ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ฉายาและราชทินนาม" ของหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน เป็นมาอย่างไร  (อ่าน 16703 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด


๑. ทรงมีพระฉายานามว่า ไก่เถื่อน

      นับแต่พระอาจารย์สุก เจริญภาวนาแผ่เมตตาจิต คุ้มครองไก่ป่า และสัตว์ทั้งหลายครั้งนั้น ก็เป็นที่เรื่องลือกันทั่วไปในหมู่คนไทยอิสลาม และหมู่คนไทยพุทธ ในหมู่บ้านใกล้เคียง ครั้นพระองค์ท่านมาสถิตวัดพลับแล้ว พระองค์ท่านทรงเดินไปมา ที่ไหนๆภายในวัดพลับนี้ ก็จะมีไก่ป่าทั้งหลาย เดินเยอะย่างตามพระองค์ท่านไปบ้าง บินตามพระองค์ท่านไปเป็นระยะๆบ้าง เหมือนลูกไก่ ตามแม่ไก่

      เมื่อพระองค์ท่าน ประทับนั่งอยู่ ณ.ที่ใดภายในวัด ไก่ป่าพันธุ์ต่างๆ ก็จะพากันมารุมล้อม พระองค์ท่านทุกครั้งเสมอไป บางตัวยืนอยู่บนพระเพลาทั้งสองของพระองค์ท่านบ้าง บางครั้งพระองค์ท่านอยู่ภายในกุฏิ ไก่ป่า ก็จะอยู่ใกล้ๆบริเวณกุฏิของพระองค์ท่าน

      แต่นั้นมาพระองค์ท่าน จึงทรงได้รับ พระฉายานามว่า
      พระอาจารย์สุก ไก่เถื่อนบ้าง หลวงพ่อไก่เถื่อนบ้าง หลวงปู่สุก ไก่เถื่อนบ้าง
      บางคนคนองปากหน่อย เรียกขานพระนามของพระองค์ท่านว่า ปู่เจ้าสมิงพราย พระนามนี้ไม่ค่อยจะมีผู้คนเรียกขานกัน เพราะกลัวบาป กลัวกรรม จึงมีคำพูดติดปากของผู้คนในสมัยนั้นว่า


      อย่าว่าแต่ไก่ป่าเลยที่มารุมล้อมพระองค์ท่าน แม้ไก่บ้านก็ยังมารุมล้อมพระองค์ท่าน เมื่อท่านสถิตอยู่ภายในวัด ทุกครั้งเสมอมา

พระองค์ท่านไม่อยู่ ไก่ป่า นกกา ไม่ขัน ไม่ร้อง
      กล่าวว่า เมื่อพระองค์ท่านสถิตอยู่ภายในวัด พวกไก่ป่า พวกนก พวกกา จะพากันขัน ร้อง กันเซ็งแซ่ไปหมด เมื่อพระองค์ท่าน มีธุระเสด็จ ไปนอกวัด ไก่ป่า นก กา ก็จะพากันเงียบ หงอยเหงา ครั้นพระองค์ท่าน ทรงกลับมาวัดแล้ว พวกไก่ป่า นก กา มันก็จะพากันขัน พากันร้อง เซ่งแซ่อยู่สักพักใหญ่ครู่หนึ่ง นี้เป็นสัญญาณให้พระภิกษุภายในวัดได้รู้ว่า พระองค์ท่าน ทรงเสด็จกลับมาวัดแล้ว

      กล่าวว่าพระองค์ท่านจะทรงแผ่เมตตา ออกบัวบานพรหมวิหารทุกวัน จนกระทั้งพวกไก่ป่า นก กา ที่อยู่นอกเขตป่าวัดพลับ บินหลงเข้ามาในเขตป่าวัดพลับแล้ว ก็จะหลงติดอยู่ที่ป่าวัดพลับเลย ทั้งนี้เป็นเพราะพลังแห่งการแผ่เมตตาจิต ของพระอาจารย์สุก และเหล่าพระภิกษุสงฆ์สมถะในวัดพลับ





๒. ทรงแต่งตั้ง พระอาจารย์สุกเป็นพระราชาคณะที่ พระญาณสังวรเถร
     พระราชดำริเดิม ตั้งพระทัยจะทรงแต่งตั้งพระอาจารย์สุก เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณไตรโลก 
     ต่อมาภายหลัง ทรงเห็นว่าราชทินนามนี้ ไม่เหมาะสมกับพระองค์ท่าน จึงได้ทรงปรึกษากับเจ้ากรมอาลักษณ์ (แก้ว) ให้ขนานราชทินนาม พระอาจารย์สุกใหม่ให้เหมาะสมกับพระลักษณะนิสัย และคุณธรรม ความรู้ความสามารถของพระองค์

    ท่านเจ้ากรมอาลักษณ์ จึงขนานราชทินนามให้ใหม่ว่า พระญาณสังวรเถร
     ซึ่งมีความหมายว่า เป็นผู้มีความรู้ในเหตุในผล ทั้งทางดี ทางชั่ว ช่วยป้องกันความดีของผู้อื่น
     ญาณ คือ ความรู้ จึงเป็นเหตุสำรวม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพอพระราชหฤทัยในราชทินนามนี้


     ครั้นพระยาโหราธิบดี คำนวณ หาฤกษ์ได้ฤกษ์มงคลดีแล้ว จึงให้เจ้ากรมสังการีไปอาราธนานิมนต์ พระอาจารย์สุก กับพระสังฆเถรอีกสามรูป ให้เข้ามารับ พระนาม ณ.พระราชมณเฑียรชั่วคราว ใพระบรมมหาราชวัง
     ครั้นถึง ณ. วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๔๕ เบญจศก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้
     พระอาจารย์สุก วัดพลับเป็น พระญาณสังวรเถร พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ

     
หมายเหตุ ราชทินนามที่ ญาณสังวร ก็มีปรากกฏในยุคอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคือ ราชทินนามที่ พระครูญาณสังวร สถิตวัดดงตาล หรือวัดอัมพวัน เมืองสิงห์บุรี


คัดลอกมาจาก (บางส่วน)
หนังสือ พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง
http://www.somdechsuk.com
ขอบคุณภาพจาก http://sphotos-e.ak.fbcdn.net/,http://i868.photobucket.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2012, 12:54:20 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
ภาพจาก พิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

๓. สถาปนาพระญาณสังวรขึ้นเป็นสมเด็จราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร
     ครั้งนั้น มีพระดำริ จะสถาปนาพระญาณสังวรเถร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๙ พระสังฆราช (ศุก ) วัดมหาธาตุ สิ้นพระชนม์ลง ณ. วันพุธ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน๖ ปีขาล

มูลเหตุตั้ง
     พระญาณสังวรเถร เป็นสมเด็จพระราชาคณะ พระสังฆราช(ศุข) วัดมหาธาตุ สิ้นพระชนม์ลงนั้น ครั้นทำพระเมรุผ้าขาวถวายพระเพลิง ณ. ท้องสนามหลวงแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชดำริว่าจะสถาปนา พระสังฆราชพระองค์ต่อไป

     ทรงพระราชดำริต่อไปอีกว่า พระราชาคณะที่จะทรงสถาปนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชมี ๒ พระองค์ คือ   
     พระพนรัต (มี)วัดราชบูรณะ  และ พระญาณสังวรเถร วัดพลับ
     ครั้งนั้นจะทรงตั้ง พระพนรัต (มี)เป็นพระสังฆราช แต่ก็มีพระพรรษายุกาลน้อยกว่า พระญาณสังวร ถึง ๑๗ พรรษา จึงยังเป็นการไม่สมควรก่อน

     จึงทรงมีพระบรมราชโองการสั่งให้ เจ้ากรมสังการีไปอาราธนานิมนต์ พระญาณสังวร รับหน้าที่พระสังฆราช แต่พระญาณสังวร ไม่ทรงยอมรับตำแหน่งนี้ พระองค์ท่านทรงกล่าวว่าให้สถาปนา พระพนรัต (มี) เป็นพระสังฆราช
     ความทราบถึงพระพนรัต (มี)พระองค์ท่านทรงกล่าวว่า อาตมาภาพมีพระพรรษายุกาลน้อยกว่า พระญาณสังวรถึง ๑๗ พรรษา ถ้ารับพระเมตตาไว้ ก็เท่ากับว่าไม่เคารพพระวินัย ไม่เคารพธรรม ไม่เคารพพระอาจารย์

 
     พระอาจารย์นั้น หมายถึงพระญาณสังวร (สุก) พระองค์ท่าน ทรงเป็นพระอาจารย์บอกวิปัสสนา ของพระพนรัต (มี) อีกทั้งพระองค์ท่านยังมีพระพรรษากาลแก่กว่ามากนักถึง ๑๗ พรรษา
     ต่อมาพระญาณสังวร ได้บอกให้ พระพนรัต (มี) รับเป็นพระสังฆราชเพราะเป็นธรรมเนียมว่า ตำแหน่พระสังฆราช ต้องมาจากฝ่ายคันถธุระ จึงสมควรหลังจากนั้นก็ค่อยทำการแก้ไขกันใหม่ พระพนรัต (มี) พระองค์ท่านจึงยอมรับตำแหน่ง พระสังฆราช   





     เมื่อทรงรับตำแหน่งแล้ว ทางราชสำนักต้องประชุมหาทางออก แก้ไขระเบียบต่างๆว่าจะทำอย่างไร พระญาณสังวร ผู้มีพรรษยุกาลมาก จะนั่งหน้าพระสังฆราช ได้ อย่างไม่ทำลายบทบัญญัติแห่งพระวินัย และสมพระเกียรติด้วย อีกทั้งไม่เสียพระเกียรติยศ ของพระสังฆราชพระองค์ใหม่ด้วย

     ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ จึงทรงมีพระราชดำริว่า จะสถาปนาพระญาณสังวร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงจะสมพระเกียรติยศของทั้งสองพระองค์ต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้น
      ตำแหน่งพระสังฆราช ไม่มีคำว่า สมเด็จ นำหน้าพระนามเช่น พระสังฆราช (สี) วัดระฆัง พระสังฆราช (ศุก) วัดมหาธาตุฯ เพิ่งมีคำว่า สมเด็จนำหน้าพระนามพระสังฆราช (มี) วัดราชบูรณะ และนำหน้าพระนามพระญาณสังวร(สุก) วัดพลับในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ นี้เอง เช่น สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดราชบูรณะ สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม
      และสมเด็จพระราชาคณะอีกสององค์ต่อมาในปลายรัชสมัย รัชกาลที่ ๒ เมื่อคราวสถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช คือ สมเด็จพระพนรัต (ด่อน) วัดสระเกศ สมเด็จพระพุฒาจารย์(เป้า) วัดธรรมาวาส อยุธยา

     ถึง ณ. วันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๙ ปีชวด พุทธศักราช ๒๓๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้
     พระญาณสังวรขึ้นเป็น สมเด็จพระญาณสังวร
พุทธศักราช สไมยะสหัสสสังวัจฉรไตรยสตาธฤกษ์เอกุนสัฎฐิเตสมปัจจุบันกาล มุกสิก สังวัจฉรมาส กาลปักษย์คุรุวาร สัตตคฤษถี ปริเฉทกาลอุกฤษฐ์ สมเด็จพระบรมธรรม มฤกมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอนันตคุณวิบุลย์มหาประเสริฐ ทรงพระราชศรัทธา มีพระราชโองการมาณพระบัณฑูร สุรสิงหนาทดำรัสสั่งพระราชูทิศสถาปนาให้
      พระญาณสังวรขึ้นเป็น สมเด็จพระญาณสังวร อดิศรสังฆเถรา สัตตวิสุทธิจริยาปริณายก สปิฏกธรามหาอุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี สถิตในราชสิทธาวาสวรวิหาร พระอารามหลวง



ภาพจาก พิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร


๔. สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช
    ณ. วันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๒ ค่ำ ปี มะ โรง โทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ (พ.ศ.๒๓๖๓) สถาปนา สมเด็จพระญาณสังวรเถร ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช มีสำเนาประกาศ ดังนี้

สำเนาสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
     ศริศยุภอดีตกาล พุทธศักราช ชไมยสหัสสสังวัจฉรไตรสตาธฤกไตรสัตฐีสัตมาศ ปัตยุบันกาล นาคสังวัจฉรมฤคศฤระมาศ ศุกขปักขคุรุวาระนวมีดิถี ปริจเฉทกาลอุกฤษฐ สมเด็จพระบรมธรรมมฤกะมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงพระทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบูลยปรีชาอันมหาประเสริฐ มีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหานาทดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนาให้

     สมเด็จพระญาณสังวร เป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ ปริยัติวราสังฆราชาธิบดี ศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฏกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร วรทักษิณา สฤทธิสังฆารามคามวาสี อรัญวาสี เป็นประธานถานาทุกคณาธิกร จัตุพิธบรรพสัช สถิตในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหาร พระอารามหลวง


     แต่สมเด็จพระสังฆราช ไม่ได้เสด็จไปสถิตวัดมหาธาตุฯ ตามใบประกาศพระนาม เพราะพระองค์ท่านเป็นพระป่า ทรงคุ้นเคยกับการอยู่ป่าอันเงียบสงบ พระองค์ท่านทรงสถิตอยู่ ณ. วัดราชสิทธารามอันเป็นผาสุขวิหาร ของพระองค์ท่าน จนสิ้นพระชนม์พระองค์ท่าน ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราชแล้ว ผู้คนทั้งหลายยังเรียกขานพระนามของพระองค์ท่านว่า สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน มาจนทุกวันนี้



คัดลอกมาจาก (บางส่วน)
หนังสือ พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง http://www.somdechsuk.com
ขอบคุณภาพจาก http://goldenteakmuseum.com/article.php?poid=35
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2012, 12:51:54 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ลูกคิด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
    • ดูรายละเอียด
อนุโมทนา สาธุ ครับ ได้อ่านประวัติส่วนนี้ แล้ว รู้สึก ดีใจเป็นอย่างมากครับ ที่ยังมีผู้กล่าวถึง คุณ ของหลวงปู่ ครับ

 :25: :c017:
บันทึกการเข้า

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
    • ดูรายละเอียด
อนุโมทนา คะ เป็นเรื่องที่ควรอ่านรับ ทราบในฐานะ ผู้ที่เคารพ หลวงปู่ และ ศิษย์กรรมฐานในยุคนี้ คะ

  :c017: :25: :88:
บันทึกการเข้า

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
    • ดูรายละเอียด





ลองเปรียบเทียบ รูปหล่อหลวงปู่ เหมือนกัน หรือไม่คะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2012, 04:26:52 pm โดย saichol »
บันทึกการเข้า

Goodbye

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 61
    • ดูรายละเอียด
ละม้ายคล้ายกัน นะคะ แตกต่างกันที่ วัย นะคะ

 :c017: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

teepung

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 52
    • ดูรายละเอียด
อนุโมทนา ครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยครับ
 :25: :25: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

prayong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 72
    • ดูรายละเอียด
เป็นเรื่องที่อ่านดี คะ ได้ทราบประวัติ ครูอาจารย์ อย่างเช่น หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ซึ่งเป็นครูสอนกรรมฐาน ระดับพระสังฆราช เลยนะคะ ยิ่งทราบว่า หลวงพ่อปฏิเสธบ่ายเบี่ยงการเป็น พระสังฆราช มาหลายครั้ง แม้แต่ครั้งสุดท้าย ก็ยังต้องยอมรับ เพราะติดเรื่องพรรษา และ ศิษย์ไม่ยอม ท่านจึงรับเป็นพระสังฆราช 2 ปี

   ขอนอบน้อม วันทา แด่หลวงปู่     ซึ่งเป็นครู สืบต่อ พระกรรมฐาน
  แจกความรู้ ให้ธรรม ได้นานนาน   ให้ศิษย์สาน สืบเรียน ของจริงจริง
   นาม ไก่เถื่อน เรืองระบิล ได้กล่าวขาน    เป็นตำนาน ให้ชนหลัง ได้ศึกษา
  นาม ครูนั้น เต็มไป ด้วยเมตตา     ภาวนา ได้ซึ้ง ถึงแก่นธรรม
   จึงกล่าวกลอน บทนี้ ได้ขับขาน    สานตำนาน แห่งองค์ พระกรรมฐาน
  ให้โลกรู้ ยังมี ครู เป็นตำนาน       มีพระนาม สมเด็จ ญาณสังวร
   ใครรำลึก ถึงครู ภาวนาเถิด        ให้ได้เกิด  พุทโธ ในกรรมฐาน
  ได้แจ้งรู้ รูปสี ทั้งกายนาม          ให้ได้ ญาณ องค์ธรรม ทุกท่านเทอญ

                   ( จากเมล บทความธรรม ธัมมะวังโส ภิกษุ )
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
 ขอแจ้งให้ทราบว่าขณะนี้ หนังสือพระประวัติ ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช(สุก)ไก่เถื่อน จัดพิมพ์เสร็จแล้ว
       ผู้ใดสนใจในพระประวัติ ของพระองค์ท่าน หรืออยากมีไว้เป็นเจ้าของ ก็ขอเชิญ
          ติดต่อที่คณะ5 วัดราชสิทธาราม

           หรือเปิดดูรายละเอียดเพิ่มเติมก่อนที่ http://www.somdechsuk.org/
       Aeva Debug: 0.0004 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 18, 2012, 12:29:59 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
ฉายาและราชทินนาม
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด

        เรื่องราชทินนาม ของหลวงปู่
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ