ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี  (อ่าน 22871 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 10:44:27 am »
0
ต้นงิ้ว วิมานฉิมพลีของนางกากี


โบราณเปรียบหญิงมากชู้หลายผัว ว่าเป็น ‘นางกากี’ ซึ่งมีเค้าเรื่องมาจาก ‘กากาติชาดก’ ว่า พระโพธิสัตว์ครั้งเกิดเป็นพระราชาผู้ครองเมืองพาราณสี มีพระเทวีนามว่า ‘กากาติ’ ซึ่งทรงมีพระสิริโฉมงดงามยิ่ง

วันหนึ่งมีพญาครุฑชื่อว่า ‘ท้าวเวนไตรย’ แปลงร่างเป็นมนุษย์มาเล่นสกา (การพนันชนิดหนึ่ง) กับพระราชา ท้าวเวนไตรยเห็นพระนางกากาติ ก็เกิดความรักใคร่ จึงแอบพาหนีไปอยู่ที่วิมานฉิมพลีซึ่งเป็นที่อยู่ของตน เมื่อพระราชาทราบเรื่องจึงมีรับสั่งให้คนธรรพ์ชื่อ ‘กุเวร’ นำพระเทวีกลับมา

กุเวรได้ไปแอบซุ่มอยู่ในดงตะไคร้ข้างสระ พอพญาครุฑบินไปจากสระก็แอบกระโดดเกาะปีกไปจนถึงวิมานฉิมพลี แล้วแอบได้เสียกับพระเทวีที่วิมานนั้น จากนั้นก็เกาะปีกพญาครุฑกลับมาเมืองพาราณสีอีก วันหนึ่งขณะที่พญาครุฑเล่นสกากับพระราชา คนธรรพ์ก็ขับร้องเป็นเพลงว่า “หญิงรักคนรักของเราอยู่ ณ ที่แห่งใด กลิ่นของนางยังหอมฟุ้งมาที่แห่งนั้น ใจของเรายินดีในนางใด นางนั้นชื่อกากาติ อยู่ไกลจากที่นี้”

พญาครุฑพอได้ฟังแล้วสะดุ้งจึงถามกลับไปว่า “ท่านข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งไปได้อย่างไร แล้วขึ้นวิมานฉิมพลีได้อย่างไร” คำตอบที่ได้รับคือ “เราข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งได้ก็เพราะท่าน ขึ้นวิมานฉิมพลีได้ก็เพราะท่านอีกนั่นแหละ”


เมื่อพญาครุฑได้ทราบความจริงก็กล่าวติเตียนตัวเองว่า มีร่างกายใหญ่โตเสียเปล่า แต่ไม่มีความคิด จึงเป็นพาหนะให้ชายชู้ของเมีย ดังนั้นจึงได้นำพระเทวีกากาติมาคืนพระราชา และไม่กลับมาเล่นสกากับมนุษย์อีกเลย

วิมานฉิมพลีของพญาครุฑ ก็คือ ‘ต้นงิ้ว’ ซึ่งเรียกในภาษาบาลีว่า ‘สิมพลี’ นั่นเอง !!

ต้นงิ้ว เป็นพืชในสกุล Bombax มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bombax ceiba Linn. เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงราว 15-20 เมตร เรือนอยดทรงกลมแผ่กว้าง ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีหนามแหลมคมทั่วทั้งลำต้น ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 5-7 ใบ ใบรูปรี ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา

ดอกมีสีส้มแดง แดงเหลือง หรือขาว มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆ มีดอกราว 3-5 ดอก มีกลิ่นหอมและร่วงง่าย ออกดอกราวเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ส่วนผลมีลักษณะกลมรี เปลือกแข็ง ภายในผลมีเมล็ดกลมสีดำมากมายซึ่งมีปุยสีขาวหุ้มห่ออยู่ เมื่อแก่จัดผลหรือฝักนี้จะแตกออก

ประโยชน์ของงิ้วมีมากมาย อาทิเช่น เนื้อไม้ เป็นไม้เนื้ออ่อน จึงนำมาทำดินสอ ไม้จิ้มฟัน เยื่อกระดาษ, เปลือก ใช้ทำเส้นใย เชือก, น้ำมันจากเมล็ดใช้ปรุงอาหาร ทำสบู่ และปุยสีขาวใช้ยัดหมอนและที่นอนเช่นเดียวกับนุ่น

ส่วนสรรพคุณทางยาพื้นบ้านหรือยาสมุนไพรนั้นก็มีไม่น้อย อาทิ เปลือก ใช้สมานแผลแก้ท้องร่วง กระเพาะอาหารอักเสบ ดอก ใช้แก้ไข้ ท้องร่วง บิด แผลฝีหนอง ห้ามเลือด ฟกช้ำบวม อักเสบ แก้คัน แก้กระหายน้ำ ยางใช้ห้ามเลือด ราก ใช้สมานแผล แก้แผลใน กระเพาะอาหาร บำรุงกำลัง เป็นต้น


ในพระสูตรที่ว่าด้วย ‘เทวทูตสูตร’ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็นถึงมหานรก ที่มีการลงโทษคนที่กระทำความชั่วอย่างน่าสะพรึงกลัว ก็ได้กล่าวถึงต้นงิ้วไว้ในความตอนหนึ่งว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย และนรกเถ้ารึงนั้น มีป่างิ้วใหญ่ประกอบอยู่รอบด้าน ต้นสูงชลูดขึ้นไปโยชน์หนึ่ง มีหนามยาว ๑๖ องคุลี มีไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วง เหล่านายนิรยบาลจะบังคับให้สัตว์นั้นขึ้นๆ ลงๆ ที่ต้นงิ้วนั้น สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบอยู่ที่ต้นงิ้วนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุดฯ”


และใน ‘นารทชาดก’ ได้พูดถึงเรื่องต้นงิ้ว ดังนี้

“...ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยหนามเหล็กคมกริบ กระหายเลือดคน หญิงผู้ประพฤติล่วงสามี และชายผู้หากระทำชู้ภรรยาผู้อื่น ถูกนายนิรยบาลผู้ทำตามสั่งของพระยายม ถือหอกไล่ทิ่มแทงให้ขึ้นต้นงิ้วนั้น...”

รู้จักต้นงิ้วกันอย่างนี้แล้ว ไม่รู้ว่ายังจะมีใครอยากปีนอีกหรือเปล่า ?



โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 ตุลาคม 2548 17:01 น.
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9049
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เพลง เห่ฉิมพลี - พร ภิรมย์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 11:04:17 am »
0


เพลง : เห่ฉิมพลี
คำร้อง/ทำนอง : พร ภิรมย์
ขับร้อง : พร ภิรมย์

น้องนอน นอนหนุนตักพี่นอน
นอน นอน นอน น้องนอนจะกล่อมให้นอน

ฉิมพลีวิมานมาศ สุดสวาทนาฏกากี
เวนไตยให้ยินดี ปรีดาแนบแอบนางชม


สองสุขสองสวาท แสงโสมสาดสองสุขสม
สองสนิทสองชิดชม สองภิรมย์สมฤดี

นกแนบนวลนางนอน กางสองกรโอบกากี
ชื่นชีวันขวัญชีวี แนบฉิมพลีหลับไม่ลง


สะท้านชานไกรลาศ พิศสวาทประหลาดหลง
พระสุเมรุห้อยเอนลง ทอดยอดลงหิมพานต์

นาคีสีทันดร เริงสาครกระฉอกฉาน
กระเทือนถึงบาดาล แผ่พังพานเข้าถ้ำไป


ราหูจับจันทรา สู้ฤทธิ์ราหูไม่ไหว
ราหูอมสมฤทัย ไม่ยอมให้พระจันทร์จร

อัศนีบาตฟาดสายฟ้า ต้องภูผาหน้าสิงขร
ราหูอายคลายจันทร สุดอาวรณ์อาลัยจันทร์


นาคีเริงสาคร อ่อนใจตัวล่วงสุบรรณ
แผลงฤทธิ์พ่นพิษพลัน หนีสุบรรณเข้าฉิมพลี

ยอดเอยเจ้ายอดรัก ผู้มีพักตร์ผ่องโสภี
หลับตาอย่าพาที ฟังเสียงพี่อย่ารำคาญ


ตักพี่นี้แทนหมอน ทิฆัมพรแทนมุ้งม่าน
โภยภัยไม่แผ้วพาน หลับสำราญดังฉิมพลี

น้องนอน นอนหนุนตักพี่นอน
นอน นอน นอน น้องนอนจะกล่อมให้นอน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 15, 2010, 11:14:49 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

pakorn

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
เหตุใด ผู้หญิง รูปงามถึงใจง่าย แท้
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 04:41:44 pm »
0
เ้รื่องนี้ อ่านแล้ว เข้าใจแล้วครับ ว่า วิมานฉิมพลี คือ วิมานต้นงิ้ว นี่เอง

ว่าแต่ นางกากติ นี้ทำไมใจ ง่าย แท้ ไปอยู่กับ ครุฑ ก็ยอมเป็นเมีย

แม้อยู่กับ ครุฑ แล้ว ก็ยัง คบชู้ กับ คนธรรพ์ อีก

ส่วน เจ้าเมือง พาราณสี ที่รับนางกลับมาเป็น เมีย เหมือนเดิม นี้ จัดว่าเป็น ชู้ ด้วยอีกคนหรือป่าว

เพราะว่า เปลี่ยนสิทธิ์ กันไปแล้ว .....

 :25: :25:
บันทึกการเข้า

ปอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 119
  • จิตที่ฝึกดีแ้ล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2010, 12:16:39 pm »
0
อ้างถึง
นางกากาติ นี้ทำไมใจ ง่าย

สงสัยเหมือนกัน ในฐานะลูกผู้หญิง แล้ว ไม่น่าประมาท

อาจจะโดน ครุฑ ใช้กำลัง เพราะกลัวภัย หรือ ป่าว จึงยอมเสียตัว

ส่วน คนธรรพ์ นั้นก็หวังว่า จะได้ช่วยกลับ ก็เลยเอาตัวเข้าแลก อีก

มองตามธรรม แล้ว นางกากาติ อาจจะอยู่ในภาวะจำเป็น ก็ได้

เอาใจช่วยลูกผู้หญิง ก่อน
 :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2010, 12:35:59 pm »
0
ฉิมพลี [ฉิมพะลี] น. ไม้งิ้ว. (ป. สิมฺพลิ; ส. ศาลฺมลิ).

สิมพลี [-พะลี] น. ไม้งิ้ว. (ป.; ส. ศาลฺมลี).


ที่มา  พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒



ผมนำความหมายของคำว่า "ฉิมพลี" ในพจนานุกรม มาให้ดูกัน เผื่อเอาไว้อ้างอิง

ส่วนคำถามที่ว่า นางกากี ทำไม่ใจง่าย

ผมเดาเล่นๆว่า น่าจะเป็นเรื่องของ"อกุศลกรรม" ที่ทำไว้แต่ชาติก่อนๆมากกว่า

ชาติก่อนนางกากี อาจเป็นผู้ชายที่สมสู่ไม่เลือก คลำดูไม่มีหางเป็นใช้ได้


กรรมที่ได้ก่อไว้ตามมาทัน ในชาติที่เป็น"นางกากี" เลยต้องถูกชายหลายคนสมสู่

โดยที่เต็มใจและไม่เต็มใจ


ผมจินตนาการเอาเองนะครับ อย่าซีเรียส
 :49: :93: ;) :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2010, 12:38:33 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 03:13:51 am »
0
 :'(
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

nongmai

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2010, 07:50:35 am »
0
พวกที่กำลังผิดศีลข้อ 3 และ กำลังคิดที่จะผิด น่าจะต้องอ่านเรื่องนี้สักหน่อยนะครับ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 21, 2011, 08:37:22 pm »
0















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2011, 08:39:45 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: "ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 25, 2011, 11:16:00 pm »
0
โมรา ทำไมจึงฆ่าผัว


หลายคนคงรู้จักชื่อของนางในวรรณคดีนางหนึ่งที่ชื่อว่า "โมรา"เพราะชื่อนี้ นอกจากจะเป็นชื่อของนางในวรรณคดีเรื่อง "จันทโครพ" แล้ว ยังใช้เป็นคำเรียกผู้หญิงหลายใจ ที่นอกใจสามีตัวเองอีกด้วย ผมเลือกเรื่องนี้ถ่ายทอดเป็นภาษาจีนส่งอาจารย์

ความจริงผมก็ไม่ค่อย เข้าใจความเป็นไปเป็นมาของเรื่องนี้ชัดเจนนัก รู้แต่ว่านางโมราฆ่าผัว จุดประสงค์ของนิทานเรื่องนี้คือ การสอนให้ผู้หญิงรู้จักซื่อสัตย์ต่อสามีตัวเอง รักสามีตัวเองคนเดียว แม้ว่าตัวจะตายก็ไม่ควรจะเปลี่ยนใจไปรักคนอื่น ประมาณนั้น เพราะดูจากเนื้อหาแล้วมันออกมาเป็นแนวนี้ ส่วนเรื่องที่จะวิเคราะห์ว่าใครผิดใครถูก ก็แล้วแต่ความคิดเห็นของแต่ละคน

ด้วย ความไม่ชัดเจนในเนื้อหานัก ผมเลยเขียนเนื้อหาบางส่วนตามความเข้าใจของตัวเอง เพื่อทำให้เนื้อหามันดูมีเหตุผลเชื่อมโยงประกอบกันมากขึ้น ความจริงนิทานพื้นบ้านหลายเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา เนื้อหาจริงๆก็เพี้ยนไปบ้างตามทฤษฎีการสื่อสารที่มันก็ต้องมีอุปสรรคในการ สื่อสาร แต่ถ้าเนื้อหาหลักยังคงชัดเจนอยู่ก็โอเค

ผมพยายามค้นหาข้อมูล เรื่องย่อของ "จันทโครพ" ในอินเตอร์เนต แต่หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอในส่วนของเหตุผลสำคัญที่ทำให้นางโมราตัดสินใจยื่นมืด ให้โจรป่าห้าร้อยฆ่าผัวตัวเอง เจอแต่ความคิดเห็นของคนอื่น

ทำไมนาง โมราต้องฆ่าผัว? นางจงใจหรือพลาดพลั้ง? นางมีทางเลือกอื่นหรือไม่? ทั้งที่จันทโครพก็ออกจาหล่อบาดใจสาวขนาดนั้น แถมเป็นเจ้าชายหนุ่มที่กำลังจะกลับไปเสวยสุขในราชบัลลังก์แห่งเมืองพาราณสี โมราคิดยังไงของเธอ ถึงได้เลือกที่จะไปกับโจรป่านั่น

ถ้าไม่ใช่เพราะ โจรป่านั่นหล่อลากดิน จนต้องตาต้องใจนางโมราจนทำให้ใจนางหวั่นไหวแต่นั่นก็ต้องสืบเนื่องมาจากนาง โมราไม่ได้รักจันโทรพจริงเพราะหากรักจริงก็คงจะไม่ไปหลงใครอื่นเพียงเพราะ รูปลักษณ์ภายนอก หรือเพราะรักโจรป่านั่นจริง แต่จะเป็นไปได้หรือ กับ รักแรกพบ ด้วยลักษณะของการจู่โจมเข้ามาปล้นชิงแบบนั้น ผมเลยตัดสินใจสรุปสาเหตุที่ทำให้นางโมราฆ่าผัว เพราะว่านางต้องใจโจรป่าที่ไม่รูปชั่วตัวดำ แต่กลับคมสันหล่อลากดิน กล้ามเป็นมัดๆ เรียกว่าสาวไหนเห็นเป็นต้องหลง

สุดท้ายจุดจบของนางโมรา หญิงหลายผัว ก็คือการถูกสาปเป็นชะนี ร้องหา "ผัว ผัว ผัว" อยู่กลางป่า เอ๊ะ แล้วทำไมชายหลายเมียไม่เห็นถูกสาปบ้างเลยแฮะ



http://ekarin.exteen.com/20070205/entry
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=64646
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 25, 2011, 11:43:39 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: "ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: เมษายน 25, 2011, 11:35:14 pm »
0
เรื่องจันทโครพ




จันทโครพ เป็นโอรสของพระเจ้าพรหมทัต ได้เดินทางไปเป็นลูกศิษย์ของ อัศโมพระโคดมที่กลางป่า เมื่อเรียน

วิชาสำเร็จพระอาจารย์ได้มอบของสำคัญให้ 2 อย่าง คือ พระขรรค์ศิลป์ชัย1 เล่ม กับ ผอบ 1 ผอบ และย้ำนัก

ย้ำหนาให้เปิดผอบได้ตอนถึงเมืองเท่านั้น


แต่ เพราะไม่เชื่อฟังคำสั่งของอาจารย์ จันทโครบจึงมาเปิดผอบที่กลางป่าระหว่างเดินทางกลับ   จึงได้พบนาง

โมราที่อยู่ในผอบ มีการเกี้ยวพาราสีกัน จนเกิดบทอัศจรรย์ขึ้นกลางป่า 


ทั้งคู่เดินทางมากลาง ป่าด้วยกัน  จนกระทั่งมาเจอโจรป่า โจรป่าเกิดหลงชอบนางโมรา จึงเกิดการต่อสู้กับจันทโค

รพ จนจันทโครบพลาดท่า เรียกให้นางโมราส่งพระขรรค์ให้ ด้วยใจที่สับสนเพราะนางก็เกิดอาการชอบโจรป่าจะ

ส่งให้โจรก็กลัวจันทโครพถูก ฆ่า จะส่งให้จันทโครพก็กลัวโจรป่าถูกฆ่า จึงวางพระขรรค์ไว้ตรงกลาง แต่ด้ามพระ

ขรรค์หันไปทางโจร เจ้าโจรป่าจึงคว้าพระขรรค์มาฆ่าจันทโครบ จนสิ้นใจตาย


หลังจากจันทโครบตายเจ้าโจรป่าจึงได้สมสู่ กับนางโมรา    แต่เจ้าโจร เห็นอารมณ์แปรปรวนของนางโมรา  โจร

ป่าจึงทิ้งนางไปกลางดึก ครั้นนางตื่นมาตอนเช้าไม่เห็นใคร จะเห็นก็แต่ศพจันทโครพ จึงเกิดกลัวเลยซัดเซพเนจร

ไปในป่าตามลำพัง


ตาม ธรรมดาของวรรณคดีไทย  เดือดร้อนถึงท้าวหัสนัยน์ หรือพระอินทร์นั่นเอง ที่แปลงตัวมาเป็นเหยี่ยวเพื่อลอง

ใจว่าถ้านางยอมให้ร่วมหลับนอนก็จะให้เนื้อ นางกินแก้หิวนางโมราก็ยินยอม ท้าวหัสนัยน์จึงสาปนางเป็นชะนีอยู่

กลางป่า ร้องเรียกหาผัวตั้งแต่นั้นมา




http://www.oknation.net/blog/pasalarksee/2007/07/01/entry-1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 25, 2011, 11:42:41 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: "ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: เมษายน 26, 2011, 12:39:50 am »
0
"รัก" ศรัทธาที่หายไป (หรือหญิงจะไรัค่าจริง)





จากเรื่องราวหลากหลายในวรรณคดีที่กล่าวอ้างถึงจริตหญิง ซึ่งหากคิดตามบริบทของเนื้อเรื่องแล้วต้องพินิจ

พิเคราะห์เป็นกรณีๆไป เริ่มแต่ นางวันทอง มีสามีเจ้าชู้ แต่ก็รักนางเป็นที่สุด แม้พรายแก้วจะสำส่อนแต่แท้แล้ว

พรายแก้วละทิ้งทุกอย่างเพื่อนาง ที่สุดก็เรียกร้องเอาอะไรกลับคืนมาไม่ได้เลย นี่แหละเวรกรรม ที่สุดใจนาง

วันทองเองเลือกใครไม่ได้ระหว่างความรักที่เจ็บปวด เชื่อใจไม่ได้ ของพรายแก้ว กับชายที่พะเน้าพะนอเอาใจมิ

ห่างร้างเป็นอื่นของขุนช้าง รักที่เลือกให้สมบูรณ์อย่างใจหวังนั้นยาก จากวรรณคดีนี้สะท้อนสภาพสังคมปัจจุบันที่

ผู้หญิงพึงสังวรที่จะเลือกสามี ถือเอาเป็นมาตรฐานได้ในการตัดสินใจที่จะรักจะเลือกสำหรับลูกผู้หญิงครับ


อีกหนึ่งวรรณคดีที่เราท่านรู้จัก คือ จันทโครพ ที่กล่าวถึงนางโมรา พิจารณาจากเนื้อเรื่องแล้ว ต้องยอมรับว่านาง

โมราถือได้ว่าเป็นสาวชาวบ้านป่า ย่อมเห็นชายกักขฬะกำยำแกร่งกร้าวมีฤทธิ์อำนาจต้องใจนางมากกว่า แต่หาก

พิจารณาให้ลึกแล้วนางโมรานั้น มีจริตไม่ต่างจากหญิงทั่วไปที่ตระหนกหวาดกลัวต่อการวิวาทและเกลียดการประ

หัดประหารกัน ดังนั้นนางจึงไม่กล้าตัดสินใจที่จะเลือกกระทำข้างใดข้างหนึ่ง จึงวางพระขรรค์ระหว่างกลางแต่หัน

ด้ามเข้าหานายโจร นางจึงสูญเสียทุกอย่างอย่างน่าเศร้า ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนให้เห็นอีกว่า ชื่อว่าผู้หญิงแล้วเมื่อโชค

ชะตาลิขิตเป็นของชายใดแล้ว อย่าคิดหมายปันใจเกินเลย พลั้งผิดพลาดไปเสียใจทั้งชีวิต สังคมปัจจุบันนี้มีไม่

น้อยที่ผู้หญิงรักเลือกไม่เป็น ยอมที่จะรักจะเลือกโดยใส่ใจเพียงเปลือกนอกดูดีมีสง่า เป็นชายแต่จริตหญิง หรือ

ประเภทชายรักลมลวง ที่สุดทุกข์ยากที่จะเริ่มต้นได้ใหม่ น่าเศร้าที่ผู้หญิงยังไม่สิ้นคราบน้ำตาประหนึ่งเป็นหญิงหา

ใช่เป็นคนต้องจมอยู่กับทุกข์


สุดท้ายว่าด้วยชาดกหนึ่งที่กล่าวถึงนางกากี ที่พินิจพิเคราะห์จากบริบทแล้วจะเห็นว่า นางกากีถูกกดขี่ทางเพศ

จากผู้ชายอย่างไม่มีทางเลือก นี่จึงสะท้อนให้เห็นว่า ชื่อว่าหญิงแล้วมีภัยเป็นที่สนองต่ออารมณ์ใคร่ คุณค่าความ

เป็นคนเสมือนหนึ่งไม่มีเลย สังคมปัจจุบันต่างรู้และตราหน้านางว่าหลายใจหลายชาย ซึ่งเป็นมุมมองเพียงข้าง

เดียวอย่างเห็นแก่ตัวที่น่าละอายของผู้ชายในปัจจุบันหรือจะทุกยุคก็เถอะ ที่สุดลูกผู้หญิงพึงพิจารณาเอาเถอะว่า

จะอยู่อย่างคนที่มีคุณค่าอย่างไร ? งดงามอย่างไร ? นี่ที่ผมอยากฝากไว้ให้ผู้หญิงคิดกันครับ


ผมทิ้งท้ายสักนิดครับ ในฐานะที่ผมไม่ใช่ผู้ชายเจ้าชู้ มองคุณค่าความรักสำคัญ และปรารถนาเพียงหนึ่งเดียวคู่

บารมี แต่ทำไมจึงแพ้พวกผู้ชายเจ้าชู้ไม่รับผิดชอบ จะว่าหญิงนั้นง่ายก็ดูจะหยามเพศแม่ จะว่าเสียรู้เพราะคิดผิด

หลงไว้ใจแต่ก็ยังยอมลงเอยให้เจ็บช้ำซ้ำเติมตัวเองเข้าไปอีก ไม่คิดผละเข้าคนดีที่เข้าใจมีใจจริง ผมไม่เข้าใจ

ผู้หญิง ชีวิตที่เป็นจริงจึงผิดหวังจนหมดศรัทธา หันหลังให้กับความรักความสำคัญที่เคยมี........สวัสดี ครับ.!




http://www.bkkonline.com/scripts/pr/popup.aspx?cid=3&contentid=488
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 27, 2011, 06:53:58 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: เมษายน 26, 2011, 06:57:27 am »
0
ศีลข้อ ๓ (ข้อกาเม ฯ) นั้น มีประเด็นอะไรบ้างที่ต้องพิจารณา มีดังนี้ครับ

ประเด็นที่ ๑  ศีลข้อ ๓ มีชื่อเต็มว่า “กาเมสุมิจฉาจาร” ในอรรถกถาท่าน ใช้คำนี้ระบุถึงเจตนาที่บุคคลล่วงละเมิดทางเพศต่อบุคคลต้อง ห้าม (บาลีใช้คำว่า ฐานะอันบุคคลไม่พึงถึง) โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันความ “มักมาก” ทางเพศ

ประเด็นที่ ๒  บุคคลต้องห้ามตามข้อ ๑ ท่านระบุไว้ชัดเจนว่า หมายถึง สตรี ๒๐ จำพวกต่อไปนี้
๑. สตรีที่อยู่ในความดูแลของมารดา
๒. สตรีที่อยู่ในความดูแลของบิดา
๓. สตรีที่อยู่ในความดูแลของบิดา-มารดา
๔. สตรีที่อยู่ในความดูแลของพี่ชาย/น้องชาย
๕. สตรีที่อยู่ในความดูแลของพี่สาว/น้องสาว
๖. สตรีที่อยู่ในความดูแลของญาติ
๗. สตรีที่เป็นโคตรเง่าเหล่ากอ หรือวงศ์ตระกูลเดียวกัน
๘. สตรีทีเป็นนักบวช
๙. สตรีที่มีสามี
๑๐. สตรีที่อยู่ในความคุ้มครองของกฎหมาย
๑๑. สตรีที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ด้วยประสงค์จะอยู่ร่วม
๑๒.สตรีที่อยู่กินกันด้วยความพอใจ
๑๓.สตรีที่อยู่ด้วยโภคะ
๑๔. สตรีที่อยู่ด้วยแผ่นผ้า (๑๓,๑๔ เพ่งถึงสตรีที่ฐานะยากจน ได้รับการอุปการะแล้วอาศัยอยู่ในฐานะเป็นภรรยา)
๑๕. สตรีที่จุ่มนิ้วมือในภาชนะน้ำ (ญาติจับแต่งกับชายด้วยเพียงทำพิธีเอามือของทั้งสองจุ่มลงในถาดน้ำเดียวกัน)
๑๖.สตรีที่บุรุษปลงเทริดลง (สตรีที่อยู่กันกับชายเพราะฝ่ายชายมาช่วยแบ่งเบาภาระ)
๑๗. สตรีที่เป็นทั้งทาสและภรรยา
๑๘. สตรีที่เป็นทั้งคนทำงานและภรรยา
๑๙. สตรีที่เป็นเชลยสงคราม
๒๐.สตรีที่อยู่ร่วมกับบุรุษแม้เพียงครู่เดียว (หมายเอาหญิงแพศยา หรือโสเภณี)

ประเด็นที่ ๓  ในบรรดาสตรี ๒๐ ประเภทเหล่านี้ บุรุษล่วงสตรี ๘ จำพวกแรกถือว่า “ผิดจัง ๆ” ล่วงสตรี ๑๒ จำพวกที่เหลือก็ถือว่าผิด เพราะเธอมีเจ้าของแล้ว ขณะที่ฝ่ายสตรี สตรี ๑๒ จำพวกหลังร่วมประเวณีกับบุรุษอื่นถือว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ ขณะที่สตรี ๘ จำพวกต้น ร่วมประเวณีกับบุรุษอื่น ไม่จัดเป็นว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ เพราะเธอเหล่านั้นยังไม่มีสามี

อรรถกถาจารย์อ้างเหตุผลเพิ่มเติมว่า แม้เธอจะอยู่ในความดูแลของผู้อื่น แต่คนเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นใหญ่ในเรือนร่างของเธอ ทั้งผู้ดูแลเหล่านั้นก็ไม่ได้ดูแลรักษาเพื่อหวังชมเชยเรือนร่างของเธอเอง เป็นแต่เพียงไม่ต้องการให้ชายอื่นล่วงละเมิดเท่านั้น ดังนั้นการที่เธอไปมีอะไรกับชายอื่น จึงไม่เข้าข่ายผิดศีลข้อกาเม ฯ เว้นเสียแต่ว่า เธอไปยุงกับชายต้องห้าม

ประเด็นที่ ๔  การจะถือว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ ต้องเข้าองค์ประกอบ ๔ ประการต่อไปนี้
๑.ล่วงละเมิดหญิงต้องห้าม ๒๐ ประเภทข้างต้น
๒.มีเจตนา
๓.มีความพยายาม และ
๔.มีการร่วมประเวณี

ประเด็นที่ ๕  กรณีที่ใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งในอรรถกามงคลสูตรท่านใช้คำว่า มิจฉาจารที่ให้เป็นไปตามความชอบใจ และเป็นไปโดยพลการ มีองค์ ๓ คือแม้เข้าเพียง ๓ องค์ประกอบแรก ไม่ได้มีการร่วมประเวณี (เงื่อนไขข้อ ๔) ก็ถือว่าผิดศีลแล้ว

ประเด็นที่ ๖ โทษของการผิดศีลข้อ ๓ มีโทษหนักเบาไม่เท่ากัน กล่าวคือ
๑.ล่วงสตรีที่มีคุณมาก มีโทษมาก มีคุณน้อยโทษน้อย
๒.การใช้กำลังประทุษร้าย,ข่มขืน แม้สตรีมีคุณน้อยก็มีโทษมาก
๓.กิเลสและความพยายามน้อย มีโทษน้อย กิเลสและความพยายามมากมีโทษมาก
๔.ทั้งสองมีฉันทะร่วมกันมีโทษน้อย

ประเด็นที่ ๗  จากข้อมูลตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า เกณฑ์ที่ท่านวัดว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ ระหว่างชาย-หญิงนั้นไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ฝ่ายชายถ้าล่วงละเมิดหญิง ๒๐ จำพวกข้างต้น ถือว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ หมด ขณะที่หญิงล่วงชายอื่น ๑๒ จำพวกหลังเท่านั้นผิดศีลข้อกาเม ฯ ส่วน ๘ จำพวกข้างต้นไม่เข้าข่าย

ประเด็นที่ ๘  จากตัวอย่างข้างต้น ทำให้เกิดข้อสรุปว่า การพูดว่าผิด-ไม่ผิดศีลข้อกาเม ฯ บางครั้งต้องแยกแยะ เพราะบางกรณีชายผิด แต่หญิงไม่ผิด, บางกรณีหญิงผิด ชายไม่ผิด, บางกรณีผิดทั้งสอง, บางกรณีไม่ผิดทั้งสอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงือนไขดังกล่าวแล้วข้างต้น

จากประเด็นข้างต้น เบื้องต้นขอสรุป ว่า การที่ผู้ชายไปมีอะไรกับหญิงโสเภณี ถือว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ หรือไม่ เราก็ต้องย้อนกลับไปดูว่า “ผู้ชาย” และ “โสเภณี” ที่ว่านี้ อยู่ในฐานะ หรือเกณฑ์ใดข้างต้น เช่น

๑.ถ้า “ชาย” คนดังกล่าวมีภรรยาแล้ว ย่อมเข้าเกณฑ์ชาย “ต้องห้าม” เมื่อต้องห้ามเสียแล้ว ไม่ว่าจะไปมีประเวณีกับใคร ย่อมเข้าข่ายผิดศีลข้อกาเมฯ ไม่เว้นแม้แต่กับโสเภณี แต่ถ้า “โสด” ยังไม่มีภรรยา การไปมีอะไรกับโสเภณี ย่อมไม่เข้าข่ายผิดศีลข้อกาเม ฯ เว้นเสียแต่ว่า “โสเภณี"” ผู้นั้น มีผู้อื่นครอบครองอยู่

๒. ขณะที่ฝ่าย“หญิง” แม้เธอจะเป็นโสเภณี ถ้าเธอมีสามี หรือมีคนครอบครองเธอ จะด้วยเงื่อนไข (๑๑) สตรีที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ด้วยประสงค์จะอยู่ร่วม หรือ (๒๐) สตรีที่อยู่ร่วมกับบุรุษแม้เพียงครู่เดียว (หมายเอาหญิงแพศยา หรือโสเภณี) เวลานั้นเธอย่อมอยู่ในความครอบครอง การร่วมประเวณีกับชายอื่นนอกจากชายครอบครองอยู่ ย่อมเข้าข่ายผิดศีลข้อกาเม ฯ เว้นแต่ไม่เข้าเงื่อนไข เธอย่อมเป็นใหญ่ในเรือนร่างของเธอ ดังนั้น เมื่อเธอมีประเวณีกับชายอื่น (ที่ไม่ต้องห้ามตามเกณฑ์ข้างต้น) เธอย่อมไม่เข้าข่ายผิดศีลข้อกาเม ฯ

จากคุณ    : Smiling-girl
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: "ต้นงิ้ว" วิมานฉิมพลีของนางกากี
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: เมษายน 26, 2011, 05:59:38 pm »
0
ประเด็นที่ ๒  บุคคลต้องห้ามตามข้อ ๑ ท่านระบุไว้ชัดเจนว่า หมายถึง สตรี ๒๐ จำพวกต่อไปนี้
๑. สตรีที่อยู่ในความดูแลของมารดา
๒. สตรีที่อยู่ในความดูแลของบิดา
๓. สตรีที่อยู่ในความดูแลของบิดา-มารดา
๔. สตรีที่อยู่ในความดูแลของพี่ชาย/น้องชาย
๕. สตรีที่อยู่ในความดูแลของพี่สาว/น้องสาว
๖. สตรีที่อยู่ในความดูแลของญาติ
๗. สตรีที่เป็นโคตรเง่าเหล่ากอ หรือวงศ์ตระกูลเดียวกัน
๘. สตรีทีเป็นนักบวช
๙. สตรีที่มีสามี
๑๐. สตรีที่อยู่ในความคุ้มครองของกฎหมาย
๑๑. สตรีที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ด้วยประสงค์จะอยู่ร่วม
๑๒.สตรีที่อยู่กินกันด้วยความพอใจ
๑๓.สตรีที่อยู่ด้วยโภคะ
๑๔. สตรีที่อยู่ด้วยแผ่นผ้า (๑๓,๑๔ เพ่งถึงสตรีที่ฐานะยากจน ได้รับการอุปการะแล้วอาศัยอยู่ในฐานะเป็นภรรยา)
๑๕. สตรีที่จุ่มนิ้วมือในภาชนะน้ำ (ญาติจับแต่งกับชายด้วยเพียงทำพิธีเอามือของทั้งสองจุ่มลงในถาดน้ำเดียวกัน)
๑๖.สตรีที่บุรุษปลงเทริดลง (สตรีที่อยู่กันกับชายเพราะฝ่ายชายมาช่วยแบ่งเบาภาระ)
๑๗. สตรีที่เป็นทั้งทาสและภรรยา
๑๘. สตรีที่เป็นทั้งคนทำงานและภรรยา
๑๙. สตรีที่เป็นเชลยสงคราม
๒๐.สตรีที่อยู่ร่วมกับบุรุษแม้เพียงครู่เดียว (หมายเอาหญิงแพศยา หรือโสเภณี)

ประเด็นที่ ๓  ในบรรดาสตรี ๒๐ ประเภทเหล่านี้ บุรุษล่วงสตรี ๘ จำพวกแรกถือว่า “ผิดจัง ๆ” ล่วงสตรี ๑๒ จำพวกที่เหลือก็ถือว่าผิด เพราะเธอมีเจ้าของแล้ว ขณะที่ฝ่ายสตรี สตรี ๑๒ จำพวกหลังร่วมประเวณีกับบุรุษอื่นถือว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ ขณะที่สตรี ๘ จำพวกต้น ร่วมประเวณีกับบุรุษอื่น ไม่จัดเป็นว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ เพราะเธอเหล่านั้นยังไม่มีสามี

อรรถกถาจารย์อ้างเหตุผลเพิ่มเติมว่า แม้เธอจะอยู่ในความดูแลของผู้อื่น แต่คนเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นใหญ่ในเรือนร่างของเธอ ทั้งผู้ดูแลเหล่านั้นก็ไม่ได้ดูแลรักษาเพื่อหวังชมเชยเรือนร่างของเธอเอง เป็นแต่เพียงไม่ต้องการให้ชายอื่นล่วงละเมิดเท่านั้น ดังนั้นการที่เธอไปมีอะไรกับชายอื่น จึงไม่เข้าข่ายผิดศีลข้อกาเม ฯ เว้นเสียแต่ว่า เธอไปยุงกับชายต้องห้าม

ประเด็นที่ ๖ โทษของการผิดศีลข้อ ๓ มีโทษหนักเบาไม่เท่ากัน กล่าวคือ
๑.ล่วงสตรีที่มีคุณมาก มีโทษมาก มีคุณน้อยโทษน้อย
๒.การใช้กำลังประทุษร้าย,ข่มขืน แม้สตรีมีคุณน้อยก็มีโทษมาก
๓.กิเลสและความพยายามน้อย มีโทษน้อย กิเลสและความพยายามมากมีโทษมาก
๔.ทั้งสองมีฉันทะร่วมกันมีโทษน้อย

ประเด็นที่ ๗  จากข้อมูลตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า เกณฑ์ที่ท่านวัดว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ ระหว่างชาย-หญิงนั้นไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ฝ่ายชายถ้าล่วงละเมิดหญิง ๒๐ จำพวกข้างต้น ถือว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ หมด ขณะที่หญิงล่วงชายอื่น ๑๒ จำพวกหลังเท่านั้นผิดศีลข้อกาเม ฯ ส่วน ๘ จำพวกข้างต้นไม่เข้าข่าย


"ขณะที่สตรี ๘ จำพวกต้น ร่วมประเวณีกับบุรุษอื่น ไม่จัดเป็นว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ เพราะเธอเหล่านั้นยังไม่มีสามี"


"อรรถกถาจารย์อ้างเหตุผลเพิ่มเติมว่า แม้เธอจะอยู่ในความดูแลของผู้อื่น

                                                             การที่เธอไปมีอะไรกับชายอื่น จึงไม่เข้าข่ายผิดศีลข้อกาเม ฯ"



"๔.ทั้งสองมีฉันทะร่วมกันมีโทษน้อย"


"เกณฑ์ที่ท่านวัดว่าผิดศีลข้อกาเม ฯ ระหว่างชาย-หญิงนั้นไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ขณะที่หญิงล่วงชายอื่น ๘

จำพวกข้างต้นไม่เข้าข่าย"




จากมูลเหตุอรรถความที่ยกอ้างไว้นี้ เป็นข้อหมิ่นเหม่ต่อวิถีการดำรงอยู่ของปุถุชนคนหนุ่มสาวที่มีค่านิยมอยู่ก่อน

แต่ง มันสะท้อนถึงความเสมอภาคทางอารมณ์อันมีผลเชิงลบต่อคุณค่าความงามแห่งอิสตรีเพศ และส่งเสริม

พฤติกรรมสำส่อนอันมีผลไปสู่ความเสื่อมถอยทางสังคม ซึ่งน่ากลัวและน่าเศร้าอย่างยิ่ง........ครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 26, 2011, 06:24:04 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา