ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากให้อธิบาย คำว่า สังขาร  (อ่าน 5001 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ratree

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 102
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อยากให้อธิบาย คำว่า สังขาร
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 04:58:31 am »
0
คือสงสัยว่า สังขาร แปลว่า ความคิด ใช่หรือไม่คะ

 จิตว่าง เป็นได้เพราะ สังขารไม่มี ใช่หรือคะ

  จิต กับ สังขาร เป็นอันเดียวกันหรือไม่คะ

 ถ้าหยุด สังขาร ได้จะเป็นอย่างไรคะ

  ธรรมอันใดเป็นเครื่องทำให้เว้นจากสังขาร คะ


 :c017:
บันทึกการเข้า

RATCHANEE

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากให้อธิบาย คำว่า สังขาร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 05:19:35 am »
0
คำว่า จิตว่าง นั้น
อันที่จริงคือ "ว่างจากกิเลส" นั่นเอง
จิตจึงจะกลายเป็นจิตที่สงบละเอียดควรแก่การงานได้

ดังนั้นเมื่อ "จิตว่าง(จากกิเลส)" แล้ว
ก็สามารถทำการงานต่างๆได้อย่างดี
ไม่ว่าจะเป็นการเจริญกรรมฐาน
หรือการงานทางโลกที่สุจริต เป็นต้น
 :86:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากให้อธิบาย คำว่า สังขาร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 01:10:00 pm »
0
สังขาร
   ๑.สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง,  สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย  เป็นรูปธรรมก็ตาม  นามธรรมก็ตาม  ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด,   ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น
 
    ๒.สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต  ได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว,


ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น;

อธิบายอีกปริยายหนึ่ง  สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ

         ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา   
          ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา   
          ๓.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา   

   ๓.สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ
          ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
          ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร
          ๓.จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา


สังขาร ๒ คือ
         ๑.อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง
         ๒.อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง, โดยปริยายแปลว่า สังขารที่มีใจครอง และสังขารที่ไม่มีใจครอง

สังขารทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือเพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัย เป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้

สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่ชุมชนแห่งสังขารทั้งปวงอันต้องเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย

สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือรู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่าที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นต้นนั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา

จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสนิพพานอย่างเดียว (ข้อ ๘ ในวิปัสสนาญาณ ๙)


สังขตะ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่สภาพที่เกิดเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง, สังขตธรรม; ตรงข้ามกับ อสังขตะ

สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับสังขารในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; ตรงข้ามกับ อสังขตธรรม

สังขตลักษณะ ลักษณะแห่งสังขตธรรม, ลักษณะของปรุงแต่ง มี ๓ อย่าง ๑.ความเกิดขึ้น ปรากฏ ๒.ความดับสลาย ปรากฏ ๓.เมื่อตั้งอยู่ ความแปร ปรากฏ

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 01:12:29 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

รีบอร์น

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 81
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากให้อธิบาย คำว่า สังขาร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 01:13:50 pm »
0
อนุโมทนา ด้วยครับ
ผมเอง ก็อ่านยังงง ๆ อยู่ ได้ความรู้เรื่องสังขาร เพิ่มขึ้นทำให้เห็นภาพเลยครับ
 :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากให้อธิบาย คำว่า สังขาร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 03:12:01 pm »
0
ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม ๕ หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ ๕ อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต)

๑. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ)

๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ)
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น)

๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต)

๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ ๖)

ขันธ์ ๕ นี้ ย่อลงมาเป็น ๒ คือ นาม และ รูป;
รูปขันธ์จัดเป็นรูป, ๔ ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม.

อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม ๔ : (จิต เจตสิก รูป และนิพพาน)
วิญญาณขันธ์เป็น จิต,
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็น เจตสิก,
รูปขันธ์ เป็น รูป,
ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ ๕


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)

คือสงสัยว่า สังขาร แปลว่า ความคิด ใช่หรือไม่คะ

ขอตอบตามความหมายของเรื่องขันธ์๕ นะครับ

สังขาร คือ ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ,

คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต



สังขารยังไม่ใช่ความคิดครับ ความคิดน่าจะประกอบด้วย จิตกับเจตสิก หรือ ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้

จิต คือ วิญญาณขันธ์

เจตสิก คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์


จิตว่าง เป็นได้เพราะ สังขารไม่มี ใช่หรือคะ

ถ้าพูดว่า จิตว่างจากกิเลส เพราะไม่มีความปรุงแต่งใดๆ ก็น่าจะถูก

แต่ถ้าตอบในเชิงอภิธรรม ก็ต้องถามว่า แล้วรู้ได้อย่างไรว่า จิตว่าง

เอาอะไรไปรู้ว่า จิตว่าง ธรรมชาติของจิตต้องประกอบด้วยเจตสิกเสมอ

พูดกันแบบกำปั้นทุบดิน ก็คือ จิตว่างไม่ได้ จิตต้องมีเจตสิกครับ


  จิต กับ สังขาร เป็นอันเดียวกันหรือไม่คะ

ไม่ใช่ครับ จิต คือ วิญญาณ ส่วนสังขาร เป็น เจตสิกครับ

แต่โดยทั่วไป การกล่าวถึงจิต เป็นทีรู้กันว่า หมายถึง จิตและเจตสิก

ดังนั้น จึงพูดโดยอนุโลมว่า เป็นสิ่งเดียวกันได้


ถ้าหยุด สังขาร ได้จะเป็นอย่างไรคะ

ตอบไม่ได้ครับ ผมไม่เคยทำและก็ทำไม่ได้

ถ้าพูดถึงสังขารุเปกขาญาณ ซึ่งหมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร

ญานนี้ไม่ได้หยุดสังขารนะครับ แต่เป็นการไม่สนใจ ต่างคนต่างอยู่

อีกอย่างหนึ่งมีคนพูดว่า ถ้าจะดับเวทนา ไม่ให้รู้สึกว่า ทุกข์หรือสุข ต้องเข้าอรูปฌาน แล้วจะรู้สึกว่างๆ


  ธรรมอันใดเป็นเครื่องทำให้เว้นจากสังขาร คะ

 :) ;) นิพพานไงครับ

ที่ตอบไป แค่คุยเป็นเพื่อน ได้โปรด "อย่าำำ้ซีเรียส" :s_good: :58: :49: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 08:52:46 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

อัจฉริยะ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 123
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากให้อธิบาย คำว่า สังขาร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 03:34:57 pm »
0
แจ่ม ครับ เข้าใจง่าย ดีครับ สังขาร คือ การปรุงแต่งทางจิต เป็นหลักอันนี้น่าจะใกล้เคียงนะครับ
เพราะจิตปรุงแต่ง จึงนำมาซึ่งความทุกข์

เพราะถ้าไม่คิด ก็จะไม่มีคำว่า คิดมาก เพราะคิดมาก ก็เลยเครียด

ก็เพราะเครียด จึงทำให้สุขภาพจิต แย่ เพราะสุขภาพจิต แย่ จึงทำให้สุขภาพ กาย ไปตามกันเป็นลูกโซ่

 :72:
บันทึกการเข้า

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากให้อธิบาย คำว่า สังขาร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 06:15:49 am »
0
ได้ความรู้มากขึ้นจริง ๆ คะถามตอบกันตรงประเด็น ได้ตามอ่านแล้วก็เข้าใจด้วยคะ

 :25:
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากให้อธิบาย คำว่า สังขาร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 08:59:05 am »
0
สำหรับ คุณ nathaponson นี่ยังเรียบเรียงการตอบกระทู้ได้ดีนะครับ สมกับเป็นศิษย์กรรมฐาน จริง ๆ

การภาวนาน่าจะก้าวหน้า ถึงขั้น นิพพิทา แล้วเพราะประสพการณ์โชกโชนชีวิต จริง ๆ สำหรับคนอายุรุ่นนี้

โดยเฉพาะดวงเจ้าชู้ นี้น่าจะมีมากพอสมควรนะครับ ผมตามอ่านเรื่อง คนค้นกรรม แล้ว....

อนุโมทนา นะครับ

 :25:
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อยากให้อธิบาย คำว่า สังขาร
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 10, 2011, 04:21:37 pm »
0
ครั้งหนึ่งพระอาจารย์ถามผมว่า เราเข้าใจ การเกิดขึ้น / ตั้งอยู่ / ดับไป นั้นอย่างไร

แท้แล้ว การเกิดขึ้น / ตั้งอยู่ / ดับไป มิได้หมายเป็นไปตามคติแห่งวิถีโลกที่เข้าใจ ว่า

รูปวัตถุ มีอยู่ ยักย้าย แปรสภาพ ย่อยสลาย หรือกลับมารีไซเคิลคงรูปใหม่ หาเป็นเช่นนั้น

หากแต่ การเกิดขึ้น / ตั้งอยู่ / ดับไป นั้น หมายคือ "สังขาร"




มีคงรูป   อยู่ใช้   สลายไป
ล้วนอย่าเขลา   เข้าใจ   อย่างที่เห็น
ดับสังขาร   นามธรรม   ที่มีเป็น
มิลำเค็ญ   เกิดตาย   หน่ายนิพพาน.

                                                                                                                  ธรรมธวัช.!           




http://www.mahaphotitaam.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=2&Id=538839747
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 10, 2011, 05:03:08 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา