ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องน่าคิด ‘ศีลธรรม : วิชาที่ถูกลืม’  (อ่าน 813 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เรื่องน่าคิด ‘ศีลธรรม : วิชาที่ถูกลืม’

ฮือฮามาได้ระยะหนึ่งแล้ว สำหรับ ค่านิยมไทย 12 ประการ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ฮือฮามาได้ระยะหนึ่งแล้ว สำหรับ ค่านิยมไทย 12 ประการ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งทุกหน่วยงานมีท่าทีกระตือรือร้นที่จะสนองนโยบาย ขึ้นป้าย หรือคัตเอาต์ขนาดใหญ่ เพื่อเผยแพร่ พร้อมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการเพื่อผลักดันและมุ่งส่งเสริมให้คนไทยรับรู้ รับทราบ และปฏิบัติเพื่อแสดงถึงซึ่งความเป็นไทยด้วย

 ans1 ans1 ans1 ans1

โดยเมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวไว้ว่า สิ่งที่คนไทย ประเทศไทย ยังเป็นปัญหา และต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ต้องมีความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในทุกระดับชั้น ทุกเพศ ทุกวัย เราน่าจะกำหนดค่านิยมหลักของคนไทยขึ้นมาให้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้เพื่อเราจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง ฉะนั้นคนต้องเข้มแข็งก่อน คนในชาติจะต้องเป็นอย่างไร ดังนี้
   1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติในปัจจุบัน
   2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
   3. กตัญญู ต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
   4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษา เล่าเรียน ทางตรงและทางอ้อม
   5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
   6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
   7. เข้าใจ เรียนรู้ การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
   8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
   9. มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จำหน่าย และขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อม โดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี
   11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป ตามหลักของศาสนา
   12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และต่อชาติ มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง


 :96: :96: :96: :96:

ค่านิยมไทย 12 ประการดังกล่าว คือ สิ่งที่คาดหวังว่าคนไทยจะเป็น และประพฤติปฏิบัติได้ แต่การจะทำได้เช่นนั้น ในทางปฏิบัติต้องเริ่มต้นจากปลูกฝัง บ่มเพาะมาตั้งแต่เด็ก จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็นบทบาทหน้าที่อันใหญ่ยิ่งสำหรับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักด้านการศึกษาของชาติ และพร้อมที่จะผลักดันอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาได้มีการถกเถียงกันมากเกี่ยวกับการแยกวิชาประวัติศาสตร์ และ หน้าที่พลเมือง ออกมาเป็นวิชาเฉพาะ และสุดท้ายก็มีการแยกและบังคับให้เด็กทุกคนต้องเรียน โดยเฉพาะวิชาหน้าที่พลเมืองที่จะเน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การสร้างวินัย การมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งจะเห็นว่าสอดคล้องกับค่านิยม 12 ประการ

แต่ในทางศาสนาก็ยังมีความเห็นอีกมุมหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิด โดย พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสามพระยาวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ที่ได้ให้ทัศนะว่า การแยกทั้ง 2 วิชาออกมาเป็นวิชาเดี่ยวก็ถูกต้องแล้ว แต่ยังขาดเรื่องศีลธรรมที่ควรต้องแยกออกมาเช่นกัน เพราะสมัยก่อนเคยมี สมัยที่เราเป็นเด็ก ๆ ได้เรียนแบบวิชาแยกเดี่ยว ๆ แต่เดี๋ยวนี้ไม่มี สังคมก็กลายเป็นอย่างที่เห็น

 :49: :49: :49: :49:

เมื่อก่อนเราเรียนวิชาสังคมศึกษาเราต้องเรียนทั้งประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม แต่เดี๋ยวนี้ถูกจับไปรวมกันหมดไม่มีการเน้น โดยเฉพาะเรื่องของศีลธรรมทำให้สังคมขาดความยั้งคิด และเป็นปัญหา ถ้าเราไม่รู้ประวัติศาสตร์ ก็จะไม่รู้จักการพัฒนา เพราะเมื่อไม่รู้ว่าในอดีตเป็นมาอย่างไร ก็ไม่รู้ว่าจะพัฒนาต่อยอดอย่างไร หรือ ไม่รู้ภูมิศาสตร์ก็จะไม่สามารถพัฒนาที่ดินหรือพื้นที่ให้เกิดประโยชน์อย่างที่สุดได้ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันที่ดินถูกใช้อย่างไม่เป็นประโยชน์ไม่ถูกต้อง ที่นาถูกถมทำเป็นโรงงาน พอเวลาจะทำนาก็ต้องไปทำบนเขา ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่รู้จักการอนุรักษ์ รักษา แม่น้ำ ลำคลองเราก็ไม่รู้จักวิธีการพัฒนา ดูแลรักษา เก็บกักน้ำ ถึงเวลาทำนา หน้าแล้งก็ไม่มีน้ำใช้

ที่ว่ามานี้หลายคนอาจจะมองว่าไม่เห็นเกี่ยวกับเรื่องของประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง หรือศีลธรรม แต่จริง ๆ แล้วเกี่ยวข้องอย่างมาก เพราะเมื่อเราลืมประวัติศาสตร์ ลืมภูมิศาสตร์ ไม่รู้จักหน้าที่ความเป็นพลเมือง ไม่มีศีลธรรม คิดเอาแต่ได้ หาแต่ประโยชน์เข้าตัว ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนตน ทำให้สังคมกลายเป็นสังคมแห่งความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ อย่างกรณีของแหล่งน้ำเมื่อไม่ช่วยกันดูแล รักษา ไม่รู้จักการกักเก็บน้ำ เมื่อถึงหน้าแล้งก็ไม่มีน้ำไว้ใช้ ทำให้เดือดร้อนกันไปทั่ว


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

ถ้าเราไม่รู้ประวัติศาสตร์ก็จะไม่รู้ว่า พระมหากษัตริย์ไทยมีส่วนในการสร้างชาติอย่างไร มีพระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศชาติอย่างไร เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนให้รู้ ต้องให้เด็กเรียน ต้องศึกษาพระราชกรณียกิจ เพื่อจะได้ตอบสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เพราะฉะนั้นต้องรวมความคิด 3 สถาบันหลักมาเป็นหนึ่งให้ได้ ซึ่งถ้าทำได้ความคิดที่แตกแยกจะไม่เกิดขึ้น และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เริ่มตั้งแต่ บ้าน ครอบครัว ชุมชน วัด และโรงเรียน หรือที่เรียกว่า “บ ว ร” ที่จะต้องช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ดีในจิตใจของเยาวชน

พระพรหมดิลก ย้ำในตอนท้ายว่า คนเราจะเรียนแต่วิชาการอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีคุณธรรม ศีลธรรมด้วย มิฉะนั้นจะเข้าทำนอง ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด สังคมปัจจุบันเน้นแต่ปริมาณ แต่ลืมคุณธรรมใช้ความรู้โดยไม่มีคุณธรรม ลืมใช้สติฉุดรั้ง ซึ่งก็คือหลักธรรมของพระพุทธเจ้า คือ การมีสติ สัมปชัญญะ โดย สติ หมายถึงตัวฉุดรั้ง สัมปชัญญะ ก็คือ ความรู้ หมายความว่า เราไม่ควรใช้ความรู้มากจนเกินไป นั่นคือ ต้องมีสตินึกคิดตลอดเวลาว่า จะใช้ความรู้ที่มีไปในทางที่ถูกต้องและให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักฟังคนอื่นด้วย ซึ่งจะเป็นการฝึกเรื่องของความรอบคอบการมีสติอันจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานได้.


อรนุช วานิชทวีวัฒน์


ขอบคุณภาพและบทความจาก
www.dailynews.co.th/Content/education/272742/เรื่องน่าคิด+‘ศีลธรรม+%3A+วิชาที่ถูกลืม’
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ