ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ในครั้งพุทธกาล มีวัดกี่วัดคะ  (อ่าน 13783 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นาตยา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 136
  • ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ในครั้งพุทธกาล มีวัดกี่วัดคะ
« เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 03:28:43 pm »
0
ในครั้งพุทธกาล มีวัดกี่วัด คะ ใครเป็นผู้ถวาย บ้างคะ

  เช่นวัดเวฬุวัน ถวายโดยพระเจ้า พิมพิสาร ที่พระนคร สาวัตถี ใช่หรือป่าวคะ

 :25: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ในครั้งพุทธกาล มีวัดกี่วัดคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 10:01:38 am »
0
วัดที่ "มีชื่อระบุไว้" ในพระไตรปิฎก เท่าที่ค้นได้มี ๙ วัด

๑.วัดเวฬุวัน สร้างถวายโดยพระเจ้าพิมพิสาร อยู่กรุงราชคฤห์

๒.วัดนิโครธาราม สร้างถวายโดย เจ้านิโครธ แห่งศากยวงศ์ อยู่กรุงกบิลพัสด์

๓.วัดเชตวนาราม สร้างถวายโดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี อยู่เมืองสาวัตถี

๔.วัดอัมพาตการาม สร้างถวายโดยจิตตคฤหบดี อยู่เมืองมัจฉกิสัณฑะ

๕.วัดชีวกัมพวัน สร้างถวายโดยหมอชีวกโกมารภัจ อยู่กรุงราชคฤห์

๖.วัดบุพพาราม สร้างถวายโดยนางวิสาขา อยู่เมืองสาวัตถี

๗.วัดโฆสิตาราม สร้างถวายโดยโฆสกเศรษฐี อยู่กรุงโกสัมพี

๘.วัดกุกกฏาราม สร้างถวายโดย กุกกุฏเศรษฐี อยู่กรุงโกสัมพี

๙.วัดปาวาริการาม สร้างถวายโดยปาวาริกเศรษฐี อยู่กรุงโกสัมพี


นอกจากนี้ยังมีที่พักสงฆ์ ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างไว้อีกจำนวนหนึ่ง

ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะนำเสนอในโอกาสต่อไป
 :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2010, 01:47:25 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นาตยา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 136
  • ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ในครั้งพุทธกาล มีวัดกี่วัดคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 09:48:16 am »
0
ขอบคุณคะ ลุงปุ้่ม

  แต่อยากถามเพิ่มเติม ไม่รบกวนมากคะ

 1. มีมูลเหตุ ที่สร้างวัดแต่ ละแห่งไหม คะ

 2. ทำไมจึงตั้งชื่อวัดแบบนั้น

 3.ใครเป็นผู้ดูแลสำนัก

 4.พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดใดนานที่สุด คะ

 :25: :88: :c017:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ในครั้งพุทธกาล มีวัดกี่วัดคะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 01:09:23 pm »
0
คุณลุงปุ้่ม อยากถามเพิ่มเติม คะ

 1. มูลเหตุ ที่สร้างวัด คะ

 2. ทำไมจึงตั้งชื่อวัดแบบนั้น

 3. ใครเป็นผู้ดูแลสำนัก

 4. พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดใดนานที่สุด คะ

 :25: :88: :c017:


         วัดเชตวนาราม สร้างถวายโดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี อยู่เมืองสาวัตถี เป็นวัดที่สำคัญที่สุด เนื่องด้วยอนาถ

บิณฑิกเศรษฐี หรือ ท่านสุทัตตะเศรษฐีนั้น เป็นมหาอุบาสกผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย ท่านสุทัตตะเศรษฐีได้ตั้ง

ความปรารถนามาเนิ่นนานที่จะดำรงตำแหน่งนี้ และเป็นมหาอุบาสกเพียงท่านเดียวที่สร้างอารามใหญ่ด้วยทรัพย์

มหาศาลด้วยการปูลาดเหรียญทองทุกตารางนิ้วเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินในการจัดสร้างเชตวันมหาวิหารถวายแด่พระ

สัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกได้ว่าเป็นมหาวิหารเดียวที่มีเพียงหนึ่งเท่านั้นที่สร้างถวายด้วยทุนทรัพย์มากมายมหาศาล

และเพียงหนึ่งเดียวในพระพุทธเจ้าหนึ่งพระองค์ ที่จะต้องสร้างถวายไว้ประจำองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นมหาวิหารที่ใหญ่และพระบรมศาสดาทรงประทับนานสุดถึง 19 พรรษา สำหรับชื่อตั้งไว้เป็นเกียรติให้แด่เจ้า

เชตราชกุมารแห่งแคว้น ด้วยได้ขายที่ดินให้ท่านสุทัตตะเศรษฐี เหลือเพียงซุ้มหน้าวัดที่เจ้าเชตขอมีส่วนร่วม

ถวาย จึงได้ให้นามวัดตามชื่อของเจ้าเชต...ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2010, 01:41:18 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ในครั้งพุทธกาล มีวัดกี่วัดคะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 05:12:19 pm »
0
ทรงรับพระเวฬุวันเป็นสังฆิกาวาส

             [๖๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

จึงพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ จนให้พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ห้ามภัตแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.


ท้าวเธอได้ทรงพระราชดำริว่า พระผู้มีพระภาคพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหนดีหนอ ซึ่งจะเป็นสถานที่ไม่ไกล ไม่ใกล้จากบ้านนัก สะดวกด้วยการคมนาคม ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะเข้าไปเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด เสียงไม่กึกก้อง ปราศจากลมแต่ชนที่เดินเข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด และควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย.

แล้วได้ทรงพระราชดำริต่อไปว่า สวนเวฬุวันของเรานี้แล ไม่ไกลไม่ใกล้จากบ้านนัก
สะดวกด้วยการคมนาคม ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะพึงเข้าไปเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด เสียงไม่กึกก้อง ปราศจากลมแต่ชนที่เข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด และควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย


ผิฉะนั้น เราพึงถวายสวนเวฬุวันแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ดังนี้. ลำดับนั้น จึงทรงจับพระสุวรรณภิงคาร ทรงหลั่งน้ำน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคด้วยพระราชดำรัสว่า หม่อมฉันถวายสวนเวฬุวันนั่นแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขพระพุทธเจ้าข้า.
             
พระผู้มีพระภาคทรงรับอารามแล้ว. และทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช
ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.ต่อมา พระองค์ทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาราม.

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=1336&Z=1357



แจ้งข่าวพระบรมศาสดาเสด็จ

พระกาฬุทายีเถระ แจ้งข่าวให้พระสงฆ์ทั้งปวงทราบ ตามพระบัญชาบรรดาพระสงฆ์
เหล่านั้น ก็พากันตระเตรียมบาตร จีวร และบริขารอื่น ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วกราบทูลให้ทรง
ทราบ สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จพุทธดำเนินพร้อมด้วยพระสงฆ์ ๒๐,๐๐๐ รูป เป็นบริวาร
เสด็จจากรุงราชคฤห์สู่กรุงกบิลพัสดุ์โดยมิได้รีบร้อน เดินทางได้วันละโยชน์ (๑๖ กม.) เป็นเวลา
๖๐ วันพอดี


ส่วน พระกาฬุทายีเถระ คิดว่า “เราควรจะไปแจ้งข่าวให้สมเด็จพระเจ้าสุทโธทนะทรง
ทราบการเสด็จมาของพระบรมศาสดา” จึงล่วงหน้ามาแจ้งข่าวเป็นระยะ ๆ ทุก ๆ วัน
พระเจ้าสุทโธทนะ ได้ถวายภัตตาหารแก่พระเถระแล้ว บรรจุพระกระยาหารอีกส่วน
หนึ่ง ให้พระเถระนำไปถวายพระพุทธองค์ เป็นประจำทุกครั้งที่พระเถระมาแจ้งข่าว

ฝ่ายพระประยูรญาติ ทั้งฝ่ายศากยะและฝ่ายโกลิยะ ได้ทราบข่าวว่าพระองค์กำลังเสด็จ
มาสู่พระนครกบิลพัสดุ์ ก็ปีติโสมนัสเบิกบานอย่างยิ่ง และได้ประชุมปรึกษาหารือตกลงเห็นพ้อง
ต้องกันว่า อุทยานของพระนิโครธศากยราชกุมารนั้น เป็นรมณียสถานสมควรเป็นที่ประทับของ
พระบรมศาสดาจึงร่วมกันสร้างพระคันธกุฎี และเสนาสนะที่พักสำหรับภิกษุสงฆ์ลงในที่นั้น
ถวายเป็นพระอารามในพระพุทธศาสนาชื่อว่า “นิโครธาราม”


ด้วยเหตุที่ พระกาฬุทายี เป็นทั้งราชทูตของพระเจ้าสุทโธทนะ ไปกราบทูลอาราธนา
พระบรมศาสดา และเป็นสมณทูตพยายามไปแจ้งข่าวสารการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคต่อ
พระประยูรญาติเป็นประจำ จนพระประยูรญาติเกิดศรัทธาเลื่อมใสสร้างพระอารามถวายไว้ใน
พุทธศาสนา

นับว่าท่านได้ทำคุณแก่พระประยูรญาติศากยวงศ์ และแก่พระศาสนาอย่าง
อเนกอนันต์ พระพุทธองค์จึงทรงตั้งท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายใน
ฝ่าย ผู้นำตระกูลให้เลื่อมใสท่าน พระกาฬุทายีเถระ ดำรงอายุสังขารช่วยกิจการพระพุทธศาสนาพอสมควรแก่กาล
เวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


ที่มา  http://www.84000.org/one/1/06.html



อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดถวาย

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ช่วยอังคาสถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุ
สงฆ์ ครั้นเสร็จภัตตากิจแล้วก็ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเพื่อเสด็จไปประกาศพระ
ศาสนายังเมืองสาวัตถี

พร้อมทั้งกราบทูลว่า จะสร้างพระอารามถวายเมืองสาวัตถีนั้น พระบรม
ศาสดาทรงรับอาราธนาตามคำกราบทูลอนาถบิณฑิกเศรษฐี รู้สึกปราบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง รีบเดินทางกลับสู่กรุงสาวัตถีโดยด่วน ในระหว่างทางจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงสาวัตถี ระยะทาง ๕๔ โยชน์ ได้บริจาคทรัพย์จำนวนมากให้สร้างวิหารที่ประทับเป็นที่พักทุก ๆ ระยะหนึ่งโยชน์


เมื่อถึงกรุงสาวัตถีแล้วได้ติดต่อขอซื้อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร โดยได้ตกลงราคาด้วยการนำเงินปูลาดให้เต็มพื้นที่ตามที่ต้องการ ปรากฏว่าเศรษฐีใช้เงินถึง ๒๗ โกฏิ เป็นค่าที่ดิน และอีก ๒๗ โกฏิ เป็นค่าก่อสร้างพระคันธกุฏีที่ประทับของพระบรมศาสดา และเสนาสนะสงฆ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔ กฏิ แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้มประตูพระอาราม

ขณะนั้น เจ้าชายเชตราชกุมารได้แสดงความประสงค์ขอเป็นผู้จัดสร้างถวาย โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ที่ซุ้มประตูพระอาราม
ดังนั้นพระอารามนี้จึงได้ชื่อว่า “เชตวนาราม”


ที่มา  http://www.84000.org/one/3/02.html



สร้างวัดอัมพาตการาม

สมัยนั้นพระมหานามเถระ ผู้เป็นพระภิกษุองค์หนึ่งในกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ ได้ไปที่
เมืองมัจฉกิสัณฑะ จิตตคฤหบดี เห็นปฏิปทาอิริยาบถของท่านสงบเสงี่ยมเรียบร้อยจึงเกิด
ศรัทธาเลื่อมใสรับบาตรของพระเถระแล้วนิมนต์มายังเรือนของตน


ถวายภัตตาหารให้ท่านฉันเสร็จแล้ว นิมนต์ท่านไปยังสวนของตนชื่ออัมพาตกะ ได้ถวายสวนนั้นสร้างกุฏีถวายเป็นสังฆารามชื่อว่า “อัมพาตการาม” นิมนต์ให้ท่านอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น และอาราธนาให้ท่านไปรับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตนทุกวัน พระเถระได้แสดงธรรมโปรด ตามสมควรแก่อุปนิสัยของท่านจิตตคฤหบดี และในไม่ช้าท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี

เนื่องจากท่านจิตตคฤหบดี มิได้เฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศาสดาเป็นเวลานานแล้ว
จึงคิดที่จะไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้ป่าวประกาศแก่ชนชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะว่า “ผู้
ประสงค์จะร่วมเดินทางไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากับเรา ก็จงเตรียมเภสัชทั้งหลาย มีน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และของเคี้ยวของฉันเป็นต้น ให้พร้อมแล้วร่วมไปด้วยกัน” ได้มีประชาชนเป็นจำนวนมากประมาณ ๒๐๐๐ คน ร่วมเดินทางไปกับท่านจิตตคฤหบดี


ที่มา  http://www.84000.org/one/3/03.html



หมอชีวกโกมารภัจ สร้างวัด

หมอชีวกโกมารภัจ เมื่อยามว่างเว้นจากการรักษาคนไข้ก็หวนคิดถึงตนเอง มีความ
ปรารถนาจะเข้าเฝ้าใกล้ชิดพระบรมศาสดาอย่างน้อยวันละ ๒ เวลา เช้า-เย็น เพื่ออบรมจิตใจได้มากขึ้น

แต่วัดเวฬุวันก็ตั้งอยู่ห่างไกลจากบ้าน อีกทั้งไม่สะดวกในการฟังธรรม และการรักษาพยาบาลภิกษุไข้ จึงได้น้อมนำถวายสวนมะม่วงที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้แก่ตนนั้น สร้างวัดถวายในพระพุทธศาสนาสร้างพระคันธกุฏีที่ประทับส่วนพระพุทธองค์

พร้อมด้วยกุฏสงฆ์ ศาลาฟังธรรมบ่อน้ำ และกำแพงขอบเขตวัดพร้อมบริบูรณ์ทุกสิ่งแล้ว กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พุทธสาวกเสด็จเข้าประทับยังพระอารามใหม่นั้นถวายอาหารบิณฑบาตเป็นการฉลองพระอารามแล้ว

หลังน้ำทักษิโณทกให้ตกลงบนฝ่าพระหัตถ์ของพระบรมศาสดา กล่าวอุทิศถวายมอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคาร ให้เป็นศาสนสถานอยู่จำพรรษาของภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ พระอารามใหม่นี้ได้นามตามผู้ถวายว่า “ชีวกัมพวัน” (ชีวก+อัมพวัน)

หมายเหตุ อัมพวัน แปลว่า สวนมะม่วง

ที่มา  http://www.84000.org/one/3/09.html



นางวิสาขาสร้างวัด

โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ถ้า
ไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวาย เพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย


แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่า ๆ เพราะละอายที่พระภิกษุหนุ่ม
สามเณรีน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของพระภิกษุสามเณร และเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ องค์ก่อนแล้วจึงกลับบ้าน

วันหนึ่งเมื่อนางมาถึงวัด นางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาวผู้
ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดินกลับบ้านนางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้กลับไปนำมา

แต่สั่งว่าถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมาให้มอบถวายท่านไปเลย เพราะ
นางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า “เครื่องประดับนี้มีประโยชน์แก่พระเถระ”

ดังนั้นนางจึงขอรับคืนมาแล้วนำออกขายในราคา ๙ โกฏิ กับ ๑ แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้ นางจึงซื้อเอาไว้เอง ด้วยการนำทรัพย์เท่าจำนวนนั้น

มาซื้อที่ดินและวัสดุก่อสร้างดำเนินการสร้างวัดถวายเป็นพระอารามประทับของพระบรมศาสดา และเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร พระบรมศาสดารับสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้อำนวยการดูแลการก่อสร้าง

ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น มีห้องสำหรับพระภิกษุพักอาศัยชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาในการก่อสร้างถึง ๙ เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นามว่า“พระวิหารบุพพาราม”

ที่มา http://www.84000.org/one/4/02.html



โฆสกเศรษฐีสร้างวัดถวาย

ในกรุงโกสัมพีนั้นมีเศรษฐี ๓ คน คือ โฆสกเศรษฐี กุกกุฎเศรษฐี และ ปาวาริกเศรษฐี
ทั้ง ๓ ท่านนี้เป็นสหายกันต่างก็มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ฟังพระธรรมเทศนาจนได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกัน และได้สร้างวัดขึ้นท่านละหนึ่งวัด

โดยของ โฆสกเศรษฐีชื่อว่า โฆสิตาราม
ของกุกกุฏเศรษฐี ชื่อว่า กุกกฏาราม
และของปาวาริกเศรษฐีชื่อว่า ปาวาริการาม

 
เศรษฐีทั้ง ๓ ท่านนี้มีคนรับใช้ชื่อนายสุมนะเป็นผู้จัดการตกแต่งสวนดอกไม้ เนื่องจากเขามีความฉลาดความสามารถในด้านนี้ จึงได้ชื่อว่า “สุมนมาลาการ” แม้นางขุชชุตตราก็มาซื้อดอกไม้จากนายสุมนะนี้ทุกวัน

ที่มา  http://www.84000.org/one/4/03.html



อรรถกถาว่า พระพุทธเจ้าประทับที่เชตวนาราม ๑๙ พรรษา ณ บุพพาราม ๖ พรรษา

ที่มา เว็บพลังจิต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2010, 06:10:40 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ในครั้งพุทธกาล มีวัดกี่วัดคะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 17, 2010, 06:21:02 pm »
0
ได้ความรู้ดีจริง

แต่ก็พยายาม จินตนาการ วัดในครั้งพุทธกาล ตอนนั้น ถ้าเทียบกับวัดในปัจจุบันนี้

จะแตกต่างกันมากน้อย ขนาดไหน

ใครมีภาพจำลองวัดในครั้งพุทธกาล ให้ดูบ้างคะ

:25:

บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ในครั้งพุทธกาล มีวัดกี่วัดคะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 12:01:05 am »
0
โห :104:  มีแต่คนเก่งๆ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ปักษาวายุ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ในครั้งพุทธกาล มีวัดกี่วัดคะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2010, 07:04:28 am »
0
แสดงว่าครั้ง พุทธกาล อุบาสก อุบาสิกา ก็นิยมสร้างวัดกันครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ในครั้งพุทธกาล มีวัดกี่วัดคะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มีนาคม 18, 2012, 11:10:17 am »
0
ท่านที่สอบถามมาทางเมล์ เรื่องวัดในครั้งพุทธกาล นั้นมีกี่วัด ก็ให้คำตอบจากที่นี่เลยนะจ๊ะ

 เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ