แสดงกระทู้
|
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to. |
Messages - Admax
|
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 24
|
94
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เหตุใด.? การแผ่เมตตาให้คนที่เราโกรธเกลียด จึงไม่ได้ผล.!
|
เมื่อ: ธันวาคม 02, 2016, 07:37:31 pm
|

ผมขออนุญาตแสดงความเห็นในแนวทางแผ่เมตตาให้ตนเองครับ ผมยังแค่ปุถุชนอยู่ไม่ใช่ว่าทำได้ตลอดขาดสิ้น แต่เพียรทำสะสมเหตุเมตตาให้มากตามสติกำลัง ด้วยหมายในผลว่าเมื่อเหตุมันเต็มดีแล้ว จักเป็นผู้ไม่มักโกรธ แต่จักเป็นผู้มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อตนเองและผู้อื่น (หากท่านใดที่ถึงสมาธิถึงฌาณจะรู้ดีว่าความไม่ติดใจข้องแวะสิ่งใดมีใจเอื้อเฟื้ออยู่ทุกเมื่อ มันมีความเบาเย็นใจ ผ่องใสเป็นสุขอย่างไร)
ดังนั้นคนอย่างเราๆก็คงทำเมตตาตนเองและผู้อื่นโดยเริ่มจากความคิดในกุศลนำพาใจให้น้อมไปดำรงมั่นในความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน เช่น
- โลกมีความเป็นไปของมันโดยธรรมชาติ ล้วนดำรงด้วยขันธ์มีความรู้สึกนึก มีความแปรปรวน มีความเอนเอียงไปเป็นตามธรรมชาติของมัน มีเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เราได้พบเจอในสิ่งที่รักที่ชังแต่ทุกสิ่งล้วนเป็นไปของมัน จะพึงหมายให้สิ่งอันเป็นที่รักที่จำเริญใจคงอยู่ ให้สิ่งที่ชังที่ไม่ชอบไม่จำเริญใจจงวินาสดับสูญไปให้ไกลตน ก็หาทำได้ไม่ เราย่อมบังคับมันไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนเหล่าใดที่เราจะพึงทำได้ เพราะมันเป็นไปโดยธรรมชาติของมันอย่างนั้น จะเอาความความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใดๆที่ไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวตนแล้วมันจะหาสุขอันใดได้เล่า การเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นมันก็มีแต่ทุกข์อยู่ร่ำไป เลิกเอาความสุขของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นหรือสิ่งไรๆเสียจักไม่ทุกข์ - พึงรู้ว่าธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตความรู้สึกนึกคิดจิตใจมันเป็นแบบนั้น มีความเป็นไปอย่างนั้นของมันอยู่แล้ว แม้แต่ตัวเราเอง เลิกติดใจข้องแวะสิ่งเหล่านั้นไปเสียติดข้องใจไรๆไปก็หาความสุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ - ความติดใจข้องแวะสิ่งใดย่อมนำพาไปสู่ความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความเบียเบียนทำให้เร่าร้อน ความเร่าร้อนเป็นทุกข์ - ความไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกย่อมไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความไม่เบียดเบียนทำให้เย็นกายสบายใจ ความเย็นใจเป็นสุข
ด้วยเหตุดังนี้ๆ..เราทำความเมตตาตนเองโดยพึงทำไว้ในใจว่า
- เราจักทำจิตให้ผ่องใสดุจดวงประทีป ละเว้นจากความเบียดเบียนทั้งปวง ยังจิตให้สงบรำงับจากบาปอกุศลทั้งปวงอยู่ ยังความเบาสบายเย็นใจ สุขอยู่ทุกเมื่อ (ทำจิตน้อมระลึกถึงความไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆในโลก ระลึกถึงดวงแก้วอันสว่างไสวมีความผ่องใสเป็นสุขปราศจากความหม่นมัวหมองคือกิเลสความลุ่มหลงทั้งรักทั้งชังทั้งปวง) - เราจักเป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร คือ ไม่ผูกใจเจ็บ ผูกโกรธแค้นเคืองใคร จักสละซึ่งความโกรธเคืองทั้งปวง มีปกติจิตผ่องใสเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเป็นที่สบายกายใจ (พีงระลึกว่าเราทั้งหลายในโลกล้วนเป็นเพียงสิ่งที่มีชีวิตจิตใจมีสังขารอันเกิดแต่วิบากกรรมให้จิตจรมาอาศัยอยู่ ดังนั้นก็ล้วนมีทำถูกทำผิด พลั้งเผลอมีรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนกันหมด จะเอาอะไรกับสิ่งมีชีวิตที่มีความคิดความรู้สึกปรุงแต่งไปต่างๆนาๆตามอกุศลได้เล่า แม้เราก็มีอยู่ ดังนี้พึงละความติดข้องใจไรๆต่อใครไปเสีย ผูกโกรธผูกเวรไปก็ทำให้ใจเราเศร้าหมองเปล่าๆ ทำใจเราให้เว้นด้วยสละจากความโกรธแค้นพยาบาทเบียดเบียนต่อใครไปเสียเป็นความเอื้อเฟื้อสงเคราะห์ให้เขาเหล่านั้นเป็นอภัยทาน เราก็ได้เมตตาบารมี ทานบารมี ดังนั้นพึงตั้งมั่นเอาความไม่มีโกรธพยาบาทผูกแค้นอาฆาตมาสู่ใจเรา ทำใจให้ผ่องใส) - เราจักเป็นผู้ไม่ผูกใจเจ็บแค้นใคร จักทำใจให้ผ่องใสเว้นจากความพยาบาทหมายทำร้ายหรือต้องการให้ใครฉิบหาย จักสละซึ่งความผูกแค้นเคืองอาฆาตทั้งปวง มีปกติจิตผ่องใสเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเป็นที่สบายกายใจ (พึงระลึกว่าเราทั้งหลายในโลกล้วนเป็นเพียงสิ่งที่มีชีวิตจิตใจมีสังขารอันเกิดแต่วิบากกรรมให้จิตจรมาอาศัยอยู่ ดังนั้นก็ล้วนมีทำถูกทำผิด พลั้งเผลอมีรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนกันหมด จะเอาอะไรกับสิ่งมีชีวิตที่มีความคิดความรู้สึกปรุงแต่งไปต่างๆนาๆตามอกุศลได้เล่า แม้เราก็มีอยู่ ดังนี้พึงละความติดข้องใจไรๆต่อใครไปเสีย ผูกพยาบาทเบียดเบียนต่อใครไปก็ทำให้ใจเราเศร้าหมองเปล่าๆ ทำใจเราให้เว้นด้วยสละจากความโกรธแค้นพยาบาทเบียดเบียนต่อใครไปเสียเป็นความเอื้อเฟื้อสงเคราะห์ให้เขาเหล่านั้นเป็นอภัยทาน เราก็ได้เมตตาบารมี ทานบารมี ดังนั้นพึงตั้งมั่นเอาความไม่มีโกรธพยาบาทผูกแค้นอาฆาตมาสู่ใจเรา ทำใจให้ผ่องใส) - เราทำความตั้งมั่นเว้นแล้วซึ่งความเบียดเบียนมีจิตเป็นศีลด้วยความเอื้อเฟื้อสละให้อยู่ดังนี้ ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์เร่าร้อนกายและใจ ไม่มีโรค ไม่มีภัย พ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองกายใจทั้งปวงนั้นเทอญ (ระลึกถึง ๓ ข้อข้างต้นนั้น นั่นแหละคือมีใจเป็นศีล ศีล คือ เจตนาเครื่องกุศล เจตนาละเว้นจากอกุศลกรรมความเบียดเบียนทั้งปวง มีใจเอื้อเฟื้อน้อมไปในการสละเกื้อกูล ยินดีที่ผู้อื่นสำเร็จประโยชน์สุข ทำข้อนี้ไม่ใช่ได้แค่เมตตาเท่านั้น เรายังได้สีลานุสสติเพราะใจเป็นศีล ได้จาคานุสสติเพราะใจเราทำอภัยทานด้วยสละความโกรธแค้นเบียดเบียนหมายจะทำเขาให้ฉิบหายนั่นเอง) - เราตั้งมั่นรักษากาย วาจา ใจไม่พ้นจากสมมติกิเลสเครื่องเร่าร้อนที่ล่อใจไว้อยู่ตามสติกำลัง ด้วยเหตุแห่งประการทั้งปวงนั้น ขอจงเป็นเครื่องปกปักรักษาให้เรารอดพ้นจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งปวง มีความเย็นกายสบายใจเป็นสุขอยู่ทุกที่ในกาลทุกเมื่อตราบจนถึงพระนิพพานนั้นเทอญ
หากยังทรงจิตให้มีปกติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันไม่ได้ แนวทางนี้ก็เป็นเพียงหลักการสะกดจิตน้อมใจไปให้เป็นอย่างนั้น แต่อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ก็เป็นการสะสมเหตุของปุถุชนอย่างเราๆที่จะพึงพอทำได้ เพื่อให้มีสันดานแห่งพระอริยะในภายหน้าสืบไปครับ
เมื่อเรามีความเย็นใจผ่องใสเป้นที่สบายแล้ว พึงเห็นว่าไม่ว่าเขา หรือเรา หรือใครๆ ก็ล้วนเป็นผู้ดำรงขันธ์อยู่ มีกายรูปร่างหน้าตา วาจาคำพูดกล่าว วจีเหล่าใด ใจอันเป็นอุปนิสัยจริตสันดาน ซึ่งต่างเกิดขึ้นมาแต่วิบากกรรมที่ติดตามมาแต่ปางก่อนทั้งสิ้น ต่างล่วงพ้นทุกข์ในอีกที่หนึ่งภพหนึ่งจรไปอีกที่หนึ่งภพหนึ่ง จรจากนรกบ้าง จรจากสวรรค์บ้าง จึงลงมาสู่ครรภ์ของมารดาในปัจจุบันชาตินี้ด้วยกันทั้งสิ้น ด้วยเหตุดังนี้พระศาสดาจึงสอนให้มี ทาน ศีล พรหมวิหาร๔ สัมมัปปธาน๔ สติ สัมปะชัญญะ สมาธิ ปัญญาเพื่อเป็นกุศลวิบากกรรมให้ติดตามเราไปทุกภพทุกชาติตราบจนถึงพระนิพพาน เมื่อยังปุถุชนอยู่เหมือนกันก็ต้องมีที่รักที่ชังมีความอคติลำเอียงเป็นธรรมดาไม่ว่าเขาหรือเรา ดังนี้แล้วจึงไม่ควรติดใจข้องแวะสิ่งใดๆต่อใครทั้งสิ้น เพราะต่างก็เป็นเพียงขันธ์ เป็นสังขารในโลก เป็นสิ่งที่ชีวิตที่เสมอด้วยกันหมด เพราะต่างเกิดขึ้นเพราะกรรมทั้งสิ้น เมื่อเราสงบเราเป็นสุบเราพ้นจากทุกข์ความเบียดเบียนเร่าร้อนแล้ว พึงเห็นว่าเขานั้นแลยังทุกข์อยู่ควรที่เราจะเอื้อเฟื้อสงเคราะห์เกื้อกูลให้เขาพ้นจากความเร่าร้อนที่มีอยู่นั้น อย่างที่เราเป็นสุขพ้นจากทุกข์เร่าร้อนอยู่ในตอนนี้ เมื่อต่างฝ่ายต่างเป็นปกติสุขไม่เร่าร้อน ย่อมไม่เบียดเบียนกัน เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว ก็แผ่เอาเมตตาน้อมไปในความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลความสุขสำเร็จปราศจากกิเลสความเร่าร้อนนั้นไปให้เขาพร้อมบทสวดแผ่เมตตานั้นๆไป
|
|
|
102
|
กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / Re: นอบน้อมสายกรรมฐาน
|
เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2016, 12:43:57 am
|
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้วันทาอภิวาทซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอกราบไหว้วันทานมัสการพระธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วทั้งหลาย ขอกราบไหว้วันทานอบน้อมซึ่งพระอรหันตสาวก พระอริยสาวก พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ขอกราบไหว้วันทานอบน้อมซึ่งคุณต่อหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ตลอดถึง หลวงปู่พระครูสิทธิสังวร อาจารย์ใหญ่ฝายกรรมฐาน คณะ 5 วัดราชสิทธาราม องค์ปัจจุบัน และ พระอาจารย์ธัมมะวังโส ขอกราบไหว้วันทานอบน้อมซึ่งคุณคุณพ่อแม่บุพการี ขอกราบไหว้วันทานอบน้อมซึ่งคุณครูบาอาจารย์ทั้งหลาย กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำไปแล้วต่อ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ท่านทั้งหลายในกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ไม่ว่าจะตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี ความประมาทพลั้งเผลอเหล่าใดทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี อันเป็นการล่วงเกิน ไม่สมควร ไม่เหมาะสม น่าติดเตียน ขอสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์พระบรมครู พระธรรม พระสงฆ์สาวก พระราหุลเถระ หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ครูบาอาจารย์ทั้งหลายในกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับมีพระอาจารย์ธัมมวังโสเป็นต้น โปรดจงอดโทษไว้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอขมาลาโทษ อย่าให้เป็นเวรกรรมวิบากกรรมแก่ข้าพเจ้า เพื่อความสุข ความเจริญสำเร็จประโยชน์สุขสมหวังสมปารถนาทั้งหน้าที่การงาน การเงิน ความรัก ครอบครัว ตลอดจนสติปัญญาในการเรียนรู้ทั้งหลายให้เข้าถึงโดยง่ายทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นผู้ฉลาดไม่มีที่สิ้นสุด หัวไวๆ มีความจำเป็นเลิศ มีความคิดพลิกแพลง สร้างสรรค์ มีไหวพริบ เพื่อเข้าถึงทั้ง ๔๐ กรรม วิโมกข์ ๘ วิชชา ๘ อภิญญา ๖ ได้ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ญาณ 16 วิปัสสนาญาณ ๙ ตลอดจนเห็นอย่างที่พระพุทธเจ้าเห็น มีอย่างที่พระพุทธเจ้ามี เข้าถึงอย่างที่พระพุทธเจ้าเข้าถึง เพื่อเผยแพร่พระธรรมอันเป็นทางพ้นทุกข์ในพระพุทธศาสนาให้ขจรไกลยั่งยืนนานสืบไป ได้ถูกต้องและตรงตามจริงสามารถไขปัญหาและข้อข้องใจของคนทั้งปวงให้เข้าถึงงานถึงใจผู้คนตลอดจนทำให้ถึงพระธรรมอันพ้นทุกข์ในพระพุทธศาสนาสืบไป
บุญใดที่ข้าพเจ้าได้กราบไหว้เคารพบูชาอยู่นี้ซึ่งพระรัตนตรัย พ่อแม่-บุพการี ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ตลอดทั้งครูบาอาจารยกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ มีหลวงปู่สุกไก่เถื่อน หลวงปู่พระครูสิทธิสังวร พระอาจารย์ธัมมะวังโสเป็นต้น ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอจงส่งผลให้ข้พาเจ้าถึงพระนิพพานในชาตินี้หากยังไม่ถึงพระนิพพานฉันใด ไม่ว่าจะเกิดมาชาติใดๆ ภพภูมิใดๆขอความไม่มี-ไม่ได้ คำว่าไม่มี-ไม่ได้ จงอย่าได้มาปรากฏแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น
|
|
|
104
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: “เกลียดขี้หน้า” เกิดมาจากอะไร
|
เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2016, 10:35:35 am
|
 ผมเพิ่งเห็นชัดแจ้งใจเมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี้เอง ที่ไม่ว่าจะไปไหนทำอะไรที่ใดก็ไม่เร่าร้อน มันเย็นสบายกายใจ เพราะความไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท จิตที่ปลอดจากเวรพยาบาทมันเย็นใจดี การที่จะไม่มีเวรพยาบาททั้งกับคนที่รักที่เกลียดชัง ผมอาศัยทำสะสมเหตุเมตตา กรุณา ทาน ศีล มาเรื่อยๆหลายปีนักจนมันได้เห็นผลเมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี้เอง เวลาที่ผมไม่ชอบหน้าใครผมก็จะระลึกว่าเรามีขันธ์ ๕ เสมอกัน เป็นปุถุชนคนธรรมดาเสมอกัน ก็เพราะขันธ์ ๕ เป็นปุถุชนเสมอกัน ก็ย่อมมีรัก โลภ โกรธ หลงเสมอกันหมดไม่ต่างจากเรา เราก็มีก็เป็น เราก็เป็นทั้งที่รัก ที่ชังที่รังเกลียดของผู้อื่นเช่นกัน แล้วจะไปเอาอะไรกับสิ่งที่เสมอกันได้ สิ่งมีชีวิตมันมีความรู้สึกนึกคิดจิตใจทั้งกุศลและอกุศลเหมือนกันหมด แล้วจะไปเอาอะไรกับสิ่งมีชีวิต แล้วก็ดูว่าที่เราทุกข์อยู่นั้นคืออะไรมันเป็นแบบไหนอย่างไร เหตุที่ทำให้ทุกข์คืออะไรเพราะอะไร ความดับทุกข์เป็นแบบไหน เหตุหรือทางดับทุกข์นั้นคืออะไร จะรู้ชัดว่า.. - ที่เรากำลังเสพย์ความขัดใจขุ่นข้องต่อเขานี้มันเป็นทุกข์ - เหตุแห่งความขุ่นข้องเพราะไม่ยินดีต่อเขาด้วยเหตุต่างๆทั้งหมดล้วน เอาเขาเป็นใหญ่เอาใจเราไปติดใจข้องแวะกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามองว่าเป็นเขาเอง ทั้งๆที่เขาก็อยู่ของเขาอย่างนั้นมาก่อนเราจะรู้จักเขาด้วยซ้ำ - เมื่อเห็นเหตุแล้วทำความปลงใจปล่อยวาง จิตเข้าถึงความไม่มีกิเลสจรมา หรือไม่เสพย์ความติดใจข้อมแวะสิ่งไรๆในโลก จิตอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง จิตหยั่งลงสูความว่างจากกิเลสอยู่ ความซ่านซ่านเอิบอิ่มชื่นบานเกิดมีขึ้นชัดเจนด้วยแบบนั้น สุขโดยไม่อิงอามิสคือความดับทุกข์แท้จริง - เมื่อเกิดความดับทุกข์แล้วเรารู้ตัวอยู่ก็จะเห็นว่า ละความติดใจข้องแวะต่อเขาเราก็ไม่เสพย์ความขุ่นข้องขัดเคืองใจ เราก็แค่ไม่ให้ความสำคัญมั่นหมายใจไว้ต่อความเป็นเขา(ผมเรียกว่าละล้างสัญญา) มองเขาไม่มีบทบาทอะไรกับชีวิตเรา คนเรามีหน้าตาท่าทาง จริตนิสัยไปต่างๆด้วยกรรม กรรมเป็นเหตุให้เข้ามาเกิดและอาศํยอยู่ในขันธ์ จะให้ความสำคัญใจอะไรกับสิ่งนั้นเล่า เมื่อเราก็ไม่ต่างจากเขา ทำความรู้ปัจจุบันให้มาก ไม่ติดสมมติความคิดมันก็ไม่มีทุกข์ - ธรรมเหล่าใดเป็นเครื่องสะสมความไม่ยิดใจข้องแวะในสิ่งทั้งปวง เราควรทำสะสมเหตุอันนั้นให้มาก แรกเริ่มเดิมทียังอาศัยความคิดอาศัยสมมติ เหมือนสะกดจิตตน จนเมื่อภาวนานสะสมมากเข้ารู้ตัวรู้ใจในปัจุจุบันมากเข้าจนส่งผลความคิดสมมติการสะกดจิตตนก็ดับไปเอง ปุถุชนอย่างเราทำได้อยู่อย่างนั้น - ความเพียรทำไปเรื่อยพึงหวังผลได้ แม้ยังมองไม่เห็นฝั่ง แต่รู้ว่าเป็นเหตุสะสมไปสู่ผล ไม่คลายความเพียร ไม่กระสันผล ทำให้เป็นที่สบายกายใจ เรียบอบรมอิทธิบาท ๔ พอมันเต็มเดี๋ยวก็ได้เอง
|
|
|
114
|
ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: รักษาศีล จะมีบารมีอะไร ! (บ้าง)
|
เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2016, 12:30:39 am
|
ผมขอตอบกระทู้สนทนาธรรมด้วยความเห็นของปุถุชนผู้รู้น้อยนะครับ คำตอบก็ยังเป็นแบบปุถุชนที่พึงจะคิดเห็นได้เท่านั้น อาจไม่ถูกต้องและตรงตามจริงเหมือนคำตอบของพระคุณเจ้าที่ได้รู้แล้วดังนี้ครับ
ไม่ว่าจะสามาทานเอาบารมีข้อใด บารมีในขั้นต้นย่อมสำเร็จประโยชน์ในฐานทั้ง 10 ทัศ ยกตัวอย่างสมาทานศีลย่อมได้บารมีเบื้องต้นดังนี้
ทาน (ว่าด้วยอภัยทาน มีใจปารถนาในอิสระสุขของผู้อื่น หวังให้ผู้อื่นมีอิสระสุข พ้นจากความเดือนร้อน เร่าร้อน โดยที่ตัวเรามีความอดโทษเว้นจากความเกลียด ความดกรธ ความชัง ความแค้น ความประทุษร้ายต่อผู้อื่น เว้นจากเวร เว้นจากพยาบาท)
ศีล (กายวาจาบริสุทธิ์)
เนกขัมมะ (เนกขัมมะไม่ใช่แค่ออกบวช หรือเว้นจากกาม เมถุน แต่เป็นการถือพรหมจรรย์ คือ มีศีลบริสุทธิ์ เพื่อออกจากทุกข์เว้นจากเบียดเบียน)
ปัญญาบารมี (ความมีไหวพริบ หลักแหลม พลิกแพลงฉลาดในการแก้ไขปัญหาทั้งปวงในทางโลกซึ่งทางแก้ไขนั้นเป็นไปเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลเว้นจากความเบียดเบียนต่อผู้อื่น ไปจนเข้าถึงญาณ นิพพิทา วิราตะ ความตัดขาดสิ้นสะบั้นความหลงทั้งปวงเข้าถึงวิมุตติธรรม)
วิริยะ (ทำความเพียรในการอบรมใจตนให้ตั้งมั่นในศีล มีใจตั้งมั่นกล้าที่จะละการกระทำที่เบียดเบียนผู้อื่นแล้วเสพย์ในธรรมเครื่องละเว้นจากความเบียดเบียนเหล่านั้น)
ขันติ (มีความอดทน ทนได้ ทนไว้ มีจิตรู้ว่าควรละควรปล่อยวางในสิ่งที่ทำให้ศีลเสื่อม มีความกล้าที่จะตัดความเร่าร้อนอันเป็นเหตุให้ทำลายศีลในตนทิ้งไปเสียจงได้)
สัจจะ (ความจริง สัจจะนี้อาศัย กาย วาจาที่ดำรงมั่น สัจจะเมื่อสมาทานหมายถึงบอกกล่าวว่าจนจะประพฤติในสิ่งนั้น ก็ต้องทำตามคำพูดนั้นๆให้ได้โดยบริบูรณ์ สัจจะความจริงอีกประการคือ สัมมาวาจา เป็นศีล)
อธิษฐาน (ความตั้งมั่นทำ ความทำใจไว้ดำรงมั่นในสิ่งที่ทำ เมื่อสมาทานศีลก็เท่ากับดำรงใจมั่นที่จะมีศ๊ล มีใจบริสุทธิ์ที่จะเจริญในศีลให้สำเร็จ)
เมตตา (ความมีจิตใจดี เผื่อแผ่ผู้อื่น ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไม่มีใจคิดมุ่งร้ายผู้อื่น ความมีใจสะอาด)
อุเบกขา (ความมีใจไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งที่มากระทบใจตนอันเป็นเหตุให้ศีลเสื่อม ถึงความปล่อยวางจากธรรมทั้งปวง)
จนเมื่อสะสมไปเรื่อยๆมากขึ้นๆ ก็จะเกิดการสะสมที่เด่นชัดออกมาในบารมีนั้นๆที่ตนถือครองอยู่
บทความที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ล้วนด้วยความเคารพ รัก เลื่อมใส ศรัทธาต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ดังที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่เป้นพระอรหันต์ พระอริยะสงฆ์บอกกล่าวไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์มาจุติเพื่อสร้างบารมีที่จะสำเร็จเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภายหน้า..
- ตัวอย่างไม่ต้องนึกไกลดูอย่างพ่อหลวงของไทยนี้เอง พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์มาจุติ ในกาลก่อนนับอสงไขยที่ทรงสะสมพระบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกัปป์ต่อไป พระองค์ก็ทรงเริ่มจากสะสมบารมีขั้นต้นมาเรื่อยจนมากเต็มพอก็ทรงทำบารมีที่เด่นชัดในแต่ละชาติสืบมา ต่อมาเมื่อทรงประสูติมาเสวยในชาตินี้ทรงเป็นมหาราช รัชกาลที่ ๙ ของไทย พระองค์ก็ทรงไว้ซึ่ง ศีล ทาน ภาวนา ทศพิธราชธรรม(นี่แสดงว่าพระองค์ทรงศีล ทาน ภาวนา บารมีอื่นๆด้วยไม่ว่าจะเป็นทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมีฯลฯ) แต่ที่บารมีเด่นชัดที่พระองค์เสวยในชาตินี้ที่ คือ ความเพียร เพียรที่จะทำให้ประเทศชาติและประชาชนของพระองค์ได้พ้นจากความทุกข์ยากลำเค็ญและความยากจน เพียรพยายามที่จะทำให้เกิดความมีอยู่มีกินของประชาราษฎร์อย่างเพียงพอ เพียรให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อดำรงชีพอยู่ได้ จนถึงความยั่งยืนนาน เพียรพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากลำบากของประชาชนของพระองค์ เพียรที่จะทำให้ความสุขอันหลุดพ้นจากทุกข์ของประชาชนนั้นหมดไปสิ้น พระองค์ทรงตั้งมั่นทำและเพียรอยู่ในสิ่งนั้นอย่างไม่ย่อท้อ ท้อแท้ ท้อถอย เบื่อหน่าย เหนื่อยหน่ายแม้จะยากลำบากสักเพียงใด เพื่อปวงประชาราษฎร์ทั้งแผ่นดิน
- หากคำตอบผมผิดพลาดบิดเบือนประการใดขอพระคุณเจ้า พระอาจารย์และท่านผู้รู้ทั้งหลายชี้แนะสั่งสอนและอดโทษไว้แก่ผมด้วยครับ
|
|
|
115
|
ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การโกหก"ตัวเอง"ผิดศีล ๕ ใหมครับ ?
|
เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2016, 10:37:00 pm
|
 ผมมีความรู้น้อย ไม่ฉลาด เลยเห็นว่าคำตอบต้องมี 2 มุมแน่ครับ มุมมองที่ 1 คือ โกหกได้แม้ตนเอง แล้วจะไม่โกหกคนอื่นได้อย่างไร ใช่ปะครับ มุมมองที่ 2 คือ กุลโลบายเพื่อละกิเลส เช่น ตนเป็นผู้มักโกรธ แต่ย้ำใจตนว่าตนเป็นผู้ไม่โกรธ ตนไม่ใช่คนโกรธง่าย เหมือนทำสัญญา สะกดใจไว้ไม่เสพย์โทสะประมาณนี้ป่าวครับ เป็นแบบนี้ไหมครับพระคุณเจ้า ผมมีความรู้น้อยเป็นแค่ปุถุชนก็คงตอบได้แบบปุถุชนคนไม่รู้ แต่อยากจะสนทนาธรรมด้วย หากผิดพลาดประการใดก็ขออดโทษไว้แก่ผมด้วยครับ
|
|
|
|