ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝึกสมาธิ จะช่วยอำนวยชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ?  (อ่าน 5924 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
คงมีเพื่อนสมาชิก หลายคน คงสงสัยว่า การฝึกสมาธิ จะช่วยชีวิตประจำวัน ของเราให้ดีขึ้นอย่างไร ?

บางท่านก็อยากฝึก ก็มักจะตอบว่า ไม่มีเวลาที่ฝึก ไม่ว่างบ้าง ไม่มีช่วงภาวนา แท้ที่จริงการภาวนาจริง ๆ นั้น
ไม่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เลยใช่ไหมครับ

ถ้าการภาวนา ไม่สามารถ เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันได้ อย่างนั้นจะชื่อว่า อกาลิโก ( ภาวนาได้โดยไม่จำกัดกาลเวลา ) ได้อย่างไร ?

ดังนั้น ผมอยากให้เพื่อนสมาชิก จำแนก การภาวนาให้ได้สักหน่อยตามลำดับ ดังนี้

1. การภาวนาเบื้องต้น ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นทำอย่างไร
2. การภาวนาในท่ามกลาง ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นทำอย่างไร
3. การภาวนาในที่สุด ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นทำอย่างไร
 :13: :13: :13:
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

axe

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 187
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ฝึกสมาธิ จะช่วยอำนวยชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 25, 2010, 01:57:06 am »
0
อ้างถึง
1. การภาวนาเบื้องต้น ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นทำอย่างไร
ไม่รู้จะถูกหรือป่าว ครับ แต่ตอบตามความเข้าใจก่อน

การภาวนาในเบื้องต้น ก็หากัลยาณมิตร เรียนพระกรรมฐาน
พุทธานุสสติ กรรมฐาน ในห้องที่ 1 พระธรรมปีติ 5 องค์
ภาวนาโดย กำหนดฐานจิต และ พุทโธ ไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ วัน ๆ ละ ตามความถนัด แต่ไม่ควรขาด ไม่ว่าจะป่วย หรือ ไม่ว่าง แต่ประการใด ก็ต้องทำ :13:
บันทึกการเข้า
หนุ่มหล่อ ใจดี AXE

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ฝึกสมาธิ จะช่วยอำนวยชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 25, 2010, 10:17:19 pm »
0
อ้างถึง
1. การภาวนาเบื้องต้น ใน สติปัฏฐาน 4

กำหนด สติ รู้ ด้วยความไม่ประมาท ไม่มีท่าทางครับ มองเห็นความเกิด ความดับ

ตา กระทบกับ รูป กำหนดว่านั่นคือ รูป จิตรู้เป็น นาม ( เป็นปรมัตถ์สมมุติ )
หู กระทบกับ เสียง กำหนดว่านั่นคือ รูป จิตรู้เป็น นาม ( เป็นปรมัตถ์สมมุติ )
ลิ้น กระทบกับ รส กำหนดว่านั่นคือ รูป จิตรู้เป็น นาม ( เป็นปรมัตถ์สมมุติ )
จมูก กระทบกับ กลิ่น กำหนดว่านั่นคือ รูป จิตรู้เป็น นาม ( เป็นปรมัตถ์สมมุติ )
กาย กระทบกับ สัมผัส กำหนดว่านั่นคือ รูป จิตรู้เป็น นาม ( เป็นปรมัตถ์สมมุติ )
ใจ กระทบกับ อารมณ์ กำหนดว่านั่นคือ รูป จิตรู้เป็น นาม ( เป็นปรมัตถ์สมมุติ )

ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็น ตน ยึดมั่น ถือมั่น มิได้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป

 :88:
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: ฝึกสมาธิ จะช่วยอำนวยชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 26, 2010, 12:54:31 pm »
0
 ??? ต้องการคำอธิบายมากกว่านี้ครับ ขอเป็นแบบภาคภาวนาจริงนะครับ ทำได้จริงของเพื่อนสมาชิก
 ไม่เอาแบบว่ามาตอบ ว่า ละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ก็เป็นพระอรหันต์ได้ ตอบทำนองนี้กำปั้นทุบดินจริง ๆ
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ฝึกสมาธิ จะช่วยอำนวยชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 27, 2010, 01:50:26 pm »
0

คุณกิติศักดิ์ครับ หัวเรื่องกระทู้ กับ เนื้อหากระทู้  ถามไม่ตรงกัน
ไม่ทราบคำถามที่ตรงใจคุณกิติศักดิ์คืออะไร
ในส่วนตัวผมคงตอบได้กว้างๆ
หากอยากรู้กรรมฐานมัชฌิมาโดยละเอียด ต้องถามระดับพระอาจารย์
 ซึ่งควรถามเป็นการส่วนตัว  เวทีสาธารณะแห่งนี้ท่านคงไม่สะดวกที่จะตอบ


ตอบคำถามที่ว่า  “ ฝึกสมาธิ จะช่วยอำนวยชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ?”
สมาธิมีมาก่อนพุทธกาล ฤาษี ชีไพร ก็ฝึกได้ถึง สมาบัติ ๘  อาจารย์ของพระพุทธเจ้า
อาฬารดาบส ก็ได้สมาบัติ ๘

ประโยชน์ของสมาธิคือความสงบ สมาธิจะกดข่มกิเลสเอาไว้
ทำให้มีความสุข อีกทางหนึ่งสมาธิจะช่วยสร้างอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ต่างๆได้

ต่อมาหลังจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คนก็ได้รู้ถึงประโยชน์อีกด้านหนึ่งของสมาธิ
นั่นคือ การนำเอาสมาธิมาเป็นบาทฐานของการวิปัสสนาเพื่อการเข้าถึงนิพพาน

สิ่งที่กล่าวมานี้ คุณกิติศักดิ์คงทราบดีอยู่แล้ว หากมีอะไรชี้แนะเพิ่มเติมก็เชิญนะครับ

-----------------------------------------------

เรื่องต่อมา อยากจะบอกว่า ความหมายของคำว่า “อกาลิโก” ที่คุณกิติศักดิ์เข้าใจนั้น
เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน คำแปลตรงๆของ “อกาลิโก” คือ

“เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล”

ไม่ได้หมายถึงการนำการภาวนาเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ห้ามให้ทำอย่างนั้น
ความหมายของคำนี้ อธิบายได้ดังนี้ครับ

อกาลิโก พระธรรมไม่ประกอบด้วยกาล, ให้ผลไม่จำกัดกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่จำกัดด้วยกาล ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุกโอกาส บรรลุเมื่อใด ก็ได้รับผลเมื่อนั้น ไม่เหมือนผลไม้ที่ให้ผลตามฤดู, อีกอย่างหนึ่ง ว่าเป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นจริงอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์(ป.อ.ปยุตโต)

ผมขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติม  เพื่อให้ได้อรรถรส แบบนี้ครับ

หากปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะต้องถึงนิพพานอย่างแน่นอน
แม้ในอดีตกาลพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆก็สอนแบบนี้ ผู้ใดปฏิบัติตามแล้วได้ผล คือ ถึงนิพพานเหมือนกัน
รวมทั้งในอนาคตกาลข้างหน้าสืบๆไปไม่รู้จบ พระพุทธเจ้าที่จะอุบัติขึ้นมาเป็นองค์ถัดๆไปไม่รู้จบ
ก็จะสอนแบบนี้และได้ผลดุจเดียวกันไม่เปลี่ยนแปร


หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าค้นพบ เป็นธรรมที่มุ่งสู่นิพพาน เป็นกฏธรรมชาติที่ตายตัว
แม้แต่ช่วงเวลาที่ไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา เป็นช่วงที่โลกว่างจากพระพุทธเจ้า
กฏธรรมชาติข้อนี้ก็ยังดำรงอยู่อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง

พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้รู้เท่านั้น ไม่ใช่ผู้สร้างหลักธรรมหรือกฏธรรมชาตินี้ขึ้นมาเอง
หลักธรรมหรือกฏธรรมชาติที่มุ่งสู่นิพพานนั้น มันมีอยู่แล้วโดยไม่มีใครไปสร้างมันขึ้นมา
มันไม่มีต้น มันไม่มีปลาย มันจึงไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา

(หากผมเข้าใจคุณกิติศักดิ์ผิด หรือคุณเข้าใจเรื่องนี้อยู่แล้ว ก็ต้องขออภัยด้วยครับ)
-----------------------------------------------

มาถึงคำถาม  ๓ ข้อที่ว่า
1. การภาวนาเบื้องต้น ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นทำอย่างไร
2. การภาวนาในท่ามกลาง ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นทำอย่างไร
3. การภาวนาในที่สุด ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นทำอย่างไร

ดังได้กล่าวในข้างต้นไปแล้ว  ต้องไปคุยเป็นการส่วนตัวกับพระอาจารย์
ส่วนผมขอตอบอีกด้านหนึ่งแบบรวมๆดังนี้ครับ

คำว่า “ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด” ผมไม่ทราบว่าคุณนำมาจากไหน
ผมเห็นอยู่ในบททำวัตรเช้า ในบท “พุทธาภิถุติง” ที่ว่า

โย ธัมมัง เทเสสิ, อาทิกัลยานัง,มัชเฌกัลยานัง,ปะริโยสานะกัลยานัง
แปลว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์นั้น ทรงแสดงธรรมแล้ว
ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด


สิ่งที่อยากจะบอกคุณกิติศักดิ์ก็คือ ไม่ว่าคุณจะปฏิบัติธรรมสายไหน
หากยึดหลักคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้าแล้ว
ความไพเราะ ความงดงามต่างๆ ไม่ควรมีอะไรที่แตกต่างกัน

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่แปลมาจากคัมภีร์วิมุตติมรรค
และคัมภีร์วิมุตติมรรคก็คือ คัมภีร์ที่บันทึก กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
เอาไว้ อย่างเป็นทางการเล่มแรก  คัมภีร์วิสุทธิมรรคเล่มนี้ได้กล่าวว่า
พระพุทธเจ้าสอนไตรสิกขาเป็นลำดับ คือ


สอนเรื่องศีล เป็นเรื่องแรก นักปราชญ์ จึงกล่าวว่า ในเบื้องต้น
สอนเรื่องสมาธิเป็นเรื่องที่สอง นักปราชญ์ จึงกล่าวว่า ในท่ามกลาง
และสอนเรื่องปัญญาเป็นเรื่องสุดท้าย นักปราชญ์ จึงกล่าวว่า ในที่สุด


ดังนั้น ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง
อยากให้คิดว่า หลักคำสอนของกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไม่มีอะไรที่แตกต่าง
จากกรรมฐานสายอื่นๆแต่อย่างใด


ผมคงคุยเป็นเพื่อนได้เท่านี้ครับ
ขอให้ธรรมคุ้มครอง

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ฝึกสมาธิ จะช่วยอำนวยชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 29, 2010, 10:25:28 am »
0
 :character0029:  :signspamani:    :character0029:     
        :banghead:ผมเป็นคนหนึ่งที่มีจริตนิสัยแบบโทสะจริต คุณกิตติศักดิ์ทราบไหมครับว่าคนโทสะจริตนั้นมักมีนิสัยหนักไปในทางโกรธง่ายเมื่อไม่พอใจจะแสดงอาการทางสีหน้าแววตากิริยาท่าทางทันที โดยเฉพาะผมนั้นมีนิสัยนิ่งเงียบเก็บความรู้สึกเมื่อกระทบอารมณ์จะไม่ผลุนผลันแสดงออกแต่เก็บไว้จนกระทั่งเต็มจะระเบิด ซึ่งนิสัยแบบนี้เป็นทั้งที่บ้านและที่ทำงานถามว่าขั้นไหนก็ถึงขั้นที่ว่าเมื่อไม่พอในการแก้ไขปัญหาขอผู้บังคับบัญชาผมก็เดินเข้าไปวิวาทะด้วยทันทีที่รู้ว่าทนไม่ไหวและจบลงด้วยการซื้อใจกันไว้ไม่เช่นนั้นงานพังเพราะเคยทำมาแล้วกับเพื่อนร่วมงานไม่ว่าหญิงหรือชาย ดังคำกล่าวที่ว่าเวลาโกรธเห็นช้างตัวเท่ามดมันจริงนะครับ
        :banghead:ที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นทุกข์กับจริตนิสัยตัวเอง ผมพยายามที่จะเอาชนะทุกวิถีทางแต่ล้มเหลวจนกระทั่งมาปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้ทำให้ผมใจวางไม่หงุดหงิดมีสติรู้ทันปล่อยวางก็จบเรื่องไม่มีใจก็เป็นสุขได้ในระดับหนึ่งแต่เมื่อเผลอเป็นได้เรื่อง ดังนั้นการฝึกปฏิบัติธรรมสมาธิควรทำต่อเนื่องให้ได้บ่อยครั้งเมื่อมีโอกาสเว้นได้บ้างแต่อย่าขาดนานฝึกให้เป็นนิสัยจะระงับนิสัยเสียได้พอสมควร
        :banghead:เท่าที่คุณกิตติศักดิ์ถามว่า "ฝึกสมาธิ จะช่วยอำนวยชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ?" ผมตอบให้แบบพูดคุยกันฉันท์มิตรนะครับ


  :043::040:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ฝึกสมาธิ จะช่วยอำนวยชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 29, 2010, 11:27:11 am »
0

ผมมีคำตอบบางส่วนให้คุณกิติศักดิ์ อยู่ลิงค์นี้ครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=386.msg1454#msg1454

"ได้ อะไรจากการ ปฏิบัติสมาธิ กันครับ"


ขอ ให้ธรรมคุ้มครอง :49:

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ