ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พิพาทรื้อสุสาน วัดพนัญเชิง สู่ 'เจรจา' เพื่อสาธารณประโยชน์  (อ่าน 882 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พิพาทรื้อสุสาน วัดพนัญเชิง สู่ 'เจรจา' เพื่อสาธารณประโยชน์

จากกรณีพิพาทที่ดินสุสานระหว่างวัดพนัญเชิงวรวิหารกับกลุ่มลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีน เนื่องจากวัดพนัญเชิงมีแผนการพัฒนาที่ดินมูลนิธิวัดพนัญเชิงเซี่ยงเต็กตึ๊ง จำนวน 14 ไร่ สร้างเป็นที่จอดรถและอาคารเพื่อกิจการวัด สถานปฏิบัติธรรม ฯลฯ และประกาศเส้นตายให้ญาติต้องมาย้ายศพบรรพบุรุษออกจากสุสานแห่งนี้ ภายในเดือนสิงหาคม 2557 
 
ขณะที่ วันที่ 9 เมษายน 2557 เกิดความเคลื่อนไหวของเครือข่ายนักวิชาการ นักกิจกรรม นักเขียน และคนทำงานเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวพระนครศรีอยุธยากว่า 155 คน จากทั่วประเทศ ยื่นจดหมายเปิดผนึกคัดค้านการรื้อสุสานจีนวัดพนัญเชิง
 
แม้เหตุการณ์นี้จะยืดเยื้อมานับสิบปี โดยเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2557 ซึ่งตรงกับวันเช็งเม้งวันสุดท้ายตามปฏิทินในปีนี้ ได้เกิดการรวมตัวครั้งใหญ่ของ “กลุ่มลูกหลานจีนอยุธยาปกป้องสุสาน” ยื่นหนังสือเรียกร้องวัดให้ทบทวนโครงการและร่วมลงชื่อคัดค้านกว่า 600 รายชื่อ ขณะเดียวกัน รายการเวทีสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ก็ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นในวันดังกล่าวด้วย เพื่อแสวงหาทางออกที่น่าพอใจต่อทุกฝ่าย

 
 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมจีน กล่าวว่า ความสำคัญของพื้นที่สุสานบรรพชนชาวจีน นับว่ามีความหมายต่อลูกหลาน ในหลายๆ เมือง อย่างเช่น สุสานที่กรุงบอสตัน สหรัฐอเมริกา หรือสุสานย่านสีลม กรุงเทพฯ ยังถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี 
 
“สำหรับพี่น้องชาวจีน วันเช็งเม้งเป็นวันที่แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูของลูกหลานต่อบรรพบุรุษ เพราะมีกิจกรรมกินข้าวร่วมกันของลูกหลาน ณ บริเวณฮวงซุ้ย และความกตัญญูถือเป็นปฐมบทแห่งการบำเพ็ญกิจของลูกหลานชาวจีน ตามหลักปรัชญาของการครองชีพ ครองตน การสร้างบ้าน การสร้างชุมชน มานับพันปี”
 
 :29: :29: :29:

พิพัฒน์ กระแจะจันทร์  นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จุดยืนการปรับเปลี่ยนสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ามาท่องเที่ยวของวัดพนัญเชิง เป็นมุมมองในระยะสั้น
 
“การท่องเที่ยวเป็นเพียงกระแสที่มีขึ้นมีลง แต่การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับวัด คือตัวแปรหลักของวัดในอนาคต เพราะพื้นที่ของสุสานไม่ใช่แค่พื้นที่ของสงฆ์ แต่เป็นพื้นที่ที่แสดงวิถีชีวิตของคน ชุมชน ความสำคัญในมิติทางประวัติศาสตร์ สังคมเป็นพื้นที่ที่บ่งบอกถึงรากเหง้าของคนจีนโพ้นทะเลใน จ.พระนครศรีอยุธยา การรักษาสุสานไว้ จึงเปรียบเสมือนการสร้างพื้นที่ทางประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน แต่การรื้อสุสานเท่ากับตัดตอนประวัติศาสตร์ของชุมชนอยุธยาทั้งในอดีตและปัจจุบัน
 
“อย่างกรณีของสุสานที่มะละกา ประเทศมาเลเซีย เป็นพื้นที่ที่บ่งบอกรากเหง้าของชุมชนและคนในเกาะมะละกา ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล หลักการพัฒนาที่ดินสุสานแห่งนี้ทำได้โดยไม่จำเป็นต้องรื้อถอน แต่คือการสร้างองค์ความรู้ของพื้นที่ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบ่งบอกคุณค่าทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ” 
 
พร้อมกับเสนอว่า การจัดการด้านผลประโยชน์ที่ดินของวัด วัดควรตระหนักถึงการให้ความสำคัญกับชุมชน ซึ่งจะเป็นฐานรองรับการดำรงอยู่ของวัด ขณะที่วัดสามารถหาที่ดินในบริเวณอื่นสร้างที่จอดรถได้ โดยไม่เบียดเบียนที่ดินสุสาน ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และชุมชนคนจีนที่มีความสัมพันธ์กับวัดพนัญเชิงมาตั้งแต่อดีต 

 
 :96: :96: :96:

ด้าน วินัย อัศวราชันย์ ประธานมูลนิธิวัดพนัญเชิงเซี่ยงเต็กตึ๊ง กล่าวว่า ในฐานะประธาน ได้รับมอบหลักฐานยืนยันสิทธิการใช้ที่ดินสุสาน ในเอกสาร ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2495  มีการลงนามระหว่างพระโบราณคณิศร อดีตเจ้าอาวาสวัดพนัญเชิง ขุนศารทประภาศึกษากร (พนักงานศาสนจังหวัด) และ วิโรจน์ กมลพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ระบุการจัดทำบันทึกหลักฐานในการมอบสิทธิ์ที่ดิน 14 ไร่ ให้เป็นสุสานสาธารณกุศล เพื่อจะได้เป็นสาธารณประโยชน์แก่ประชาชนตลอดไป
 
พร้อมกันนั้น กลุ่มลูกหลานชี้ให้เห็นหลักฐานป้ายหินอ่อนสลักอักษรภาษาจีน ที่แสดงเจตนารมณ์ในการสร้างสุสาน และสะท้อนมรดกทางวัฒนธรรมให้คนรุ่นหลังได้ร่วมจดจำถึงความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ ซึ่งเป็นบันทึกการลงนามระหว่างพระโบราณคณิศร อดีตเจ้าอาวาสวัดพนัญเชิง และวิโรจน์ กมลพันธ์ รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ คณะกรรมการที่ร่วมก่อสร้างสถานที่แห่งนี้มากว่า 60 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ.2495 

 
 :s_hi: :s_hi: :s_hi:

สมาน ศิริพฤกษ์พงศ์ ประธานกลุ่มลูกหลานจีนอยุธยาปกป้องสุสานบรรพชน กล่าวว่า ข้อคิดเห็นในเวทีสาธารณะครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อแนวทางการเคลื่อนไหวของกลุ่มลูกหลานชาวจีนเป็นอย่างมาก 
 
“ลูกหลานชาวจีนทุกคนมีจิตสำนึกในการดูแลร่างของบรรพบุรุษที่อยู่ที่นี่มากว่า 60 ปี การดำเนินการของกลุ่มลูกหลานหลังจากนี้ คือการถอยทีละก้าว เริ่มต้นจากทุกฝ่ายจะต้องมีการรื้อป้ายจุดยืนออกไป ทางกลุ่มลูกหลานก็จะนำเอาป้ายคัดค้านที่ติดทั่ว จ.พระนครศรีอยุธยา ออกไป และนำไปสู่กระบวนการพูดคุยเพื่อให้ได้ข้อยุติ เพื่อให้ลูกหลานได้รับความเป็นธรรม และความถูกต้อง”   
 
พร้อมกันนั้น ยังมีข้อเสนอทางออกอื่นๆ จาก พงษ์พรหม ธีระพันธ์เจริญ หนึ่งในกลุ่มลูกหลานจีนฯ เสนอให้มีการซื้อที่ดิน เช่น ด้านหลังสุสาน โดยการร่วมบริจาคเงินมีทุนตั้งต้นไว้จำนวน 2 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อที่ดินบริเวณใกล้วัดสร้างเป็นที่จอดรถ 
 
 :49: :49: :49:

ด้านข้อเสนอจากอนุกรรมสิทธิชุมชน แสงชัย รัตนเสรีวงศ์  แนะว่า จากปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มลูกหลาน ทุกฝ่ายควรยึดหลักสิทธิ์ของชุมชนมากกว่ายึดหลักการทางกฎหมายหรือมูลค่าของที่ดินเป็นตัวตั้ง
 
“หัวใจของปัญหานี้คือสุสานแห่งนี้ไม่ได้เป็นสิทธิ์ส่วนตัวของใคร แต่เป็นสัญลักษณ์และศูนย์รวมจิตใจให้ลูกหลานที่ปฏิบัติถึงความกตัญญู สำหรับแนวทางการช่วยเหลือในฐานะตัวแทนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งทางลูกหลานสามารถยื่นข้อเรียกร้องต่อคณะกรรมสิทธิมนุษยชนต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงในที่ดินสุสานได้ 
 
“ทุกฝ่ายอาจจะต้องพลิกวิธีการจัดการที่ดินผืนนี้ร่วมกัน โดยไม่ยึดถือว่า ใครจะเป็นผู้ได้รับกรรมสิทธิ์หรือจะได้รับประโยชน์จากที่ดินแต่เพียงผู้เดียว แนวทางนี้จะทำให้วัดไม่ได้สูญเสียประโยชน์เรื่องการใช้ที่ดินในการทำนุบำรุงศาสนา มูลนิธิก็สามารถเป็นองค์กรกลางที่มีบทบาทการทำสาธารณกุศล รวมถึงพี่น้องชาวจีนที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในที่ดินร่วมกัน ทั้งหมดนี้น่าจะส่งผลให้ทางวัดเองได้รับความเชื่อถือศรัทธาและได้รับการยอมรับว่าสามารถคลี่คลายปัญหาลงได้” 
 
แม้การรับฟังความคิดเห็นในวันนั้น ทางวัดพนัญเชิงไม่อาจเข้าร่วมพูดคุยในเวที อย่างไรก็ตาม พระมหาเชิดชัย กตปุญโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพนัญเชิง แสดงท่าทียินดีหากลูกหลานจะเข้ามาพูดคุยเจรจากับทางวัดในลำดับต่อไป โดยยึดหลักการสำคัญคือ การนำที่ดินสุสานมาใช้เพื่อสาธารณประโยชน์นั่นเอง


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140413/182806.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ