ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ปอศ.”จับ 91 องค์กรธุรกิจใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน  (อ่าน 1710 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

วันนี้(15ส.ค.) ที่โรงแรมเวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท  กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ( บก.ปอศ.) จัดแถลงข่าว การดำเนินงานปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 โดยมี นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษก บก.ปอศ. และนายสมพร มณีรัตนะกูล นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย(เอทีเอสไอ) ร่วมงานแถลงข่าว


   พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษก บก.ปอศ. กล่าวว่า ครึ่งปีที่ผ่านมาได้เข้าตรวจค้นดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จำนวน 91 แห่ง ซึ่งได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายลงเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีจำนวน 1,434 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 174 ล้านบาท โดยองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 69%  เป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยคนไทย ส่วนอีก 18% เป็นบริษัทที่ไทยและต่างชาติถือหุ้นร่วมกัน และอีก 3 % เป็นบริษัทที่ต่างชาติถือหุ้น 100% ส่วนอีก 1 % ไม่ทราบสัญชาติ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิต อาทิ อะไหล่รถยนต์ เครื่องประดับ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมก่อสร้าง ตกแต่งภายใน  ออกแบบสื่อโฆษณาและแอนิเมชั่น ซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ที่พบส่วนใหญ่ คือ ไมโครซอฟท์ ออโต้เดสก์ และไทยซอฟต์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์
 

“ในช่วงครึ่งปีหลังมีเป้าหมายโรงงานที่จะเข้าตรวจค้นอีก 1,300 แห่ง และบริษัทส่งออก 600 แห่ง ตั้งเป้าหมายลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์พีซีให้เหลือ 70% ในสิ้นปีนี้จากปัจจุบันอยู่ที่ 72%  โดยขณะนี้ไทยมีอัตราละเมิดลิขสิทธิ์อยู่อันดับที่ 7 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่หากดูในส่วนของการปราบปรามเพื่อลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ไทยอยู่อันดับที่ 2 เป็นรองเพียงฮ่องกงเท่านั้น”


พ.ต.อ.ชัยณรงค์ กล่าวต่อว่า การเข้าตรวจค้นทางเจ้าหน้าที่จะมีการขอหมายค้นจากศาลทุกครั้ง หากผู้ประกอบการพบเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นโดยไม่แสดงหมายค้นขอให้ถ่ายรูปและวิดีโอไว้ แล้วแจ้งมาทาง ปอศ.เพื่อจะได้ทำการตรวจสอบและเป็นการป้องกันการประพฤติมิชอบของทางเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตามในส่วนของร้านค้าขายคอมพิวเตอร์และประชาชนทั่วไปจะเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงโทษและความเสี่ยงจากใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งการเร่งปราบปราบเนื่องจากมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างชาติ และให้ไทยหลุดจากสถานะประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ(PWL) และเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี)ในปี 2558


นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่อเนื่อง โดยรณรงค์ให้ความรู้กับผู้ประกอบการเพื่อตะหนักเรื่องนี้ และทางกรมฯให้ความสำหรับกับทั้งซอฟต์แวร์ไทยและต่างประเทศ ส่วนการหลุดจากประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ สหรัฐฯจะพิจาณาจากหลายองค์ประกอบ ไม่ใช่การปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างเดียว
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี