ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เป็นพระอินทร์ 36 กัลป์_มหาจักรพรรดิ 26 กัลป์ ต้องสวด"อาการวัตตาสูตร"  (อ่าน 10156 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
ภาพจาก http://www.dhammajak.net

หลวงพ่อใหญ่(หลวงปู่สังวาลย์)เล่าให้ฟัง

วันพระแรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
บทอาการวัตตาสูตรนี่นะ เทวดาจะหมดอายุแล้วจะต้องจุติ เสียใจก็เที่ยวถามหมู่เทพเทวดาทั้งหลาย
เทวดาผู้ใหญ่บอกให้เอาอาการวัตตาสูตรมาสวด สามารถอายุยืนได้
เราอยากจะช่วยรักษาบทสวดนี้เอาไว้ ไม่ให้สูญหาย พิมพ์ตัวโตๆนะ จะได้สวดกัน


ก่อนนี้เราอยู่ในป่าช้า แรมค่ำหนึ่งหรือสองค่ำ เดือนยังไม่ทันพ้นยอดไม้ เรากำลังนั่งสมาธิอยู่
ฝันว่ามีคนมาสวดอาการวัตตาสูตรให้กับเรา บอกจะป้องกันไว้ให้ ป่าช้าก็สะท้านหวั่นไหว
เหมือนพายุพัดอึกทึกเหมือนวัวควายมันกำลังวิ่งมา หมาที่อยู่ที่นั่นมันก็เห่าแบบกลัวเลยนะ


แต่เราก็ไม่หวั่นไหวเลย นั่งเฉย พอรุ่งเช้าเราไปดูก็เห็นกิ่งยางกับต้นไม้ในป่าช้าหักจริงๆ พออีก 2 วัน
ก็ฝันว่าให้เราท่องมนต์บทนี้ ทั้งๆ ที่เราสวดไม่ได้


พอรุ่งขึ้นในบิณฑบาตก็มีคนมาใส่บาตรเอาบทสวดนี้มาให้กับเรา เราก็เลยสวด สวดจนขึ้นใจ แบบท่องปาติโมกข์ พอได้กรรมฐาน เลยไม่ได้สวดเลยท่องบทนี้ไปที่ไหนไม่อดอยากนะ ใครท่องแล้วไปไหนจะไม่อดอยาก จะไม่ตายโหง หมาบ้าควายบ้าจะไม่ทำลายได้มีอานุภาพดี

พิมพ์ตัวโตๆ นะ พิมพ์สีอะไร แบบไหนก็ดีทั้งนั้น สำหรับเราไม่มีอะไรไม่ดี ทุกอย่างดีหมด


ที่มา http://sites.google.com/site/sanghathan/vattasutr
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2011, 11:57:44 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
ภาพจากhttp://www.rmutphysics.com/

พระอาการวัตตาสูตร

เป็นสูตรโบราณนับถือกันมาว่าศักดิ์สิทธิ์มาก แต่ไม่ปรากฏมีอยู่ในพระไตรปิฎกเลย เนื้อเรื่องก็เป็นทำนองพระพุทธภาษิต ตรัสแสดงแก่พระสารีบุตร ณ ภูเขาคิชฌกูฎ แขวงเมืองราชคฤห์ พระเถรเจ้าได้เล็งญาณเห็นส่ำสัตว์ผู้หนาด้วยกิเลส ได้ประกอบอกุศลกรรมต้องไปอบาย จึงมีความปริวิตก กรุณาในส่ำสัตว์ทั้งหลายยิ่งนัก เห็นอยู่แต่พระบารมี ๓๐ ทัศ ซึ่งพระบรมศาสดาบำเพ็ญมาเท่านั้นจะช่วยป้องกันสัตว์เหล่านั้นได้

จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พรรณนาความปริวิตกของท่านให้ทรงทราบ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรง แสดงพระอาการวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๑๗ วรรค คือ

อรหาทิคุณ ๑ อภินิหารวรรค ๑ คัพภวุฏฐานวรรค ๑ อภิสัมโพธิวรรค ๑
มหาปัญญาวรรค ๑ ปารมิวรรค ๑ ทสปารมิวรรค ๑ วิชชาวรรค ๑
ปริญญาณวรรค ๑ โพธิปักขิยวรรค ๑ ทสพลญาณวรรค ๑ กายพลวรรค ๑
ถามพลวรรค ๑ จริยาวรรค ๑ ลักขณวรรค ๑ คตัฏฐานวรรค ๑ ปเวณีวรรค ๑ รวม ๑๗ วรรค


มีข้อความพิสดาร แต่ล้วนเป็นคำสรรเสริญพระพุทธคุณว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบริบูรณ์ด้วยพระคุณอย่างนี้ ๆ


เช่น ในอรหาทิคุณวรรค มีข้อความดังนี้

“อิติปิ โส ภควา อรหํ อิติปิ โส ภควา สมฺมาสมฺพุทฺโธ อิติปิ โส ภควา

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน อิติปิ โส ภควา สุคโต อิติปิ โส ภควา โลกวิทู อิติปิ โส ภควา อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ

อิติปิ โส ภควา สตถา เทวมนุสฺสานํ อิติปิ โส ภควา พุทฺโธ อิติปิ โส ภควา ภควาติ”


ในอภิสัมโพธิวรรค มีข้อความดังนี้

“อิติปิ โส ภควา อภิสมฺโพธิปารมิสมฺปนฺโน สิลขนฺธปารมิสมฺปนฺโน สมาธิขนฺธปารมิสมฺปนฺโน

ปญฺญขนฺธปารมิสมฺปนฺโน ทฺวตฺตึสมหาปุริส ลกฺขณปารมิสมฺปนฺโน อภิสมฺโพธิวคฺโค จตุตฺโถ”


พระบรมศาสดา ได้ตรัสพรรณนาคุณานิสงส์ของพระสูตรนี้ว่า “ดูก่อนสารีบุตร ครั้งเมื่ออาการวัตตาสูตรนี้ ชนทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้กล่าวอยู่เป็นอัตราแล้ว บาปกรรมทั้งหมด ก็จะไม่ได้ช่องที่จะหยั่งลงไปในสันดาน แม้ถึงผู้นั้นกล่าวอยู่สักครั้งหนึ่งก็ดี ได้บอกกล่าวก็ดี หรือได้เขียนเองก็ดี และได้ให้ผู้อื่นเขียนก็ดี หรือได้ทรงจำไว้ได้ก็ดี หรือได้กระทำสักการบูชานับถือก็ดี หรือได้ระลึกเนือง ๆ โดยเคารพพร้อมด้วยไตรประณามก็ดี

จะปรารถนาสิ่งใด ๆ ก็จะสำเร็จแก่บุคคลผู้นั้น ตามประสงค์พร้อมทุกสิ่งสรรพ์ ฯลฯ ก็ถ้าหากว่าบุคคลผู้ใดมีศรัทธาจะระลึกตามอาการวัตตาสูตรนี้เนือง ๆ บุคคลผู้นั้นเมื่อละเสียซึ่งอัตภาพร่างกายในปัจจุบันชาตินี้แล้ว จะปฏิสนธิในภพเบื้องหน้าในภพใดภพหนึ่ง ก็จักไม่เกิดในเดรัจฉาน ในเปตวิสัย จักไม่เกิดในชีพนรก ในอุสุทะนรก ในสังฆาฏะนรก ในโรรุวะนรก ในมหาโรรุวะนรก ในดาบนรก ในมหาดาบนรก ในอเวจีนรก ฯลฯ

และไม่ไปเกิดเป็นอสุรกาย กำหนดนับถึง ๙๐ แสนกัปป์เป็นประมาณ ฯลฯ จะได้ไปเกิดในสุคติภพ บริบูรณ์ด้วยสุขารมณ์ต่ำ ๆ มีอินทรีย์ผ่องใสสมบูรณ์ มีปัญญาเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ

จะได้เกิดเป็นพระอินทร์กำหนดถึง ๓๖ กัปป์โดยประมาณ จะได้สมบัติจักรพรรดิราช เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร กำหนดนานถึง ๒๖ กัปป์ ฯลฯ ในปัจจุบันภพ ก็จะเป็นผู้ปราศจากภัยเวรต่าง ๆ ปราศจากโรคาพยาธิเบียดเบียน มีอายุมั่นขวัญยืนอยู่เย็นเป็นสุข ฯลฯ”

เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสประกาศคุณเดชานุภาพ และอานิสงส์ผลของพระสูตรนี้จบลง ธรรมาภิสมัยก็บังเกิดแก่หมู่ชนที่ได้สดับ ประมาณแปดหมื่นโกฏิ ด้วยประการฉะนี้


ที่มา http://www.dharma-gateway.com/ubasok/satien/ubasok-16.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2011, 11:58:22 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด


    อานิสงส์พระอาการวัตตาสูตร(โดยละเอียด)

    เมื่อครั้งพุทธกาล พระสารีบุตร ได้ปริวิตกในจิตว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่รู้จักบารมีแห่งพระพุทธเจ้าได้อย่างไร จึงได้กราบทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีธรรมอันใดเล่าที่จะลึกสุขุม จะห้ามเสียซึ่งหมู่อันธพาลพังกระทำบาปกรรม ทั้งปวงไม่ให้ตกไปในนรกอเวจี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบท พระอาการวัตตาสูตร ว่ามีอานิสงส์ดังนี้

    ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ นิพพานสมบัติ
    ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าปัญญามาก

    เพราะเจริญพระพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้เจริญได้ทุกวันจะเห็นผลความสุขขึ้นเอง ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30 ประการได้ 4 เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดาน



    เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะ ตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้ สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชาเคารพนับถือ พร้อมทั้งไตรทวารก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใสจะกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร อันจะเป็นที่พักผ่อน พึ่งพาอาศัยในวัฏฏสงสาร ดุจเกาะและฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่

    ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี พระตถาคตพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงพระเจริญตามพระสูตรนี้มาทุกๆ พระองค์ จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่นไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึงเป็นธรรมอันระงับไปโดยแท้ในอนาคตกาล


    ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปเป็นวัชร กรรมที่ชักนำให้ปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม คือ สัญชีพนรก อุสุทนรก สังฆาตนรก โรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน กำเนิดไซร้

    ถ้าได้ท่องบ่นทรงจำจนคล่องปากก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์

    ผู้นั้นระลึกตามเนืองๆ ก็จะสำเร็จไตรวิชชาและอภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์ ดุจองค์มเหสักข์เทวราชมีการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป จะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรู หมู่ปัจจามิตร ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี้เป็นทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตาในสัมปรายิกานิสงส์ ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น

    แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้เมื่อสืบขันธประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ หิรัณยรัตนมณีเหลือล้นขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและที่คลังเป็นต้น ประกอบด้วยเครื่องอลังการภูษิตพรรณต่างๆ จะมีกำลังมากแรงขยันต่อยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ
    มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศที่สรรพรูปทั้งปวง


    และจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณและจะได้เป็นบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ 4 มีทวีปน้อย 2000 เป็นบริวารนานถึง 26 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันแล้วไปด้วยทอง ควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน

    ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอานิสงส์คงอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณอวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพพาน



    อนึ่ง ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน กำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุมช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ได้ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุตโตพยัญชนก อันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทยที่เป็นอภัพบุคคล

    บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ ก็จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตาย จะเป็นคนมีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรค-พยาธิเบียดเบียน
    สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกายก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์


    ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ด้วยประสาทจิตผ่องใส เวลามรณสมัยใกล้จะตายไม่หลงสติจะดำรงสติไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งพระสูตรเจือปนด้วยพระวินัยพระปรมัตถ์มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้ ฯ


ที่มา - เว็บ oknation.net
ขอบคุณภาพประกอบจากhttp://download.buddha-thushaveiheard.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
พระคาถาอาการะวัตตาสูตร

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ดี ได้ทรงกระทำตามกันมาทุกๆพระองค์

พระสูตรนี้เป็นพระสูตรอันใหญ่ยิ่งหาสูตรอื่นมาเปรียบมิได้ ด้วยมีทั้ง พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ พระปิฎก

ขอท่านทั้งหลายอย่าได้ทิ้งวางในที่อันไม่สมควรเลย จงทำการสักการะบูชา สวดมนต์ ภาวนา ฟัง ตามสติกำลังด้วยเทอญ


1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)

2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)

3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)

4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)

5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)

7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)

8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)

9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)

10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)

12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)

13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)

14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)

15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)

16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)

17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)

อานิสงส์อาการวัตตาสูตร

......ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานี
ราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่ง
ในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า
“อิเม โข สตฺตา ฉินฺนมูลา อตีตสิกฺขา” สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ที่หนาไปด้วยกิเลสมีอวิชชาหุ้มห่อไว้ มี
สันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากุศลมูลขาดแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว เที่ยง
ที่จะไปสู่อบายทั้ง ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายและสัตดิรัจฉาน เมื่อสัตว์หนาไปด้วยอกุศล จะนำตน

ให้ไปไหม้อยู่ในอบายภูมิตลอดกาลยืดยาวนาน ธรรมเครื่องกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือบารมี
๓๐ ทัศ มีอยู่จะห้ามกันเสียได้ซึ่งจตุราบายทุกข์ทั้งมวล และธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตร
พระวินัย พระปรมัตถ์ล้วนเป็นธรรมที่จะนำให้สัตว์พ้นจากสังสารทุกข์ทั้งนั้น เมื่อปริวิตกเช่นนี้เกิดมีแก่
พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรแล้ว ด้วยความเมตตากรุณาแก่ประชาชนทั้งหลายที่เกิดมาในสุดท้าย
ภายหลังจะได้ปฏิบัติเป็นเครื่องป้องภัยในอบาย พระผู้เป็นเจ้าจึงยกอัญชลีกรถวายอภิวาทพระบรม

โลกนาถเจ้า แล้วทูลถามว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ “เย เกจิ ทุปฺปญฺญา ปถคฺคลา” บุคคลทั้ง
หลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญายังหนาด้วยโมหะหารู้จักพุทธกรณธรรม คือบารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้น
ไม่เพราะเป็นคนอันธพาล กระทำซึ่งกรรมอันเป็นบาปทั้งปวงด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ เข้าครอบ

งำกระทำกรรมตั้งแต่เบาคือ ลหุกรรม จนกระทั่งกรรมหนักคือครุกรรม โดยไม่มีความกระดากอาย
เบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ จากชีวิตอินทรีย์แล้วจะไปเกิดในอเวจีนิรยาบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
เจ้าข้าผู้ประเสริฐ ธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพสามารถปราบปรามห้ามเสียซึ่งสัตว์ทั้งหลาย มิให้ตกไปสู่
นรกใหญ่จะมีอยู่หรือพระพุทธเจ้าข้า


ในลำดับนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงอาการวัตตาสูตร
กำหนดด้วยวรรค ๕ วรรค มีนวราทิคุณวรรค เป็นต้น จนถึงปารมีทัตตะวรรค เป็นคำรบ ๕
คาถาอาการวัตตาสูตรนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าสูตรอื่น ๆ ในการที่ป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้มาตาม
ระลึกอยู่เนืองนิตย์ บาปกรรมทั้งปวงจะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานได้ด้วยอำนาจอาการวัตตาสูตรนี้

และบุคคลผู้ใดได้ฟังก็ดีได้เขียนเองก็ดี หรือได้จ้างท่านผู้อื่นเขียนให้ก็ดีได้ท่องทรงจำไว้ก็ดี ได้กล่าว
สอนผู้อื่นก็ดี ได้สักการบูชาเคารพนับถือก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่เนือง ๆ ก็ดี ก็จะได้พ้นจากภัย ๓๐
ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน
พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของ

นรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่
ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธร
ผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ
อันตรธานพินาศไป ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ

เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะ
เป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุ
ปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอัน

ผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์
๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗
ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ “ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ” แม้แต่สดับฟังท่านอื่น
เทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่คติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์


ที่มา http://www.84000.org/pray/arekanwattasood.shtml


ผมแนบไฟล์หนังสือ บทสวดอาการวัตตาสูตร คำแปล และอานิสงส์ มาให้แล้ว
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ