ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ราหุลัง ชาตัง" บ่วงเกิด..กำเนิดองค์ต้นกรรมฐานมัชฌิมาฯ ตอนที่ ๓  (อ่าน 3670 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0










บรรยากาศงานเททองหล่อ พระราหุลเถระเจ้า
และสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๖
ณ โรงหล่อพระพุทธรูป ยงค์เจริญการช่าง นครชัยศรี นครปฐม
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





มหาราหุโลวาทสูตร
สูตรว่าด้วย "การประทานโอวาทแก่พระราหุล" สูตรใหญ่
   
    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม.
    ตรัสสอนพระราหุลในระหว่างที่ท่านตามเสด็จไปบิณฑบาตในเวลาเช้าว่า
    พึงพิจารณาเห็นรูปทุกชนิด ทั้งอดีตอนาคตปัจจุบัน ,ภายในภายนอก ,หยาบละเอียด ,เลวดี ,ไกลใกล้
    ว่ารูปทั้งหมดนั้น มิใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.


    พระราหุลกลับจากที่นั้น นั่งคู้บัลลงก์(ขัดสมาธิ) ณ โคนไม้ตันหนึ่ง ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
    พระสารีบุตรเห็นเข้าจึงสอนให้เจริญอานาปาปานสติ (สติกำหนดลมมหายใจเข้าออก).
    ในเวลาเย็นพระราหุลออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้ากราบทูลถามถึงวิธีเจริญอานาปานสติที่จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

    ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสสอนเรื่องรูปภายใน(ร่างกาย) ที่แข้นแข็ง มีผม ขน เป็นต้น
    ที่เรียกว่าธาติดินภายใน ตลอดจนธาตุน้ำ ,ไฟ ,ลม ,อากาศ ทั้งภายนอกภายใน
    ให้เห็นเป็นแต่สักว่าธาตุ ไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
    เมื่อเห็นตามเป็นจริงอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายธาตุเหล่านั้น
    ทำจิตให้คลายกำหนด(หรือความติดใจ) ในธาตุเหล่านั้น






    ๓. ครั้นแล้วตรัสสอนให้เจริญภาวนา(อบรมจิต) เสมอด้วยธาตุแต่ละอย่าง
    ซึ่งผัสสะที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจเกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้     
    โดยชี้ให้เห็นว่า ธาตุเหล่านั้นย่อมไม่แสดงอาการผิดปกติ
    เช่น เบื่อหน่าย เกลียดชังสิ่งสะอาดหรือสกปรก ที่ทิ้งลงไปใส่ หรือที่ธาตุเหล่านั้นฝ่านไป.


    ๔. ตรัสสอนให้เจริญ
    เมตตาภาวนา (ไมตรีจิต คิดจะให้เป็นสุข) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละพยาบาท (ความคิดปองร้าย) ได้ ,
    กรุณาภาวนา (เอ็นดู คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละวิหิงสา (การคิดเบียดเบียน ) ได้ ,
    มุทิตาภาวนา (พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละอรติ (ความไม่ยินดีหรือริษยา ) ได้,
    อุเบกขาภาวนา (วางใจเป็นกลาง) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละปฎิฆะ (ความขัดใจ) ได้, 
    อสุภภาวนา (เห็นความไม่งาม) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละราคะ (ความกำหนัดยินดี) ได้,
    อนิจจสัญญาภาวนา (กำหนดหมายสิ่งที่ไม่เที่ยง) ซึ่งเป็นเหตุให้ละอัสมิมานะ (ความถือตัวถือตนได้)


    ๕. ครั้นแล้วตรัสสอนวิธีเจริญสติกำหนดลมหายใจเข้าออกที่มีเหตุผลมาก มีอานิสงส์มาก

______________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ  ปุญญานุภาพ
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/5.2.html




บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




จูฬราหูโลวาทสูตร
สูตรว่าด้วย "การประทานโอวาทแก่พระราหุล" สูตรเล็ก
   
    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์.
    ในเวลาเย็นพระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังสวนมะม่วงหนุ่ม ซึ่งพระราหุลอาศัยอยู่.
    พระราหุลเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ก็ปูอาสนะตั้งน้ำล้างพระบาทไว้.
    พระผู้มีพระภาคประทับบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ล้างพระบาท เหลือน้ำไว้หน่อยหนึ่งในภาชนะน้ำ.

    ครั้นแล้วตรัสเปรียบว่า ผู้ใดไม่มีความละอายในการพูดปดทั้งๆรู้
    ความเป็นสมณะของผู้นั้น ย่อมเป็นของน้อยเหมือนน้ำที่มีอยู่ในภาชนะน้ำ.
    ทรงเทน้ำที่เหลืออยู่ทิ้งแล้วตรัสเปรียบว่า ผู้ใดไม่มีความละอายในการพูดปดทั้งๆรู้
    ความเป็นสมณะของผู้นั้น ชื่อว่าเป็นสมณะของผู้นั้น ชื่อว่าเป็นอันคว่ำเสียแล้ว.


    ๒. ตรัสว่า ผู้ใดไม่มีความละอายในการพูดปดทั้งๆรู้ พระองค์ย่อมไม่ตรัสว่า
    จะมีบาปกรรมอะไรที่ผู้นั้นจะพึงทำไม่ได้ (คือ ทำความชั่วได้ทุกชนิด)
    เปรียบเหมือนช้างสงความของพระราชาที่ใช้อวัยวะทุกส่วนในการรบ เว้นแต่งวง ก็ยังไม่ชื่อสละชีวิตเพื่อพระราชา
    แต่ถ้าใช้งวงด้วย ก็ชื่อว่าสละชีวิตเพื่อพระราชา จึงไม่มีอะไรที่ช้างจะทำเพื่อพระราชาไม่ได้
    ครั้นแล้วได้ตรัสสอนให้สำหนียกว่า จะไม่พูดปดแม้เพื่อจะหัวเราะเล่น.


    ๓. ตรัสถามว่า แว่นมีไว้ทำอะไร
    พระราหุลกราบทูลว่า มีไว้ส่องดู.
    จึงตรัสสอนว่า การกระทำทางกาย,วาจา,ใจ ก็พึงพิจารณาแล้วด้วยดี จึงค่อยทำฉันนั้น.
    ครั้นแล้วตรัสอธิบายถึง การพิจารณาการกระทำทางกาย,วาจา,ใจ ในทางที่ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น.
    แล้วตรัสว่า สมณพราหมณ์ในอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน
    ที่ชำระการกระทำทางกาย,วาจา,ใจให้บริสุทธิ์ ก็พิจารณาแล้วด้วยดี จึงชำระให้บริสุทธิ์,
    แล้วตรัสสอนให้สำเหนียกว่า จักพิจารณาด้วยดี ชำระการกระทำทางกาย,วาจา,ใจให้บริสุทธิ์.

_______________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/5.2.html




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 31, 2013, 10:57:32 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0






     ศิษย์กรรมฐานมัชฌิมาฯให้ความสำคัญมากกับ "มหาราหุโลวาทสูตร" เพราะเป็นสูตรใหญ่
     ส่วนตัวทั้งอ่านทั้งฟังมาหลายครั้ง เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง
     โดยเฉพาะเรื่อง "การเข้าถึงธาตุ" เป็นเรื่องที่ยากมากๆ บอกตรงๆ ยังเข้าไม่ถึง
     เรื่องความยากของสูตรนี้ มีผู้รู้ท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า


    พระพุทธเจ้าได้ประทานสูตรนี้ให้พระราหุล ในขณะที่พระราหุลเป็น "สกทาคามี"
    พระราหุลฟังแล้วนำมาปฏิบัติจนสำเร็จเป็นอนาคามี
    กล่าวโดยสรุปก็คือ พระสูตรนี้ต้องเป็น "อนาคามี" จึงจะเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง
    นั่นหมายถึง พระพุทธเจ้าได้พิจารณาอินทรีย์ของพระราหุลแล้วว่า สมควรที่จะตรัสสูตรนี้
    พระสูตรนี้จึงไม่เหมาะกับปุถุชน ปุถุชนอาจเข้าใจได้บ้าง ตามความหมายตามตัวอักษร แต่เข้าไม่ถึง


    เอาล่ะครับ ทริปนี้ขอยุติเพียงเท่านี้ ขอปิดทริปด้วย"พุทธวจนะ" ในจูฬราหูโลวาทสูตรที่ว่า
    "บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาคว่ำเสียแล้ว"

     :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 31, 2013, 11:36:10 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ