ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฟังเรื่อง กฏแห่งกรรม ในรายการ RDN เรื่องหนึ่งเกิดความสงสัยว่า .....  (อ่าน 7220 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วันก่อนฟังเรื่อง กฏแห่งกรรม ในรายการ RDN เรื่องหนึ่งเกิดความสงสัยว่า .....
 
  เรื่องเล่าว่า มีชายคนหนึ่ง ได้ตัดลิ้นควาย ที่เข้าไปกินต้นข้าวที่ตนเองปลูกไว้ ด้วยความแค้นที่ควายเข้าไปกินต้นข้าว ก็เลยตัดลิ้นควาย ในที่สุดควายตนนั้นก็ตาย

   ผลกรรมที่เขาทำไว้ ปรากฏว่า ลูกชาย ลูกสาว 3 คนเกิดมากลายเป็นเด็กที่พูดไม่ได้ ไม่มีลิ้น ทั้งสามคน ในที่สุดแกก็ถูกมีดที่เก็บไว้ข้างฝาตกใส่ปากตายในท่านอน

   ผลกรรมนี้ทำให้เกิดความสงสัยว่า คนที่ไม่เกี่ยวข้อง ทำไมต้องไปรับกรรมที่ คนอื่นทำด้วย อย่างกรณีนี้ถ้าเป็นคนทำได้รับกรรม ก็คิดว่าเหมาะสม แต่ทำไมต้องให้เด็กทั้งสามที่ไม่ได้สร้างกรรมไว้ รับกรรมด้วยคะ

  ที่สงสัยก็ตรงนี้ คะ

 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2012, 09:08:04 am โดย หมิว »
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในความคิดของผมนะครับ

กรรมที่เกิดขึ้นกับลูกเขานั้น ลูกเขาเป้นคนกระทำ เพราะกรรมเป็นของๆตน ดั่งเช่น เพื่อคุณกินข้าว แต่คุณไม่ได้กินด้วย คุณอิ่มหรือเพื่อคุณอิ่มท้องครับ

ในส่วนของลูกเขานั้นลูกเขาก็ต้องได้ทำกรรมสิ่งใดๆมาก่อนนี้จึงเกิดขึ้นกับเขา
ในส่วนที่พ่อทำนั้น หากยังไม่เกิดผลกับตัวเขาก็เพราะว่าเขานั้นยังมีบุญมากกว่าจึงยังไม่เกิดผล แต่อาจจะติดตามไปในอีกภพชาติต่อมา
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

อัจฉริยะ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 123
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ใครเป็นผู้จัดสรรผลกรรม ครับ
 ยมบาล หรือว่า พระเจ้า หรือว่า คือ สิ่งใดที่เป็นผู้จัดสรรผลแห่งกรรมให้แก่บุคคลครับ

  :s_hi: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


    คำอธิบายที่ชื่อว่า  "จิต"  เพราะคิด คือรู้แจ้งอารมณ์

                    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

                                      อธิบายคำว่าจิต

             พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า  จิตฺตํ     สภาวะที่ชื่อว่า จิต   เพราะอรรถว่า

    ย่อมคิด  คือว่า  ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์   อีกอย่างหนึ่ง  ศัพท์ว่า  จิต  นี้  ทั่วไป

    แก่จิตทั้งปวง  เพราะฉะนั้น   ในบทว่า  จิตฺตํ  นี้   จิตใดที่เป็นกุศลฝ่ายโลกีย์

    อกุศลและมหากิริยาจิต   จิตนั้นชื่อว่า จิต   เพราะอรรถว่า ย่อมสั่งสมสันดาน

    ของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี.   ชื่อว่า  จิต  เพราะอรรถว่า   เป็นธรรมชาติ

    อันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก.  อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้งหมด  ชื่อว่า จิต

    เพราะความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร. ชื่อว่า จิต  เพราะการทำให้วิจิตร

    พึงทราบเนื้อความในบทว่า  จิตฺตํ   นี้  ดังพรรณนามาฉะนี้.
บันทึกการเข้า

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อันนี้เป็นกรรมและวิบากโดยละเอียยด


  กรรมที่แท้จริงของพุทธศาสนาก็คือการสอนว่า กรรม ก็คือ การกระทำด้วยเจตนา (ซึ่งเจตนาก็คือกิเลส ที่สรุปอยู่ที่ความยินดี-ยินร้าย) ถ้าไม่มีเจตนาจะไม่เรียกว่าเป็นกรรม แต่จะเรียกว่าเป็น กิริยา ซึ่งมีผลเป็น ปฏิกิริยา (เช่น ถ้าเราเดินไปเหยียบสัตว์เล็กๆตายโดยไม่เจตนาก็มีผลเป็นเพียงสัตว์ตายเท่านั้น)โดยกรรมนี้ก็มีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ กรรมชั่ว กับ กรรมดี  ซึ่งกรรมนี้จะเกิดจากใจโดยตรง แต่ก็สามารถแสดงออกมาทางกายและวาจาได้

กรรมชั่วนี้บางทีก็เรียกว่า บาป ที่หมายถึง สิ่งเลวร้าย  โดยสรุปอยู่ที่
๑.การเบียดเบียนชีวิตของผู้อื่น
๒.การเบียดเบียนทรัพย์สินของผู้อื่น
๓.การเบียดเบียนกามารมณ์ของผู้อื่น
๔.การพูดคำไม่จริง
๕.การพูดคำหยาบ
๖.การพูดส่อเสียด
๗.การพูดเพ้อเจ้อ
๘.การคิดโลภอยากได้ของผู้อื่น
๙.การคิดโกรธผู้อื่น
๑๐.การมีความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม(เช่น เห็นว่าทำชั่วแล้วได้ดีหรือมีความสุขใจ)

กรรมดีนี้บางทีก็เรียกว่า บุญ ที่หมายถึง สิ่งที่ดีงาม โดยสรุปอยู่ที่
๑.การช่วยเหลือชีวิตของผู้อื่นไม่ให้ถูกฆ่าหรือทรมาน
๒.การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยการให้ เช่น ให้ทานหรือให้อภัยหรือให้ความรู้หรือให้โอกาสหรือให้ธรรมะ
๓.การออกจากความลุ่มหลงในกามารมณ์
๔.การพูดความจริง
๕.การพูดคำสุภาพ
๖.การพูดเรื่องที่จะประสานสามัคคี
๗.การพูดเรื่องที่เป็นประโยชน์
๘.การคิดช่วยเหลือผู้อื่น
๙.การคิดเมตตาหรือให้อภัยผู้อื่น
๑๐.การมีความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม (เช่นเห็นว่าทำชั่วแล้วได้ชั่วหรือมีความทุกข์ใจ)

ส่วนวิบากหรือผลของกรรมนี้ก็คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นแก่จิตใจ อันได้แก่

๑.กรรมดี ก็มีวิบากดี คือ สุขใจ อิ่มใจ หรืออย่างน้อยก็สบายใจ
๒.กรรมชั่ว ก็มีวิบากชั่วหรือไม่ดี คือ ทุกข์ใจ ร้อนใจ หรืออย่างน้อยก็ไม่สบายใจ

โดยวิบากนี้จะมีการให้ผลอยู่ ๓ ช่วงเวลา ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง อันได้แก่

๑.ในทันที คือเมื่อกำลงกระทำกรรมอยู่ (เช่นทำดีอยู่ก็สุขใจทันที )
๒.เมื่อทำเสร็จแล้ว คือหลังจากทำกรรมเสร็จแล้ว (เช่น เมื่อทำดีเสร็จจึงค่อยสุขใจ )
๓.ในเวลาต่อมาอีก คือในเวลาต่อๆมาหลังจากทำกรรมเสร็จแล้ว   (เช่นเมื่อทำดีเสร็จแล้วอีกสักพัก จึงค่อยสุขใจ)

เรื่องกรรมและวิบากที่แท้จริงของพุทธศาสนานี้ก็คือ เมื่อเราทำกรรมใดไปแล้ว ถ้าไม่เกิดวิบากในขณะที่ทำกรรมนั้นอยู่ ก็จะเกิดเมื่อทำกรรมนั้นเสร็จแล้ว  หรือถ้ายังไม่เกิดหลังจากทำเสร็จแล้ว ก็จะเกิดในเวลาต่อมาอีก หรืออาจจะเกิดตั้งแต่เริ่มทำกรรมอยู่ และหลังทำกรรมเสร็จแล้วและรวมทั้งในเวลาต่อมาอีกก็ได้ ส่วนเรื่องว่าผลของกรรมใดจะตั้งอยู่นานเท่าใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราได้ทำกรรมนั้นรุนแรงเท่าใด ถ้ารุนแรงมากก็ตั้งอยู่นาน ถ้าไม่รุนแรงก็ตั้งอยู่ไม่นาน โดยเราก็ต้องมาดูจากจิตของเราเอง     ซึ่งนี่คือความจริง(สัจจะ)ที่ไม่มีใครจะคัดค้านด้วยเหตุผลได้ เพราะมีทั้งเหตุผลและมีความรู้สึกจริงๆจากจิตใต้สำนึกของเราทุกคนมาเป็นหลักฐานยืนยัน อันเป็นหลักวิทยาศาสตร์ทางจิตใจที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

สิ่งสำคัญคือเรื่องกรรมและวิบากนี้เป็นเรื่องที่ผู้เริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนาไม่ควรสนใจ(เรื่องอจินไตย) เพราะเป็นเรื่องที่จะหาผลสรุปที่แน่นอนไม่ได้ เพราะวันๆหนึ่งนั้นเราได้ทำทั้งกรรมดีและกรรมชั่วปนกันอยู่มากมาย ดังนั้นผลของกรรมดีและกรรมชั่วนี้จึงมีทั้งส่งเสริมกันและหักล้างกัน (เช่น ทำดีหลายๆอย่างก็จะมีความสุขใจอิ่มใจมากขึ้น แต่ถ้าทำดีมากและทำชั่วน้อยด้วย ก็จะทำให้ความสุขใจถูกหักล้างลง จึงทำให้มีความสุขใจน้อยลง) จึงทำให้เราหาผลสรุปที่แน่นอนของวิบากไม่ได้  อีกทั้งเรื่องกรรมและวิบากนี้ก็เป็นเรื่องที่ยังวนเวียนอยู่ในความทุกข์(คือกรรมดีก็มีทุกข์ซ่อนเร้น กรรมชั่วก็มีทุกข์เปิดเผย) หรือไม่เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นเราจึงแค่เรียนรู้หลักการของเรื่องกรรมและวิบากนี้ไว้แค่นี้ก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปสนใจรู้ในรายละเอียดมากกว่านี้ แต่ถ้าเรามาสนใจศึกษาเรื่องกรรมและวิบากนี้กันมากเกินไป ก็จะทำให้เราจมติดอยู่ในเรื่องเหล่านี้จนไม่สนใจศึกษาเรื่องการดับทุกข์ หรืออาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นมาได้ แล้วก็จะส่งผลทำให้การศึกษาเรื่องการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ เกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้


  ขอเจริญธรรม

( นำความคิดเห็นท่านอื่น มาให้อ่าน นะครับ )
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถามว่า "ใครเป็นผู้จัดสรรผลกรรม"

          คำตอบ น่าจะเป็นธรรมชาติเป็นผู้จัดสรรผลกรรม  คงคล้ายๆกับกลางวันและกลางคืน ใครเป็นคนจัดสรร ใครเป็นคนทำ ทำได้ยังไง 

          สุดท้ายก็ต้องยอมรับ ยอมแพ้ที่จะเอาชนะ ในความเป็นจริงของธรรมชาติ หรือของสัจจะความเป็นจริง 

      แต่เป็นเรื่องละเอียด ยากต่อการอธิบาย หรือบางครั้งก็ไม่อาจจะอธิบายกันได้ง่ายๆ หรือในความละเอียดมากๆ จนถึงขั้นอจินไตยก็เป็นการยากที่จะอธิบาย

          สรุป โดยรวม น่าจะเป็นธรรมชาติ

บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในความคิดผมนะครับ

ตัวเรานั่นเองที่จัดสรรค์กรรมให้ตน มากน้อยก็อยู่ที่ตนทำ สิ่งใดเกิดก่อนหลังก็อยู่ที่ตนทำ สิงใดตนทำมากก็ย่อมมีผลก่อน สิ่งใดตนทำน้อยก็ย่อมมีผลหลัง
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Jojo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 237
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องของ กรรมวิปาก นั้นจัดเป็นเรื่องอจิณไตรย คะ คือ ลงหาเหตุผลได้ยาก คะ
 บางอย่างว่าเราทำน้อย แต่ได้ผลก่อนก็มี บางอย่างทำมาก ได้ผลภายหลังก็มี บางอย่างไม่ได้(ในชาตินี้) ไม่รู้ว่ามาอย่างไร แต่ก็ต้องรับกรรมคะ เพราะอย่างน้อยก็เชื่อว่า เราคงทำไว้ในชาติก่อน ๆ นั้นไว้อย่างนี้คะ

  :s_hi:
บันทึกการเข้า
ฉันมาเพราะเธอนะ ยายกบ มาศึกษาธรรมะบ้าง ยินดีที่รู้จักทุกท่านคะ
ช่วยเมตตา แนะนำด้วยมิตรภาพ นะคะ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ที่บอกว่า น่าจะเป็นธรรมชาติ ก็เพราะว่า หลายๆเรื่อง ธรรมชาติเป็นตัวกำหนด เช่นว่า เราจะทำให้ไม่แก่ได้ไหม จะทำได้อย่างไร ?  หรือ จะไม่กินอะไรเลยโดยมีชีวิตอยู่ได้โดยเป็นปรกติได้ไหมสักสิบปี ?  หรือจะไม่นอนเลยตลอดสิบปี ?

  ก่อนที่กรรมจะเกิด ใช่อยู่เราเป็นผู้กำหนด

  แต่หลังจากที่เราได้กระทำกรรมนั้นๆแล้ว ก็น่าจะเป็นกฏแห่งกรรม กฏแห่งธรรม กฏแห่งธรรมชาติ  ที่จะกระทำทุกอย่างให้เป็นไป โดยที่บ้างอย่างเราก็ไม่สามารถที่จะไปบังคับเปลี่ยนแปลงอะไรได้  เช่น จะทำอย่างไร ให้เรา ไม่แก่ ?  ก็ไม่สามารถที่เราจะทำได้ มันเป็นกฏของธรรมชาติ เป็นกฏธรรม เป็นกฏของสัจจะความเป็นจริง
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ

     สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
     เป็นทายาทแห่งกรรม
     มีกรรมเป็นกำเนิด
     มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
     มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
     กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
ฯลฯ




อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
จูฬกัมมวิภังคสูตร

               อรรถกถาสุภสูตร               
               สุภสูตร๑- มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
____________________________
๑- บาลีว่า จูฬกัมมวิภังคสูตร

               ในสูตรนั้น บทว่า สุโภ ความว่า ได้ยินว่า เขาเป็นคนน่าดู น่าเลื่อมใส. ด้วยเหตุนั้น ญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อเขาว่า สุภะ เพราะความที่เขามีอวัยวะงาม. แต่ได้เรียกเขาว่า มาณพในกาลเป็นหนุ่ม. เขาถูกเรียกโดยโวหารนั้นแล แม้ในกาลเป็นคนแก่.

               บทว่า โตเทยฺยปุตฺโต ได้แก่ บุตรของพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อว่าโตเทยยะ. ได้ยินว่า เขาถึงอันนับว่าโตเทยยะ เพราะเขาเป็นใหญ่แห่งบ้านชื่อว่าตุทิคาม ซึ่งมีอยู่ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็เขาเป็นผู้มีทรัพย์มาก มีสมบัติถึง ๘๗ โกฏิ แต่มีความตระหนี่จัด. เมื่อจะให้ก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่าความไม่สิ้นเปลืองของโภคะทั้งหลายไม่มี จึงไม่ให้อะไรแก่ใครๆ.

               สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
                                   บัณฑิตเห็นความสิ้นไปแห่งยาหยอดตา
                         ทั้งหลาย การสะสมของตัวปลวกทั้งหลาย และ
                         การรวบรวมของตัวผึ้งทั้งหลายแล้ว พึงอยู่ครอง
                         เรือน.


               เขาให้สำคัญอย่างนี้ ตลอดกาลนานทีเดียว. เขาไม่ให้วัตถุสักว่ายาคูกระบวยหนึ่ง หรือภัตสักทัพพี แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในวิหารใกล้ ทำกาละด้วยความโลภในทรัพย์ ไปเกิดเป็นสุนัขในเรือนนั้นเทียว. สุภะรักสุนัขนั้นมากเหลือเกิน ให้กินภัตที่ตนบริโภคนั้นแหละ ยกขึ้นให้นอนในที่นอนอันประเสริฐ.





               อยู่มาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกในสมัยใกล้รุ่ง ทรงเห็นสุนัขนั้นแล้ว ทรงดำริว่า โตเทยยพราหมณ์ตายไปเกิดเป็นสุนัขในเรือนของตนเทียว เพราะความโลภในทรัพย์ วันนี้ เมื่อเราไปสู่เรือนของสุภะ สุนัขเห็นเราแล้ว จักทำการเห่าหอน.

               ลำดับนั้น เราจักกล่าวคำหนึ่งแก่สุนัขนั้น สุนัขนั้นจะรู้เราว่าเป็นสมณโคดม แล้วไปนอนในที่เตาไฟ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ สุภะจักมีการสนทนาอย่างหนึ่งกับเรา สุภะนั้นฟังธรรมแล้ว จักตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย ส่วนสุนัขตายไปแล้วจักเกิดในนรก ดังนี้.

              พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความที่มาณพจะตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลายนี้แล้ว ในวันนั้นทรงปฏิบัติพระสรีระ เสด็จไปสู่เรือนนั้นเพื่อทรงบิณฑบาต โดยขณะเดียวกันกับมาณพออกไปสู่บ้าน. สุนัขเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทำการเห่าหอน ไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า.
               แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้กะสุนัขนั้นว่า แน่ะโตเทยยะ เจ้าเคยกล่าวกะเราว่า ผู้เจริญๆ ไปเกิดเป็นสุนัข แม้บัดนี้ ทำการเห่าหอนแล้ว จักไปสู่อเวจี ดังนี้.


               สุนัขฟังพระดำรัสนั้นแล้ว รู้เราว่าเป็นสมณโคดม มีความเดือดร้อน ก้มคอไปนอนในขี้เถ้า ในระหว่างเตาไฟ. มนุษย์ไม่อาจเพื่อจะยกขึ้นให้นอนบนที่นอนอันประเสริฐได้. สุภะมาแล้วพูดว่า ใครยกสุนัขนี้ลงจากที่นอนเล่า. มนุษย์พูดว่า ไม่มีใคร แล้วบอกเรื่องราวเป็นมานั้น.
               มาณพฟังแล้วโกรธว่า บิดาของเราไปเกิดในพรหมโลก ไม่มีสุนัขชื่อโตเทยยะ แต่พระสมณโคดมทรงทำบิดาให้เป็นสุนัข พระสมณโคดมนั้นพูดพล่อยๆ ดังนี้ เป็นผู้ใคร่จะข่มพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำเท็จ จึงไปสู่วิหารทูลถามประวัตินั้น.

               แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนั้นเทียวแก่สุภมาณพนั้น เพื่อไม่ให้โต้เถียงกัน จึงตรัสว่า ดูก่อนมาณพ ก็ทรัพย์ที่บิดาของเธอไม่ได้บอกไว้มีอยู่หรือ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีหมวกทองคำราคาหนึ่งแสน รองเท้าทองคำราคาหนึ่งแสน และกหาปณะหนึ่งแสน.
               เจ้าจงไป จงถามสุนัขนั้นในเวลาให้กินข้าวปายาสมีน้ำน้อย แล้วยกขึ้นในที่นอนก้าวสู่ความหลับนิดหน่อย มันจะบอกทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้า. ลำดับนั้น เจ้าจะพึงรู้สุนัขนั้นว่า มันเป็นบิดาของเรา.


               มาณพดีใจแล้วด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ถ้าจักเป็นความจริง เราจะได้ทรัพย์ ถ้าไม่เป็นความจริง เราจักข่มพระสมณโคดมด้วยคำเท็จดังนี้ แล้วไปทำอย่างนั้น. สุนัขรู้ว่า เราอันมาณพนี้รู้แล้ว ทำเสียงร้อง หุง หุง ไปสู่สถานที่ฝังทรัพย์ ตะกุยแผ่นดินด้วยเท้าแล้วให้สัญญา.
               มาณพถือเอาทรัพย์แล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ธรรมดาสถานที่ปกปิดทรัพย์ปรากฏเป็นของละเอียด อยู่ในระหว่างปฏิสนธิอย่างนี้ นั่นเป็นสัพพัญญูของพระสมณโคดมแน่แท้ จึงรวบรวมปัญหา ๑๔ ปัญหา.

               นัยว่า มาณพนั้นเป็นนักปาฐกในวิชาทางร่างกาย. ด้วยเหตุนั้น มาณพนั้นจึงมีความคิดว่า เราถือธรรมบรรณาการนี้แล้ว จักทูลถามปัญหากะพระสมณโคดม. โดยการไปครั้งที่สอง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาทั้งหลายที่มาณพนั้นทูลถามแก่เขาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จึงตรัสว่า กมฺมสฺสกา เป็นต้น.





              ในบทนั้น กรรมเป็นของสัตว์เหล่านั้น คือเป็นภัณฑะของตน เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกรรมเป็นของตน. สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นทายาทแห่งกรรม. อธิบายว่า กรรมเป็นทายาทคือเป็นภัณฑะของสัตว์เหล่านั้น.

               กรรมเป็นกำเนิดคือเป็นเหตุของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด. กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์. อธิบายว่า มีกรรมเป็นญาติ.

               กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย คือเป็นที่ตั้งของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย.

              บทว่า ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย ความว่า กรรมนี้ใดจำแนกโดยให้เลวและประณีตอย่างนี้ว่า ท่านเลว ท่านประณีต ท่านมีอายุน้อย ท่านมีอายุยืน ท่านมีปัญญาทราม ท่านมีปัญญา ดังนี้ ใครอื่นไม่ทำกรรมนั้น กรรมนั้นเทียวย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้.

       สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นทายาทแห่งกรรม. อธิบายว่า กรรมเป็นทายาทคือเป็นภัณฑะของสัตว์เหล่านั้น.

       กรรมเป็นกำเนิด คือเป็นเหตุของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด.

       กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์. อธิบายว่า มีกรรมเป็นญาติ.

       กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย คือเป็นที่ตั้งของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย.

               บทว่า ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย ความว่า กรรมนี้ใดจำแนกโดยให้เลวและประณีตอย่างนี้ว่า ท่านเลว ท่านประณีต ท่านมีอายุน้อย ท่านมีอายุยืน ท่านมีปัญญาทราม ท่านมีปัญญา ดังนี้ ใครอื่นไม่ทำกรรมนั้น กรรมนั้นเทียวย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้.

 ...........ฯลฯ................



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๗๖๒๓ - ๗๗๙๘.  หน้าที่  ๓๒๓ - ๓๒๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7623&Z=7798&pagebreak=0
ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/listen/?b=14&item=579
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=579
ขอบคุณภาพจาก www.chiangmaithailand.tht.in,www.oknation.net}http://www.ee43.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2012, 08:55:10 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



กรรมมีผลเนื่องถึงผู้อื่น
จาก หนังสือ หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด (อ. วศิน อินทสระ)

ปัญหาอีกประการหนึ่งที่น่าพิจารณา คือ ความดี ความชั่ว ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตน หรือคนอื่นอาจทำให้เราบริสุทธิ์ หรือเศร้าหมองได้

           ถ้าความดี ความชั่ว ใครทำ ใครได้ ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์เป็นเรื่องเฉพาะตน คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้แล้ว ไฉนเล่าเมื่อมารดาบิดาเป็นคนดี ลูกหลานจึงได้รับเกียรติ ได้รับความยกย่องนับถือด้วย เมื่อมารดาบิดาไม่ดี ตระกูลไม่ดี เหตุไรบุตรธิดาและคนในตระกูลจึงต้องได้รับอัปยศด้วย หรือเมื่อมารดาบิดามั่งมีหรือยากจน บุตรธิดาจึงพลอยมั่งมีหรือยากจนไปด้วย ความไม่บริสุทธิ์อาจป้ายสีกันได้ ความบริสุทธิ์อาจประกาศยกให้กันได้

           ถ้าเป็นดังที่ว่านี้ก็น่าจะขัดแย้งกับพระพุทธภาษิตที่ว่า “สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้” ขออธิบายข้อความนี้ดังต่อไปนี้

          ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน ใครอื่นจะทำอีกคนหนึ่งให้บริสุทธิ์ไม่ได้” นั้น หมายความว่า บุคคลทำชั่วเองย่อมเศร้าหมองเอง ทำดีเองย่อมผ่องแผ้วเอง ทรงหมายถึงความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ชั้นใน-ภายในความรู้สึกสำนึกของตน ไม่ใช่ความบริสุทธิ์ที่คนอื่นถือว่าบริสุทธิ์หรือความเศร้าหมองที่คนอื่นเขาป้ายสีให้       

      สมมติว่า คนผู้หนึ่งฆ่าคนตาย แม้จะไม่มีใครรู้เห็น เขาผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ในข้อนี้ ส่วนอีกคนหนึ่งไม่ได้ฆ่าใคร แต่หลักฐานภายนอกผูกมัดเพราะถูกใส่ความ เขาต้องได้รับโทษทางกฎหมายเช่นถูกจำคุกหรือถูกปรับ คนทั้งหลายเห็นว่าเขาเป็นอาชญากรหรือฆาตกร

      แต่ในความเป็นจริงเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ความเป็นจริงกับปรากฏการณ์ภายนอกมิใช่จะตรงกันเสมอไป ในกรณีดังกล่าวจะเห็นว่าความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นเรื่องเฉพาะตนจริง คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์หรือเศร้าหมองหาได้ไม่ พระพุทธเจ้าเองก็เคยถูกใส่ความเรื่องนางสุนทรีและนางจิญจมาณวิกา คนเชื่อไปก็มาก แต่ความบริสุทธิ์ยังเป็นของพระองค์อยู่ตลอดเวลา

           ส่วนความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ในสายตาของคนทั้งหลายอื่น และในสายตาของศาลนั้นไม่แน่เสมอไป คนผิดแท้ ๆ อาจกลายเป็นคนบริสุทธิ์ได้ เมื่อหลักฐานที่จะเอาผิดไม่เพียงพอ คนถูกคนบริสุทธิ์แท้ ๆ อาจกลายเป็นคนไม่บริสุทธิ์ได้ ถ้าหลักฐานที่ผู้อื่นสร้างขึ้นมีมากพอที่จะปรักปรำให้เขาต้องเป็นคนผิดในสายตาของศาล เพราะศาลย่อมพิจารณาคดีตามหลักฐานพยานทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย แล้วลงความเห็นไปตามหลักฐานนั้น

           คราวนี้ เรื่องความดีความชั่วหรือบุญบาปที่บุคคลหนึ่งทำแล้ว ผลมาเกี่ยวเนื่องถึงอีกบุคคลหนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะชีวิตของคนเหล่านั้นเกี่ยวเนื่องถึงกัน อย่างที่โบราณว่า “ปลาข้องเดียวกัน มักต้องเน่าเหม็นด้วยกัน” หรือ “ของหอมมักทำให้เครื่องรองรับพลอยหอมไปด้วย”

           เพื่อความแจ่มแจ้งในเรื่องนี้ เราควรพิจารณากรรมต่างๆ ดังนี้           
             ๑.  กรรมส่วนบุคคล           
             ๒.  กรรมของครอบครัว           
             ๓.  กรรมของหมู่คณะหรือสังคม           
             ๔.  กรรมของประเทศชาติ           
             ๕.  กรรมของโลก




 
           กรรมส่วนบุคคล นั้น ใครทำคนนั้นได้รับเพียงคนเดียว คือเขาทำประโยชน์ส่วนตนของเขา เช่นการศึกษาหาความรู้ ใครทำคนนั้นก็ได้รับเฉพาะตน เขาศึกษาเล่าเรียนเพียงคนเดียว จะให้ญาติพี่น้องพ่อแม่         ผู้ไม่ศึกษาเล่าเรียนพลอยรู้ไปด้วยหาได้ไม่ ต่อเมื่อเขารู้แล้วนำความรู้มาสั่งสอนบอกเล่า นั่นแหละคนอื่นจึงจะพลอยรู้ไปด้วย

          แต่เมื่อกล่าวโดยอ้อม เขาผู้ศึกษาสูง มีความรู้ดี ใช้ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์ อยู่ในครอบครัวใด ในหมู่คณะใด ครอบครัวนั้น หมู่คณะนั้นก็พลอยได้รับประโยชน์ไปด้วย ถ้าเขาใช้ความรู้ประกอบกรรมดีถึงระดับชาติ ชาติก็พลอยได้รับเกียรติ ได้รับประโยชน์จากเขาด้วยเหมือนกัน
         บางทีเขาทำประโยชน์ระดับโลก อย่างเช่น พระพุทธเจ้าและนักวิทยาศาสตร์บางคน เช่น หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นอาทิ โลกก็พลอยได้รับสิ่งดีงามไว้ประจำโลก เพราะอาศัยอัจฉริยบุคคลเช่นนั้น
         นี่กล่าวในทางดี ในทางชั่วก็ทำนองเดียวกัน คนๆ เดียวอาจทำให้โลกเดือดร้อนได้

         กรรมของครอบครัว นั้น คือคนที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน คนใดคนหนึ่งทำดีหรือชั่ว มั่งมีหรือยากจนลง ผลย่อมตกแก่ครอบครัวด้วย เช่น พ่อแม่ทำดีมีชื่อเสียง ลูกๆ ก็พลอยมีหน้ามีตา พ่อแม่ยากจนลง ลูกๆ ก็พลอยลำบากไปด้วย ฯลฯ
         
          กรรมของหมู่คณะหรือสังคมหรือสถาบัน ก็ทำนองเดียวกัน มีความเกี่ยวเนื่องถึงกัน คนในหมู่คณะเดียวกัน มีความสัมพันธ์กันทางชื่อเสียงเกียรติยศ หรือความเสื่อมอัปยศ อย่านึกว่าเราทำของเราคนเดียว เราอยู่ในสถาบันใด สถาบันนั้นย่อมต้องพลอยเสียชื่อหรือได้ชื่อไปด้วย

           ส่วนกรรมของประเทศชาติ เป็นกรรมระดับชาติ แม้บุคคลผู้เดียวทำ ก็อาจเป็นประโยชน์แก่ชาติทั้งชาติหรือเป็นภัยแก่ชาติได้ ยิ่งผู้ซึ่งเป็น  ตัวแทนของชาติเช่นทูต ทำสิ่งใดลงไปย่อมหมายถึงการกระทำของชาติ  อีกผู้หนึ่งคือผู้ซึ่งเป็นประมุขของชาติเช่นพระมหากษัตริย์ หรือประธานาธิบดี  ทำสิ่งใดลงไปย่อมกระทบกระเทือนถึงชาติเสมอ อาจให้คนรักชาตินั้นหรือเกลียดชาตินั้นก็ได้

           อนึ่ง คนมากด้วยกันรวมกันเป็นประเทศชาติ ต่างคนต่างทำกรรมชั่วกันมากบ้างน้อยบ้าง นานๆ เข้าผลแห่งกรรมชั่วรวมกลุ่มกัน เนื่องจากมนุษย์ทำกรรมเหมือนๆกันไม่มีใครลงโทษใครได้ ผลแห่งกรรมรวม   บันดาลให้ธรรมชาติลงโทษมนุษย์เสียครั้งหนึ่ง เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง แผ่นดินไหวบ้านเรือนพังพินาศเสียหายมากมาย เดือดร้อนกันทั้งชาติ นี่เป็นกรรมของชาติ

          แม้คนดีคนบริสุทธิ์ก็พลอยเดือดร้อนด้วยเพราะเป็นบุคคลในชาติ หลายชาติเดือดร้อน
          โลกก็เดือดร้อน คนในโลกวุ่นวาย ระส่ำระสาย ค่าครองชีพสูงทั่วโลก
          ประชาชนหาได้ไม่พอเลี้ยงชีพ หาความสงบสุขได้ยากนี่ กรรมของโลก





          ด้วยประการฉะนี้ ผู้มีใจไม่คับแคบก่อนทำก่อนพูดอะไร
          จึงควรคำนึงถึงผลดีผลเสียอันจะตกแก่ครอบครัว สังคม ชาติและโลกไว้ด้วย 
          ไม่เพียงแต่คำนึงถึงตนเพียงผู้เดียว กรรมบางอย่างบิดาเป็นคนทำแต่บุตรเป็นผู้ได้รับ
          เป็นเรื่องน่าพิศวงมาก เช่น บิดาไปตัดมือลิงเพราะลิงได้ทำสิ่งมีค่าของตนเสียหาย ขณะนั้นภรรยาของเขากำลังตั้งครรภ์


           เมื่อภรรยาคลอดปรากฏว่าบุตรของเขา มือขาดมาแต่ในครรภ์ มือข้างเดียวกับมือลิงที่ถูกตัด
          เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์สายชีววิทยาอาจให้เหตุผลทางโรคบางอย่างของมารดาหรือบิดาอันเป็นเหตุให้ลูกต้องเป็นอย่างนั้น แต่ความจริงทั้งมารดาและบิดามิได้เป็นโรคอย่างที่หมอหรือนักวิทยาศาสตร์สงสัยนั้นเลย


           เรื่องนี้หลักกรรมและการเกิดใหม่ ตอบว่าอย่างไร ?             
           ตอบว่า  ถ้ามารดาบิดาไม่มีโรคประจำตัวอันเป็นเหตุให้เด็กเป็นอย่างนั้น ก็เป็นเพราะกรรมที่พ่อไปตัดมือลิงด้วยความโกรธแค้น           
           “ทำไม พ่อทำ ผลร้ายจึงตกแก่ลูก?”          
           ได้กล่าวไว้แต่ต้นแล้วว่า  นอกจากกรรมส่วนบุคคลแล้ว ยังมีกรรมของครอบครัวอีกด้วย
           พ่อทำความดี มีลาภ มียศ ผลดียังตกถึงลูกได้
           ทำไมเมื่อพ่อทำไม่ดี ผลร้ายจะตกแก่ลูกบ้างไม่ได้


       


   หลักกรรมและการเกิดใหม่มีทางอธิบายได้ ๒ ทาง คือ           
       ๑. กรรมได้จัดสรรให้วิญญาณ ซึ่งเคยทำกรรมอย่างเดียวกับบิดาของเขาในชาตินี้มาเกิด คือ เด็กคนนั้นอาจเคยตัดมือลิงในชาติใดชาติหนึ่งในอดีตมาแล้ว           
       ๒. กรรมที่รุนแรงมากย่อมหาโอกาสให้ผลโดยเร็ว แต่ยังหาโอกาสสำหรับบุคคลผู้เป็นบิดาไม่ได้ จึงไปลงโทษแก้แค้นเอาที่ลูก ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการทรมานจิตใจผู้เป็นบิดาอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน


           การลงโทษของกรรมแบบนี้ เปรียบเหมือนคนผู้หนึ่งไปฆ่าบิดาอันเป็นที่รักของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง
           เด็กหนุ่มนั้นมีความพยาบาทรุนแรงเที่ยวตามผู้ฆ่าบิดาตน แต่ไม่อาจหาพบได้
           หรือบางครั้งหาพบแล้วแต่บุคคล ผู้นั้นกำลังอยู่ในภาวะแวดล้อมอารักขาของมิตรสหายมากมาย
           เขาจึงไม่สามารถฆ่าตอบได้ จึงไปซุ่มอยู่ใกล้บ้านของบุคคลผู้ฆ่าบิดาตนเพื่อคอยโอกาสเหมาะ
           เมื่อเห็นบุตรของผู้นั้นออกมาจากเรือน เห็นว่าทำร้ายได้โดยง่ายและเป็นทางหนึ่งที่จะระบายความแค้นของตนให้คลายลง จึงประหารเด็กคนนั้นเสีย

           ตามธรรมดาบุตรย่อมเป็นที่รักยิ่งของบิดามารดา เมื่อบุตรถูกประหาร
          บิดาย่อมรู้สึกเสียใจ ปวดร้าวยิ่งกว่าถูกฆ่าเองเสียอีก


           ทำนองเดียวกันนี้ กรรมที่บุคคลทำแล้วถ้าก่อความทารุณแสบเผ็ดให้แก่คนอื่นสัตว์อื่น กรรมจพยายามให้ผลอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สาหัสทันตาเห็น หากยังไม่มีโอกาสให้ผลแก่ผู้ทำโดยตรง เพราะกรรมดีคอยแวดล้อมอยู่ ก็จะให้ผลแก่ครอบครัว เพื่อก่อความสะเทือนใจแก่บุคคลนั้น

           อนึ่ง โดยธรรมดา มารดาบิดาที่เห็นลูกคลอดมามีอวัยวะไม่สมบูรณ์ไม่สมประกอบนั้นเป็นความปวดร้าวทรมานไปตลอดชีวิต คลอดมาแล้วตายเสีย ยังจะให้ความเสียใจเพียงครั้งเดียว การลงโทษแห่งกรรมแบบนี้เป็นการลงโทษที่แสบเผ็ดมาก 


อ้างอิง
http://www.ruendham.com/book_detail.php?id=16&content=277&name_content=%A1%C3%C3%C1%C1%D5%BC%C5%E0%B9%D7%E8%CD%A7%B6%D6%A7%BC%D9%E9%CD%D7%E8%B9
ขอบคุณภาพจาก www.larnbuddhism.com,http://talk.mthai.com/,http://nakasem.com/,http://www.vcharkarn.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 14, 2012, 11:20:58 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนาครับ มีคำถามตอบที่เป็นประโยชน์ มากครับ
ถึงแม้เรื่องกรรมจะเป็นอจินไตรย แต่เราก็ต้องมีความเชื่อ ในกฏแห่งกรรมครับ  ไม่ใช่ไม่ให้คุยกันเสียเลย

  :25: :s_good:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถึงแม้เรื่องกรรมจะเป็นอจินไตรย แต่เราก็ต้องเชื่อ ไม่ใช่ไม่คุยกันเสียเลย



กฏแห่งกรรมเป็นประจักษ์ผลเชิงวิทยาศาสตร์อันหนึ่งที่ขาดการยอมรับในสังคมเนื้อแท้เหตุเนื่องจากเรามองด้านสุขเพียง

ฝ่ายเดียวปฏิเสธทุกข์แบบชนิดจมปลัก ดังนั้นวิทยาศาสตร์จึงเป็นอะไรที่จมปลัก 




http://www.neutron.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=5774&Itemid=7
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 14, 2012, 10:59:46 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา