ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - Admax
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24
881  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทนนั่งให้ได้ตามเวลา แม้จิตไม่เป็นสมาธิ จะมีประโยชน์อะไรกับการภาวนาบ้างคะ เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2012, 04:45:59 pm
สาธุ ขอบพระคุณพระคุณเจ้าที่ให้คำแนะนำดีๆที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าของกระทู้และท่านอื่นทั้งหลายรวมถึงผมด้วยครับ
882  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ธรรมะสาระวันนี้ "ธรรม มีเหตุปัจจัย อาศัยซึ่งกันและกัน มิใช่เกิดขึ้นมาโดด ๆ" เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2012, 04:40:10 pm
สาธุขอบพระคุณกับพระธรรมที่เป็นประโยชน์นี่ครับ
883  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ธรรมอะไร..ที่ทำให้ "ถ่อมตน" เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2012, 10:18:17 pm
สาธุ เป็นประโยชน์มากครับ
884  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรียน ถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ หมายถึงอย่างไร คะ เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2012, 09:46:53 pm
ผมไม่รู้ว่าจะตอบตรงและเป็นประโยชน์แก่คำถามคุณไหมนะครับ ผมขอตอบในสิ่งที่ผมเรียนรู้และปฏิบัติเห็นมานะครับ

1. คำว่า ปรมัถรรม หมายความว่า สภาพจริงๆของธรรม นั้นคือ สภาพที่เรารู้สึกได้จริง รับรู้ได้จริง ทุกคน ทุกชนชาติ รับรู้เช่นด้วยกัน แต่มีบัญญัติเพื่อใช้เรียกสื่อให้เข้าใจตรงกันตามแต่พื้นที่นั้นๆเช่น ความรู้สึกร้อน มีสภาพแผ่ออกในความรู้สึกปวด แสบ ปะทุ เกิดสภาพความเหือดแห้งขึ้น อย่างนี้บ้านเราเรียกเป็นบัญญัติว่าร้อน ส่วนฝรั่งเรียกเป็นบัญญัติว่า Hot เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน แต่สภาพที่เกิดขึ้นนั้น ทุกคน ทุกชนชาติ สัตว์ทุกตัวรู้สึกเหมือนกัน สภาพความรู้สึกนี้แหละที่เรียกว่าปรมัตถธรรม
2. สภาพที่เราเห็นนิมิตว่าเป็นพระพุทธเจ้านั้น สิ่งนั้นคุณน่ะเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นไม่จริง เพราะมาจากสภาพของนิมิตที่อาจเกิดจากการจดจำในสัญญาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแก่คุณ เมื่อคุณรู้ว่าเป็นพระพุทธรูป สีทองเหลืองอร่ามตา นั่นคือ คุณเกิดบัญญัติแล้วมันไม่ใช่สภาพปรมัตถ์
3. แต่หากเมื่อคุณรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเห็นพระพุทธรูปนั้นเกิดจากความปรุงแต่งจิตด้วยสังขาร สัญญา เวทนา สร้างขึ้นเป็นนิมิต แล้วสิ่งที่ระลึกรู้นั้นคือ มโนวิญญาณ สภาพจิตที่รู้คิด สภาพที่เกิดขึ้นนั้นมโนวิญญาณมันรับรู้สภาพที่เป็นความปรุงแต่งแก่จิตจนสร้างขึ้นมาเป็นมโนภาพ ซึ่งสภาพจริงๆในมโนภาพนั้นเป็นเพียงเม็ดสีๆ ที่อยู่รวมกันเป็นเค้าโครงรูปร่างต่างๆ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใด รูปใดเลยนอกจากเม็ดสีต่างๆที่เราเรียกกันว่า วัณณะรูป ที่คือ ปรมัตถธรรม สภาพจริงในธรรม คือเห็นจนถึง รูป-นาม แต่เมื่อใดที่เห็นปุ๊บรู้ปั๊บว่านั่นคือพระพุทธเจ้าสีทองอร่ามตานั้นคือเมื่อสภาพจริงเกิดสังขารขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เวทนาขันธ์ ก็ปรุงบัญญัติมาทันที จนทับไปในสภาพจริงๆของมัน มารู้ทีหลังคือเป้น สมมติไปแล้ว แต่ไม่มีใครไปทันมันง่ายๆหรอกครับ เพราะทุกครั้งที่สภาพปรมัตถ์เกิดขึ้น มโนวิญญาณ จะทำหน้าที่ร่วมกับเจตสิกต่อมาทันทีในเวลาเพียงเสี้ยววินาที


ผมรู้และเข้าใจเห็นมาเพียงเท่านี้หากกล่าวผิด บิดเบือน หรือ ไม่เกิดประโยชน์ใดๆก็ขออโหสิกรรมด้วยครับ
885  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มีวิธีตรวจสอบอย่างไร ว่ากรรมฐาน เราเสื่อมคะ เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2012, 08:50:29 pm
- สภาพความเสื่อมไปแห่งกัมมัฏฐานนั้น จิตคุณจะฟุ้งซ่านมากขึ้น มีความปรุงแต่งมากขึ้น เกิดความพอใจยินดี(โสมนัส) และ ความไม่พอใจยินดี(โทมนัส) มากขึ้น เข้าสมาธิยาก้พราะไม่มีจิตนิ่งจดจ่อพอที่จะควรแก่งาน ความสงบ อบอุ่น ผ่องใส ปิติอิ่มเอมแห่งจิตจะหายไป ด้วยเหตุข้างต้นจิตคุณจะยังรั้งอยู่แค่ขนิกสมาธิ คือ สมาธิทั่วไปเท่านั้น ไม่สามารถจะหยั่งเข้าสู่ อารมณ์สมถะ ได้
- ถ้าหากไม่อยากให้เสื่อมคงต้องปาดคอตายเสียกระมังครับ แบบพระเถระท่านนี้ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=3885&Z=3951 แต่ผมไม่แนะนำนะครับ เพราะหากทำไปอย่างเราๆก็คงตายเปล่าแถมบาปอีกต่างหากไม่ได้ทดแทนคุณบุพการีด้วย ตายเพราะตัณหาแค่นั้นกระมังสำหรับเราๆ
- ผมขอถามอย่างหนึ่งนะครับ ผิวคุณเวลามีขี้ไคลหลุดออกมา คุณคิดอะไรไหมครับ ทุกข์ใจไหมครับ หรือ เกิดความเสียดายไหมครับ ทั้งๆที่ขี้ไคลนั้นคือหนังกำพร้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในร่างกาย คุณไม่คิดเสียดายหรือทุกข์ใจอะไรใช่ไหมครับ ที่คุณไม่คิดเสียดายนั่นก็เพราะว่าคุณรู้ว่ามันเป็นหนังกำพร้าที่เสื่อมโทรม มันก็หลุดไป มันก็สร้างหนังใหม่ขึ้นมาใช่ไหมครับ ดังนั้นทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป วนเวียนอยู่อย่างนี้สืบไปใช่ไหมครับ ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาเราจะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้ เราทั้งหลายต้องมีความพรัดพรากจากของรักของจำเริญใจทั้งหลายเป็นที่สุด แล้วนับปะสาอะไรกับสิ่งที่มองไม่เห็นใช่ไหมครับ
- ทีนี้มาดูว่าคุณกัมมัฏฐานเพื่อสิ่งใดครับ
             1. เพื่ออยากมีปิติ ฌาณ ญาณ อภิญญา
             2. เพื่อรู้จักตัวทุกข์ เพื่อรู้เหตุแห่งทุกข์ เพื่อทำให้ทุกข์เบาบางลง จนถึงที่สุดแห่งทองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
หากคุณปฏิบัติตามข้อที่ 1 ผมคงไม่สามารถช่วยคุณได้ เพราะพุทธเจ้าของผมไม่เคยสอนให้ปฏิบัติเพื่อเจตนาเช่นนี้
หากคุณปฏิบัติตามข้อที่ 2 ก็ให้ละความติดข้องใจจากการกล่าวใดๆนั้นทิ้งเสีย เพราะมันไม่เกิดประโยชน์ใดๆแก่คุณ รังแต่จะทำให้เกิดทุกข์ ทีนี้คุณเข้าใจความทุกข์ที่เป็นอยู่ตอนนี้ไหมครับ ว่าเพราะคุณได้ยินมีคนทักมาเช่นนั้นแล้วเกิดความติดข้องใจส่งต่อไปเกิดเป็นเวทนาเสพย์ความไม่ใคร่พอใจยินดี เกิดหวั่นกลัวเพราะมันเป็นสิ่งที่คุณไม่ต้องการอยากจะผลักให้ไกลตน แล้วเกิดทุกข์ใช่ไหมครับ ดังนั้นดับที่เหตุของทุกข์นั้นคือความติดข้องใจเสพย์ความไม่พอใจยินดี โดยเข้าใจในสัจธรรมที่ว่า เรานั้นมีความพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจเป็นที่ธรรมดา ไม่ได้ตามปารถนาใคร่ได้ไปทุกย่าง ทุกสิ่งทุกอย่างมันเสื่อมคลายเป็นธรรมดา แล้วเลิกเอาจิตไปติดข้องใจในความรู้สึกและความจำได้จำไว้จากสิ่งที่ได้ยินนั้น คุณจะเกิดเข้าสู่อุเบกขาจิต หากยังมีความขัดข้องฝืนใจอยู่ให้พึงระลึกรู้ว่าขณะนั้นความไม่พอใจยินดีคุณยังมีมากอยู่จึงเกิดเป็น โทสะมูลจิต ให้พิจารณาเช่นๆเป็นเบื้องต้นจนกว่าจะเข้าสู่อุเบกขาจิตได้ วิธ๊คืนการหันหน้าเข้าตรงๆแล้วดับที่เหตุ ไม่ใช่การย้ายจิตไปติดที่ลมหายใจหรือไปสนใจสิ่งอื่นแทน หากดับทุกข์จากความไม่พอใจยินดี(โทมนัส)ในครั้งนี้ได้ สภาพจิตคุณก็จะแกร่งขึ้น จะเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง มันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน มันเป็นทุกข์ มันเป็นสิ่งที่ไม่น่าติดข้องใจใดๆ เพราะติดข้องใจไปก็เป็นทุกข์ แล้วอุเบกขาจิตจะเกิดกับคุณบ่อยขึ้นด้วยกุศลจิต และ สมาธิคุณก็จะควรแก่การทำงานมากขึ้นเรียกว่า สัมมาสมาธิ
- ดังนั้นคุณควรกัมมัฏฐานต่อไปโดยไม่ต้องสนใจสิ่งใดๆ ไม่เอาสิ่งใดมาตั้งเป็นอารมณ์แล้วปรุงแต่งสมมติจนเสพย์ความรู้สึกใน โสมนัส และ โทมนัส ให้ปารถนาเพียงให้เห็นทางพ้นทุกข์เป็นพอไม่ต้องสนใจสิ่งใดๆ
- คุณลองทบทวนตรึกตรองในสิ่งที่ผมบอกคุณดูแล้วกันครับว่ามันมีค่าสำหรับคุณไหมในตอนนี้ หากมันมีค่าให้คุณรู้ไว้ว่าพระตถาคตสอนผมให้รู้ทางพ้นทุกข์ ไม่ได้สอนให้ติดกับอัตตา อุปาทานในสิ่งใดๆ ธรรมทั้งหลายวิถีทั้งหลายนั้นเป็นของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วแสดงสั่งสอนสืบมาจนถึงที่ผมบอกแก่คุณนี้ แม้คุณได้ฌาณ ได้ญาณ ได้อภิญญาไปก็มีเสื่อมและไม่เห็นทางพ้นทุกข์ใดๆถ้าหากไม่ปฏิบัติเพื่อให้เห็นทางพ้นทุกข์
- พระพุทธเจ้าตรัสบอกทุกคนที่เข้ามาเป็นสาวกแห่งพระพุทธศาสนาว่า "เธอจงปฏิบัติเพื่อทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นที่เทอญ"  ไม่เคยสอนว่า เธอจงปฏิบัติเพื่อมีฌาณ-ญาณเทอญ เธอจงปฏิบัติเพื่อมีอภิญญาเทอญ ดังนั้นคุณควรกัมมัฏฐานเพื่อความถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เถอะครับ อย่าไปติดข้องใจกับสิ่งใดๆที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ตนเองและคนอื่นด้วยความเป็นกุศลเลย

886  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ขอให้แสดงความเห็นเรื่องไหว้พระหน้าคอมพิวเตอร์ เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2012, 06:11:04 pm
- อยู่มี่ใจครับ หากมีเจตนาดีกระทำด้วยใจ ทุกอย่างมันก็ดีหมด พระพุทธรูปของจริงที่เราไหว้กันจริงๆก็คือสมมติที่เราสร้างขึ้นมาเพือ่บูชาซึ่งพระพุทธเจ้าผู้มีคุณอันประเสริฐแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่ได้สร้างมาเพื่อขอพร หรือ ขอความสำเร็จ
- ดังนั้นการกระทำใดๆก็ตามแต่เพื่อเอื้อกระทำด้วยจิตที่เป็นกุศล ด้วยจิตที่เคารพศรัทธา ระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อ-แม่-บุพการี ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ สิ่งนั้นย่อมเป็นกุศลเสมอ แต่หากว่าจิตเราขุ่นเคืองใจ ขัดข้องใจ แม้ไปไหว้กราบพระพุทธเจ้าองค์จริง ก็ไม่เกิดประโยชน์ รังแต่จะมีอกุศลกรรมและอกุศลจิตแก่เรา

- อกุศลกรรมใดๆ ย่อมไม่เกิดแก่ผู้มีจิตปกติเป็นกุศล
- กุศลกรรมใดๆ ย่อมไม่เกิดแก่ผู้มีจิตปกติเป็นอกุศล
887  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ก่อนกำหนด ออกจากกรรมฐาน ควรทำอย่างไร ? เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 03:34:13 pm
สาธุพระคุณเจ้า ผมติดตามกระทู้ที่พระคุณเจ้าตอบ ให้ความครอบคลุมเป็นประโยชน์งดงามรวมแก่ผมด้วย
ขออนุโมทนาสาธุครับ
- ผมใคร่ขออณุญาตอ้างอิงกระทู้ท่านหมิว ท่าน aaaa และ ท่านอาโลโก อ้างอิงเข้าสู่กระทู้ การออกสมาธิของผม เพื่อขจัดความไม่รู้ ความผิดเพี้ยนที่ผมได้โพสท์ไว้ และเพื่อความเป็นประโยชน์แก่คนอื่นนะครับ
888  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปีติ เวลากำหนด พระลักษณะ และ พระรัศมี นั้นจะเกิดทุกครั้งหรือไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 03:27:56 pm
สาธุ ขอบคุณท่านอาโลโกที่อธิบายให้เข้าใจครับ

เนื่องจากความที่ไม่เข้าใจในศัพท์ธรรมะ ผมจึงนับเอาการเข้าสู่สภาพจิตและความรู้สึกของกุศลจิต และ อารมณ์สมถะที่ตัดขาดจากความปรุงแต่งใดๆมีความเป็นเอกัคตาที่ผมเข้าถึงสภาพและความรู้สึกนั้นมากล่าวผิดเพี้ยน ในความหมายของ ปิติ
ขออภัยแก่ท่านผู้ถามและทุกท่าน ณ ที่นี้ด้วยครับที่ตอบผิดเพี้ยน
889  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ขอคำแนะนำทางออกของปัญหา เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 09:28:36 am
ขอเป็นกำลังใจให้ครับ สักวันจะต้องเจอสิ่งที่ดีๆแน่ครับ แต่ก่อนอื่นให้เริ่มพิจารณาที่ตัวเราก่อนนะครับดังนี้

1. เรื่องงาน มันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำ งานนั้นทุกวันนี้หายากลำบากมาก งานใดที่มีทำอยู่แม้เหนื่อยก็ทำไปก่อนดีกว่ามาตกงานแล้วต้องลำบากภายหน้า คุณในตอนนี้ยังดีกว่าคนที่เขาแบกภาระแล้วต้องมาตกงานอีกครับ
2. เรื่องครอบครัว และ ความรัก ที่ทุกข์เพราะมันไม่เป็นดั่งใจปารถนาใช่ไหมครับ ละไว้ซึ่งความปารถนานั้นเสียจะดีขึ้น โดยพยายามพิจารณาหาเหตุแห่งทุกข์ของตน แล้วดับที่เหตุนั้น บางครั้งหากเราไม่รู้จักพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่หรือมีอยู่มันก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะดิ้นรนทะยานอยากที่จะมี-อยากที่จะเป็น ทุกข์เพราะดิ้นรนทะยานอยากหาให้ได้ตามอารมณ์ใคร่ปารถนายินดีนั้นๆ ทุกข์เพราะดิ้นรนทะยานอยากจะผลักไสสิ่งใดๆที่ตนเองไม่ชอบ ไม่พอใจ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ให้หนีออกไกลออกจากตน

ทางดับทุกข์เบื้องต้น ดูตาม Link นี้ครับ มันอาจจะเป็นประโยชน์กับคุณก็ได้ ค่อยๆอ่านทำความเข้าใจนะครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0


890  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรียนถามว่า การฝึกสมาธิ มีกี่แบบครับ และ แบบใดให้ผลการมากที่สุดในการภาวนา เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 03:37:04 am
หากผมตีคำถามไม่ผิด คุณอาจจะถามว่า วิธีการปฏิบัติกัมมัฏฐานมีกี่แบบ

มีทั้งหมด ๔๐ กองครับตามแต่จริตคน หาดูทางเน็ตได้ครับ

ทั้ง ๔๐ กองจะมีการเจริญสมาธิที่จดจ่อพิจารณาอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่างกันออกไป หรือ อาจคล้ายกันในบางกอง และ ลงสุดปลายที่ รูป-นาม ไม่มีตัวตน บุคคลใด

ซึ่งทั้ง ๔๐ กองมีวิธีการเจริญสมาธิอยู่ ๔ แบบ คือ

ยืน เดิน นั่ง นอน

พิจารณาในธรรมโดยปัญญาที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ และ พิจารณาในธรรมโดยปัญญาที่มีปรมัถธรรมเป็นอารมณ์
ลองหาดูวิธีครับ หากตอบผิดหรือไม่เป็นประโยชน์ใดๆ ผมก็ขออภัยด้วยครับ
891  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ในการปฏิบัติ กรรมฐาน มีการกำหนดเวลาอย่างไร ในการเข้าออก เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 03:14:40 am
1. หากทำโดยกำหนดเวลา ก็ให้ตั้งนาฬิกาปลุกไว้
2. หากกระทำโดยดูสภาพกำลังของกายเวทนาตน หากเมื่อปฏิบัติไปซักพักแล้วมีความรู้สึกว่าร่างกายไม่ไหวก็คลายจากสมาธิได้
3. หากกระทำโดยตั้งจิตอธิษฐาน(ข้อนี้สำหรับผู้ต้องการเข้าถึงสภาพใดสภาพหนึ่ง หรือ ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีบารมีสะสมมากพอถึงแก่การบรรลุปฏิบัติแล้วเท่านั้นที่จะตั้งจิตทำ โดยการปฏิบัติในข้อนี้ห้ามผิดคำอธิษฐานและปณิธานเป้นอันขาด) เช่น อธิษฐานจิตว่าการนั่งคราวนี้จะขอนั่งจนกว่าจะได้เห็นสมาธิ เข้าถึงสมาธิ เข้าถึงการบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เป็นต้น
892  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ก่อนกำหนด ออกจากกรรมฐาน ควรทำอย่างไร ? เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 02:42:32 am
ลองอ่านตาม Link นี้ดูครับในกระทู้ที่ 2 หัวข้อ ข. การออกจากสมาธิ (ตามวิถี Admax) อาจจะเป็นประโยชน์แก่คุณก็ได้ครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7416.0
893  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การนั่งสมาธิ ที่ดี ควรทำอย่่างไร คะ เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 02:39:54 am
ลองอ่านขั้นตอนการปฏิบัติตาม Link นี้ดูครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่คุณครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7416.0
894  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปีติ เวลากำหนด พระลักษณะ และ พระรัศมี นั้นจะเกิดทุกครั้งหรือไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 02:32:48 am
ปีติ เวลากำหนด พระลักษณะ และ พระรัศมี นั้นจะเกิดทุกครั้งหรือไม่ ?
 คือสงสัยว่า ปีติ ต้องเกิดตามลำดับ ที่เราตั้ง ฐานจิต หรือไม่ ?
 หรือว่า จะเกิดขึ้นไปตาม จริต และ บารมีเดิม คืออาจจะไม่เกิดในฐาน จิต นั้น ๆ แต่เกิดในฐานจิต อื่น ๆ
  :c017:

ส่วนตัวที่เกิดแก่ผมนะครับ อาจจะตอบไม่ตรงคำถามหรือว่าไม่ให้ประโยชน์ก็ขออภัยด้วยครับ โดยผมรู้เห็นดังนี้คือ

- ความปิติอิ่มเอมจิต สุข สงบ ผ่องใส สภาพจิตนี้จะเกิดขึ้นเมื่อจิตว่างจากอกุศลจิตใดๆ
- อนึ่ง ความปิติอิ่มเอมจิต สุข สงบ ผ่องใส มีฐานจิตแห่งกุศลเข้าสู่สภาวะสมาธิที่ควรแก่งาน ฐานจิตตั้งจดจ่ออยู่ที่จุดเดียว จนเข้าสู่อารมณ์สมถะถึงแก่เอกัคตา

ดังนั้นไม่ว่าคุณจะกำหนดใดๆอบู่หากเข้าถึงสภาวะที่จิตเป็นดังข้างต้นที่ผมกล่าวมา ก็จะถึงซึ่ง ความปิติอิ่มเอมจิต สงบ อบอุ่น ผ่องใส เบาบาง
895  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: หลายท่าน บอกว่า ปีติและสุข เป็นธรรมขวาง พระนิพพาน เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 01:48:56 am
โดยส่วนตัวผมนะครับ

- การที่จะตามรู้ทันจิตมันยากครับ โดยมากเราจะรู้ตามหลังจากที่มันปรุงแต่งแล้วและแสดงเกิดขึ้นแล้ว อาจจะรู้ได้ก่อนเกิดสมมติบัญญัติใดๆ
- แต่การจะรู้ทันจิตที่ว่านี้ ต้องพึงพิจารณารู้สภาพจริงๆด้วยปัญญาในวิปัสนากัมมัฏฐานในสติปัสฐาน๔ กาย เวทนา จิต ธรรม
- แต่จะทำอย่างไรให้รู้ทันจิตสภาพจริงที่เป็นปรมัตถธรรมที่ไม่ใช่ความคิดปรุงแต่งสมมติแห่งตน หรือ ธัมมารมณ์ // การจะระลึกรู้หรือทำเช่นนี้ได้นั้นต้องอาศัยสมาธิครับ บางคนใช้สมาธิทั่วไปที่มีเพียงเล็กน้อย(ขณิกสมาธิ)เข้าพิจารณาอาจจะไม่ได้สภาพปรมัคถธรรม เพราะกำลังสมาธิไม่พอนั่นคือไม่ควรแก่งาน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าต้องใช้สมาธิที่สามารถเข้าถึงสภาพจิตของ อารมณ์สมถะ จึงจะแน่นและจดจ่อได้นานจนเห็นสภาพปรมัตถ์ได้ชัดเจน
- แต่สมาธินั้นสามารถเกิดขึ้นโดยไม่มีสติก็ได้ แต่ทุกครั้งที่สติเกิดสมาธิก็จะเกิดตามมา เพราะเมื่อสติระลึกรู้สิตได้ จิตเราต้องจดจ่อมีสมาธิในสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ แต่สมาธิที่ว่านี้อาจจะไม่ใช่สมาธิที่ควรแก่งานเสมอไป นั่นคือ อาจจะไม่ใช่สัมมาสมาธิ แต่สัมมาสมาธิจะเอื้อต่อสัมมาสติ และ สัมมาสติจะเกิดคู่กับสัมมาสมาธิเสมอ
- ดังที่ผมกล่าวมาในข้างต้นทั้ง 4 ข้อนั้น ส่วนตัวผมพิจารณาว่าทุกอย่างต้องไปควบคู่กัน เพื่อเข้าถึงทุกข์ รู้ทุกข์ และเห็นทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง โดยส่วนตัวของผมอาจจะกล่าวขัดกับหลายๆท่านว่าการปฏิบัติ อย่าไปหวังต้องการใน พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ อภิญญา ฌาณ ญาณ ให้ปฏิบัติด้วยปารถนาอยากจะลดละความทุกข์ อยากจะพ้นกองทุกข์ จนถึงที่สุดในกองทุกข์ หากเมื่อเห็นทุกข์แล้ว และสามารถหาเหตุพร้อมทางออกจากทุกข์ได้แล้วนั้น เมื่อเราสะสมบุญบารมีมาเพียงพอแล้ว มันก็จะเป็นเองโดยอัตโนมัติ
- ไม่ต้องอยากไปตั้งหวังปารถนาอยากได้สิ่งใดๆ เพราะหากตั้งความหวังอยากได้เช่นนั้นแล้วมันจะหาประโยชน์ใดๆไม่ได้แก่ตนเองและคนอื่น เพราะมันจะกลายเป็นตัณหา เป็นอัตตา อุปาทานให้ใจตน จะทำให้ไม่เห็นทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง แต่จะเห็นอัตตาอุปาทานตนเองแทน พระพุทธเจ้าไม่ได้เผยแพร่พระธรรมเพื่อฤทธิ์เดชใดๆ แต่เผยแพร่ธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายเห็นทุกข์ เห็นทางดับทุกข์ เห็นทางพ้นทุกข์

ลองดูครับ
896  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการเบื้องต้นที่ใช้พิจารณาระลึกรู้ใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2012, 01:38:43 pm
5. เมื่อพิจารณาจนเห็นแจ้งทั้ง 4 ข้อข้างต้นนี้แล้ว ให้พึงระลึกพิจารณากลับไปกลับมาดังนี้ว่า...

- ความติดข้องใจใดๆสืบต่อเสพย์เสวยอารมณ์ความพอใจยินดี(โสมนัส) และ ความไม่พอใจยินดี(โทมนัส) เป็น สมุทัย

- ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์

- รู้แจ้งสัจธรรม เห็นในสภาพจริงแห่งปรมัตถธรรม ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ ทาน คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค

- การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโร


** เบื้องต้นที่เริ่มศึกษาธรรมให้เริ่มเรียนรู้อย่างนี้ๆให้ถ่องแท้เป็นเบื้องต้นก่อน อย่าเพิ่งใปคิดว่าอยากมี ฌาณ มี ญาณ มี ฤทธิ์ มี เดช หรือ จนเก่งรู้หมดแล้ว และ ที่สำคัญ คนส่วนมากมองว่าต้องรู้ต้องเก่ง "สติปัฏฐาน 4" ต้องเข้าใจมองหรือเห็นอย่างนั้นอย่างนี้ มีแสง เห็นแสงเห็นอะไร ถ้าหากคิดอย่างนี้อยู่ อย่าว่าแต่สติปัฏฐานสูตรเลย สมาธิก็ยังไมได้ เพราะยังไม่รู้อริยะสัจ 4 เป็นเบื้องต้นก็ไม่รู้พิจารณาแยกสติปัฏฐานสูตรได้ เพราะว่าสติปัฏฐานสูตรอยู่ในส่วนหนึ่งของมรรค 8 คือ สัมมาสติ และ วิปัสนาฌาณก็ต้องพึ่งอุปจารสมาธิจนถึงอัปปนาสมาธิ
         หากศึกษาสติปัฏฐานสูตรหรือวิปัสนาโดยไม่มีกัมมัฏฐานสมาธิ และ ไม่ได้ศึกษาอริยสัจ 4 ไม่เคยศึกษาเพื่อพิจารณาหาเหตุ หาปัจจัย ที่ส่งเป็นผล เราก็จะไม่รู้ไม่เข้าใจใน เหตุ ปัจจัย ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในสภาวะธรรมนั้นๆที่เรากำลังพิจารณาอยู่ในสติปัฏฐานได้ และ สุดท้ายเมื่อรู้สติปัฏฐานสูตรถ่องแท้ จนแม้กระทั่งบรรลุ สุดท้ายก็จะมองเห็นในอริยะสัจ 4 เป็นหลักดังเดิม เพราะเมื่อบรรลุนั่นแล้วก็จะเห็นความไม่มีตัวตนบุคคลใดหรือสิ่งใดอันที่จะก่อเกิดประโยชน์ใดๆแก่ตนเองและคนอื่นได้ นอกจากทุกข์ เหตุปัจจัยของทุกข์ และทางดับทุกข์

วิธีการพิจารณาปฏิบัติในข้อธรรมเบื้องต้น เพื่อความเข้าสู่สภาพกุศลจิตให้ดำเนินเข้าถึงมรรค ดูได้ตาม Link นี้ครับ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.0
897  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีการเบื้องต้นที่ใช้พิจารณาระลึกรู้ใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 01:39:38 pm
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการเบื้องต้นที่ใช้พิจารณาระลึกรู้ใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


การที่เราเริ่มศึกษาสมาธิ แบ่งเป็น ๓ ประเภทดังนี้คือ

๑. บุคคลผู้สนใจอยากศึกษาเรียนรู้ธรรมนำมาใช้กับชีวิต
๒. บุคคลผุ้สนใจอยากศึกษาธรรมเนื่องจากมีความทุกข์มากแล้วอยากให้ทุกข์เบาบางลง
๓. บุคคลผู้สนใจศึกษาธรรมเพื่อจะทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์

บุคคลทั้ง ๓ ประเภทนี้ ล้วนต้องเริ่มจากการที่ใจต้องยอมรับในธรรมจริง และ ศรัทธาจริงๆก่อน จากนั้นต้องพยายามที่จะทิ้งสิ่งต่างๆไว้เบื้องหลังก่อน เพื่อที่จะเปืดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆเข้ามา เพราะว่าหากยังตั้งมั่นใจจุดที่ตนเป็นอยู่ ไม่ว่า รัก โลภ โกรธ หลง เวทนา จิต ธรรม มันก็จะเต็มไม่สามารถรับรู้ใดๆได้อีก ยกตัวอย่าง หากเรารินน้ำไว้เต็มแก้ว เมื่อรินมาอีกน้ำย่อมล้นหกกระจายไปทั่ว แต่หากว่าน้ำที่เต็มแก้วอยู่นั้นเรากินไปแล้วครึ่งแก้วเหลือครึ่งแก้ว เราก็ยังสามารถรินเพิ่มให้เต็มแก้วได้ใหม่อีกโดยที่น้ำไม่หกกระเซ็นเลอะเทอะ
เมื่อทำได้อย่างข้างต้นแล้วให้น้อมรับเอาพระธรรมคำสอนต่างๆเอามาพิจารณาในตน ว่าธรรมนั้นมีส่วนใดบ้างที่ใช้ได้กับเราแล้วก็จะเริญควบคู่กันไปกับความรู้เดิมที่ใช้ได้กับเรามันจะทำให้เรามีทางเลือกในการศึกษาเพิ่มขึ้น จนถึงเมื่อจุดๆหนึ่งที่เราจับจุดที่เข้ากับจริตเราได้แท้จริงแล้วก็ให้เพียรภาวนา กัมมัฏฐานไป แต่ก็ยังต้องเรียนรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ
         โดยอย่าคิดหวังว่าจะบรรลุในวินาทีนี้ เพราะเราไม่ทราบว่าเราสะสมมาพอแล้วหรือยัง ดังนี้นจึงต้องค่อยๆเป็นไป อย่าคิดหวังว่าอยากมีญาณ มีฌาณ อย่ามุ่งหวังเพื่ออิทธิฤทธิ์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะกระทำให้คุณเกิดความสำคัญมั่นหมาย เกิดเป็นความทะยานอยาก หลงตนไป
         เมื่อกระทำได้อย่างเบื้องต้นแล้วนั้นให้พิจารณาถึงความจริง 4 ประการ คือ อริยะสัจ 4 โดยพิจารณาดังนี้

1. พิจารณาทุกข์เป็นเบื้องต้น พิจารณาว่า "ผล คือ ทุกข์ มันเป็นเช่นไร" ความโศรกเศร้าร่ำไรรำพัน ความคับแค้นกายใจ ไม่สบายกายใจ ความเจ็บป่วยไข้ทั้งหลายเหล่านี้มันคืออะไร ความไม่สมปารถนามันเป็นยังไง ความผิดหวังเป็นยังไง ความพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ หรือความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจมันเป็นเช่นไร
         เมื่อรู้ว่าทุกข์เป็นยังไงแล้ว ก็ให้เราเริ่มพิจารณาว่า เมื่อเราประสบเหตุการณ์ หรือ เกิดเสพย์อารมณ์ความรู้สึกใน รัก โลภ โกรธ หลง มันส่งต่อไปเป็นตัณหาอย่างไร เช่น อยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือ อยากที่จะไม่พบ-ไม่เจอ อยากที่จะไม่ให้มันเกิดกับ หรือ อยากกำหนัดใคร่ได้ พอใจยินดี อยากปารถนาที่จะเสพย์ สืบต่อมาให้เรามีความสภาพจิตรู้สึกทุกข์อย่างไร จากนั้นจำแนกความทุกข์ในแต่ละอย่างตามเวทนาอารมณ์นั้นๆที่ประสบพบเจอว่ามันอัดอั้น มันทะยาน มันคับแค้น มีบีบใจ มันกรีดใจ หรือ มันใจหล่นหวิว ฯลฯ

2. พิจารณาหาเหตุปัจจัยแห่งทุกข์นั้นๆ คือเมื่อเราจำแนกความทุกข์ในแต่ละอย่างตามเวทนาอารมณ์นั้นๆที่ประสบพบเจอได้แล้วนั้น ให้เรามองลงอย่างละเอียดอ่อนถึงความเป็นไปของทุกข์นั้นๆ เพื่อหาเหตุปัจจัยของทุกข์ที่เกิดกับเราดังนี้

         ๒.๑ เริ่มจากผลลัทธ์ของมัน นั่นก็คือ ความทุกข์ที่เราเป็นอยู่นั้นเอง เช่น ขณะนี้กำลังเสียใจ โศรกเศร้าร่ำไรรำพัน คับแค้นกาย-ใจ กรีดใจ หวีดทะยานยาก เกลียดแค้น พยาบาท หรือ เกิดสิ่งใดๆอยู่

         ๒.๒ จากนั้นมองถอยออกไปที่ละก้าว เริ่มจากพิจารณาหา "ตัวประกอบที่ช่วยให้มันดำเนินการออกมาเป็นผล"
                 ยกตัวอย่างเช่น
                 เมื่อมีคนมาด่าเรา พูดไม่ดีกับเรา มาใส่ร้ายด่าว่าเราเป็นต้น เราเกิดสติรู้อยู่ในใจว่าขณะนี้กำลังทุกข์ใจ รู้สึกว่าสภาพกายและจิตมีความรู้สึกกรีดสั่นปะทุใจ อึดอัดใจ ขุ่นข้องขัดเคืองใจ อัดอั้นคับแค้นกาย-ใจ กายสั่น ลมหายใจแสบร้อนเป็นต้น ตัวดำเนินไปในทุกข์นั้นคือสิ่งใด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่ใคร่ได้ยินดี สิ่งนี้ใช่ไหมที่ทำให้เกิดความคับแค้นกาย-ใจ ถ้าพิจารณาลงแล้วจะเห็นว่าตัวประกอบที่ช่วยให้เกิดเป็นทุกข์ คือตัวนี้ นั่นคือ "วิภวะตัณหา" นั่นเอง

         ๒.๓ เมื่อรู้ตัวประกอบช่วยดำเนินการให้เป็นผลแล้ว ให้เราถอยออกไปอีก 1 ก้าว มองดูว่ามีสิ่งใดที่เป็น "ตัวปรุงแต้มแต่งเติม" มันขึ้นมา ให้เกิดสืบต่อเป็น "ตัวประกอบที่ช่วยให้มันดำเนินการออกมาเป็นผล"
                 ยกตัวอย่างเช่น
                 เมื่อเรารู้ว่าวิภวะตัณหานั้นเองที่เป็น ตัวประกอบที่ช่วยให้เกิดเป็นทุกข์ในครั้งนี้ ก็ให้เราถอยออกพิจารณาว่าเพราะมีสิ่งใดที่ปรุงแต่งจิตเกิดขึ้นกับเรา จึงทำให้เราเกิดเป็น วิภวะตัณหา เช่น เรานั้นกำลังประสบสิ่งใดอยู่
                 พิจารณาดังนี้ คือ ที่เราทุกข์ใจ จากการเกิดวิภวะตัณหานี้เพราะว่าเราได้ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย ซึ่งสิ่งนี้จะมีเกิดแก่เราได้ เพราะเรามีความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง เกิดประกอบกับความรัก โลภ โกรธ หลงนั้นเอง ทีนี้ทวนพิจารณาดูว่า เมื่อมีคนมาด่าว่าเรา พูดไม่ดีกับเรา จิตเราเกิดวิภวะตัณหาจากความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ซึ่งความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะมาจากความตรึกนึกคิดที่เกิดประกอบกับความ รัก โลภ โกรธ หลง ถ้าพิจารณาลงแล้วจะเห็นว่าเพราะ "ความนึกคิดที่เป็นอกุศลจิตทั้งหลาย" นี่เองที่ทำให้เกิด ตัณหา และ ความทุกข์

         ๒.๓ เมื่อรู้ตัวการปรุงแต้มแต่งเติมแล้ว ก็ให้เราถอยออกไปอีก 1 ก้าว เพื่อมองดูว่ามีสิ่งใดที่เป็น "ตัวสาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้มันเกิดตัวการปรุงแต้มแต่งเติม"
                 ยกตัวอย่างเช่น
                 พิจารณาดังนี้  คือ  ที่เรามีทุกข์เพราะมีตัณหา // มีตัณหาเพราะความนึกคิดที่เป็นอกุศลจิต // นึกคิดในอกุศลได้...เราก้อต้องมีสิ่งที่เราตั้งความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจเป็นแน่แท้ ว่าสิ่งใดที่เราถูกใจที่เราต้องการอยากได้ หรือ สิ่งใดที่เราไม่ถูกใจ สิ่งใดที่ขัดเคืองใจเราที่เราไม่ต้องการอยากได้(ความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ คือ ความจำได้จำไว้มั่นหมายตั้งความสำคัญกับสิ่งต่างๆเอาไว้ในใจ ที่เราเรียกว่า "สัญญา" นั่นเอง) ทีนี้ลองมาทวนพิจารณาดูดังนี้ว่า เมื่อมีคนมาด่าว่าเรา พูดไม่ดีกับเรา จิตเราเกิดวิภวะตัณหา เพราะมีความตรึกนึกคิดที่เป็นอกุศลจิต ที่ตรึกนึกคิดเพราะใจมีความสำคัญสำคัญมั่นหมายกับสิ่งนั้นๆ  ถ้าพิจารณาลงแล้วจะเห็นว่าเพราะ "ความสำคัญมั่นหมายของใจ" นี่เองที่ทำให้เกิดความนึกคิดเป็นถูกใจ ไม่ถูกใจ ก่อเกิดเป็น ตัณหา และ ความทุกข์

         ๒.๔ เมื่อรู้ "สาเหตุเบื้องต้นทำให้มันเกิดตัวการปรุงแต้มแต่งเติม" แล้ว ให้ถอยออกมาอีกก้าวเพื่อพิจารณาหา "ตัวแก่นแท้ของเหตุแห่งทุกข์นั้น" ตัวนี้ล่ะที่เขาเรียกกันว่า "สมุทัย คือ แหตุแห่งทุกข์"
                 ยกตัวอย่างเช่น
                 พิจารณาดังนี้ คือ ที่เรามีทุกข์เพราะมีตัณหา // มีตัณหาเพราะความนึกคิดที่เป็นอกุศลจิต // นึกคิดในอกุศลได้เพราะเรามีความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ // ความสำคัญมั่นหมายของใจจะเกิดขึ้นได้นั้น สภาพจิตเราก็ต้องเคยได้รับรู้สิ่งต่างๆเหล่านั้นมาก่อน แล้วเสพย์เสวยความรู้สึกพอใจยินดี(โสมนัส) หรือ มีความไม่พอใจยินดี(โทมนัส) แก่สิ่งนั้นๆ // เพราะมีเหตุอยู่ที่ความโสมนัสและโทมนัสเช่นนี้นี่เอง จึงเกิดสัญญาสำคัญมั่นหมายไว้แก่ใจ // จึงสืบต่อมาเป็นความตรึกนึกคิดในอกุศลจิตสืบต่อมาเป็นตัณหา // เมื่อตัณหาเกิดทุกข์ก็เกิดตาม ถ้าพิจารณาลงแล้วจะเห็นว่าเพราะ "เรามีความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี" นี่เองที่เป็นสมุทัย หรือ เหตุแห่งทุกข์

3. หนทางแห่งการดับทุกข์ เมื่อหากเราพิจารณาเห็นถึงเหตุแห่งกองทุกข์นั้นแล้ว ณ เวลานั้นเราจักประจักษ์เห็นทางออก หรือ เห็นทางแห่งการดับทุกข์ คือ มรรค ทางแห่งมรรคที่เห็นเป็นเบื้องต้นนั้นเริ่มแรกจะมีมากมายหลายทาง แต่จะมีแค่ทางเดียวที่ตรงกับการดับทุกข์ตามจริตของเรา ให้เราพิจารณาทีละทางแล้วเมื่อเห็นก็ให้เริ่มปฏิบัติ แม้มันต้องใช้ความพยายามตั้งมั่นมากก็ให้ค่อยเพียรทำไป แล้วจะเห็นทางที่ดับทุกข์ของเราที่ใช้ได้จริงเอง เมื่อทางไหนปฏิบัติแล้วดับได้จริงให้เพียรพิจารณามีสติระลึกรู้เสมอว่าทางนี้ดับได้จริงเมื่อมันเกิดขึ้นอีกก็ให้ใช้ทางนั้นดับ แต่ถ้าหากดับไม่ได้ก็แสดงว่าชั่วขณะจิตนั้นจริตเราได้เปลี่ยนแปรไปก็ให้พิจารณาตามลำดับขั้นใหม่อีกจนเห็นทางดับทุกข์ที่ใช้ได้
         "วรรคสุดท้ายของมรรคแล้วนั้นหัวใจหลักอยู่ที่ กาย วาจา ใจ ชอบ คงอยู่แห่งความเป็นกุศล และจุดที่เป็นศูนย์รวมของ กาย วาจา ใจ นั้นก็คือ สติ ในมรรคนั้นคือ สัมมาสติ ความระลึกชอบ (สติปัฏฐานสูตร) นั่นเอง"

4. ความดับทุกข์ นั่นก็คือ ความสุขที่ได้รับจากการดับทุกข์เหล่านั้นแล้ว ความสุขนี้นั้นแค่เรามองเห็นทางดับทุกข์ในเริ่มแรกทั้งที่ยังไม่ได้กระทำปฏิบัติ เราก็สามารถเห็นได้ในอุดมคติ โดยเป็นมโนจิตที่เรานึกเห็นปรุงเห็นก่อนแต่ยังไม่ได้เป็นจริง จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อเราสามารถปฏิบัติและดับทุกข์นั้นได้แล้วจึงจะได้พบความสุขที่แท้จริงนี้ ตัวนี้เป็นผลมาจากการปฏิบัติมรรคเพื่อพ้นทุกข์
898  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: รู้เหตุ รู้ทุกข์ รู้ธรรม รู้ทำ ทุกข์ก็เบาบาง.rtf เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:24:56 am
วิธีที่จะทำให้ลดความพอใจยินดีทั้งหลายลงมีดังนี้

๑. การปฏิบัติมีศีล 5 เป็นเบื้องต้น เพื่อปฏิบัติตนไม่เป็นผู้เบียดเบียนตนเองและคนอื่น ปฏิบัติดีงามด้วยกายและวาจา ศีล 5 มีความหมายคือ
๑.๑ เว้นจากทำลายชีวิต ลองคิดดูว่าหากทีคนคิดปองร้ายเรา หมายเอาชีวิตเรา แล้วมาฆ่าเรา พรากชีวิตเราไปจากโลกที่เราอยากจะอยู่จะเป็น เราชอบ เรารู้สึกดีไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๒ เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ ลองคิดดูว่าหากมีคนมาขโมยของๆเรา หรือหยิบเอาสิ่งที่เราไม่ให้ ไม่อนุญาติด้วยความหวงแหน เป็นสิ่งมีค่าของเรา เราจะรู้สึกดีพอใจกับการกระทำนั้นไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๓ เว้นจากประพฤติผิดในกาม คือ ผิดต่อ ลูก ภรรยา สามี พี่ น้อง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย น้า อา ลุง ป้า ของตนเองและคนอื่นเป็นต้น ลองคิดดูนะครับว่าหากคนที่เรารักหรือใครก็ตามมากระทำผิดในกามต่อครอบครัวเรา เราจะชอบไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๔ เว้นจากพูดเท็จ-โกหก ส่อเสียดให้ร้ายหรือทำร้ายคนอื่น ลองคิดดูนะครับว่า หากคนอื่นบางคน หรือทุกคน คอยรักแต่โกหกปิดบังความจริงเรา พูดส่อเสียด พูดให้ร้ายเรา ด่าเรา เราคงไม่ชอบใช่ไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๕ เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ลองคิดดูนะครับว่า การดื่มสุรานั้นทำให้เราเสียเงินโดยไม่จำเป็น เสียจากส่วนที่ควรจะใช้ประโยขน์ได้มากกว่านั้น คนที่รักก้อไม่ชอบใจ อาจจะหนีเราไปเลยเพราะชอบเมาสุรา เงินที่ควรจะเก็บไว้ใช้จ่ายเพื่อภาระต่างๆ กองทุนต่างๆที่คาดไว้ก็หายไป  เงินไม่พอใช้ ต้องมากู้หนี้ ยืมสินใหม่อีก มีแต่เสียกับเสีย บางครั้งอาจจะฆ่าคนตายเพราะฤทธิ์แห่งสุราได้ด้วย หรือจะกระทำพลาดพลั้งใดๆก้อได้ แล้วก็มาเสียใจในภายหลัง   เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ ไม่อยากจะได้รับผลกระทบเช่นนี้ๆ เราก็ไม่ควรที่จะดื่มสุราเมรัย เพื่อจะได้ไม่กระทำหรือรับผลกระทบเช่นนั้น
- ตรงนี้จะสอนให้ผู้ปฏิบัตินั้นรู้จักข้อศีลหรือความผิดที่ตนเองกระทำ จนถึงมีจิตเป็นกุศลตั้งในความไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย วาจา ฯ ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัว ทำด้วยความไม่ยึดมั่นฝืนใจทำของเรา  อานิสงส์จะช่วยให้มีความปกติสุขยินดี ไม่ร้อนรุ่ม-ร้อนรน ทั้งกายและใจ

๒. นั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรม ไม่ก็นอนแล้วตั้งจิตมั่นทำสมาธิ ซักวันละ 10-30 นาที อาจจะระลึกบริกรรมถึงพุทธานุสสติ คือ หายใจเข้ายาวๆ ระลึก "พุทธ" หายในออกยาวๆ ระลึก "โธ" การหายใจเข้า-ออกยาวๆ เริ่มต้นซักประมาณ 3-10 ครั้ง แล้วจึงปล่อยลมหายใจอยู่ในสภาพที่หายใจปกติ เพื่อปรับสภาพธาตุ ลมปราณ เพื่อให้มีสมาธิตั้งมั่นในเบื้องต้น เป็นประตูผ่านจุดแรกให้เข้าสมาธิง่ายๆ ทำให้ใจเย็นขึ้น อุ่นขึ้น ขยะในสมองหรือความคิดฟุ้งซ่านจะลดลง ใจเต้นสูบฉีดเลือดในสภาวะปกติมากขึ้น ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป (สังเกตุสภาวะเมื่อทำสมาธิเช่นนี้ๆจิตใจเราจะสั่นเครือ อัดอั้น ตันใจ คับแค้นใจน้อยลง มีสติมากขึ้น ใจไม่เต้นแรง หรือ ถี่จนสั่นเครือ) หากว่าหายใจ เข้า-ออก ยาวๆแล้วรู้สึกดีขึ้นทั้งสภาพกายและใจก็สามารถที่จะกระทำไปเรื่อยๆจนร่างกายและสภาพของธาตุในร่างกายเริ่มชินกับกายหายใจเข้า ออก ยาวๆ ก็ได้
หากว่าเรานั้นเวลาทำสมาธิหรือก่อนทำมีใจที่ฟุ้งไปในความโกรธ หรือ โทสะ ให้เราระลึกถึงการมี ทาน และ พรหมวิหาร๔ (อธิบายไว้ในข้อ ๓-๔) จากนั้นระลึกถึงเรื่องดีๆเป็นกุศลให้เรามีความผ่อนคลายจนถึงแก่ความนิ่งว่างแห่งสมาธิ
หากว่าเรากำลังเสียใจกับเรื่องราวต่างๆมีความพลัดพรากตั้งอยู่ ก็เริ่มจากคิดถึงเรื่องที่ดีเป็นกุศลผ่อนคลาย จนถึงแก่เรียนรู้พิจารณาถึงความเกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ ในทุกสิ่งทุกอย่างว่า
- ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีสิ่งใดจะคงอยู่ตลอดไปกับเราได้ ย่อมจะสุญสลายจากไปตามกาลเวลา และ การดูแลรักษาของเรา ไม่ว่าจะเป็นความตาย หรือ การจากลา เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่คงอยู่กับเราเที่ยงแท้แน่นอน
- ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเรา เราเพียงแค่ยืมเขามาใช้เพื่อเสพย์ความสุขพอใจยินดีในช่วงเวลาหนึ่งไม่นานก็ต้องปล่อยเขาคืนกลับไป ที่กล่าวเช่นนี้เพราะเราไม่สามารถไปบังคับ จับต้อง ให้เป็นดั่งที่ใจเราต้องการได้ทุกอย่าง ไม่สามารถบังคับแม้แต่ใจเราเอง น้ำตาเราเอง ว่าไม่ให้เสียใจ ไม่ให้ร้องไห้ ไม่สามารถไปบังคับจับต้องสิ่งใดๆได้เลย
- เมื่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน เมื่อเราไม่อาจจะไปบังคับจับต้องให้เป็นไปดั่งที่ใจปารถนาต้องการได้ มันจึงก่อเกิดเป็นความทุกข์ เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดมา ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
พิจารณาเช่นนี้ไปควบคู่กับ ทาน และ พรหมวิหาร ๔ จนจิตใจเราวางใจกลางๆได้มากขึ้น (อธิบายไว้ในข้อ ๓-๔)
ความโลภ ใคร่ได้ต้องการก็เช่นกัน ให้พิจารณาตามข้อ ๓-๖
- ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติคุมสติให้นิ่งได้ง่ายขึ้น ใจเย็นลง จิตใจจะลดความฟุ้งซ่าน โมโห กลัว สับสน ลดใจที่สั่นเครือลง อานิสงส์ คือ จะทำให้ใจเรามีความสงบ ผ่องใส นิ่งอยู่โดยปราศจาก ความอาฆาต พยาบาท และ กามตัณหา ทั้งหลาย

วิธีการปฏิบัติกัมมัฏฐาน เพื่อเจริญสมาธิเบื่องต้น ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ที่เห็นผลได้ ให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7416.0
ในหัวข้อ ก. การเจริญสมาธิ (ตามวิถี Admax)


๓. การระลึกปฏิบัติ ทำไปเพื่อการให้ที่เรียกว่า ทาน
๓.๑ ทาน คือ การสละ เป้นการสละให้โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆจากผู้รับ สละให้เพราะหวังให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เราให้นั้น ให้ไปแล้วไม่มาคิดเสียดายหรือเสียใจในภายหลัง ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
๓.๒. เมตตาทาน คือ การสละให้เพื่อหวังให้ผู้อื่นได้รับความสุข ได้พบประสบความสุขจากการให้ของเรา หรือ จากสิ่งที่เราได้ให้เขาไป ด้วยสภาพจิตผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
๓.๓ อภัยทาน คือ การสละให้เพื่อความเว้นจากความพยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น ให้เพื่อผู้อื่นได้รับอิสระสุขจากการให้นั้นของเรา รู้ให้อภัยด้วยจิตใจที่เป็นกุศล เป็นการเว้นไว้ซึ่งโทษ งดโทษ อดโทษแก่คนอื่น เป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยกาย วาจา ใจ ให้เพราะความมีใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ อนุเคราะห์ อยากให้เขาไม่รู้สึกอึดอัด อัดอั้นใจ เป็นทุกข์ ทรมาน ทั้งกาย-ใจ ให้เพราะอยากให้ผู้รับมีจิตใจเบิกบาน ไม่ขุ่นข้องหมองใจ ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
- ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รู้จักการให้เพื่อคนอื่นไม่ใช่แต่จะรับอย่างเดียว ลดความเห็นแก่ตัว-เอาแต่ได้ของตัวเองลง โดยการที่เราจะสามารถเข้าถึงสภาพจิตและการดำเนินไปใน ทาน เป็นผลสำเร็จสมบูรณ์ได้นั้น เราต้องเจริญปฏิบัติและเข้าถึงในสภาพจิตของ เมตตาจิต กรุณาจิต และ มุทิตาจิต ให้ได้ก่อน สภาพจิตที่เป็นไปใน ทาน ของเรานั้นจึงจะเป็นผลสมบูรณ์เต็ม

๔. ระลึกรู้ปฏิบัติทำใน พรหมวิหาร ๔ คือ
๔.๑ เมตตา คือ สภาพที่จิตมีความปารถนาให้คนอื่นเป็นสุข หรือ กระทำเพื่อต้องการให้ผู้อื่นได้รับความสุขจากการกระทำของตน ด้วยจิตผ่องใส ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
๔.๒ กรุณา คือ สภาพที่จิตมีความสงสารเห็นอก-เห็นใจคนอื่น เข้าใจผู้อื่น หรือ กระทำเพื่อคนอื่นด้วยความอนุเคราะห์ ความเอื้อเฟื้อ-เผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารีย์ รู้แบ่งปันให้แก่ผู้อื่น ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
๔.๓ มุทิตา คือ สภาพที่จิตมีความยินดีแจ่มใส เมื่อเห็นคนอื่นเขาพ้นทุกข์ได้ประสบกับความสุข ด้วยจิตที่ดีงามเป็นกุศล ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
๔.๔ อุเบกขา คือ สภาพที่จิตมีความวางใจไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดีจิตจะวางเป็นกลาง เช่น เมื่อได้กระทำสิ่งใดๆในทางที่ดีเป็นกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือตนเองอย่างเต็มที่แล้ว ก็ให้พึงระลึกในใจว่า ได้ก็เอา-ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เราได้กระทำอย่างดีที่สุดแล้ว เต็มที่ เต็มใจที่ทำแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกรรม นั่นคือ การกระทำโดยเจตนาไม่ว่าในปัจจุบันนี้หรือในกาลก่อน ต้องยอมรับความจริงปล่อยให้มันเป็นไป ไม่มีความติดข้องใจใดๆ ไม่ตั้งความยึดมั่นถือมั่นทะยานอยากได้ อยากให้เป็น หรือ ไม่อยากได้ ไม่อยากให้เป็นอีกต่อไปป ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่นิ่งเฉย-ว่างเฉย ด้วยสภาพจิตที่หมองหม่นใจ ไม่แจ่มใส ไม่เบิกบานใจของเรา
- การเจริญในพรหมวิหาร๔ หรือ เจริญใน เมตตา กรุณา มุทิตา หลวงปู่แหวนท่านกล่าวไว้ว่า ให้พึงกระทำและระลึกแบบความรู้สึกของ พ่อ-แม่ ที่มีต่อลูก ที่อยากให้ลูกมีสุข ได้ดี แบ่งปัน เอื้อเฟื้อ เมื่อลูกทำได้ หรือได้ดีมีสุข พ่อ-แม่ก็ยินดีมีสุขกับความสุขสำเร็จนั้นของลูกด้วย โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน แนวทางการปฏิบัติและเข้าสู่สภาพจิตของเมตตานี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้วใน "กรณียเมตตสูตร" ท่านทั้งหลายสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากพระสูตรต่างๆที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วได้ ที่ได้แปลความหมายเป็นภาษาไทยเพื่อความเข้าใจง่าย เพราะนั่นคือแนวทางการเจริญกัมมัฏฐานและปฏิบัติทั้งหลายนั่นเองครับ
- ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติรู้จักคิดและทำเพื่อคนอื่น เห็นใจคนอื่น เมตตาสงสารคนอื่น รู้จักเอื้อเฟื้อคนอื่น มากกว่าที่จะทำเพื่อความพอใจยินดีของตนเอง (ความพอใจยินคือก็คือความโลภนั้นเองครับ) จะทำให้ผู้ปฏิบัติรู้จักคิดและทำเพื่อสิ่งที่ดีที่ถูกต้องแก่ตนเองและคนอื่นมากขึ้น จนถึงแก่ขั้นวางใจกลางๆ มีจิตเป็นกลางไม่ยึดมั่นถือมั่นในความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี การระลึกใน พรหมวิหาร๔ เช่นนี้จะช่วยให้จิตใจของผู้ปฏิบัติผ่อนคลายเป็นกุศลจิต มีใจไม่ยึดมั่นติดข้องต้องใจจากความพอยินดีของตนเอง แต่จะเริ่มรู้จักการคิด-ทำเพื่อคนอื่น และจะเชื่อมโยงให้ผู้ปฏิบัติมี ขันติ ได้เองโดยอัตโมัติ


ดูอุบายวิธีการเจริญเมตตาจิตในการสวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่บุคคลทั้งหลาย ตาม Link นี้ได้เลยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0

วิธีการเข้าสู้อุเบกขาจิตนั้น ดูแนวทางพิจารณาได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0


๕. ขันติ คือ ความอดทน อดทนได้ทั้งสิ่งที่ชอบและชัง ด้วยจิตใจที่เป็นกุศล ไม่ใช่ฝืนทน นั่นคือ อาการของจิตที่รู้ว่าสิ่งนี้ ควรอด ควรละ ควรผ่อน ควรปล่อย ควรผ่านไป ควรหยุดไว้ก่อน ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควรถือมั่น รู้ว่าควรอด-ควรละในการกระทำทาง กาย วาจาใดๆ รู้ว่าควรอดใจไว้ไม่ควรติดข้องใจใดๆในสิ่งนั้น ไม่มีการฝืนใจตนเองใดๆอันที่จะทำให้โทสะเกิดขึ้น สามารถอดทนกระทำเพื่อสิ่งที่เป็นผลที่ดีในวันข้างหน้าได้ อดทนเพียรพยายามกระทำในสิ่งที่ดีงาม ไม่ว่าจะเป็นการงาน คำด่า และ การกระทำที่ส่อเสียด ความทะยานอยากใคร่ได้ที่จะเสพย์ใดๆ ฯลฯ ด้วยสภาพจิตผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัว ทำด้วยความไม่ยึดมั่นฝืนใจทำของเรา เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สืบต่อไปถึงอุเบกขาจิต (แรกๆหากยังวางในกลางๆไม่ได้อาจจะเป็นการฝืนทำ แต่หากถึงความเป็นกลางของใจไม่ยึดเกาะความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดีได้แล้วการกระทำใดๆด้วยความเพียรพยายามอดทนก็จะไม่ฝืนทนอีก อาจจะมองว่ามันเป็นหน้าที่ที่ควรจะทำเป็นต้น)
- ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติอดทนต่อคำเสียดสีต่างๆ การกระทำไม่ดี อดทนต่อความเหนื่อยล้าทางกาย-ใจ


- ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติอดทนต่อคำเสียดสีต่างๆ การกระทำไม่ดี อดทนต่อความเหนื่อยล้าทางกาย-ใจ

๖. รู้จักหยุด รู้จักประมาณตน รู้จักพอ
การเจริญปฏิบัติในข้อนี้ต้องพึงปฏิบัติตามข้อที่ ๑-๕ ให้ได้ก่อน จะสามารถเข้าสู่สภาพจิตและการปฏิบัติในข้อนี้ได้ง่ายขึ้นโดยปราศจากการฝืนใจใดๆ เพราะข้อนี้จะใช้ความมี สติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ ศีล พรหมวิหาร ๔ และ ขันติ รวมเข้าด้วย มีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้
๖.๑ รู้จักหยุด คือ รู้จักหยุดคิดก่อนที่จะลงมือทำอะไร ให้ใช้สติระลึกรู้พิจารณาก่อนจะลงมือทำอะไร ให้รู้แยกแยะถูก-ผิด แยกแยะดี-ชั่ว ให้พิจารณาถึง ผลดี-ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้น หรือ ผลตอบกลับมาที่เราจะได้รับ ในสิ่งที่เรากำลังคิดที่จะ พูด หรือ ทำ ลงไป ก่อนที่เราจะกระทำสิ่งใดๆลงไป
๖.๒ รู้ประมาณตนเอง คือ ต้องมองย้อนดูตนเองว่าผิดพลาด บกพร่องตรงไหนบ้าง ไม่สำคัญตัวเองจนมากเกินไป เหมือนว่าตัวเองเหนือกว่าใคร เก่งกว่าใคร อยู่สูงกว่าใคร หรือ เป็นคนสำคัญในทุกอย่างกับทุกคน ให้พึงระลึกอยู่เนืองๆว่าไม่มีสิ่งใดคงอยู่กับเราตลอดไป ไม่มีสิ่งใดที่เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ทุกสิ่งทุกอย่างมีความเสื่อมและสูญสลายดับไปเป็นธรรมดาไม่คงอยู่นานไม่ว่าจะด้วยการดูแลรักษาของเรา ก็ด้วยสภาพแวดล้อมใดๆ ก็เป็นกาลเวลา หรือ สภาพความรู้สึกปรุงแต่งความรู้สึกใดๆ รู้จักประมาณในกำลังของตนว่าเพียงพอที่จะทำสิ่งใดๆตามใจอยากได้หรือไม่ หากเมื่อทำตามที่ใจปารถนาแล้วจะเกิดผมดีหรือผลเสียอย่างไรตามมาในภายหลัง เมื่อพึงพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ให้พิจารณาแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น
๖.๓ รู้จักพอ คือ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ไม่ใช่ได้คืบจะเอาศอก ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่ละโมบโลภมาก อย่าอยากได้ต้องการไม่รู้หยุด ถ้าไม่รู้จักพอก็จะยิ่งสืบสานทะยานอยากไม่สิ้นสุด พอไม่ได้ตามปารถนานั้นก้อเป็นทุกข์ คิดว่าสิ่งที่ตนมีอยู่ก็มีค่ามากแล้วไม่ควรละเลย
- ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติรู้จักใช้สติ แยกแยะ ไต่ตรอง ตรึกนึก คำนึงถึง สิ่งที่ถูกที่ควรก่อนการลงมือกระทำการใดๆมากขึ้น

***แถมท้าย : ความทะยานอยาก ต้องการใคร่ได้ ปารถนาที่จะเสพย์ใน กาม ตัณหา สุรา ยาเสพย์ติดทั้งหลาย จนก่อให้เกิดการกระทำ เกิดความพอใจที่จะทำไปโดย ลืม หรือ ไม่ตระหนักถึงข้อดี-ข้อเสีย พลั้งเผลอไปทำในสิ่งไม่ดี ไม่ถูกต้อง คือ การกระทำที่เป็นไปเพื่อความต้องการ ยินดี ใคร่ได้ ทะยานอยากของตนเองจนไม่คิดคำนึงถึงผลกระทบที่จะเป็นการเบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น และ สิ่งอื่นทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง(อกุศลกรรม) มันเกิดมาจากความดำริถึง คือ ความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ปรุงแต่งเรื่องราวสมมติบัญญัติไปต่างๆนาๆ จนก่อให้เกิดความทะยานอยาก ใคร่ได้ ต้องการอย่างหนัก จนสติที่เป็นกุศลทานไว้ไม่ไหว หากเราตัดสภาพความคิดปรุงแต่งออก ก้อจะรู้สภาพความรู้สึกของใจจริงๆแค่ว่า มันรู้สึก คับแค้นใจ บีบใจ อัดอั้นใจ กรีดใจ หวีดใจ ใจปะทุ ใจสั่นเครือ ใจขุ่นมัว-หมองมัว ติดข้องต้องใจ ใจหวิว ใจแผ่ว ใจหดหู่ และ ลมหายใจถี่บ้าง เร็วบ้าง ช้าบ้าง ไม่เป็นปกติ จะรู้แค่สภาพเช่นนี้โดยไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร เมื่อมีสติระลึกรู้ไปมันก็จะดับไปเอง ยกตัวอย่างประโยคที่พระตถาคตกล่าวเอาไว้ว่า " กามตัณหาทั้งหลาย เกิดขึ้นจากความดำริถึงนั่นเอง เราจะไม่ดำริถึงเจ้าอีก เจ้าจะไม่เกิดขึ้นกับเราอีกแล้ว "

- สิ่งทั้งหลายเหล่านี้อาจจะแค่เบื้องต้นในการปฏิบัติเพื่อลดความทุกข์ให้เบาบางลง หากเราปฏิบัติได้ทั้ง 6 ข้อนี้ จิตเราย่อมมีความมีใจกลางๆต่อความพอใจไม่พอใจทั้งหลายทั้งสิ้นนี้แล

ดังความพิจารณาดังนี้

- ทุกข์นั้นเกิดขึ้นแก่จิตของเรา เพราะเรามีความติดข้องใจกับสิ่งใดๆ ที่รู้อารมณ์จาก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ (อารมณ์ในทางธรรมะ หมายถึง สิ่งที่จิตรู้ สิ่งใดจิตรู้ สิ่งนั้นคืออารมณ์ เช่นตามองเห็น..ก็มีสีเป็นอารมณ์ หูได้ยิน..ก็มีเสียงเป็นอารมณ์) นั่นก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฐฐัพะ(การรู้กระทบสัมผัสทางกาย) ธัมมารมณ์(สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ความปรุงแต่งสมมติบัญญัติต่างๆ เป็นต้น) ส่งต่อให้เราเสพย์เสวยเป็นอารมณ์ความรู้สึกของความ พอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี แล้วจำสำคัญมั่นหมายไว้ในใจว่า สิ่งนี้ สีแบบนี้ รูปร่างโครงสร้างแบบนี้ เสียงแบบนี้ สัมผัสแบบนี้ ความรู้สึกแบบนี้ เป็นต้น ที่เรามีความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี แล้วส่งผ่านให้จิตเรา มีธรรมชาติที่จดจำสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ แล้วสืบต่อเป็นความ ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง เกิดประกอบกับความ รัก โลภ โกรธ หลง ส่งผ่านเป็น ความทะยาน อยากมี อยากเป็น อยากได้ ทะยานตามความใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์ความพอใจยินดีนั้นๆ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากได้ ทะยานอยากจะผลักหนีให้ไกลตน  จนเกิดเป็นตัวตน เป็นอุปาทาน สุดท้ายก็เกิดเป็นทุกข์จากความรู้สึกนึกคิดนั้นๆ

- ทางออกที่ประเสริฐ คือ สร้างกุศลให้เกิด ดำรงไว้ซึ่งในกุศล รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม มีศีล มีสมาธิ มีหรมวิหาร๔ มีทาน คิดดี พูดดี ทำดี ไม่กระทำทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น จนถึงซึ่งเห็นจริงในสัจธรรม รู้เห็นสภาพจริงๆที่เป็นปรมัตถธรรม เข้าสู่ความไม่ติดข้องใจกับสิ่งใดๆ เพราะติดข้องใจไปไม่วาจะเป็นสิ่งที่ตนเองพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดีมันต่างก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น หาประโยชน์ใดๆที่จะเกิดแก่ตนและคนอื่นไม่ได้เลย เข้าสู่อุเบกขาจิต จนถึงแห่งอัพยกฤต


วิถีและแนวทางปฏิบัติเพื่อเข้าสู่กัมมัฏฐานเบื้องต้น ตามวิธีที่ผมปฏิบัติมาและได้ค้นพบมา ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ที่เห็นผลได้ ให้ผลได้ ไม่จำกัดกาลสำหรับผม และ ผมหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7416.0
899  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / รู้เหตุ รู้ทุกข์ รู้ธรรม รู้ทำ ทุกข์ก็เบาบาง.rtf เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:23:54 am
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม


การบัดนี้กระผมจักขออนุญาต แสดงบทความธรรมะอันที่ผมได้เห็นจริงแล้วตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสมณะโคดมมหามุนีพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสแสดงไว้ดีแล้วถูกต้องแล้ว งดงามแล้ว ที่ผมได้เรียนรู้ปฏิบัติพร้อมได้เห็นได้เข้าใจในสภาพความคิดของตนเอง ซึ้งเป็นอันที่ผมกระทำ-ปฏิบัติแล้ว ทำให้ทุกข์ของผมเบาบางลงได้ จึงใคร่ขออนุญาตพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งหลาย และ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย แสดงบทความธรรมะบอกกล่าวข้อธรรมอันที่ผมรู้-เห็นในทั้งสภาพความคิดบัญญัติในสมถะและปรมัตถธรรม ในข้อธรรมแห่ง "การปฏิบัติให้ความทุกข์เบาบางลงในรูปแบบของ อริยสัจ ๔ เบื้องต้นในสภาพความคิด" ดังต่อไปนี้

๑. ทุกข์
ทุกข์นั้น ฟังๆดูแล้วก็คงไม่มีใครอยากประสบพบเจอ เพราะคนธรรมดาอย่างเราๆทุกคนนั้นย่อมอยากจะได้รับผลคือความสุขกาย สบายใจ สมหวัง ทั้งหลายทั้งปวง
ทุกนั้นว่าโดยความเข้าใจที่สามารถเห็นและรู้สึกได้ของเราทั้งหลายนั้นมีดังนี้
๑.๑ ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ความอึดอัด อัดอั้น คับแค้น กาย-ใจ ความไม่สบายกาย-ใจทั้งหลายนี้เป็นทุกข์
๑.๒ ทุกข์เพราะไม่สมดังความปารถนาตั้งใจ ใคร่ได้ ต้องการ
๑.๓ ทุกข์เพราะความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นรักที่พอใจยินดี สิ่งอันเป็นที่จำเริญใจทั้งหลาย
๑.๓ ทุกข์เพราะความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย
๑.๔ แม้สมหวังดังปารถนายินดี ใคร่ได้นั้นแล้ว มีความพอใจในสุข-สมหวังที่ได้รับ เมื่อความสุข-สมหวังนั้นๆตั้งอยู่ แต่ใจเราก็จะเป็นทุกข์กังวลใจเพราะ “กลัว” ที่จะเกิดความพรัดพราก ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ไม่พอใจ ไม่ต้องการ ไม่อยากให้เป็น ให้ถึงวันนั้น ด้วยความกลัวจนเกิดทุกข์ใจอย่างหนัก

๒. สาเหตุ และ ตัวแปรหรือความแปรผันให้ความดำเนินไปของทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง (สมุทัย และ ปัจจัย)
สาเหตุและปัจจัยของทุกข์นั้นลำดับปัจจัยด้วยความเป็นเหตุเป็นผลที่พอจะอธิบายให้เข้าใจได้ดังนี้
๒.๑ เหตุทั้งหลายทั้งปวงเกิดมาจากความพอใจยินดีในสิ่งนั้นๆ เช่น พอใจยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง การกระทบสัมผัส พอใจยินดีในการกระทำนั้นๆ รูปนั้นๆ เสียงนั้นๆ รสนั้นๆ กลิ่นนั้นๆ การได้รับความรู้สึกจากการกระทบสัมผัสนั้นๆ จากบุคคล หรือ สิ่งของต่างๆ เป็นต้น ความพอใจยินดีทั้งหลายเหล่านี้เรียกกันว่าตัณหา มีอยู่ 3 อย่างหลักๆที่เป็นข้อสำคัญคือ
   ๒.๑.๑ ภวตัณหา ความอยากมี อยากเป็น อยากพบ อยากเจอ อยากเห็น อยากได้ ดิ้นรนต้องการ พอใจ ยินดี ใคร่ได้ รวมไปถึงอยากได้ อยากเป็น อยากมี อย่างคนโน้น-คนนี้(ความอิจฉา) เช่น อยากให้คนรัก อยากให้คนชื่นชม อยากรวย ความคิดให้อยากให้คงอยู่เที่ยงแท้จีรัง หรือ ความเห็นว่าเที่ยง(สัสสตทิฏฐิ) คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไปไม่รู้จบ ไม่อาจหลุดพ้นได้ เป็นต้น
   ๒.๑.๒ วิภวะตัณหา ความอยากที่จะไม่ให้ตนเองได้พานพบเจอกับสิ่งที่ตนไม่ชอบ ไม่ต้องการ ไม่ใคร่ได้ ไม่ยินดี ดิ้นรนอยากจะผลักหนีให้ไกลตน อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย เช่น ไม่อยากพรัดพรากจากบุคคล-สัตว์-สิ่งของที่รัก ไม่อยากผิดหวัง ไม่อยากให้คนด่า ความไม่อยากมี ไม่อยากได้  ความคิดอยากให้ดับสูญไป หรือ ความทะยานที่ประกอบด้วยความเห็นว่าขาดสูญ(อุจเฉททิฏฐิ) เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้ แล้วขาดสูญ เป็นต้น
   ๒.๑.๓ กามตัณหา ความพอใจยินดี ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่ปารถนา ความกำหนัดใคร่ได้ ทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่ หรือ ความคิดทะยานอยากปารถนาใคร่ได้ที่เสพย์ในสิ่งนั้นๆที่พอใจยินดีต้องการ
๒.๒ เมื่อเรามีความพอใจยินดีทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ใจเรานั้น เราก็ย่อมเกิดความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ ว่าสิ่งนี้แหละที่เราชอบ ที่อยากได้ ที่ต้องการปารถนา
๒.๓ เมื่อมีความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจก็ก่อเกิดเป็นความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ก่อเกิดประกอบกับความปารถนาพอใจ ยินดีใคร่ได้ กำหนัด ทะยานอยาก ต้องการ ความหลง ฟุ้ง ไม่รู้จักหยุด ไม่รู้จักพอ ไม่รู้ประมาณตน ความไม่ชอบ ไม่พอใจยินดี  ความไม่อยากได้ ต้องการอยากจะผลักหนีให้ไกลตน ตามความสำคัญมั่นหมายนั้นๆของใจเรา ยิ่งพอใจมาก ก็ยิ่งสำคัญมั่นหมายในใจมาก ก็ยิ่งตรึกนึกถึงมาก ต้องการมาก ก็คือ รัก โลภ โกรธ หลง นั่นเอง
๒.๔ เมื่อเราไม่ได้ตามที่หวังปารถนา ใคร่ได้ ตามที่พอใจยินดี ไม่ประสบพบเจอดั่งที่หวังตั้งใจ พอใจ ยินดี ก้อเกิดตัวแปรที่เป็นปัจจัยให้ก่อเกิดไปเป็นผลแห่งทุกข์ดังนี้คือ
   ๒.๔.๑ ความไม่สมดังปารถนาตั้งใจ ใคร่ได้ ต้องการ
   ๒.๔.๒ ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นรักที่พอใจยินดี สิ่งอันเป็นที่จำเริญใจทั้งหลาย
   ๒.๔.๓ ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความทุกข์ คือ ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ความอึดอัด อัดอั้น คับแค้น กาย-ใจ ความไม่สบายกาย-ใจทั้งหลายนี้เป็นทุกข์ เช่น
-  เราพอใจยินดีที่จะให้คนอื่นพูดเพราะๆกับเรา แต่เมื่อเจอเขาพูดคำหยาบ พูดไม่เพราะดั่งใจ ก็ก่อเกิดเป็นความโกรธ ไม่พอใจยินดี เป็นการประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจแก่เรา ผล คือ ทุกข์
- เราพอใจยินดีกับคนที่เป็นคู่รักของเรา ไม่ว่าจะเป็นหน้าตารูปร่าง ท่าทาง นิสัยใจคอ กลิ่น เสียง การสัมผัส เมื่อเขาทิ้งเราไป ไม่ว่าด้วยความตาย หรือจากลาไปหาคนอื่น ก็ก่อเกิดเป็นความพรัดพรากแก่เรา ผล คือ ทุกข์
- เราพอใจยินดีหวังปารถนาอยากจะได้บ้าน รถ เงิน ทอง เพื่อน อยากให้คนยอมรับเรา อยากอยู่จุดสูงสุด อยากอยู่สุขสบาย แต่เมื่อไม่เป็นไปตามที่หวังปารถนาไว้ ก็ก่อเกิดเป็นการประสบกับความไม่เป็นไป-ไม่สมดั่งหวังปารถนาพอใจ ยินดีใคร่ได้แก่เรา ผล คือ ทุกข์
 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า คนเราจะเกิดความทุกข์ ความเสียใจ ทรมานกาย-ใจ อึดอัด คับแค้นกาย-ใจ ฯ ได้นั้นสาเหตุก็เพราะใจเรามีความพอใจยินดีตั้งมั่นไว้ในใจ จนสำคัญมั่นหมายสิ่งต่างๆนั้นไว้ในใจ ไม่ว่าจะโกรธตะโกนโวยวาย ด่า ที่ทำก็เพราะพอใจอยากจะโกรธ จะด่าโวยวาย / รักก็เพราะพอใจอยากจะรัก / กำหนัดในกามก็เพราะติดพอใจในกาม

วิธีพิจารณาหาเหตุและปัจจัยของทุกข์เบื้องต้น ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7457.0
900  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:12:56 am
๔. การเข้าถึงในสภาพปรมัตถ์ธรรม

เป็นการเข้าถึงสภาพจริง คือ ปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นเพียงสภาพ รูป-นาม ไม่มีตัวตน บุคคล สิ่งใดๆ มีเพียง รูปธาตุ จิต เจตสิก ไม่มีสิ่งใดที่เป็นตัวตน บุคคล สิ่งของ

การจะพิจารณาเช่นนี้ต้องเข้าถึงหลักของ สติปัฏฐาน คือ

๑. กายานุสติปัฏฐาน
๒. เวทนานุสติปัฏฐาน
๓. จิตตานุสติปัฏฐาน
๔. ธรรมานุสติปัฏฐาน

- เมื่อเราเห็นสภาพจริงแล้ว จะไม่มีตัวตน บุคคลใดๆ ให้ไปยึดจับเอามาตั้งเป็นอารมณ์จนเกิดความทุกข์จากความพอใจ-ไม่พอใจ จะมีเหลือเพียงความมีใจเป็นกลางๆ ไม่มีความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี ไม่มีสิ่งใดๆจะไปจับยึดถือ เพราะเป็นเพียงแค่ รูป จิต เจตสิก ไม่มีสมมติบัญญัติ มีเพียงสภาพจริงๆที่มากระทบ ผัสสะ แล้วรู้ด้วยใจ


การเจริญ-ปฏิบัติกัมมัฏฐานใน สมถะ และ วิปัสนา เพื่อเข้าถึง สภาพปรมัตถธรรม เบื้องต้น ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7416.0
901  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:11:47 am
๓. การเลือกสิ่งที่ควรเสพย์

เป็นการเลือกพิจารณาด้วยปัญญาเห็นชอบ ให้เห็นถึงสิ่งที่พอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี เห็นข้อดี-ข้อเสียของสิ่งที่เราจะทะยานอยากต้องการหรือไม่ต้องการอยากจะผลักหนีให้ไกลตนนั้นๆ แล้วเลือกสิ่งที่ควรเสพย์

- ก่อนอื่นนั้นเราต้องเข้าใจดังนี้ก่อนว่า แนวทางวิธีการปฏิบัติใดๆก็ตามแต่ "ต้องพึ่งอาศัยสติ" เป็นอันมาก เมื่อมีสติเป็นที่ตั้งองค์แรก เพื่อให้เราระลึกรู้สภาพความอยากต้องการอยู่ในขณะนั้นและคิดพิจารณาหาข้อดี-ข้อเสียของสิ่งที่เราต้องการทะยานอยากอยู่ โดยการปฏิบัติในข้อนี้ต้องอาศัย "ฉันทะ" เป็นหลัก ซึ่งเป็นฉันทะฝ่ายกุศลที่มีใน "อิทธิบาท ๔" ซึ่งเป็นความชอบใจ ความรัก ความพอใจในสิ่งที่เราจะกระทำ เป็นการ "อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา"

ดูรายละเอียดการใช้ฉันทะ "อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา" ได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8051.msg29883#msg29883

จากนั้นดำเนินปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้
 
1. ทำสมาธิโดย หายใจเข้าลึกๆกลั้นหายใจไว้นับ 1-5 ในใจ แล้วหายใจออกยาวๆจนสุดกลั้นหายใจไว้นับ 1-5 ในใจ ทำแบบนี้ซักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วค่อย หายใจเข้าออกยาวๆแบบปกติเพื่อให้จิตเรามีสมาธิตั้งมั่น เลิกระส่ำระสาย ฟุ้งซ่าน กรีดหวิว  สั่นเครือ อัดอั้น แล้วก่อเกิด สติ คือ ความระลึกรู้ เข้าไปจนถึง สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นธรรมที่มีอุปการะ คู่กับสติ เป็นธรรมที่เกื้อหนุน เอื้อกับสติ
(**การกระทำในข้อนี้จะส่งผลให้จิตเรามีความระลึกรู้และน้อมนำเข้าสู่ความเกื้อหนุนใน ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน**)

2. เมื่อสติเกิดรู้ตนแล้ว ให้พิจารณาว่าเราพอใจยินดีในส่วนใดของสิ่งนั้นๆ จนทำให้ตั้งความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ เมื่อรู้สาเหตุแห่งความพอใจแล้วก็ใช้สติระลึกรู้พิจารณาแยกแยะถึง "ผลดี-ผลเสีย" ของสิ่งที่เราพอใจยินดี ต้องการ ทะยานอยาก ปารถนาใคร่ได้นั้น เพื่อมองให้เห็นโทษหรือข้อเสียของสิ่งเหล่านั้นตามจริง ที่จะมากระทบกับเรา หากเราได้เสวยเสพย์มันตามอารมณ์ที่ใจเราอยาก ใคร่ใด้ ต้องการ
(**การพิจารณากระทำในข้อนี้จะควบคู่กับ ศีล(พิจารณาจนมองเห็นในข้อดี-ข้อเสียของการมีศีล เพื่อความไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่น) + พรหมวิหาร๔(พิจารณาจนเข้าสู่สภาพจิตที่เป็นกุศล มีความเมตตา เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน รู้จักทำเพื่อคนอื่นหรือคนรอบข้างตนเอง มากกว่าที่จะทำตามความทะยานอยากใคร่ได้ ปารถนาพอใจยินดีของตน ที่เป็นประโยชน์ส่วนตนเพียงฝ่ายเดียว) + ทาน(พิจารณาจนเห็นประโยชน์สุขของการกระทำที่เป็นการให้ การทำเพื่อคนอื่น แบ่งปันคนอื่น มากกว่าที่จะรอรับจากคนอื่นฝ่ายเดียว) และ สมาธิ(เข้าสู่สภาพจิตที่มีความสงบ อบอุ่น เบาบาง ผ่องใส) ประกอบกับความรู้จักประมาณตน รู้จักหยุดโดยใช้สติไตร่ตรองก่อนที่จะลงมือกระทำการใดๆเป็นหลัก จากนั้นจะส่งผลสืบต่อไปจนเกิดการแยกแยะเห็นชอบด้วยปัญญา**)

วิธีการเจริญปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ทาน พรหมวิหาร๔ และ ขันติ ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27477#msg27477
ใน วิธีที่จะทำให้ลดความพอใจยินดีทั้งหลายลงมีดังนี้ ข้อที่ ๑ - ๕

3. เมื่อพิจารณาเห็นโทษ หรือ ข้อเสียของสิ่งที่เราพอใจยินดี-ปารถนา-ใคร่ได้นั้นด้วยปัญญาความเห็นชอบแล้ว ให้เราระลึกรู้พิจารณาแล้วเลือกที่จะกระทำปฏิบัติดังนี้
    3.1 เลือกพิจารณาถึงความโสมนัสที่ควรเสพย์๑ และ โสมนัสที่ไม่ควรเสพย์๑ (ความพอใจยินดีที่ควรเสพย์๑ และ ความพอใจยินดีที่ไม่ควรเสพย์๑)
    3.2 เลือกพิจารณาถึงความโทมนัสที่ควรเสพย์๑ และ โทมนัสที่ไม่ควรเสพย์๑ (ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์๑ และ ความไม่พอใจยินดีที่ไม่ควรเสพย์๑)
    3.3 เลือกพิจารณาถึงความอุเบกขาที่ควรเสพย์๑ และ อุเบกขาที่ไม่ควรเสพย์๑ (ความมีใจเป็นกลางไม่ยินดีไม่ยินร้าย โดยที่พิจารณาปลงใจลงในกรรม ไปจนถึงผลของกรรมที่ควรเสพย์๑ และ ความมีใจเป็นกลางไม่ยินดีไม่ยินร้าย โดยที่พิจารณาปลงใจลงในกรรม ไปจนถึงผลของกรรมที่ไม่ควรเสพย์๑

(**การพิจารณากระทำในข้อนี้จะควบคู่กับปัญญาเห็นชอบที่เกิดประกอบกับความรู้จักหยุด รู้จักประมาณตน รู้จักพอ พอดี พอเพียง**)

วิธีการเจริญปฏิบัติในข้อ รู้จักหยุด รู้จักประมาณตน รู้จักพอ ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27477#msg27477
ในข้อที่ ๖. รู้จักหยุด รู้จักประมาณตน รู้จักพอ

4. เมื่อรู้สิ่งที่ควรคิด-ที่ควรกระทำเพื่อนำพาเราสู้สิ่งที่ดีงาม เป็นกุศลแล้ว เราก็ต้องเข้ามาสู่การปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามสิ่งที่ได้ตรึกตรองแล้วนั้น โดยกระทำควบคู่ไปพร้อมกับความมี ขันติ คือ ความ อดทน อดกลั้น ซึ่งจะปราศจากความขุ่นมัวฝืนใจ (**หากยังมีความฝืนใจอยู่แสดงว่าเรามีความพอใจยินดีในสิ่งนั้นมาก แม้จะรู้ว่ามันผิดหรือมีโทษแค่ไหนก็ตาม (สภาพฝืน คือ มีความขัดข้องใจ มีความไม่พอใจยินดี มีความไม่สมดั่งใจหวัง ปารถนา ใคร่ได้ต้องการ สภาพที่ขัดหรือตรงข้ามกับความโลภ ก็คือ โทสะนั่นเอง) ทางแก้ให้พึงควรพิจารณาปฏิบัติตามในข้อ 1-3 อยู่เนืองๆจนจิตเราเห็นโทษของมันจริงด้วยปัญญาชอบ**) ไม่พอใจยินดีของเรา เข้าไปจนถึงความมีอุเบกขาที่แท้จริงซึ่ก็คือการวางใจกลางๆ ไม่ยึดจับเอา ความพอใจยินดี - ไม่พอใจยินดี กับสิ่งเหล่านั้นมาตั้งเป็นอารมณ์ (แต่ไม่ใช่สภาพจิตที่เลื่อนลอย เหม่อลอย ไม่ยินดี-ยินร้าย ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่รู้ตน นี่คือ อกุศลอุเบกขา ไม่ควรจะยังใจให้เสพย์สิ่งนี้ หรือ มีความวางเฉยต่อกุศลจิตที่จะไม่หยิบจับเอาความยินดี-ยินร้าย ที่จะละความทะยานอยากต้องการนั้นๆ)


- โดยการที่จะปฏิบัติในวิธีนี้ให้สำเร็จเป็นผลอย่างสมบูรณ์ได้นั้น ต้องพึงเรียนรู้พิจารณาปฏิบัติเข้าถึงสภาพธรรมและสภาพจิตของ เมตตา กรุณา มุทิตา แห่งพรหมวิหาร ๔ ให้ถ่องแท้ เพราะเมตตาจิต กรุณาจิต และ มุทิตาจิตจะคอยเกื้อหนุนและเป็นผลส่งให้เรามี อุเบกขาจิต ที่สมบูรณ์ในวิธีนี้

สภาพจิตและแนวทางปฏิบัติใน พรหมวิหาร๔ โดยย่อ ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27478#msg27478
ในข้อที่ ๔. ระลึกรู้ปฏิบัติทำใน พรหมวิหาร ๔


ยกตัวอย่าง

เวลาที่ผมอยากกินเหล้ามากๆ ฟุ้งไปจนแทบไม่ไหว เกิดอาการใจเต้นแรง สั่นสะท้าน กรีดหวิวทะยานอยาก(เหมือนลงแดงเลยแฮะ อิอิ)(สภาพนี้เรียกว่าทุกข์ ทุกข์เพราะอยาก) เมื่อมีสติพิจารณาผมจะกระทำดังนี้

1. หายใจเข้า-ออกลึกๆ เพื่อประครองใจให้สงบลดการฟุ้งซ่านลง

2. พิจารณาหาสาเหตุที่เราพอใจยินดีในเหล้าจนตั้งเป็นความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ให้ก่อเกิดเป็นความทะยานอยากอยู่เนืองๆ(ใช้สติ คิด ตรึก นึก พิจารณาหาเหตุแห่งทุกข์ นั่นคือ สมุทัย) เช่น ที่เราพอใจมัน ทะยานอยากมัน เพราะเราชอบที่จะได้กิน ได้ดื่ม พูดคุย นั่งเล่น ฟังเพลง นั่งบรรยากาศดีๆไช่ไหม เพราะเราได้รับรู้ พบเห็น กระทบ สัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่พอใจยินดี ที่ชอบใจ แล้วคิดปรุงแต่งไปว่าหากนั่งกินเหล้ามันคงมีความสุขใช่ไหม จึงทำให้เรานึกคิดทะยานอยากมัน ต้องการมัน เพราะมีความสำคัญมั่นหมายของใจอย่างนี้ๆทำให้เราตรึกถึง นึกถึงมันอยู่เนืองๆ เพราะให้ความสำคัญของมันมากไป(เหตุจากความพอใจยินดีเช่นนี้นี้ สร้างความโสมนัสที่มีต่อเหล้าให้เกิดแก่จิตผม)

3. เมื่อเห็นเหตุที่ทำให้ผมตรึกนึกถึงมันแล้ว ผมก้อมานั่งตรึกตรองถึงข้อดี ข้อเสีย ของเหล้า และผมกระทบเมื่อผมได้เสพย์มัน เช่น หากกินเหล้าแล้วได้อะไรบ้าง ได้ความสมอยากดังใจ นั่งเล่นสบายกายใจ มีความสุขในวันนี้ทั้งวัน แต่เมื่อหากกินแล้ว กลิ่นก้อเหม็น สติขาด ควบคุมไม่ได้ ทะเลาะเบาะแว้งกับครอบครัว มีอารมณ์ฉุนเฉียว เกิดโทสะง่าย เกิดปัญหารุนแรงง่าย เงินที่ควรจะให้ลูก-เมีย ครอบครัวก็หดหาย เงินไม่พอใช้จ่ายต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อทดแทนส่วนที่เอาไปกินเหล้า ไม่เหลือเงินเก็บเงินใช้ ไปทำงานสาย ทำงานไม่ได้ เกิดปัญหาในที่ทำงาน เป้นที่รังเกียรติของครอบครัว และ คนรอบข้าง หากเราอดทนไว้ไม่กิน ก็มีเงินที่จะซื้อข้าวปลา อาหาร ให้ลูกเมีย ครอบครัว มีเงินใช้จ่ายไปทำงาน มีเงินเก็บ ไม่เหม็นปากเหม็นตัว มีสติครอบคลุม ไปทำงานไม่สาย ทำงานได้เต็มที่ลดปัญหาในครอบครัวและที่ทำงานไปได้ เลิกเป็นหนี้สิน มีเงินเก็บใช้จ่ายมากขึ้น(นี่คือเมื่อมีสติเกิดเป็นกุศลจิต แล้วพึงเจริญใช้สติแยกแยะถึง ส่วนได้-ส่วนเสีย หรือ ผลดี-ผลเสีย จากการเสพย์เหล้า เพื่อให้เราได้วิเคาระห์พิจารณาใน ความพอใจยินดีที่ควรเสพย์-ไม่ควรเสพย์ / ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์-ไม่ควรเสพย์ / ความวางใจกลางๆที่ควรเสพย์-ไม่ควรเสพย์)

4. เมื่อพิจารณาดังนั้นแล้วผมก้อเลือกที่จะปฏิบัติเพื่อความเป็นกุศลที่ประกอบไปด้วยประโยชน์สุขแก่ตนเองและคนอื่น โดยวาง ขันติ ความอดทนไว้ ประกอบกับความปารถนาที่จะให้ครอบครัวและคนรอบข้างได้รับประโยชน์สุขจากการอดเหล้านั้น  {  เป็นการเลือกกระทำปฏิบัติตั้งใน // ความพอใจยินดีที่ควรเสพย์(เลือกที่จะเสพย์สุขจากการหยุดกินเหล้า เพราะประกอบด้วยกุศล คุณประโยชน์เป็นอันมาก) ละ ความพอใจยินดีที่ไม่ควรเสพย์(ละการเสพย์สุขจากการกินเหล้า เพราะหาคุณค่าใดๆจากมันไม่ได้) // ตั้งกระทำในความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์(ตั้งกระทำในความไม่พอใจยินดีของการเสพย์เหล้า เพราะหาประโยชน์ใดๆมิได้ มีแต่จะยังความเสื่อมแก่เรา จึงไม่ควรพอใจยินดีที่จะเสพย์มัน) ละ ความไม่พอใจยินดีที่ไม่ควรเสพย์(ละจากความไม่พอใจยินดีที่ต้องหยุดกินเหล้า ละจากความไม่พอใจยินดีที่ต้องขัดใจ ตัดใจ จากเหล้า)  }  เริ่มแรกปฏิบัติหากใจเรายังกุศลไม่พอจะรู้สึกอึดอัด อัดอั้น กดปะทุ ขุ่นข้องใจ เพราะสภาพจิตนั้นถูกขัดจากความพอใจยินดีที่ต้องการทะยานอยาก จนก่อเกิดเป็นความไม่พอใจยินดี(นี่คืออาการฝืนนั้นเองครับ)  จนถึงแก่การวางใจกลางๆแก่เหล้า  {  ตั้งการวางใจกลางๆที่ควรเสพย์(วางใจออก ไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ ไม่หยิบจับเอาความรู้สึกพอใจยินดี-ไม่พอใจยินดีใดๆกับเหล้า) นั่นคือการลด ละ เลิก ให้ความสำคัญมั่นหมายในเหล้าของใจเรานั้นเอง เพราะมันตั้งเข้ามาอยู่เป็นความทุกข์ทรมานของกายและใจเรา  }  แล้วอาการที่อยาก ที่ฝืนทน เพื่อจะหยุดกินเหล้าก็หายไป

หากยังพบอาการฝืนอยู่ ก้อย้อนกลับไปพิจารณาปฏิบัติตามข้อ 1-3 แล้วสืบต่อมากระทำในข้อที่ 4 ใหม่จนกว่าอาการฝืนใจของเราจะหายไป มันก้จะหยุดพอใจยินดี อยาก ทะยานไปเอง
902  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:10:16 am
๒. การยอมรับความจริงที่เป็นสัจจะธรรม

การยอมรับความจริงได้นั้น เราต้องรู้ตามหลักสัจจะธรรมดังนี้ว่า
- คนเราย่อมเป็นไปตามกรรม เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เป็นผู้ติดตาม เป็นที่พึ่งพาอาศัย (กรรม คือ การกระทำทาง กาย วาจา ใจ) หากเราทำดี คือ คิดดี พูดดี ทำดี เราย่อมมีความสุขกาย สบายใจ ที่เรียกว่า บุญ หากเรากระทำสิ่งไม่ดีย่อมเจ็บเดือดร้อนใจ คับแค้นกายใจ ทุกข์ใจ กลัวคนอื่นเขาจะมาว่ามาฆ่าแกง ด่า ว่า โมโห โทโส ใส่ตน ดังนั้นเราทั้งหลายต้องประสบพบเจอดั่งนี้ว่า
- คนเรามีความไม่สมหวังปารถนา-ยินดีใคร่ได้ดั่งใจไปทุกอย่าง เราย่อมมีความปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้
- คนเรามีความพรักพรากเป็นที่สุด เราจะต้องพรัดพรากไปไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่ง เราจะล่วงพ้นความพรัดพรากนี้ไปไม่ได้
- คนเรามีความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก-ที่พอใจเป็นแท้จริง เราจะต้องเจอกับสิ่งที่ไม่ปารถนาใคร่ได้ต้องการ เจอสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่อยากได้ ไม่พอใจยินดี เจอการพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจทั้งหลาย เจอความผิดหวัง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นชื่อว่า ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่-พอใจทั้งหลาย จนอยากจะผลักหนีให้ไกลตน เราจะพ้นสิ่งนี้ไปเป็นไม่ได้

ก็สิ่งทั้งหลายเหล่านี้แลคือ ทุกข์ ทำให้เกิดความ โศรกเศร้า ร่ำไรรำพัน ไม่สาบกาย ไม่สบายใจ อึดอัด อัดอั้น คับแค้นกาย-ใจ ทั้งหลาย


ยกตัวอย่าง

1.1 เราทุกคนย่อมมีสิ่งที่ปารถนา อยาก ใคร่ได้ หรือ สิ่งที่อยากทำ-อยากให้เป็นไปตามที่ต้องการ (ความคิดต้องการแบบนี้คนทุกคนเป็นเหมือนกันหมดครับไม่ว่าใคร ไม่มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น) เช่น อยากได้บ้าน รถ ผู้ชายหล่อๆ แฟนสวยๆ รวยๆ นิสัยดี อยากกินอาหารหรูๆ อยากไปเที่ยว 9 วัดบ้าง อยากให้มีแต่คนมาพูดเพราะๆกับตนบ้าง อยากให้มีแต่คนรักตนบ้าง อยากสอบได้ที่ 1 อยากรวยมีเงิน ความอยากมีอยากเป็นอยากได้นี้เราก็ต้องมีทุกคนใช่ไหมครับ
1.2 แต่เราย่อมไม่ได้ตามที่ปารถนายินดี-ใคร่ได้ต้องการทะยานอยากนั้น เราย่อมไม่สมดั่งความปารถนาที่ตั้งความพอใจยินดีสำคัญมั่นไว้ในใจไปทั้งหมดทุกอย่างใช่มั้ยครับ


2.1 เราทุกคนย่อมมีความรักใคร่ยินดี ไม่อยากจะพรัดพรากจากสิ่งที่รัก-ที่จำเริญใจทั้งหลายใช่มั้ยครับ เช่น คนที่เรารัก ลูก เมีย สามี ญาติ เพื่อน  หมา แมว รถ บ้าน ทีวี ตู้เย็น ที่ดิน เป็นต้น เราทุกคนย่อมไม่อยากพรัดพรากจากสิ่งทั้งหลายนี้ใช่ไหมครับ
2.2 แต่สุดท้ายคนเราย่อมมีความพรัดพรากเป็นที่สุด ไม่เหตุใดก็เหตุหนึ่ง ไม่ว่าจะชำรุด ทรุดโทรม เลือนหาย สูญสลาย ตายจาก จะช้าหรือเร็วอยู่ที่การดูแลรักษาและสภาพแวดล้อมทั้งหลายใช่มั้ยครับ


3.1 เราย่อมมีสิ่งที่ไม่ชอบไม่ต้องการ ไม่อยากได้ ไม่อยากพานพบอยู่ด้วยใช่มั้ยครับ เช่น ไม่อยากให้คนเกลียด ไม่ชอบให้คนมาด่าโวยวาย ไม่ชอบให้คนมาดูแคลน ไม่อยากจน ไม่อยากกินข้าวคลุกน้ำปลา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากพรัดพรากจากสิ่งที่รัก-ที่จำเริญใจทั้งหลาย อยากจะผลักหนีให้ไกลตน สิ่งเหล่านี้เราทุกคนก็ต้องมีใช่ไหมครับ
3.2 แต่อย่างไรเราก็หนีไม่พ้นสิ่งนี้ เราทุกคนต้องประสบพบเจอกับสิ่งที่ไม่อยากได้ต้องการ ไม่อยากจะพบเจอ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่อยากผิดหวัง ไม่อยากพรักพราก อยากจะผลักหนีให้ไกลตน เราทั้งหลายต้องเจอกับการประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก-ที่พอใจทั้งหลายนี้ใช่มั้ยครับ


- เมื่อเราเข้าใจตามสัจจะธรรมนี้แล้วใจเราย่อมยอมรับตามความเป็นจริง ไม่มีใจติดข้องเกาะเกี่ยวสิ่งใดๆ เพราะจะมองเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างติดข้องใจไปก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆกับตนเองหรือคนอื่นๆ แต่กลับจะเบียดเบียนตนเองและคนอื่นจนก่อเกิดแต่ความทุกข์เท่านั้นที่จะตามมา
- ไม่ว่าเราจะพอใจยินดี หรือ ไม่พอใจยินดีก็มีแต่ก่อให้เกิดทุกข์ เพราะว่าหากติดข้องพอใจยินดี ก็หลง ติดในอารมณ์นั้นๆ ตั้งเป็นความสำคัญมั่นหมายของใจแล้วหวังปารถนาใคร่ได้ ต้องการทะยานอยาก พอไม่เป็นดั่งหวัง หรือ เกิดการพรัดพรากจากของรักของจำเริญใจทั้งหลาย ก็ก่อเกิดเป็นความไม่พอใจยินดีโทมนัสแก่ตน แล้วก็ทุกข์ คับแค้น อัดอั้นใจ แล้วพอมาติดข้องในความไม่พอใจยินดี ก็ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็ร้อนรน คับแค้นกาย-ใจ อัดอั้นกาย-ใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ทุกข์ทรมาณกายใจ
- สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ มันไม่มีสิ่งใดๆที่เป็นของเรา มันไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับ จับต้อง ยึดถือ ยื้อดึง ฉุดรั้ง ให้มันเป็นดั่งที่ใจเราต้องการได้ เราไม่อาจบังคับให้มันอยู่กับเรา-คงอยู่กับเราตลอดไปได้ ทุกๆอย่างมีความเสื่อมโทรมเป็นธรรมดาช้าเร็วขึ้นอยู่กับกาลเวลา การดูแลรักษา และ สภาพแวดล้อม ไม่มีตัวตนอันเราจะบังคับให้เป็นดั่งใจปารถนาต้องการได้ ยิ่งพยายามฉุดรั้ง จับยึด ยื้อดึงให้มันเป็นไปตามที่ใจต้องการมากเท่าไหร่ ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น


               ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเกิดความพรัดพราก คือ เลิกรา ร้างลากับคนที่รักสุดหัวใจ ลองพิจารณาดูนะครับว่าเราสามารถไป บังคับ ยื้อยึด ฉุดรั้ง ให้เขาคงอยู่กับเราไม่จากไปไหน ไม่ให้เขาทิ้งเราไปได้ไหมครับ คงไม่ได้ใช่ไหมครับ เพราะความคงอยู่มันไม่เที่ยงย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อม ไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับให้มันเป็นไปดังใจเราต้องการได้ เพราะเขาไม่ใช่ของเรา ยิ่งเราปารถนาให้เขาคงอยู่กับเรามากเท่าไหร พยายามจะบังคับให้เป็นดั่งใจต้องการมากเท่าไหร่ แต่เมื่อมันไม่เป็นไปตามความหวังปารถนาใคร่ได้นั้น เราก็จะยิ่งทุกข์มากตามความปารถนาที่มากมายนั้นๆของเรา // เพราะเรามีความพอใจยินดีให้เขาคงอยู่กับเรา...แต่พอไม่เป็นไปตามที่หวังปารถนาใคร่ได้ ไม่เเป็นไปตามที่เราพอใจยินดีนั้น มันจึงเป็นทุกข์ใช่ไหมครับ  และ เพราะเรามีความไม่พอใจยินดีที่จะขาดเขา ไม่พอใจยินดีที่จะไม่มีเขา...แต่พอสิ่งที่เราไม่รัก ไม่ต้องการ ไม่พอใจยินดีเกิดขึ้นและเข้ามาหาเรา มันจึงเป็นทุกข์ใช่ไหมครับ // ดังนั้นให้พิจารณาจนเห็นในสัจธรรมว่า คนเรามีความพรัดพรากเป็นที่สุด จะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้ จะช้าหรือเร็วก็ต้องพรัดพรากอยู่ดี เมื่อจิตเริ่มคลายความคับแค้น-เสียใจลงแล้ว ก็ให้ตั้งจิตระลึกว่า...ปล่อยเขาไปพบเจอสิ่งที่ดีที่เขาชอบเสีย ถือเสียว่าเป็น "ทาน" ให้เขาอยู่กับสิ่งที่ขอบใจพอใจยินดี ดั่งเราจับนกในป่ามาขังไว้ นกมันย่อมคับแค้นกาย-ใจ โศรกเศร้าเสียใจ ร่ำไรรำพัน ตะเกียกตะกายอยากออกไปอยู่ในป่าตามเดิม อยู่ตามวิถีชีวิตของมัน ก็ถือเสียว่าคุณได้ปล่อยนกตัวนั้นไปแม้จะรักและหวงมากแค่ไหน เพื่อให้ทานที่เป็นอิสระสุขเออนุเคราะห์แก่นกตัวนั้น ก็เท่ากับว่าเราได้บำเพ็ญทานบารมีอันประเสริฐแล้ว

ดูอุบายวิธีการเจริญเมตตาจิตในการสวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่บุคคลทั้งหลาย ตาม Link นี้ได้เลยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0

วิธีการปฏิบัติและเจริญใน ทาน ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27478#msg27478
ในข้อที่ ๓. การระลึกปฏิบัติ ทำไปเพื่อการให้ที่เรียกว่า ทาน

- ดังนั้นเมื่อเรารู้สัจธรรมและพิจารณาตามจริงเช่นนี้เป็นต้น...จิตเราย่อมเข้าถึงอุเบกขาซึ่งมีสภาพเป็นใจกลางๆ ความวางใจกลางๆไม่หยิบจับเอาความชอบ ไม่ชอบ พอใจยินดี ไม่พอใจยินดี มีความเป็นอัพยกตา คือ มีความเป็นกลางๆ จึงทำให้ไม่มีความทุกข์-สุขจากสิ่งที่พอใจ ไม่พอใจนี้ มีแค่ความสงบ อบอุ่น จิตผ่องใส เบาสบาย ไม่ติดข้องต้องใต ขุ่นเคืองใจใดๆ เพราะเข้าใจในสภาพความเป็นจริงตามสัจธรรมทั้งหลายนี้
903  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:09:29 am
๑. การลดหรือไม่ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจต่อสิ่งนั้นๆ

- เพราะเรามีความสำคัญมั่นหมายของใจจึงทำให้เรา ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง แล้วสืบต่อไปจนเกิดเป็นตัณหาความทะยานอยากทั้งหลาย


วิธีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นวิธีที่ให้จิตเข้าสู่อุเบกขาจิต ความวางเฉยไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งใดๆ ด้วยการละไว้ซึ่งความสำคัญมั่นหมายของใจที่มีต่อสิ่งนั้นๆ

๑. ดั่งที่เราจะพอสังเกตุเห็นและรับรู้ได้ว่า เวลาเราไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งใด เราก็จะตรึกนึกและรู้สึกกับสิ่งนั้นน้อยมาก หรือ ไม่รู้สึกใดๆต่อสิ่งนั้นเลย

๒. ทีนี้เราจะเลิกให้ความสำคัญต่อสิ่งใด เราก็ต้องละความสนใจในสิ่งนั้นๆ เราใส่ใจกับสิ่งใดน้อย ความพอใจยินดี & ความไม่พอใจยินดีต่อสิ่งนั้นๆก็จะลดลง

๓. เจริญปฏิบัติโดยระลึกนึกคิดดังนี้ว่า


   นัยยะประการที่ ๑. ให้ระลึกนึกคิดอย่างนี้ว่า..สิ่งใดๆที่เรายินดีทะยานอยากต้องการอยู่นั้น เราจะกระทำมันตอนไหน เวลาใดก็ได้ ยังไงมันก็ยังไม่ได้หนีไปไหนไกลเกินเราจะทำได้ ไม่ต้องไปรีบร้อนที่จะกระทำ
               - วิธีนี้จะช่วยยืดเวลาการกระทำตามความปารถนาใคร่ได้ยินดีของเราให้ห่างออกไปอีกซักระยะหนึ่ง เรียกว่าค่อยๆลดมันไปทีละนิด เมื่อเราระลึกนึกคิดกระทำแบบนี้อยู่เนืองๆ ระยะเวลาที่จะกระทำตามความอยากของเรามันก็จะนานขึ้นไปเรื่อยๆ จนความสำคัญมั่นหมายของใจต่อสิ่งนั้นๆลดลงและหมดไป เช่น เกิดความกำหนัดอยากเสพย์กระทำในกามารมณ์ อยากสำเร็จความใคร่นั้นๆ อยากสูบบุหรี่ อยากกินเหล้า เป็นต้น

   นัยยะประการที่ ๒. ไม่ต้องให้ความสำคัญตั้งหวังปารถนากับสิ่งใดๆมาก ให้ระลึกนึกคิดว่าค่อยๆเป็นไป เรื่อยๆ ไม่ใส่ใจกับสิ่งนั้นมากไป ปล่อยๆมันไปไม่ต้องเร่งรัด ได้ก็เอา-ไม่ได้ก็ไม่เป็นอะไร ไม่มีอะไรเสียหายแก่เราไม่ต้องไปให้ความสำคัญใส่ใจกับสิ่งนั้นมาก เพราะมันไม่มีส่วนได้-ส่วนเสียใดๆแก่เรา
               - วิธีนี้จะช่วยลดละความสำคัญมั่นหมายปารถนาใคร่ได้ยินดีของใจเราลง โดยในเวลาเราอยากได้สิ่งใดมากๆ หรือ อยากให้มันเป็นไปตามที่ตั้งหวังปารถนาใคร่ได้ เช่น จีบสาวอยากได้คนที่เราชอบนั้นมาเป็นแฟนเรา เป็นของเรา เมื่อคบหากันได้ก็เร่งอยากเสพย์ความใคร่ใดๆกับเขา เป็นต้น เมื่อเจริญปฏิบัติเช่นนี้อยู่เนืองๆความปารถนาใค่ได้ยินดีของเราก็จะน้อยลงมีใจกลางๆมากขึ้น   
904  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:06:57 am
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการเข้าสู่อุเบกขาจิต ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


อุเบกขาจิต มี ๒ แบบดังนี้
อุเบกขาจิตที่เป็นกุศล    คือ จะมีสภาพจิตมีใจกลางๆ ไม่ยินดี ยินร้าย เฉยๆ แต่มีความสงบ อบอุ่น ไม่ติดข้องใจใดๆ
อุเบกขาจิตที่เป็นอกุศล  คือ จะมีสภาพจิตที่เลื่อนลอย ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ยินดี ยินร้าย ไม่เกิดเพื่อความเป็นกุศลจิตหรือสติ อยู่ด้วยโมหะเป็นใหญ่
ส่วนอุเบกขาใน พรหมวิหาร๔ สภาพจิตจะนิ่ง สงบ อบอุ่น ไม่ติดข้องใจใดๆ มีความวางใจเป็นกลาง ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ มีสภาพจิตที่ไม่ขุ่นเคืองใจ ไม่ขุ่นมัวใจ มีความผ่องใสของจิต ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี


วงจรการเกิดขึ้นของตัณหาอุปาทาน

(อายตนะภายใน ๖ + อายตนะภายนอก ๖ + วิญญาณ) --> ผัสสะ --> ความรับรู้อารมณ์ --> ความพอใจยินดี & ความไม่พอใจยินดี --> ความสำคัญมั่นหมายของใจ(สัญญา) --> ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง --> รัก โลภ โกรธ หลง --> ตัณหา --> อุปาทาน



เราจะละอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ตัณหาในสิ่งนั้น
เราจะละตัณหาความทะยานอยากในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความรัก โลภ โกรธ หลง ในสิ่งนั้น
เราจะละความรัก โลภ โกรธ หลง ในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความตรึกนึกคำนึงถึงในสิ่งนั้น
เราจะละความตรึกนึกคำถึงในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งนั้น
เราจะละความสำคัญมั่นหมายของในใจสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความพอใจยินดีหรือความไม่พอใจยินดีในสิ่งนั้น
เราจะละความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีในสิ่งใด เราก็ต้องมีอุเบกขาจิต คือ ความมีใจกลางๆ มีความวางเฉย ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาเสพย์เสวยอารมณ์ต่อสิ่งนั้น


วิธีเข้าถึงอุเบกขาจิตมี ๔ แบบ ที่ผมได้พบเจอตามจริงดังนี้คือ

๑. การลดหรือไม่ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจต่อสิ่งนั้นๆ (ใช้ลดความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งนั้นๆเพื่อเข้าสู่ใจกลางๆไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งใดๆ เช่น ความกำหนัดใคร่ได้ ความใคร่ที่จะเสพย์อารมณ์ในกาม ความตั้งหวังปารถนายินดีใคร่ได้ เป็นต้น)
๒. การยอมรับความจริงที่เป็นสัจจะธรรม (ใช้วางใจกลางๆเมื่อจิตเราต้องการทะยานอยาก ปารถนาใคร่ได้ ที่เราอยากให้ บุคคล สิ่งของ เป็นไปดั่งที่ใจต้องการ ที่เราตั้งความพอใจยินดีไว้ เป็นต้น)
๓. การเลือกสิ่งที่ควรเสพย์ (ใช้วางใจกลางๆเมื่อจิตเราต้องการทะยานอยาก ปารถนาใคร่ได้อย่างแรงที่จะเสพย์สุขขากสิ่งนั้นๆ เช่น สุรา บุหรี่ กาม เป็นต้น)
๔. การเข้าถึงในสภาพปรมัตถ์ธรรม (รู้เห็นตามสภาพจริง ไม่มีตัวตน บุคคล สิ่งของ แยกขาด รูป-นาม หมดไปซึ่ง ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี)


ผมจะขออธิบายทั้ง ๔ ข้อดังต่อไปนี้

905  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการปฏิบัติ และ พิจารณา ใน สมถะ-วิปัสนากัมมัฏฐาน (วิถี Admax) เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 09:41:17 am
สาธุครับท่าน keyspirit

ผมหวังว่าแนวทางการปฏิบัติที่ทำให้ผมได้รู้เห็นมาบ้างและสามารถลดละทุกข์ต่างๆได้ จากคำสอนของพระพุทธเจ้า ครูอุปัชฌาอาจารย์ทั้งหลาย ประกอบรวมกับวิถีความคิดปรุงแต่งตามจริตผมนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายครับ

ขอบคุณครับ
906  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการปฏิบัติ และ พิจารณา ใน สมถะ-วิปัสนากัมมัฏฐาน (วิถี Admax) เมื่อ: เมษายน 26, 2012, 01:43:09 pm
ค. ถอยออกจากสมาธิ แล้วพิจารณาให้เห็นจริงในธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว (ตามวิถี Admax)

ภาคจบ : พิจารณาในธรรมที่เป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้รู้ใน อริยะสัจจ์๔

     พิจารณาครั้งที่ 1
- มองในรูปแบบของสมถะ คือ "ให้รู้พิจารณาตามสภาพที่เรามองเห็น รู้และเข้าใจในรูปแบบของบัญญัติที่เป็นชื่อ ที่เราเรียก ในแบบธรรมดาทั่วไปที่คนเขาเรียกและเข้าใจกัน" เช่น หากเราเห็นเพศตรงข้ามแล้วหลง ชอบ ติดข้องใจ ทะยานอยาก ต้องการ กำหนัดใคร่ได้
           ให้พิจารณาเบื้องต้นโดยมองแบบอสุภะ(คือมองว่าเป็นสิ่งไม่สวนไม่งาม ไม่นาใคร่ปารถนายินดี) เพื่อเป็นกุสโลบายแนวทางที่เข้าถึงสภาพในกาย เช่น พิจารณาภายในเป็น ไส้ ตับ ม้าม กระดูก อาหารเก่า อาหารใหม่ เลือด หนอง เป็นต้น
- มองในรูปแบบของอริยะสัจ๔ ในสภาพของสมถะ คือ ให้พิจารณาหาเหตุและปัจจัยที่เราพอใจยินดีไว้ จนเกิดเป็นความสำคัญมั่นหมาย ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ประกอบกับรัก โลภ โกรธ หลง เช่น เพราะพอใจยินดีในความงามของเพศตรงข้าม เพราะพอใจในความ ขาว หุ่นดี สวย อึ๋ม จึงตั้งเป็นความสำคัญไว้ในใจว่า เพศตรงข้ามแบบนี้ล่ะที่ต้องการ จึงเกิดความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ประกอบกับความ รัก โลภ โกรธ หลง ก่อเกิดความทะยานอยาก ต้องการ ยิ่งเมื่อได้เห็นเป็นไปในแบบที่เราต้องการแล้ว ยิ่งมีความปารถนาต้องการ ทะยานอยากอย่างแรงกล้าที่จะได้มา เพื่อเสพย์อารมณ์ที่ต้องการ แล้วก็คิดละความพอใจยินดีนี้เสีย
            ให้พิจารณาถึงความวางใจกลางๆ เช่น นั่นเป็นเพียงสิ่งที่ตาเราเห็นแล้วติดข้องใจ จากนั้นก็หยิบจับมาปรุงแต่งรวมกับความจำได้จำไว้แห่งความพอใจยินดีที่เราสำคัญมั่นหมายในใจเอาไว้ จึงเป็นบ่อก่อเกิดขึ้นซึ่งความทะยานอยาก ต้องการ สิ่งต่างๆสิ่งใดเหล่านั้นที่เห็น เป็นเพียงสิ่งที่หาประโยชน์ใดๆไม่ได้ เป็นเพียงแค่อาการทั้ง 32 ที่ประกอบขึ้นมาตามที่เราพิจารณาในอสุภะโดยมีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบ เขาก็อยู่ของเขาเช่นนั้น มีเพียงแค่เรานั้นเมื่อเห็นแล้วเอามาหยิบจับปรุงไปตามความปารถนาของเราเอง ทั้งๆที่เขาไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกระทำสิ่งใดๆกับเราเลย เขาก็อยู่ของเขาอย่างนั้น มีแค่เรานั้นคิดปรุงแต่งประกอบกับความจำได้จำไว้และความพอใจยินดีของเราไปเอง ตามแต่ความอยากต้องการของตน


วิธีพิจารณาหาเหตุและปัจจัยของทุกข์เบื้องต้นใน อริยสัจ๔ ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7457.0


     พิจารณาครั้งที่ 2
- มองในแบบสมถะกึ่งวิปัสนา คือ ให้รู้พิจารณาในสภาพที่เราเรียกที่เราเข้าใจทั่วไปเปรียบเทียบกับสภาพจริง(ปรมัตถธรรม) โดยต้องศึกษาเรียนรู้ก่อนว่า รูปในเบื้องต้นนั้นมีอะไรบ้าง  เบื้องต้นรูปที่เราพอจะสัมผัสรู้สึกได้นั้นคือ ดิน(มีสภาพอ่อน แข็ง) ลม(มีสภาพการเคลื่อนไหว เคลื่อนตัว ตรึง ไหว) ไฟ(มีสภาพร้อน-เย็น) น้ำ(เป็นสภาพที่รวมมีถึงธาตุทั้ง 3 ข้างต้นเข้าด้วยกัน) สี เสียง กลิ่น รส (รูปคือสิ่งที่ถูกรับรู้สัมผัส มีเอกลักษณ์คุณสมบัติเฉพาะตน) ส่วน นาม คือ ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ได้ ก็ประกอบด้วยจิต เจตสิก สภาพปรมัตถธรรม คือ สภาพจริงที่มีจริงๆไม่ว่าใคร บุคคลใด ชนชาติใดๆ ก็สามารถระลึกรู้และเข้าใจในสภาพความรู้สึกที่ตรงกันแต่ว่าอาจจะเรียกต่างภาษากันตามแต่ละประเทศหรือพื้นที่นั้นๆตั้งบัญญัติขึ้น เพื่อใช้เรียกสภาพจริงนั้นๆให้มีความเข้าใจในที่ตรงกัน บัญญัติ คือ การสมมติสัจจ์ทั้งหลายแล้วตั้งชื่อขึ้นเรียกสภาพจริงนั้นๆให้รู้และเข้าใจตรงกันเป็นต้น เบื้องต้นรับรู้สภาพเพียงแค่นี้ก่อนอย่าเพิ่งลงลึกจะทำให้สับสนได้
            ให้พิจารณาถึงว่าขณะนี้ที่เราเสพย์อารมณ์จากรูปสิ่งที่เห็นอยู่นั้นเป็น กุศล หรือ อกุศล โดยเอาจิตไปจับพิจารณาสภาพความรู้สึกนึกคิด ว่าขณะนั้นความรู้สึกนึกคิดเป็น รัก โลภ โกรธ หลง อยาก ทะยานต้องการ เกลียด ฝืน ขัดข้องใจ กำหนัดยินดีใคร่ได้ สิ่งเหล่านี้คือความคิด อกุศล หรือ คิดในสิ่งที่ไม่ทำร้าย เบียดเบียนใคร เช่น เมตา กรุณา ทาน เป็นต้นเหล่านี้คือ กุศล หรือ เฉยๆ ให้พึงพิจารณารู้เช่นนี้อยู่เนืองๆจะรู้และเข้าใจในสภาพจิตความคิดของเรามากขึ้น จากนั้นก็ละที่ความติดข้องใจ-พอใจยินดีนั้นๆ โดยพิจารณามองใน ผลดี-ผลเสีย หรือ ความทุกข์ทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราเอามาติดข้องใจแล้วตั้งมาเป็นอารมณ์เสพย์เสวยอารมณ์พอใจ-ไม่พอใจ ตรึกนึก หรือ กระทำไปต่างๆนาๆ เพื่อเข้าสู่สภาพใจกลางๆ ไม่ติดข้องใจกับสิ่งนั้นๆที่จิตเรารู้อารมณ์อยู่
- มองพิจารณาในแบบอริยสัจ๔ ในสภาพสมถะกึ่งวิปัสนา คือ ให้พิจารณาถึงว่าขณะนี้ที่เราเสพย์อารมณ์อยู่นั้น เพราะเรารู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทำให้เรา ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ในรูปเหล่านั้น (อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ เช่น เมื่อมองเห็น จิตก็มีรูปเป็นอารมณ์ // เมื่อได้ยิน จิตก็มีเสียงเป็นอารมณ์) ยกตัวอย่างเช่น ดั่งที่เรามองเห็น หรือ ได้ยินเสียงของเพศตรงข้ามแล้วหลง ชอบ ติดข้องใจ ทะยานอยาก ต้องการ กำหนัดใคร่ได้ ที่จริงแล้วสิ่งที่เราเห็นรับรู้อารมณ์ทางตานั้น(รูปารมณ์) มันก็เป็นเพียงแค่รูปสีต่างๆ มีส่วนเว้า ส่วนโค้ง ตรง เหลี่ยม กลม มีโครงสร้างต่างๆ หรือ เมื่อได้ยินเสียงแล้วหลง ชอบ ติดข้องใจ ทะยานอยาก ต้องการ กำหนัดใคร่ได้ ที่จริงแล้วสิ่งที่เราได้ยินรับรู้อารมณ์ทางหูนั้น(สัทธารมณ์) มันก็เป็นเพียงแค่รูปเสียงต่างๆที่ สูงๆ ต่ำๆ กลางๆ แหลมๆ ทุ้มๆ เท่านั้น แล้วความคิดปรุงแต่งเกิดประกอบกับความจำได้จำไว้ทั้งหลายทำให้เราเข้าใจในสมมติสัจจ์ว่านั่นเรียกว่าอะไร ว่าสิ่งนั้นคืออะไรเป็น คน สัตว์ สิ่งของฯ ประกอบขึ้นกับความสำคัญมั่นหมายของใจ จากนั้นเราก็เอามาเสพย์เสวยอารมณ์ความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี สืบต่อเป็นความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ทะยานอยากอยากในตัณหาทั้งหลาย // เมื่อพิจารณาดังนั้นแล้วก็ให้เราระลึกรู้สภาพความรู้สึกจริงๆ(สภาพปรมัตถ์)ของกายและจิตทั้งหลายว่า..ขณะนั้นเกิดอาการใดอยู่ เช่น อัดอั้นใจ คับแค้นใจ กรีดใจ หวีดใจ ขุ่นมัวใจ ติดข้องต้องใจ ปะทุ สั่นเครือ วูบหวิวใจ เป็นต้น (สภาพเหล่านี้คือ อกุศลจิต เกิดใน รัก โลภ โกรธ หลง) หรือ นิ่ง สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้องต้องใจ มีใจกลางๆเป็น เฉยๆ ว่าง ปิติ ความปิติอิ่มเอมใจนี้เกิดขึ้นเองโดยสภาพที่จิตเรานั้นไม่ติดข้องใจใดๆเลย ไม่ใช่ปิติอย่างติดข้องใจที่ได้ตามที่ตนเองชอบพอใจแล้วปิติสุข (สภาพเหล่านี้คือ กุศลจิต) หรือ เจ็บกาย ปวดกาย ขนลุกชัน ตัวสั่นหวิว รู้ขณะนี้มีลมหายใจเข้า-ออกแตะจมูก ซึ่งลมหายใจนั้นมีสภาพร้อน อุ่น เย็น ไหวเคลื่อนตัว แข็ง อ่อน แสบ นุ่ม ชื้น แห้ง เป็นต้น พิจารณาระลึกรู้ให้เห็นจริงในลำดับการเกิดและดำเนินไปจนถึงผลและดับไปของ เหตุ --> ปัจจัย --> ผล ให้พึงพิจารณาระลึกรู้เช่นนี้อยู่เนืองๆ จะทำให้เรารู้และเข้าใจในสภาพความรู้สึกของกายและจิตเรามากขึ้น จากนั้นก็พิจารณาให้รู้เหตุของความติดข้องใจที่ทำให้เราเกิดความพอใจยินดีนั้นๆ แล้วละที่เหตุของความติดข้องใจ-พอใจยินดีนั้นๆ โดยพิจารณามองใน ความพอใจยินดีที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ ความรู้จริงตามสัจธรรมว่าไม่ใช่ของเรา ไม่มีสิ่งใดได้ตามที่หวังปารถนาต้องการเป็นต้น เพื่อเข้าสู่สภาพใจกลางๆ ไม่ติดข้องใจกับสิ่งนั้นๆที่จิตเรารู้อารมณ์อยู่


วิธีการวางใจกลางๆเพื่อละความพอใจยินดีทั้งหลายมีเบื้องต้น ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0

 
     พิจารณาครั้งที่ 3
- มองพิจารณาในแบบวิปัสนา คือ เรียนรู้ลึกและเข้าใจในเรื่องของ รูปธรรมและนามธรรม เข้าถึงความ แยกไปใน รูป จิต เจตสิก ทั้งหลาย
            ให้พิจารณาระลึกรู้ในสภาพปรมัตถธรรม โดยไม่ต้องไปเรียกชื่อ นึกชื่อ หรือ ให้ความหมายของสภาพธรรมทั้งหลายที่เรารับรู้ พูดง่ายๆคือ ตัดความคิดปรุงแต่ง ละความจำได้จำไว้ในสมมติสัจจ์บัญญัติทั้งหลายออกไป มองเห็นแยกขาดใน ขันธ์ 5 หรือ รูป จิต เจตสิก ซึ่งก็คือ นามรูป ทั้งหลายนั่นเอง ไม่ต้องไปนึก-ตรึก-ตรอง-คำนึง ถึงสมมติสัจจ์บัญญัติใดๆ ระลึกรู้แค่สภาพจริงๆของธรรมทั้งหลาย จนเข้าถึงในธรรมานุสติปัฏฐาน คือ แยกขาดเห็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายนี้มีแค่นามรูป ให้มีสภาพจิตเพียงแต่รู้ว่าสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ตั้งอยู่ สิ่งนี้ดับ ไม่ต้องให้ชื่อ ไม่ต้องให้ความหมาย จนเห็นถึง ความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตน ความทุกข์ ไม่เป็นสิ่งที่น่าจะนำมาติดข้องใจ ใคร่ได้ ไม่น่าน้อมนำไปเสพย์อารมณ์
มองเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงแค่ นามรูป ทั้งหลายเท่านั้น ไม่มีค่าใดๆและประโยชน์ใดๆแก่เรา ไม่มีตัวตน ไม่มีบุคคล ไม่มีสิ่งใด นอกจากนามรูป ไม่ควรที่จะนำมาเสพย์เสวยอารมณ์ มันเกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป มันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์


วิธีหลุดจากบัญญัติ ท่านพระครูเกษมธรรมทัต(สุรศักดิ์ เขมรังสี) ท่านแสดงธรรมสอนไว้ อ่านดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/pk_kasem/pk-kasem_22.htm
907  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการปฏิบัติ และ พิจารณา ใน สมถะ-วิปัสนากัมมัฏฐาน (วิถี Admax) เมื่อ: เมษายน 26, 2012, 01:42:37 pm
ค. ถอยออกจากสมาธิ แล้วพิจารณาให้เห็นจริงในธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว (ตามวิถี Admax)

- เริ่มต้นนั้นทุกท่านต้องรู้ก่อนว่า สมถะ และ วิปัสนาคืออะไร ทั้ง 2 สิ่งนี้ก็เป็นกองกัมมัฏฐานด้วยกันทั้งสิ้น แต่จะแตกต่างการในเรื่องการพิจารณาเห็นสภาพจริงที่เป็น บัญญัติ และ ปรมัตถธรรม โดย
๑. สมถะกัมมัฏฐาน หมายถึง อุบายเครื่องการปฏบัติที่ทำให้จิตเป็นกุศล ตัดขาดจากอกุศลทั้งหลาย มีปัญญาพิจารณาโดยบัญญัติเป็นอารมณ์
๒. วิปัสสนากัมมัฏฐาน หมายถึง อุบายเครื่องการปฏิบัติที่รู้ด้วยปัญญาพิจารณาเห็นในสภาพจริงของ รูป-นาม เป็นอารมณ์ นั่นก็คือปรมัตถธรรมนั่นเอง
ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ควรไปร่วมกัน และจุดสำคัญที่เป็นปัจจัยให้ดำเนินไปถึงปัญญาในทั้งสองสิ่งนี้คือ สมาธิ ซึ่งสมาธินั้นหมายถึง ความมีจิตตั้งมั่นมีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน รูปแบบการปฏิบัติและพิจารณาที่ผมได้เรียนรู้ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วและสิ่งที่ครูอุปัชฌาอาจารย์สอนมามีดังนี้ครับ

- เมื่อเราสามารถปฏิบัติเข้าถึงสมาธิจิตได้แล้ว โดยจิตเรามีสภาพที่นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น สบาย เบาบาง ปิติอิ่มเอมใจ มีจิตจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน จิตนิ่งเป็นหนึ่งเดียว ตัดขาดจากความปรุงแต่งนึกคิดใดๆแล้ว เมื่อสามารถเข้าถึงสภาวะธรรมแห่งจิตนี้ได้แล้ว อย่างพึงระลึกว่าถึงแล้ว รู้แล้ว อย่าตั้งความพอใจยินดีสำคัญมั่นหมายติดในสภาวะธรรมแห่งจิตนั้นๆ พึงระลึกรู้ไว้ว่านั่นคือสามารถถึง "อารมร์สมถะ" ได้เท่านั้น นั่นคือ "จิตเรามีกำลังเพียงพอที่ควรแก่งานแล้ว พร้อมที่จะพิจารณาให้เห็นข้อธรรมและสภาวะธรรมที่เป็นจริงด้วยปัญญาแล้วเท่านั้น" เมื่อมีสติระลึกรู้ในสภาวะนั้นๆแล้ว(เมื่อสติเจตสิกเกิด วิตกเจตสิกคือความคิดและบัญญัติจะรู้ตามมาเสมอ) ให้เราพึงระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พิจารณากลับไปกลับมาโดยลำดับ จากพื้นฐานธรรมที่ก่อให้จิตเกิดกุศล ไปจนถึงพิจารณาในอริยสัจ๔ เข้าสู่สภาพจริงที่เป็นปรมัตถธรรม ตามลำดับ โดยแนวทางการพิจารณาที่ผมกระทำและดำเนินไปอยู่นั้นมีลำดับดังนี้

ภาคต้น : พิจารณาในธรรมเบื้องต้นให้เข้าใจถ่องแท้รู้ในเหตุและผล รู้ข้อดี-ข้อเสียของข้อธรรมนั้นๆ

ยกตัวอย่าง
- ศีล ให้พิจารณากลับไปกลับมาใน ศีล ว่า ศีลมีไว้เพื่ออะไร ทำไมคนเราต้องรู้จักและพึงปฏิบัติในศีล แต่ละข้อนั้นสำคัญอย่างไร หากคนเราไม่มีศีลจะเป็นเช่นไหน เมื่อมีศีลแล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร เมื่อไม่มีศีลแล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร จนเห็นแนวทางที่จะเผยแพร่ด้วยเหตุและผลต่อคนอื่นให้เห็นจริงตามเรา
- พรหมวิหาร๔ ให้พิจารณากลับไปกลับมาในว่า พรหมวิหาร๔ มีไว้เพื่ออะไร ทำไมคนเราต้องรู้จักและพึงปฏิบัติใน พรหมวิหาร๔ แต่ละข้อนั้นสำคัญอย่างไร หากคนเราไม่มี พรหมวิหาร๔ จะเป็นเช่นไหน เมื่อมี พรหมวิหาร๔ แล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร เมื่อไม่มี พรหมวิหาร๔  แล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร จนเห็นแนวทางที่จะเผยแพร่ด้วยเหตุและผลต่อคนอื่นให้เห็นจริงตามเรา
- ทาน ให้พิจารณากลับไปกลับมาใน ทาน ว่า ทานมีไว้เพื่ออะไร ทำไมคนเราต้องรู้จักและพึงปฏิบัติในทาน แต่ละข้อนั้นสำคัญอย่างไร หากคนเราไม่มีทานจะเป็นเช่นไหน เมื่อมีทานแล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร เมื่อไม่มีทานแล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร จนเห็นแนวทางที่จะเผยแพร่ด้วยเหตุและผลต่อคนอื่นให้เห็นจริงตามเรา
- หลังจากนั้นให้พิจารณาว่า เราต้องปฏิบัติเช่นไร มีแนวทางใดบ้างที่จะทำให้เราเข้าถึงในข้อธรรม และ สภาพจิตที่เป็นกุศลของธรรมที่เราพิจารณานั้นๆได้

* อาจจะพิจารณาข้อธรรมเบืองต้นอื่นๆ ที่เรานั้นเห็นว่าเป็นคุณประโยชน์แก่เราและคนอื่น

ภาคกลาง : พิจารณาในธรรมที่เป็น สัจธรรม หรือ พุทธวจนะ พุทธพจน์ ทั้งหลายให้เข้าใจถ่องแท้รู้ในเหตุและผล รู้ข้อดี-ข้อเสียของ สัจธรรม หรือ พุทธวจนะ พุทธพจน์  หรือ หลักคำสอนของ พระอรหันต์ทั้งหลาย พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ครูอุปัชฌาอาจารย์ทั้งหลาย

ยกตัวอย่าง
- ความไม่เที่ยง เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง
- ความไม่มีตัวตน เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีตัวตน
- ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นทุกข์
- เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์
- ไม่สมปารถนาเป็นทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
- ความพรัดพรากเป็นทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ที่จำเริญใจทั้งหลายมันเป็นทุกข์
- เจอสิ่งที่ไม่พอใจก็เป็นทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจมันเป็นทุกข์
- ขันธ์๕ คือทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวทุกข์
- สมมติมีเพราะขันธ์ทั้งหลาย เพราะอย่างไรนวชิราภิกษุณีจึงได้กล่าวกับมารผู้มีบาปที่มารบกวนท่านว่า เพราะขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ การสมมติว่าเป็นสัตว์ย่อมมี ชื่อว่ารถมีได้ก็เพราะประกอบเอาส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน
- สิ่งใดที่เรียกว่าเป็นเรา เพราะอย่างไร พระนาคเสนจึงกล่าวตอบคำถามกับพระเจ้ามิลินว่า ที่พระเจ้ามิลินมาตรัสว่าพระองค์มาหาพระนาคเสนด้วยรถ พรนาคเสนจึงกล่าวถามว่า เพลา หรือที่เรียกว่ารถ // ล้อ หรือที่เรียกว่ารถ // โซ่ หรือที่เรียกว่ารถเป็นต้น // ไม่มีสิ่งใดที่เรียกว่ารถเลย ก็เพราะทุกส่วนประกอบกันจึงขึ้นชื่อว่ารถ

พิจารณาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ใน สัจธรรม หรือ พุทธวจนะ พุทธพจน์ หลักคำสอนของ พระอรหันต์ทั้งหลาย พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ครูอุปัชฌาอาจารย์ทั้งหลายทั้งหลายดังที่กล่าวมานี้เป็นต้น

* อาจจะพิจารณา สัจธรรม หรือ พุทธวจนะ พุทธพจน์ หลักคำสอนของ พระอรหันต์ทั้งหลาย พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ครูอุปัชฌาอาจารย์ทั้งหลายอื่นๆ ที่เรานั้นเห็นว่าเป็นคุณประโยชน์แก่เราและคนอื่น


ผมมีแนวทางการพิจารณาในข้อธรรมเบื้องต้นโดยย่อ ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27478#msg27478
908  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการปฏิบัติ และ พิจารณา ใน สมถะ-วิปัสนากัมมัฏฐาน (วิถี Admax) เมื่อ: เมษายน 26, 2012, 01:41:52 pm
ข. การออกจากสมาธิ (ตามวิถี Admax)

เมื่อเราเข้าสมาธิได้แล้ว เมื่อสภาพจิตมีสมาธิมาก มีจิตจดจ่อมากขึ้น หากอยู่เราออกจากการทำสมาธิเลย หรือกระทำการใดๆโดยฉับพลัน จะทำให้สภาพสมาธิจิตที่ยังคลุมกายและใจอยู่นั้นไม่คลายตัว เป็นเหตุให้หลายๆคนปวดตัวบ้าง ปวดกล้ามเนื้อบ้าง หมดแรงบ้าง หนักตัวบ้าง ไม่รู้สึกสงบ เบาบาง ผ่องใสเมื่อออกจากสมาธิ ดังนั้นหากได้ปฏิบัติเข้าสมาธิเสร็จแล้วจะถอยออกจากสมาธิให้ปฏิบัติดังนี้
๑. หายใจเข้าลึกๆจนสุดใจแล้วกลั้นไว้ นับในใจ 1-10  แล้วหายใจออกยาวๆจนสุดใจแล้วกลั้นไว้ นับในใจ 1-10  ทำเช่นนี้สักประมาณ 3-5 ครั้งตามแต่สะดวก
๒. ลืมตาตื่นขึ้นมองไปข้างหน้าพร้อมกับหายใจเข้าและออกยาว แล้วค่อยๆลดถอยออกมาจนหายใจเป็นปกติ
๓. ขณะนั่งอยู่ให้บิดตัวยืนเส้นไปด้านข้าง เริ่มจากด้านซ้ายหรือขวาก่อนก็ได้
               ยกตัวอย่าง เริ่มที่ด้านซ้าย...ให้บิดตัวและเอวหมุนไปด้านซ้ายเบี่ยงไปข้างหลังจนสุดลำตัวพร้อมเอามือทั้งสองข้างแตะลงบนพื้นค้างไว้แล้วนับ 1-10 แล้วคลายตัวหันกลับมาในท่านั่งตรงปกติหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ จากนั้นบิดตัวไปด้านขวาแล้วทำเช่นเดียวกัน สลับไปมาอย่างนี้สักข้างละ 3 ครั้ง
๔. เหยียดขาทั้งคู่ออกประชิดกันไปข้างหน้า แล้วงอตัวก้มลงเอามือยืดแตะที่หน้าแข้งหรือปลายเท้าเพื่อยืดเส้นไม่ให้ยึดขดงอจากการนั่งนานๆ
๕. จากนั้นก็ลุกขึ้นดำเนินกายตามปกติ หรือ หากยังไม่ได้สวดมนต์แผ่เมตตาก็ให้นั่งคุกเข่าพนมมือสวดมนต์ อรหังสัมมาฯ จากนั้นก็แผ่เมตตาให้ตนเอง แล้วแผ่เมตตาคนอื่น


ผมมี บทแผ่เมตตาสั้นๆบทหนึ่ง ที่ครูอุปัชฌาญ์อาจารย์ผมซึ่งเป็นสายพระป่าเป็นพระอริยะเจ้าองค์หนึ่งในกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น สอนสืบทอดสวดแผ่กันมา มีคุณประโยชน์หากแผ่ให้แก่คน-สัตว์และแมลงทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย หรือ แม้แต่สิ่งที่มารบกวนการปฏิบัติธรรมของเราทั้งหลายเป็นต้นดังนี้ครับ

สัพเพ สัตตา สะทาโหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด

กะตัง ปุญญัง ผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุเต
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย จงได้เสวยผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญเพียรด้วยกายวาจาใจนี้แล้วเทอญ สาธุ..

วิธีการเข้า-ออกสมาธิ ที่คุณหมิว ได้ตั้งกระทู้ถามไว้แล้วพระคุณเจ้า arlogo และ ท่าน aaaa กรุณาตอบไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์มาก ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7516.0
909  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีการปฏิบัติ และ พิจารณา ใน สมถะ-วิปัสนากัมมัฏฐาน (วิถี Admax) เมื่อ: เมษายน 26, 2012, 01:41:21 pm
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการปฏิบัติ และ พิจารณา ใน สมถะ-วิปัสนากัมมัฏฐาน ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


ก. การเจริญสมาธิ (ตามวิถี Admax)

          การทำสมาธิตามแนววิถีทางของผมนั้น เริ่มต้นไม่ว่าท่านทั้งหลายจะเรียนรู้อะไรมา ถึงจะเรียนจบอภิธรรมครบจนหมด หรือ เรียนปริยัติจบเปรียญ ปธ. ๙ ก็ตามแต่ ให้ท่านทั้งหลายทิ้งความเป็นมหานั้นไปให้หมด (เพราะคนเรานั้น ยิ่งเรียนมามาก ยิ่งรู้มาก ยิ่งเอาความรู้ทั้งหลายมาคิดสับไปสับมาวุ่นวายไปหมดจน เกิดข้อสงสัยไม่เกิดความว่าง เกิดความติดข้องใจ ถกเถียงขึ้นในจิต ทำให้เป็นปัญหาแก่การทำสมาธิเป็นอย่างมาก) แล้วเริ่มปฏิบัติพิจารณาดังนี้

- เริ่มแรกในการเข้าสู่การกัมมัฏฐานนั้นให้เริ่มต้นดังต่อไปนี้
๑. ให้ตั้งจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่มีคุณเป็นเอนกอนันต์ ที่ทรงสละทุกอย่างแสวงหาโมกขธรรมเพื่อเป็นทางแห่งการพ้นทุกข์แล้วเผยแพร่ให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์อันประเสริฐนั้น
๒. ให้ตั้งจิตระลึกถึงพระธรรมที่องค์ตถาคตนั้นได้ตรัสรู้มาโดยชอบแล้ว ดีแล้ว งดงามแล้ว ไพเราะแล้ว ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เป็นธรรมที่ประกอบไปด้วยประโยชน์เป็นอันมากให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมแห่งการพ้นทุกข์
๓. ให้ตั้งจิตระลึกถึงพระสงฆ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้ควรแก่การนอบน้อมอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกได้สละแล้วซึ่งกิเลสทั้งหลาย และ ได้นำพระธรรมของพระตถาคตเจ้านั้นมาเผยแพร่และคงอยู่ให้เราได้ร่ำเรียนศึกษาจนเห็นทางพ้นทุกข์อันชอบนั้น
๔. ให้ตั้งจิตระลึกถึงคุณบิดา-มารดา และ บุพการีทั้งหลาย ที่ได้คลอด และ เลี้ยงดูเรามาจนเติบใหญ่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ เป็นผู้มีความเมตตา กรุณา มุทิตา แก่เรา เป็นผู้ให้ทานอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นแก่เรา เพื่อให้เราได้รับประโยชน์สุขด้วยใจที่ประเสริฐยิ่ง จนทำให้เราได้มารู้จักพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วในพระพุทธศาสนานี้เพื่อปฏิบัติตนให้พ้นจากกองทุกจ์ทั้งสิ้นนี้
๕. ให้ตั้งจิตระลึกถึงคุณของครูอุปัชฌา-อาจารย์ทั้งหลาย ที่ได้สั่งสอน อบรม ได้ชี้แนะแนวทาง และ พระธรรมในพระพุทธศาสนาอันประเสริฐ ประกอบไปด้วยประโยขน์นี้ให้เราให้เห็นทางอันดี ประเสริฐ และทางพ้นทุกข์ทั้งหลาย
๖. นั่งคุกเข่าตั้ง นโม 3 จบ แล้วสวดบทสวดมนต์ อรหังสัมมาฯ ว่าบัดนี้จักขอเข้าสู่กรรมฐานเพื่อปฏิบัติเจริญในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า

๗. จากนั้นเริ่มปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในอริยาบถต่างๆตามแต่จริตตนดังนี้

๗.๑ การเจริญสมาธิด้วยการยืน ให้เริ่มต้นจากการที่เราหลับตาสงบนิ่งเหมือนธรรมดาทั่วไปก่อน ไม่ต้องไปตรึกนึกเอาอภิธรรมใดๆเข้ามาพิจารณา ให้ระลึกรู้แค่เพียงลมหายใจเข้า-ออก โดย หายใจเข้ายาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" หายใจออกยาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (จะระลึกรู้บริกรรมคำใดๆก็ได้ หรือจะไม่บริกรรมเลยแค่รู้ลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆก็ได้) สักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วลดหลั่วการหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆจนเป็นการหายใจตามปกติ พิจารณารู้สัมผัสจากลมหายใจเข้าและออก จิตจดจ่อรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่นิ่งสงบ อบอุ่น ไม่ฟุ้งซ่าน แล้วระลึกพิจารณาอิริยาบถของกายที่ยืนอยู่นี้ พร้อมหายใจเข้าพึงระลึกรู้บริกรรมในใจว่า "ยืน" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจเข้า) แล้วหายใจออกพึงระลึกรู้บริกรรมในใจว่า "หนอ" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจออก) มีจิตจดจ่อรู้ลมหายใจหรือสภาพอิริยาบถของกายที่ยืนอยู่อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่ นิ่ง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ว่าง  ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหนเวลาใดก็ได้ แม้ยามที่เราลืมตาอยู่ก็ตาม หากกระทำได้เช่นนี้แล้ว แม้จะยืนลืมตาอยู่สภาพจิตก็จะไม่ไหวติงใดๆเกิดเป็นสมาธิที่ควรแก่งานคือการปฏิบัติในกิจการงานต่างๆนั่นเอง

๗.๒ การเจริญสมาธิด้วยการเดิน คนเราส่วนมากจะเดินจงกรมในแบบธรรมดาทั่วไป คือ เมื่อขาซ้ายก้าวย่างเดินไปเหมือนเราเดินตามปกติ ก็ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายย่างหนอ" เมื่อขาขวาก้าวย่างเดินไปเหมือนเราเดินตามปกติ ก็ระลึกบริกรรมในใจว่า "ขวาย่างหนอ" มีจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ การเดินในชั้นเดียวนี้ผู้ที่อบรมจิตมีสมาธิมาดีแล้ว เมื่อปฏิบัติโดยการเดินในแบบนี้ก็จะเข้าสมาธิได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่วอกแวก ไม่ฟุ่งซ่าน มีแต่ความสงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ แต่หากบุคคลใดที่ยังไม่มีสมาธิเลย ยังไม่ได้อบรมณ์จิตใดๆมา เมื่อก้าวเดินในแบบดังกล่าวแล้วมีจิตวอกแวก ฟุ้งซ่าน เอาสิ่งภายนอกมาตั้งเป็นอารมณ์อยู่ให้เปลี่ยนการเดินโดนเลือกตาม 4 แบบวิธีตามลำดับดังนี้คือ
- เดินจงกรม 2 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดเท้าก้าวย่างเดินออกมาตามปกติแล้วแตะกดลงบนพื้นพร้อมเคลื่อนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย อยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" กระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- เดินจงกรม 3 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" จากนั้นให้กดเท้าย่างลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ" กระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- เดินจงกรม 4 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" จากนั้นให้เคลื่อนเท้าย่างลงลอยขนานห่างจากพื้นเล็กน้อยแล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ" จากนั้นให้กดเท้าย่างลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ถูกหนอ" จากนั้นกระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- เดินจงกรม 5 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" จากนั้นให้เคลื่อนเท้าย่างลงลอยขนานห่างจากพื้นเล็กน้อยแล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ" จากนั้นให้วางเท้าแตะลงถูกบนพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ถูกหนอ" จากนั้นให้กดเท้าลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยแล้วระลึกอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป บริกรรมในใจว่า "กดหนอ" จากนั้นกระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์  เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้

๗.๓ การเจริญสมาธิด้วยการนั่ง การนั่งสมาธินั้นเราสามารถจะนั่งพิงฝา นั่งบนเก้าอี้ นั่งในอิริยาบถใดก็ได้ที่สบายและง่ายในการทำสมาธิแก่เรา แต่โดยส่วนมากหากนั่งสบายไปเรามักจะหลับหรือเคลิ้มติดความพอใจยินดีกับการเสวยเวทนาที่เป็นสุขทางกาย ดังนั้นเวลานั่งควรนั่งสมาธิในแบบที่เป็นประเภณีการปฏิบัติมาด้วย โดยนั่งขัดสมาธิให้ขาขวาวางลงข้างล่าง ขาขวาวางทับอยู่ข้างบน เอามือวางบนตักทับประสานกันตามปกติ จากนั้นให้ทำการผ่อนคลายสภาพกายและจิต แล้วหายใจเข้าลึกๆยาวจนสุดใจ ระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจเข้า) หายใจออกยาวจนสุดใจ ระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจออก) ทำเช่นนี้ประมาณ 3-5 ครั้ง จากนั้นค่อยๆหายใจเข้ายาว-ออกยาวตามปกติ หรือ ลดหลั่นลงมาเรื่อยๆจนอยู่ในระดับปกติ มีสติจดจ่ออยู่ในลมหายใจเข้าและออก มีจิตระลึกรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์ ไม่ต้องใช้ปัญญาอันฉลาดรอบรู้ใดๆของตนมาคิดพิจารณา ให้ตั้งจิตจดจ่อรู้ลมหายใจเข้าและออกเท่านั้น เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วค่อยๆทำให้นานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- หากว่ากระทำในวิธีข้างต้นแล้ว จิตยังเกิดความปรุงแต่ง นึกคิด ฟุ้งซ่าน สัดส่าย ไม่มีความสงบ ให้พึงตั้งจิตระลึกรู้ว่า ขณะนี้ เราอยู่ในอิริยาบถใดอยู่ เช่น ระลึกรู้ว่าเรากำลังนั่งอยู่ กำลังกระทำดำเนินไปในสิ่งใดอยู่ เช่น ระลึกรู้ว่าเรากำลังนั่งเพื่อเจริญสมาธิอยู่ แล้วพึงพิจารณาว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ความคิดปรุงแต่ง นิมิตใดๆทั้งหลายทั้งปวงนั้นเกิดขึ้นมาแต่จิต จิตมันจดจำสิ่งใดๆไว้แล้วนำมาสร้างเรื่องราวปรุงแต่งตามแต่ที่มันพอใจยินดี ทั้งๆที่สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็อยู่ของมัน เขาก็อยู่ของเขา เราเท่านั้นที่เก็บเอามาคิดปรุงแต่งเรื่องราวจากความจำได้จำไว้ที่เคยผ่านพ้นมา // จากนั้นให้ตั้งสติหลับตาเพ่งพิจารณาจดจ่อมองดูความมืดที่เห็นจากการหลับตานั้น พึงระลึกในใจว่าสิ่งที่เห็นอยู่นั้นแลคือ ความเป็นจริงปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับเรา แล้วให้พิจารณาเพ่งจดจ่อกวาดยาวออกไปมองที่ความมืดนั้น จะเห็นเป็นเม็ดแสงแวบๆวับๆหลากหลาย ใหญ่บ้างเล็กบ้าง กระจัดกระจายไปมา เสร็จแล้วให้เราพึงเพ่งมองพิจารณาสมมติเปรียบเทียบเอาว่าแสงนั้นคือสภาพจิตของเราที่ฟุ้งซ่านอยู่กระจัดกระจายไปหมด ปรุงแต่งคละเคล้ากับความคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้มั่วไปหมด เมื่อพิจารณาเปรียบเห็นดั่งสมมตินั้นได้แล้ว ก็ให้ตั้งจิตเพ่งมองจดจ่อทอดยาวออกไปด้านหน้าในความมืดนั้น ณ ช่วงกึ่งกลางระหว่าง 2 ตา สูงในระดับสายตา(ช่วงสันจมูก) แล้วกวาดยาวออกไปอยู่ที่จุดๆเดียวด้วยอารมณ์ที่ผ่อนคลายสบายๆ(ห้ามเพ่งมองย่นย่อจนเกร็งตาหรือบิดเกร็งตัวเข้ามาอยู่ที่จุดตรงกลางหว่างคิ้วตนเองเด็ดขาดเพราะจะทำให้เราเกิดอาการเวียนหัว ปวดหัว และ ตา ตามมาในภายหลัง)พิจารณาจดจ่ออยู่ที่จุดนั้นจุดเดียวจนกว่าสภาพแสงที่กระจัดกระจายวิ่งไปมาหลายหลายนั้นจะค่อยๆหายแล้วแล้วเหลืออยู่ที่จุดเดียวอยู่ตรงที่เราเพ่งมองนั้น  เมื่อแสงทั้งหลายหายไปเหลือเพียงแต่แสงที่จุดที่เราเพ่งมองนั้น ให้เพ่งดูอยู่เช่นนั้นซักระยะหนึ่งโดยการระลึกรู้ลมหายใจเข้า-ออกพร้อมเพ่งมองไป ณ จุดนั้นจนสภาพจิตเกิดความนิ่ง สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก เมื่อมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ตน ก็ให้น้อมลงพิจารณาที่ลมหายใจเข้า-ออกตามแบบการนั่งสมาธิปกติ

๗.๔ การเจริญสมาธิด้วยการนอน การนอนทำสมาธิที่ผมกระทำอยู่นั้นมี 2 แบบ คือ แบบ สีหไสยาสน์ และ การนอนหงายผ่อนคลายตามปกติตน
                 การนอนแบบสีหไสยาสน์... เป็นการนอนเพื่อเข้าอยู่ในสมาธิอบอรมจิต ทำให้เกิดความรู้ตัวอยู่เสมอ วิธีนอนให้นอนตะแคลงขวา เหยียดตัวตรง วางขาทับซ้อนตรงกัน วางมือลงแนบตรงกับลำตัว พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก โดยหายใจเข้ายาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" หายใจออกยาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (จะระลึกรู้บริกรรมคำใดๆก็ได้ หรือจะไม่บริกรรมเลยแค่รู้ลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆก็ได้) สักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วลดหลั่วการหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆจนเป็นการหายใจตามปกติ พิจารณารู้สัมผัสจากลมหายใจเข้าและออก จิตจดจ่อรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่นิ่งสงบ อบอุ่น ว่าง ปิติอิ่มเอมใจ ไม่วอกแวกฟุ้งซ่าน แล้วระลึกพิจารณาอิริยาบถของกายที่นอนอยู่นี้  ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
                 การนอนหงายผ่อนคลายแบบปกติ... เป็นการนอนเพื่อทำสมาธิปรับสภาพร่างกายจนหลับ เหมาะแก่คนที่นอนไม่หลับ โดยนอนหงายเหยียดตัวตรงตามปกติ แล้วพึงระลึกพิจารณาลมหายใจเข้า-ออก เหมือนการนั่งสมาธิทั่วไป กระทำพิจารณาไปเรื่อยๆสภาพจิตจะเข้าสู่สมาธิและปรับธาตุในร่างกายใหสมดุลย์กันแล้วก็หลับไปเลยตามปกติ แต่จะต่างจากการทำสมาธิทั่วไปตรงที่หากเมื่อต้องการจะนอนไม่ว่าเกิดความคิดปรุงแต่งใดๆ นิมิตใดๆขึ้นมาก็ปล่อยให้มันเป็นไปจนกว่าเราจะหลับ // แต่หากทำสมาธิโดยไม่พึงปารถนาจะนอนหลับให้มีสติระลึกรู้ลมหายใจเข้า-ออก โดยหายใจเข้ายาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" หายใจออกยาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (จะระลึกรู้บริกรรมคำใดๆก็ได้ หรือจะไม่บริกรรมเลยแค่รู้ลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆก็ได้) สักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วลดหลั่วการหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆจนเป็นการหายใจตามปกติ พิจารณารู้สัมผัสจากลมหายใจเข้าและออก จิตจดจ่อรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่นิ่งสงบ อบอุ่น  ว่าง ปิติอิ่มเอมใจ ไม่วอกแวกฟุ้งซ่าน แล้วระลึกพิจารณาอิริยาบถของกายที่นอนอยู่นี้  ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้

๘. เมื่อสามารถปฏิบัติจนเข้าถึงสภาพจิตที่ นิ่ง สงบ อบอุ่บ ผ่องใส เบาบาง ปิติอิ่มเอมใจ มีจิตว่าง ปราศจากความปรุงแต่งนึกคิดใดๆ (สภาพจิตความรู้สึกที่อยู่ในสภาวะดังกล่าวนี้เรียกว่า "อารมณ์สมถะ")...ก็ให้เราจดจำแนวทาง-วิถีปฏิบัติ และ สภาพของกายและจิตที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงอารมณ์สมถะนี้ไว้ เมื่อถึงเวลาที่เราปฏิบัติกัมมัฏฐานเพื่อเข้าสู่สมาธิอีกคราวต่อไป ก็ให้กระทำปฏิบัติตามแนวทางและวิถีนั้นๆที่ทำให้เราเข้าสู้อารมณ์สมถะได้ กระทำเช่นนี้อยู่เนืองๆจะทำให้เรารู้ในวิธีการปฏิบัติที่ทำให้เราเข้าสู่สภาพอารมณ์สมถะได้ง่ายขึ้น จนสามารถทำได้ในทุกครั้งที่ต้องการ ดังนั้นข้อที่ ๗-๘ นี้สำคัญมาก เพราะจะทำให้เราสามารถเข้าสืบต่อไปยังการรู้เห็นในสภาพปรมัตถธรรม นั่นคือ สภาพธรรมจริงๆนั่นเอง

- เมื่อเพียงพอจากการเข้าสมาธิแล้ว ให้เราตั้งจิตสวดมนต์บทสวด อรหังสัมมาฯ จากนั้นแผ่เมตตาให้ตนเอง แล้วแผ่เมตตาให้คนอื่น (ในขณะนี้หากนั่งคุกเข่าอยู่อาจจะเปลี่ยนอิริยาบถเป็นนั่งพับเพียบก็ได้)
910  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ถ้ามีคนมาทำร้าย เรา และ ทำร้ายคนที่เรารัก เช่น มารดา บิดา บุตร ภรรยา เราควร.... เมื่อ: เมษายน 23, 2012, 03:43:34 pm
เราควรเข้าปกป้องครับ แต่มี 2 ทางให้เลือกปกป้อง
1. ใช้กำลังเข้าแลกความถูกต้องคืนมา โดยไม่ต้องนึกถึงสิ่งใดๆเพื่อปกป้องคนที่เรารักและนับถือ
2. ขวางไว้ห้ามไม่ให้เขาทำร้ายคนที่เรารักและนับถือ พร้อมกันนั้นควรแจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย และ พยายามพาครอบครัวหลีกหนีห่างไกลจากคนพวกนี้

ทีนี้คุณคิดจะเลือกเอาทางไหนมันอยู่ที่คุณ และ ขณะที่คุณกระทำตามทางเลือกนั้นสภาพจิตคุณกระทำไปเพราะความโกรธแค้น พยาบาท เพราะพอใจอยากจะทำ หรือ ความเมตตากรุณาให้คนที่คุณรักทั้งหลายพ้นทุกข์
ทางที่ 1 จะต้องมีการใช้ความรุนแรง เสียเลือดเนื้อ สิ่งที่แลกได้มานั้นมันเกิดประโยชน์มากกว่าเสียหรือไม่
ทางที่ 2 ไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แต่เป็นการทำให้ผู้กระทำผิดนั้นรับกรรมที่ผิดตามที่เขาทำโดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรม แต่คุณอาจไม่ได้เอาคืนเพื่อระบายความอาฆาต พยาบาท โกรธ เกลียด นั้นๆ

ขอให้คุณจดจำข้อหนึ่งว่า พระพุทธศาสนาไม่เคยสอนให้เรานิ่งดูดายเมื่อคนอื่นลำบาก แต่ให้เราใช้ปัญญาที่ดีงามแก้ไขมัน และ ใช้ปัญญาที่ดีงามเข้าช่วยเหลือในทางที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ผลเสียย้อนกลับมาทำร้ายทั้งตัวเราเองและผู้อื่นที่เรารักครับ

ลองเลือกดูครับ ทุกอย่างอยู่ที่คุณ ทางมีให้เท่านี้ครับ
911  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ถ้าเราถูกทักว่าชาติที่แล้วไปโกงที่ิดิน เผาบ้าน ทำคนตายสามคนค่ะ ควรเชื่อดีไหมคะ เมื่อ: เมษายน 15, 2012, 04:08:43 pm
ดูเรื่องราวของท่านนี้ที่เจออยู่แล้วพึงระลึกพิจารณาในแนวทางปฏิบัติที่หลายๆท่านที่ชี้แนะ แล้วปฏิบัติร่วมกันกับแนวทางที่ผมได้ชี้ให้กระทำในกระทู้นี้ดูนะครับจะเป็นประโยชน์มากสำหรับคุณและครอบครัวในเวลานี้

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3027.0
912  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: แฟนผมโดนผีเข้าบ่อย แก้ไขยังไงดีครับ เครียดมาก เมื่อ: เมษายน 15, 2012, 03:40:40 pm
- ท่านทั้งหลายได้ตอบกระทู้แนะแนวทางมาดีแล้ว คุณลองกระทำปฏิบัติดู แล้วพาภรรยาคุณนั้นไปรดนั้นมนต์ ให้พระท่านสวดให้ แล้วปฏิบัติทุกวันเช้า เย็น หรือทุกครั้งที่ระลึกถึงตามแนวทางดังต่อไปนี้
๑. จากนั้นขออาราธนาศีล ๕ เป็นเบื้องต้น จนถึงศีล ๘ แล้วตั้งใจปฏิบัติให้ดีอย่าให้ผิดพลาด
๒. สวดมนต์ทำวัตร เช้า-เย็น เป็นประจำ
๓. หลังสวดมนต์เสร็จแล้ว ให้เจริญกัมมัฏฐาน ทำสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นเดินจงกรม ยืน นั่ง นอน พึงระลึกตั้งใน พุทธานุสสติปัฏฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าที่มีมากเป็นเอนกอนันต์ ได้เพียรจนบรรลุธรรมอันประเสริฐที่ประกอบด้วยคุณอันเป็นประโยชน์อย่างหาประมาณมิได้ เพื่อให้สัตว์โลกทั้งหลายได้พ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ พึงตั้งสติระลึกถึงในใจเสมอๆทุกลมหายใจเช้าออก จนเมื่อคุณและภรรยานั้นเกิดจิตสงบแล้ว ให้อธิษฐานขอด้วยเดชแห่งบุญนั้นที่พึงระลึกคุณของพระพุทธเจ้าเป็นดั่งลมหายใจ ขอให้มารทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย อมมุษย์ทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เพทภัยอันตรายทั้งหลาย เสนียดจัญไรสิ่งอัปมงคลทั้งหลาย อุปัทวะ-ภัยอันตรายทั้งหลาย โรคทั้งหลายทั้งปวง จงวินาสไปแเสียจากคุณ ภรรยา และ ลูก ให้ทำสมาธิเจริญกรรมฐานอยู่เนืองๆ
๔. ให้คุณและภรรยาทำสมาธิโดยไม่ต้องไปคิด ไปเรียนรู้ลึกอะไรให้มาก รู้แค่ระลึกพุทธานุสสติตามที่ผมบอก และ หายใจเข้า ระลึก พุทธ หายใจออก ระลึก โธ จนกว่าจิตคุณจะนิ่ง สงบ ปิติ อบอุ่น ไม่คิดฟุ้งซ่านใดๆ ไม่มีความปรุงแต่งใดๆ ไม่มีความ รัก โลภ โกรธ หลง กลัว อยาก ราคะ ไม่มีกิเลสใดๆปรุงเข้ามา นอกจากความว่าง สงบ ปิติ อบอุ่น ยิ่งได้นานเท่าไหร่ยิ่งดี
๕. เมื่อคุณและภรรยาเข้าถึงสภาพธรรมในข้อ ๔ นี้แล้ว หากเมื่อเกิดหลุดจากจุดนี้ออกมาแล้วให้พิจารณาระลึกรู้ธรรมทั้งหลาย เช่นพิจารณาลงในศีล ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนเราเป็นปกติสุขปฏิบัติตนโดยไม่มีความเบียดเบียนคนอื่นด้วยกาย วาจา ใจ พิจารณาถึงว่าเพราะความโลภ ความพอใจยินดีทั้งหลายทั้งปวงนี้ ก่อเกิดซึ่งบ่วง เกิดโทสะพยาบาท เกิดความไม่พอใจยินดี แม้สิ่งที่ตนพอใจยินดีอยู่ก็มิอาจเป็นไปดั่งใจหวังต้องการ มีความผิดหวังเป็นธรรมดา มีความพรัดพรากเป็นที่สุด ประสบกับสิ่งอันไม่รักไม่พอใจอยู่ทุกวันเป็นแน่แท้ ทั้ง 3 สิ่งเหล่านี้เราทั้งหลายจะล่วงพ้นไปไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกสิ่งทุกอย่างมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปยื้อยึด จับต้อง บังคับให้เป็นไปตามใจเรานี้ได้ แม้เราห้ามไม่ให้เรารัก ไม่ให้เราโกรธ ไม่ให้เราติดข้องใจ ไม่ให้เบียดเบียนพยาบาทยังทำไม่ได้เลย สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ยิ่งเราพอใจยินดี ไม่พอใจยินดีมากเท่าไหร่ ยิ่งก่อให้เกิดความสำคัญมั่นหมายแก่ใจจนเกิดเป็นความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ตามความรักโลภ โกรธ หลง ทั้งหลาย แล้วก็กระทำให้ได้ตามความปารถนาที่ตนตั้งความสำคัญนั้นไว้แก่ใจ ยิ่งพอใจเท่าไหร่ ก็ยิ่งหวังมาก มันจึงเป็นทุกข์
๖. เมื่อพิจารณาในสภาวะธรรมในข้อ ๕ นี้แล้วเกิดหลุดออกมา ให้หายใจเข้า-ออก ยาวๆ ค่อยๆลืมตาตื่นมองไปข้างหน้า รอบกาย ช้าๆ แล้วคล่อยคลายท่าทางที่ทำสมาธิอยู่ออก จากนั้นสวดมนต์ปกติ คือ สวดอรหังสัมมา เสร็จแล้วแผ่เมตตาให้ตนเอง จากนั้นแผ่เมตตาให้คนอื่น โดยตั้งจิตพึงระลึกว่าบุญกรรมฐานนี้ขอมอบให้ผีตนนั้น(ด้วยใจที่เป็นเมตตาทาน คือปารถนามอบสิ่งนี้ให้เพื่อให้เขาได้รับประโยชน์สุขจากการให้ของเราในครั้งนี้) ให้เขาเลิกพยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกัน จงเป็นมิตรที่ดีต่อกัน เพื่อความสุขกายใจทั้งของเขาและเรา เพื่อความหมดเวรหมดกรรมได้ไปเกิดในภพชาติที่ดีกว่านี้ พึงเจริญกระทำไปทุกวันๆ ที่สำคัญให้หาพระที่ออกจากวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีการพุทธาภิเสก หรือพระเสาร์๕ ก็ได้ พระกริ่งยิ่งดี ให้ภรรยาแขวนคอไว้ห้ามถอด
- อย่าลืมนะครับทำตามที่ท่านทั้งหลายกล่าวชี้แนะก่อน คุณและภรรยาค่อยกลับมาบ้านกระทำอย่างที่ผมบอกทุกเช้าเย็น เนืองๆ ประจำ จำไว้ว่าบุญจากคนอื่นอาจช่วยคุณได้เล็กน้อย หรือ ไม่ได้เลย แต่บุญที่จะช่วยคุณได้นั้น คือ บุญที่คุณ และ ครอบครัวนั้นต้องกระทำเอง ดั่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เรามีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย ซึ่งกรรม นั้นมีความหมายว่า การกระทำใดๆก็ตามในปัจจุบันขณะที่คุณพึงกระทำทาง กาย วาจา ใจ โดยเจตนา

หมายเหตุ // ปกติคนเรายิ่งเรียนมาก ยิ่งรู้มาก ยิ่งคิดมาก จิตยิ่งฟุ้งซ่าน จะเข้าถึงสมาธิยาก จิตจะคิดแต่วิธีที่เรียนมาจริงบ้างไม่จริงบ้าง จนทำให้การปฏิบัตินั้นขาดความเป็นจริง (แต่ว่าแนวทางที่ถูกต้องจะต้องควบคู่กับการปฏิบัติที่ตรงให้ผลได้เสมอ ตามแนวทางที่ผมบอกคุณนี้ ก็ถือเป็นคู่มือ เป็นปริยัติธรรมเริ่มต้นในการกัมมัฏฐาน ดังนั้น ปริยัติที่ถูกต้อง และ การปฏิบัติจริงจึงต้องมาคู่กันเสมอ) ให้คุณและภรรยากระทำเช่นนี้ไปจนชิน จนได้เป็นประจำ สามารถเข้าสมารธิตอนไหนก็ได้ มีความรู้สึกดังที่กล่าวทุกครั้งที่เข้าสมาธิก่อนจึงเข้าขั้นถัดไป เพราะไม่ว่าจะเข้าพิจารณาสิ่งใดก็ตาม เราจะต้องมีจิตที่ตั้งมั่นจดจ่อได้นานมีจิตเป็นกุศลในสมาธิก่อน เรียกว่า สัมมาสมาธิ

ด้วยบุญใดๆที่ผมปฏิบัติกัมมัฏฐาน ทั้งในสมถะ และ วิปัสนา พร้อมเผยแพร่พระพุทธศาสนาชี้แนะแนวทางให้คนที่ทุกข์ได้เห็นทางพ้นทุกข์ ได้เข้าศึกษาธรรมในพระพุทธศาสนาอันพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอให้ครอบครัวคุณ ให้คุณ ภรรยาคุณ และ บุตรทั้งหลายของคุณ หลุดพ้นจากภัยอันตราย และ บ่วงมาร เสนียดจัญไรทั้งหลายนี้ด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
913  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: โดนกีดกัน เพราะฐานะผมยากจนกว่าเขา ( ไม่รู้ขอคำปรึกษาถูกที่ หรือ ไม่ ) เมื่อ: เมษายน 15, 2012, 09:55:48 am
- หากเมื่อคุณทำให้ถึงที่สุดแล้ว พิสูจน์ในรักแท้ของคุณแล้ว แต่ทว่ายังไม่อาจทำให้ พ่อ แม่ ครอบครัว ฝ่ายนั้นพอใจ เพียงพอได้ ให้คุณระลึกไว้อย่างนี้ก่อนว่า พ่อ-แม่ รักลกทุกคน ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกมาลำบากตรากตรำ จึงพยายามที่จะหาสิ่งที่ดีที่สุดให้บุตร ให้เข้าใจจิตใจของคนที่เป็นพ่อแม่คนก่อนนพะครับ เพื่อลดความคิดเครียดแค้นตีตราฟุ้งซ่านในท่านเหล่านั้นลงและเข้าใจถึงคำว่าพ่อแม่ เหกมือนพ่อแม่ที่เลี้ยงคุณมาลำบากแค่ไหนก็ต้องทนทำ เพื่อหาสิ่งดีๆให้คุณ หวังให้คุณมีความสุขสบาย
- เมื่อคุณเข้าใจในเรื่องข้างต้นแล้ว ให้คุณมองเห็นสัจธรรมดั่งนี้ว่า
๑. คนเราย่อมประสบกับความผิดหวัง ไม่เป็นดังหวัง-ปารถนาตั้งใจ-ใคร่ได้เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ หากเราเข้าใจในสัจธรรมนี้แล้วลดละความปารถนา ตั้งหวัง ใคร่ได้ ทะยานอยากลง เราก็จะทุกข์น้อยลง จนถึงความไม่ติดข้องใจ-ไม่สำคัญมั่นหมายกับสิ่งใดๆตั่งมั่นไว้ในใจ ทุกข์ก็ลดลง หรือ ไม่ทุกข์เลยกับมัน
๒. คนเรานั้มีความพรักพรากเป็นที่สุด ไม่อาจล่วงพ้นจากความพรัดพรากจากบุคคลที่รัก สิ่งของที่รักนั้นไปได้ จะต้องพรัดพรากไปไม่ด้วยทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะด้วยกาลเวลา การดูแลรักษา สภาพแวดล้อมรอบๆตัว ฯลฯ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้เช่นนี้ว่า ความพรัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่พอใจ ที่จำเริญใจทั้งหลายนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ เมื่อเข้าใจว่าเราทั้งหลายย่อมมีความพรัดพรากเป็นที่สุด ให้พึงเข้าถึงสัจธรรมนี้เพื่อมีใจสู่ความเป็นอุเบกขาแห่งจิตทุกข์เราจะลดลง เบาบางลง จนถึงไม่ทุกข์เลย (บางครั้งเมื่อคนที่เจอสภาพนี้แรกๆ ก็จะมองว่าพูดง่าย ทำยาก ใครไม่เจอไม่เข้าใจหรอก เว้นแต่จนเมื่อบุคคลนั้นมีสมาธินิ่ง สงบ พิจารณาเห็นตามจริงดังสัจธรรมนี้ ก็จะเข้าใจและลดทุกข์ลง เมื่อแรกๆคงยากที่จะบอกให้เข้าใจได้ แต่หากลองคิดย้อนกลับดูว่า ถึงแม้เราร้องไห้โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน คับแค้นกาย-ใจ ไปจนตาย สิ่งเหล่านั้น บุคคลเหล่านั้นก็หาจะหวนคืนกลับมาได้ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่อาจจะไปบังคับจับยึด ให้คงอยู่กับเราตลอดไป ให้เป็นไปตามที่ใจเราต้องการได้ ทุกอย่างมีคสามเสื่อมสลายเป็นธรรมดาไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งดังที่ผมได้กล่าวมา จึงขึ้นชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน มันเป็นทุกข์)
๓. เราทั้งหลายนั้นย่อมประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจเป็นแน่แท้ เราจะต้องเจอกับสิ่งที่ไม่ปารถนาใคร่ได้ต้องการ เจอสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่อยากได้ ไม่พอใจยินดี เจอการพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจทั้งหลาย เจอความผิดหวัง จะล่วงพ้นหลีหนีสิ่งนี้ไปไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลานนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ หากเราเข้าใจในสัจธรรมนี้แล้วลดละความสำคัญมั่นหมายของใจว่าสิ่งนี้ชอบ ไม่ชอบ พอใจ ไม่พอใจ ให้วางใจไว้กลางๆ เราจะทุกข์น้อยลง
ดูตาม Link ข้างล่างนี้ บุคคลนี้เจาก็เจอเรื่องเดียวกับคุณ ไม่ใช่แค่คุณคนเดียวที่พานพบ เพื่อนำมาพิจารณาว่าทุกคนต้องเจอเป็นเรื่องธรรมดาจะล่วงพ้นไปไม่ได้ แม้ผมเองก็ผ่านเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน แต่เมื่อเข้าใจในสัจธรรมเหล่านี้ผมก็ทุกข์น้อยลง จนถึงไม่ทุกข์กับสิ่งเหล่านี้อีก

http://www.carefor.org/component/option,com_mamboboard/Itemid,161/func,view/id,11137/catid,2/

เมื่อรู้แล้วลองพิจารณาการถึงความมีใจกลางๆตาม Link นี้นะครับ

http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=6516.0
914  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ทำอย่างไร จะชนะคนที่เกลียดเราได้คะ เมื่อ: เมษายน 03, 2012, 08:08:24 pm
ขออนุโมทนาสาธุกับทุกท่านที่ให้แนวคิดดีๆมากมาย ซึ่งผมก็ได้รับประโยชน์จากแนวทางทั้งหลายของท่านด้วย
- แนวทางของผมนะครับ คิดดี พูดดี ทำดี พึงกระทำให้จิตเกิดกุศล คงไว้ซึ่งกุศล รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม
- การที่เราจะเข้าเมตตาจิตแก่คนอื่นนั้น หลวงปู่แหวนท่านกล่าวไว้ว่า ให้มองเหมือนความเมตตาของแม่ที่มีต่อลูก คือ แม่นั้นปารถนาให้ลูกเป็นสุข กระทำเพื่อความเอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปันให้ลูกมีความสุขกาย สบายใจโดยไม่หวังสิ่งใดๆตอบแทนกลับมา ยินดีเมื่อลูกประสบความสำเร็จ สุขกาย สบายใจ มีทานให้แก่ลูกเป็นนิจ นั่นคือการให้โดยไม่หวังสิ่งใดๆตอบแทน ให้เพื่อหวังให้ลูกได้ใช้ประโยชน์สุขจากการให้นั้นของแม่ ให้แล้วไม่มาคิดเสียใจ เสียดายในภายหลัง
- สภาพจิตที่เมตตาเกิดขึ้นแล้วนั้นจะสงบ อบอุ่น ปิติ เบิกบาน ผ่องใส ไม่ติดข้องใจ ไม่ขุ่นเคืองใจ ไม่หมองมัวใจ สภาพจริงนี้รู้โดยพิจารณาในจิตานุสติปัฏฐาน โดยสังเกตุสภาพความรู้สึกตนเองโดยตัดความคิดสมมติบัญญัติต่างๆออก สังเกตุสภาพจริงโดยไม่ให้ความหมายมัน นอกจากรู้เพียงว่าสภาพใดเกิดแก่จิตเรา

- หากเมื่อคุณเข้าสภาพจิตนี้ได้แล้วให้เจริญพิจารณาปฏิบัติแนวทางตาม Link นี้ครับเพื่อความเข้าถึงสภาพจิตที่มีใจกลางๆ ไม่ติดข้องใจใดๆทั้งที่พอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี เพื่อความไม่ทุกข์

http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=6516.0
915  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ทำไม คนทุกวันนี้ ไม่เกรงกลัว บาปกรรม เมื่อ: มีนาคม 31, 2012, 11:11:42 pm
- คนทุกคนกล้าทำผิด และ ทำด้วยความไม่เกรงกลัวและละอายต่อบาป เพราะความไม่รู้จริง ไม่เห็นสภาพจริง เพระความหลง เพราะความอยากทะยานต้องการ เพราะ ตัณหาทั้งหลาย

- การที่เรามองว่าโลกนี้ว่ามันน่ากลัว คุณยิ่งควรพึงอยู่โดยความไม่ประมาท เพราะไม่รู้จะตายวันไหน ให้พึงระลึกใน ความคิดดี พูดดี ทำดี กตัญญูกตเวที มีศีล มีพรหมวิหาร๔ มีทาน ทีสมาธิ มีสติ ทำกุศลจิตให้เกิด ตั้งมั่นในกุศลจิต รักษากุศลจิตไม่ให้เสื่อม และ ศึกษาพระธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อความรู้แจ้งและออกจากทุกข์

- แม้ในขณะที่คุณเกิดความกังวลนี้อยู่ก็เพราะคุณได้ประสบพบเจอกับสิ่งที่คุณไม่พอใจยินดีอยู่เช่นกัน นี่ก็เรียกว่าคุณตกอยู่ใน วิภวะตัณหา ความไม่อยากพบ ไม่อยากเจอ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น อยากจะผลักให้ไกลตน เกิดเป็นความฟุ้งซ่าน สับสน วุ่นวาย จิตตก อัดอั้นตันใจ อึดอัดคับแค้นกาย-ใจ ขุ่นมัวใจ

- ที่คุณเกิดความกลัวจนฟุ้งซ่านไปนั้น ก็เพราะคุณมีความพอใจยินดีใดๆตั้งไว้ จนเกิดเป็นความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ จนเกิดเป็นความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง เกิดประกอบกับความ รัก โลภ โกรธ หลง เช่น อยากให้มีแต่คนดีๆมีศีล มีเมตตา อยากให้คนรัก ไม่อยากให้คนเกลียด ไม่อยากให้คนมาปองร้าย ด่าว่า ทำร้ายคุณ แต่พอเจอกับสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่คุณพอใจยินดี คุณก็ทุกข์ใจเพราะประสบกับความไม่พอใจยินดีนั้นเอง แต่คุณไม่สามารถจะทำอะไรหรือแก้ไขสิ่งภายนอกที่มากระทบคุณได้ นั่นก็เพราะคุณไม่สามารถไปบังคับใครให้เป็นดังใจได้ใช่ไหมครับ โลกมันเป็นของมันอยู่อย่างนี้มาตั้งนาน ตั้งแต่ก่อนคุณและผมเกิด เอาแค่ว่าคุณบังคับตนเองไม่ให้กลัว ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้ขี้ ไม่ให้เยี่ยว ไม่ให้หิว ยังทำไม่ได้ใช่ไหมครับ เมื่อรู้เช่นนี้เราจะไปเรียกร้องต้องการสิ่งใดจากใครได้ครับ คุณว่าจริงไหมครับ

ที่ผมกล่าวมาในข้างต้นนี้นี้คือเหตุและผลที่อยากให้คุณพิจารณาน่ะครับ จะได้ปลงและเข้าใจในสัจจธรรมของโลกนี้เพื่อความเข้าสู่การวางใจกลางๆ ไม่หยิบจับเอาความพอใจ ไม่พอใจ

- ดังนั้นทั้งคุณ และ ผม หรือ ใครๆ เราควรพึงเจริญในธรรมเนืองๆอยู่ด้วยความไม่ประมาทในที่นี้ให้พึงระลึกรู้มีสติ สมาธิ และ เจริญธรรมไม่ขาด(ในเบื้องต้นควรพึงเจริญใน ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน ขันติ จนถึงแก่อุเบกขาจิต พึงกระทำกุศลจิตให้เกิด ตั้งมั่นในกุศลจิต รักษากุศลจิตไม่ให้เสื่อม จนเห็นแจ้งทุกอย่างด้วยปัญญา) เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น และ ลดความขุ่นข้องใจ หมองมัวใจ คับแค้นใจ อัดอั้นใจ ในเรื่องนี้ได้มาก

- โลกมันเป็นเช่นนี้ของมันมานานแล้ว บางครั้งเราใช้เวลาที่เรามาเอาจิตไปติดข้องใจกับสิ่งต่างๆ เอาสิ่งรอบกายมาทั้งหลายมาตั้งเป็นอารมณ์ คอยนั่งวิตก เบื่อ กลัว  เสวยเป็น สุข ทุกข์ อยู่นี้ เราเอาเวลานั้นไปเจริญในสมาธิและพิจารณาธรรมด้วย สติ ปัญญา ไม่ว่าจะเป็นผม หรือ คุณ หรือ ใครๆ อาจจะได้พานพบทางพ้นทุกข์ที่ดีก็ได้ครับ

- เมื่อใดที่เกิดความกลัว ความปิติ พอใจยินดี สลดใจ หดหู่ใจ ฟุ้งซ่านใจ ไม่ชอบใจ อัดอั้นใจ คับแค้นใจ อึดอัดใจ กรีดใจ หวีดใจ ด้วยสภาพจิตที่ติดข้องใจ ขุ่นข้องใจ หมองมัวใจ ให้ระลึกรู้ไว้ว่า อกุศลจิตเกิดแก่จิตคุณแล้วครับ
916  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เึครียด เพราะตกงาน อายุมาก หางานทำไม่ได้ จะทำอย่างไรดี เมื่อ: มีนาคม 30, 2012, 10:35:55 pm
สาธุท่านอาโลโกให้แนวทางได้วิเศษมากครับ
917  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เจอคนหลอกลวง ข่มขู่ สมาชิกธรรม จะทำอย่างไรดีครับ เมื่อ: มีนาคม 30, 2012, 10:34:38 pm
ถ้าเจอแบบนี้ ก็ต้องให้นึกถึง ธรรมข้อแรกก่อน

   1. อดทน  อดกลั้นต่อสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่พอใจ นักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ รวมทั้งอาตมาเองก็เคยพลาดตรงนี้มาแล้ว คือ เมื่อเราเจอคนไม่ดี และ ก็อยากให้เขาเป็นคนดี ก็หาวิธีการที่จะให้เขาเป็นคนดี สุดท้ายก็ไม่สามารถทำให้เขาเลิกหลอกลวง ข่มขู่ หรือสิ่งไม่ดีได้ นั่นหมายถึง ความไม่พอใจที่กำลังกรุ่นอยู่ในใจ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ติดดี การติดดี เป็นทุกข์เช่นกัน เพราะเท่ากับมีความปรารถนาอยากให้เขาเป็นคนดี หรือดี ไม่ได้ดั่งใจ ก็สร้างความทุกข์ให้แก่จิตใจแก่เรา

   2.สติ ตามระลึก รู้ตัว ตรวจสถานะของเราว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะไปเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้ด้วยคุณธรรม ถ้าตรวจสถานะแล้วไม่ได้ ก็ สัมปชัญญะ คือรู้ตัวเสียว่าเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นควรจะหลีกเลี่ยง จากคนเหล่านี้ ไม่มีความจำเป็นต้องเผชิญหน้า ต่อคนเหล่านี้ บางท่านคิดว่าการทำเยี่ยงนี้เป็นการหนีปัญหา ถ้ามองอย่างนั้นก็ดูเหมือนจะใช่ แต่ความจริงก็คือ บางครั้งกำลังของเราก็ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นจะสังเกตว่า นักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ จะหลีกเลี่ยงการเผชิญปัญหาที่แก้ไม่ได้ ด้วยศานติ เพื่อรักษา ศานติ ไว้

     เรื่องนี้มีความสำคัญ เพราะบางคนยึดติดกับคำว่าแพ้ หรือ ชนะ กันมากเกินไป จึงไม่สามารถสะสางปัญหาได้ ทุกวันนี้อาตมาเองก็เจอะเจอปัญหา เรื่องแพ้ ชนะ อย่างนี้มากกันพอสมควร ซึ่งในใจสติ จะบอกว่า มันไร้สาระจริง ๆ


  3.ปัญญา การแก้ไขเหตุการณ์ บางครั้งก็ต้องดูสถานการณ์ บางครั้งเราเป็นคนถูกก็ไม่ใช่ว่าจะต้องยืนกรานว่าเราถูก เขาต้องผิดประมาณนี้ เพราะบางครั้งการเป็นคนถูกก็ไม่ใช่การแก้ปัญหา เพราะปัญหาการหลอกลวง ข่มขู่ นี้มาจากการต้องการชนะ หรือ กดดันข่มเหงเป็นหลัก ดังนั้นใช้ปัญญาให้ถูกสถานการณ์

 
  4.ทาน ให้ พยายามให้ก่อน จนถึงที่สุดให้ อภัย

 
   ก็เป็นคุณธรรมที่พอจะนำไปใช้ได้ ในชีิวิตประจำวัน

    ;)


สาธุ ธรรมท่านอาโลโกมีค่าเป้นอันมากแล้วครับ
918  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: จะใช้ชีิวิตอยู่อย่างไร ให้มีความปลอดภัย เมื่อ: มีนาคม 29, 2012, 12:05:24 am
อนุโมทนาสาธุกับคุณสมภพด้วยนะครับ ให้แนวทางที่เป็นธรรมที่ดีมากครับ
919  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เึครียด เพราะตกงาน อายุมาก หางานทำไม่ได้ จะทำอย่างไรดี เมื่อ: มีนาคม 28, 2012, 06:24:11 pm
1. ลองทำสมาธิให้ใจสงบเลิกฟุ้งซ่านก่อนน่ะครับโดยการหลับตา นั่งสมาธิซัก 30 นาทีให้ใจสงบลดความฟุ้งซ่านลงก่อน เพราะเมื่อคนเราเกิดเหตุการณ์คับขันใดๆขึ้นมา จะมีความคิดฟุ้งซ่านมากมายจนปิดบังปัญญาทำให้คุณมองไม่เห็นหนทางแก้ไข ที่เป็นแค่เส้นผมบังตา
2. เมื่อจิตสงบลงแล้ว ให้ลองพิจารณาดูรอบๆกายเรากับเงินทุนที่มี ว่าเราสามารถนำเงินนั้นไปใช้ประโยชน์ใดๆได้มากที่สุด เช่น เพียงพอต่อการเปิดร้านขายของชำไหม ขายกับข้าวได้ไหม ขายขนมได้ไหม ขายลูกชิ้น ไก่ย่าง ส้มตำ ปลาหมึกย่าง ขายก๋วยเตี๋ยว ขายของเล่นเด็ก ขายพวกขนมที่แถมของเล่นที่ราคาถูกหรือของเล่นราคาถูกประมาณ 5-10 บาท รับของจากร้านขายขนมหรืออาหารมาขายต่อในรูปแบบที่เหมือนเซลล์ขายสินค้าแล้วกินเปอร์เซ็นต์ รับจ้างพิมพ์งานแบบ Word Excel Powerpiont รับปริ๊นท์งาน ถ่ายเอกสาร ใช้ความรู้ที่เรามีให้เกิดประโยชน์ โดยมองว่าเรามีความสามารถใดๆบ้างค้าขาย ประสานงาน พิมพ์งาน เป็นช่างซ่อม ฯลฯ
3. เมื่อเรามีความตั้งใจ ขยัน อดทน เพียรพยายามที่จะทำในสิ่งที่ดี ที่ถูกต้อง แม้จะเหนื่อยแต่ผลลัพธ์นั้นคือความสบายกายใจของเรา เมื่อทำเริ่มต้นได้ ก็เก็บเงินทุนค่อยๆขยับขยายไป ปัญหาทุกปัญหามีทางออกเสมอ คุณคิดดูสิว่ากว่าพ่อแม่จะเลี้ยงคุณมาจนโตมีครอบครัวเป็นเสาหลักของบ้านได้ ท่านก็ต้องเจอปัญหาแบบที่คุณเป็นนี้เช่นกัน แต่ท่านก็ต้องสู้ อดทน เพียรพยายามฟันฝ่าเพื่อลูกมีชีวิตที่ดี หากคุณท้อแล้วสิ้นหวังถอยไม่สู้ วันข้างหน้าลูกเมียก็ต้องอดตายเพราะความไม่สู้ของคุณ(ไม่ได้ว่าหรือด่าคุณนะครับนี่เป็นแง่คิดอีกมุมมองให้คุณได้ใช้พิจารณาทบทวน) ใช้ปัญญาที่มีทำให้จนสุดใจสิ่งดีๆจะย้อนมาหาเราเองเพียงคุณ ขยัน อดทน เพียรพยายาม ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ คิดดี พูดดี ทำดี มองดูกำลังใจจากคนข้างหลังของคุณ นั่นคือลูกเมียที่คุณต้องแบกรับและต้องทำให้เขามีชีวิตที่ดีด้วยหน้าที่ของคำว่า "พ่อ" และ "สามี" แล้วสิ่งที่คุณกระทำในวันนี้จะเป็นประโยชน์แก่ลูกเมียคุณและเป็นสิ่งสอนเตือนใจให้กับลูกหลานได้

- นั่งสมาธิ ลบขยะในสมองออกก่อนนั่นคือลบความคิดฟุ้งซ่านทั้งหลายออก เพื่อให้คุณมีสภาพจิตที่สงบ จากนั้นค่อยๆมองรอบๆกาย เพื่อหาหนทาง เริ่มจากสิ่งเล็กๆที่พอจะทำได้แล้วค่อยๆขยับขยายไปในสิ่งที่ใหญ่ขึ้น ขยัน อดทน เพียรพยายาม คิดดี พูดดี ทำดี  ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ อย่าอายที่จะทำงานแม้เป็นงานเล็กๆไม่มีหน้าไม่มีตาไม่ภูมิฐาน ถ้าอายที่จะทำงานคุณก็หากินไม่ได้ในชาตินี้ งานทุกงานสำคัญหมดขอแค่เป็นงานที่สุจริตก็พอ

- ขอให้คุณผ่านพ้นปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ที่ทำให้คุณมีความคับแค้นกายใจ ไม่สบายกายใจ โศรกเศร้าเสียใจไปได้ด้วยดีครับ ให้หางานดีๆที่มีเงินหมุนเวียนเกื้อหนุนครอบครัวได้สบายๆ มีเงินมากมายใช้จ่ายอย่างไม่ขัดสน และ มีเงินทำบุญได้มากมาย ด้วยเดชแห่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บุญใดที่ผมกรรมฐานและวิปัสสนามา บุญใดที่ผมเผยแพร่พระพุทธศาสนามา บุญใดที่ผมประกาศธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อให้คนอื่นได้เห็นทางพ้นทุกข์แล้ว ขอบุญนั้นนำพาให้พรทั้งหลายเหล่านี้สำเร็จแก่คุณทุกประการด้วยเทอญ ด้วยเดชแห่งบุญนั้น
920  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ทางดับทุกข์ เมื่อ: มีนาคม 28, 2012, 05:51:34 pm
ขอบคุณท่าน nathaponson มากครับ อนุโมทนาสาธุท่านด้วยครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24