ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ระหว่างฟังธรรม กับ ภาวนา ในยืน เดิน นั่ง นอน ด้วยกรรมฐาน องค์ใด องค์หนึ่ง อันไหน  (อ่าน 3201 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

aom-jai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ระหว่างฟังธรรม กับ ภาวนา ในยืน เดิน นั่ง นอน ด้วยกรรมฐาน องค์ใด องค์หนึ่ง อันไหนมีโอกาสสำเร็จธรรม มากกกว่ากัน คะ

 :c017:
บันทึกการเข้า

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คิดว่า อยู่ที่จริต วาสนา บารมี ที่สั่งสมมาด้วยคะ
  ฟังในรายการ พระอาจารย์ ท่านพูดว่า บางท่านแค่ฟังก็บรรลุ บางท่านปฏิบัติอย่างเข้มข้น จึงบรรลุ

  :49: :58:
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ระหว่างฟังธรรม กับ ภาวนา อันไหนมีโอกาสสำเร็จธรรม มากกว่ากัน คะ

 :c017:

โกณฑัญญะวัคคีย์ ฟังปฐมเทศนา "ธรรมจักรกัปปะวัตนสูตร" บรรลุโสดาบัน ครั้นสดับ "อนันตลักขณะสูตร" พร้อมสหายวัคคีย์ทั้งสี่จึงถึงที่สุดอรหันต์นั้นได้

อุปติสสะปริพาชก ฟังกล่าวเพียงธรรมจากพระอัสสชิ บรรลุโสดาบัน ครั้นภายหลังน้อมพุทธบรรยายคลายข้อธรรมแก่ทีฆนขะนักบวชเล็บยาวจึงบรรลุอรหันต์นั้นได้

ราหุลกุมาร บวชร่ำเรียนเพียรเป็นลำดับ จึงบรรลุเป็นลำดับชั้นภูมินั้นๆเรื่อยไป สำเร็จอรหันต์เอาเมื่ออายุเข้าเกือบกลางคนเหตุด้วยเพียรศึกษามากเพื่อจารฝากตำรามัชฌิมามาตราบเราท่านศึกษาตามในวันนี้

วาสนาสร้างได้ ค่อยๆสร้างไปนะครับ! ทำไมรีบร้อน

พาหิยะมานพ รีบร้อนปรารถนาใคร่สดับธรรมในกาลไม่บังควรสำเร็จอรหันต์ฉับพลันก็พลันใช้กรรมดับขันธ์ละสังขารไปเร็วมิทันบวช, สันตติอำมาตย์ ฟังธรรมบรรลุอรหันต์ก็พลันตาย, พระเจ้าสุทโธทนะ บรรลุอรหันต์เอาเมื่อปลายจะวายชนม์ กรรมฐานมัชฌิมาเพียรตามลำดับบังคับตามนั้นรู้หมดครบกองกรรมฐานเป็นครูอาจารย์สืบสอนไม่ผิดพจน์บทธรรม ช้าๆ คว้าพร้าเล่มงาม ใครจักหยามมีพร้าเล่มโต ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 06, 2013, 11:28:37 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะเป็นท่านั่ง ครับ เพราะ ท่านั่ง น่าจะเป็นสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นท์ ครับ

 :49:
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
1. สภาวะของผู้ที่จะรู้
          ผู้ที่จะเห็นธรรมตามจริงนั้น แม้ยืนอยู่ก็ดี จิตจะยังคงความสงบตั้งมั่นมีความรู้เห็นตามจริงไม่เกิดความติดข้องใจในโลก แม้จะเดิน นั่ง นอน อิริยาบถใดๆก็ตามจิตจะยังคงความสงบตั้งมั่นมีความรู้เห็นตามจริงไม่เกิดความติดข้องใจในโลก จะมองฟ้ส มองดิน มองน้ำ มองลม มองอากาศ มองเขา มองต้นไม้ มองคน มองสัตว์ มองสิ่งของก็เห็นตามจริงในธรรม เห็นความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป ความไม่คงอยู่ ความบังคับจับต้องให้เป็นไปดั่งใจปารถนาไม่ได้ เห็นความทุกข์จากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เห็นความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา


2. สภาวะของจริต จริตก็คือสิ่งที่ทำเป็นประจำเกิดขึ้นกับตนเป็นประจำจนเป็นนิสัย
          ผู้ที่จะเห็นธรรมตามจริงนั้น แม้จะยืนอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะนั่งอยู่ก็ดี จะนอนอยู่ก็ดี หากทำอิริยาบถใดๆที่พอดีกับจริตนิสัยตน คือ เป็นสิ่งที่ทำให้ตนนั้นไม่ขัดข้องจนเกินไป ไม่หนักจริตตนเกินไป มีกำลังพอเหมาะพอดี สบายตน เจริญได้เรื่อยๆทำให้จิตตั้งมั่นดี จะพิจารณาธรรมใดๆที่เหมาะกับตนทำให้จิตใจแช่มชื่นเห็นง่าย ไม่ลำบากไป ไม่ว่าจะอยู่อิริยาบถใดๆก็เห็นธรรมได้ อันนี้อยู่ที่จริตนิสัยที่ตนพอใจยินดี


3. สภาวะผู้ที่มีสัมปะชัญญะ+สติ ส่งผลให้เกิดจิืตตั้งมั่น
          แม้จะยืนอยู่ก็รู้ว่ายืนอยู่ หายใจเข้าก็รู้ลมหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ลมหายใจออก สภาวะจิตใดเข้าครอบงำก็รู้ สภาวะปรุงแต่งใดที่ตนเสพย์อยู่ก็รู้ เมื่อรู้สภาวะอกุศลครอบงำก็รู้ที่จะสงบรำงับจิตสังขารใดๆ รู้วางใจไวกลางๆ ไม่เข้าไปเสพย์กับความปรุงแต่งนั้นๆ สักแต่รู้ว่ามันเกิดขึ้น สักแต่รู้ว่ามันตั้งอยู่ สักแต่่รู้ว่ามันดับไป แต่ไม่เข้าไปร่วมกับมัน

          แม้จะเดินอยู่ก็รู้ว่าเดินอยู่ กำลังก้าวย่างก็รู้กำลังก้าวย่างอยู่ หายใจเข้าก็รู้ลมหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ลมหายใจออก สภาวะจิตใดเข้าครอบงำก็รู้ สภาวะปรุงแต่งใดที่ตนเสพย์อยู่ก็รู้ เมื่อรู้สภาวะอกุศลครอบงำก็รู้ที่จะสงบรำงับจิตสังขารใดๆ รู้วางใจไวกลางๆ ไม่เข้าไปเสพย์กับความปรุงแต่งนั้นๆ สักแต่รู้ว่ามันเกิดขึ้น สักแต่รู้ว่ามันตั้งอยู่ สักแต่่รู้ว่ามันดับไป แต่ไม่เข้าไปร่วมกับมัน

          แม้จะนั่งอยู่ท่าใดก็รู้ว่านั่งอยู่ จะนั่งบนเก้าอี้สบายๆ จะนั่งขัดสมาธิกับพื้นก็รู้ตัวว่านั่งท่าใด หายใจเข้าก็รู้ลมหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ลมหายใจออก สภาวะจิตใดเข้าครอบงำก็รู้ สภาวะปรุงแต่งใดที่ตนเสพย์อยู่ก็รู้ เมื่อรู้สภาวะอกุศลครอบงำก็รู้ที่จะสงบรำงับจิตสังขารใดๆ รู้วางใจไวกลางๆ ไม่เข้าไปเสพย์กับความปรุงแต่งนั้นๆ สักแต่รู้ว่ามันเกิดขึ้น สักแต่รู้ว่ามันตั้งอยู่ สักแต่่รู้ว่ามันดับไป แต่ไม่เข้าไปร่วมกับมัน

          แม้จะนอนอยู่ท่าใดก็รู้ว่านอนอยู่ จะนอนตะแครงขวา หรือ นอนหงาย ก็รู้ตัวว่านอนท่าใด หายใจเข้าก็รู้ลมหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ลมหายใจออก สภาวะจิตใดเข้าครอบงำก็รู้ สภาวะปรุงแต่งใดที่ตนเสพย์อยู่ก็รู้ เมื่อรู้สภาวะอกุศลครอบงำก็รู้ที่จะสงบรำงับจิตสังขารใดๆ รู้วางใจไวกลางๆ ไม่เข้าไปเสพย์กับความปรุงแต่งนั้นๆ สักแต่รู้ว่ามันเกิดขึ้น สักแต่รู้ว่ามันตั้งอยู่ สักแต่่รู้ว่ามันดับไป แต่ไม่เข้าไปร่วมกับมัน


* พระพุทธเจ้ารู้สมถะก่อนวิปัสนา พระพุทธเจ้าทรงฌาณให้จิตสงบรำงับจากอุปกิเลสทั้งหลายก่อนจึงเจริญปัญญาขึ้่นเห็นตามจริง(ดูได้จากสัจจกนิครนถ์สูตร ว่าด้วยเรื่องการอบรมกายและใจ) ดังนั้นครูบาอาจารย์ทั้งหลายจึงสอนสมถะก่อนเป็นสิ่งแรกก่อนจะเห็นในวิปัสนา ผู้ที่เข้าเจริญในวิปัสนาก่อนหากของเก่าไม่มีมาหรือจิตไม่ตั้งมั่นพอมาก่อนแล้วจะไม่มีทางเห็นตามจริงได้นอกจากความคิดเท่านั้น กรรมฐานจึงเกิดขึ้นทั้ง 40 กอง
* ทีนี้คุณคิดว่าคุณอยู่ในสภาวะใดก็เลือกเอาสภาวะนั้นครับ สิ่งใดๆก็ดีหมด อยู่ที่เราทำแล้วกายและใจสงบรำงับจากกิเลสได้มาก จิตตั้งมั่นง่าย นี่เป้นแค่ส่วนเล็กๆที่ยกมาให้ดูน่ะครับมีอีกมากมายหลายอย่างหลายวิธีแต่วิธีเหล่านี้เรารู้จักกันดีให้ผลได้ง่ายสำหรับคนทั่วไป หวังว่าแนวพิจารณานี้ๆจะเป็นประโยชน์แำก่ท่านเจ้าของกระทู้ได้บ้างนะครับ ขอให้เจริญในธรรมครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 10, 2013, 02:30:09 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ