ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เป็น พระ ควรไหว้ พ่อแม่ หรือ ไม่ ?  (อ่าน 3346 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
เป็น พระ ควรไหว้ พ่อแม่ หรือ ไม่ ?
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2015, 02:24:46 pm »
0
 ask1

เป็น พระ ควรไหว้ พ่อแม่ หรือ ไม่ ?

คำว่า พระอรหันต์ ของลูก มีในพระสูตรหรือ ไม่ หรือ มีความเป็นมาอย่างไร ?

 สมมุติ ว่า มีในพระสูตร แล้วอย่างนี้ พระกราบพ่อแม่ ก็ไม่เป็นไร ใช่หรือไม่ ?

   thk56
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เป็น พระ ควรไหว้ พ่อแม่ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 13, 2015, 04:37:54 pm »
0
ไม่ควร ไหว้ คะ เพราะ พระมีศีล เคยได้ยินพระสูตร กล่าวถึงผู้มีศึล ไม่พึงไหว้ บุคคลใด ๆ ไม่ นอกจากผู้มีศีล เสมอกัน คะ แต่ไมู่รู้พระสูตร ไหน คะ
  :58:
บันทึกการเข้า

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เป็น พระ ควรไหว้ พ่อแม่ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 13, 2015, 07:50:07 pm »
0
เป็นพระ ไหว้ ซี้ซั้ว ไม่ได้ครับ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ในพระสูตร เรื่อง การให้ความเคารพ ลุกรับ ประมาณนี้ มีในพระสูตร แต่ผมก็หาไม่เจอเหมือนกัน

  :49: st12
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ข้อความโดย: kittisak
ask1

เป็น พระ ควรไหว้ พ่อแม่ หรือ ไม่ ?

   thk56



ขอบคุณภาพจากเฟซบุ้ค Suthep Sakolchai‎


 ans1 ans1 ans1 ans1

      บุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก
      [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้
      อันภิกษุไม่ควรไหว้คืออันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ๑
      ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน ๑
      ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่ไม่ใช่ธรรมวาที ๑
      ไม่ควรไหว้มาตุคาม ๑
      ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์ ๑
      ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๑
      ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑
      ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรมานัต ๑
      ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ๑
      ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ๑ บุคคล
      ๑๐ จำพวกนี้แล อันภิกษุไม่ควรไหว้ ฯ


      บุคคลที่ควรไหว้ ๓ จำพวก
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้
      ภิกษุควรไหว้ คือ ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทก่อน ๑
      ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่เป็นธรรมวาที ๑
      ควรไหว้ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ในโลกทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
      บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุควรไหว้ ฯ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  บรรทัดที่ ๒๒๕๘ - ๒๒๗๑.  หน้าที่  ๙๓ - ๙๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=2258&Z=2271&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=260




อธิบายศัพท์

อนุปสัมบัน ผู้ยังมิได้อุปสมบท ได้แก่ คฤหัสถ์และสามเณร (รวมทั้งสิกขมานาและสามเณรี), ผู้มิใช่ภิกษุหรือภิกษุณี

นานาสังวาส มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วม (คืออุโบสถและสังฆกรรมเป็นต้น) ที่ต่างกัน, สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส คือไม่ร่วมอุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน เรียกว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกัน
     เหตุที่ทำให้เป็นนานาสังวาสมี ๒ คือ
     ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสเอง เช่น อยู่ในนิกายหนึ่งไปขอเข้านิกายอื่น หรือแตกจากพวกเพราะเหตุวิวาทาธิกรณ์อย่างหนึ่ง
     อีกอย่างหนึ่งถูกสงฆ์พร้อมกันยกออกจากสังวาส


ธรรมวาที “ผู้มีปกติกล่าวธรรม”, ผู้พูดเป็นธรรม, ผู้พูดตามธรรม, ผู้พูดตรงตามธรรมหรือพูดถูกต้องตามหลัก ไม่พูดผิดธรรม ไม่พูดนอกหลักธรรม

มาตุคาม ผู้หญิง

บัณเฑาะก์ [บันเดาะ] กะเทย, คนไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ได้แก่
           กะเทยโดยกำเนิด ๑
           ชายผู้ถูกตอนที่เรียกว่าขันที ๑
           ชายมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑


ปริวาส การอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่า อยู่กรรม,
       เป็นชื่อวุฏฐานวิธี (ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ) อย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติ ก่อนที่จะประพฤติมานัตอันเป็นขั้นตอนปกติของการออกจากอาบัติต่อไป,
       ระหว่างอยู่ปริวาส ต้องประพฤติวัตรต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิบางอย่าง ลดฐานะของตน และประจานตัวเป็นต้น;
       ปริวาส มี ๓ อย่าง คือ ปฏิจฉันนปริวาส สโมธานปริวาส และ สุทธันตปริวาส;
       มีปริวาสอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักบวชนอกศาสนา จะต้องประพฤติก่อนที่จะบวชในพระธรรมวินัย เรียกว่าติตถิยปริวาส ซึ่งท่านจัดเป็น อปริจฉันนปริวาส


อาบัติ การต้อง, การล่วงละเมิด, โทษที่เกิดแต่การละเมิดสิกขาบท;
       อาบัติ ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต;
       อาบัติ ๗ กองนี้จัดรวมเป็นประเภทได้หลายอย่าง
       โดยมากจัดเป็น ๒ เช่น
           ๑. ครุกาบัติ อาบัติหนัก (ปาราชิกและสังฆาทิเสส)
           ๒. ลหุกาบัติ อาบัติเบา (อาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ);
       คู่ต่อไปนี้ก็เหมือนกัน คือ
           ๑. ทุฏฐลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบ
           ๒. อทุฏฐลลาบัติ อาบัติไม่ชั่วหยาบ;
           ๑. อเทสนาคามินี อาบัติที่ไม่พ้นได้ด้วยการแสดง
           ๒. เทสนาคามินี อาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง คือเปิดเผยความผิดของตน;
       คู่ต่อไปนี้จัดต่างออกไปอีกแบบหนึ่งตรงกันทั้งหมด คือ
           ๑. อเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขไม่ได้ (ปาราชิก)
           ๒. สเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขได้ (อาบัติ ๖ อย่างที่เหลือ);
           ๑. อนวเสส ไม่มีส่วนเหลือ
           ๒. สาวเสส ยังมีส่วนเหลือ;
           ๑. อัปปฏิกัมม์ หรือ อปฏิกรรม ทำคืนไม่ได้ คือแก้ไขไม่ได้
           ๒. สัปปฏิกัมม์ หรือ สปฏิกรรม ยังทำคืนได้ คือแก้ไขได้


มานัต, มานัตต์ ชื่อวุฏฐานวิธี คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติ
       แปลว่า “นับ” หมายถึงการนับราตรี ๖ ราตรี คือ
       ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว เมื่อจะปลดเปลื้องตนจากอาบัติ ตามธรรมเนียมแห่งอาบัติสังฆาทิเสส จะต้องไปหาสงฆ์จตุรวรรค ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบภิกษุแก่กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวคำขอมานัตตามอาบัติที่ต้อง
       ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศให้มานัตแล้ว
       ภิกษุรูปนั้นประพฤติมานัต ๖ ราตรี เป็นวุฏฐานวิธีเบื้องต้น แห่งการออกจากครุกาบัติ แล้วสงฆ์จึงสวดระงับอาบัตินั้น
       (แต่ถ้าปกปิดอาบัติไว้ ต้องอยู่ปริวาสก่อนจึงประพฤติมานัตได้)


อัพภาน “การเรียกเข้า” การรับกลับเข้าหมู่,
       เป็นขั้นตอนสุดท้ายแห่งวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสส
       ได้แก่ การที่สงฆ์สวดระงับอาบัติ รับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส และได้ทำโทษตนเองตามวิธีที่กำหนดเสร็จแล้ว ให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์
       วิธีปฏิบัติ คือ ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้ปิดไว้ พึงประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรีแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค สงฆ์สวดอัพภานแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติ,
       แต่ถ้าภิกษุผู้ต้องปกปิดอาบัติไว้ล่วงวันเท่าใด ต้องประพฤติวัตรเรียกว่า อยู่ปริวาส ชดใช้ครบจำนวนวันเท่านั้นก่อน จึงประพฤติมานัตเพิ่มอีก ๖ ราตรี แล้วจึงขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค เมื่อสงฆ์อัพภานแล้ว อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้อง ชื่อว่า เป็นอันระงับ


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



ans1 ans1 ans1 ans1


ภิกษุจะไม่ไหว้พ่อแม่ เพราะพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวินัยเอาไว้ว่า

     ภิกษุไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน
     อนุปสัมบัน คือ ผู้ยังมิได้อุปสมบท ได้แก่ คฤหัสถ์และสามเณร(รวมทั้งสิกขมานาและสามเณรี), ผู้มิใช่ภิกษุหรือภิกษุณี

     ภิกษุไม่ควรไหว้มาตุคาม
     มาตุคาม คือ ผู้หญิง


      :25: :25: :25: :25:
     

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อย่าได้กล่าวตู่ว่า "พ่อแม่เป็นอรหันต์ของลูก"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2015, 10:42:29 am »
0
อ้างถึง
ข้อความโดย: kittisak

ask1

คำว่า พระอรหันต์ ของลูก มีในพระสูตรหรือ ไม่ หรือ มีความเป็นมาอย่างไร ?

 สมมุติ ว่า มีในพระสูตร แล้วอย่างนี้ พระกราบพ่อแม่ ก็ไม่เป็นไร ใช่หรือไม่ ?

   thk56


ขอบคุณภาพจากเฟซบุ้ค อรหโต ภิกขุ


สพรหมสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

     [๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
     มารดาและบิดา เป็นผู้อันบุตรทั้งหลายของตระกูลเหล่าใดบูชาแล้วภายในเรือน
     ตระกูลเหล่านั้น ชื่อว่ามี พรหม

     มารดาและบิดา เป็นผู้อันบุตรทั้งหลายของตระกูลเหล่าใดบูชาแล้วภายในเรือน
     ตระกูลเหล่านั้นชื่อว่ามี บุรพาจารย์

     มารดาและบิดา เป็นผู้อันบุตรทั้งหลายของตระกูลเหล่าใดบูชาแล้วภายในเรือน
     ตระกูลเหล่านั้นชื่อว่ามี บุรพเทพ

     มารดาและบิดา เป็นผู้อันบุตรทั้งหลายของตระกูลเหล่าใดบูชาแล้วภายในเรือน
     ตระกูลเหล่านั้นชื่อว่ามี อาหุเนยยบุคคล


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย
     คำว่า พรหม บุรพาจารย์ บุรพเทพ อาหุเนยยบุคคล นี้เป็นชื่อของมารดาและบิดา
     ข้อนั้นเพราะเหตุไร.?
     เพราะมารดาและบิดาเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ประคบประหงมเลี้ยงดูบุตร เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร ฯ
     มารดาและบิดาผู้อนุเคราะห์แก่บุตร ท่านเรียกว่า พรหม บุรพาจารย์ และอาหุเนยยบุคคลของบุตรทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ

     บุตรผู้เป็นบัณฑิตพึงนอบน้อม พึงสักการะท่านด้วยข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ที่นอน ที่นั่ง อบกาย ให้อาบน้ำและชำระเท้า เพราะเหตุที่บุตรผู้เป็นบัณฑิตได้บำรุงบำเรอในมารดาและบิดา
     บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขา ครั้นเขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกสวรรค์


     จบสูตรที่ ๓


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  บรรทัดที่ ๑๘๗๙ - ๑๘๙๗.  หน้าที่  ๘๐ - ๘๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1879&Z=1897&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=63




พรหมสูตร เทวทูตวรรคที่ ๔
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

      [๔๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตนสกุลนั้นมีพรหม สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร ฯ
 
       มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์บุตร ท่านเรียกว่า พรหม ว่าบุรพาจารย์ และว่าอาหุไนยบุคคล
       เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงนมัสการและสักการะ มารดาบิดา ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้าทั้งสอง เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดา นั้นแล
       บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๓๔๖๘ - ๓๔๘๑.  หน้าที่  ๑๕๐.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3468&Z=3481&pagebreak=0




อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เทวทูตวรรคที่ ๔
๑. พรหมสูตร

      เทวทูตวรรควรรณนาที่ ๔               
      อรรถกถาพรหมสูตรที่ ๑
             
      พึงทราบวินิจฉัยในพรหมสูตรที่ ๑ แห่งเทวทูตวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
      บทว่า อชฺฌาคาเร ได้แก่ ในเรือนของตน.
      บทว่า ปูชิตา โหนฺติ ความว่า มารดาบิดาเป็นผู้อันบุตรปฏิบัติบำรุง ด้วยสิ่งของที่อยู่ในเรือน
      พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศตระกูลที่บูชามารดาบิดา ว่าเป็นตระกูลมีพรหม (ประจำบ้าน) โดยมีมารดาบิดา (เป็นพรหม) อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงข้อที่มารดาบิดาเหล่านั้น เป็นบุรพาจารย์เป็นต้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า สปุพฺพาจริยกานิ (มีบุรพาจารย์) ดังนี้.


       :25: :25: :25: :25:

      บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อให้สำเร็จความเป็นพรหมเป็นต้นแก่ตระกูลเหล่านั้น.
      บทว่า พหุการา ได้แก่ มีอุปการะมากแก่บุตรทั้งหลาย.
      บทว่า อาปาทกา ได้แก่ ถนอมชีวิตไว้. อธิบายว่า มารดาบิดาถนอมชีวิตบุตร คือเลี้ยงดู ประคบประหงม ได้แก่ให้เป็นไปโดยต่อเนื่องกัน.
      บทว่า โปสกา ความว่า เลี้ยงดูให้มือเท้าเติบโต ให้ดื่มเลือดในอก.
      บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร ความว่า เพราะชื่อว่าการที่บุตรทั้งหลายได้เห็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ในโลกนี้เกิดมีขึ้น เพราะได้อาศัยมารดาบิดา เพราะฉะนั้น มารดาบิดาจึงชื่อว่าเป็นผู้แสดงโลกนี้.


       st12 st12 st12 st12

      คำว่า พรหม ในบทคาถาว่า พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร นี้เป็นชื่อของท่านผู้ประเสริฐ.
      พระพรหมจะไม่ละภาวนา ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาฉันใด มารดาบิดาทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะไม่ละภาวนา ๔ ในบุตรทั้งหลาย

      ภาวนา ๔ เหล่านั้น พึงทราบตามระยะกาลดังต่อไปนี้.
      อธิบายว่า ในเวลาที่บุตรยังอยู่ในท้อง มารดาบิดาจะเกิดเมตตาจิตอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจะได้เห็นบุตรน้อยปลอดภัย มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบบริบูรณ์.
      แต่เมื่อใดบุตรน้อยนั้นยังเยาว์ นอนแบเบาะ มีเลือดไรไต่ตอมหรือนอนกระสับกระส่าย ส่งเสียงร้องจ้า. เมื่อนั้น มารดาบิดาครั้นได้ยินเสียงบุตรนั้นจะเกิดความกรุณา.

      แต่ในเวลาที่บุตรวิ่งเล่นไปมา หรือในเวลาที่บุตรตั้งอยู่ในวัยหนุ่มวัยสาว มารดาบิดามองดูแล้วจะมีจิตอ่อนไหว บันเทิง เริงใจ เหมือนกับสำลีและปุยนุ่นที่เขายีตั้ง ๑๐๐ ครั้ง หย่อนลงในฟองเนยใส. เมื่อนั้น มารดาบิดาจะมีมุทิตา (จิต).
      แต่เมื่อใด บุตรเริ่มมีครอบครัวแยกเรือนออกไป เมื่อนั้น มารดาบิดาจะเกิดความวางใจว่า บัดนี้ บุตรของเราจะสามารถจะเป็นอยู่ได้ตามลำพัง เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เวลานั้น มารดาบิดาจะมีอุเบกขา.
      ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ดังนี้.


       st11 st11 st11 st11

      บทว่า ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร ความว่า แท้จริง มารดาบิดาทั้งหลาย จำเดิมแต่บุตรเกิดแล้ว ย่อมให้บุตรเรียน ให้บุตรสำเหนียกว่า จงนั่งอย่างนี้ จงยืนอย่างนี้ จงเดินอย่างนี้ จงนอนอย่างนี้ จงเคี้ยวอย่างนี้ จงกินอย่างนี้ คนนี้บุตรควรเรียกพ่อ คนนี้ควรเรียกพี่ คนนี้ควรเรียกน้อง บุตรควรทำสิ่งนี้ ไม่ควรทำสิ่งนี้ ควรเข้าไปหาคนชื่อโน้น คนชื่อโน้นไม่ควรเข้าไปหา.
     ในเวลาต่อมา อาจารย์เหล่าอื่นจึงให้ศึกษาศิลปะเรื่องช้าง ศิลปะเรื่องม้า ศิลปะเรื่องรถ ศิลปะเรื่องธนูและการนับด้วยนิ้วมือเป็นต้น.
     อาจารย์เหล่าอื่นให้สรณะ อาจารย์อื่นให้ตั้งใจอยู่ในศีล อาจารย์อื่นให้บรรพชา อาจารย์อื่นให้เรียนพุทธพจน์ อาจารย์อื่นให้อุปสมบท อาจารย์อื่นให้บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.
     ดังนั้น อาจารย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด จึงชื่อว่าเป็นปัจฉาจารย์.
     ส่วนมารดาบิดาเป็นอาจารย์ก่อนกว่าทุกอาจารย์ (บุรพาจารย์) ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร ดังนี้.


      :25: :25: :25: :25:

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุจฺจเร แปลว่า เรียก คือกล่าว.
     บทว่า อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ความว่า ย่อมควรได้รับข้าวน้ำเป็นต้นที่บุตรจัดมาเพื่อบูชา เพื่อต้อนรับ คือเป็นผู้เหมาะสมเพื่อจะรับข้าวและน้ำเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อาหุ เนยฺยา จ ปุตฺตานํ ดังนี้.
     บทว่า ปชาย อนุกมฺปกา ความว่า มารดาบิดาย่อมฟูมฟักรักษาบุตรของตน แม้โดยการฆ่าชีวิตของสัตว์เหล่าอื่น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปชาย อนุกมฺปกา ดังนี้.

     บทว่า นมสฺเสยฺย แปลว่า ทำความนอบน้อม.
     บทว่า สกฺกเรยฺย ความว่า พึงนับถือโดยสักการะ.
     บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงสักการะนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อนฺเนน ดังนี้.
     บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเนน ได้แก่ ข้าวยาคู ภัตรและของควรเคี้ยว.


      st12 st12 st12 st12

     บทว่า ปาเนน ได้แก่ ปานะ ๘ อย่าง.
     บทว่า วตฺเถน ได้แก่ ผ้าสำหรับนุ่ง และผ้าสำหรับห่ม.
     บทว่า สยเนน ได้แก่ เครื่องรองรับ คือเตียงและตั่ง.
     บทว่า อุจฺฉาทเนน ได้แก่ เครื่องลูบไล้ สำหรับกำจัดกลิ่นเหม็น ทำให้มีกลิ่นหอม.
     บทว่า นหาปเนน ความว่า ด้วยการให้อาบรดตัวด้วยน้ำอุ่นในหน้าหนาว ด้วยน้ำเย็นในหน้าร้อน.
     บทว่า ปาทานํ โธวเนน ความว่า ด้วยการให้ล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นและน้ำเย็น และด้วยการทาด้วยน้ำมัน.
     บทว่า เปจฺจ คือ ไปสู่ปรโลก.

     บทว่า สคฺเค ปโมทติ ความว่า ก่อนอื่นในโลกนี้ มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตเห็นการปรนนิบัติในมารดาบิดา (ของเขา) แล้ว ก็สรรเสริญเขาในโลกนี้แหละ เพราะมีการปรนนิบัติเป็นเหตุ. ก็บุคคลผู้บำรุงมารดาบิดานั้น ไปสู่ปรโลกแล้วสถิตอยู่ในสวรรค์ ย่อมร่าเริงบันเทิงใจด้วยทิพย์สมบัติดังนี้.


          จบอรรถกถาพรหมสูตรที่ ๑         
     
           
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เทวทูตวรรคที่ ๔ ๑. พรหมสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=470



ans1 ans1 ans1 ans1

พรหม บุรพาจารย์ บุรพเทพ และ อาหุเนยยบุคคล เป็นชื่อของมารดาและบิดา
ในพระสูตรกล่าวไว้แค่นี้ขอรับ ไม่มีคำว่าอรหันต์


 :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 14, 2015, 10:47:17 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: เป็น พระ ควรไหว้ พ่อแม่ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2015, 01:46:38 pm »
0
 st11 st12 st12 thk56 thk56
ชื่นชมกับ บัณฑิตห้องนี้ หาคำตอบให้ได้เร็ว มาก ครับ

  like1 like1 like1
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา