือไม่คะ แล้วจะสามารถฟังธรรมเข้าใจหรือไม่คะ

  หรือ ควรจะมอบธรรมะ เรื่องใดให้เธอ ดีคะ

  :c017:

สิ่งที่ผมโพสต์ ถึงแม้จะไม่ได้ตอบโจทย์ของคุณรัชนีไม่ได้โดยตรง แต่อาจให้ข้อคิด นำไปสู่ไอเดียต่างๆได้

ไม่มีใครรู้จักเพื่อนของคุณรัชนีเท่าตัวคุณรัชนี ผมคิดว่า คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแนะนำอะไรไป

การที่ใครคนหนึ่งจะหันเข้าหาธรรม มันมีลำดับของมันอยู่ หากยังไม่ถึงเวลา ก็คงบังคับกันลำบาก

เมื่อไหร่จะถึงเวลานั้น ไม่มีใครตอบได้ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า คนอกหัก คนมีปัญหาครอบครัว

ส่วนหนึ่งจะหันเข้าหาธรรมะโดยอัตโนมัติ



     หมอทุกคนจะแนะนำให้คนอื่นๆออกกำลังกาย สร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ เพื่อไม่ให้ต้องมารักษาตัวในภายหลัง

การป้องกัน กับการรักษา แน่นอน...หมอจะเลือกการป้องกันเอาไว้ก่อน

     การป้องกันไม่ให้จิตของคนเราเกิดทุกข์ หรือเกิดน้อยหน่อย หรือรับมือกับทุกข์ต่างๆได้ระดับหนึ่ง

มีอยู่ทางเดียวครับ คือ การปฏิบัติธรรมนั่นเอง


     การคิดจะรอใหผิดหวังก่อน แล้วค่อยหาทางแก้ กับการสร้างภูมิคุ้มกันให้จิตเพื่อรับมือกับความผิดหวัง

หรือทุกข์อื่นๆ อย่างไหนควรทำ ก็ขอให้เลือกเอาเอง


      :welcome: :49: ;)


     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 24, 2011, 01:34:05 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sangtham

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 53
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรัก กับ กรรมฐาน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 07:45:48 pm »
0
คิดว่า น่าจะเป็นเรื่องยาก นะครับ การภาวนาธรรม แท้ที่จริง ก็นำออกจากชีวิตคู่้
ความรัก เป็นเหตุ ให้เกิดทุกข์
ความรัก เป้น ตัณหา ราคะ ส่วนหนึ่ง

ความไม่สบายใจ อันเกิดขึ้นจากความรัก ก็คือ โทษของกามคุณ อีกประการหนึ่งครับ
 ดังนั้น คนที่กำลังมีความรัก อยู่ ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย สำหรับ คนที่จะชักจูง ให้มาทางธรรม

แต่จะรอให้ผิดหวัง แล้วรับความทุกข์ พระพุทธศาสนา ไม่ได้สอนอย่างนั้น
แต่ในระหว่างที่ดำเนินชีวิตอยู่นั้น ผู้ที่มีความรัก ต้องรับวัคซีน ภูมิคุ้มกัน จิต ที่เรียกว่าพระธรรม
เพื่อดำเนินชีวิตไปได้โดยมีความทุกข์ น้อยที่สุด จนถึงไม่มีเลย

 การแนะนำกรรมฐาน ก็ควรจะเป็น เทวตานุสสติ จาคานุสสติ พุทธานุสสติ และ มรณัสสติ ครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

jittree

  • บุคคลทั่วไป
Re: ความรัก กับ กรรมฐาน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 08:39:12 pm »
0
ด้วยอาชีพและมีความฉลาดทางปัญญาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ตลอดจนมีความมั่นใจในตัวเองสูง  คิดว่าให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองก่อนดีที่สุด  การแนะนำอาจได้ผลน้อยในขณะนี้ :58: 
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ความรัก กับ กรรมฐาน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 12:06:21 am »
0
อย่าหลง ปลงกิเลสบ้าง

          ความรักเป็นมายากล่อมหมู่สัตว์(มนุษย์)ให้เคลิ้มอยู่เป็นนิตย์ สัตว์(มนุษย์)ผู้หลงเพลินอยู่ในผัสสะสุขแห่ง

อายตนะใดใดย่อมโง่เขลา เพราะความไม่เที่ยงนั้นๆมีอยู่ วันนี้สุขในรักเป็นเพียงจิตที่เสวยแต่งปรุงพอใจชั่วขณะ

หนึ่ง เมื่อจิตหน่ายคลายเสียเมื่อไร ก็หันไปเคลิ้มหลงในสิ่งใหม่ ชีวิตรักก็เหลือเพียงชะตาที่ผูกไว้ด้วยกรรมหน่วง

ไว้ด้วยเวร รอเพียงการจากลาด้วยหย่าร้างหรือพรากตาย


าเราลวง (รัก)

     ชนชายหญิงมากผู้           สรรหา
ใฝ่รักถวิลกายา                   คิดยื้อ
รักล้นหม่นตัณหา               สุขมอด มลายเฮย
เขลาส่างหน่ายร้างรื้อ       ข่มไห้เมื่อสาย.


                                                 ธรรมธวัช.!



http://www.oknation.net/blog/print.php?id=41219
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 25, 2011, 06:33:00 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรัก กับ กรรมฐาน
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 07:42:47 pm »
0
ถึงจะดูว่าเป็นไปได้ยาก แต่ในฐานะ กัลยาณมิตร นั้นก็ควรช่วยเหลือต่อไปนะครับ
ต้องลองกับมาคิดว่า เราเองเป็นเหตุปัจจัย เกื้อกูล ซึ่งกันและกันนะครับ

 :25:
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรัก กับ กรรมฐาน
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 07:37:07 am »
0
ดี ครับ สอนให้รัก นั้นประกอบด้วย ความเอาใจใส่ เห็นใจ เข้าใจ ไม่เห็นแก่ตัว เปลี่ยนความรักแบบ โมหะ
ให้เป็นความรัก ที่เรียกว่า เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

 ผมเห็น หลายคู่ อยู่ครองรัก กันจนแก่เฒ่า จนตายก็มีหลายคู่ ครับ ไม่ใ่ช่ว่าไม่มีความรักจะไม่ดีนะครับ

 การอยู่ตัวคนเดียว จะลำบาก นะครับ เมื่อเราไม่มีกำลัง ใครจะเป็นผู้ดูแลเรานะครับ

 สิ่งสำคัญ วัฏจักรของมนุษย์ พ่อ แม่ ลูก หลาน ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ น้อง ญาติ มิตร เป็นที่พึ่งได้ก่อนนะครับ

คนเราอยู่ตัวคนเีดียวในโลกนี้ไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน การได้เกิดมารักกัน ก็เป็นเพราะบุพพกรรมแต่ชาติก่อนทำบุญร่วมกันมา ทำกรรมร่วมกัน สร้างเวรผูกพัน กันมาจึงได้เกิดมารักกันในชาติต่อไป ดังนั้นการที่มีความรักจึงเป็นเหตุปัจจัย ต่อการดำรงชีวิต

  แต่เมื่อใครเห็นโทษ ของความรัก ความผูกพัน ก็ให้เดินออกสู่ มรรคาแห่งพุทธะ เสียเพื่อที่จะได้ตัด อาลัย คือความโศรก ความคร่ำครวญ ความทุกข์ และ สังสารวัฏ

 คุยกันยามเช้า เท่านีนะครับ

 :25:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

RATCHANEE

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรัก กับ กรรมฐาน
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2011, 07:37:18 am »
0
ขอบคุณทุกท่าน ที่ให้คำแนะนำคะ ตอนนี้ก็กำลังมองหาวิธีการ ที่จะทำให้น้องมีความรุ่มร้อน กระวนกระวายน้อยลงคะ ก็ต้องช่วยกันคะ อาจจะเป็นเพื่อนที่สงเคราะห์กันไว้ คะให้กำลังใจคะ และ มีผลกระทบกับงานด้วยคะหากน้องมีความกังวล การทำงานจะไม่ค่อยดีคะ เพราะความกระสับกระส่ายคะ

  เรื่องของพิษความรัก นี้ ถ้าใครไม่มีก็ไม่รู้จริง ๆ คะ เพราะเปลี่ยนคนได้จริง ๆ คะ ยิ่งคนที่ไม่ค่อยสังคมกับใครคิดแต่ว่าตนเองฉลาดกว่าใครด้วยแล้ว อันนี้รุนแรง คะ

  ขอบคุณทุกความคิดเห็นคะ

  :c017:
บันทึกการเข้า