ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ก่อนสอนผู้อื่น สำรวจตนเองก่อน มิฉะนั้น...?  (อ่าน 17863 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 


ก่อนสอนผู้อื่น
จากหนังสือ ทางแห่งความดี ๓ โดย ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ

"บัณฑิตตั้งตนไว้ในคุณอันสมควร(คืออันเหมาะสม) ก่อนแล้วสอนคนอื่นภายหลัง จะไม่เศร้าหมอง"

อธิบายความ : โดยธรรมดา การสอนให้คนอื่นทำนั้น เป็นเรื่องง่าย แต่การทำเองเป็นเรื่องยาก การสร้างบ้านสร้างเมืองด้วย น้ำลายนั้น จะสร้างวันละสักกี่เมืองก็ได้ แต่การทำให้ได้จริงตามที่ว่าไว้นั้น ยากเหลือเกิน ท่านจึงว่า “ง่ายที่คิด ติดที่ทำ”
       บุคคลบางพวกสอน คนอื่นได้ แต่ตัวทำไม่ได้
       บางพวกสอนคนอื่นไม่ได้ แต่ทำด้วยตนเองได้
       บางพวกสอนก็ไม่ได้ ทำก็ไม่ได้
       บางพวกทั้งสอนได้และทำได้
       พวกสุดท้าย ย่อมได้รับการสรรเสริญโดยประการทั้งปวง

       การสอนคนนั้น มี 3 อย่าง คือ
       สอนด้วยวาจา ๑
       สอนด้วยการทำตัวอย่างให้ดู ๑
       สอนด้วยวาจาและทำตัวอย่างให้ ดู ๑
       ประการสุดท้ายดีที่สุด เป็นการแน่นอนว่า ตัวอย่างที่ได้เห็นย่อม เด่นกว่าคำสอนเสมอ


 ask1 ask1 ask1

การกระทำนั้นแหละเป็นการสอนไปในตัว ข้าพเจ้าเคยพูดไว้หลายครั้งหลายแห่งแล้วว่า ทางที่ดีที่สุดในการสอนให้คนเสียสละ คือ จงเสียสละให้ดู ในการสอนให้คนสงบ คือ จงสงบให้ดู คำสอนแม้จะถูกต้อง แต่ถ้าตัวคนสอนทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ตนสอน คนทั้งหลายก็ จะไม่ซึ้งในคำสอนเช่นนั้น มันเหมือนเอามะลิไปโรยไว้หน้าศพ ใครเล่าจะยินดีดมมะลินั้น คำสอนของผู้เช่นนั้นมีแต่จะถูกหัวเราะเยาะ

บุคคลที่ เสียสละได้ สงบได้ ขยันหมั่นเพียรได้ แม้จะไม่เคยเอ่ยปากสอนใครให้ทำเช่นนั้น คนทั้งหลายก็มองดูด้วยความนิยมชมชอบและมักจะเอ่ยปากเมื่อมีโอกาส ว่า “ทำอย่างไรจึงเป็นอย่างนั้น ๆ” เป็นต้น

พระที่สำรวมอยู่ในสิกขา วินัยอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีสมาธิ จิตสูง แม้จะไม่สอน ใครเพื่อความเป็นเช่นนั้น คนทั้งหลายก็นิยมเลื่อมใสและอยากทำตาม แต่พระที่ดีแต่พูด เป็นธรรมกถึก ปฏิบัติอะไรไม่ได้ อาจได้รับคำชมเหมือนกันว่า พูดดี พูดเก่ง แต่จะไม่มีใครเลื่อมใสจริงจังเลย พ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็เหมือนกัน

 :96: :96: :96: :96:

เพื่อมิให้เศร้าหมองด้วยการถูกหัวเราะเยาะ และถูกตำหนิติเตียน บัณฑิตจึงควรตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรเสียก่อน
แล้วสั่งสอนคนอื่นให้ ตั้งอยู่ในคุณอันนั้นภายหลัง ไม่เป็นภัยแก่ตน และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อผู้อื่น

การสอนผู้อื่นในคุณที่ตนมี แม้จะสอนซ้ำๆซากๆ แต่คนทั้งหลายฟังแล้วก็ซาบซึ้งดี เพราะรู้สึกว่ามันออกมาจากใจของผู้สอน ส่วนคำสอนอันวิจิตรพิสดารแพรวพราวด้วยเหตุผล แต่ผู้สอนมิได้มีคุณเช่นนั้น ผู้ฟังย่อมไม่เชื่อถือและไม่มีกำลังใจในการปฏิบัติตาม

ลองคิดดูเถิด ถ้าคนเป็นโรคเรื้อนคนหนึ่งยืนพรรณนาถึงคุณภาพของยาและวิธีรักษาโรคเรื้อนให้หายขาดได้
ท่านผู้ฟังจะรู้สึกอย่างไร ถ้ามันดีจริงไฉนผู้นั้นจึงไม่จัดการรักษาโรคเรื้อนของตนให้หายขาด เสียก่อนหรือเป็นแต่เพียงผู้โฆษณาขายยา แต่ไม่เคยลองใช้ด้วยตนเองเลย ทั้งๆที่ตนก็เป็นโรคนั้นอยู่ น่าสลดใจหรือไม่.?


 :25: :25: :25: :25:

บางคนสอนให้คนอื่นเลิกโลภ เลิกโกรธ เลิกหลง แต่ตนเองยังเต็มอยู่ด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง จนล้นออกมาให้เห็นกันชัดๆ อยู่ข้างนอก น่าสลดใจเพียงใด ถึงกระนั้นก็ยังดีกว่าคนบางพวกที่เพียบแปร้ไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ คือ โลภ โกรธ หลง แล้วยังชักชวนผู้อื่นเพื่อเป็นอย่างนั้นด้วย เหมือนสุนัขหางด้วนแล้วชวนเพื่อนๆ ให้ไปตัดหางเสียด้วย อย่างนี้มีโทษ สองซ้ำสามซ้อน

พ่อบางคนเป็นโจร แต่พรรณนาโทษแห่งความโจรให้ลูกฟัง ก็ยังดีกว่าชักชวนลูกให้เป็นโจรเสียด้วย ทางที่ดีกว่านั้น คือเลิกความเป็นโจรด้วยตนเองเสียด้วย และพรรณนาโทษแห่งความเป็นโจรให้ลูกฟังด้วย



ที่มา : สาระจากเรือนธรรม ก่อนสอนผู้อื่น
http://www.oknation.net/blog/tarchester/2010/05/31/entry-2
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2016, 10:33:11 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ก่อนสอนผู้อื่น สำรวจตนเองก่อน มิฉะนั้น...?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 10:49:23 am »
0



ตนนั่นแล ฝึกได้ยากยิ่ง

๑. โพธิราชกุมารวัตถุ เรื่องโพธิราชกุมาร
    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่โพธิราชกุมาร ดังนี้)
    [๑๕๗] ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นไว้ให้ดี บัณฑิตพึงประคับประคองตนไว้ให้ได้(๑-) อย่างน้อยยามใดยามหนึ่งใน ๓ ยาม(๒-)

๒. อุปนันทสักยปุตตเถรวัตถุ เรื่องพระอุปนันทศากยบุตรเถระ
    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุหนุ่ม ๒ รูป ดังนี้)
    [๑๕๘] บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณธรรมที่เหมาะสมก่อน แล้วสอนคนอื่นในภายหลัง(๓-) จึงจะไม่มัวหมอง(๔-)

๓. ปธานิกติสสเถรวัตถุ เรื่องพระปธานิกติสสเถระ
    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ดังนี้)
    [๑๕๙] บุคคลสอนผู้อื่นอย่างไร ก็พึงทำตนอย่างนั้น ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว จึงควรฝึก(ผู้อื่น) เพราะตนนั่นแลฝึกได้ยากยิ่ง



เชิงอรรถ :-
(๑-) ประคับประคองตน ในที่นี้หมายถึง ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็ควรทำบุญ มีทานและศีล เป็นต้น ถ้าเป็นบรรพชิต
ก็ควรขวยขวายทำวัตรปฏิบัติศึกษาพระปริยัติและเจริญกัมมัฏฐาน (ขุ.ธ.อ.๖/๕)
(๒-) ยาม ในที่นี้หมายถึงวัย ได้แก่ ระยะของอายุ มี ๓ คือ ปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย (ขุ.ธ.อ.๖/๔-๕)
(๓-) หมายถึง เมื่อบัณฑิตประสงค์จะสอนผู้อื่นด้วยคุณธรรมมีความมักน้อย เป็นต้น หรือด้วยปฏิปทาของอริยวงศ์
ตนเองจะต้องดำรงอยู่ในคุณธรรมนั้นก่อน (ขุ.ธ.อ. ๖/๘)
(๔-)ไม่มัวหมอง หมายถึงไม่ถูกนินทา (ขุ.ธ.อ. ๖/๘)



พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=21
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ก่อนสอนผู้อื่น สำรวจตนเองก่อน มิฉะนั้น...?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2016, 11:09:45 am »
0


พระปธานิกติสสเถระ   
         
ข้อความเบื้องต้น : พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระปธานิกติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อตฺตานญฺเจ" เป็นต้น.

 ans1 ans1 ans1

พระปธานิกติสสเถระดีแต่สอนคนอื่น ตนไม่ทำ    
           
ดังได้สดับมา พระเถระนั้นเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว พวกภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปไปจำพรรษาในป่า กล่าวสอนว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่ จงเป็นผู้ไม่ประมาท ทำสมณธรรมเถิด" ดังนี้แล้ว ตนเองก็ไปนอนหลับ.

ภิกษุเหล่านั้นจงกรมในปฐมยามแล้ว เข้าไปสู่วิหารในมัชฌิมยาม. พระเถระนั้นไปสู่สำนักของภิกษุเหล่านั้น ในเวลาตนนอนหลับแล้วตื่นขึ้น กล่าวว่า "พวกท่านมาด้วยหวังว่า ‘จักหลับนอน’ ดังนี้หรือ? จงรีบออกไปทำสมณธรรมเถิด" ดังนี้แล้ว ตนเองก็ไปนอนเหมือนอย่างนั้นนั่นแล.

พวกภิกษุนอกนี้ จงกรมในภายนอกในมัชฌิมยามแล้ว เข้าไปสู่วิหารในปัจฉิมยาม. พระเถระนั้นตื่นขึ้นแม้อีกแล้ว ไปสู่สำนักของภิกษุเหล่านั้น นำภิกษุเหล่านั้นออกจากวิหารแล้ว ตนเองก็ไปนอนหลับเสียอีก,

เมื่อพระเถระนั้นกระทำอยู่อย่างนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์, ภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะทำการสาธยายหรือทำพระกัมมัฏฐานไว้ในใจได้ จึงได้ถึงความฟุ้งซ่านแล้ว.

ภิกษุเหล่านั้นปรึกษากันว่า "อาจารย์ของพวกเรา ปรารภความเพียรเหลือเกิน พวกเราจักคอยจับท่าน" เมื่อคอยจับอยู่ เห็นกิริยาของพระเถระนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราฉิบหายแล้ว อาจารย์ของพวกเราย่อมร้องเปล่าๆ"

บรรดาภิกษุเหล่านั้นลำบากอยู่เหลือเกิน ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้บังเกิดได้. ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาแล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา มีปฏิสันถารอันพระศาสดาทรงทำแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท ทำสมณธรรมหรือ? จึงกราบทูลความนั้น.


 :25: :25: :25:

เรื่องไก่ขันไม่เป็นเวลา   
           
พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ได้ทำอันตรายแก่พวกเธอไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาลก่อน ภิกษุนั้นก็ได้ทำอันตรายแก่พวกเธอเหมือนกัน"

     อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงยัง อกาลรวกุกกุฏชาดก(๑-) ให้พิสดาร (ความย่อ) ว่า :-
     ไก่ตัวนี้ เติบโตแล้วในสำนักของผู้มิใช่มารดาและบิดา อยู่ในสกุลแห่งผู้มิใช่อาจารย์ จึงไม่รู้จักกาลหรือมิใช่กาล.
     ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อันธรรมดาภิกษุ เมื่อกล่าวสอนคนอื่น พึงทำตนให้เป็นอันทรมานดีแล้ว เพราะบุคคล เมื่อกล่าวสอนอย่างนั้น เป็นผู้ฝึกดีแล้ว ชื่อว่าย่อมฝึกได้"

     แล้วตรัสพระคาถานี้ :-
     อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
     ถ้าบุคคลพร่ำสอนผู้อื่นอยู่ฉันใด พึงทำตนฉันนั้น, บุคคลผู้มีตนฝึกดีแล้วหนอ (จึง)ควรฝึก(ผู้อื่น) เพราะว่าได้ยินว่า ตนฝึกฝนได้โดยยาก.

____________________________
(๑-) ขุ. ชา. เอก. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๑๙ ; อรรถกถา ขุ. ชา. เอก. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๑๙. อกาลราวิชาดก.

 st11 st11 st11

      แก้อรรถ
             
      พึงทราบความแห่งพระคาถานั้นว่า :-
      "ภิกษุกล่าวแล้วว่า ‘พึงจงกรมในปฐมยามเป็นต้น’ ชื่อว่าย่อมกล่าวสอนผู้อื่นฉันใด ตนเองก็ฉันนั้น อธิษฐานกิจมีจงกรมเป็นต้น ชื่อว่าพึงกระทำตนเหมือนอย่างสอนผู้อื่น. เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีตนฝึกดีแล้วหนอ ควรฝึก (บุคคลอื่น)."

      บาทพระคาถาว่า สุทนฺโต วต ทเมถ ความว่า ภิกษุย่อมพร่ำสอนผู้อื่น ด้วยคุณอันใด เป็นผู้ฝึกฝนดีแล้วด้วยตน ด้วยคุณอันนั้น ควรฝึก (ผู้อื่น).
      บาทพระคาถาว่า อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม ความว่า เพราะว่าชื่อว่าตนนี้ เป็นสภาพอันบุคคลฝึกฝนได้ยาก เพราะเหตุนั้น ตนนั้นย่อมเป็นสภาพอันบุคคลฝึกฝนดีแล้ว ด้วยประการใด ควรฝึกฝนตนด้วยประการนั้น.
      ในกาลจบเทศนา ภิกษุแม้ประมาณ ๕๐๐ รูปนั้นบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ดังนี้แล.


                  เรื่องพระปธานิกติสสเถระ จบ.     
         


อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=22&p=3     
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ