ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - Admax
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24
841  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: อยากทราบความเห็นว่า "กรณีที่ลูก ถูกพ่อแม่ตัดความสัมพันธ์การเป็นพ่อแม่ลูกกันด้วย" เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2012, 12:40:39 pm
ตอบข้อที่ 1. บุคคคลผู้อยู่ในฐานะอันเรียกว่าไม่มีความกตัญญูนั้น คือ บุคคลผู้ไม่เคารพนอบน้อนบุพการี เป็นบุคคลผู้เว้นจากการเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ แบ่งปัน เว้นจากการให้อันประกอบด้วยประโยชน์สุขแก่บุพการี เป็นผู้ดูแคลนและปล่อยละเลยซึ่งคุณแห่งบุพการีนั้น มีความดูดายทำร้ายตบตี พ่อ-แม่ เป็นต้น
ทีนี้เรามาดูกันว่า ที่พ่อของเพื่อคุณนั้นเสียชีวิตจริงๆเพราะสิ่งใด เพราะเป็นโรครุมเร้า เพราะสภาพร่างกายแปรเปลี่ยนไป หรือ เพราะสภาพจิตใจจากผลกระทบที่เพื่อนคุณนั้นได้ทำลงไป
1.1 หากกล่าวด้วยความเป็นโรครุมเร้า สภาพร่างกายเสื่อมตามกาลเวลานั้น เป็นเรื่องปกติของธรรม อันมีความไม่เที่ยง มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา แล้วก็สูญสลายดับไปเป้นปกติธรรม ไม่เกี่ยวกับเพื่อคุณ
1.2 หากกล่าวด้วยเรื่องผลกระทบจากใจที่เพื่อคุณกระทำนั้นเป็นส่วนกระตุ้นให้เป็นไป ตรงนี้ต้องแยกประเด็นต่างๆก่อนว่า..
1.2.1. หากท่านมีเรื่องอื่นที่ไม่สบายใจในส่วนอื่นเป็นเหตุกระตุ้นโรคทางกาย ท่านจะเป็นเช่นนี้ไหมครับ ตามธรรมชาติก็ต้องเป็นเช่นกันใช่ไหมครับ
1.2.2. หากว่าเกิดจากการแก่งแย่งชิงดีเอามรดกกันในครอบครัวจนทำให้ท่านไม่สบายใจว่า ลูกทั้งหลาย..พ่อเลี้ยงมาด้วยความรักทั้งหมดแต่กลับไม่รักใคร่กลมเกลียวอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อกัน เหตุนี้ผู้เป็นพ่อก็ย่อมเสียใจได้ กระตุ้นให้โรคร้ายเกิดขึ้นได้ใช่ไหมครับ
1.2.3. หากว่าเพื่อนคุณพอหนีไปแล้ว จิตใจของผู้เป็นพ่อ-แม่ ไม่มีผู้ใดตัดลูกขาดหรอกครับ ย่อมรักใคร่อยากให้ลูกได้ดีตามที่ตนเองพอใจต้องการ จึงเป็นการตีกรอบให้ลูกไปนั่นเอง หากเพื่อนคุณไม่หนีหายไปเลย ยังคอยกลับมาดูแลเอาใจใส่ โทรหาถามสาระทุกข์สุขดิบ เอื้อเฟื้ออนุเคราะห์แก่ท่านเสมอๆไม่ขาดหายไป แม้ไม่ประจำทุกวัน แต่ทำอยู่เนืองๆ พูดคุยด้วยความรักบุพการี มีความเอื้ออนุเคราะห์ต่อบิดามารดา ถ้าทำเช่นนี้ ไม่มีทางที่พ่อจะตรอมใจเพราะเพื่อนคุณแน่นอนครับ แต่ทว่าหากไม่เป็นไปตามนี้ คือ เพื่อนคุณหนีหายไปเลย ไม่ได้ใส่ใจว่าท่านจะอยู่จะเป็นอย่างไร ก็เป็นไปได้สูงที่จะทำให้พ่อตรอมใจเพราะห่วงและคิดถึงลูก กรรมที่เกิดจากสิ่งนี้นั้นเป็นการเว้นจากความกตัญญูต่อบิดามารดา หรือ บุพการีทั้งหลาย
- อย่างไรก้อตามแต่ เราไม่สามารถบอกได้ว่าที่พ่อเพื่อคุณเสียไปนั้นเพราะจิตใจที่มีต่อเพื่อนคุณหรือสิ่งอื่นๆ เพราะคนที่รู้ดีคือพ่อของเขาเอง
- มีเรื่องพุทธประวัติตอนหนึ่งที่ผมอยากจะกล่าวให้ฟังว่า ตอนพระพุทธเจ้าท่านหนีจากวังออกบวช พระบิดาท่านก็หาต้องการไม่ มีความเสียใจ ที่ท่านหนีไปเช่นกัน ซ้ำยังนำพระราหุลออกบวชเป็นสามเณรคนแรกอีก จึงไม่มีทายาทสืบต่อราชสมบัติเลย พระบิดาก็ทรงทรมานอัดอั้นคับแค้นใจตัดลูกตัดพ่อเช่นกัน แต่พระตถาคตเมื่อท่านได้ตรัสรู้แล้ว ท่านก็กลับมาแสดงธรรมจนพระบิดาบรรลุธรรมก่อนสิ้นใจ ทีนี้ลองพิจารณาดูครับ ผมจึงกล่าวว่าที่พ่อของเพื่อนคุณนั้นเป็นจริงๆคือสิ่งใด และ เพื่อนคุณมีความเอื้ออนุเคราะห์ต่อบิดาแม้หลีกตัวออกมาแล้วหรือไม่
บาปกรรมนั้น คือ ผลกระทบจากการกระทำใดๆแล้วทำให้เรามีความขุ่นข้องขัดเคืองใจ หมองมัวใจ ฝืดเคือง ดิ้นรน ร้อนใจ อัดอั้น-คับแค้นกายและใจ

ตอบข้อที่ 2. อันดับแรกบอกก่อนนะครับว่า
- บุญและบาป มันแก้กันไม่ได้ลบล้างกันไม่ได้ครับ แต่บาปและบุญสิ่งใดจะมีอาศัยเกิดแสดงผลก่อนนั้นอยู่ที่ว่าสิ่งใดมีมากกว่า ดั่งใส่เกลือ 1 เม็ดเล็กๆในน้ำ 1 แก้ว น้ำนั้นย่อมยังจืดอยู่ไม่เค็ม แต่หากใส่เกลือลงไปเรื่อยๆมากขึ้นๆน้ำนั้นย่อมมีรสเค็มฉันใด บุญบาปก็เป็นเหมือนกันฉันนั้น เกลือ 1 เม็ดที่หยดลงน้ำไปความมีฤทธิ์เป็นเกลือมันก็ไม่ได้หายไปจากน้ำนั้นใช่มั้ยครับ แต่เพราะมันน้อยกว่ามันจึงไม่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของเกลือนั้นออกมา แต่หากใส่เกลือไปเยอะๆ น้ำนั้นก็ยังเป็นน้ำอยู่ใช่ไหมครับ แต่กลับมีความเค็มของเกลือขึ้นมาแทน บาป-บุญก็เป็นเช่นนี้แล
- อนันตริยกรรมนั้นแก้ไม่ได้ครับ จนกว่าจะชดใช้กรรมนั้นจนหมดไป จึงจะล่วงพ้นไปได้ อย่างพระโมคคัลลานะเถระ ท่านถูกเมียยุยงแสร้งเป็นโจรไปปล้นพ่อแม่ตบตีพ่อแม่ ท่านก้อยังต้องรับกรรมตกนรกทุกๆชาติ ด้วยกรรมนั้นจนหมดไป ท่านจึงได้เป็นพระอรหันตสาวก
- ดังนั้นคุณก็ต้องบอกให้เพื่อนคุณเจริญปฏิบัติในธรรมให้มาก มีศีล พรหมวิหาร๔ ทาน สติ สมาธิ ภาวนา คิดดี พูดดี ทำดี จนเป็นปกตินิสัย แล้วแผ่บุญกุศลทั้งหลายนั้นให้แก่บิดาเขา จนกว่าตนเองจะหมดกรรมไป
- หากเพื่อนคุณเพียรเจริญปฏิบัติจนบรรลุโสดาบันได้ในชาตินี้ เพื่อนคุณจะไม่มีทางที่เขาจะตกนรก และ จะเป็นข้อยืนยันได้ว่า เขานั้นไม่ได้กระทำ อนันตริยกรรมอย่างแน่นอนครับ

ผมมีความรู้และปัญญาอันน้อยนิดพอจะแนะแนวทางและตอบปัญหาคุณได้เพียงเท่านี้ รบกวนดูคำตอบของครูบาอาจารย์ ท่านผู้รู้ ผู้เจริญ ท่านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์มากกว่าที่ผมแนะแนวทาง แล้วใช้แนวทางผมเป็นส่วนประกอบเพื่อนำไปให้เพื่อคุณปฏิบัตินะครับ
842  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ตอบคำถามจากเมล "ผู้เข้าสมาธิ ได้ยินเสียง หรือไม่ได้ยินเสียง จัดการเสียงอย่างไร" เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2012, 06:30:33 pm
สาธุขอบพระคุณพระคุณเจ้าที่แสดงอย่างละเอียดเข้าใจง่ายครับ
843  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ตอบคำถามจากเมล "เวลาเลื่อนจิต ควรเลื่อนตามลำดับ หรือ เลื่อนไปตามใจที่ชอบ" เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2012, 06:27:50 pm
สาธุ พระคุณเจ้า เป็นประโยชน์และเข้าใจง่ายมากครับ ขอบคุณท่านผู้ถามด้วยครับคำถามเป็นประโยชน์มาก
844  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต เมื่อ: มิถุนายน 29, 2012, 09:36:34 am
เมื่อใดที่ปฏิบัติให้เห็นตามความจริงนี้จนเข้าถึงอุเบกขาจิตได้ เราจะมองเห็นว่าทั้ง ๔ ข้อนั้นเกิดความสัมพันธ์เกื้อหนุนแก่กันเป็นที่สุด

โดยปกติคนอย่างเราๆนี้มันติดข้องใจไปทั้งหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดๆ เรื่องใดๆ ไม่มีใครที่อยู่ๆก็ สุข หรือ ทุกข์ หรือ มีอุเบกขาจิตเลย คนทั้งหลายต้องติดข้องใจก่อนด้วยความชอบ ไม่ชอบ (เว้นแต่มีมุทิตาจิต เป็นความโสมนัส พอใจยินดี แบบไม่ติดข้องใจใดๆ)
-  หากมองแบบความรู้สึกเฉยๆกับคนทั่วไป จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ..เรานั้นมีความติดข้องใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว เมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ไม่ได้รู้สึกเกิดความชอบ หรือ ไม่ชอบกับมัน เลยเฉยๆ แต่หากมองจริงๆมันก้อจะเกิดสลับกับความพอใจ-ไม่พอใจเสมอ
-  หากมองแบบอุเบกขาจิตที่เป็นกุศลสำหรับคนอย่างเราๆที่พอจะรู้ธรรมบ้างแล้ว จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ..เรานั้นมีความติดข้องใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว เมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสแล้ว มองเห็นตามความสัจจ์จริงดังนี้ว่า..ติดข้องใจไปก็หาประโยชน์ใดๆไม่ได้ ทั้งแก่ตนเอง และ ผู้อื่น รังแต่จะเบียดเบียนตนเองและคนอื่นเปล่าๆ ไม่ว่าจะติดข้องใจทั้งในความพอใจ หรือ ไม่พอใจ ผลของมันต่างก็เป็นทุกข์ ดังนั้นเราควรละความติดข้องใจนั้นๆเสีย จากนั้นจิตเราจึงเกิดเพียงความมีใจกลางๆ ที่เสพย์ขึ้นพร้อมกับสมาธิจิตที่ สงบ อบอุ่น ผ่องใส

ผมได้ทำการพิจารณาซ้ำไปซ้ำมากลับไปกลับมาได้ค้นพบตามลำดับดังนี้ว่า

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เกิดความติดข้องใจ --> จึงอยากรู้ --> อยากดู อยากเห็น --> อยากได้ยิน ได้ฟัง --> อยากได้กลิ่น --> อยากลิ้มรส -->

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เพราะมีความติดข้องใจ --> จึงเจตนาที่จะรู้ --> จึงมองดูเพื่อให้เห็น --> จึงเงี่ยหูฟังเพื่อให้ได้ยิน --> จึงใช้จมูกสูดดมเพื่อให้รู้กลิ่น --> จึงดื่ม-กินเพื่อให้รู้รส --> จึงพยายามแตะสัมผัสทางกายเพื่อให้รับรู้ถึงความรู้สึกจากการผัสสะกับสิ่งนั้นๆ -->

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เพราะมีความติดข้องใจ --> เมื่อเห็นตามต้องการแล้ว --> เมื่อได้ยินตามต้องการแล้ว --> เมื่อได้กลิ่นตามต้องการแล้ว --> เมื่อรู้รสตามต้องการแล้ว --> เมื่อรู้สัมผัสทางกายตามต้องการแล้ว--> เสพย์เป็นความรู้สึกพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี --> เสวยอารมณ์เป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ กาย-ใจ --> เกิดเป็นความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ --> ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง --> ตัณหา -->

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> พิจารณาตามจริง เห็นตามสัจธรรม รู้สภาพจริง --> เมื่อเราไม่มีความติดข้องใจ -->  แม้เห็นแล้ว --> แม้ได้ยินแล้ว --> แม้ได้กลิ่นแล้ว --> แม้รู้รสแล้ว --> แม้รู้สัมผัสทางกายแล้ว--> ไม่เกิดความพอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี --> เสวยความรู้สึกมีใจกลางๆ ไม่สุข  ไม่ทุกข์ --> ไม่เกิดเป็นความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ --> ไม่เกิดตัณหา


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทุกอย่างเกิดที่ใจผมจึงเน้นที่ ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เมื่อมีทั้ง 2 สิ่งนี้จึงดำเนินไปในสิ่งที่เราเสวยอารมณ์ว่า สุข ทุกข์ จนเกิดเป็นตัณหาทั้งหลาย

ตัณหามี 3 ข้อดังนี้
๑ ภวตัณหา  ความอยากมีอยากเป็น อยากพบ อยากเจอ อยากเห็น อยากได้ ต้องการ พอใจ ยินดี ใคร่ได้ รวมไปถึงอยากได้ อยากเป็น อยากมี อย่างคนโน้น-คนนี้(ความอิจฉา) เช่น อยากให้คนรัก อยากรวย เป็นต้น
๒ วิภวะตัณหา ความอยากที่จะไม่ให้ตนเองได้พานพบเจอกับสิ่งที่ตนไม่ชอบ ไม่ต้องการ ไม่ใคร่ได้ ไม่ยินดี อยากจะผลักหนีให้ไกลตน เช่น ไม่อยากพรัดพราก ไมอยากผิดหวัง ไม่อยากให้คนด่าว่ากล่าว เป็นต้น
๓ กามตัณหา ความพอใจยินดีในกาม กำหนัดใคร่ได้ ทะยานอยากในกาม

เวทนา
เวทนา 2 (การเสวยอารมณ์)
1.กายิกเวทนา (เวทนาทางกาย)
2.เจตสิกเวทนา (เวทนาทางใจ)

เวทนา 3 (การเสวยอารมณ์, ความรู้สึกรสของอารมณ์)
1.สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม)
2.ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม)
3.อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา)

เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์)
1.สุข (ความสุข ความสบายทางกาย)
2.ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย)
3.โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ)
4.โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ)
5.อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ)

เวทนา 6 (การเสวยอารมณ์)
1.จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา)
2.โสต-เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู)
3.ฆาน-เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก)
4.ชิวหา-เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น)
5.กาย-เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย)
6.มโน-เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ)

จากหนังสือ "พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม" พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) ปัจจุบันท่านดำรงสมณะศักดิ์ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ ครับ

ขอขอบคุณที่มาจากคุณวิท http://larndham.org/index.php?/topic/18784-%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

อารมณ์ กับ ธัมมารมณ์
ลองดูคำว่า  "อารมณ์" กันก่อนละกันนะคับ
จะได้เข้าใจคำว่า "อารมณ์" ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นน่ะคับ

คำว่า "อารมณ์"  หมายถึงสิ่งที่จิตรู้
จิตกำลังรู้สิ่งใด...สิ่งนั้นนั่นแหละเป็นอารมณ์ของจิตในขณะนั้น
อันนี้คิดว่าคงเข้าใจแล้วนะคับ  แต่จะแยกออกให้เห็นดังนี้คือ....

ทางตา........รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  รูปารมณ์  (สี)
ทางหู.........รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  สัททารมณ์  (เสียง)
ทางจมูก....รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  คันธารมณ์  (กลิ่น)
ทางลิ้น.......รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  รสารมณ์  (รส)
ทางกาย.....รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้น (แต่มี 3 ลักษณะ) คือ  โผฏฐัพพารมณ์
(ได้แก่สัมผัสทางกาย  คือสภาพที่เย็นร้อนอันได้แก่ธาตุไฟ...อ่อนแข็งอันได้แก่ธาตุดิน...เคร่งตึงหรือไหวเคลื่อนอันได้แก่ธาตุลม)


สำหรับทางใจ
จะรับรู้อารมณ์ต่อจากทางตา  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกาย
ก็คือรับรู้  รูปารมณ์  สัททารมณ์  คันธารมณ์  รสารมณ์  โผฏฐัพพารมณ์
และนอกเหนือจากอารมณ์ทั้ง 5 ที่กล่าวมาแล้ว
ทางใจยังรับรู้อารมณ์อื่นๆ อีกทั้งหมด
ซึ่งไม่สามารถรับรู้ทางตา  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกายเลย

สิ่งที่รับรู้ได้เฉพาะทางใจอย่างเดียวเท่านั้น....นี่แหละคับเรียกว่า  "ธัมมารมณ์"
ซึ่งเมื่อประมวลแล้วก็ได้แก่....ปสาทรูป...สุขุมรูป (รูปที่ละเอียด)...จิตและเจตสิกทั้งหมด...นิพพาน
และบัญญัติธรรม (ชื่อ คำ เรื่องราว ความหมายต่างๆ ฯลฯ)

จะเห็นได้ว่าทางใจนี่รับรู้ได้หมดทุกอารมณ์เลย
สมจริงดังว่า...ทุกอย่างรวมลงที่ใจ

จะสังเกตได้นะคับว่า
รูปารมณ์...สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์
อารมณ์ทั้ง 5 นี้แม้เมื่อทางใจรับรู้ต่อจากทางปัญจทวารแล้ว
ก็ยังคงเป็น  รูปารมณ์...สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์  อยู่นั่นเอง
ไม่ได้กลายไปเป็น  ธัมมารมณ์  แต่อย่างใดนะคับ

สิ่งไหนที่เป็นอารมณ์อย่างใด  ก็ต้องเป็นอย่างนั้นเสมอ
ไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาน่ะคับ
เช่น  สี  เมื่อรับรู้ทางตา  เป็นรูปารมณ์
พอมารับรู้ทางใจ  ก็ยังคงเป็นรูปารมณ์  ไม่ใช่ไปเป็น  ธัมมารมณ์  น่ะคับ
เสียง  กลิ่น  รส  ธาตุดิน/ธาตุไฟ/ธาตุลม  ก็เช่นกันคับ
แม้ทางใจจะรับรู้ต่อจาก  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกายแล้ว
ก็ยังคงเป็น  สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์
ไม่ใช่กลายไปเป็น  ธัมมารมณ์  น่ะคับ

แต่ว่า...สิ่งที่นึกคิดต่อเนื่องออกไปอีกนั้นเอง  คือ ธัมมารมณ์
เช่น  ทันทีที่ทางตารับรู้รูปารมณ์ (สี)...แล้วทางใจก็รับรู้รูปารมณ์นั้นต่อ
หลังจากนั้น...ก็นึกคิดเป็นชื่อ  คำ  เรื่องราวความหมายต่างๆ ขึ้นมา
เป็นคน  เป็นสัตว์  เป็นสิ่งของต่างๆ ขึ้นมา...ตรงนี้แหละที่เป็น  ธัมมารมณ์
แล้วก็เกิดความชอบ-ชัง  รัก-เกลียด  ฯลฯ ตามมา...นี่ก็เป็นธัมมารมณ์อีกเช่นกันน่ะคับ


ขอขอบคุณพี่เดฟแห่งวัดเกาะ ที่อธิบายความหมายของ ธรรมารมณ์  ให้เข้าใจอย่างละเอียดตามข้างต้นนี้ครับ

ธัมมารมณ์ แปลว่า สภาพธรรมที่สาธารณแก่ใจเป็นอารมณ์  สิ่งที่รู้ด้วยใจ ความปรุงแต่งจิต ความนึกคิดต่างๆ สิ่งที่ใจผัสสะรับรู้ทางทวารทั้ง๕ คือ รูป เสียง รส กลิ่น โผฏฐัพพะ ได้แก่ สภาว ธรรม ๖ ประการ คือ ปสาทรูป ๕, สุขุมรูป ๑๖, จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, นิพพาน และ บัญญัติ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก ทางใจ (ทางมโน)
รวมอารมณ์ทั้ง ๖ นี้เรียกว่า ฉอารมณ์
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ อันรวมเรียกว่า ปัญจารมณ์ หรือ อารมณ์ทั้ง ๕
นี้เป็น รูปธรรม
ส่วน ธัมมารมณ์ นั้น จิต เจตสิก และนิพพาน เป็น นามธรรม ปสาทรูป ๕ และสุขุมรูป ๑๖ เป็น รูปธรรม เฉพาะบัญญัติ นั้น ไม่ใช่รูปธรรม และไม่ใช่นาม ธรรมด้วย แต่เป็น บัญญัติธรรม

อารมณ์ทั้ง ๖ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และ ธัมมารมณ์ นี้ จำแนกได้เป็น
๔ นัย คือ
๑. กามอารมณ์ ๒. มหัคคตอารมณ์
๓. บัญญัติอารมณ์ ๔. โลกุตตรอารมณ์

ดูกรอุปวาณะ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ
แล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความ
กำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภาย-
ใน อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความ
กำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึง
เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน ฯ

นึกคิดเป็นสังขารขันธ์
ในเจตสิก 52 เว้น เวทนา สัญญา อีก 50 ที่เหลือเป็น สังขารขันธ์ เกิด ดับพร้อมจิต


ขอคุณที่มาจากคุณมโนเกษม
http://larndham.org/index.php?/topic/32071-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6/
845  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เพื่อน ๆ มีความเห็นกันอย่างไร กับกรณ๊ ที่มีคลิป แอบถ่ายในโรงหนัง เมื่อ: มิถุนายน 28, 2012, 09:57:59 pm
จริงๆทุกวันนี้โลกมันวิวัฒนาการเยอะมันก็เป็นส่วนนึงให้มีเหตุการณ์เช่นนี้
แต่ทว่า เราก็ต้องยอมรับมันเพราะไม่สามารถที่จะแก้ให้มันเป็นดังใจต้องการได้ทั้งหมด
แล้วคุณก็ไม่ต้องกลัวอะไร หากคุณไม่ได้ทำอะไรผิดในที่ที่ไม่เหมาะสม เพราะตอนนี้ที่คุณเกิดเรียกว่าวิตกจริตเกินไป สิ่งที่เป็นประโยชน์กับคุณในตอนนี้มากกว่ามานั่งคิดวิตกฟุ้งซ่าน คือ ประครองตนเองให้ดี ไม่ไห้ไปทำอะไรที่ไม่ดี-ไม่ควร-ไม่เหมาะในสถานที่ๆไม่เหมาะสม หากคุณประครองตนเองไว้ดีไม่ให้ไปทำแบบที่เป็นข่าว คุณก็ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งนั้น เพราะจะไม่มีสิ่งที่ไม่ดีของคุณออกมาแน่นอน

ดั่งคำที่ว่า

- คนทำดีไปอยู่ที่ไหนก็สุขกายสบายใจ เพราะไม่ได้ทำผิดอะไรต่อ บุคคล สิ่งของ หรือ สถานที่ใด
- คนทำไม่ดีไปอยู่ที่ไหนก็ไม่มีความสุข มีแต่ความหวาดกลัว ระแวง วิตกขุ่นมัวใจ เพราะไปทำอะไรที่ผิด ที่ไม่ดีไว้ต่อ บุคคล สิ่งของ หรือ สถานที่ใดๆ
846  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ) เมื่อ: มิถุนายน 28, 2012, 04:52:05 pm
                            พราหมณสูตร
                    ว่าด้วยปฏิปทาเพื่อละฉันทะ

[๑๑๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี
ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

[๑๑๖๓] ดูกรท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์
อะไร?
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อละ
ฉันทะ.
[๑๑๖๔] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคา ปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น มีอยู่หรือ?
อา. มีอยู่ พราหมณ์.
[๑๑๖๕] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน?
อา. ดูกรพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันท-
*สมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิ
และปธานสังขาร นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น.
[๑๑๖๖] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันทะนั้นยังมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี
บุคคลจักละฉันทะด้วยฉันทะนั่นเอง ข้อนี้มิใช่ฐานะที่มีได้.
อา. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร
พึงแก้อย่างนั้นเถิด.
[๑๑๖๗] ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ในเบื้องต้นท่านได้มี
ความพอใจว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่
หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความเพียรว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว
ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความคิดว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความ
คิดที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้ตริตรองพิจารณาว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว
ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
[๑๑๖๘] อา. ดูกรพราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนถึงแล้วโดย
ลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น ในเบื้องต้นก็มี
ความพอใจเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มี
ความเพียรเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มี
ความคิดเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มีความ
ตริตรองพิจารณาเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป.
[๑๑๖๙] ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? เมื่อเป็นเช่นนั้น ความ
พอใจนั้นยังมีอยู่หรือว่าไม่มี?
อุณ. ข้าแต่ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ความพอใจก็มีอยู่โดยแท้ ไม่มีหามิได้
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้ง
นัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ท่านประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระอานนท์จงจำ
ข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.


                            จบ สูตรที่ ๕


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๗๙๖ - ๖๘๔๓. หน้าที่ ๒๘๓ - ๒๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6796&Z=6843&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1162
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_19
847  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เพื่อนพาเพื่อน ไปทำแท้ง มีผลกรรมอย่างไรบ้างคะ เมื่อ: มิถุนายน 24, 2012, 06:14:36 pm
- เรามีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย กรรมนั้นจะเป็นกุศลหรืออกุศล จะมากหรือน้อย อยู่ที่เจตนาที่ทำให้เราได้กระทำไปนั้นเป็นใหญ่
- หากเกิดความอัเอ้น คับแค้น ไม่สบายกาย-ใจ ทุกข์โศรกเสียใจ นั่นก็มาจากผลการกระทำที่เราได้ทำไว้จะมากน้อยก็อยู่ที่การกระทำโดยเจตตานั้น ดั่งกฎที่ว่า แรงส่งของวัตถุๆหนึ่งมีมากเท่าไหร่ เมื่อไปกระทบกับสิ่งใดๆ ผลสะท้อนกลับจากการณ์นั้นก็จะมีความแรงเท่ากันกับแรงที่กระทำ เหมือนคุณเอากำปั้นไปชกกำแพง คุณชกไปแรงเท่าไหร่ผลลัพทธ์ที่สะทอนกลับมาให้คุณเจ็บก็รุนแรงท่านั้นฉันใด ผลของบาปและบุญที่คุณกระทำลงไปมากน้อยเท่าใดก็จะย้อนกลับมาสนองคืนคุณมากน้อยเท่ากันฉันนั้น
848  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เราว่าเราลำบากแล้ว ยังมีคนอื่น ลำบากมากกว่าเราอีก เมื่อ: มิถุนายน 16, 2012, 05:27:04 pm
ในความคิดความรู้สึกผมนะครับ

- คนเราเกิดมาก็ทุกข์กันทุกคน เราไม่สามารถเลือกเกิดได้ว่า จะเกิดมาสบาย หรือ จะเกิดมาลำบาก แต่สิ่งที่เรานั้นเลือกได้ คือ เลือกที่จะ คิด พูด ทำ ในสิ่งใด นั่นคือจะ คิด พูด ทำ ในสิ่งที่เป็น กุศล หรือ อกุศล
- ลองดูไหมครับว่าความทุกข์ยากคับแค้นใจทั้งหลายที่เกิดแก่เรานั้น มันเกิดมาจากความไม่พอใขยินดีที่มีแก่ใจเรา ที่เราให้ความสำคัญมั่นหมายไว้ว่า รูปที่เห็นแบบนี้ เสียงที่ได้ยินแบบนี้ กลิ่นที่ได้สูดดมแบบนี้ การถูกกระทบสัมผัสทางกายแบบนี้ เรานั้นไม่พอใจยินดี ก็จะทำให้เรานั้นรู้สึกขุ่นมัวใจ คับแค้นอัดอั้นกาย-ใจ โศรกเศร้า เสียใจ ไม่สบายกาย-ใจ นั้นคือความทุกข์นั้นเอง // จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเพราะเรานั่นเองที่ไปติดข้องใจจากปรุงแต่งใดๆของจิตที่มีต่อสิ่งนั้นๆ แล้วเอามาเสพย์เป็นอารมณ์ความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี มันจึงสืบไปต่อเป็น ภวะตัณหา วิภวะตัณหา กามตัณหา จนก่อให้เกิดความทุกข์แก่เรานั่นเองครับ หากเราละที่ความติดข้องใจนั้นๆได้โดยความวางใจไว้กลางๆ พร้อมระลึกนึกคิดว่าเราติดข้องใจไปจนเสพย์ความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดีมันก็หาประโยชน์แก่เราไม่ได้นอกจากความทุกข์ แล้ววางเฉยต่อความติดจ้องใจนั้นๆ เราก็จะไม่ทุกข์กับมันอีก
- หากสิ่งที่เราทำ เราทำด้วยความสุขใจที่ได้ทำ หรือ ทำเพราะรู้ว่าทำไปเพื่อใครเพื่อสิ่งใด ผลตอบแทนที่ได้มานั้นเราได้นำมันไปใช้ประโยชน์อะไร ใช้เพื่ออะไรบ้าง หยาดเหงื่อทุกหยดนั้นมันมีค่ามากแค่ไหนสำหรับตัวเราและคนใกล้ชิดรอบข้างเรา เราก็จะมองเห็นว่าสิ่งนั้นแม้มันเหนื่อยหนักแต่มันก้คุ้มค่าเป็นที่สุด แถมยังทำให้เราเป็นคนสู้งานด้วย วันหน้าเมื่อเจองานหนักหรืองานเบาเราก็จะไม่หวั่นกลัวเพราะเราได้ผ่านประสบการณ์ที่ได้ทำงานหนักมาแล้วถือเป็นการฝึกปรือตนเองไปด้วย "นี่คือกำไรชีวิตจากความเหน็ดเหนื่อย" ผมเองก็ทำงานลำบากเงินเดือนน้อยเหนื่อย ร่างกายก็ทรุดโทรมเพราะงานและสภาพแวดล้อมไปเช่นกัน แต่ผมทุกข์กับมันน้อยหน่อยเพราะผมรู้ว่าสิ่งที่ผมทำไปนั้นมันมีค่าและเป้นประโยชน์ต่อผมและใครบ้าง เวลาเห็นคนลำบากกว่าเราผมก้เข้าใจในสิ่งที่เขาต่อสู้ หากเรานั้นมีมากกว่าเขาเราก็สามารถที่จะแบ่งปันความเหนื่อยของเราแก่คนที่ด้อยกว่าเพื่อให้เขาได้ใช้ประโยชน์จากสิ่นนั้น นี่ก็ถือเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง เป็นความภูมิใจที่ว่าสิ่งนั้นเราสามารถทำได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราซึ่งผลจากความเหน็ดเหนื่อยของเราสามารถเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นได้ด้วยถึงแม้จะไม่รู้จักกันก็ตามที
- ส่วนเรื่องของคุณตาท่านั้น ท่านก็สู้อดทนทำไปแม้เหนื่อยลำบากแต่ค่าตอบแทนที่ได้รับนั้นท่านรู้ว่ามันมีประโยชน์แก่ใคร และ ความสามารถที่ท่านมีก็สามารถทำเพื่อคนที่รักได้ด้วยแม้เหนื่อยแต่มันก็คุ้มค่าสำหกรับท่าน ท่านจึงอดทนทำไปไม่บ่นท้อถอย

- ทั้งหมดคือแง่คิดวิเคราะห์ทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยเหตุและผลจากเรื่องราวข้างต้นแล้ววางใจไว้กลางๆไม่ยึดติดกับมัน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติเจริญปฏิบัติใน อุเบกขา แห่ง โภชฌงค์ ๗

ความคิดผมเข้าใจมาเช่นนี้หากไม่เป็นแนวทางความคิดที่ดีก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
849  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ เมื่อ: มิถุนายน 16, 2012, 03:35:29 pm
สาธุ วิธีที่ท่าน aaaa & ท่าน colo โพสท์แนะแนวทางนั้นเป็นประโยชน์และใช้ได้จริง ผมก้ได้น้อมนำมาใช้ด้วยเช่นกันครับ ขอบพระคุณครับ
850  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ เมื่อ: มิถุนายน 15, 2012, 02:20:48 pm
1. หากเป็นแนวทางของผมนะครับ

ลองค่อยๆอ่านกระทู้แรกที่ผมตอบดูนะครับ ผมจะบอกว่า เมื่อเวลาที่จิตเราฟุ้งซ่าน มันมาจากเราไปหยิบจับเอาธัมมารมณ์ คือ สิ่งที่รู้ด้วยใจ สังขารที่ปรุงแต่งจิต สิ่งที่เป็นเรื่อง สมมติบัญญัติทางใจ แม้คุณจะไม่รับรู้ยินเสียง ไม่รับรู้กลิ่น ไม่รับรู้รส ไม่รับรู้การกระทบสัมผัสทางกาย แต่อย่างไรใจคุณก็จะปรุงแต่งเรื่องราวต่างๆนาๆ ตามที่คุณเคบได้สัมผัสรับรู้มาก่อนแล้วจดจำไว้ โดยมันจะคิดถึงเรื่องราวต่างๆที่เคยเกิดขึ้นจากนั้นก็ปรุงแต่งเป็นเรื่องราวทั้งตามที่ตนเองพอใจยินดี ไม่ว่าจะเป็นด้วย โลภะ หรือ โทสะ ก็ดี เมื่อคุณจับเอาเรื่องราวความตรึกนึก หรือ มโนภาพต่างๆที่สร้างขึ้นจากความจำได้จำไว้และสมมติไปต่างๆนาๆเหล่านั้นมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต คุณก็จะเสพย์เวทนานั้นๆ(ความสุขใจ ความทุกข์ใจ)ตามความจดจำและเรื่องราวสมมติที่คุณยกเอามาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิตขึ้นมาทันที // นี่คือภาวะการเสพย์เวทนาความเป็น สุข และ ทุกข์ จากธัมมารมณ์

2. สภาวะที่ผมใช้แก้ทางแล้วเกิดเห็นผลได้มีดังนี้ครับ

2.1 คิดย้อนความคิด
2.1.1 เมื่อธรรมชาติจิตมันคิด ดั่งคำที่ว่า ธรรมชาติใดคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่าจิต เราก็ใช้สติและสมาธินำกุศลวิตก คิดย้อนดูมันว่าที่เรามีความคิดฟุ้งซ่านต่างๆนาๆนั้นมันมาจากความจดจำในเรื่องใด เราสำคัญมั่นหมายในใจไว้อย่างไร จึงทำให้ตรึกนึกถึงประกอบกับความ รัก โลภ โกรธ หลง อยู่เนืองๆ เช่น ตรึกนึกว่ามีคนมาด่าเรา ขณะที่ตรึกนึกเอามาตั้งเป็นอารมณ์นั้นๆ เราให้ความสำคัญมั่นหมายแก่ใจต่อสิ่งนั้นว่า เรามีความพอใจยินดี หรือ เราไม่มีความพอใจยินดี เพราะเรามีความสำคัญไว้เช่นนี้จึงก่อให้เกิดความตรึกนึกประกอบกับความ รัก โลภ โกรธ หลง จนเสพย์เวทนาความ ไม่สบายกาย และ ใจ เพราะพอใจยินดีก็ชอบทะยานอยากได้ต้องการ ไม่พอใจยินดีก็โกรธคับแค้นใจทะยานอยากผลักหนีให้ไกลตน เป็นต้น ให้ดับที่ความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีที่เราสำคัญไว้นั้นๆ โดยระลึกอย่างนี้ว่าเราให้ความสำคัญมันไปมากเท่าไหร่ เราก็จะตรึกนึกและทุกข์มากเท่านั้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นแค่สิ่งที่ผ่านมาแล้ว แล้วเราจดจำเอามานึกคิดสร้างเรื่องราวเองจาเกิดเป็นทุกข์ ให้ระลึกรู้ไว้ว่าความเป็นจริงในปัจจุบันขณะนี้แล้ว เรานั้นกำลังทำสมาธิอยู่ เดินอยู่ นั่งอยู่ เป็นต้น // แล้ววางใจไว้กลางๆไม่ตั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี ด้วยใจที่รู้เจริฐปฏิบัติในการมีความเป็นกุศลแห่ง ศีล หรหมวิหาร๔ ทาน คิดดี พูดดี ทำดี
2.1.2 สร้างความคิดที่ทำให้ใจเราเป็นสุขย้อนความคิดที่ ติดข้อง ขัดข้องมัวหมองใจ โดยขณะนั่งสมาธิอยู่นั้น ให้คุณละความคิดขุ่นมัวใจออก แล้วสร้างมโนภาพหรือความคิดที่ทำให้คุณเป็นสุข โดยในสิ่งนั้นต้องเป็นเรื่องกุศล เช่น ได้ทำบุญทำทานตามความพอใจยินดี ได้สมาธิที่งดงาม ได้อยู่ในที่ๆเป็นสุขกายสบายใจ ได้พบเจอพระพุทธเจ้า เป็นต้น เพื่อให้จิตใจคุณนั้นเกิดความปิติโสมนัส ตามฉันทะเจตสิก โดยเมื่อปรุงแต่งในความเป็นกุศลแล้ว จิตจะปิติยินดีโดยตัดจากความโลภเข้าสู่กุศล

2.2 เลือกสิ่งที่ควรเสพย์
๑. เลือกความพอใจยินดีที่ควรเสพย์ และ ไม่ควรเสพย์ ๒.เลือกความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์ และ ไม่ควรเสพย์ ๓.เลือกความวางเฉยมีใจเป็นกลางๆที่เควรเสพย์ และ ไม่ควรเสพย์ โดยสิ่งไหนที่ดีเป้นกุศลที่ควรจะเสพย์เป็นอารมณ์ ให้เลือกเจริญปฏิบัติในสิ่งนั้น และ ละไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ควรจะเสพย์ ข้อนี้ต้องอาศัยความมี สติ และ สัมปชัญญะ เป็นอย่างมาก เพราะจะต้องใช้พิจารณาในสิ่งที่ถูก ที่ควร ที่ดีงาม ที่เราควรจะทำ แล้ว เลือกเจริญปฏิบัติในสิ่งนั้น ดังนั้นในข้อนี้ต้องอาศัย ความเห็นชอบ และ พรหมวิหาร๔ เป็นเบื้องต้น

2.3 ยอมรับตามความจริง
คือการเข้าใจความเป้นจริงในสัจธรรม รู้เห็นจริงตามสัจธรรม มี ศีล ความเห็นชอบ และ พรหมวิหาร๔ และ ทาน เป็นเบื้องต้น เพื่อละในความติดข้องใจจากความตรึกนึก และ สมมติ นั้นๆ เพราะมันไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดๆแก่เรานอกจากทุกข์ (ดูได้ในข้อที่ 2. ทางดับทุกข์นั้น ในกระทู้แรกที่ผมตอบคุณไป)

2.4 ระลึกรู้กึ่งวิปัสนา
2.4.1 เมื่อเกิดความนึกคิดแล้วเสพย์เวทนาต่างๆไม่ว่าจะเป็น สุข ทุกข์ เฉยๆ มีความดำเนินไปของกิเลสที่เป็นอย่างไร เช่น รักใคร่ได้ยินดี โลภ โกรธ หลง
- หากคุณคิดในทางที่เป็นไปเพื่อความ รัก โลภ โกรธ หลง ก็ให้รู้ว่าขณะนั้นเรามีความคิดที่เป็น "อกุศลจิต" อยู่
- หากคุณคิดไปในทางที่ไม่เบียดเบียนทำร้ายคนอื่น คิดดำรงอยู่ในความที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ปารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข อนุเคราะห์เอื้อประโยชน์แก่ผู้อื่น รู้จักการอดโทษแก่คนอื่น รู้จักการให้เพื่อให้ผู้รับเป็นสุขโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนกลับคืน ยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุข ให้รู้ว่าขณะนั้นคุณมีความคิกที่เป็น "กุศลจิต"
2.4.2 เมื่อรู้ในความคิดแล้ว ให้มารู้ในสภาพความจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นแก่เราว่ารู้สึกเช่นใดอยู่ 
- หากสติระลึกรู้ความรู้สึกในขณะนั้นว่า มีความอัดอั้นใจ อึดอัดใจ คับแค้นใจ ขุ่นมัวใจ ทะยานใจ กรีดใจ หวีดใจ หวิวใจ ติดข้องใจ เป็นต้น นี่คือ อกุศลจิต
- หากสติระลึกรู้ความรู้สึกในขณะนั้นว่า มีความสงบ อบอุ่น ปิติยินดี อิ่มเอมใจ สุขกาย สบายใจ โดยตัดขาดจากความติดข้องใจ ไม่ติดข้องต้องการ ไม่ขุ่นมัวขัดข้องใจ เป้นต้น นี่คือ กุศลจิต
- ให้ระลึกรู้ในสภาพความคิดกึ่งวิปัสนานี้ไปเรื่อยๆ ใจเราจะจดจ่อรู้สภาพความจริงที่เรียกว่า ปรมัตถธรรมมากขึ้น กว่าที่เราจะไปเสพย์เวทนาจากความคิดปรุงแต่ง บัญญัติ ในธัมมารมณ์

2.5 ระลึกรู้คิดแยกจิตว่างออกจากการความคิดปรุงแต่ง
- ขณะคุณรู้ตนว่ากำลังคิดอกุศลอยู่ ในขณะนั้นสภาพจิตที่เป็นอกุศลของคุณจะเกิดขึ้นสลับกับสติความระลึกรู้และรู้ตัว คุณจะรู้ทันทีว่าในขณะนั้นทั้งกุศลจิตและอกุศลจิตจะเกิดขึ้นสลับกันไปมาไม่รู้จบ หากคุณเอาจิตไปจับเอาความตรึกนึกใดมาตั้งเป็นอารมณ์ คุณก็จะเสพย์เวทนาจากความรู้สึกนึกคิดนั้นๆทันที เช่น ในขณะที่คุณกำลังคิดเรื่องคนรักเรื่องผิวพรรณรูป การเสพย์กาม(อันนี้ยกตัวอย่างนะครับ)อยู่นั้น จากนั้นเมื่อคุณมีสติระลึกรู้ว่าคุณกำลังคิดติดข้องในกามารมณ์ ตามความกำหนัดใคร่ได้ยินดีของตนอยู่ ซึ่งมันเป็นสิ่งไม่ดีงามไม่ควรจับยึดเกาะ เป็นสิ่งที่ควรละ สภาพจิตในขณะนั้น โลภ+ราคะ จะเกิดดับสลับกับ สติ-กุศลวิตก ความระลึกรู้และนึกคิดที่เป็นกุศลเสมอ
- หากคุณไปหยิบจับเอาเรื่องกามมาตั้งเป็นอารมณ์ตรึกนึก คุณก็จะเสพย์เวทนาจากกิเลสตัณหานั้นๆทันที
- หากคุณไปหยิบจับเอาความคิดที่รู้ตนและรู้ว่าาสิ่งที่คิดอยู่นั้นมันไม่ดี ควรละเสียให้ได้ คุณก็จะเสพย์เวทนาจากกุศลเจตสิกนั้นๆทันที(แต่จะทานกับตัณหาได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับกำลังของสติที่คุณมีอยู่นะครับ)
- เมื่อรู้ความเป็นไปจริงๆของการเกิดดับของจิตและความคิดที่เกิดขึ้นกับคุณเป็นเบื้องต้นในระดับความคิดอย่างนี้แล้ว ให้คุณสร้างมโนภาพคิดเป็นเส้นแบ่งในใจดังเช่นว่า เส้นฝั่งซ้ายคือกองกิเลส เส้นฝั่งขวาเป็นกุศล สติ แล้วระลึกว่ามีอีกเส้นเป็นขีดระนาบแบ่งกลางระหว่าง 2 เส้นนั้น แล้วพึงระลึกในใจว่าหากคุณคิดอกุศลเท่ากับคุณเอนเอียงใจไปฝั่งซ็าย หากคุณคิดกุศลเท่ากับคุณเองเอียงไปด้านขวา ดังนั้นทิ้งความคิดทั้ง 2 ฝ่ายนั้นเสีย แล้ววางใจให้อยู่กลางๆ ไม่หยิบจับเอาความตรึกนึกใดๆมาตั้งเป็นอารมณ์ เพราะติดข้องใจในตรึกนึกใดๆนั้น ความฟุ้งซ่านและความทุกข์ย่อมเกิดแก่ตน ให้พยายามประครองใจให้อยู่ในเส้นระนาบกลางๆ แรกๆที่ทำนั้น สภาพ อกุศล และ กุศล และ ความมีใจกลางๆ(อุเบกขาจิตก็เป็นกุศลเช่นกันนะครับเพียงแต่จะไม่ยึดจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาเป็นอารมณ์แต่จะวางใจอยู่กลางๆ) จะเกิดดับสลับกันไป-มา พอเมื่อเริ่มมีสติ-สัมปชัญญะมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น หรือ เริ่มชัดเจนในใจมากขึ้นสภาพความมีใจกลางๆจะเกิดมากขึ้น จนเข้าได้ถึงสภาพว่างได้

ดูวิธีวางอุเบกขาจิต เพิ่มเติมได้ตาม Link นี้ครับ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0


3. วิธีที่ดีๆที่พระคุณเจ้าท่านได้แนะแนวทางไว้ รวมไปถึงหลายท่านที่ให้แง่คิดแนะแนวทางที่ดีและเป้นประโยชน์กว่าแนวทางของผมมาก ซึ่งให้ประโยชน์ได้ไม่จำกัดกาล ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6327.0


สุดท้ายบุญใดๆที่ผมได้กระทำมาแล้วในอดีตและปัจจุบันกาล ของบุญนั้นได้ส่งผลให้คุณพบทางที่สว่างงดงาม ตัดจากความฟุ้งซ่านใจได้ และพบความสุขตลอดสิ้นกาลนานเทอญ
851  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: 'สุญญตสมาธิ' คืออะไร..?? เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 10:50:54 pm
สาธุเป็นประโยชน์มากครับ
852  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 10:18:54 pm
ผมขอแสดงความคิดเห็นโดยส่วนตัวของผมเท่าที่จับใจความได้ในกระทู้ที่คุณกล่าวมานะครับว่า

1. เหตุของความกระวนกระวายใจไม่เป็นสุขสงบ

- ความกระวนกระวายใจ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อจิตใจคุณคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่าน ผมก็เป็นเช่นกันครับ เมื่อบางครั้งอยู่ๆใจมันคิดมากปรุงเรื่องราวไปทั่วเกิดเป็นความทะยานอยากจะทำนั่นทำนี้ อยากใคร่จะได้เสพย์อารมณ์ทีพอใจ หรือ ทะยานอยากที่จะให้สิ่งที่เราไม่ชอบไม่ต้องการนั้นไม่คืบคลานเข้ามาหา หรือ อยากจะผลักสิ่งนั้นๆให้หนีไกลออกไปจากชีวิตตน

1.1 อาการที่เกิดจากความตรึกนึกกลัว
- หากสิ่งที่กระวนกระวายใจเกิดขึ้นจากความกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น มันมาจากการที่เราให้ความสำคัญมั่นหมายแก่ใจแล้วตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ประกอบกับ รัก โลภ โกรธ หลง อยู่เนืองๆอย่างนี้ว่า เราชอบพอใจ ใคร่ยินดีต้องการที่จะให้ บุคคล หรือ สิ่งของ ในเรื่องราวต่างๆที่เราตรึกนึกอยู่นั้น ให้มันเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ให้ทุกอย่างดำเนินเป็นไปดั่งที่ใจเรานั้นพอใจยินดี เช่น อยากให้มีคนมารัก มีคนเมตตาเห็นใจ อยากให้ตนเองทำงานดีๆมีเงินเยอะๆ อยากให้ตนเองไม่มีหนี้สิน อยากจะอยู่กับคนที่เรารักโดยคนที่เรารักนั้นยอมและเข้าใจเราเสมอๆ อยากให้คนหรือสิ่งของที่เรารักนั้นอยู่กับเราตลอดไป พร้อมนึกปรุงแต่งเรื่องราวที่พอใจยินดีว่าถ้าได้อยู่หรือเป็นไปแบบที่เราพอใจนี้มันจะมีสุขมาก เป็นต้น
- แต่ครั้นเมื่อความเป็นจริงที่เรานั้นได้ดำเนินชีวิตอยู่ สิ่งที่เราตั้งความสำคัญมั่นหมายพอใจยินดีนั้น มันอาจจะเป็นไปได้น้อยในชีวิตคนเราทั่วไป ที่จะได้ดังเช่นหวังนั้นตามต้องการในความเป็นจริง เราก็เกิดความกลัวขึ้นมาว่าหากไม่เป็นไปตามที่ต้องการจะเป็นเช่นไร จะอยู่ยังไง จนทำให้สภาพความรู้สึกจากการปรุงแต่งนึกคิดนั้นๆเกิดเป็นสภาพจิตที่กรีดหวิว สั่นเครือ กระวนกระวาย เพราะเราไม่ต้องการที่จะให้ สิ่งต่างๆที่เราไม่รัก ไม่พอใจยินดี อยากจะผลักหนีให้ไกลตนนั้นมันเกิดขึ้นกับเรา โดยที่มันไม่เป็นไปตามความปารถนาใคร่ได้ยินดีนั้นๆของเรา สิ่งนี้แหละครับที่เราเรียกกันว่า "ความกลัว"

1.2 อาการที่เกิดจากความเป็นจริงที่กำลังจะเกิดขึ้น
- หากสิ่งที่กระวนกระวายใจเกิดขึ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราไม่ต้องการนั้น เกิดขึ้นจริงและกำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ เหตุของความรู้สึกนี้นั้นมาจากความพอใจยินดีเช่นกันครับ คุณมีความพอใจยินดีที่จะมีอยู่ ที่จะไม่พรัดพราก ที่จะไม่สูญเสียสิ่งที่รักที่พอใจยินดีทั้งหลายไป
- แต่ครั้นเมื่อความเป็นจริงแล้วมันไม่เป็นไปตามสิ่งที่คุณตรึกนึกพอใจยินดีตั้งความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ คุณก็เกิดความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดี คุณก็เลยเกิดความทุกข์เป็นที่สุด ทุกข์จากการต้องสูญเสียสิ่งที่รักที่พอใจ ทุกข์เพราะชีวิตจริงมันไม่เป็นไปตามความตรึกนึกพอใจของคุณ เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นมา
- เมื่อสิ่งข้างต้นนี้เกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติและสัญชาติญาณของคน มันก็ต้องตรึกนึกที่จะหาทางออก ทางหนีทีไล่ ทางที่จะทำให้คุณหลุดพ้นจากทุกข์นั้น จนสร้างเป็นความปรุงแต่งไปต่างๆนาๆไปรู้จบ ความคิดฟุ้งซ่านก็เลยเกิดขึ้นแก่จิตใจคุณ เมื่อมีมากขึ้นสะสมมากๆเข้า ใจคุณก็กระวนกระวาย อัดอั้น คับแค้นกาย-ใจ กรีดใจ หวีดใจ ทะยาน ขุ่นข้องขัดเคืองใจ ร่ำไร รำพัน โศรกเศร้า เสียใจ ติดข้องใจไปหมดทุกๆอย่าง


2. ทางดับทุกข์นั้น

2.1 ทางดับทุกข์มีเริ่มต้นที่
- คุณต้องหยุดที่จะคิดฟุ้งซ่านก่อน โดยการจะหยุดคิดได้นั้น คุณต้องรู้จักทำสมาธิ หายใจเข้า "พุทธ" หายใจออก "โธ" ตั้งจิตระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อ-แม่ ครูบาอาจารย์ อธิษฐานขอให้เปิดทางให้ใจพบความว่างเพื่อเห็นทางออกจากทุกข์นั้น แล้วทำสมาธิไป
- หากเมื่อมันคิดฟุ้งซ่านขึ้นมาอีกก็ให้คุณมีสติระลึกรู้ตนว่า เพราะคิดปรุงแต่งอยู่อย่างนี้ เพราะคุณมีความติดข้องใจจากความคิดปรุงแต่งนี้อยู่ทำให้คุณเกิดความสับสนวุ่นวายใจ ยอมรับความเป็นไปตามสัจธรรมที่ว่า คนเรามันไม่ได้ตามความปารถนาใครได้ยินดีไปทั้งหมดทุกอย่าง ปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ คนเราต้องมีความพรัดพรากเป็นที่สุด ไม่มีใครจะหลุดพ้นสิ่งนี้ไปได้ จะพรัดพรากช้าเร็ว ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาของเรา ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และ กาลเวลา มันไม่คงอยู่เที่ยงแท้แน่นอนตลอดไป ทุกอย่างมีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ มีความเสื่อมไป มีความดับไปเป็นธรรมดา เราไม่สามารถไป ยึดถือ จับต้อง บังคับ ให้สิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นไปดั่งที่เราต้องการได้ เพราะมันไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับมันได้ ก็เพราะเรามีความไม่สมปารถนา มีความพรัดพรากนี้ ทำให้ก่อเกิดเป็นความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดีทั้งหลายนี้ในชีวิตประจำวันอยู่ทุกวันอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตาม กรรม คือ การกระทำของเราโดยเจตนาที่เป็นปัจจุบันขณะ หรือ ที่ผ่านมาแล้ว
- เมื่อยอมรับกับสัจธรรมนี้ ตามพุทธวจนะข้างต้นนี้แล้ว จิตย่อมลงสู่จิตที่ปลงต่อสภาพแวดล้อมและความนึกคิด ก็ตั้งระลึกว่ามันมาจากความติดข้องใจจากการที่เราได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้กระทบสัมผัสทางกาย รู้และปรุงแต่งในทางใจ ละความติดข้องใจจากความคิดฟุ้งซ่านนั้นเสีย เพราะมันไม่เกิดประโยชน์ใดๆแก่เราเลย มีแต่ความทุกข์เท่านั้น มันเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆไม่ได้นอกจากยอมรับมันตามจริง ด้วยความไม่ติดข้องใจใดๆในสิ่งนั้นๆ

** หากคุณทำสมาธิ แล้วเพียรระลึกอยู่เช่นนี้ทุกครั้งที่เกิดความคิดฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้น จะกลายเป็นสติที่ประกอบด้วยวิตกเจตสิกแห่งกุศลพิจารณาสภาพธรรมตามจริง วิธีนี้เรียกว่า "สู้กับตัณหาทั้ง 3 โดยตรง" ไม่ต้องไปย้ายจิตให้ทำสิ่งใดๆเพื่อลบหรือหันเหความคิดฟุ้งซ่านนั้นๆ เพราะธรรมชาติจิตมันคิด เราจึงใช้คิดที่ประกอบด้วยความเป็นกุศลของ สติ และ วิตกเจตสิก ย้อนสยบมัน เมื่อทำไปเรื่อยๆจนจิตเกิดความไม่ติดข้องใจสิ่งใด ความคิดฟุ้งซ่านจะหายไปเข้าสู่อุเบกขาจิตจนถึงความว่างที่เป็นกุศลตั้งแต่ อุปจาระสมาธิ และ อัปนาสมาธิ ที่เรียกว่าหมดใน รัก โลภ โกรธ หลง หรือ อารมณ์สมถะ
** เมื่อสมองคุณโล่งมี สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ ปัญญาทั้งทางธรรมและทางโลกย่อมเกิดแก่คุณ การหาทางออกที่ดีก็จะมีมากขึ้นเพราะได้ลบ "ขยะในสมอง(ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ)" ไปแล้ว

2.2 เจริญปฏิบัติตามพระธรรมอันประเสริฐที่ให้ผลได้ไม่จำกัดกาลดังนี้
คุณต้องถือเจริญปฏิบัติตามข้อธรรมและแนวทางที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันทั้งหลายนี้ คือ คงอยู่ในความเป็นกุศล ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ ทาน คิดดี พูดดี ทำดี


ลองปฏิบัติดูแนวทางของผมประกอบกับแนวทางของท่านผู้รู้ท่านอื่นควบคู่กันไปครับ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่คุณได้แน่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แนวทางผมอาจไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุดแต่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เอื้ออำนวยต่อแนวทางของผู้รู้อีกหลายๆท่าน

สุดท้ายนี้ก็ขอให้บุญอันใดที่ผมได้กระทำมาแล้ว ทั้งการปฏิบัติใน สมถ-วิปัสนา ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาแล้ว ได้ช่วยให้คนที่ทุกข์เห็นทางพ้นจากทุกข์ด้วยธรรมอันประเสริฐของพระพุทธเจ้านี้แล้วดัน ขอจงดลบรรดาลให้คุณได้หลุดพ้นจากบ่วงทุกข์ทั้งหลายนี้ แล้วมีแต่ความสุขกายสบายใจ ปิติอิ่มเอมสุข สมเร็จสมหวังตามปารถนาในสิ่งที่ดี ในทันทีด้วยเดชแห่งบุญนั้น

แล้วอย่าลืมปฏิบัติธรรมด้วยนะครับชีวิตคุณจะดีขึ้น ในเวบนี้มีครูบาอาจารย์ที่ชี้นำแนวทางที่ถูกต้องและดีงามมากมายลองเก็บเกี่ยวสอบถามกับพระคุณเจ้าและท่านผู้รู้ทั้งหลายนะครับ เป็นประโยชน์แก่คุณแน่ครับ
853  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรียนถามเรื่อง ธาตุ ในพระธรรมปีติครับ เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 06:08:11 pm
สาธุ ขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่ถามได้เป็นประโยชน์มาก และ ขอขอบพระคุณพระคุณเจ้าอาโลโก ที่ตอบให้ได้กระจ่างใจยิ่งนัก สาธุ
854  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: บุญ ๑๐ วิธี ( บุญกิริยาวัตถุ ) แบบสรุปคร้า เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 04:54:26 pm
สาธุ เป็นประโยชน์ดีมากครับ สำหรับ บุญกริยาวัตถุ 10 ที่คุณหมวยจ้าโพสท์ให้อ่านและปฏิบัติ
855  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เวลาที่จิตไม่เป็นสมาธิ ( ฟุ้งซ่าน ) ในระหว่างที่นั่งภาวนาอยู่ ควรทำอย่างไรดี คะ เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 04:52:56 pm
สาธุ ขอบพระคุณพระคุณเจ้าเป้นอย่างสูง และ ผู้ถาม ปุจฉา แก่พระคุณเจ้าด้วยครับ เป็นประโยชน์อย่างมากแก่คนทั้งหลาย สาธุ สาธุ สาธุ
856  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ตอบคำถามจาก email "บุญผ่อนส่ง ได้หรือไม่ ?" เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 04:47:00 pm
สาธุครับ
857  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ธรรมวันนี้เสนอคำว่า "โยนิโสมนสิการ" แปลว่า.... เมื่อ: มิถุนายน 06, 2012, 10:55:15 pm
สาธุขอบคุณสำหรับความรู้ที่เป้นประโยชน์นี้ครับ
858  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พระพุทธองค์ก็..ทำนา ใครทราบบ้าง?? เมื่อ: มิถุนายน 06, 2012, 10:54:39 pm
สาธุ ขอบพระคุณมากครับ คุณnathaponson กับธรรมะดีๆที่ท่านโพสท์เราได้อ่านได้ศึกษากันครับ
859  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: บาป มากหรือไม่ คะ ที่เราห้ามลูกหลาน และ ญาติ ไปร่วมบุญที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ 4 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2012, 10:34:00 pm
รอคุณ Admax มาตอบก่อนก็ดีนะคะ เพราะอ่านข้อตอบแล้ว รู้สึกว่่าดีคะ

  :s_hi:

ขอบคุณคุณแคทวูแมนที่ให้เกียรติครับ ที่นี่มีหลายท่านที่รู้เยอะมากมายกว่าผมและให้แง่คิดได้มากกว่าผมเยอะครับ ฟังหลายๆท่านก็มีแง่คิดเยอะดีครับขอบคุณที่ให้เกียรติครับ
------------------------------------------------------------------------

ผมขออนุญาตใช้ความเห็นส่วนตัวนะครับดังนี้ว่า

1. หากการกระทำที่คุณกระทำไปนั้นมีจิตที่ขัดข้องขุ่นเคืองใจเพราะไม่พอใจที่จะให้ผู้อื่นได้ทำในสิ่งที่เขาทั้งหลายเห็นว่าดีและงดงาม ซึ่งทั้งๆที่สิ่งที่เขาทั้งหลายจะทำนั้นเป็นเรื่องที่ดีงามเป็นกุศล หรือ ที่คุณทำนั้นก็เพียงเพื่อต้องการให้เขาทั้งหลายต้องทำตามที่ตนเองพอใจต้องการ จนทำให้ผู้อื่นเกิดความ อัดอั้นใจ คับแค้นกาย-ใจ ทุกข์ทรมานกาย-ใจ โศรกเศร้าเสียใจ ร่ำไร รำพัน โดยที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นไม่ได้รับผลประโยชน์สุขใดๆเลย ขณะนั้นคุณมี อกุศลจิต เกิดขึ้นแก่ใจครับ พออกุศลจิตเกิด อกุศลกรรม ก็เกิดขึ้นนั่นคือการที่คุณเอ่ยวาจากล่าวไปนั่นเองครับ

2. หากการกระทำของคุณนั้นทำไปเพื่อความเห็นประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยจิตใจคุณมีความเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์แก่ผู้อื่น มีความแบ่งปันสุขกุศลดีงามให้ผู้อื่น และ ยินดีเมื่อเขาได้พบสุข แล้วสิ่งที่คุณทำหรือพูดกล่าวมานั้นถูกต้องเหมาะสมควรแก่กาลที่จะพูด กุศลจิต ก็เกิดขึ้นแก่คุณ การกระทำที่ส่งผลออกมาก็เป็น กุศลกรรม แก่คุณ

ทีนี้คุณต้องทบทวนดูครับว่าขณะนั้นที่คุณทำไปเพราะไม่พอใจยินดี ขุ่นข้องขัดเคืองใจ หรือ เพราะความปารถนาให้ผู้อื่นได้พบสุขปราศจากทุกข์  มีความปิติยินดีแก่จิตคุณ จิตคุณตอนนั้นเป้นเช่นไรคุณเท่านั้นที่จะรู้ดี

- การทำบุญจะทำที่ไหนก็ได้ มันเป็นสิ่งที่ดีงามทั้งหมด และ ย่อมเกิดประโยชน์แก่คุณและครอบครัวทั้งหมด หากในการทำแต่ละครั้งนั้นทำด้วย ทานจิต คือ ให้เพื่อหวังให้ผู้รับมีความสุขจากการให้นั้น ให้เพื่อหวังให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์สุขจากสิ่งที่เราให้นั้น ให้แล้วไม่มานั่งนึกเสียใจและเสียดายในภายหลัง

- กรรม คือ การกระทำใดๆทาง กาย วาจา และ ใจ โดยเจตตาที่จะทำในปัจจุบันขณะนี้ และ ที่ผ่านมาแล้ว

- บาป ในมุมมองของผม คือ ผลลัพธ์จากการกระทำใดๆทาง กาย วาจา ใจ ที่ทำแล้วให้สภาพจิตใจคุณมีความขุ่นข้องขัดเคืองใจ ทุกข์ทน อัดอั้น คับแค้นกาย-ใจ ไม่สบายกาย-ใจ เสียใจ ร่ำไร รำพัน

- บุญ ในมุมมองของผม คือ ผลลัพธ์จากการกระทำใดๆทาง กาย วาจา ใจ ที่ทำแล้วให้สภาพจิตใจคุณมีความ สบายกาย-ใจ ยินดี สุขใจ ปิติใจ

ทีนี้คุณคงจะพิจารณาเองได้แล้วนะครับว่าตอนนี้กรรมที่คุณทำนั้นเป็น กุศลกรรมหรืออกุศลกรรม เป็น บุญหรือบาป
860  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: รู้สึกอิจฉา เมื่อเห็นคนอื่น ได้ไปทำบุญกันมามากมาย แต่ตัวเราเองไม่ได้อย่างเขา เมื่อ: มิถุนายน 06, 2012, 10:10:37 pm
- การอนุโทนาจิต ในขณะจิตนั้นต้อง ทั้งก่อนและหลังอนุโมทนาต้องเป็น มุทิตาจิต คือ ยินดีกับเขาด้วยใจเมื่อเขาได้พบสุขได้ทำในสิ่งที่ดีงาม ซึ่งสภาพจิตนี้จะเกิดขึ้นได้คุณต้องมี กรุณาจิต นั่นก็คือ ความเอื้อเฟื้อแบ่งปันสุข อนุเคราะห์ให้แก่คนอื่นพ้นจากทุกข์ และ กรุณาจิตจะเกิดขึ้นได้นั้นคุณก็ต้องมี เมตตาจิต ความปารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข แล้วจิตคุณจะเกิดอุเบกขาจิตขึ้นได้ง่าย

- ดังนั้นที่สำคัญแก่จิตคุณตอนนี้คือ เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต แก่ผู้อื่น แล้วสิ่งนี้จะส่งผลให้คุณไปถึงการมีทานจิตแก้ใจ คือการให้โดยไม่หวังสิ่งใดๆตอบแทน ให้แล้วไม่มานึกเสียดายหรือเสียใจในภายหลัง ให้เพื่อหวังให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์สุขจากการให้ของเรา

- แล้วจะทำอย่างไรให้มีเมตตาจิต เริ่มแรกคุณต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะกระทำในสิ่งที่ไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่นทางกาย วาจา ใจ นั้นก็คือมี ศีล สมาธิ เป็นเบื้องต้น เริ่มรู้จักคิดดี พูดดี ทำดี
- เมื่อรู้สภาพจิตตนเองว่ามีความขุ่นข้องขัดเคืองใจ ให้ระลึกรู้ว่าอกุศลจิตได้เกิดแก่คุณแล้ว
- อย่างเช่น เรื่องราวที่คุณเล่ามานั้นมันคือความอิจฉา ซึ่งมาจากความสำคัญมั่นหมายที่คุณจดจำในสิ่งที่คุณมีความไม่พอใจยินดีแก่จิตตน นั่นเพราะคุณสำคัญแก่ใจไว้ว่าคุณพอใจยินดีที่จะได้กระทำแบบเขา พอใจที่จะได้ร่วมมีส่วนหนึ่งในการทำบุญนั้นๆ พอไม่เป็นไปตามที่คุณพอใจยินดี แล้วเห็นผู้อื่นทำได้ คุณก็เลยเกิดความขุ่นข้อง ขัดเคืองใจ เกิดเป็นความโมโห โทโส แก่จิตคุณ เกิดเป้นความอยากจะผลักให้สิ่งที่รับรู้เป็นไปนั้นหนีออกไกลจากคุณ
- ให้ละที่ความสำคัญมั่นหมายนั้นเสีย เพราะยิ่งเราสำคัญสิ่งใดมากก็ยิ่งตรึกถึง นึกถึง คำนึงถึงมาก ลองนึกดูไหมว่าสิ่งใดที่เราไม่ได้ให้ความสำคัญมัน สิ่งนั้นแม้เรามีอยู่ พบเจออยู่ก็ไม่ได้ใส่ใจอะไร ดังนั้นให้คิดเสียว่ามันไม่ได้มีความหมายอะไรกับเรา ยิ่งใส่ใจมันเราก็ยิ่งทุกข์ ตั้งจิตขึ้นเป็นเมตาทานเสีย จะเข้าถึงความมีใจกลางๆแก่สิ่งนั้นได้ด้วยความเป็นกุศลครับ
861  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: อยากถามว่า ถ้าใช้ชีวิตร่วมกับคน ๆ นี้ท่านจะทำอย่างไร ? เมื่อ: มิถุนายน 04, 2012, 05:14:22 pm
โดยความคิดเห็นส่วนตัวผมมีดังนี้ครับ

1. หากเราใช้ชีวิตอยู่และกระทำเพื่ออยากหมดเวรกรรมกับคนๆนี้ที่ทำร้ายชีวิตครอบครัวเรา การที่เรามองโดยคิดว่าเราอาจจะสร้างเวรกรรมกันมาในการก่อนๆ แล้วไปทำให้เขาอาฆาตแค้นแล้วมาเอาคืนเราในปัจจุบันนี้ อย่างเช่นเรื่องของ พระองคุลีมาลเถระ ก็เป็นอย่างนี้ มีการจองเวรกรรมมาแล้วไม่รู้กี่ชาติ การที่พระเถระท่านจะพ้นจากบ่วงนี้ไปได้คือยอมรับกรรม คือ สิ่งที่เคยกระทำโดยเจตนาทั้งในปัจจุบันขณะและอดีต เพื่อผ่านล่วงพ้นไม่ให้ผูกเวรกันอีก คนเราทั้งหลายมีการกระทำเป็นผลติดตามไปทุกหนแห่งดังนั้นหากคิดว่าจะล่วงพ้นด้วยการชดใช้ไม่ผูกเวรให้เกิดมาจองเวรกันทุกชาติ ก็ต้องยอมรับสถานะภาพเราและความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับเราแล้วปลงสู่การละซึ่งความติดข้องใจนั้นๆของเรา ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากทำได้ก็เป็นบุญอันประเสริฐแล้วไม่ต้องไปผูกเวรกับเขาอีก

2. หากเรามองว่ามันผิดทำนองคลองธรรม มันไม่ควรเป็นเช่นนี้ ก็ควรที่จะแจ้งให้ตำรวจหรือหน่วยงานที่คุ้มครองเราให้เข้ามาตรวจสอบดูแล แล้วดำเนินตามกฏหมายกับผู้กระทำผิดนี้เสีย หากเมื่อทำได้แล้วสุดท้ายเราก็ต้องอโหสิกรรมแก่เขาเพื่อละความพยาบาต เบียดเบียนกันอีกต่อไป

862  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ธรรมะสาระวันนี้ "การภาวนาฝึกฝนปฏิบัติธรรม คือ การปิดกั้นอาสวะ" เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2012, 05:12:28 pm
สาธุ ขอบพระคุณพระคุณเจ้า เป็นประโยชน์มากครับ
863  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ได้ยินว่า สัตว์ดิรัจฉาน สามารถเ้ข้า ฌาน ได้ จริงหรือไม่ คะ เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 04:59:00 pm
อ่าน พระพุทธเจ้า 500 ชาติดูครับ ท่านได้เสวยชาติเป็นสัตว์มากมาย และ ในนั้นก็มีการทำสมาธิ แต่จัดว่าเป็น ฌาณ ไหม มันคงต้องวิเคราะห์ดูดีๆครับ
864  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอให้พระอาจารย์ อธิบายความหมาย ของปีติทั้ง 5 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 03:49:36 pm
- ความปิติที่ผมสัมผัสได้ในตอนนี้เป็นดั่งท่านสมภพกล่าวทั้งหมด เมื่อเวลาผมอยู่ในอารมณ์สมถะตอนนี้ จนถึงสงบนิ่งไปทั้งหมดเหมือนทุกอย่างหยุดนิ่ง เหมือนตัดขาดจากห่วงเวลาของโลก และเมื่อไปซักพักเหมือนมันผัสสะได้แต่จิตและเจตสิกตนเอง แล้วช่วงนี้แหละที่สติเกิดรู้และพิจารณาธรรมของผมจนถึงทุกวันนี้

- แต่หากสมัยก่อนที่ว่ากายโยกเยก อาการเหมือนเบาลอย ก็เคยมี แต่สภาพนี้ผมเรียกว่าสภาพของสมาธิที่กำลังเกิดขึ้นแก่จิตแต่ยังไม่มีการจดจ่อเพียงพอเป็นจุดเกียวได้นาน และ ยังขาดความนุ่มสงบของจิตในอารมณ์สมถะ ผมเลยไม่เรียกอาการนี้ว่าความปิติอิ่มเอมใจ

- แต่เมื่อได้ท่านพระคุณเจ้า arlogo ได้อธิบายถึงความปิติในทางธรรมแห่งมัชฌิมาให้ผมเข้าใจละเอียดขึ้นแบบเช่นเดียวกับพระคุณเจ้า ธัมมะวังโส อธิบายบอกกล่าว ผมก็เลยละความติดข้องใจทุกอย่างไว้แล้วพึงรู้ในสภาพจริงที่เกิดแก่ตนเอง มันจะเรียกอะไรกันยังไงก็คือบัญญัติหนึ่งๆเท่านั้น แต่การจะเผยแพร่ให้ถูกต้องและตรงตามจริงไม่ให้พระพุทธศาสนาบิดเบือนก็ต้องอาศัยรู้ในความหมายจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ซึ่งทั้ง 2 นั้นอาจเป็นสิ่งเดียวกันโดยแยกของสภาพปฏิบัติกับสภาพของอภิธรรมก็ได้ ซึ่งจะเรียกอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการกล่าวในสถานะภาพนั้นๆ เช่นเดียวกับคำว่าสังขาร มีทั้งที่เป็นเฉพาะเจตสิกความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดประกอบจิต(โดยหากในปฏิจจฯ หมายถึงสิ่งนี้ นั่นคือสังขารขันธ์) และ สังขาร ที่รวมทั้งรูปและนามเข้าด้วยกันที่เป้นทั้งหมดนั่นคือกายและใจทั้งหมดนี้ จึงตั้งบัญญัตินี้ว่าเป็นสังขารธรรม ซึ่งทั้งหมดก็คือ สังขาร แต่ใช้ในส่วนธรรมปฏิบัติที่ต่างกันจึงให้ความหมายในสภาพธรรมที่ต่างกัน

- สิ่งที่พระคุณเจ้า พระครูทั้งหลายอธิบายสอนเป็นประโยชน์มากแก่ผม รวมทั้งท่านสมภพ และ ท่านผู้รู้อีกทั้งหลายที่กล่าวอธิบายก็เป็นประโยชน์ยิ่งกับผมมาก ผมมีความยินดีและขอความกรุณาในการเผยแพร่และสอนธรรมของท่านทั้งหลายด้วยใจเคารพครับ

หากกล่าวผิดพลาดประการใดก็อดโทษแก่ผมและอโหสิกรรมให้ด้วยครับ
865  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: อะไรเป็นแก่นสาร ของการภาวนา ครับ ..... ( ไม่ใช่แค่เพียงแค่อยากรู้ ) เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 01:23:40 pm
- รู้ทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ เห็นทางพ้นทุกข์ที่ควรทำ ถึงความดับไปหมดซึ่งความทุกข์ ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ดีแล้ว // นี่คือข้อหลัก

อีก 2 ช้อช้างล่าง คือ สิ่งที่ควรทำเมื่อรู้จริงตามข้อแรกแล้ว(ส่วนมากมันเป็นหน้าที่ที่เกิดเองโดยอัตโนมัติ) มีดังนี้คือ

- ช่วยเหลือคนที่ทุกข์อยู่ให้รู้เห็นทางดับทุกข์ตาม เพื่อให้เขาออกพ้นจากทุกข์เช่นที่เราทำ (อันนี้ทำโดยไม่คิดตังค์นะครับ)

- ประกาศธรรมอันประเสริฐแห่งพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เองโดยชอบนี้แล้วนั้น ให้ผู้อื่นได้รู้ศรัทธา ปฏบัติ รู้เห็นตามความเป็นจริง เห็นสัจธรรม เห็นทางพ้นทุกข์ ประกาศพระพุทธศาสนาให้ขจรไกล เพื่อให้คนหมู่มากได้รู้ทางแห่งการดับทุกข์นั้นขอ งพระพุทธเจ้า
866  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เพื่อน ๆ มีวิธีปล่อยวางใจ ที่ดี อย่างไรกันครับ โปรดแนะนำกันด้วยครับ เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 01:21:37 pm
ผมพอจะมีปัญญาอ้นน้อยนิดมองเห็นทางเข้าสู่ความมีใจกลางๆที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ได้ตาม Link นี้ครับ ค่อยๆทำความเข้าใจและปฏิบัติไปนะครับ หากมันช่วยคุณไม่ได้ก็ขออภัยแก่ผมด้วยครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0
867  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ผิดหวัง ต่อความตั้งใจ ก็เลยพาลล้มเลิกความตั้งใจ ( ไฟหมอดฟาง ) เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 01:07:54 pm
ผมรู้และเห็นได้ตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้แค่ตาม Link นี้ หากช่วยคุณไม่ได้ก็กราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0
868  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ปล่อยวาง จะทำได้อย่างไร ในเมื่อเรายังถูกเบียดเบียนอยู่ทุกเวลา เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 01:05:00 pm
1. ทุกสิ่งทุกอย่างในพระธรรมนำมาใช้กับชีวิตประจำวันได้หมด เพราะธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั้นเป็นไปเพื่อชีวิตประจำวัน แต่จะทำได้ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองครับ

2. สิ่งใดเกิดขึ้นแก่คุณให้พึงระลึกรู้ว่า นี่เป้นกำไรชีวิตสำหรับเรา ทำให้รู้ว่า คนกลุ่มใดเป็นมิตร ไม่เป็นมิตร คนที่มีท่าทีเช่นนี้ๆ มักคิดและ กระทำอย่างไร เพื่อให้คุณนำไปใช้เลือกคบมิตรในกาลต่อไป

3. กำไรชีวิตต่อที่ 2 คือ ทำให้คุณได้เห็นสัจธรรมในพระพุทธศาสนาดังนี้ว่า

    - เรามีความปารถนาใคร่ได้พอใจยินดี อยากให้มีคนมารัก มาเอาใจ สุภาพ พูดดี ทำดีกับเรา แต่เราทั้งหลายย่อมไม่ได้ตามความปารถนานั้นไปทั้งหมดเป็นธรรมดา เราไม่มีทางล่วงพพ้นสิ่งนี้ไปได้
    - เราย่อมประสบพบเจอกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจอยู่เป็นประจำในชีวิตนี้เป็นธรรมดาจะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้
    - ก็เมื่อมีความเป็นจริงทั้ง 2 สิ่งนี้เผชิญกับคุณอยู่ จึงทำให้คุณเกิดความ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้น อัดอั้นใจอยู่เป็นนิจ

4. ทางหลีกลี้และใช้ชีวิตกับสิ่งนี้พระพทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้แล้วอย่างนี้คือ
    - ต้องยอมรับและเห็นตามความจริงในสัจธรรมเหล่านี้ เมื่อยอมรับความจริงเช่นนี้ จิตใจจะวางโทสะมากขึ้น เมื่อวางโทสะมากขึ้น
    - จากนั้นให้พึงระลึกรู้ตามดังนี้เสียว่า เพราะเราพอใจยินดี ต้องการ อยากให้คนมารัก มาชอบ มาพอใจสรรเสริญเรา มากกว่าการกระทำร้ายๆ พูดร้ายๆ แก่เรา เราจึงเป็นทุกข์ ทั้งๆที่เราไม่อาจจะไปบังคับสิ่งใดให้มันเป็นไปดั่งใจเราได้ แม้แต่เราบังคับตนเองไม่ให้ว่านินทาผู้อื่นยังไม่ได้ เราบังคับตนเองไม่ให้โกรธเกลียดใครยังไม่ได้ บังคับให้ตนเองไม่ให้ขี้หรือเยี่ยวยังไม่ได้ แล้วจะไปบังคับคนอื่นดด้วยสิ่งใด นอกจากยอมรับสภาพแวดล้อมนั่นๆไป
    - โดยคุณต้องตัดความติดข้องใจใดๆที่เกิดมาจากการรับรู้อารมณ์ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส การกระทบสัมผัสทางกาย และ สิ่งที่ใจรู้ สิ่งที่นึกคิดปรุงแต่งจิต สิ่งที่สมมติเรื่องราว สิ่งที่เสพย์จิตให้เป็นสุข-ทุกข์ ละความติดข้องใจใดๆนั้นไปเสีย เพราะมันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆกับเรา ติดข้องใจไปก็เป็นทุกข์
    - ปล่อยให้มันผ่านพ้นไปเสีย นึกเสียว่าให้เป็น ทาน ซึ่งก็คือการให้โดยไม่หวังสิ่งใดๆตอบแทน ให้แล้วไม่มานึกเสียดายเสียใจในภายหลัง ให้เพราะอยากให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์สุขจากการให้นั้น
    - พึงระลึกมองด้วยกุสโลบายว่า เขาเหล่านั้นเป็นทุกข์อยู่ เป็นผู้ป่วยที่ต้องการสนองความอยากตนเอง จึงพยายามที่จะกระทำไปตามตัณหาความอยากของตนเพื่อสนองความอยากตน ดูน่าสงสารนะเขาคงเป็นทุกข์มากมาย ปล่อยให้เขาทำไปเป็นบุญแก่ตน นี่อย่างนี้ถือว่าคุณได้กระทำในทานบารมี และ อุเบกขาบามีไปในตัวเลยนะครับ

อ่านเพิ่มเติมได้ตาม Link นี้ครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0

ตั้งใจอ่านทีละนิดแล้วทำความเข้าใจมันช้าๆ คุณจะทำได้แน่นอนและจะเห็นว่าพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นยิ่งใหญ่และครอบคลุมเพื่อให้เราพ้นจากทุกข์ทั้งหลายในชีวิตประจำวันนี้ แต่หากคุณไม่อ่าน คุณดูว่าน่าเบือ หรือไม่ทำความเข้าใจในวิธีที่จะทำให้พ้นจากทุกข์นี้ ผมก็จนใจครับเพราะปัญญาอันน้อยนิดของผมมันรู้ได้แค่นี้ครับตามใน Link ที่ให้ไปนั้นครับ ขออภัยหากช่วยคุณไม่ได้ครับ
869  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: การที่เราบอกกับตัวเองว่า เป็นพระอริยะ ไม่จำเป็นต้องเป็นพระก็ได้ เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2012, 03:30:44 pm
การจะเป็นได้ไม่ได้ มันอยู่ที่บุคคลครับ ว่าบุคคลนั้นสั่งสมบารมีมาพอหรือยัง ปฏิบัติอย่างดีไหม พระอริยะเจ้า คือ ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป พระโสดาบันที่เป็นเพศคฤหัสนี่มีศีล 5 เป็นหลักครับ ดูหนัง ดูทีวีปกติได้ แต่ไม่เอามาตั้งเป็นอารมณ์เสพย์อัตตา (อันนี้ผมเดาเอานะครับ) ผมคงอธิบายสภาพ ความรู้สึก นึกคิด การปฏิบัติจริงๆของพระอริยะเจ้าไม่ได้ เพราะผมยังไม่ถึง ที่พูด ก็พูดได้แค่ตามความนึกคิดของคนที่ยังเป็นแค่คนธรรมทั่วไป

เรามาเว้นความติดข้องใจตรงนี้แล้วหันมาพิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นทางพ้นทุกข์ดีกว่าครับ มันเป็นประโยชน์กว่าเรื่องไร้สาระที่เราไม่สามารถเข้าถึงพวกนี้กว่ามาก
870  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เห็นตามความเป็นจริง เห็นเรื่องอะไรก่อน ครับ เป็นเรื่องแรก.... เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2012, 09:37:27 am
สาธุพระคุณเจ้าเป็นประโยชน์มากครับ ผมแถมกระทู้ที่พระคุณเจ้าโพสท์ตอบอีกกระทู้ด้วยครับเป็นประโยชน์มากๆๆ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1609.0
871  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2012, 09:17:38 am
เมื่อนั่งขัดสมาธิแล้วปวดเข่าปวดขาก็ควรเปลี่ยนอิริยาบถที่นั่ง ไม่มีข้อธรรมในพระสูตรใดที่ห้ามไม่ให้เปลี่ยนอิริยาบถนั่งสมาธิ อาจจะเปลี่ยนเป็นนั่งพับเพียบ นั่งเอาหลังพิงฝาเพื่อแก้ปวดหลัง เป็นต้น

หรือ ให้เหยียดขาบิดตัวเพื่อคลายเส้นความปวด หากฝืนจนเกิดไปอาจถึงแก่พิการได้ จากนั้นให้เปลี่ยนเป็นยืน หรือ เดินจงกรม หรือ นอนตะแคลงขวาในท่าสีหไสยาสน์

นี่ก็เป็นการกัมมัฏฐานทำสมาธิเช่นกันครับ ซึ่งพระพุทธเจ้าสอนไว้แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย มีพระโมคคัลลานะเป็นต้นครับ

หากเมื่อทำสมาธิเข้าถึงสมาธิได้แล้วนั้น อาการปวดใดๆจะลดลง สติเกิด มีสมาธิปกคลุม ปัญญาจดจ่อพิจารณาธรรม สามารถนั่งได้นานขึ้น
872  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: มีเพื่อนบ้าน ท่านหนึ่งเป็นผู้หญิง คิดว่าตนเองโดนของครับ จะช่วยอย่างไรดี เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 03:31:36 pm
หากไปด้วยกันได้พาเธอไปวัดรดน้ำมนต์ บูชาพระมาห้อยคอ แล้วก็ปฏิบัติกรรมฐาน ซัก 2 อาทิตย์ หากทำไม่ได้ให้ชวนเธอไปหาพระที่มีอาคมไสยเวทย์ทำพีธีรดน้ำมนต์ หรือ พาเธอไปเข้าพิธีสวดพานยังษ์ใหญ่ หรือ สวดมนต์ อาฏานาฎิยสูตร
 
   ดูเพิ่มเติมที่มีหลายๆท่านตอบตามกระทู้นี้ครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3027.0
873  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มาร มีตัวตนจริง หรือ มารเป็น เพียงกิเลส เท่านั้น เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2012, 04:56:21 pm
ผมอาจจะตอบตำถามโดยไม่เหมาะสมและไม่มีประโยชน์ก็ขออภัยด้วยนะครับ โดยผมมีความคิดเห็นส่วนตัวผมเองดังนี้ครับว่า
1. เวลาเราบอกว่ามารมากระทำดลใจเราทำเช่นนั้นเช่นนี้ คุณมองเห็นมารบังคับให้ทำหรือไม่ครับบ
2. ก่อนที่คุณกระทำนั้นเวลาคุณนึกคิดตรึกตรอง เสียงที่คิดนั้นเป็นของคุณหรือเสียงพญามารเข้ามาพูดในความคิดครับ
3. เวลาที่คุณกระทำการใดๆที่พลาดพลั้งขาดสติ หรือ เวลาที่คุณถูกกระทำสิ่งใดๆไม่ดี เกิดอุบัติเหตุใดๆ ผู้ที่กระทำนั้นที่คุณเห็นอยู่คือตัวคุณเองหรือมารเป้นคนทำโดยที่ไม่ใช่คุณครับ เวลาที่คุณเกิดอุบัติเหตุ เช่นขับรถชนกัน นั่งสมาธิอยู่มีคนมาทำร้ายไม่ให้เข้าสมาธิ หรือ มีความคิดมากมายในหัว เวลาเกิดอุบัติเหตุนั้น คุณเกิดพร้อมวัตถุสิ่งของรอบตัวคุณอาจจะเป็นคนบุคคลอื่น หรือ คุณเกิดอุบัติเหตุกับมารครับ คุณเข้าสมาธิไม่ได้ฟุ้งซ่าน เพราะมารมาคิดในหัวคุณ หรือคุณคิดเองครับ
4. เวลาคุณเกิดความอยาก ไม่ว่าอยากอะไร รวมไปถึงความต้องการทางเพศนั้นมารนั้นบอกคุณต้องการ หรือเพราะคุณตรึกนึกพอใจจากการสัมผัสนั้นๆเองครับ

ทีนี้ ความ รัก โลภ โกรธ หลง มารสั่งให้ทำ หรือ คุณพอใจทำเองครับ แล้วเวลาสติคุณเกิดกระทำดี มารมีในหัวคุณไหมครับ สงสัยเวลาคุณทำดีได้กุศลจิตเกิด มารก็เป็นคนสั่งให้เกิดอีกใช่ไหมครับ

หากเมื่อไหร่เกิดอะไรขึ้นก็กล่าวแต่ว่ามารทำทั้งหมด การปฏิบัติเพื่อละทุกข์ ละกิเลส จะทำไปทำไมครับ ไปนับถือศาสนาอื่นดีกว่ามั้ยครับที่สารภาพบาปได้ เพราะกิเลสเกิดจากมารทำไม่ใช่คุณทำ แล้วก็เลิกกัมมัฏฐานไปเสีย กิเลสไม่ใช่คุณ แต่เป็นมารสร้างให้คุณ คุณเป็นคนไม่มีกิเลสใดๆอยู่แล้ว พ้นทุกข์แล้ว เพราะกิเลสไม่ใช่คุณคิด ทำ พูด แต่เป็นมารคิด ทำ พูด แทนคุณ

คนเรานี่ฉลาดนะครับ เพราะฉลาดมากๆจึงคิดมากแล้วพยายามโยงหลายๆเรื่องเพื่อให้พ้นพันธนาการจากการกระทำโดยขาดสติของตน แต่แทนที่จะรู้เหตุของทุกข์แล้วดับมันไป กลับเห็นว่าเหตุของทุกข์มาจากมารทั้งหลายเป็นตัวทำ ไม่ใช่เพราะตนเกิดกิเลส ตัณหา

ลองทบทวนดูครับว่า ทำไมครูบาอาจารย์ท่านว่ามารคือกิเลสเรา
874  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เวลาที่ไม่สบายใจ.หรือ มีปัญหา เข้ามา รุ้สึกหัวใจมันเต้นเร็วมีวิธีแก้ไขหรือไม่คะ เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2012, 01:41:37 pm
- การแก้ไขโดยวิธี การเจริญวิปัสนา
      สภาพจิตที่รู้สึก อึดอัดใจ อัดอั้นใจ หวีดหวิวสั่นใจ และ ความรู้สึกทางกายที่คุณรับรู้ถึงการเต้นเร็วและแรงจนรู้สึกได้นั้น ทางธรรมเรียกว่าสภาพปรมัถธรรม มันคือ สภาพจริงที่เกิดขึ้นตจริงๆที่รับรู้ได้ทุกคน ทุกชาติ นี่ถือว่าเป็นข้อดีข้อหนึ่งที่ทำให้คุณรู้ในวิปัสนากัมมัฏฐาน หากจะแก้ในทางวิปัสนานั้น ให้คุณพิจารณารู้สภาพจิตและกายที่เกิดขึ้นนี้ไปเรื่อยๆ **โดยไม่ต้องให้ความหมายบัญญัติมันว่า สภาพความรู้สึกนี้คือความรู้สึกที่เรียกว่าอะไร เช่น โกรธ อยาก กลัว ไม่ชอบ** ให้แค่รู้ว่าสภาพแบบนี้มันเกิดขึ้นกับคุณเฉยๆ ไม่นานมันจะดับไปเอง เพราะเมื่อจิตคุณจดจ่ออยู่กับมัน สติและสมาธิจะเข้ามาแทรกแทนความปรุงแต่งนึกคิด
- การแก้ไขโดยวิธี ดับที่เหตุของทุกข์
      คุณต้องระลึกย้อนมองดูดังนี้ว่า
      1. ทบทวนตรึกตรองเพื่อมองหาว่า สิ่งที่คุณไม่สบายใจ สิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์อยู่นั้น เพราะเรื่องอะไร สิ่งใดๆ
      2. ทบทวนตรึกตรองเพื่อมองหาว่า ที่คุณไม่พอใจในสิ่งนั้น หรือ เรื่องนั้น นั่นเพราะมันขัดใจ ขุ่นเคืองใจกับสิ่งใดที่คุณต้องการและสำคัญมั่นหมายเอาไว้
      3. ทบทวนตรึกตรองเพื่อมองหาว่า คุณมีความ พอใจยินดี ใคร่ได้ ปารถนา กับสิ่งใดๆอยู่ มีสิ่งใดเป้นีท่ตั้งของจิตให้พอใจยินดีต่อสิ่งนั้นๆ
      4. เมื่อคุณรู้ สิ่งที่คุณพอใจยินดี ใค่ได้ปารถนา ตั้งความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจแล้ว ให้พึงพิจารณาเช้าใจดังนี้ว่า
          - ไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปดั่งใจเราพอใจยินดี ปารถนาใคร่ได้ไปทุกอย่าง คนเรามีความผิดหวังไม่สมความปารถนาเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้
          - คนเรามีความพรัดพรากจากวิ่งอันเป้นที่รักที่พอใจทั้งหลายเป็นที่สุด ไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น สภาพแวดล้อม การดูแลรักษาของเรา หรือ กาลเวลาที่ล่วงเลยไป จะล่วงพ้นจากสิ่งนี้ไปไม่ได้
          - ดังนั้น เมื่อมีทั้ง 2 สิ่งข้างต้นที่เป็นสัจธรรมอันแท้จริงแล้ว เราทั้งหลายย่อมจะประสบพบเจอกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ที่พอใจยินดี ไม่ใคร่ได้ ไม่ต้องการ อยากจะผลักหนีให้ไกลตน เป็นสิ่งที่แน่นอนและแท้จริงอยู่เป็นประจำทุกวัน อย่างหลีกเลียงให้พน้ไปไม่ได้
          - เพราะเราทุกต้องเจอสัจธรรมที่แท้จริงทั้ง 3 ข้อข้างต้นนี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงควรทำให้ใจยอมรับในสภาพความเป้นจริงนี้ๆในชีวิตเสีบ ให้มองว่าเราต้องพบเจอเรื่องพวกนี้เป็นธรรมดาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วพึงลดละความติดข้องใจ ขัดเคืองใจ ขุ่นเคืองใจใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่ใจเราเสีย เพราะติดข้องใจไปก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆแก่เรานอกจากความเป้นทุกข์แก่ตนเอง จากนั้นให้พึงระลึกจิตให้เกิดความเป็นกุศลจิตเกิด ตั้งมั่นคงอยู่ในกุศล รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม เข้าสู่สภาวะเมตตาจิต กรุณาจิต ทานจิต มุทิตาจิต จนเข้าสู่ความวางใจกลางๆไม่ติดข้องใจสิ่งใดๆทั้งในสิ่งที่เราพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี แล้วความทุกข์จะไม่เกิดแก่คุณอีก

ศึกษาแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นได้ตาม Link นี้ครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0
875  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เจอมารมาขัดขวางทางบุญ เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2012, 12:02:32 pm
- มันไม่มีมารที่ไหนมาขัดขวางหรอกครับ นั่นจิตคุณตกไปเอง เมื่อเกิดปัญหาใดๆขึ้นกับตนเอง คุณมักจะหาทางออกโดยโทษนั่น โทษนี่ เพื่อความสบายใจในตนเอง แต่คุณเคยคิดดูไหมว่า คุณทำอะไรด้วยความประมาท เลินเล่อ หรือ ความพลาดพลั้งจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึกก่อให้เกิดอุบัติเหตุในหลายครั้ง
- ลองคิดดูว่าเวลาขับรถคุณขาดสติไหม ขับๆอยู่คิดอะไรเพลินๆจนหลงลืมด้วยโมหะว่าตนเองกำลังขับรถอยู่ นี่เรียกว่าจิตส่งออกนอกจนขาดสติ
- คุณทำดี คิดดี พูดดี สิ่งดีๆย่อมเกิดแก่คุณ อยู่ที่คุณตรวจทานแก้ไขตัวคุณเองดีแล้วหรือยัง ไม่ใช่จะโทษหาแพะรับแทนไปทุกเรื่อง
- พระพุทธเจ้าสอนให้เรามีสติ ให้คิดทบทวนตนเอง ไม่ให้โทษคนนั้นคนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ เพื่อให้สบายใจและพ้นผิดจากการกระทำของตนโดยเจตนา นั่นก็คือ กรรม กรรมคือการกระทำในปัจจุบันนี้โดยเจตนา ทุกข์อยู่ที่ใจคุณ คุณไปโทษว่ามารทำ มารมากลั่ยแกล้ง ถามว่าชีวิตคุณหายจากทุกข์ไหม หากตัวคุณนั้นไม่สู้มันตรงๆและหาทางดับทุกข์นั้นที่เหตุ
- ผมเชื่อว่าคุณโทษมารไปเถอะครับว่ามารทำคุณ ไม่ว่าคุณจะทำอะไรอีกตอนไหนอีก คุณก็จะเจอแต่เรื่องอย่างนี้เสมอๆไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นไปจนตลอดชีวิต
- เว้นเสียแต่ คุณพิจารณารู้ตนในปัจจุบันว่ากำลังทำอะไร ควรมีสติตั้งอยู่ที่ไหน พิจารณาข้อผิดพลาดตนเองแล้วแก้ไข อยู่โดยความไม่ประมาทเลินเล่อ สิ่งนี้เรื่องร้ายๆจึงจะไม่เกิดแก่คุณ
- ความคิดฟุ้งซ่านปรุงแต่งจิต ทำให้คนเราโง่มรการหาทางออกแก้ไข ความพูดพร่ำเพ้อ เพ้อเจ้อ พูดใส่ร้าย ทำให้เราเป้นคนไม่น่าเชื่อถือและนับถือเคารพ การกระทำใดๆที่เป้นการเบียดเบียนตนเองและคนอื่น หรือทำเพื่อหลีกลี้ความผิดตน ย่อมเป้นคนที่ไม่ควรคบแก่มนุษย์ทั้งหลาย ไม่เป้นที่รักของ เทวดา มาร พรหม มนุษย์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งหลาย

เอาเป็นว่าคุณเลือกเอาแล้วกันครับว่า จะโทษมารต่อ หรือ อยู่โดยความไม่ประมาท
876  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ต้องทำงาน ต้องเรียน และ ต้องอยู่ กับคนเหล่านี้ ควรทำอย่างไรคะ เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2012, 11:37:44 am
1. คนเราไม่สามารถอยู่คนเดียวบนโลกนี้
2. คนเราควรคบมิตรที่นำพาเราสู่ความสำเร็จมากกว่าทำให้ชีวิตล่มจม
3. เพื่อนนั้น หากเขารักเราจริง คงไม่แนะนำให้เราทำอะไรผิดๆ โดยบังคับ หากเราปฏิเสธเขาควรเข้าใจและให้เกียรติเรา นี่คือ เพื่อนแท้
4. พ่อแม่คุณเคยเรียกร้องอะไรจากคุณไหมครับ นอกจากขอให้ตั้งใจเรียน เป็นคนดี จบมามีการงานดีๆทำ เทียบกับเพื่อนคุณ ให้เงินคุณ กิน ใช้ ไหมครับ คอยเช็ดขี้เช็คเยี่ยวเมื่อคุณยังเด็กไหมครับ เวลาเรียนไม่เข้าใจ เขาติวให้คุณไหมครับ มีงานโปรเจคมาเขาช่วยคุณไหมครับ คุณคิดว่าคุณทำเพื่อเพื่อหรือพ่อแม่สำคัญกว่ากันครับ
5. เพื่อนนั้น หาได้ใหม่ ไม่ตายก็หาได้ แฟนก็เช่นกัน ไม่ตายก็หาใหม่ได้ แต่ การตั้งใจเรียนทำแทนคุณ กตัญญู กตเวที ทำเพื่อบุพการี ผู้มีอุปการะเลี้ยงดูคุณมา คุณจะทำเมื่อท่านมีชีวิตอยู่ หรือเมื่อท่านตายแล้ว
6. คุณทำงานเพื่อหาเงินและใช้จ่ายในการเรียนและชีวิตประจำวัน เพื่อคุณช่วยคุณทำงานหาเงินเลี้ยงคุณไหมครับ หรือ อยู่แบบเงินใครเงินมันไม่ยุ่งเกี่ยว ไม่ช่วยเหลือกันเลยแม้ในบางครั้ง
7. การเข้าสังคมไม่ใช่เรื่องผิด แต่ควรคิดถึงสถานการณ์และประครองตนเองไม่ให้เสียหายผิดพลาด // บางครั้งเมื่อว่างจากงานหรือเรียนอาจจะสามารถเข้าสังคมเพื่อพบปะเพื่อนฝูงบ้างก็ไม่เสียหาย แต่หากเราจำเป็นต้องใช้เงิน ต้องอธิบายบอกเพื่อนว่าตนเองต้องใช้เงินอยู่ไม่สะดวกจะกินเที่ยวไว้รอมีเงินก่อนแล้วค่อยว่ากันใหม่ อย่างนี้เป็นต้น หากเป็นเพื่อนแท้ เขาต้องเข้าใจเรา
8. เรื่องบางเรื่องเราอาจเก็บมาขบคิดอยู่คนเดียวทำให้เราเครียดจนไร้สาระ บางเรื่องเราก็ปล่อยๆมันไปบ้าง เพราะติดข้องใจเอามาขบคิดปรุงแต่งก็ยิ่งทำให้เราทุกข์ หากเพื่อเขาไม่ดีจริงๆแล้ว ให้คุณลองคิดดูว่าควรถอยออกมาไหมและควรดูมิตรใหม่ที่ดีและเหมาะกับคุณไหม พร้อมกันนั้นเราก็ต้องมองดูจุดด้อยเราด้วย เพื่อไม่เกิดผลเสียกัยเราในคราวต่อไป

ผมคงให้แค่คิดได้เท่านี้ เรื่องตัดสินใจคุณควรกระทำเอง สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณควรคิดและทำในตอนนี้คือ
- การแยกแยะว่าสิ่งไหนควรทำและไม่ควรทำ รวมไปถึงการคิดเรื่องคบมิตรที่ดี(แต่เราก็ต้องมองดูพิจารณาตัวเราด้วย)
- สิ่งไหนลดหย่อนผ่อนปรนได้บ้างก็ควรลดบ้างเพื่อความไม่หมกมุ่นและเคลียดจนเกินไป เป็นการผ่อนคลายกับเราและคนรอบข้างอย่างหนึ่งเช่นกัน
- เลือกทำในสิ่งที่จำเป็นและมีค่าต่อเรา ลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย
- วางใจกลางๆเอาไว้ครับ พยายามอย่าติดข้อง ขัดเคืองใจในเรื่องใดๆ ที่เรารับรู้มาทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง การกระทบสัมผัสทางกาย การรู้อารมณ์ และ ความปรุงแต่งนึกคิดสมมติเรื่องราวทางใจ เพราะติดข้อง ขุ่นข้อง ขัดเคืองใจไป ก็หาประโยชน์ใดๆไม่ได้ มีแต่จะเกิดความทุกข์ให้แก่ตนเอง ไม่ว่าสิ่งนั้นเราจะพอใจยินดี หรือ ไม่พอใจยินดีก็ตาม
- คิด พูด ทำ ในสิ่งที่ดีเป้นประโยชน์และไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่น หากใครเขาจะ คิด พูด ทำ ว่าเราอย่างไรก็ช่างเขา คิดเสียว่าเพราะเขาทำไม่ได้อย่างเรา เขาขาดความกระตือรือร้น กระทำอย่างเรา จึงเป็นสิ่งนั้นๆที่เขา พูด คิด ทำ ออกมา คนดีมักมองคนที่ คิดดี พูดดี ทำดี ว่าน่านับถือเลื่อมใส แต่คนชั่วมักจะมองคนที่ คิดดี พูดดี ทำดี ว่าน่ารำคาญ น่าเบื่อ ไร้สาระ ทั้งๆที่สิ่งที่เขากระทำอยู่นั้นมันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้เลยทั้งแก่ตนเองและคนอื่น
877  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อยากทราบความหมายของคำว่า รูป และ นาม ในการภาวนากรรมฐาน ครับ เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2012, 01:20:51 am
ขออนุญาตตอบคำถาม อาจจะไม่ตรง ไม่ถูกต้อง ก็ขออภัยด้วยนะครับ ตามสิ่งที่ผมพอจะมีปัญญาอันน้อยนิดรู้ได้ วิถีทางผมอาจจะไม่ใช่ในแบบมัชฌิมากัมมัฏฐาน แต่คิดว่าศาสนาเดียวกันน่าจะความหมายไม่ต่างกันกับที่ผมเข้าใจในสายพระป่าดังนี้คือ

1. นามรูป
   - รูป คือ สิ่งที่ถูกรู้ ไม่มีความรู้สึกนึกคิดหรือตอบกลับใดๆคืนมา มีเอกลักษณ์ ลักษณะเฉพาะ ที่สามรถรับรู้ หรือ รู้สึกถึงสภาพนั้นๆได้ หากเปรียบในขันธ์ ๕ รูปนั้นก็คือ กายเรานี้ อันมีเกิดจากการประกอบรวมกันของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ซึ่งธาตุ ไฟ มีลักษณะเฉพาะคือ ร้อน เย็น ดิน มีลักษณะเฉพาะคือ อ่อน แข็ง ลม มีลักษณะเฉพาะคือ เคลื่อนไหว ตรึงไหว น้ำ มีลักษณะเฉพาะคือ การรวมตัวผสมของธาตูทั้งหลายข้างต้น เช่น เวลาเรากระทบน้ำด้วยความเร็วและแรง น้ำจะแข็งมากใช่ไหมครับ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เป้นธาตุดิน เป็นต้น สี เสียง กลิ่น รส ก็เป็น รูป เพราะเป็นสิ่งที่ถูกรู้

   - นาม คือ สภาพที่รับรู้ สภาพที่รู้อารมณ์ นั่นคือ จิต เจตสิก (อารมณ์ในทางธรรม หมายความว่า สิ่งใดที่จิตรู้ สิ่งนั้นคืออารมณ์ เช้นคุณได้ยินเสียง คุณก็มีเสียงเป้นอารมณ์ คุณมองเห็น คุณก็มีรูปสีเป็นอารมณ์ คุณรู้กระทบทางกาย คุณก็มีโผฐฐัพะเป็นอารมณ์) นามในขันธ์๕ ก็คือ วิญญาณขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เวทนาขันธ์

   - ซึ่งทั้ง รูป และ นาม คือ สภาพจริงๆ ที่มีอยู่จริง โดยสามารถรู้สึกได้ รับรู้ได้ ทุกคน ทุกชาติ ทุกชนชั้น มีสภาพจริง มีลักษณะเฉพาะที่รู้สึกได้ นี่คือความมีอยู่จริงโดยตัดขาดจาดสมมติบัญญัติ หากเข้าถึงสภาพที่แยกขาดเป็นเพียง รูป นาม จะมองเห็นว่า ทุกอย่างเกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ ไม่ควรติดข้อง หาประโยชน์มิได้ จนหมดความติดข้องใจใดๆอีก ไม่มีความต้องการใดๆอีก มีวางแค่ความเป็นอัพยกตธรรม

2. รูป และ นาม สิ่งใดที่เรียกว่าสิ่งใดสำคัญกว่า
   - ผมไม่เข้าใจในความหมายของคำว่า สำคัญ ของคุณน่ะครับอาจให้คำตอบที่ไม่ตรงประเด็นที่คุณต้องการนะครับ ที่ผมรู้ๆก็คือทั้ง รูป และ นาม ต่างก็เป็นทุกข์
   - รูป จะเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถูกกระทบ ไม่มีความรู้สึกนึกคิด มีความเสื่อมเป็นธรรมดา ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ หากมีแต่กายไม่มีจิตทีอยู่ด้วย ก็ไม่มีความรู้สึก เช่นคนตาย เอามีดฟันก็ไม่รู้สึกเจ็บใช่ไหมครับ รูปขันธ์ นั้น ย่อมเป็นไปจามที่ สภาพของใจปรุงแต่งบังคับให้เป็นไป เช่นปวดท้อง ท้องร้อง จิตสมมติเข้าใจว่าหิว เมื่อหิว จิตก็สั่งว่าต้องกิน ร่างกายเราก็ต้องไปหาอาหารกิน เป็นต้น
   - นาม จะเป็นตัวปรุงแต่ง นึกคิด ตรึกตรอง คำนึง จดจำ ความรู้กระทบสัมผัส รู้อารมณ์ รู้เจ็บ รู้ปวด ความเสพย์เสวยอารมณ์ความรู้สึก วิญญาณขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เวทนาขันธ์ เป้นตัวรับรู้ และ สั่งการให้กายดำเนินไปตามที่ต้องการ

ลองทบทวนพิจารณาดูครับ สิ่งใดสำคัญกว่ากันที่จะก่อให้เกิด กรรม คือการกระทำโดยเจตนา

ผมมีความรู้เข้าใจแค่นี้ หากบิดเบือน ผิดเพี้ยน ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ผมก็ขอความอโหสิกรรมแก่เจ้าของกระทู้และท่านทั้งหลายด้วยครับ
878  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: หาวิธี ระงับ ความโกรธ ให้หน่อยคะ ........ หงุด หงิด และ เครียด เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2012, 06:06:47 pm
- คุณอ่านวิธีพิจารณาตาม Link http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0
ที่ผมเคยให้แล้วหรือยังครับ
- ทุกอย่างมันอยู่ที่ใจคุณ มีคนบอกวิธีเยอะแยะ แต่เมื่อโดยจริตแห่งโทสะของคุณนั้น เมื่ออ่านๆไปแล้วคุณไม่นำมาปฏิบัติ แค่อ่านๆให้มันผ่านพ้นไป หรือ เมื่ออ่านแล้วไม่พอใจก้อทิ้งไป ทั้งๆที่หลายๆท่านที่ไม่ใช่ผม ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์มากมายแล้วแก่คุณ

** หากใจคุณไม่เว้น หรือ ละในความติดข้องใจ จากการเสพย์รับรู้อารมณ์ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ แล้วสืบต่อเสพย์เสวยอารมณ์ความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี พร้อมเจริญเมตตาจิต และ ทานจิต ไม่ได้ ต่อให้พระพุทธเจ้ามาแสดงธรรมให้ คุณก็ไม่มีทางพ้นทุกข์ไปได้ เพราะทุกคนได้แต่ชี้แนะแนวทาง ไม่สามารถบังคับให้คุณปฏิบัติตาม หรือ ทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้นอกจากใจคุณจะยอมลดทิฐิมานะลงแล้วพิจารณาเห็นว่ามันเป็นประโยชน์แท้จริงน้อมนำมาปฏิบัติ
879  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ธรรมะสาระวันนี้ "ตัดอาหารของนิวรณ์ กันแล้ว กรรมฐานก็จักก้าวหน้าตามที่ควรจะเป็น" เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2012, 08:48:44 pm
สาธุ ขอบพระคุณพระคุณเจ้ามากครับเป็นประโยชน์อย่างมาก
880  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ุคุณจะทำอย่างไร ถ้าคุณรู้ว่าเพื่อนของคุณ ...เป็นแบบนี้ ? เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2012, 05:04:33 pm
- เรื่องที่จะบอกพ่อแม่ของเพื่อนคุณยังไง มันอยู่ที่วิจารณาญาณของคุณว่า พูดอย่างไรจึงเหมาะสมที่ไม่เป็นการโกหก และ ไม่ทำร้ายใคร
- ส่วนเรื่องเพื่อคุณ หากเขาหมกมุ่นในตัณหาราคะมากไปก็ควรค่อยๆหาทางเตือนสติให้เขารู้ ให้เขารู้ความรู้สึกของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูเขามาว่ารอคอยความสาเร็จของเขาอยู่ พ่อ แม่ เลี้ยงดูเพื่อนคุณเช็ดขี้เช็คเยี่ยวให้ตั้งแต่เกิด จนเพื่อนคุณเติบโตเป็นผู้ใหญ่ลำบากหางานทำเลี้ยงรู้เพื่อนคุณมาจนเกือบครึ่งชีวิต แค่เรื่องการเรียนนี้พอจะทำให้พอแม่ได้ไหม แฟนของเพื่อนคุณนั้นมารู้จักทีหลัง ไม่เคยหาเงินเลี้ยงดู ไม่เคยเช็ดขี้เช็ดเยี่ยวให้ ไม่ได้ส่งเงินให้เรียน ไม่เคยที่จะคะยั้นคะยอให้ตั้งใจเรียนให้จบ มารู้จักกับแฟนแก่ไม่กี่วัน ไม่กี่เดือน ไม่กี่ปี แต่สูญสิ้นทุกอย่าง พ่อ แม่ ที่เลี้ยงมาตั้งแต่เกิดจนถึงตอนนี้เคยให้ความรัก เคารพ และเมตตา กรุณา ทำเพื่อท่านบ้างไหม
- แฟนนั้นหากอยู่ไปซักพัก พอเขาไม่พอใจ เขาก็ไป ไม่อยู่กับเราที่ไม่มีอนาคตจนตลอดรอดฝั่งหรอก เวลานี้อาจจะมีสิ่งดีๆ คำหวานๆให้ แต่พอนานไปก็คงไม่มีใครเลือกเอาผู้หญิงที่ไม่มีสาระ จบต่ำ เรียนไม่จบ ไม่มีความรู้มาเป็นภรรยาหรอก เว้นแต่คนที่เกิดมาเพื่อรักกันเอื้อเฟื้อแก่กันจริงๆ
- พอแฟนที่คบกันได้ไม่กี่วัน ไม่กี่เดือน ไม่กี่ปี ไม่เคยเลี้ยงดู ไม่เคยเช็ดขี้ให้ ไม่เคยเช็ดเยี่ยวให้ ไม่เคยหาเงินให้ใช้ ไม่เคยส่งเราเรียน ไม่เคยบอกให้เราเรียนให้จบสูงๆ ไม่เคยช่วยบอกตั้งใจเรียน ไม่เคยอยู่ด้วยความหวังอยากให้เราเป็นสุขได้มีชีวิตที่ดี นอกจากตัวเขาจะเป็นสุขและมีชีวิตที่ดีครบพร้อมของเขาทั้งใน กามราคะ ความเสพย์คุณในความใคร่พอใจยินดีเท่านั้น ถ้าเขารักเราจริงป่านนี้ขอเราแต่งงานแล้วสิ แค่เพียงคนๆหนึ่งที่เป็นเช่นนี้มาจากเราไป เรามานั่งเสียใจร้องไห้ฟูมฟาย ร่ำไร รำพันแทบตาย แต่สิ่งที่เพื่อคุณทำให้พ่อแม่เสียใจแทบตาย หรือ แม้แต่พ่อแม่ตายไป ทั้งๆที่เลี้ยงเรามาจนครึ่งค่อนชีวติ กลับไม่มีน้ำตาซักหยด อันไหนมันควรกว่ากันลองคิดดู
- ลองคุยและเตือนสติกับเพื่อนคุณแบบนี้เป็นต้น.

- ลองให้เขาอ่านวิธีปฏิบัติตาม Link นี้ดูครับ ในข้อที่ 1. เลือกสิ่งที่ควรเสพย์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24