ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธสิหิงค์ เคยอยู่ในวัดบรมพุทธาราม บ้านเดิมพระเพทราชา ในรั้ว มรภ.อยุธยา  (อ่าน 1358 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระพุทธสิหิงค์ เคยอยู่ในวัดบรมพุทธาราม บ้านเดิมพระเพทราชา ในรั้ว มรภ.พระนครศรีอยุธยา

พระพุทธสิหิงค์ เคยประดิษฐานอยู่วัดบรมพุทธาราม อยุธยา (ในรั้ว มรภ. พระนครศรีอยุธยา) เมื่อแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ระหว่าง พ.ศ. 2275-2301) พบบันทึกในศุภอักษรของอัครมหาเสนาบดีกรุงศรีอยุธยา มีไปถึงอัครมหาเสนาบดีกรุงลังกา เมื่อ พ.ศ. 2299 เล่าความหลังว่า คราวก่อนทูตจากลังกาเดินทางถึงพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2293 ได้แวะไปที่วัดบรมพุทธาราม (หรือที่ชาวบ้านเรียกวัดกระเบื้องเคลือบ)

ทูตลังกาเห็นพระพุทธสิหิงค์ในมณฑปวัดบรมพุทธาราม จึงได้แลกเปลี่ยนเรื่องต่างๆ ทูตลังกาบอกว่าในลังกาไม่มีตำนานสิหิงคนิทาน ทางการอยุธยาจึงคัดลอกตำนานสิหิงคนิทาน ถวายพระเจ้าแผ่นดินลังกา

ข้อความในศุภอักษรฯ มีดังนี้

     “ทูตานุทูตอำมาตย์ได้เห็นพระพุทธสิหิงคในมณฑปน่ามโนรมย์ในวัดบรมพุทธารามวิหาร ประดับทองเงินรัตนงามวิจิตร จึงพากันเจรจาเหตุที่ไม่ทราบเรื่องนั้น ให้กันฟัง ราชบุรุษจึงนำเรื่องนั้นมาเล่าให้ทูตานุทูตนั้นทราบชัดทูตานุทูตอำมาตย์ทั้งหลาย ต่างพากันพูดว่าตำนานสิหิงคนิทานนี้ในกรุงศิริวัฒนนครไม่มี เราจึงให้ราชบุรุษจารึกตำนานพระพุทธสิหิงคนิทานส่งมาให้ ขอท่านอัครมหาเสนาบดีได้นำตำนานสิหิงคนิทานนี้ทูลพระเจ้ากรุงศิริวัฒน แล้วทูลว่าขอให้ทรงหวงแหนพระตำนานนี้ไว้ในกรุงศิริวัฒนบุรีด้วย”


[จากหนังสือเรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับมติชน พ.ศ. 2546 หน้า 313]

 :25: :25: :25: :25:

กรมพระยาดำรงฯ ยืนยัน

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระอธิบายสั้นๆ ไว้ในเชิงอรรถว่า

“ตรงนี้ผู้ศึกษาโบราณคดีควรจะสังเกต ว่าพระพุทธรูปซึ่งมีพระนามว่าพระพุทธสิหิงค์ อยู่ที่กรุงเก่าในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศเป็นแน่ ข้อนี้ยังมีเนื้อความในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าประกอบว่าได้เชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาจากเมืองเชียงใหม่เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรได้เมืองเชียงใหม่ ถ้าเช่นนั้นเมื่อพม่าข้าศึกตีได้กรุงเก่า เมื่อปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 พ.ศ. 2310 คงเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปไว้เชียงใหม่ แลอยู่นั้น 28 ปี จนปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช 1157 พ.ศ. 2338 กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจึงได้โปรดให้เชิญลงมาไว้กรุงเทพฯ จนบัดนี้”

แต่ยังมีบอกในคำให้การขุนหลวงหาวัด ว่า พระพุทธสิหิงค์เชิญมาจากเมืองเชียงใหม่ แล้วประดิษฐานไว้ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ


(สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2549 หน้า 60-61]

 
 :96: :96: :96: :96:


วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่บ้านเดิมพระเพทราชา

วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ที่ถนนศรีสรรเพชญ์ ต. ประตูชัย อ. เมืองฯ จ. พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้าง อยู่ในเขตรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

พระเพทราชา (พ.ศ. 2231-2246) โปรดให้สร้างขึ้นที่พระนิเวศน์เดิมของพระองค์ในบริเวณที่เรียกว่าย่านป่าตอง (ภายในเขตกำแพงเมือง ระหว่างประตูชัยกับคลองฉะไกรน้อย) และโดยที่สมเด็จพระเพทราชาเป็นพระมหากษัตริย์ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง วัดนี้จึงเปรียบเสมือนวัดประจำราชวงศ์บ้านพลูหลวง

วัดบรมพุทธาราม มีชื่อเรียกกันเป็นสามัญว่า วัดกระเบื้องเคลือบ เหตุเพราะหลังคาอุโบสถมุงกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียว ต่างไปจากวัดอื่นๆ ทั่วไปในสมัยนั้นที่มุงกระเบื้องดินเผากันเป็นพื้น ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ (พ.ศ. 2275-2301) บูรณปฏิสังขรณ์ และทำบานประตูประดับมุกติดประตูพระอุโบสถ

ปัจจุบันอยู่ที่หอมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดารามคู่หนึ่ง มีจารึกบอกไว้ที่บานประตูแห่งนี้ว่า พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดให้ทำบานมุกประตูพระอุโบสถวัดบรมพุทธาราม เมื่อปีมะแม ตรีศก จ.ศ. 1113 พ.ศ. 2245 นอกนั้นยังมีอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรอีกคู่หนึ่ง

ส่วนอีกคู่หนึ่งมีผู้นำไปตัดทำเป็นตู้ใส่หนังสือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงได้มาและประทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นงานฝีมือประดับมุกยอดเยี่ยม ซึ่งได้นำมาจัดแสดงไว้ในตำหนักแดง

เฉพาะอุโบสถที่ยังมีผนังเหลืออยู่เกือบเต็มทั้ง 4 ด้าน มีร่องรอยจิตรกรรมที่ยังหลงเหลือให้เห็นที่บานแผละ และประตูหน้าต่างอย่างเลือนราง เช่น เป็นรูปลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายพันธุ์พฤกษา เป็นต้น


[จากหนังสือโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เล่ม 1) กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2551 หน้า 141-142]

บทความของ สุจิตต์ วงษ์เทศ
http://www.matichon.co.th/news/354354
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 10, 2016, 11:37:11 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ประวัติวัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับศิลปะ  สื่อถึงความศรัทธา เลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า

 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ