ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝึกอ่านจิต เพื่อปล่อยวาง  (อ่าน 406 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ฝึกอ่านจิต เพื่อปล่อยวาง
« เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2020, 06:27:51 am »
0



ฝึกอ่านจิต เพื่อปล่อยวาง โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม

ฝึกก็คือ ฝึกอ่านจิต ตัวเอง ก็ใจของเราจริง ๆ เรารู้ว่าใจของเรากำลังรู้สึกอย่างไร เรากำลังสบายใจเรารู้ตัวเอง เราไม่สบายใจเราก็รู้ตัวเอง ฉะนั้นที่เรารู้ตัวเองตรงนั้น เราเพิ่มเข้าไปอีกนิดนึง พอรู้สึกสบายใจแล้วเรารู้ตัวเองว่าเราสบายใจ พอเรารู้ว่าสบายใจให้มองไปที่ความรู้สึกสบายใจนั้น พอรู้สึกไม่สบายใจก็มองเข้าไปที่ความรู้สึกไม่สบายใจ มองตรงนี้บ่อย ๆ เขาเรียกว่าฝึกอ่านความรู้สึก

พอเรามองเข้าไปเราก็จะค่อย ๆ เห็นความเป็นจริง ว่ารู้สึกสบายใจมันเกิดจริง แต่เดี๋ยวนี้มันดับแล้ว พอเรามองมันมันก็ดับไป เพราะว่าอายุของความรู้สึกตรงนี้มันมีหนึ่งขณะจิต เกิดขึ้นมาหนึ่งขณะจิตแล้วดับลงทันที พอเราเข้าไปมองคราวนี้จิตใจเราก็เกิดการรอบรู้ขึ้นมา รู้ว่ามันเกิดขึ้นแล้วดับไป เกิดขึ้นแล้วดับไป พอเห็นเกิดขึ้นแล้วดับไปใจก็จะวางเฉย แต่ถ้าเรายังไม่สามารถอ่านความรู้สึกตัวเราเองได้ ตรงนี้ต้องฝึกเจริญสติ

ในการฝึกเจริญสตินี่พระพุทธเจ้าก็มีแนวอุบายวิธีหลายอย่าง ฝึกเจริญสติด้วยการติดตามดูร่างกาย เดินแล้วไปตามดูอาการเดิน ยืนแล้วก็ตามดูร่างกายในขณะยืน นั่งอยู่แล้วไปตามดูอาการของกายในขณะนั่ง นอนอยู่แล้วก็ไปตามดูอาการของกายในขณะนอน ไปตามดูร่างกายในขณะเดิน ขณะยืน ขณะนั่งแล้วก็ขณะนอน พอไปตามดูกายบ่อย ๆ สติก็เกิด พอสติของเราเกิดคราวนี้สัมปชัญญะรอบรู้ก็เกิด

พอเราเห็นกายจนชำนิชำนาญต่อไปก็ค่อย ๆ เห็นความรู้สึกก็เลยต้องมาฝึก ถ้าการปฏิบัติธรรมก็ฝึกเดินจงกรมหรือฝึกนั่งสมาธิ อย่างนั่งสมาธิเราก็หายใจเข้าเราเพียงมองดู หายใจออกเพียงมองดู นั่นคือเป็นการฝึกเจริญสติอย่างหนึ่ง หรือไม่ก็เราสังเกตไปทั่ว ๆ ร่างกาย สังเกตส่วนนั้น ส่วนนี้ แล้วเราเห็นกายส่วนนั้น เห็นกายส่วนนี้ รู้สึกในกายส่วนนั้น รู้สึกในกายส่วนนี้ นี่ก็เป็นการเจริญสติอย่างหนึ่ง รู้สึกตัวเน้นรู้สึกตัว พอรู้สึกตัวแล้วต่อไปก็รู้สึกในความรู้สึก มันก็ค่อย ๆ ไปลึกเข้าไปอีก แล้วตรงนี้เราก็จะเห็นว่าความสุขที่สมัยก่อนที่เราเคยยินดี

ความสุขที่เราเคยพึงพอใจ มันเป็นความสุขที่ไม่แท้จริง สุขจากการไปเที่ยวดู สุขจากการไปหามาฟัง นั่นแหละชาวโลกเราก็สุข สุขอยู่เท่านี้ แต่ว่าเป็นสุข เป็นสุขของชาวโลก ของทางโลกมันเป็นสุขที่ไม่แท้จริง มันเป็นสุขที่เจือด้วยทุกข์ มันมีทุกข์แอบแฝงอยู่ในนั้น ไม่ใช่สันติสุข



 

ถอดความ : สุขทุกวัน 7 วัน 7 กูรู ตอน พระอาจารย์มานพ อุปสโม วันที่ 28 เมษายน 2558 (1/2)
ภาพ : www.pexels.com
ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/204880.html
By nintara1991 ,21 May 2020
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ