ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติความเป็นมาของนางภิกษุณี  (อ่าน 12708 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ประวัติความเป็นมาของนางภิกษุณี
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2010, 03:49:16 pm »
0

ประวัติความเป็นมาของนางภิกษุณี
             
(จากวินัยปิฎก เล่ม ๗ หน้า ๓๒๐ ถึง ๓๒๖)

              (๑) พระนางมหาปชาบดี โคตมี ทูลขอบรรพชาไม่สำเร็จ
              สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระนางมหาปชาบดี โคตมี๑ เข้าไปเฝ้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วประทับยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลขอบรรพชาเป็นอนาคาริยะ (ไม่ครองเรือน) ในพระธรรมวินัย ซึ่งพระตถาคตเจ้าประกาศแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสห้ามไว้ว่า อย่าเลย ท่านเป็นมาตุคาม๒ อย่าพอใจบรรพชาเป็นอนาคาริยะในพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย แม้ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม พระนางมหาปชาบดี โคตมี กราบทูลขอบรรพชา พระผู้มีพระภาคก็ตรัสห้ามอย่างนั้น.

              เมื่อพระนางมหาปชาบดี โคตมี เห็นว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตอนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัย ซึ่งพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วแก่มาตุคาม ก็ระทมทุกข์เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ (คือดำเนินเวียนขวา) แล้วเสด็จหลีกไป.
              เมื่อพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ตามพระพุทธอัธยาศัยแล้ว ก็เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ทางกรุงเวสาลี ทรงแวะ ณ กรุงเวสาลีนั้น ประทับ ณ กูฏาคารศาลา (ศาลาเรือนยอด) ป่ามหาวัน.


              (๒) ความพยายามอีกครั้งหนึ่งของพระนาง
              ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดี โคตมี ทรงปลงพระเกศา นุ่งห่มกาสาวพัสตร์ เสด็จพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะเป็นอันมาก เดินทางไปยังกรุงเวสาลีโดยลำดับ เสด็จเข้าไปยังกูฏคารศาลา ป่ามหาวัน. ครั้งนั้นพระนางมหาปชาบดี โคตมี มีพระบาทเปล่า (ไม่สวมรองเท้า) มีพระกายอันมัวมอมด้วยฝุ่นละออง ระทมทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืน ณ ภายนอกซุ้มประตู.

              (๓) พระอานนทเถระช่วยเหลือ
              พระอนนท์ผู้มีอายุ ได้เห็นพระนางมหาปชาบดี โคตมี ในลักษณาการดั่งกล่าว ถามทราบความว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตอนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัย อันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วแก่มาตุคาม จึงทูลว่า ถ้าอย่างนั้น จงทรงคอยอยู่ที่นี่ก่อน จนกว่าจะทูลขอพระผู้มีพระภาคให้ประทานอนาคาริยบรรพชาแก่มาตุคาม.
 
              ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดี โคตมี ทรงมีพระบาทเปล่า มีพระกายอันมัวมอมด้วยฝุ่นละออง ทรงระทมทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืน ณ ภายนอกซุ้มประตูนั้น ด้วยทรงคิดว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตอนาคาริยบรรพชาแก่มาตุคาม โปรดเถิด พระเจ้าข้า ขอให้มาตุคามได้อนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วเถิด." พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนพระอานนท์ อย่าเลย ท่านอย่าพอใจอนาคาริยบรรพชาของมาตุคามในพระธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้วเลย ." แม้ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม พระอานนท์ทูลขอ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสห้ามอย่างนั้น.
              ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า มาตุคามบวชเป็นอนาคาริยะในพระธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้ว จะควรหรือไม่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล" พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ควร พระอานนท์กราบทูลต่อไปว่า ถ้าควร พระนางมหาปชาบดี โคตมี พระน้านางของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ปกป้องเลี้ยงดูถวายพระขีระ เมื่อพระพุทธมารดาสวรรคตแล้ว ก็ได้ให้พระผู้มีพระภาคทรงดื่มพระขีระ โปรดเถิด พระเจ้าข้า ขอให้มาตุคามได้อนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้ว เถิด."

 
              (๔)พระพุทธเจ้าประทานอนุญาตภิกษุณีบรรพชาโดยมีเงื่อนไข
              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี จะทรงรับครุธรรม ๘ ประการได้ นั้นก็จงเป็นอุปสัมปทา (การบวช) ของพระนางเถิด คือ
              ๑. นางภิกษุณีแม้บวชแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องทำอภิวาท การลุกขึ้นต้อนรับ อัญชลีธรรม และสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชในวันนั้น นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๒. นางภิกษุณีไม่พึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๓. นางภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่างจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน คือการถามวันอุโบสถ กับ การเข้าไปหา เพื่อรับโอวาท นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๔. นางภิกษุณีจำพรรษาแล้ว พึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (ภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์) ด้วยฐานะ ๓ คือ ด้วยได้เห็น หรือ ด้วยได้ฟัง หรือ ด้วยนึกรังเกียจ นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๕. นางภิกษุณีทีต้องครุธรรม (ต้องอาบัติสังฆาทิเสส) พึงประพฤติมานัตต์ตลอดปักษ์ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๖. นางสิกขมานา (สตรีผู้ก่อนเป็นนางภิกษุณี ต้องเป็นนางสิขมานา แปลว่า ผู้ศึกษา) ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว จึงควรแสวงหาอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย(คือก่อนจะบวชเป็นนางภิกษุณี จะต้องเป็นนางสิกขมานา ๒ ปี ระหว่าง ๒ ปี รักษาศีล ๖ ข้อ ขาดไม่ได้ ศีล ๖ ข้อ คือ ศีล ๕ กับเพิ่มข้อที่ ๖ อันได้แก่การเว้นบริโภคอาหารในเวลาวิกาล) นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๗. นางภิกษุณี ไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุด้วยปริยายใด ๆ นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะเคารพ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๘. จำเดิมแต่วันนี้ไป ห้ามนางภิกษุณีว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุ ไม่ห้ามภิกษุกล่าวสั่งสอนนางภิกษุณี นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ นับถือ เคารพ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี รับครุธรรม ๘ ประการเหล่านี้ได้ นั้นก็จงเป็นอุปสัมปทา (การบวช) ของพระนางเถิด."

              (๕) พระอานนท์จำครุธรรมไปบอก
              ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ เรียนครุธรรม ๘ ประการในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี แล้วกล่าวว่า "พระนางโคตมี ถ้าพระนางจะพึงรับครุธรรม ๘ ประการได้ นั้นก็จักเป็นอุปสัมปทา(การบวช) ของพระนาง คือ (มีข้อความเหมือนข้างต้น)."

              (๖) พระนางมหาปชาบดี โคตมี ทรงรับ
              พระนางมหาปชาบดี โคตมี ทูลตอบว่า "ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ หญิง หรือชายรุ่นหนุ่มสาว รักการประดับ สนานศีรษะแล้ว ได้พวงมาลัยดอกอุบลก็ดี พวงมาลัยดอกมะลิก็ดี พวงมาลัยดอกลำดวนก็ดี พึงประดิษฐานไว้บนกระหม่อม บนศีรษะฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น จะรับครุธรรม ๘ ประการเหล่านี้ไว้ ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต."



ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ของ อ.สุชีพ  ปุญญานุภาพ
-------------------------------------------------------------------

ภิกษุณี

(คัดลอกบางส่วน มาจาก  http://www.84000.org/one/2/00.html)

ในคราวนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า การให้สตรีบวชและเป็นเหตุให้
พรหมจรรย์ คือ พระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้ยั่งยืนจะมีอายุสั้นเข้าเปรียบเหมือนตระกูลที่มีบุรุษน้อยมีสตรีมากถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่าย หรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลง หรือเหมือนไร่อ้อยที่มีเพลี้ยลง ย่อมอยู่ได้ไม่ยืนนาน

พระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการ กำกับไว้ก็เพื่อเป็น
หลักคุ้มกันพระศาสนาเหมือนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อกันไม่ให้น้ำไหลล้นออกไป
(พระศาสนาจักอยู่ได้ยั่งยืนเช่นเดิม) และได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้ภิกษุไว้ภิกษุณี
ให้ภิกษุณีไว้ภิกษุได้ฝ่ายเดียว เพราะนักบวชในลัทธิศาสนาอื่นทั้งหลาย ไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย

กล่าวโดยสรุปว่า หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคมศาสนาแล้ว จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชเลย แต่ด้วยเหตุผลในด้านความสามารถโดยธรรมชาติ จึงทรงอนุญาตให้สตรีบวชได้
เมื่อภิกษุณีสงฆ์ เกิดขึ้นแล้ว สตรีที่จะบวชต่อมาต้องเป็น สิกขมานา รักษาศีล ๖ ( คือ ๖
ข้อแรกในศีล ๑๐) ไม่ให้ขาดเลยตลอด ๒ ปีก่อน จึงขออุปสมบทได้ และต้องรับการอุปสมบทโดยสงฆ์สองฝ่าย คือ บวชโดยภิกษุณีสงฆ์แล้ว ต้องบวชโดยภิกษุสงฆ์ เจริญแพร่หลายในชมพูทวีปอยู่ช้านาน เป็นแห่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย

ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีป ในรัชการของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ โดยพระ
สังฆมิตตาเถรี พระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางจากชมพูทวีปมาประกอบ
อุปสมบทกรรมแก่นางอนุฬาเทวี ชายาของพระเจ้ามหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑,๐๐๐ คน

ภิกษุณีสงฆ์เจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีปยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญ
สิ้นไปด้วยเหตุใด สากลใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้เคยมีการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติความเป็นมาของนางภิกษุณี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2010, 03:59:46 pm »
0

ความเป็นมาของภิกษุณี

ภิกษุณี (บาลี: ภิกฺขุณี; สันสกฤต: ภิกฺษุณี; จีน: 比丘尼) เป็นคำใช้เรียกนักบวชหญิง ในพระพุทธศาสนา คู่กับ บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น

ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุ ว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีราย ละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใด อนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตราย ร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมี2หรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน3 ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 (อุโบสถศีล) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า แม่ชี เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทไดหมายเหตุ 1: วงศ์ภิกษุณีสงฆ์เถรวาทในศรีลังกาที่มีมาแต่ครั้งพระเจ้าอโศกได้สูญวงศ์ไปนาน แล้ว ภิกษุณีสงฆ์ที่อ้างว่าเป็นนิกายเถรวาทของศรีลังกาในปัจจุบันคงเป็นเพียง ภิกษุณีซึ่งบวชมาจากทางฝ่ายมหายานเท่านั้น หากแต่ยังคงอ้างว่าตนเป็นวงศ์ภิกษุณีเถรวาทดั้งเดิม ซึ่งไม่ชอบด้วยพระวินัยปิฎกเถรวาท เพราะการบวชภิกษุณีมหายานไม่ได้บวชจากสงฆ์สองฝ่าย และมีวัตรปฏิบัติแตกต่างกันมาก


ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ ได้ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน (บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว) มาจนปัจจุบัน ซึ่งจะพบได้ในจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และศรีลังกา

ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวช หญิงเป็นศาสนาแรกในโลก เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้



ประวัติการเกิดภิกษุณีสงฆ์



ภาพวาดพระพุทธประวัติ ตอนพระนางปชาบดีโคตมีทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี

ในสมัยพุทธกาลนั้น แรกเริ่มเดิมที สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีได้ เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้อายุของพระพุทธศาสนาไม่ยั่งยืน

ต่อมา พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ผู้เป็นพระน้านางและพระมาตุจฉา หรือพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านได้มีศรัทธาอยากออกบวชจึงทูลอ้อนวอนขอบวชต่อพระพุทธเจ้าถึงสามครั้งสามค รา แต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งพระอานนท์ได้ทูลขอให้ พระพุทะเจ้าจึงทรงอนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่า พระนางปชาบดีโคตมีจะต้องรับเอาครุธรรมแปดประการ (แปลว่าข้อปฏิบัติที่หนักและทำได้ยาก) ไปปฏิบัติ
 
รูปหล่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี วัดเทพธิดาราม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ดังนั้นภิกษุณีที่ทรงอุปสมบทให้องค์แรกได้แก่ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ซึ่งบวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในโลกด้วยการรับ ครุธรรมแปดประการ (ท่านเป็นรูปเดียวที่บวชด้วยวิธีเช่นนี้)

ต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ในการรับผู้ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี และวางวินัยของภิกษุณีไว้มากมาย เพื่อกลั่นกรองผู้ที่ประสงค์จะบวชและมีศรัทธาจริง ๆ เช่น ภิกษุณี เมื่อบวชแล้วต้องถือศีลถึง 311 ข้อ มากกว่าพระภิกษุซึ่งถือศีลเพียง 227 ข้อ (วินัยของภิกษุณีที่มีมากกว่าพระภิกษุ เพราะผู้หญิงมีข้อปลีกย่อยในการดำรงชีวิตมากกว่าผู้ชาย เช่น ต้องมีผ้ารัดถัน (ผ้ารัดอก) ซึ่งผู้ชายไม่จำเป็นต้องมี เป็นต้น)


การบวชเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาท

การบวชเป็นสิกขมานา
ก่อนที่ผู้หญิงจะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้น ต้องบวชเป็น "สิกขมานา" เสียก่อน สิกขมานาเป็นสามเณรีที่ต้องถือศีล 6 ข้ออย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 2 ปี หากศีลขาดแม้แต่ข้อเดียวจะต้องเริ่มนับเวลาใหม่

การบวชเป็นสิกขมานา จะบวชได้ต้องอายุครบ 18 ปี เพราะว่าคนที่จะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้นต้องอายุครบ 20 แต่สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว พระพุทธองค์อนุญาตให้บวชเป็นสิกขมานาได้ตั้งแต่อายุ 12 เพราะว่าคนที่แต่งงานจะได้เรียนรู้ความยากลำบากของชีวิต รู้จักสุข ทุกข์ เมื่อรู้จักทุกข์ก็จะรู้จักสมุทัย นิโรธ มรรค ได้ จนนำไปสู่การบรรลุในที่สุด


การบวชเป็นภิกษุณี
เมื่อผู้ที่ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี ได้เป็นสิกขมานา ถือศีล 6 ข้อครบ 2 ปีแล้ว แล้วจึงมีสิทธิ์ที่จะเข้าพิธีอุปสมบท โดยต้องอุปสมบทในฝ่ายของ ภิกษุณีสงฆ์ ก่อน แล้วไปเข้าพิธีอุปสมบทในฝ่าย ภิกษุสงฆ์ อีกครั้งหนึ่งจึงจะเป็นภิกษุณีได้โดยสมบูรณ์ (บวชในสงฆ์สองฝ่าย)

การสูญวงศ์ของภิกษุณีฝ่ายเถรวาท

ปัจจุบันผู้หญิงผู้ศรัทธาออกบวชในฝ่ายเถรวาทนิยมโกนหัวนุ่งขาวห่มขาวถือศีลอุโบสถบวชเป็น แม่ชี แทน

ก่อนที่ภิกษุณีสงฆ์จะหมดไปจากอินเดียนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตออกไป 9 สาย 1 ในนั้นคือ พระมหินทรเถระ ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง ในสายพระมหินทรเถระนี้ไปศรีลังกา การเผยแพร่ศาสนาพุทธประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง พระนางอนุลา น้องสะใภ้ของกษัตริย์ศรีลังกา ทรงอยากผนวช จึงนิมนต์ พระนางสังฆมิตตาเถรี พระธิดาของพระเจ้าอโศก มาเป็นปวัตตินีให้ ("ปวัตตินี" คือพระอุปัชฌาย์ที่เป็นผู้หญิง)

จากศรีลังกา ภิกษุณีสงฆ์ได้ไปสืบสายไว้ในจีน ไต้หวัน และอื่น ๆ อีกมาก จนกระทั่งพุทธศาสนาที่อินเดียและศรีลังกาเสื่อมลงลงไปในช่วงหลัง ทำให้ภิกษุณีฝ่ายเถรวาทซึ่งมีศีลและข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากไม่สามารถรักษาวงศ์ของภิกษุณีเถรวาทไว้ได้ จึงทำให้ไม่มีผู้สืบทอดการบวชเป็นภิกษุณีสายเถรวาทในปัจจุบัน


การพยายามรื้อฟื้นภิกษุณีสายเถรวาทในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน มีความเชื่อว่ายังมีภิกษุณีสายเถรวาทเหลืออยู่ และอ้างหลักฐานยืนยันว่าภิกษุณีทางสายมหายาน วัชรยานนั้น สืบสายไปจากภิกษุณีสายเถรวาท โดยถือกันว่าหากภิกษุณีสายเถรวาทสืบสายไปเป็นมหายานได้ (ภิกษุณีจากลังกาไปบวชให้คนจีน) ภิกษุณีมหายานก็สืบสายมาเป็นเถรวาทได้เช่นกัน

 
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้บวชเป็นภิกษุณี(เถรวาท)หลายรูป
โดยบวชมาจากคณะภิกษุณีสงฆ์ศรีลังกา มีสำนักภิกษุณีเป็นเอกเทศ คือ วัตรทรงธรรมกัลยาณี
ในกรณีนี้เคยมีประเด็นถกเถียงอยู่ช่วงหนึ่งว่าปัจจุบันนี้สามารถบวช ภิกษุณีได้หรือไม่ มีข้อสรุปจากทางพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้มีการบวชเป็น ภิกษุณีได้ก็ต่อเมื่อบวชต่อสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย คือต้องบวชทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์เป็นการลงญัตติจตุตถกรรมวาจาทั้งสองฝ่าย จึงจะสามารถเป็นภิกษุณีได้ ดังนั้นในเมื่อภิกษุณีสงฆ์เถรวาทได้เสื่อมสิ้นลงไม่มีผู้สืบต่อ จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทำการบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาทได้ การที่มีข้ออ้างว่าสายมหายานสืบสายวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ไปก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะการสืบสายทางมหายานมีข้อวินัยและการทำสังฆกรรมบวชภิกษุณีที่ไม่ถูกต้องกับพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท

ปัจจุบันศรีลังกาพยายามฟื้นฟูภิกษุณีสงฆ์ จนมีหลายร้อยรูป ที่เมืองไทยเองก็มีคนบวชเป็นภิกษุณีหลายรูปแล้วเช่นกัน แต่คณะสงฆ์ไทยไม่ยอมรับเป็นภิกษุณีสงฆ์เพราะสาเหตุดังกล่าวมาแล้วข้างต้น

บริขารอังสะมิใช่บริขารของภิกษุ สามเณรแต่เดิม เป็นของภิกษุณี สามเณรี และสิกขมานาเนื่องจากเป็นสตรีจึงต้องมีเสื้อหรืออังสะใส่เพื่อปกปิดถันเอา ไว้ และยังมีผ้าพันถัน รวมถึงผ้านิสีทนะผ้า 3 ชาย(ที่มักอธิบายกันว่าเป็นผ้าปูนั่งหรือสันถัต)นุ่ง เช่นเดียวกับผ้าเตี่ยว(เหมือนกางเกงใน)เมื่อมีประจำเดือนจะใช้ห่อผ้าซับ เลือด (ดุจผ้าอนามัยสมัยนี้)


ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/ภิกษุณี

------------------------------------------------------------------------ 


ภิกษุณีธัมมนันทา


ภิกษุณีธัมมนันทา ชื่อเดิม รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (เกิด พ.ศ. 2486) ภิกษุณีชาวไทย สังกัดสยามนิกาย ประเทศศรีลังกา อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร.ฉัตรสุมาลย์ เป็นบุตรของนายก่อเกียรติ ษัฏเสน และนางวรมัย กบิลสิงห์ (ต่อมาบรรพชาเป็นภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์) จบการศึกษาจากโรงเรียนราชินีบน และปริญญาตรีสาขาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยศานตินิเกตัน ประเทศอินเดีย ได้รับทุนรัฐบาลแคนาดาไปศึกษาปริญญาโทและเอกจากมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา และมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย

ดร.ฉัตรสุมาลย์ เป็นอาจารย์สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา เมื่อ พ.ศ. 2512 และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2543 มีผลงานวิชาการ เขียนบทความธรรมมะ และเป็นพิธีกรรายการธรรมะ ถ่ายทอดทางช่อง 3 เป็นผู้แปลหนังสือ ลามะจากลาซา ของทะไลลามะ

ดร.ฉัตรสุมาลย์ บรรพชาเป็นภิกษุณี โดยคณะภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ สยามนิกาย ประเทศศรีลังกา ที่ประเทศศรีลังกา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 มีฉายาว่า ธัมมนันทา ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่ วัตรทรงธรรมกัลยาณี ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม (สามเณรี และ ภิกษุณี ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคณะสงฆ์ไทย)

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki /ภิกษุณีธัมมนันทา

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ