ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยู่คนเดียวอย่างไร..ให้เป็นสุข : บาตรเดียวท่องโลก  (อ่าน 982 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อยู่คนเดียวอย่างไร..ให้เป็นสุข : บาตรเดียวท่องโลก โดยพระพิทยา ฐานิสฺสโร

เด็กน้อยเจ็ดแปดขวบสามารถเดินไปโรงเรียนใกล้บ้านด้วยตนเอง มีให้เห็นทั่วไปที่สวิตเซอร์แลนด์ เพราะผู้ปกครองทุกคนมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยทุกด้านและเป็นโอกาสให้เด็กเรียนรู้ที่จะช่วยดูแลรับผิดชอบทำหน้าที่ของตนเอง

เราจึงเห็นเด็กวัยรุ่นต่างชาติส่วนใหญ่มีความคิด ทำอะไร รับผิดชอบด้วยตัวเองเป็นเรื่องปกติ เพราะเขาถูกฝึกมาเช่นนั้น ต่างจากเด็กเอเชียส่วนใหญ่ที่มีผู้ปกครองคอยดูแลทำให้เกือบทุกอย่าง ที่สวิตเซอร์แลนด์ เด็กวัยรุ่นเมื่ออายุประมาณสิบห้าปีต้องรู้แล้วว่าจะไปสมัคร หาที่ฝึกงานที่คิดว่าตนเองชอบ หรือคิดว่าทำได้ ไปลองทำดู เพื่อเตรียมประกอบเป็นอาชีพ แล้วเรียนหนังสือไปด้วย พวกเขาจะเริ่มมีรายได้ด้วยตนเองตั้งแต่ตอนนั้น ขณะที่ฝึกงาน ทุกคนจะเริ่มทำงานมีเงินเป็นของตัวเองตั้งแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปีและทำงานรับผิดชอบค่อนข้างหนักจนอายุ ๖๕ ปี       
       

 :96: :96: :96: :96:

คนชราที่มีอายุ ๘๐ ปีขึ้นไปส่วนใหญ่ของที่นี่ก็เช่นเดียวกัน ยังคงทำอะไรด้วยตนเอง ไม่ว่าจะไปจ่ายตลาดซื้อกับข้าว ทำอาหาร ฯลฯ เราจะเห็นผู้สูงอายุของที่นี่จำนวนมากมีสุขภาพกายที่แข็งแรง ยังคงทำหน้าที่ในชีวิตประจำวันด้วยตนเอง โดยไม่มีลูกหลานคอยดูแลอยู่ใกล้ชิด ถ้าใครไม่สามารถดูแลตัวเองได้จริงก็จะไปอยู่บ้านพักคนชราที่มีอยู่ทั่วไปในทุกเมือง แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพง ถ้าไม่มีเงินเพียงพอรัฐก็จะหยิบยื่นช่วยเหลือ

วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ระบบการปกครองในแต่ละที่ มีแตกต่างกันเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเราเห็นประโยชน์และปรับเอาส่วนดีของแต่ละที่มาใช้ในสังคมที่เราอยู่ ทุกที่จะมีแต่ความเจริญและสิ่งงดงาม ประเทศทางแถบเอเชียรับวัฒนธรรมแห่งการบริโภคจากตะวันตกแต่อาจไม่ใช่จากยุโรป เพราะประเทศทางยุโรปส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่สมถะ เรียบง่าย ประหยัด รักษาสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับเอเชียที่เคยเป็นเช่นนั้น แต่ยุโรปตอนนี้ก็กำลังถูกกลืนไปสู่สังคมบริโภคนิยมทีละน้อยๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน เมื่อสังคมเริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการบริโภคนิยม


 :25: :25: :25: :25:

นี่คือ รากแห่งปัญหาทั้งปวง ยิ่งเรากระตุ้นและเพิ่มความอยากทางประสาทสัมผัสให้ประชากรโลกมากเท่าไร เราจะทำร้าย ทำลายจิตใจที่มั่นคง เรียบง่าย เคารพต่อตนเองและธรรมชาติที่อยู่อาศัยมากขึ้นเท่านั้น เพราะเมื่อเราตกเป็นทาสแห่งความหลงไหล เพลิดเพลิน ยึดติด ในสิ่งที่ล่อให้เสพ เราจะค่อยๆ เห็นคุณค่าในตัวเองและผู้อื่นน้อยลง เรามีโลกส่วนตัวสูงขึ้น มีความผูกพันสัมพันธ์กับคนในครอบครัว สังคมน้อยลง เป็นที่มาของความโดดเดี่ยว เห็นแก่ตัว ขาดจิตสำนึกร่วม

สังคมเอเชียที่เคยงดงามในความผูกพัน ช่วยเหลือเกื้อกูล ยิ้มแย้มแจ่มใส อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ค่อยๆ กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว ต่างคนต่างอยู่  เช่นสังคมตะวันตก จนทำให้สภาพสังคมอ่อนแอ โดยเฉพาะปัญหาการโกงกินในทุกระบบ และปัญหาต่างๆ อีกมากมาย ที่สำคัญคือ จิตสำนึกที่ดีงามของเยาวชนรุ่นใหม่กำลังค่อยๆ ถูกทำลายไป

 ans1 ans1 ans1 ans1

จริงๆ แล้ว ไม่ว่าเด็กน้อย คนชราล้วนแล้วต้องการการดูแลเอาใจใส่ ถึงแม้เราสามารถทำทุกอย่างด้วยตนเองแต่ถ้าเราไม่สามารถมีความสุขสงบเมื่ออยู่คนเดียว ปัญหาทั้งหมดที่แท้จริงยังไม่ได้รับการเยียวยา เราจะไปพึ่งการเสพสิ่งต่างๆ ทางประสาทสัมผัสเพื่อลืมความเหงา ความโดดเดี่ยวของตัวเอง  ทั้งๆ ที่โดยแท้จริงแล้วเราสามารถสร้างความสุขสงบได้ด้วยตัวเองและไม่รู้สึกเหงา โดดเดี่ยว ซึมเศร้า เพียงแค่เรากลับมาตระหนักรู้ อยู่กับลมหายใจตลอดเวลา เพียงแค่นี้ เราจะสามารถเริ่มต้นแก้ปัญหาทั้งปวงบนโลกใบนี้ โดยเริ่มจากตัวเรา

            เพราะเมื่อเรามีความสงบสุขในตัวเอง เราจะเสพวัตถุน้อยลงๆ อย่างไม่น่าเชื่อ
             จิตใจที่อยู่กับตัวเอง เป็นจิตเริ่มต้นแห่งความสงบสุข


ขอบคุรภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20141008/193610.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ