ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธรูปพูดได้.!?! พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร อ่างทอง  (อ่าน 7935 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก



พระพุทธรูปพูดได้.!?! พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร อ่างทอง

มื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้น แวะประทับแรมที่วัดป่าโมก เมืองอ่างทอง เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๔๔๙ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือจดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นตอนหนึ่งว่า
       
       “มีเรื่องแปลกที่ได้พบตัวจริงของผู้ที่ว่าได้เคยพูดกับพระนอน ซึ่งเจ้าคณะได้บอกลงไปหลายเดือนมาแล้ว เรื่องคราวนั้นคือ อำแดงคนหนึ่งเป็นหลานพระครูปาโมกข์ มารักษาพระอุโบสถอยู่ที่วัดนี้ ในกาลปักษ์ใดปักษ์หนึ่ง เวลานั้นสัปปุรุษพากันรับเพลตามภาษาเขาเรียกอยู่ที่วิหารเขียน แต่นางหลานพระครูคนนี้ไม่รับเพล ด้วยมีความวิตกว่าลุงเจ็บ จึงไปบอกกับหลวงพ่อคือ พระนอนขอให้ช่วยรักษา

       นางนั้นตกใจมากที่ได้ยินเสียงพระนอนนั้นพูดตอบออกมา แต่มิได้ตอบทางพระโอษฐ์ เสียงก้องออกมาจากพระอุระ ดังได้ยินจนนอกโบสถ์ บอกตำรายา ถามนางนั้นก็อิดเอื้อนไปว่าจำไม่ได้หมด จำได้แต่ใบเงินใบทอง ยานั้นไปรักษาลุงหาย พระครูไม่เชื่อ พอประจวบเกิดพระสงฆ์เป็นอหิวาตกโรค จึงได้ลองไปพูดดูบ้าง ก็ได้คำตอบทักทายปราศรัยเป็นอันดี จนถึงว่าอยากพูดกับพระครูมานานแล้ว เป็นต้น

       แต่นั้นมาพระครูได้รักษาไข้เจ็บด้วยยานั้น เป็นอะไรๆก็หาย ห้ามมิให้เรียกขวัญข้าวค่ายานอกจากหมากคำเดียว แลไม่ใช่พูดแต่ ๒ ครั้งเท่านั้น พูดเนืองๆมา พระครูยังได้บอกไปยังเจ้าคณะแลกระทรวง ผู้ที่ได้ฟังพระครูพูดนั้น ไม่ต้องเฉพาะว่าคนเดียว พระฟังพร้อมกัน ๑๕ รูปก็ได้...”

       

       เหตุการณ์มหัศจรรย์นี้ถูกจารึกไว้ว่าเกิดขึ้นในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ เวลาประมาณ ๖ โมงเย็น โดย อุบาสิกาเหลียน อยู่บ้านเอกราช แขวงป่าโมก หลานของพระภิกษุโต ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าโมก ได้เอาใบไม้มาต้มให้พระภิกษุโตซึ่งเป็นอหิวาตกโรคฉัน ก็ปรากฏว่าพระภิกษุโตหายจากโรคอหิวาต์อย่างมหัศจรรย์
       
       พระครูปาโมกข์ฯ จึงซักถามอุบาสิกาเหลียนถึงที่มาของยา อุบาสิกาเหลียนก็ว่าขอมาจากพระพุทธไสยาสน์ และยังคุยว่าพระพุทธไสยาสน์เป็นหลวงพ่อของนาง เมื่อต้องการสิ่งใดก็จะไปขออยู่เสมอ แม้แต่ไถ่ถามเรื่องต่างๆ ก็จะมีเสียงตอบออกมาจากพระอุระ พระครูปาโมกข์ฯขอเข้าไปฟังด้วย อุบาสิกาเหลียนก็ไม่ขัดข้อง
       
       ฉะนั้นในวันที่ ๑๔ ธันวาคม ต่อมาหลังจากเลิกประชุมสงฆ์ราวหนึ่งทุ่ม พระครูปาโมกข์ฯก็ให้สงฆ์ ๑๐ รูป ชาวบ้าน ๕ คน และศิษย์วัดรวมกันประมาณ ๓๐ คนพากันไปที่วิหาร จุดไฟให้สว่างไสว แล้วช่วยกันตรวจค้นจนทั่วว่าไม่มีใครแอบซ่อนอยู่ในวิหารบ้าง แล้วจึงพาอุบาสิกาเหลียนเข้าไปพร้อมหน้ากันในวิหาร


        :25: :25: :25: :25:

       พระครูปาโมกข์มุนีนั่งอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ของพระพุทธไสยาสน์ ห่างประมาณ ๔ ศอก อุบาสิกาเหลียนก็จุดธูปเทียนและเอาใบพลู ๑ ใบทาปูนพับเป็นสี่เหลี่ยม หมาก ๑ ซีก ยาสูบ ๑ มวน ใส่ในพานบูชา แล้วอธิษฐานดังๆให้ได้ยินกันทั่วว่า
       
       “นิมนต์หลวงพ่อเอาของในพานนี้ไปฉันด้วยเถิด”
       
       ประมาณ ๒ นาที ของที่ถวายอยู่ในพานก็หายไปอย่างน่าอัศจรรย์ พระครูปาโมกข์ฯยังไม่หายสงสัย ถามอุบาสิกาเหลียนว่าจะขอพูดกับหลวงพ่อเองได้หรือไม่ อุบาสิกาเหลียนก็พนมมือถามพระพุทธไสยาสน์ว่า จะพูดกับท่านพระครูได้หรือไม่ ก็มีเสียงตอบมาจากพระอุระว่า “ได้” ซึ่งท่านพระครูก็พูดกับพระพุทธไสยาสน์อีกหลายประโยค ทั้งพระและชาวบ้านที่อยู่ในวิหารก็ได้ยินกันทั้งหมด

       

       นอกจากจะเล่าถวายเรื่องนี้ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯด้วยตัวเองแล้ว ท่านพระครูยังบันทึกเรื่องราวโดยละเอียด เตรียมจะถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเมื่อเสด็จกลับจากมณฑลพายัพ แต่เผอิญไม่ได้เสด็จทางวัดป่าโมก จดหมายฉบับนี้จึงค้างอยู่ ซึ่งสมเด็จพระปิยะมหาราชทรงนำมาบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเสด็จประพาสครั้งนี้ด้วยว่า
       
       “...พระครูส่งจดหมายที่เตรียมไว้จะให้มกุฎราชกุมารเรื่องพระพูดและบอกตำรายา ในเนื้อความที่พระครูกล่าวนั้น ไม่ยืนยันว่าพระพุทธองค์พูด เป็นคิดเห็นว่าผีสางเทวดาที่สิงอยู่พูด...”

       
        :96: :96: :96: :96: :96:

       เรื่องนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องที่ร่ำลือกันในหมู่ชาวบ้าน แต่ท่านพระครูเล่าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ต่อพระพักตร์ และเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งก็คือเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ต่อมาคือรัชกาลที่ ๖ ถ้าเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ท่านพระครูก็คงไม่กล้ายืนยันเป็นมั่นเป็นเหมาะกับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินถึงเพียงนี้
       
       เรื่องนี้จึงเป็นปาฏิหาริย์อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้อย่างน่าทึ่ง

ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000085610
http://data.foodtravel.tv/
https://suvanai.files.wordpress.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 
พระอุโบสถวัดป่าโมกวรวิหาร


วัดป่าโมกวรวิหาร

วัดป่าโมกวรวิหาร อยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองไป ๑๘ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ สายอ่างทอง-อยุธยา กิโลเมตรที่ ๔๐ แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๒๙ จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๕๐๑ จะเห็นป้ายทางไปวัดป่าโมก

ภายในวัดแห่งนี้มีพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของเมืองไทย องค์พระก่ออิฐถือปูนปิดทอง มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท ๒๒.๕๘ เมตร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย มีประวัติความเป็นมาเล่าขานกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัด ราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ



ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนที่จะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราช ได้เสด็จมาชุมนุมพลและถวายสักการบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ ต่อมากระแสน้ำเซาะเข้ามาใกล้พระวิหาร “ สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ ๓ โปรดเกล้าฯให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองงาน จัดการชะลอลากให้ห่างจากแม่น้ำเดิม ” (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ)ได้เสด็จมาควบคุมการชะลอองค์พระให้พ้นจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพังและนำไปไว้ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาดห่างจากฝั่งแม่น้ำ ๑๖๘ เมตร แล้วโปรดให้รวมวัดตลาดกับวัดชีปะขาวเป็นวัดเดียวกัน พระราชทานนามว่าวัดป่าโมกเพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกมากมาย



สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้นอกจากพระพุทธไสยาสน์แล้วยังมี วิหารพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร สร้างในรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นพุทธศิลป์สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย วิหารก่ออิฐถือปูนเครื่องบนไม้หลังคา ฐานอ่อนโค้งสำเภา

สำหรับ วิหารเขียน เล่ากันว่า ผนังวิหารด้านที่หันออกสู่แม่น้ำมีแท่นสูงเข้าใจว่าเป็นแท่นที่เคยมีกษัตริย์เสด็จประทับยืนบริเวณนั้น นอกจากนี้ภายในวัดยังมีมณฑปพระพุทธบาท ๔ รอย หอไตร และศาลเจ้าแม่ช่อมะขาม เป็นต้น



พระบรมรานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ตั้งอยู่บริเวณลานริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่วัดป่าโมกวรวิหาร จังหวัดอ่างทองสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในการเดินทัพจากกรุงศรีอยุธยามาขึ้นบกที่บ้านป่าโมกบริเวณนี้ทำพิธีเหยียบชิงชัยภูมิตัดไม้ข่มนามและนมัสการพระพุทธไสยาสน์แล้วยกทัพไปทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาได้รับชัยชนะที่ตำบลตระพังตรุ หนองสาหร่าย ในวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. ๙๕๔ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม ซึ่งจังหวัดอ่างทองได้กำหนดจัดงานรัฐพิธีวันกองทัพไทย โดยจัดให้มีพิธีบวงสรวงสังเวยและ วางพานพุ่มถวายราชสักการะเป็นประจำทุกปี

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://www.tatsuphan.net/Awatpamork.html
http://www.muangthai.com/
http://www.bansansuk.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

           ขออนุโมทนาสาธุ ครับ

            เห็นพระใหญ่เมื่อไร รู้สึกวิเวก ในกายในใจ รู้สึกสง้ด

           
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา