ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - kittisak
หน้า: 1 2 [3]
81  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / หลักปฏิบัติ ในพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2010, 08:51:43 pm
ผมได้ไปที่วัดราชสิทธารา และได้ขึ้นพระกรรมฐานแล้ว ปฏิบัติตามหลวงพ่อจิ๋วสอน พร้อมหนังสืออีกหลายเล่ม
แต่ในความคิดของผม จากการปฏิบัตินั้น ไม่มีความก้าวหน้าเลยครับ โทรคุยกับหลวงพ่อจิ๋ว ท่านก็บอกว่าให้ทำ
ต่อไปเรื่อยๆๆๆ

ในความรู้สึกว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้น ยากเกินไปหรือป่าวครับ
ผมเองยังไม่ก้าวหน้าเลยครับ ผ่านมา 3 เดือนแล้ว ยังไม่ไปไหนเลยครับ

เพื่อน ๆ สมาชิก มีเคล็ดหรือป่าวครับ สอนผมบ้างนะครับ ถ้ามีเคล็ดเพิ่มเติม
ตั้งใจว่าช่วงวันมาฆะบูชา นี้จะไปที่วัดราชสิทธาราม

แต่ที่วัดแก่งขนุนไปก็ยังไม่ได้คุยกับพระอาจารย์ครับ เลยยังไม่รู้แนวพระอาจารย์
82  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำไมพระภิกษุณี จึงไม่มีในประเทศไทย ครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2010, 08:46:47 pm
จริง ๆ เรื่องของพระภิกษุณี นั้นผมสนใจมาก เพราะไปปฏิบัติ ธรรมที่ไหนก็มักจะเจอแต่ผู้หญิง

ทำไมปัจจุบันจึงไม่มีพระภิกษุณี ครับ :s_hi:
83  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / ชัยยะ บทเล็ก เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2010, 08:44:17 pm
สวดเพื่อชัยชนะ (ท่านชอบสวดในเวลาที่มีสงคราม)


นะ โม เม พุทธะ เตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา เตชะ ประสิทธิ ปะสีเทวา นารา ยะปะระเมสุรา สิทธิ พรัหมา จะ อินทา จะ จะตุโลกา คัมภี รักขะกา สะมุทา ภูตุง คังกา จะ สะพรัหมา ชัยยะ ประสิทธิ ภะวันตุเต


ชัยยะ ชัยยะ ธรณี ธรณี อุทะธิ อุทะธิ นะ ทิ นะ ที ชัยยะ ชัยยะ คะคนละตน ละนิสัยนิรัย สัยเสน นะ เมรุราช ชะพลนระชี


ชัยยะ ชัยยะ คัมภี ระโสมภี นาเคน ทะนาคี ปิศาจจะ ภูตะกาลี ชัยยะ ชัยยะ ทุนนิมิตตะ โรคี ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทา ทา นะมุขะชา


ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ศาตรา ชัยยะ ชัยยะ จัม ปาทินา คะ กุละคัณโถ
ชัยยะ ชัยยะ คัชชะคน นะตุรง สุกะระภุ ชง สีหะ เพียคฑะ ทีปา ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ยาตรา ชิตะ ชิตะ เสน นารี ปุนะสุทธิ น ระดี


ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี ตะเล สะทา สุชัยยา ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี สาน ติน สะทา


ชัยยะ ชัยยะ มังกะ ราชรัญญา ภะวัคเค ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะยักเข
ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุ ชะเตชา ชัยยะ ชัยยะ พรัหมเมณ ทะคะณา


ชัยยะ ชัยยะ ราชา ธิราช สาชชัย ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพ พัง
ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตา ปัจเจ กะพุทธะสา วัง ชัยยะ ชัยยะ มะเห สุโร หะโร หะริน เทวา
ชัยยะ ชัยยะ พรัหมา สุรักโข ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬ หะโก วิรู ปักโข จัน ทิมา ระวิ


อิน โท จะ เวนะ เตยโย จะกุเว โร วะรุโณ ปิ จะ อัคคิ วาโย จะ ปา ชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฏะโก อัฏฐา ระสะ มะหา เทวา สิทธิตา ปะสะอา ทะโย อิสิ โน สา วะกา สัพ พา ชัย ยะ ราโม ภะวัน ตุเต ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะกัง เอเต นะ ชัยยะ เต เชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุเต เอเตนะ พุทธะเต เชนะโหตุ เต ชัยยะมัง คะลัง

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยะตะทา พรัหมะคะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัย ยะตะทา อินทะ คะณา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา เทวะ คะณา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัม โพธิ มันเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา สุปัณณะ คะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มา รัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา นาคะ คะณา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตาชัยยะตะทา สะพรัหมะคะณา มะเหสิโน

ชะ ยันโต โพธิย า มูเล สัก กะยานัง นันทิ วัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมัง คะเล อะปะรา ชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปก ขะเร อะภิเสเก สัพ พะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโม ทะติ สุนักขัตตัง สุมัง คะลัง สุปะภาตัง สุหุฏ ฐิตัง

สุกขะโน สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภัณตัตเถ ปะทักขิเณ

เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสา สะเน อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิญาติภิ สุณันตุ โภนโต เยเทวา อัสมิง ฐาเน อะธิคะตา ฑีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ สัพพะทา รักขันตุ สัพพะสัต ตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง

ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพ พะทา กายาสุขัง จิตติสุขัง อะระหันตุ ยะถาระหัง
(อิติ จุลละชัยยะสิทธิมังคะลัง สมันตังฯ)


(หมาย เหตุ) บทสวดชัยใหญ่ หรือ นะโมเม สวดเป็นภาษาลาว นิยมสวดในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งทางฝั่งลาว และฝั่งไทย เจ้าพระคุณ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จังหวัด เลย นิยมให้สวดเป็นประจำ โดยเฉพาะในงานมงคลพิธี ท่านกล่าวไว้ว่า ถ้ามีศึกสงคราม หรือมีความยุ่งยากเกิดขึ้นในบ้านเมือง หรือแม้แต่ในครอบครัว ถ้าสาธยายบทนี้เป็นประจำ จะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ได้


ผมเห็นพระอาจารย์ โพสต์ไว้เป็น วีดีโอ เผื่อใครอยากจะสวดตามครับ
พอดีหาที่พระอาจารย์โพสต์ไม่ได้ จำได้ว่า บทสวดบรรเทาใจ
84  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพื่อเป็นพรหมใช่หรือป่าวครับ เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 06:08:24 am
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพื่อเป็นพรหมใช่หรือป่าวครับ

เพราะเหมือนจะเป็นสมถะ
ไม่เห็นมีวิปัสสนาเลย

ฝึก มหาสติปัฏฐาน เลยดีกว่ามั๊ยครับ
85  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การแผ่เมตตา ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำอย่างไรครับ เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 06:03:34 am
ผมอ่าน ก็ยัง งง ๆ อยุ่กับเรื่อง การแผ่เมตตา กับคำว่า "ออกบัวบานพรหมวิหาร"
"เมตตาเจโตวิมุตติ"  "การแผ่เมตตา"

หลวงปู่สุก ได้ชื่อเป็นพระเกจิอาจารย์ใหญ่ ในด้านผู้มีเมตตา สมญานามของท่าน คือ "ไก่เถื่อน" ซึ่งเลื่องลือ
มาถึงผม และประทับใจผมอยู่เสมอมา

แต่ผมก็ยังคิดไม่ออกว่า ขั้นตอนการแผ่เมตตา นั้นมีวิธีการแยบยล หรือ ทำได้อย่างง่าย ๆ หรือป่าวครับ
86  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อยากทราบความหมาย เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 05:58:38 am
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อยากทราบความหมายครับว่าทำไม ต้องเรียก พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับครับ ขออธิบายในกระทู้นี้นะครับ ลิงก์แล้วผมอ่านไม่ค่อยเจอครับ
87  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระพุทธรูป เริ่มมีมาในสมัยใด เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 05:56:28 am
แบบว่า ผมอาจจะติดในแนวสวนโมกอยู่บ้างครับ

เพราะผมไปอบรมอยู่ประจำ ที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์

" ไหว้พระพุทธ ระวังสะดุดทองคำ ไหว้พระธรรม ระวังสะดุดใบลาน ไหว้พระสงฆ์ ระวังสะดุดลูกชาวบ้าน"

พระพุทธรูป มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่สมัยใด สร้างมาเพื่ออะไร
ผมนั่งดู วีดีโออยู่ชุดหนึ่ง มีเรื่องและภาพ ของการทำลายพระพุทธรูปด้วย การทำอย่างนี้ถือว่าเป็นการย่ำยีชาวพุทธหรือป่าวครับ
88  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก วัตถุมงคล ในสมัยพระพุทธเจ้า มีจริงหรือป่าว เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 05:52:50 am
การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก วัตถุมงคล ในสมัยพระพุทธเจ้า มีจริงหรือป่าวครับ

หรือมีในยุคไหน ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ
89  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บทกรณียเมตตสูตร นั้นเป็นบทไล่ผี หรือ ไล่เทวดา เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 05:50:51 am
บทสวด กรณี นั้นเป็นบทสวด ที่มีไว้ไล่ผี แต่พอผมอ่านประวัติ กลับเป็นสวดที่ใช้กับรุกขเทวดา ที่มาไล่พระ

หรือผมเข้าใจ อะไรผิด หรือป่าว
90  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / กรรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เหมาะกับจริตอะไรครับ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:30:14 am
 :) เรียนถามพระคุณเจ้าที่นับถือ
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นเป็นกรรมฐาน เหมาะกับจริต อะไรครับ
คือผมได้ศีกษามาว่า การปฏิบัติกรรมฐาน ควรปฏิบัติ ให้เหมาะกับจริตครับ ถูกกับจริต เพื่อจะได้ปฏิบัตได้ก้าวหน้าได้
91  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สังโยชน์ 10 ประการ ดัชนีวัดผลความสำเร็จในการภาวนา เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:15:49 am
ต้องขออภัยคุณกัลยา ที่นำข้อความจากวิปัสสนาที่คุณโพสต์ไว้เป็นไฟล์แนบ ผมเห็นผู้ดาวน์โหลด 3 คนเนื่องจากถ้าไม่เป็นสมาชิกจะไม่เห็นไฟล์แนบ ผมลองโหลดแล้วนั่งอ่านดูเห็นว่าผู้เรียบเรียงนั้น เรียบเรียงไ้ว้ดีโดยเฉพาะเรื่องสังโยชน์ 10 และประเภทของพระอริยะ ผมจึงขออนุญาต นำมาโพสต์ให้เพื่อนสมาชิกที่ไม่ได้สมัครได้อ่านข้อความดี ๆ อย่างนี้บ้างนะครับ

-------------------------------------------------------------------------------
สังโยชน์ 10 มีดังนี้
1.สักกายะทิฏฐิ   มีความเห็นว่าเราไม่มี ไม่มีเรา ไม่มีตัวตนของเรา ไม่มีเราเป็นตัวตน เป็นเพียง รูปและนาม เกิดดับ เท่านั้น รู้ได้ด้วยอารมณ์ใจ เป็นบาทฐานแห่ง ปัญญาที่จะเข้าถึง พระไตรลักษณ์

2.วิจิกิจฉา สิ้นความสงสัย ในการปฏิบัติ และ พระรัตนตรัย ในเรื่องการเวียนว่าย ตายเกิด นั้นต้องไม่สงสัย นิพพาน ต้องไม่สงสัย พูดง่าย ๆ ความสงสัย ในธรรมะ ไม่มี เมื่อความสงสัยในธรรมะ ไม่มี ความสงสัย ในพระพุทธเจ้า และ พระสงฆ์ จึงไม่มี เมื่อไม่มีความสงสัย ในพระรัตนตรัย จึงมีความเคารพอย่างสูง และ ระมัดระวัง เอาใจใส่ ใคร่ครวญ ต่อพระรัตนตรัย อย่างมาก ถึงตอนนี้ จะมีการแสดงออกมา ด้วยกาย ด้วยวาจา จากใจไม่มีอ้ำอึ้งกับพระรัตนตรัย จะไม่อาย ที่จะแสดงออก ต่อพระรัตนตรัย ทั้งต่อหน้า และ ลับหลัง แม้ต่อหน้าตนเอง และผู้อื่น ข้อนี้ สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ผ่านด่านนี้ไปได้ก็ไม่ต้องพูด หรือ ภาวนาที่เหลือ เลย

3.สีลัพพะตะปะรามาส ไม่สำคัญผิด จากความเห็นเนื่องจากการปฏิบัติผิด จากธรรมเนียม ความหลงผิดจากระเบียบแบบแผน  เพราะฉะนั้นท่านผู้ที่ทำได้ถึงตรงนี้ จึงมั่นคงในศีล  คือตั้งใจรักษาศีลอย่างมั่นคง ไม่ยุยงให้ผู้อื่นผิดศีล และไม่ยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นผิดศีล และไม่ทุกข์ หรือ เดือดร้อนเพราะการมีศีล
4.กามราคะ ไม่ยึดมั่นกำหนัดหรือชอบใจ ในการหลงรูป หลง เสียง หลงกลิ่น หลงรส หลงสัมผัส ไม่พอใจด้วยอารมณ์ ถึงตรงนี้แล้ว กายคตาสติ จะเกิดขึ้นอย่างสูง อีกนัยหนึ่ง สังขารุเบกขาญาณ จะเกิดขึ้นมาก ๆ จากจุดนี้

5.ปฎิฆะ ไม่ขุ่นเคือง โกรธพยาบาท  ต่อผู้ใด เพราะเหตุแห่งกิเลส คือโทสะ ตรงนี้อารมณ์ ที่เห็นจะเหมือนพรหม มาก ๆ เพราะมีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เกิดขึ้นอย่างชัดเจน มาก ๆ อารมณ์ จะดับ ด้วยวิปัสสนาญาณ เพราะมองเห็นความเป็นจริงจาก กายคตาสติ และ มรณัสสติ จะสูงขึ้น

6.รูปราคะ ละความหลงใหลในรูป ในมโนจิต ที่ล้ำลึก ในที่นี้ หมายถึง รูปฌาน สำหรับพระอภิญญา ถ้าเป็นแบบพระสุกขวิปัสสโก แล้ว แทบไม่ต้องทำเลยเพราะจะหมด ตั้งแต่ ข้อที่ 4 กามราคะ

7.อรูปราคะ ละความหลงใหล ในอรูป ในมโนจิต ที่ล้ำลึก ในที่นี้ หมายถึง อรูปฌาน สำหรับพระอภิญญา ถ้าเป็นแบบพระสุกขวิปัสสโก แล้ว แทบไม่ต้องทำเลยเพราะจะหมด ตั้งแต่ ข้อที่ 5  ปฎิฆะ แต่สำหรับสายอภิญญานั้น อารมณ์ ฌานที่ 8 นั้นทิ้งกาย ซึ่งไปทำลาย อายตนะสัมผัส หมด คงเหลือแต่ มโนอายตนะจึงทำให้ จิต เป็นนามเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติอย่างนี้ ยังผิด เพราะการปฏิบัติธรรม นั้นมีไว้ในปัจจุบัน ใช้ในปัจจุบัน จึงต้องพาไปทั้ง 2 อย่าง คือ รูปและนาม หรือ ที่เราเรียกว่า ขันธ์ 5

8.มานะ ละความหลงผิด ที่ว่าเรา เสมอเขา เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา  เพราะถ้าเป็นสุกขวิปัสสโก มาตั้งแต่ต้น ก็ต้องเข้มข้น ในเรื่อง กายคตาสติ  ส่วน สายอภิญญา นั้นจะรู้แจ้งได้เอง หลังจาก ละ รูปฌาน และอรูปฌาน

9.อุทธัจจะ ละความฟุ้งซ่าน ที่หลงเพ้อพก ขันธ์ 5 และ หลง ในรูป นาม ความหลงตน  สำหรับพระอนาคามีนั้นข้อนี้จะหมายถึงความฟุ้งไปอารมณ์ที่ติดจิต ซึ่งเป็นสถานที่หรือความพะวง พระอรหันต์หลายท่านกล่าวว่าเป็นอารมณ์ที่เกาะสุทธาวาส

10.อวิชชา มาถึงตรงนี้ แล้ว มันน้อยมาก เพราะ กิเลสมันบางลงมาตั้งแต่ ข้อแรก มาถึงตรงนี้เป็นวิชชาเอง เป็นบทสรุป ของสังโยชน์ โดยไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะว่า ข้อนี้ ก็คือการละ ทั้ง 9 ข้อ นั้นเอง ซึ่งท้ายที่สุด พระอรหันต์ ทั้ง 2 แบบ จะได้อาสวักขยญาณ โดย อัตตโนมัติ ทันที ไม่ต้องรออนุมัติจากใคร ๆ หลังจากตรงนี้ เพื่อให้ได้ทบทวน อาสวักขยญาน ตั้งแต่ ผู้ที่ละสังโยชน์ ได้ตั้งแต่ 5 ข้อมา จะสามารถ
เข้านิโรธสมาบัติได้ เฉพาะพระอภิญญา เท่านั้น
( หลวงพ่อได้แนะนำเพิ่มว่า ผู้ที่ได้ละอวิชชา จะเป็นผู้ยินดีใน อริยทรัพย์ และมองเห็นโทษ ของ โลกียะทรัพย์ และไม่ยึดติดใน โลกียะทรัพย์ )

การละ สังโยชน์เป็นที่ระบุระดับชั้นของพระอริยะ
ผู้ที่กำลังละสังโยชน์ ตั้งแต่ข้อที่ 1 – 3
ชื่อว่าผู้ได้ โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระโสดาบันอย่างต่อเนื่อง  )

ผู้ที่ละสังโยชน์ ได้ตั้งแต่ข้อที่ 1 – 3
ชื่อว่าผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตรงนี้ชื่อว่าพระโสดาบัน ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระโสดาบันอย่างถาวร )
พระโสดาบัน เป็นผู้มีอารมณ์ตั้งมั่นในการปฏิบัติธรรม เป็นผู้ปฏิบัติดี ไม่มีการประพฤติ ผิดในธรรม
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “สุปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  ผู้ประพฤติดีพร้อม ด้วยกาย วาจา และ ใจ”
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระโสดาบัน มี 2
1.มรรค 2.ผล ( 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน  3 ข้อท้ายไม่ชัดเจน )
พระโสดาบันมี 3 ประเภท
1.เอกพีชี เกิดชาติเดียวเป็นพระอรหันต์
2.โกลังโกละ เกิดอีก 2-3 ชาติ เป็นพระอรหันต์
3.สัตตักขัตตุงปรมะ เกิดอีก 7 ชาติเป็นพระอรหันต์

ผู้ที่เป็นพระโสดาบันแล้ว กำลังเริ่มละ สังโยชน์ข้อที่ 4 – 5 แบบเบาบาง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระสกิทาคามิมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระสกิทาคามีอย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระโสดาบันแล้ว ละสังโยชน์ ข้อที่ 4 – 5 ได้อย่างเบาบางแล้ว
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระสกิทาคามิผล หรือ พระสกิทาคามี ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระสกิทาคามีอย่างถาวร )
พระสกิทาคามี นั้นจะมีอารมณ์ เพียรเผากิเลสอย่างแรงกล้า พยายามที่จะละออกจากกามคุณ และ พยายามละอารมณ์พยาปาทะ อันขุ่นเคือง ในใจ ไม่ให้กำเริบ
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระสกิทาคามี มี 5
1.มรรค 2.ผล 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน จิตเหนี่ยวนิพพานเป็นอารมณ์
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “อุชุปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ผู้ประพฤติตรงต่อ พระนิพพาน”
พระสกิทาคามี มี 5 ประเภท
1.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ และนิพพานในโลกนี้ ชาติปัจจุบัน
2.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ นิพพานในเทวะโลก
3.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในเทวะโลก และนิพพานในเทวะโลก
4.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในเทวะโลก หมดอายุในเทวะโลก มาเกิดอีกครั้งในโลก จึงนิพพาน
5.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ จุติในเทวะโลก แล้วหมดอายุในเทวะโลก มาเกิดอีกครั้งในโลก จึงนิพพาน

ผู้ที่เป็นพระสกิทาคามี แล้ว กำลังละ สังโยชน์ข้อที่ 4 – 5 อย่างสิ้นเชิง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอนาคามิมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระอนาคามีอย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระสกิทาคามี แล้วละสังโยชน์ ข้อที่ 4- 5 ได้สิ้นเชิง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอนาคามิผล หรือ พระอนาคามี ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระอนาคามีอย่างถาวร )
พระอนาคามี เป็นผู้มีอารมณ์ ละ กามราคะ และ ปฏิฆะ ได้อย่างสิ้นเชิง แต่ยังมีอารมณ์  ติดอยู่ในสุทธาวาส 5
 คือ ชอบทำบุญ เลยติดบุญ รูปราคะและอรูปราคะ ชอบแจกธรรมสอนธรรม เลยติดมานะ ชอบค้นคว้าศึกษาเรื่องธรรม เลยติดอุทธัจจะ บ้างเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีนิพพานแน่นอน อย่างน้อยอีก 1 ชาติ
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระอนาคามี มี 5
1.มรรค 2.ผล 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน ทบทวนกลับไป กลับมาอย่างยิ่งยวด เริ่มเหือด
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “ญายะปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ ผู้รู้ดีแล้ว”
พระอนาคามี มี 5 ประเภท
1.อันตราปรินิพพายี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุไม่ถึงกึ่งแห่งภพนั้นก็เข้า นิพพาน
2.อุปหัจจปรินิพพายี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุพ้นกึ่งแห่งภพนั้นก็เข้า นิพพาน
3.อสังขารปรินิพพายี  เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุใกล้จะหมด ก็เข้านิพพาน
4.สสังขารปรินิพพายี เข้าถึงนิพพานด้วยความเพียรมาก ๆในชาติปัจจุบัน
5.อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง สิ้นอายุแห่งภพนั้นเลื่อนขึ้นไป สู่ อกนิฏฐภพ  จึงเข้า นิพพาน

ผู้ที่เป็นพระอนาคามี แล้วกำลังละสังโยชน์ ข้อที่ 6 -10
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอรหัตมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระอรหันต์อย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระอนาคามี แล้วละสังโยชน์ข้อที่ 6 – 10
ได้ชื่อว่า พระอรหัตผล หรือ พระอรหันต์ ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระอรหันต์ อย่างถาวร )
สำหรับพระอรหันต์ไม่มีการเกิดอีกต่อไป ซึ่งที่ผมได้แจกแจงลงไว้เพราะ  หลวงพ่อพระเถระหลายท่านให้ช่วยแจกแจงให้เพื่อให้ทราบว่า การเวียนว่ายตายเกิดหลังจากสิ้นชีพแล้วมีจริง ไม่ได้เป็นด้วยอรรถแห่งนิพพานที่อยู่บนโลกด้วยอารมณ์ใจเท่านั้น
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระอรหันต์ มี 1
1.นิพพาน เท่านั้น
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “สามิจิปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ ผู้ปฎิบัติชอบแล้ว ”
___________________________________________________________________

ข้อความจาก วิปัสสนากถา โพสต์โดย คุณ kallaya
92  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ทำไมคฤหัสถ์ มาเรียนพระอภิธรรมกันมาก เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:06:30 am
วันอาทิตย์วันนีก่อนสิ้นปี ผมได้ไปที่วัดมหาธาุตุ และ วัดสามพระยา เพื่อไปสังเกตุการณ์ เรื่องการศึกษาพระอภิธรรม ผมไปเห็นมีแต่ ฆราวาสทั้งชายและหญิง มาเรียนอภิธรรมกันมาก และบางห้องสอนพระสงฆ์อีกด้วยซ้ำ
ซึ่งวัดสามพระยา ด้านบนจะมีพระคุณเจ้าสอนอยู่บ้าง

คำถามครับ
1.ทำไมพระสงฆ์ไม่ค่อยสนใจศึกษาพระอภิธรรม
2.คฤหัสถ์ที่ครองเรื่อน ศึกษาพระอภิธรรม แล้วทำไมชอบทะเลาะกัน
3.มีการใช้วาจาปรามาสพระสงฆ์ที่เรียน โดยการข่มเรื่องความรู้ ( ผมนั่งฟังอยู่ )
93  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ถามความเห็นเรื่องการจดลิขสิทธิ์ สื่อธรรมบรรยาย และหนังสือ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:01:11 am
 ;D ผมเองค่อนข้าง จะหัวโบราณ ผมสงสัยว่าทำไม ธรรมะของพระพุทธองค์ นั้นเป็นธรรมะที่เผยแผ่ แบบไม่มีลิขสิทธิ์ แต่พอนำมาพิมพ์ หรือบรรยาย กับมาลิขสิทธิ์ เช่นผมเห็นพวกคุณหมอออกมาบรรยายธรรม ก็จดลิขสิทธิ์การบรรยายธรรม อะไรกันนี่ น่าจะแจก หรือเก็บค่าแผ่นก็พอ นี่เล่นใส่ราคาถึง 400 บาทขึ้นไป หรือหนังสือบรรยายธรรม อีกมากมาย ทำไมต้องจดลิขสิทธิ์ครับ

คำถามร่วมแสดงความคิดเห็น
1.ทำไมต้องจดลิขสิทธิ์ การเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้า
2.ถ้าไม่จดลิขสิทธิ์ การเผยแผ่หลักธรรมจะดีขึ้นหรือป่าว
94  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วัตถุมงคล เป็นเรื่องของความงมงายหรือไม่ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 12:50:34 am
 ;D ที่จริงผมก็มีพระพุทธห้อยคออยู่ครับ แต่เพราะว่าผมไปเดินที่ท่าพระจันทร์มาครับ ปรากฏว่ามีพระผง พระพุทธ พระทุกแบบ วางแผงกันตามพื้นเลยครับ มีตั้งแต่ราคา 1 บาท ผมเห็นว่าทำอย่างนี้เป็นการปรามาสพระรัตนตรัยหรือป่าวครับ

คำถามครับ
1.ทำไมวัดมหาธาตุ ซึ่งถือว่าเป็นวัดในการสั่งสอนวิชาพุทธศาสนา เป็นแหล่งรวมความรู้ทางธรรม เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ จึงไม่ดำเนินการให้เกิดความไม่งมงายครับ
95  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เกี่ยวกับเรื่องพระบรมสารีริกธาตุ และ อัฏฐิธาตุพระอรหันต์ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 12:43:40 am
เมื่อต้นปีผมได้เดินทางไปกราบนมัสการพระแก้วมรกต และได้ข้ามไปวัดระฆังโฆสิตาราม ที่ท่าช้าง
และก็ไปเดินเล่นแถวท่าพระจันทร์ เพื่อนสมาชิกครับผมเห็น ขวดบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุแบบเดียวกับที่วัดยานนาวาแสดง มีทั้งสีเีขียว สีแดง สีเหลือง สีขาว อรหันตธาตุก็มี ผมเป็นผู้หนึ่งที่ศรัทธา และกราบไหว้ แต่ผมเห็นชาวบ้านเอามาวางกับพื้น และตั่งโต๊ะข้างถนน ขายในราคาขวดตั้งแต่ 200 ขึ้นไป

คำถามผมครับ
1.พระบรมสารีริกธาตุ ที่วางแบกะดิน ขายขวดละ 100 ขึ้นไป มีรูปภาพกำกับด้วย เป็นของจริงหรือป่าวครับ
2.ถ้าเป็นของจริง การกระทำอย่างนี้ ถือว่าเป็นการปรามาส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือป่าวครับ
96  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การไปกราบ สังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดีย เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 12:38:23 am
 ;D ผมเองเป็นผู้หนึ่งที่คร่ำหวอดกับงานของพระสงฆ์ พอสมควร แต่ผมก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมพระสงฆ์ให้ความสำคัญต่อการไปประเทศอินเดียมากๆ เพราะว่าที่ประเทศอินเดียนั้น มีสังเวชนียสถาน หรือว่า เพราะอะไร
แม้พระไตรปิฏก จะกล่าวถึงอานิสงค์ของการไปกราบ สังเวชนียสถานว่ามีอานิสงค์ สวรรค์เป็นที่หวังได้
แต่การทำบุญ รักษาศึลนั้น และการภาวนา ก็ไปได้ทั้งสวรรค์ ทั้งพรหม และ นิพพาน

คำถามของผมก็คือ ( ช่วยวิเคราะห์ )
1.ทำไมเราต้องไปไหว้สังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดียด้วย
97  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สาเหตุที่พระสงฆ์ ในปัจจุบันน้อยลง เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 12:33:46 am
ผมเข้าไปอ่าน สถิติจำนวนพระภิกษุสามเณรทั่วประเทศ
http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=921&Itemid=304

แล้วมานั่งวิเคราะห์ดู ว่าเป็นเพราะเหตุใด พระสงฆ์ถึงมีจำนวนลดลง ลดลง เรื่อยๆ

ผมก็ลองไล่เหตุดู
1.ปัจจุบันเปิดการศึกษาให้กับพระสงฆ์ ๆ สามารถศึกษาวิชาทางโลกได้
2.การสอบปริยัติธรรม และ บาลี ของพระสงฆ์นั้น ยาก และ ไม่เอื้อต่ออาชีพในการทำงาน
3.เทคโนโลยีเข้าถึงพระสงฆ์ได้ง่าย เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ดาวเทียม แม้แต่สื่ออินเตอร์เน็ต เป็นต้น
4.ศรัทธาของชาวพุทธลดน้อยลง ด้วยเรื่องค่าครองชีพ
5.หาพระปฏิบัติ มาสอนในธรรมไม่ได้
6.พระที่ปฏิบัติได้สำเร็จ ไม่ออกมาสอนธรรม
7.ระเบียบของ มหาเถระสมาคม ยุ่งยากมากขึ้น
8.พระสงฆ์ที่ทำงานด้านการเผยแผ่ ไม่ได้รับการสนับสนุน
9.พระสงฆ์ที่ปรากฏในยุคนี้ เน้นแต่เรื่อง ยศถา บรรดาศักดิ์
10.ข่าวเรื่องไม่ดีของพระสงฆ์ ถูกนำ้มา โพทะนามากว่าเรื่องที่เป็นข่าวดี
11.วัฒนธรรมของคนไทยกำลังเปลี่ยน
12.การศึกษาปัจจุบันห่างจากวัดมากขึ้น
13.ผู้บวชส่วนใหญ่เป็น บุคคลที่สังคมทอดทิ้งเช่น คนติดยา คนเกเร ครอบครัวก็ส่งมาบวชเพื่อหวังให้พระศาสนาได้ขัดเกลา แต่ผลร้ายกลับตามมามาก

ผมลองไล่ปัญหาดูแล้ว ก็ยากจะให้ช่วยกันหาวิธีแก้หน่อย
ทางศูนย์กรรมฐาน น่าจะจัดให้มีการอุปสมบถหมู่ขึ้นนะครับสัก 100 รูป
จะได้มีพระที่ผ่านการฝึกอบรม ด้านการภาวนา เวลาลาสิกขาบถมาจะได้มาช่วยพัฒนาประเทศ


หรือเพื่อนสมาชิก มีความคิดเห็นอย่างไร ช่วยแสดงหน่อยนะครับ
ผมติดตามอ่านเนื้อหาในเว็บนี้มาเป็นเวลา หลายอาทิตย์แล้ว ดูแล้วทุกคน ทุกท่านมีความตั้งใจมั่นเพื่อจะจรรโลงพระกรรมฐาน ผมจึงอยากจะสนับสนุนครับ
98  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระสงฆ์ที่ปฏิบัติสำเร็จ ฌาน และ วิปัสสนา ยังมีอยู่หรือป่าว เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 12:18:11 am
พระสงฆ์ที่ปฏิบัติ จนบรรลุฌาน และ วิปัสสนา ปัจจุบันยังมีอยู่หรือป่าวครับ

เพราะว่า สมัยนี้พระสงฆ์ ไม่ค่อยกล่าวเรื่องนี้กัน เพราะกลัวว่าจะต้องอาบัติขาดจากความเป็นพระ

ผมเองก็อาศัยการสังเกตุ มาหลายสำนักแล้ว ก็ยังไม่พบ

มีแต่ฆราวาส ประกาศว่าเป็นผู้สำเร็จกันมากมาย
หน้า: 1 2 [3]