ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รวมข้อความสั้น จาก หนังสือ วิโมกข์วิภังค์ ( ปโมกขันติ / มูลกรรมฐาน กัจจายนะ )  (อ่าน 5799 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
" อันนี้เป็นแม่บทแรก -- ก่อนที่จะได้เรียน กรรมฐาน ครูท่านให้ท่องบทนี้บทแรก เลยก่อนเรียน เนื่องด้วยบทนี้เคยท่องเคยเรียน มาแต่สมัยเรียนบาลี อยู่ในธรรมบท เรื่อง ภิกษุ 500 รูป

มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ สจฺจานํ จตุโร ปทา
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ทิปทานญฺจ จกฺขุมา
เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา.
เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ มารสฺเสตํ ปโมหนํ
เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปนฺนา ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสถ.
อกฺขาโต โว มยา มคฺโค อญฺญาย สลฺลสตฺถนํ
ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา

บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐ,
   บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐ, บรรดาธรรม
     ทั้งหลาย วิราคะประเสริฐ, บรรดาสัตว์ ๒ เท้า และ
       อรูปธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐ.
        ทางนี้เท่านั้น เพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ
    ทางอื่น ไม่มี, เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงดำเนิน
    ตามทางนี้ เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามาร
   ให้หลง, ด้วยว่า ท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้
   แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้;
       เราทราบทางเป็นที่สลัดลูกศรแล้ว จึงบอกแก่
    ท่านทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียรเครื่อง
    เผากิเลส, พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอก, ชนทั้ง
   หลายผู้ดำเนินไปแล้ว มีปกติเพ่งพินิจ ย่อมหลุดพ้น
     จากเครื่องผูกของมาร.

  เมื่อเริ่มเรียน กรรมฐาน สิ่งสำคัญที่สุดเพื่อไม่ให้ไปผิดทาง นั้นก็คือ ต้องจำ อริยะมรรคมีองค์ 8 ให้ขึ้นใจ ลำดับถัดมา ก็คือ อริยสัจจะ 4 ธรรมชื่อว่า อริยมรรค และ อริยสัจจะ นั้น มีความหมายธรรม ตั้งแต่ รูปธรรม จนสู่ อรูปธรรม และ อนัตตา เป็นธรรมเฉพาะแก่ มนุษย์

   บุคคลตัวอย่างในธรรม คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ( พระตถาคต ) ซึ่งพระองค์ จะพูดถึง หนทาง อันพญามาร และ เสนามาร ไม่สามารถเข้าไปได้ พระองค์ ย่อมทรงเตือนนักเตือนหนา เตือนบ่อย ๆ อย่างเนือง ว่า เธอทั้งหลายจงไปในหนทางนี้ เพราะมารทั้งหลายจะไม่สามารถเข้าไปได้
   
 ในบทอธิบายตรงนี้ จะกล่าวเรื่อง มาร และ เสนามาร มี 5 มารที่สำคัญ

ปัญจะมาเร  ชิเนนาโถ  ปัตโตสัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ
พระโลกนาถเจ้า ทรงชนะมาร พร้อมด้วยเสนามาร บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ อันสูงสุด ทรงประกาศสัจจะธรรม สี่ประการ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น ผู้มีความแกล้วกล้ายิ่ง  พวกมารทั้งห้าจงหนีไป

แล้วให้อธิษฐานว่า 
มารทั้ง ๕ และมานะทั้งปวง อย่าได้จำนองจองเวรแก่กันเลย จงรับเอาส่วนบุญนี้เถิดฯ

กรวดน้ำให้มารทั้งห้า คือ 
     - กิเลสมาร มาร คือกิเลส ๑ 
     - ขันธมาร มาร คือปัญจะขันธ ๑
     - อภิสังขารมาร มาร คืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๑
     - เทวปุตตมาร มาร คือเทพบุตร  ๑ 
     - มัจจุมาร มาร คือ ความตาย
จะได้ไม่มารบกวนเวลานั่งบำเพ็ญกรรมฐาน

   ผู้ภาวนา ย่อมต้องอาศัยกำลังตนเอง ด้วยความเพียร ด้วยการสังเกต เพ่งพิศดุสภาวะธรรม ที่เกิดขึ้นในระหว่างภาวนา ย่อมถึงซึ่งวิมุตติได้

   ผู้สอน เท่ากับผู้บอกทาง เป็นเพียงแต่ผู้ชี้ ผู้ดำเนินไปในทางจะไป หรือ ไม่ไปก็ได้ บังคับไม่ได้ ดังนั้น ความผูกพัน ระหว่างครูอาจารย์ และศิษย์ มีเพียงแต่ผู้บอก ผู้ชี้ทาง ไม่ใช่ผู้นำทาง เท่านั้น

   หนทางแห่งการบรรลุ เกิดจากตนเอง เป็นผู้ออกแรง การภาวนา ต้องออกแรงของตน ต้องลงทุนด้วยกาย จิต ของตน


บทนี้พอครูให้ท่อง ยิ้มเลยรู้สึกว่าไม่ยากเลย ท่องแค่ 30 นาที ก็ได้แล้ว แต่บทนี้เป็นบทหัวใจ ได้รับฟังการอธิบาย การรวมมรรค เบื้องต้น การเป็นครูสอนกรรมฐาน หัวใจกรรมฐาน ทั้งหมด อยู่ทีี เบื้องต้น ยืนยัน ว่า กรรมฐาน เป็นไปในมรรค มีองค์ 8 ประการ เป็นทางสายกลาง มีอริยสัจจะ 4 สมบูรณ์ บริสุทธิ์ หมดจดด้วยความเห็น และที่สำคัญ เมื่อเป็นครูต้องจำไว้ว่า เราเป็นเพียงผู้บอก ผู้ชี้ทาง เท่านั้น ความผูกพัน ของผู้ละกิเลส กับ ผู้ที่จะละกิเลส มีเพียงเท่านี้
ดังนั้นท่านใดที่ติดต่อมาว่า อยากเรียน มูลกรรมฐาน จากฉัน ก็ควรจะต้องท่องบทนี้ให้ฟังให้ได้ ในวันแรก เพราะเรียกว่า บทต้น บทครู บทแรก ( ปฐมนิเทสก์ )...."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ "วิโมกข์วิภังค์"
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส

moonkammatan-001.mp3

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2016, 09:18:17 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


แม่บทที่สอง-สมาทาน / รติธมฺมานํ วิปากํ นาม /
เมื่อสมาทาน การฝึกฝนจิต ควรยินดีใน วิบาก ที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยเฉพาะวิบากที่เรียกว่า ทุกข์ วิบากของทุกข์มาก่อน วิบากที่เรียกว่า สุข เสมอ ผู้กระทำความเพียร ย่อมรู้จักสมาทานธรรมที่เรียกว่า ทุกข์ ไปสู่ วิบากแห่งสุข และ สุขอื่นที่ยิ่งกว่า

จตฺตาริ ธมมสมาทานานิ อตฺถาวุโส ธมฺมสมาทานํ
ปจฺจุปฺปนฺนํ ทุกฺขญฺเจว อายติญฺจ ทุกฺขวิปากํ อตฺถาวุโส ธมฺมสมาทานํ
ปจฺจุปฺปนฺนํ ทุกฺขญฺเจว อายติญฺจ สุขวิปากํ อตฺถาวุโส
ธมฺมสมาทานํ ปจฺจุปฺปนฺนํ สุขญฺเจว อายติญฺจ ทุกฺขวิปากํ อตฺถาวุโส
ธมฺมสมาทานํ ปจฺจุปฺปนฺนํ สุขญฺเจว อายติญฺจ สุขวิปากํ


การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต
 การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
 การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต

สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ ถึงไม่รู้ก็ต้องยอมรับ เมื่อสมาทานกรรมฐาน และฝึกฝนกรรมฐาน ครูอาจารย์จะเตือนเรื่องวิบากกรรมทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะความทุกข์ หลายคนคิดว่า เมื่อปฏิบัติกรรมฐานแล้ว ความสุขจะมีมากขึ้น แต่สิ่งที่มักจะพบก่อนก็คือ ความลำบากจะมีมากขึ้น ดังนั้นพระสายภาวนาจึงมีน้อยเพราะผู้ภาวนา จะลำบากกว่าผู้ไม่ภาวนา ผู้สืบธรรมแบบปริยัติจะมีความสบายทางด้านโภคะ แต่ผู้สืบธรรมแบบปฏิบัติ จะลำบากว่า ไม่ใช่ลำบากกว่าเท่านั้นหมายถึงลำบากถึงกับต้องสิ้นชีวิต เพื่อธรรมภาวนา นี้ก็เป็นจำนวนมาก มีครูอาจารย์หลายรูป หลายองค์ ที่ไม่มีใครกล่าวถึง สูญเสียชีวิตอยู่ในป่า ในถ้ำ ในอยู่เร้นลับ หลีกรี้ จากคนเพราะต้องอาศัยวิเวกนั้น ก็ไม่น้อย แต่ก็ไม่ได้มาก เพราะสายปฏิบัติไม่ได้มีจำนวนมาก พระสงฆ์ส่วนใหญ่ในปัจจบุันนี้ เป็นผู้สืบสายปริยัติประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้สืบวัฒนธรรม 60 เปอร์เซ้นต์ และ เป็นผู้สืบสายปฏิบัติ 10 เปอร์เซ้นต์ อันนี้มาจากการพบปะสนทนาหลายที่หลายแห่งหลายสำนักตลอดชีวิตการเดินทาง ส่วนใหญ่ถ้าสนทนากันเปิดการสนทนา ก็จะเป็นเรื่องโลก เรื่องชาวบ้าน เรื่องการปกครอง ถัดมาก็เรื่องการศึกษา น้อยครั้งหรือนานมาก จะเจอพระด้วยกัน สนทนาธรรมเรื่องกรรมฐาน การเจริญจิตภาวนา
ดังนั้นเมื่อผู้ภาวนาด้านจิต เมื่อเริ่มภาวนาพึ่งจะต้องฝึกฝนจิตให้รู้จักความทุกข์ และหมั่นสมาทานความทุกข์ ทีเ่กิดมาเป็นบทพิจารณา จนกระทั่งไปสู่การสมาทานธรรมที่เรียกว่า สุข และสูงไปสู่ สุข อันเป็น บรมสุข

การภาวนา ในพระพุทธศาสนา ไม่ว่า จะเป็นแบบ ปัญญาวิมุตติ หรือ เจโตวิมุตติ นั้นความสำเร็จในธรรม และ ความลำบากในธรรรม มี ก็คือดูจาก ปฏิปทา 4 ประการ

 ๑.  ทุกขาปฏิปทา    ทันธาภิญญา   
(ปฏิบัติลำบาก    และรู้ได้ช้า)
๒.    ทุกขาปฏิปทา    ขิปปาภิญญา
(ปฏิบัติลำบาก    แต่รู้ได้เร็ว)
๓.    สุขาปฏิปทา    ทันธาภิญญา
(ปฏิบัติสะดวก    แต่รู้ได้ช้า)
๔.    สุขาปฏิปทา    ขิปปาภิญญา
(ปฏิบัติสะดวก    และรู้ได้เร็ว

  เร็วช้า ขึ้นอยู่กับ วาสนา บารมี ที่สั่งสมมาด้วย ไม่ใช่ว่าใคร จะเร็ว หรือ ช้า แต่สิ่งที่ปรากฏในหลักคำสอนเบื้องต้นก็คือ การตั้งปณิธาน ในการภาวนา ดังนั้นในกรรมฐาน จึงเน้นเรื่องการอธิษฐาน และถือว่า การอธิษฐานนั้นก็คือ ลำดับของพระกรรมฐาน ใครทำตามลำดับอยู่ ก็ชื่อว่า มีการอธิษฐาน

  อธิษฐาน(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) ๔
๑.    ปัญญาธิษฐาน
(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือปัญญา)
๒.    สัจจาธิษฐาน
(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือสัจจะ)
๓.    จาคาธิษฐาน
(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือจาคะ)
๔.    อุปสมาธิษฐาน       
(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคืออุปสมะ)

     การอธิษฐาน ประกอบด้วย องค์ 4 นี้ ไม่เคยขาด เรียกว่า รักษา ลำดับพระกรรมฐาน
 ( ยังมีต่อ )





ข้อความบางส่วน จากหนังสือ วิโมกข์วิภังค์
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 08, 2016, 02:09:55 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
แม่บทที่ 3 ภาวนามีเป้าหมาย เพื่อคุณธรรม 4 ประการ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2016, 03:38:37 pm »
0
"
แม่บท ที่ 3 -   สมาธิภาวนา กตมา จตสฺโส อตฺถิ ( เป้าหมายการภาวนา เพื่อ คุณธรรม 4 อย่าง  )

จตสฺโส อิมา ภิกฺขเว สมาธิภาวนา กตมา จตสฺโส อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา ทิฏฐธมฺมสุขวิหาราย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา ญาณทสฺสนปฏิลาภาย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา สติสมฺปชญฺญาย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตาอาสวานํ ขยาย สํวตฺตติ


เหตุผลสำหรับการฝึกสมาธิภาวนา นั้นมี ๔ ประการนี้
๔ ประการ ดังนี้
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑
( ผู้ใดปรารถนาความสุข ที่เป็นโลกียะ อย่างสุด ๆ ก็ควรฝึก สมาธิภาวนา )
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑
( ผู้ใดปรารถนา ญาณทัศนะเพื่อสั่งสมบารมี ก็สมควรฝึกสมาธิภาวนา )
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑
( ผู้ใดต้องประคองสติสัมปชัญญะให้มั่นคง ไม่สับสน ก็สมควร ฝึกสมาธิภาวนา )
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑
( ผู้ใดต้องการพ้นจากสังสารวัฏ ก็สมควรฝึกสมาธิภาวนา )

ดังนั้นการฝึกสมาธิภาวนา ตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ตามมูลกรรมฐาน มีเหตุสี่อย่างนี้ เท่านั้น
เจริญพร
"
ข้อความบางส่วน จาก บทตั้ง ของมูลกรรมฐาน กัจจายนะ
รวบรวมเรียบเรียง โดย ธัมมะวังโส




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2016, 03:40:09 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.dhammajak.net

แม่บท - สุปินา ปาตุรเหสุํ มงฺคลํ
ความฝันที่เกิดเป็นมงคล ( ของผู้ภาวนา )
ตถาคตสฺส ภิกฺขเว อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปุพฺเพว สมโพธา อนภิสมฺพุทฺธสฺส โพธิสตฺตสฺเสว สโต ปญฺจ มหาสุปินา ปาตุรเหสุํ กตเม ปญจ ตถาคตสฺส ภิกฺขเว อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปุพฺเพว สมโพธา ฺ อนภิสมฺพุทฺธสฺส โพธิสตฺตสฺเสว สโต อยํ มหาปฐวีมหาสยนํ อโหสหิมวา ปพฺพตราชา พิมฺโพหนํ อโหสิ ปุรตฺถิเมสมุทฺเท วาโม หตฺโถ โอหิโต อโหสิ ปจฺฉิเม สมุทฺเท ทกฺขิโณ หตโถ โอหิโต อโหสิ ทกฺขิเณ สมุทฺเท อุโภ ปาทา โอหิตา อเหสุํ ตถาคตสฺส ภิกฺขเว อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปุพฺเพว สมฺโพธา อนภิสมฺพุทฺธสฺส โพธิสตฺตสฺเสว สโต อยํ ปฐโม มหาสุปิโน ปาตุรโหสิ


ภิกษุทั้งหลาย มหาสุบิน ๕ ประการ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันต-สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
มหาสุบิน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แผ่นดินใหญ่นี้ เป็นที่นอนใหญ่ ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย(หมอน) มือซ้ายหย่อนลงในสมุทรด้านทิศตะวันออก มือขวาหย่อนลงในสมุทร ด้านทิศตะวันตก เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทิศใต้ นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๑ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๒. หญ้าแพรกได้งอกขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ตั้งจรดท้องฟ้า นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๒ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัม พุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๓. หมู่หนอนสีขาว มีหัวดำ ได้ไต่ขึ้นมาจากเท้าของตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ปกปิดตั้งแต่ปลายเล็บจนถึงบริเวณพระชาณุ นี้เป็น มหาสุบินประการที่ ๓ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๔. นก ๔ เหล่ามีสีต่าง ๆ กัน๒ บินมาจากทิศทั้ง ๔ ตกลงแทบเท้า ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว นี้เป็น มหาสุบินประการที่ ๔ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๕. ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยัง เป็นพระโพธิสัตว์อยู่ เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่๑ (แต่) ไม่แปดเปื้อน ด้วยคูถ นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๕ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระ โพธิสัตว์อยู่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๖. มหาสุปินสูตร
ผู้ปรารถนาในวิมุตติ แม้พระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นตรัสรู้เองโดยชอบขณะเป็นพระโพธิสัตว์ ย่อมบังเกิดความฝันชักนำ ชัยจิต แก่พระองค์ฉันใด ผู้ภาวนากรรมฐาน เมื่อเริ่มภาวนาย่อมถึงซึ่ง นิมิตอันเป็นมงคลด้วยเช่นกัน นิมิตที่เกิดขณะโยคาวจรจิต เรียกว่า นิมิตภายนอก มีทั้งที่มีสาระ และ ที่ไม่มีสาระพึงทราบว่า นิมิตภายนอกย่อมมีไปตามวิสัย ถ้าหากผู้ภาวนายังไม่ถึง โยคาวจรจิตแล้ว นิมิตนั้นยังเชื่อถือไม่ได้ เป็นแต่เพียงลางบอกเหตุ ว่า อุปาทานเกิดขึ้น เท่านั้น "


ข้อความบางส่วน จากหนังสือ วิโมกข์วิภังค์
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส
มหาสุบิน, ความฝันของพระโพธิสัตว์


   คือความฝันอันยิ่งใหญ่  เป็นความฝันครั้งสำคัญ ซึ่งหมายถึง
ความฝัน ๕ เรื่อง (ปัญจมหาสุบิน)   ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้
ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่า
ทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้ คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖  แต่อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า วันขึ้น ๑๓ ค่ำก็มี)  ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย
ปัญจกนิบาต พระสุตตันตปิฎก ใจความว่า

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย  มหาสุบิน  ๕  ประการ  ปรากฏแก่ตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็น
โพธิสัตว์อยู่  ๕ ประการเป็นไฉน  คือ

   แผ่นดินใหญ่นี้เป็นที่นอนใหญ่  ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนยมือซ้าย
หย่อนลงในสมุทรด้านทิศบูรพา  มือขวาหย่อนลงในสมุทรด้านทิศประจิม
เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทิศทักษิณ  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๑
ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้
ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  ฯ

   อีกประการหนึ่ง  หญ้าคาได้ขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันต
สัมมาสัมพุทธะก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
จดท้องฟ้า  ตั้งอยู่  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๒  ปรากฏแก่ตถาคตอรหันต
สัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  ฯ

   อีกประการหนึ่ง หมู่หนอนมีสีขาว ศีรษะดำ ได้ไต่ขึ้นมาจากเท้าของ
สัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์
อยู่  ปกปิดตลอดถึงชานุมณฑล  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๓  ปรากฏแก่
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็น
พระโพธิสัตว์อยู่  ฯ

   อีกประการหนึ่ง  นกสี่เหล่ามีสีต่างๆ กัน  บินมาจากทิศทั้งสี่
ตกลงแทบเท้าของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้
ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว
นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๔  ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  ฯ

   อีกประการหนึ่ง  ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้
ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่
(แต่)  ไม่แปดเปื้อนคูถ  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๕  ปรากฏแก่ตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็น
พระโพธิสัตว์อยู่  ฯ

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่แผ่นดินใหญ่นี้  เป็นที่นอนใหญ่ของ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็น
พระโพธิสัตว์อยู่ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย  มือซ้ายหย่อนลงในสมุทร
ด้านทิศบูรพา  มือขวาหย่อนลงในสมุทรด้านทิศประจิม  เท้าทั้งสอง
หย่อนลงในสมุทรด้านทิศทักษิณ  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๑  ปรากฏ
เพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า
 
   ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า  ฯ

   ข้อที่หญ้าคาได้ขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  จดท้องฟ้าตั้งอยู่
นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๒  ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า
 
   ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะได้ตรัสรู้  อริยมรรคมีองค์  ๘
แล้วประกาศด้วยดี  ตลอดถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ฯ

   ข้อที่หมู่หนอนมีสีขาว  ศีรษะดำ  ได้ไต่ขึ้นจากเท้าของตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระ
โพธิสัตว์อยู่  ปกปิดตลอดถึงชานุมณฑล  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๓
ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า

   คฤหัสถ์  ผู้นุ่งห่มผ้าขาวจำนวนมากได้ถึงตถาคตเป็นสรณะ
ตลอดชีวิต  ฯ

   ข้อที่นกสี่เหล่ามีสีต่างๆ  กัน  บินมาจากทิศทั้งสี่  ตกลงแทบเท้า
ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยัง
เป็นพระโพธิสัตว์อยู่  แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว  นี้เป็นมหาสุบิน
ข้อที่  ๔  ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า
 
   วรรณะทั้งสี่เหล่านี้  คือ  กษัตริย์  พราหมณ์  แพศย์  ศูทร
ออกบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว  ก็ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอัน
ยอดเยี่ยม  ฯ

   ข้อที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้
ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่ (แต่) ไม่
แปดเปื้อนคูถนี้  เป็นมหาสุบินข้อที่ ๕ ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า
 
   ตถาคตได้  (ร่ำรวย)  จีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะ  และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร  แล้วไม่ลุ่มหลง  ไม่หมกมุ่นไม่พัวพัน  มีปกติเห็นโทษ
มีปัญญาเปลื้องตนออกบริโภค

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย  มหาสุบิน  ๕  ประการนี้  ปรากฏแก่ตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็น
พระโพธิสัตว์อยู่  ฯ

ที่มา   พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
#องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๙๖


ความหมายของบทนี้ ไม่ได้มุ่งไปสนใจ เรื่องความฝัน แต่ให้ทราบว่า ไม่ว่าฝันจะออกมาดี พิศดารขนาดไหนก็ตาม มันก็คือฝัน เท่านั้น ที่ครูอาจารย์ ต้องเอาบทนี้มาตั้งเพื่อให้ผู้ปฏิบัติที่ยังไม่บรรลุ ได้มีความฉลาดรู้เท่าทัน ใน สิ่งที่ตนเองฝัน ส่วนใหญ่พอฝันอะไรขึ้นมา ก็จะเข้าข้างตนเอง ว่าดีเลิศประเสริฐศรี แล้วก็เข้าไปหมกหมุ่นกับฝันนั้นจนลืมการปฏิบัติ บทนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าใครก็ตามถ้ายังไม่ถึง พระอนาคามี แล้ว การฝันมีทุกคน แต่ใครจะหยุดฝัน ได้ก็ต้องหมั่นเจริญภาวนา

ส่วนผู้ฝัน เมื่อเริ่มภาวนา เพราะจิตเป็นกุศลก็จะฝันเห็นแต่สิ่งดี ๆ ตามอุปาทานจิต เช่นเห็นสวรรค์ เห็นพระ เห็นต่าง ๆ ทางดี ทำให้หมกหมุ่นอยู่กับเรื่องฝัน

ดังนั้นมูลกรรมฐาน จึงนำบทนี้ออกมา ชี้แนะ พระโยคาวจร ( ผู้ประกอบความเพียร ที่ยังไม่บรรลุ )ให้มีความฉลาดต่อ ฝันที่เกิดขึ้น เพราะความฝันนั้นห้ามไม่ได้ มันเป็นส่วนลึกอันเกิดจากตัณหา เว้นแต่เป็น พระอนาคามี ไปแล้วนั่นเอง

พอผู้ภาวนา ส่วนใหญ่ แม้ปิดวาจา แต่ก็ยังวุ่นวาย อยู่ในเรื่องความฝัน นิมิต จึงทำให้ชอบนอนหลับ เพราะเวลาจะเห็นนิมิตนั้น เกิดจากการนอนหลับ หลายครั้งที่หลับไม่ได้เพราะอยากหลับตามปกติ แต่ที่อยากหลับก็เพราะฝันมันสนุก สนาน เวลาได้ยินเสียงระฆัง ทำวัตร ส่วนใหญ่ ก็จะไม่ค่อยอยากลุกไปทำกิจวัตร เพราะฝันนั้นยังสนุก นั่นเอง ดังนั้นการก้าวล่วงความฝันเป็นกิจที่จะต้องทำสำหรับผู้ภาวนา เพราะฝันมันก็คือฝัน ไม่เหมือนปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อันนั้นมันของแท้ ภาพแท้ แต่ถึงจะแท้ พระพุทธเจ้าพระองค์ ก็ตรัสไว้ว่า สิ่งเป้นอดีตก็ละไปแล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา เราไม่พึงอาลัยในอดีต และไม่พึงพะวงในอนาคต

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2016, 06:48:45 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ภาวนา ย่อมทำให้ ธาตุทั้ง 6 บริบูรณ์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2016, 12:53:11 pm »
0
แม่บท- กถญฺจ ภิกฺขเว สนิทานํ อุปฺปชฺชติ เนกฺขมฺมวิตกฺโก
ดูกรภิกษุ อะไรเป็นเหตุ์ ให้ เนกขัมมะวิตก เกิดขึ้น

 เนกฺขมฺมธาตุํ ภิกฺขเว ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ เนกฺขมฺมสญฺญา เนกฺขมฺมสญฺญํ ปฏิจฺจอุปฺปชฺชติ เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป เนกฺขมฺมสงฺกปฺปํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ  เนกฺขมฺมจฺฉนฺโท เนกฺขมฺมจฺฉนฺทํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ เนกฺขมฺมปริฬาโห เนกฺขมฺมปริฬาหํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ เนกฺขมฺมปริเยสนา ฯ เนกฺขมฺมปริเยสนํ ภิกฺขเว ปริเยสมาโน สุตวา อริยสาวโก ตีหิ ฐาเนหิ สมฺมา ปฏิปชฺชติ กาเยน วาจาย มนสา

 เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ   
 เนกขัมมสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา
 เนกขัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ
 เนกขัมมปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ 
 เนกขัมมปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ   
 อริยสาวกผู้ได้สดับ    เมื่อแสวงหาเนกขัมมปริเยสนาย่อมปฏิบัติชอบ    ๓    ทาง   
 คือ    ทางกาย    ทางวาจา    ทางใจ


    เนกขัมมะ เป็น คุณธรรมของ พระโยคาวจร หมายถึงการละ การออกบวช การดำรงตนเพือออกจากโลก
    เนกขัมมะวิตก ความนึกตรึก เพื่อการละออกจากกาม ของพระสกิกทาคามี
    เนกขัมมะสัญญา ความทรงจำที่มีในนิสัย สั่งสมมาตั้งแต่อดีต เพื่อการละออกจากกาม เป็นความยินดีในการบรรพชา
    เนกขัมมะธาตุ หมายถึง การออกจากโลก คือ กามแล้ว พ้นจากสังโยชน์ 5 ประการ
    เนกขัมมะฉันทะ หมายถึง ความรักในเพศแห่ง พระอานาคามี
    เนกขัมมะปริฬาหะ หมายถึง การพ้นจากโลก ที่ยัง อวิชชาให้เร่าร้อน เหือดหายไป
    เนกขัมมะปริเยสนา หมายถึง การก้าวล่วงสู่หนทาง แห่ง พระอรหันต์

      (  ปริฬาหะ แปละว่า ความเร่าร้อน   ปริเยสนา แปลว่า การแสวงหา )

  ดังนั้น เนกขัมมะ ไม่มีแก่ ปุถุชชน จน ถึง พระโสดาบัน ดังนั้นจะเห็นว่า พระโสดาบัน ยังอยู่ครองเรือน ได้ ในขณะที่ พระสกิทาคามี พระอนาคมี ไม่พยายามที่จะอยู่ครองเรือน

[/size]
แม่บท- กิตฺตาวตา ปน ภนฺเต ธาตุกุสโล ภิกฺขูติ อลํ วจนายาติ

  การเจริญธาตุ อย่าง พิศดาร เป็นตอนแทรก ระหว่าง พระธรรมปีติ ที่เป็น ธาตุ เมื่อเจริญวิปัสสนา ย่อมแตก ไปในธาตุ เพื่อความเป็นพระอริยะบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบัน จนถึง พระอรหันต์

เทียบบาลี พระไตรปิฏก เล่มที่ 14 สุตตันตปิฏก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค พหุธาตุกสูตร 
  (หัวข้อ 237 ,238 ,239,240,241,242,243 ,244 ,245, 246 )
 
  เนื่องจากบาลี ส่วนนี้ยาว และท่องจำไม่ได้ด้วย ยาวเกินไป แต่พอจับใจความ ได้ดังนี้ 

   ผู้ฉลาดในธาตุ ( ธาตุกุสโล )
   1. ย่อมรู้และจำแนก ในวิปัสสนา ใน ธาตุ 18 ประการ
1.    จักขุธาตุ    (ธาตุคือจักขุประสาท)
2.    รูปธาตุ    (ธาตุคือรูปารมณ์)
3.    จักขุวิญญาณธาตุ    (ธาตุคือจักขุวิญญาณ)
4.    โสตธาตุ    (ธาตุคือโสตประสาท)
5.    สัททธาตุ    (ธาตุคือสัททารมณ์)
6.    โสตวิญญาณธาตุ    (ธาตุคือโสตวิญญาณ)
7.    ฆานธาตุ    (ธาตุคือฆานประสาท)
8.    คันธธาตุ    (ธาตุคือคันธารมณ์)
9.    ฆานวิญญาณธาตุ    (ธาตุคือฆานวิญญาณ)
10.    ชิวหาธาตุ    (ธาตุคือชิวหาประสาท)
11.    รสธาตุ    (ธาตุคือรสารมณ์)
12.    ชิวหาวิญญาณธาตุ    (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ)
13.    กายธาตุ    (ธาตุคือกายประสาท)
14.    โผฏฐัพพธาตุ    (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์)
15.    กายวิญญาณธาตุ    (ธาตุคือกายวิญญาณ)
16.    มโนธาตุ    (ธาตุคือมโน)
17.    ธัมมธาตุ    (ธาตุคือธรรมารมณ์)
18.    มโนวิญญาณธาตุ    (ธาตุคือมโนวิญญาณ)

   2. ย่อมตั้งมั่นพินิจ ในธาตุ 6 ( ปฐวี เตโช วาโย อาโป อากาส  วิญญาณ )
       สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ และ มูลกรรมฐาน หมายเอา ธาตุ 6 เป็นที่เริ่ม
   3. ย่อมกำหนด เวทนาธาตุ 6 
        (  สุขธาตุ ทุกขธาตุ โสมนัสธาตุ  โทมนัสธาตุ   อุเปกขาธาตุ  อวิชชาธาตุ )
   4. ย่อมกำหนด และพอกพูน ใน โยคาวจรธาตุ 6 กำหนดโดยความเป็นคู่
        ( กามธาตุ เนกขัมมธาตุ
          พยาบาทธาตุ อพยาบาทธาตุ
           วิหิงสาธาุต  อวิหิงสาธาตุ )
   5. ย่อมกำหนดสุข ใน ธาตุทั้ง 3 ได้ ด้วยสมาธิ
         กามธาตุ ( ขณิกสมาธิ และ อุปจารสมาธิ )
         รูปธาตุ   ( อัปปนาสมาธิ )
         อรูปธาตุ  ( อัปปนาสมาธิ )
   6. ย่อมพิจารณา ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ในสองธาตุ
         สังขตธาตุ  อสังขตธาตุ
   7. ย่อมทำอนุโลม และ ปฏิโลม ใน ปฏิจจสมุปบาท ให้สมบูรณ์
   8. ย่อมทำ ฐานะ ให้เกิด ด้วย มรรค ผล  ( กาย 18 )
   9. ย่อมกำหนดธรรม ชื่อ ว่า
             พหุธาตุ ( ธาตุที่มาก ) / จตุปริวัฏฏะ ( การกำหนดรอบธรรม 4  ( ธาตุ อายตนะ ปฏิจจสมุปบาท ฐานะอฐานะ ) )
              /  ธัมมาทาสะ ( แว่นส่องธรรม ) / อมตทนัทภี ( กลองอมตธรรม )
     



   

   

 
     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 17, 2016, 03:06:46 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
แม่บท - จตฺตาโรเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ กตเม จตฺตาโร อนุโสตคามี ปุคฺคโล ปฏิโสตคามี ปุคฺคโล ตตฺโต ปุคฺคโล ติณฺโณ ปารคโต ถเล ติฏฺติ พฺราหฺมโณ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ไปตามกระแส ๑ บุคคลผู้ไปทวนกระแส ๑ บุคคลผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว ๑ บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก ๑

เมื่อผู้ภาวนาเข้าสู่การภาวนา ไม่ว่าจะทางตรง หรือ ทางอ้อม ย่อมมีผลภาวนา เกิดขึ้นไม่ว่าจะเล็ก จะน้อย ย่อมมีความสุขส่วนหนึ่ง ในขณะเดียวกันความทุกข์ ก็จะถาโถม มากขึ้นแก่ผู้ภาวนา ยิ่งรู้จักทุกข์ ก็ยิ่งเห็นทุกข์ และยิ่งภาวนา ก็ย่อมยิ่งจะถูกเบียดเบียน จากผู้ไม่ภาวนา ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น พระพุทธเจ้า ตรัสยกย่อง ผู้ทวนกระแส มากที่สุด เพราะผู้ทวนกระแสนั้น ก็คือ ผู้ภาวนาเบื้องต้น

แม่บท - พระคาถา
ตสฺมา หิ ธีโร อิธุปฏฺิตาสติ
กาเม จ ปาเป จ อเสวมาโน
สหาปิ ทุกฺเขน ชเหยฺย กาเม
ปฏิโสตคามีติ ตมาหุ ปุคฺคลํ ฯ


เพราะฉะนั้น ธีรชนในโลกนี้ เป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้วไม่เสพกาม และไม่ทำกรรมอันเป็นบาป แม้ประกอบด้วยทุกข์ก็ละกามได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่าไปทวนกระแส

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย เมื่อมีเส้นทาง คือ มรรค แล้ว อย่าได้ท้อถอย เพียงเพราะทุกข์ ที่ถาโถมเข้ามาจากกรรมทั้งเก่า และใหม่ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงมีความอดทนและตั้งมั่น ศรัทธา ต่อพระรัตนตรัย อย่าได้หวั่นไหว จงตั้งสติ และ อดกลั้น อดทน แม้ชีวิตนี้จะสิ้นไป ก็อย่าให้ เหตุสิ่งใด มาทำให้ใจของท่าน คลอนแคลนจากเป้าหมายคือ การไปสู่ประตูอมตะ นั่นเลย




ไฟล์เสียงแม่บท- ผู้ทวนกระแส
http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYwMTF8ZjU4ZWRkM2E0MTYzOTllZTIwYzEzNDZiOGYyYzdmNTl8MzAyNTU=
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2016, 05:58:31 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
การกำหนดรู้ - ความเพียร - ความไม่ประมาท
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2016, 05:38:27 pm »
0
แม่บท - อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว
ความเพียรเป็นกิจวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้

แม่บทรอง - กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
โย จ กาลฆโส ภูโต ส ภูตปจนึ ปจิ ฯ


กาลเวลาย่อมกินเหล่าสัตว์ทั้งปวงพร้อมกับตัวเอง
ส่วนผู้ใดกินกาลเวลาได้
ผู้นั้นชื่อว่าเผาตัณหาที่เผาเหล่าสัตว์ได้แล้ว

ข้อความตรงกับ มูลปริยายชาตก ก่อนแสดงเรื่อง มูลปริยาย หรือ มูลกรรมฐาน
๕. มูลปริยายชาดก (๒๔๕)
 ว่าด้วยทรงปราบภิกษุผู้ทะนงด้วยมูลปริยายสูตร
 (อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์ถามปัญหากับพวกศิษย์แล้ว    จึงกล่าวว่า)
 [๑๙๐]   กาลเวลาย่อมกินเหล่าสัตว์ทั้งปวงพร้อมกับตัวเอง
             ส่วนผู้ใดกินกาลเวลาได้๑
             ผู้นั้นชื่อว่าเผาตัณหาที่เผาเหล่าสัตว์ได้แล้ว
            (พระโพธิสัตว์ติเตียนมาณพเหล่านั้นว่า
[๑๙๑]    ศีรษะของนรชนปรากฏมีเป็นจำนวนมาก
            และมีผมหนาปกคลุมจนถึงคอ
            บรรดาคนเหล่านี้  ใครบ้างเล่าที่มีปัญญา
 มูลปริยายชาดกที่ ๕ จบ


ข้อความเรื่องเล่า แต่ไม่ปรากฏในพระสูตร ปรากฏในอรรถกถา ในการเล่าเนื้อเรื่อง
ความนำ
   พระพุทธเจ้าเมื่อประทับอยู่ ณ สุภควัน อาศัยอุกกัฏฐธานีทรงปรารภมูลปริยายสูตร ได้ตรัสพระธรรมเทศนาคือคาถาที่ปรากฎ ณ เบื้องต้น

ปัจจุบันชาติ
   ได้ทราบมาว่า ในกาลนั้น มีพราหมณ์ ๕๐๐ เรียนจบคัมภีร์ไตรเพทแล้วได้ออกบวชใน         พระศาสนาของพระพุทธเจ้า พวกเขาได้เรียนจบพระไตรปิฏกแล้วจึงผู้มัวเมาด้วยความทะนงตน เพราะเข้าใจผิดคิดไปว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้พระไตรปิฏก แม้พวกเราก็รู้พระไตรปิฏกเหมือนพระองค์เหมือนกัน เมื่อเป็นอย่างนี้ พวกเรากับพระพุทธองค์จะต่างกันอย่างไรกัน จึงไม่ยอมไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับพระพุทธองค์
   วันหนึ่ง เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้มาประชุมกันในสำนักของพระองค์ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัส           มูลปริยายสูตรประดับด้วยภูมิ ๘   ภิกษุเหล่านั้นถึงความงุนงงไม่สามารถที่จะเข้าใจได้เลยจึงคิดว่า  พวกเราทะนงตนว่า ไม่มีใครที่จะฉลาดเท่ากับพวกเรา แต่บัดนี้พวกเราไม่รู้อะไรเลย ชื่อว่าผู้ฉลาดเช่นกับพระพุทธเจ้าย่อมไม่มี ชื่อว่าพระพุทธคุณน่าอัศจรรย์ ตั้งแต่นั้นมา ภิกษุเหล่านั้นก็หมดความทะนงตน สิ้นความหลงผิดเป็นเหมือนงูพิษที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว ฉะนั้น
   ในขณะนั้น พระศาสดาประทับอยู่ ณ อุกกัฏฐธานี ตามพระสำราญแล้วเสด็จไปกรุงเวสาลี ตรัสโคตมกสูตรที่โคตมกเจดีย์ ทั้งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว
   ภิกษุเหล่านั้นได้ฟังโคตมกสูตรนั้นแล้วได้บรรลุพระอรหัต เมื่อจบมูลปริยายสูตร                พระศาสดายังประทับอยู่ ณ อุกกัฏฐธานีนั่นเอง
   วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายได้ประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า
   “อาวุโสทั้งหลาย ช่างน่าอัศจรรย์ในพระพุทธานุภาพเหลือเกิน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้ภิกษุเหล่านั้นผู้เป็นพราหมณ์ออกบวชมัวเมาด้วยความทะนงตนอย่างนั้น ให้หมดมานะด้วยมูลปริยายเทศนา”
   ในขณะนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง เมื่อทรงทราบเรื่องจึงตรัสว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่เฉพาะในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน เราก็ได้ทำภิกษุเหล่านั้นผู้มีหัวรุนแรงด้วยความทะนงตนให้หมดความมานะแล้ว”
   จากนั้นได้ทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้
อดีตชาติเนื้อหาชาดก
   ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี มีพราหมณ์คนหนึ่งเรียนจบคัมภีร์ไตรเพท ต่อมา ท่านได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์สอนมนต์แก่มาณพ ๕๐๐ คน
   มาณพเหล่านั้น ครั้นเรียนจบศิลปะแล้ว ได้ทำการซักซ้อมสอบทานในความรู้ทั้งหมดแล้ว เกิดกระด้างด้วยความทะนงตนว่า พวกเรารู้มีความรู้เท่าเทียมกับอาจารย์แล้ว ดังนั้น เรากับอาจารย์จึงไม่มีต่างกันเลย พวกเขาจึงไม่ยอมไปทำการรับใช้ปรนนิบัติอาจารย์อีกเลย
   วันหนึ่ง ขณะที่ท่านอาจารย์กำลังนั่งอยู่ที่โคนต้นพุทรา พวกมาณพเหล่านั้นประสงค์จะดูหมิ่นอาจารย์ จึงเอาเล็บมือเคาะต้นพุทราพูดว่า
   “ต้นไม้นี้ ช่างไร้ค่าไม่มีแก่นเอาเสียเลย”
   อาจารย์จึงรู้ทันทีว่าลูกศิษย์กำลังดูหมิ่นตนอยู่ จึงกล่าวกะลูกศิษย์เหล่านั้นว่า
   “พวกเธอทั้งหลาย อาจารย์จะถามปัญหาแก่พวกเธอข้อหนึ่ง”
   มาณพเหล่านั้นดีใจมากที่จะได้แสดงภูมิความรู้ของตนเองว่าเท่าเทียมอาจารย์จึงได้กล่าวตอบว่า
   “ถามมาเถิดครับท่านอาจารย์ พวกผมจักตอบให้อาจารย์เข้าใจเอง”
    อาจารย์เมื่อจะถามปัญหา ได้กล่าวคาถาแรกว่า

กาลเวลาย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวมันด้วย
แต่ผู้ใดกินกาล  ผู้นั้นชื่อว่าเผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้แล้ว

   บรรดาลูกศิษย์เหล่านั้นได้ฟังแล้วก็เหมือนตกเข้าไปอยู่ในหมอกมืด ทุกคนได้แต่มองหน้ากันเพราะไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร อาจารย์เห็นดังนั้นจึงได้บอกบรรดาลูกศิษย์เหล่านั้นว่า
   “พวกเธออย่าได้เข้าใจว่าปัญหาและคำตอบนี้มีอยู่ในไตรเพทที่พวกเธอได้เรียนไป พวกเธอทะนงตนคิดว่ามีความรู้เท่าเทียมอาจารย์ จึงได้เปรียบเราเหมือนต้นพุทราที่ไม่มีแก่น ความจริงแล้ว เรายังรู้ในสิ่งที่พวกเธอยังไม่รู้อีกมากมาย จงไปเถิด อาจารย์จะให้เวลา ๗ วันนับจากนี้ จงพากันช่วยคิดและแก้ปัญหานี้เถิด”
   บรรดาศิษย์เหล่านั้นจึงได้กราบลาอาจารย์กลับไปยังที่พักของตน ต่างคนต่างก็พากันคิดเพื่อจะหาทางแก้ปัญหานั้น ตลอด ๗ วันที่พวกเขาพากันขบคิดก็ไม่สามารถจะหาทางแก้ปัญหานั้นได้เลย
   เมื่อครบกำหนด ๗ วัน ทั้งหมดจึงได้พากันกลับมาหาอาจารย์ไหว้แล้วได้นั่งลง อาจารย์จึงได้ทักทายถามลูกศิษย์เหล่านั้นว่า
   “พวกเธอมีหน้าตาเบิกบานแจ่มใส แสดงว่ารู้คำตอบของปัญหาแล้วใช่หรือไม่?”
   ลูกศิษย์จึงตอบอาจารย์ด้วยความอับอายว่า
   “พวกผมอับจนปัญญา ไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไรเลยครับ ท่านอาจารย์”
   อาจารย์จึงได้ตำหนิมาณพเหล่านั้นด้วยคาถาที่ ๒ ว่า
        ศีรษะของคนปรากฏว่า มีผมดำยาวปกคลุมถึงคอ
แต่บรรดาคนทั้งหลายนี้จะหาคนที่มีปัญญาสักคนก็หาไม่ได้เลย

ความหมายของคาถา
   อาจารย์ต้องการอธิบายให้พวกลูกศิษย์ทราบว่า คำว่า กาล หมายถึง เวลาต่าง ๆ เช่นเวลาก่อนอาหารหรือหลังอาหารเป็นต้น ส่วนคำว่า กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์นั้น หมายความว่า ตัวกาลเวลาไม่ได้ทำการกินหนังหรือเนื้อของสรรพสัตว์ หากแต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็ทำการย่ำยีความเป็นหนุ่มสาวทำให้ผิวพรรณและกำลังของสรรพสัตว์หมดสิ้นไป ทำให้ความไม่มีโรคต้องหมดไป จึงเรียกว่า เคี้ยวกินสัตว์โลกทั้งหมดที่เกิดมาโดยไม่มียกเว้น
   ส่วนสัตว์ผู้กินกาลนั้น หมายถึง พระขีณาสพ เพราะท่านเหล่านั้นทำให้ตนเองไม่ต้องไปเกิดอีกต่อไปด้วยการเผาตัณหาที่ทำให้สัตว์ต้องไปเกิดในอบายภูมิด้วยไฟคือญาณจึงกล่าวถามปัญหาด้วยคาถาที่ ๑
   บรรดาศิษย์ถูกอาจารย์ถามปัญหาที่ไม่มีในไตรเพทจึงไม่รู้จะตอบอย่างไรจึงถูกอาจารย์ตำหนิมีสมองกันถึงทุกคนแต่หาปัญญาไม่ได้แม้แต่คนเดียวจึงกล่าวตำหนิด้วยคาถาที่ ๒
   เมื่ออาจารย์เฉลยปัญหาให้ฟัง มาณพเหล่านั้นจึงตระหนักถึงความยิ่งใหญ่แห่งภูมิปัญญาของอาจารย์ ทั้งหมดได้พากันขอขมาอาจารย์ หมดความทะนงตนปรนนิบัติอาจารย์เหมือนเดิม
   พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว แล้วทรงประชุมชาดกว่า
   “มาณพทั้ง ๕๐๐ ในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุเหล่านี้ ส่วนอาจารย์คือเราตถาคตนี้แล”

   อะไรชื่อว่า มูลกรรมฐาน
    -  มูลแห่งธรรม  เนื่องด้วย ชนทั้ง 3
      1. ปุถุชน  มี 3 ประเภท
         1.1  อันธปุถุชน  คนที่ไม่ได้รับการอบรมศึกษาทางจิต
         1.2 กัลายณชน  คนที่ได้รับการอบรมศึกษาทางจิต
      2.พระอริยะ
      3. สัตตบุรุษ คือกัลยาณชน ผู้ศึกษาธรรม และรอบรู้ธรรม แต่ยังไม่เป็นพระอริยะ

      การกำหนดรู้ และ การไม่กำหนดรู้  ซึ่งธรรม

     ดังนั้น การกำหนดรู้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องมีในการเจริญภาวนา เพราะการเจริญภาวนา ต้องมีการกำหนดรู้ ถ้าไม่กำหนดรู้ ก็ไม่มีอะไรให้รู้

     

   
   
   


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เนื่องด้วยการพิมพ์หนังสือ ใช้ทุนปัจจัยสูง ปัจจุบันฉันจึงไม่อยากขอรับบริจาค กับใครในยุคที่เศรษฐกิจ ไม่ดีมีความเดือดร้อน กันอยู่

 

ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงพิมพ์ตามจำนวนการสั่ง ของผู้ที่ต้องการ โดยเฉพาะศิษย์ขึ้นกรรมฐาน ที่ใช้งาน PC ไม่เป็นควรจะมีหน้งสือเล่มนี้ไว้เป็นคู่มือในการภาวนา มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ขั้นต้น ถึงกลาง

   ควรจะต้องสร้างบารมีธรรม

    ทุกวันนี้คนติดหนี้ปัญญาฉันเยอะ ลักเรียน ศึกษา ลอกข้อความ โดยที่ไม่คิดจะขวนขวายมาขึ้นกรรมฐาน ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรือ่งยาก เลย เป็นหนี้ปัญญาฉันไปมากแล้ว เท่ากับปรามาสกันอยู่

เพราะว่า หนังสือ ข้อความทางธรรมอักษร ใช้เวลา 10 ปี ในการพิมพ์ทั่งวันทั้งคืน ร่วมกับเวลาภาวนาในปกติวัน แต่ผู้ลับลอบอ่านเรียน โดยไม่ให้ความเคารพอย่างถูกต้องนั้น เท่ากับติดหนี้ปัญญาฉัน ถ้าเป็นผู้อุปถัมภ์ ก็โทษน้อยหน่อย แต่ไม่เคยอุปถัมภ์อะไรเลย อันนี้มีโทษมาก ไม่ใช่ฉ้นจะอนุญาต หรือไม่อนุญาต ก็มีผลติดหนี้ปัญญาต่ออนาคตชาตของผู้นั้นด้วย

 เนื่องด้วยข้อความมูลกรรมฐาน กัจจายนะ มีที่ฉันเท่านั้นในประเทศไทย ที่รู้ข้อความทั้งหมด

  ดังนั้นผู้ที่จะเรียนก็สมควรจะต้องจ่ายเงิน สร้างทานบารมีเพื่อจะเรียน วิชากรรมฐาน ด้วยความเคารพต่อไป

 เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 26, 2016, 11:00:21 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ