ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบ การจัด ลำดับ ของ พระสงฆ์ คะ  (อ่าน 3282 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ice

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อยากทราบ การจัด ลำดับ ของ พระสงฆ์ คะ
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2014, 05:02:00 pm »
0
 ask1
 อยากทราบ การจัด ลำดับ ของ พระสงฆ์ คะ

  อาวุโส พระใหม่ พระเก่า อริยเถระ เถระ มหาเถระ อาจารย์ อุปัชฌาย์ อันเตวาสิก สัทธิวิหาริก คือ ฟังจากพระประวัติ คะ แต่ไม่ทราบว่า เวลาเรียงลำดับ แล้ว ใครก่อน ใครหลัง คะ

  :25: thk56
บันทึกการเข้า

saiphone

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ การจัด ลำดับ ของ พระสงฆ์ คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2014, 05:37:54 pm »
0
พระใหม่ อาวุโส อาจารย์ เถระ มหาเถระ อุปัชฌาย์ อริยะเถระ

 น่าจะแบบนี้ มั้ง นอกนั้นไม่เข้าใจ
บันทึกการเข้า
พระธรรม นำให้ ส่วางไสว ในดวงจิต

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ การจัด ลำดับ ของ พระสงฆ์ คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 06:50:56 am »
0
 :85: :34: :67: :13:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ การจัด ลำดับ ของ พระสงฆ์ คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 09:41:48 pm »
0
เอาอย่างที่ สามารถจะเข้าใจได้ง่าย ๆ นะจ๊ะ
 
   ทรงให้เคารพกันที่พรรษา
   และอย่างที่สอง ที่มีระบุในพระไตรปิฏก ให้เคารพในธรรม ทรงกล่าวว่า พระอรหัตเป็นพระเถระ(เอาแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือพระผู้ใหญ่)

พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ
พระลกุณฏกภัททิยะ เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี มีชื่อเดิมว่า “ภัททิยะ”
เมื่อเจริญวัยอายุมากขึ้นแต่ร่างกายของท่านไม่เจริญเติบโตตามอายุยังคงมีร่างกายเล็กต่ำเตี้ย
เหมือนเด็กวัย ๑๐ ขวบ ชนทั่วไปเมื่อจะจึงเรียกชื่อท่านก็จะเพิ่มคำว่า “ลกุณฏกะ” ซึ่งหมายถึง
ต่ำเตี้ย ไว้ข้างหน้า ชื่อของท่านด้วย จึงเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ท่านภัททิยะเตี้ย หรือ ท่านภัททิยะ
แคระ
คนแคระก็บวชได้
ในโอกาสที่พระผู้มีพระภาคเสด็จมาประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร หมู่อุบาสก
อุบาสิกา ชาวเมืองสาวัตถุ ทราบข่าวการเสด็จมาของพระพุทธองค์ ต่างก็ถือดอกไม้และของหอม
เครื่องสักการะทั้งหลาย ไปเข้าเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ลกุณฏกภัททิยะ ก็ได้ติดตามไปร่วม
ฟังธรรมด้วย เมื่อพระพุทธองค์แสดงพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว ท่านก็เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า
ปรารถนาที่จะบวชในพระพุทธศาสนา เมื่ออุบาสกอุบาสิกา พากันกลับเคหสถานของตน แล้วได้
เข้าไปกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ประทานให้ตามความประสงค์
พระลกุณฏกภัททิยะ ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ได้เรียนพระกรรมฐานในสำนักของ
พระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลขอปลีกตัวออกไปจากหมู่คณะไปอยู่ในที่อันสงบสงัดปฏิบัติความ
เพียร ไม่นานนักก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นคือพระโสดาบัน ซึ่งจะต้อง
เพียรศึกษาปฏิบัติให้ได้บรรลุมรรคผลชั้นสูงขึ้นอีก
เพราะความที่ท่านมีรูปร่างเล็กและเตี้ย จึงเป็นที่ชวนหัวเราะแก่ผู้พบเห็น วันหนึ่ง หญิง
แพศยานั่งรถมากับพราหมณ์หนุ่มคนหนึ่ง เพื่อไปเที่ยวชมมหรสพ นางผ่านมาเห็นพระเถระแล้ว
คงจะเห็นว่าท่านตัวเล็ก ทั้ง ๆ ที่ดูลักษณะน่าจะมีอายุมาก นางจึงหัวเราะลั่นจนมองเห็นฟันใน
ปาก
พระเถระเห็นฟันของหญิงแพศยานั้นแล้ว ถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์พิจารณาว่าเห็นของ
ปฏิกูล สกปรก น่าเกลียด จนได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี และต่อมาท่านได้ฟังธรรมกถา อันเป็น
โอวาทจากพระสารีบุตรเถระ จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ สำเร็จเป็นพระอรหันต์

ถูกล้อเลียนว่าเป็นสามเณร
พระลกุณฏกภัททิยะ นั้น เพราะความท่านเป็นผู้มีรูปร่างเล็กและเตี้ยเหมือนสามเณร
จึงเป็นเหตุให้พระหนุ่มสามเณรน้อยทั้งหลายที่เป็นปุถุชน ชอบล้อเลียนท่านด้วยความคึกคะนอง
ชอบหยอกล้อท่านเล่นด้วยการจับศีรษะบ้าง ดึงหูบ้าง จับจมูกบ้าง แล้วพูดหยอกล้อท่านว่า:-
“แนะสามเณรน้อย ไม่อยากสึกหรือ ยังชอบใจประพฤติพรหมจรรย์อยู่อีกหรือ ?”
และครั้งหนึ่งมีภิกษุประมาณ ๓๐ รูป มาจากถิ่นอื่น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้เดินสวน
ทางกับ พระลกุณฏกภัททิยะ ซึ่งท่านเพิ่งมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วก็กลับไป พระพุทธองค์
ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า:-
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นพระเถระรูปหนึ่งเดินสวนทางไปหรือไม่ ?”
“ไม่เห็น พระเจ้าข้า”
“พวกเธอเห็น มิใช่หรือ ?”
“เห็นแต่สามเณรองค์เล็ก ๆ เดินสวนทางไป พระเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละ คือพระเถระ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปร่างของท่านเล็กเหลือเกิน พระเจ้าข้า”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่เรียกบุคคลว่า “เถระ” เพราะความเป็นคนแก่ มีผม
บนศีรษะหงอก และเพียงสักแต่ว่านั่งบนอาสนะพระเถระเท่านั้นท่านเหล่านั้น ตถาคตเรียกว่า
“พระแก่เปล่า” ส่วนท่านที่มีสัจจะ คือริยสัจ ๔ มีธรรมะ มีความสำรวม รู้จักข่มใจ ไม่เบียด
เบียนผู้อื่น และมีปัญญา ท่านเหล่านี้ ตถาคตเรียกว่า “เถระ”
ได้รับยกย่องว่าพูดเสียงไพเราะ
พระลกุณฏกภัททิยะ แม้จะมีร่างกายที่ไม่ปกติและไม่เหมือนกับภิกษุอื่น ๆ อันเป็นหตุ
ให้ท่านถูกล้อเลียนด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ท่านก็ไม่เคยโกรธเคืองเลย เพราะท่านเป็นพระอรหันต์
ขีณาสพ ไม่มีกิเลสาสวะ แล้ว นอกจากนี้ท่านยังมีความสามารถพิเศษ คือปกติท่านแสดงธรรม
สั่งสอนพุทธศาสนิกชนและเจรจาประกอบด้วยถ้อยคำและน้ำเสียงอันไพเราะ เป็นที่เสนาะโสต
แก่ผู้ฟังทั้งหลาย อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส
ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
ทั้งหลายในทาง ผู้พูดเสียงไพเราะ
ท่านพระลกุณฏกภัททิยะ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาอยู่พอสมควรแก่กาล
เวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

ดังเรื่องของพระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ เป็นต้น

แต่น่าเสียดายที่ยุคกาลสมัยเปลี่ยนไป ทุกวันนี้ จะเห็นเอาคุณธรรม มาเป็นที่เคารพกันได้น้อย คงแก่พระปฏิบัติ  ที่พอเจอหน้ากันก็จะรู้

 ส่วนเรื่อง สมณะศักดิ์ ไม่ขอกล่าวถึง
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ การจัด ลำดับ ของ พระสงฆ์ คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2014, 10:20:18 am »
0
ask1
 อยากทราบ การจัด ลำดับ ของ พระสงฆ์ คะ

  อาวุโส พระใหม่ พระเก่า อริยเถระ เถระ มหาเถระ อาจารย์ อุปัชฌาย์ อันเตวาสิก สัทธิวิหาริก คือ ฟังจากพระประวัติ คะ แต่ไม่ทราบว่า เวลาเรียงลำดับ แล้ว ใครก่อน ใครหลัง คะ

  :25: thk56

 ans1 ans1 ans1 ans1

นวกะ  ภิกษุใหม่, ภิกษุมีพรรษายังไม่ครบ ๕
มัชฌิมะ ภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๕ แล้ว แต่ยังไม่ถึง ๑๐ พรรษา (ต่ำกว่า ๕ เป็นนวกะ, ๑๐ พรรษาขึ้นไปเป็นเถระ)
เถระ พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่ามีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป


อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ “ผู้เพ่งโทษน้อยใหญ่” หมายถึง ผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์, เป็นทั้งผู้นำเข้าหมู่ และเป็นผู้ปกครองคอยดูแลผิดและชอบ ทำหน้าที่ฝึกสอนอบรมให้การศึกษาต่อไป ; อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี เรียกว่า ปวัตตินี


อ้างอิง : ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
________________________________________________


 ans1 ans1 ans1 ans1


คุณสมบัติพระอุปัชฌาย์
    ๑. มีตำแหน่งในทางการปกครองชั้นเจ้าอาวาสขึ้นไป เว้นแต่พระอารามหลวง
    ๒. มีพรรษาพ้น 10
    ๓. ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรืออาพาธเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคเรื้อน หรือวัณโรคในระยะอันตราย
    ๔. มีประวัติความประพฤติดี
    ๕. เป็นที่นับถือของประชาชน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
    ๖. เป็นเปรียญหรือนักธรรมเอก เว้นแต่ในบางท้องถิ่นซึ่งเจ้าคณะพิจารณาเห็นสมควรผ่อนผัน
    ๗. มีความสามารถฝึกสอนผู้อยู่ในปกครองให้เป็นพระภิกษุสามเณรที่ดี ตามพระธรรมวินัย และสามารถบำเพ็ญกรณียกิจอันอยู่ในหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ได้
    ๘. มีความรู้ความสามารถ ทำอุปสมบทกรรมให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และระเบียบแบบแผนของคณะสงฆ์


ที่มา th.wikipedia.org/wiki/อุปัชฌาย์
____________________________________________


 ans1 ans1 ans1 ans1


สัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก

คำว่า “สัทธิวิหาริก” กับ “อันเตวาสิก” นั้น ผู้ที่เคยผ่านการบวชเรียนมาแล้วคงจะคุ้นเคยกับสองคำนี้มากกว่าคนทั่วๆ ไป แต่ก็ยังมีหลายท่านที่เข้าใจสับสนกันในระหว่างสองคำนี้ ในหนังสือ “พูดจาภาษาวัด” โดย สำนักงานเลขานุการกรม กรมการศาสนา ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และหนังสือ “คำวัด” โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) วัดราชโอรสาราม รวมทั้ง “พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์” โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙) ได้อธิบายความหมายของทั้งสองคำนี้ไว้ว่า

“สัทธิวิหาริก” แปลว่า ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท คือ ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์รูปใด ก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์รูปนั้น ผู้สมัครใจขออุปสมบทต้องปฏิญญาว่ามีศรัทธาเลื่อมใส ขอสมัครอุปสมบทในพระพุทธศาสนา จึงขอมอบตัวเป็นสัทธิวิหาริกในพระอุปัชฌาย์ และเมื่อได้อุปสมบทแล้ว จะเคารพนับถือเชื่อฟัง ตั้งอยู่ในโอวาทของพระอุปัชฌาย์ และจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบตามพระวินัย ระเบียบแบบแผนของวัด และคณะสงฆ์ตลอดไป

เมื่ออุปสมบทแล้ว พระอุปัชฌาย์จะออกหนังสือสุทธิให้แก่สัทธิวิหาริก พร้อมทั้งขึ้นทะเบียนไว้ และจัดทำบัญชีสัทธิวิหาริกที่อุปสมบทในปีหนึ่งๆ ส่งพระสังฆาธิการผู้บังคับบัญชาตามลำดับ


 :96: :96: :96: :96:

ที่เรียกว่า สัทธิวิหาริก นั้น เพราะพระวินัยกำหนดไว้ว่า ภิกษุผู้บวชใหม่จะต้องถือนิสสัยโดยอยู่กับพระอุปัชฌาย์อย่างน้อย ๕ ปี เพื่อให้พระอุปัชฌาย์อบรมแนะนำสั่งสอนเหมือนบิดาสอนบุตร ภิกษุผู้มีพรรษาพ้น ๕ แล้ว ไม่ต้องถือนิสสัยต่อไป เรียกภิกษุนั้นว่า นิสสัยมุตตกะ (ผู้พ้นนิสสัยแล้ว)

ธรรมเนียมหรือข้อปฏิบัติ ที่สัทธิวิหาริกพึงกระทำต่อพระอุปัชฌาย์ของตนโดยย่อ คือ เอาใจใส่ ปรนนิบัติรับใช้ คอยศึกษาเล่าเรียนจากท่าน ขวนขวายป้องกันหรือระงับความเสื่อมเสีย เช่น ความคิดจะสึก ความเห็นผิด เป็นต้น รักษาน้ำใจของท่าน มีความเคารพ จะไปไหนก็บอกลา ไม่เที่ยวตามอำเภอใจ และเอาใจใส่พยาบาลเมื่อท่านอาพาธ เรียกข้อปฏิบัติเหล่านี้ว่า “อุปัชฌายวัตร”


 st12 st12 st12 st12

ส่วนหน้าที่หรือข้อควรปฏิบัติอันพระอุปัชฌาย์จะพึงกระทำแก่สัทธิวิหาริก คือ
๑. เอาธุระในการศึกษา
๒. สงเคราะห์ด้วยบาตร จีวร และบริขารอื่นๆ
๓. ขวนขวาย ป้องกัน หรือระงับความเสื่อมเสีย เช่น ระงับความคิดจะสึก เปลื้องความเห็นผิด ฯลฯ
๔. พยาบาลเมื่ออาพาธ

เรียกข้อปฏิบัติเหล่านี้ว่า “สัทธิวิหาริกวัตร”

 :25: :25: :25: :25:

สำหรับ “อันเตวาสิก” แปลว่า ผู้อยู่ภายใน ใช้เรียกภิกษุผู้อาศัยอยู่กับอาจารย์ หรือภิกษุผู้มิใช่พระอุปัชฌาย์ของตน เช่น บวชจากวัดนี้ไปอาศัยอยู่กับอาจารย์อีกวัดหนึ่งเพื่อเล่าเรียน ดังนี้เรียกว่าเป็นอันเตวาสิกของวัดนั้น

อันเตวาสิก มี ๔ ประเภท คือ
๑. ปัพพชันเตวาสิก คือ อันเตวาสิกในบรรพชา
๒. อุปสัมปทันเตวาสิก คือ อันเตวาสิกในอุปสมบท
๓. นิสสยันเตวาสิก คือ อันเตวาสิกผู้ถือนิสสัย
๔. ธัมมันเตวาสิก คือ อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม


ดังนั้น “สัทธิวิหาริก” จึงคู่กับ “อุปัชฌาย์” ส่วน “อันเตวาสิก” คู่กับ “อาจารย์”


ศัพท์ธรรมคำวัด : สัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก
หนังสือที่พระบวชใหม่พึงอ่าน (เสฐียรพงษ์ วรรณปก)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=19682
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=40263           
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2014, 10:23:44 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ