ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว  (อ่าน 45393 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

noppadol

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 144
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
0

แนะนำหนังสือเก่าหายาก (9) ... หนังสือ"พระมูลกัจจายนสูตร์"

แนะนำหนังสือเก่าหายาก (9)

 

หนังสือ “พระมูลกัจจายนสูตร์” 

ตำราเรียนที่ พระอาจารย์ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เคยศึกษา

 

 

หนังสือ “พระมูลกัจจายนสูตร”  เป็นตำราเรียนพระปริยัติศาสนา อันทรงคุณค่ายิ่งเล่มหนึ่ง

แต่เดิมไม่ได้จัดพิมพ์ ใช้คัมภีร์ใบลาน เพิ่งมาจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2453 (ร.ศ. 129)  ฉบับนี้

เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2  พ.ศ. 2457   นับถึงปัจจุบันก็มีอายุเกือบ 100 ปี  เป็นตำราสำหรับเล่าเรียน

คัมภีร์มูล  ตั้งแต่ สนธิ์ นาม สมาส  ตัทธิต อาขยาต  กิตต อุณาทิ การก จบบริบูรณ์

 

ผมขอคัดประวัติบางช่วงที่เกี่ยวกับการศึกษาตอนต้นของ พระอาจารย์ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่  จากหนังสือ “พระอาจารย์ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ”

16  มีนาคม 2525  มาให้ท่านทราบ ดังนี้

   

... การศึกษาของหลวงปู่ตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก  ตลอดจนได้รับบรรพชาเป็นสามเณรนั้น  ไม่ปรากฏ

หลักฐานว่าท่านได้รับการศึกษาอะไร  เพราะการศึกษาในสมัยนั้น ยังไม่แพร่หลายไปทั่วประเทศ

ดังเช่นเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้

 

จากมาตุภูมิไปศึกษามูลกัจจายน์เมืองอุบล

 

จากการเล่าของหลวงปู่เอง ท่านเล่าว่า  ท่านจากบ้านไปจังหวัดอุบลเพื่อไปศึกษามูลกัจจายน์นั้น

ท่านไปพักอยู่วัดสร้างถ่อ อำเภอหัวตะพาน  ในสมัยนั้น จังหวัดอุบลเป็นจังหวัดที่มีการศึกษา

มูลกัจจายน์กันอย่างแพร่หลาย  มีสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง มีครูอาจารย์สอนกันอย่าง

เป็นหลักฐาน  สำนักที่มีชื่อเสียงมากมีครูอาจารย์มากมีนักเรียนมาก ได้แก่ สำนักเรียนวัดเวฬุวัน

บ้านไผ่ใหญ่  บ้านเค็งใหญ่ บ้านหนองหลัก บ้านสร้างถ่อ  สำนักเรียนเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดีในสมัย

โบราณ จะว่าเป็นแหล่งผลิตบัณฑิตของอุบล  เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในปัจจุบันนี้ ก็ไม่เกิน

ความจริงไปนัก   เพราะในแคว้นแดนอีสานทั้ง 15 จังหวัด  ในแดนอีสานสมัยโบราณ  ใครต้องการ

ศึกษาหาความรู้จะต้องมุ่งเดินทางไปศึกษาตามสำนักดังกล่าวมาแล้ว  แต่เป็นที่น่าเสียดาย สำนัก

เรียนดังกล่าวได้เลิกล้มกิจการไปหมดแล้ว  เพราะสู้แผนการศึกษาสมัยใหม่ไม่ได้

 

การเรียนมูลกัจจายน์นั้นเป็นการเรียนที่ค่อนข้างยาก  ผู้เรียนต้องเป็นผู้ที่มีสมองดีจริง ๆ

จึงจะเรียนได้จบหลักสูตร  แต่ถ้าเรียนได้จนจบหลักสูตรแล้ว  ผู้นั้นได้รับการนับถือจากคน

ทั่วไปว่าเป็นนักปราชญ์  เพราะเป็นผู้แตกฉานในทางด้านตำรับตำราสามารถแปลหนังสือ

ได้ทุกชนิดโดยไม่ติดขัด

 

วิธีการเรียนในสมัยนั้น

 

หลวงปู่เล่าว่า การเรียนในสมัยนั้น ไม่มีห้องเรียนเรียนเช่นสมัยปัจจุบัน  อาจารย์ที่สอนก็แยกกันอยู่

คนละที่  ส่วนมากไม่ได้อยู่ในที่แห่งเดียวกัน  ดังนั้นเมื่อถึงเวลาเรียนนักเรียนต้องแบกหนังสือไป

เรียนกับอาจารย์ถึงที่อยู่ของอาจารย์ทีเดียว วันนี้เรียนวิขานี้แบกหนังสือไปเรียนกับอาจารย์นี้

วันพรุ่งนี้เรียนวิชานั้นแบกหนังสือไปเรียนกับอาจารย์นั้น  แบกไปแบกมาอยู่เช่นนี้จนกว่าจะเรียนจบ

 

ที่ว่าแบกหนังสือนั้นแบกกันจริง ๆ เพราะในสมัยก่อนหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มยังไม่มีเช่นปัจจุบันนี้

หนังสือที่ใช้ในการเรียนการสอนใช้คัมภีร์ใบลานเป็นพื้น นักเรียนต้องเคารพหนังสือเพราะถือว่าหนังสือเป็นพระธรรมจะดูถูกไม่ได้เป็นบาป  เวลาว่างจากการเรียนนักเรียนทั้งหลายต้องเข้าป่าหา

ใบลานมาไว้สำหรับทำคัมภีร์เพื่อฝึกหัดจารหนังสือ

 

เรียนวิธีทำคัมภีร์ใบลาน

 

วิธีทำคัมภีร์ก็คือไปหาใบลานมา  เลือกเอาเฉพาะใบที่ไม่แก่นักไม่อ่อนนัก  เอาใบที่เรียกกันว่าได้

น้องหนึ่ง หมายความว่า เลือกเอาเฉพาะใบที่ได้ปีหนึ่งแล้ว  ถ้าเอาใบอ่อนมามักใช้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

แต่ถ้าเอาใบแก่เกินกว่าน้องหนึ่งไปใบมักเปราะแตกง่าย  เมื่อหามาได้แล้วก็เอามากรีดลิดใบและ

ก้านใบออก  ตากน้ำค้างไว้สามคืนพอหมาดแล้ว ใช้ของหนักวางทับไว้เพื่อกันใบลานห่อ  เมื่อเห็นว่า

แห้งดีแล้ว ก็เอามาตัดตามขนาดที่ต้องการแล้วใช้ร้อยด้วยเชือกด้าย  ทำเป็นผูก ๆ มากน้อยแล้วแต่

จะทำ  เวลาไปเรียนกับอาจารย์ก็ใช้คัมภีร์นี้เอง คัด ลอก ตำรับตำราตลอดจนหัดจารหนังสือ

 

 

พระอาจารย์ที่สอนหนังสือ

 

พระอาจารย์เอี่ยม วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่  สอนวิชามูลกัจจายน์ ตั้งแต่ สมาส ตัทธิต  และสอน

แปลด้วย

พระอาจารย์ชม เป็นคนใจเย็น  เวลาสอนหนังสือก็ใจเย็น ลูกศิษย์ชอบมาก

พระอาจารย์ชาลี เวลาสอนหนังสือดุมาก แต่แปลได้พิสดารเพราะเคยลงไปศึกษาอยู่กรุงเทพฯ 10 ปี

จึงกลับขึ้นมาบ้านเดิม เพื่อเป็นครูสอนหนังสือ

พระอาจารย์อ้วน  สอนไวยากรณ์ด้วย สอนแปลด้วย  การเรียนแปลก็แปลคัมภีร์พระปาฏิโมกข์เป็นพื้น

แปลกันจนคล่องแคล่วขึ้นใจ  เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง  เพราะหลวงปู่ท่านเคยเล่าว่า ท่านเองไม่เคยท่อง

ปาฏิโมกข์  แต่ท่านยกสิกขาบทขึ้นมาแล้ว  แปลได้อย่างคล่องแคล่วไม่ติดขัด

 

 

 

ต่อมาภายหลัง  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  พระองค์ทรงเห็นว่า การเรียน

แบบมูลกัจจายน์นั้นยากเกินไป  ทำให้มีผู้เรียนได้จบหลักสูตรน้อย  และต้องเสียเวลาในการเรียน

นานเกินความจำเป็น  พระองค์จึงได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนเสียใหม่ ซึ่งก็ใช้เป็น

หลักสูตรของการศึกษาฝ่ายคณะสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน  นับแต่นั้นมา การเรียนมูลกัจจายน์จึงถูกลืม

ในวงการศึกษาของคณะสงฆ์มาจนทุกวันนี้

 

 

นับเป็นหนังสือเก่าอันทรงคุณค่ายิ่งที่หายากมากเล่มหนึ่งในปัจจุบัน  ควรค่าแก่การศึกษาค้นคว้า

เกี่ยวกับการศึกษาของสงฆ์   สำหรับ ผู้บริหารการศึกษา นักวิชาการ  นิสิต นักศึกษา  ตลอดจน

ผู้สนใจทั่วไป   

 

 

 

 

หนังสือพระมูลกัจจายนสูตร์  เป็นหนังสือปกอ่อน  หนา  83  หน้า

พิมพ์ครั้งที่ 2  พ.ศ. 2457   จำนวน  1,000 ฉบับ

จำหน่ายที่โรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ์  ถนนราชบพิธ  กรุงเทพฯ

ราคาเล่มละ 1 บาท

 

 

 

บรรณานุกรม

วัดสัมพันธวงศ์  (2525)   พระอาจารย์ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่  16 มีนาคม 2525 , กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย

เครดิตเว็บ

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=164386
บันทึกการเข้า

noppadol

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 144
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
ประวัติ พระอรหันต์มหากัจจายนะ เถระ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 06:20:37 pm »
0
ประวัติพระมหากัจจายนเถระ

 

 

พระมหากัจจายนเถระ เป็นหนึ่งในพระมหาเถระลำดับแรก ๆ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้รับการบรรพชาโดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา และพระพุทธองค์ทรงยกย่องให้เป็นเอตทัคคะ ทางด้านการเทศนาขยายความแห่งธรรมที่พระพุทธองค์แสดงไว้โดยย่อ ให้พิสดาร โดยพระอรรถกถาจารย์ได้พรรณาไว้ว่า ท่านสามารถทำพระดำรัสโดยย่อของพระตถาคตให้บริบูรณ์ ทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะได้ ชื่อของท่านในพระไตรปิฎกบางแห่งพิมพ์เป็น พระมหากัจจานเถระ

ความปรารถนาในอดีต

ประวัติในอดีตชาติของท่าน นอกจากในหลาย ๆชาติที่ท่านได้เกิดร่วมสมัยกับพระพุทธองค์เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ดังเช่น

ได้เกิดเป็น รัชชุคาหกะอำมาตย์ผู้รังวัด เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็น พระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ ใน กุรุธรรมชาดก

ได้เกิดเป็น กาฬเทวิลดาบส เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบส ใน อินทริยชาดก

ได้เกิดเป็น กาลเทวละดาบส เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบสโพธิสัตว์ ใน สรภังคชาดก

ส่วนในชาติที่ท่านได้แสดงถึงความปรารถนาที่จะได้รับตำแหน่งเอตทัคคะดังกล่าวมีดังนี้

ได้ยินว่า ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระมหากัจจายนเถระนั้นบังเกิดในสกุลคฤหบดีผู้มหาศาล ครั้นเมื่อเจริญวัยแล้ว อยู่มาวันหนึ่งวันหนึ่งได้ไปยังพระวิหารที่พระพุทธปทุมุตตระประทับอยู่ และฟังธรรมอยู่แถวท้ายหมู่พุทธบริษัทในวิหารนั้น ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัสที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้พิสดาร ท่านจึงปรารถนาที่จะได้เป็นอย่างภิกษุนี้ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเช่นนั้นบ้าง

ดังนั้นท่านจึงนิมนต์พระพระปทุมุตตระพุทธเจ้า และทำการถวายมหาทานอยู่ ๗ วัน. แล้วท่านจึงหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แสดงความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งการถวายทานสักการะนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่นใด เพียงแต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือน ภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วัน นับแต่วันนี้

พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาลด้วยพุทธญาณ ทรงเห็นว่าความปรารถนาของกุลบุตรนี้จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่ากุลบุตรผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จำแนกอรรถแห่งคำที่ตรัสโดยสังเขปให้พิสดาร ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าดังนี้ ครั้นเมื่อทรงพยากรณ์แล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับไป.

ฝ่ายกุลบุตรนั้นบำเพ็ญกุศลตลอดชีพแล้วเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภูมิเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายแสนกัป ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ได้เป็นวิทยาธร เที่ยวไปทางอากาศ ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ซึ่งประทับนั่งในชัฏแห่งป่าแห่งหนึ่ง มีใจเลื่อมใสได้เอาดอกกรรณิการ์มาทำการบูชา.ด้วยบุญอันนั้น ท่านจึงเกิดเฉพาะแต่ในสุคติภูมิอย่างเดียว

ครั้นสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ท่านพระมหากัจจายนเถระก็มาถือปฏิสนธิในครอบครัวหนึ่ง ในกรุงพาราณสี เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านก็ไปยังสถานที่สร้างเจดีย์ทอง จึงเอาอิฐทองมีค่าแสนหนึ่งถวายเป็นพุทธบูชา ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สรีระของข้าพระองค์จงมีวรรณเพียงดังทองในที่ ๆ เกิดแล้วเถิด

ต่อแต่นั้น ก็กระทำกุศลกรรมจนตลอดชีวิต และได้เวียนว่ายในภูมิเทวดาและมนุษย์ ได้พุทธันดรหนึ่ง ทั้งนี้ด้วยผล ๓ ประการแห่งพุทธบูชานั้น ดังที่กล่าวไว้ใน อปทาน ( ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๒๑) ดังนี้

๑ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

๒ เราท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพ คือในเทวดาและมนุษย์ ไม่เกิดในภูมิอื่น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

๓ เราเกิดในสองสกุล คือสกุลกษัตริย์และสกุลพราหมณ์ เราไม่เกิดใน สกุลที่ต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

กำเนิดในพุทธกาล

ครั้งกาลสมัยพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราอุบัติ ท่านก็ได้มาบังเกิดเป็นบุตรของติปิติวัจฉพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในพระนครอุชเชนี ส่วนผู้เป็นมารดาชื่อจันทนปทุมา ในวันขนานนามท่าน มารดาบิดาปรึกษากันว่าบุตรของตนนั้นมีสรีระมีผิวดั่งทอง จึงขนานนามท่านว่า กาญจนมาณพ ดังนี้.

ครั้นเจริญขึ้นแล้วท่านก็ได้ศึกษาไตรเทพจนจบสิ้น ต่อมาเมื่อบิดาท่านวายชนม์แล้ว-ท่านก็ได้รับตำแหน่งปุโรหิตสืบแทนท่านบิดา โดยนามโคตรว่ากัจจายนะ

ครั้งหนึ่งพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงประชุมเหล่าอำมาตย์แล้วมีพระราชดำรัสถามว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงบังเกิดขึ้นในโลกแล้ว จะมีผู้ใดสามารถทูลอาราธนาพระพุทธองค์มาได้ อำมาตย์ทูลว่า อาจารย์กาญจนพราหมณ์เท่านั้นที่จะเป็นผู้สามารถทูลอาราธนาพระพุทธองค์มาได้

พระเจ้าจัณฑปัชโชติจึงให้ตรัสเรียกกัจจายนะอำมาตย์มาเข้าเฝ้าและตรัสสั่งให้ท่านกัจจายนะอำมาตย์ไปยังสำนักของพระพุทธเจ้า และทูลอาราธนามายังวัง กัจจายนะอำมาตย์ทูลขอพรว่า ถ้าอนุญาตให้ท่านได้บวชท่านก็จะไป พระเจ้าจัณฑปัชโชติทรงให้พรตามที่กัจจายนะอำมาตย์ทูลขอ

เข้าเฝ้าพระพุทธองค์

กัจจายนอำมาตย์ จึงคัดเลือกผู้ที่จะไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมกับตนเพียง ๘ คน. และออกเดินทาง ครั้นเมื่อไปถึง และได้ฟังพระบรมศาสดาทรงแสดงธรรม เมื่อจบเทศนาหมู่อำมาตย์นั้นก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ทั้ง ๘ ท่าน พระบรมศาสดาทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยการเหยียดพระหัตถ์และทรงตรัสว่า เธอ จงมาเป็นภิกษุเถิด, จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด ในทันใดนั้น ผมและหนวดของพระอรหันต์ทั้ง ๘ องค์ก็หายไป บาตร และจีวรก็บังเกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถเหมือนพระเถระตั้งร้อยพรรษาฉะนั้น

พระอรหันตเถระเหล่านั้นเมื่อกิจของตนถึงที่สุดแล้วก็ไม่นั่งนิ่งอยู่เฉย กล่าวอาราธนาพระพุทธองค์เพื่อเสด็จไปกรุงอุชเชนีเหมือนที่พระกาฬุทายีเถระเคยกระทำ พระศาสดาสดับคำอาราธนาของท่านแล้วทรงพระวินิจฉัยว่า พระกัจจายนะย่อมหวังการไปของเราในชาติภูมิของตน แต่ธรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอาศัยเหตุ อันหนึ่ง จึงไม่เสด็จไปสู่ที่ที่ไม่สมควรเสด็จ. เพราะฉะนั้นจึงตรัสแก่พระมหากัจจายนเถระว่า ภิกษุ ท่านนั้นแหละจงไป เมื่อท่านไปแล้ว พระราชาจักทรงเลื่อมใส พระมหากัจจายนเถระจึงถวายบังคมพระตถาคต แล้วกลับไปกรุงอุชเชนีพร้อมกับภิกษุทั้ง ๗ รูปที่มาพร้อมกับตนนั้น ในระหว่างทางกลับกรุงอุชเชนี ภิกษุเหล่านั้นได้เที่ยวบิณฑบาตในนิคมชื่อว่า นาลินิคม.

โปรดธิดาเศรษฐีผู้มีผมงาม

ในนิคมนั้น มีธิดาเศรษฐี ๒ คน คนหนึ่งเกิดในตระกูลเก่าแก่เข็ญใจ เมื่อมารดาบิดาสิ้นชีพไปแล้ว ก็อาศัยเป็นนางนมเลี้ยงชีพ. แต่รูปร่างของเธอนั้นบึกบึน ผมยาวเกินคนอื่น ๆ ในนิคมนั้น

และยังมีธิดาของตระกูลอิศรเศรษฐีอีกคนหนึ่ง เป็นคนไม่มีผม เมื่อก่อนนั้นมาแม้นางธิดาผู้นี้จะขอซื้อผมจากนางผมดกในราคา ๑๐๐ กหาปณะ หรือ ๑,๐๐๐ กหาปณะแก่เธอ ก็ไม่สำเร็จ

ในวันนั้น ธิดาเศรษฐีผู้มีผมดกนั้นเห็นพระมหากัจจายนเถระมีภิกษุ ๗ รูปเป็นบริวาร เดินมามีบาตรเปล่า คิดว่าภิกษุผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์รูปหนึ่ง มีผิวดังทองรูปนี้เดินไปบาตรเปล่าทรัพย์อย่างอื่นของเราก็ไม่มี แต่ว่าธิดาเศรษฐีผู้ไม่มีผมบ้านโน้นเคยส่งคนมาเพื่อต้องการซื้อผมจากเรา ตอนนี้เราอาจถวายไทยธรรมแก่พระเถระได้ด้วยทรัพย์ที่เกิดจากที่ได้ค่าผมนี้

เมื่อคิดดังนั้นแล้วจึงส่งสาวใช้ ไปนิมนต์พระเถระทั้งหลายให้นั่งภายในเรือนของตน พอพระเถระนั่งแล้ว นางก็เข้าห้องตัดผมของตน แล้วกล่าวแก่สาวใช้ว่า เจ้าจงเอาผมเหล่านี้ให้แก่ธิดาเศรษฐีบ้านโน้น แล้วเอาของที่นางให้มา เราจะถวายบิณฑบาตแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย. สาวใช้ ถือผมนั้นไปยังสำนักของธิดาเศรษฐี.

ธรรมดาขึ้นชื่อว่าของที่จะขายนั้น จะมีราคาก็ต่อเมื่อผู้ซื้อต้องการขอซื้อ ธิดาเศรษฐีผู้ไม่มีผมคิดว่า เมื่อก่อนเราขอซื้อด้วยทรัพย์เป็นอันมาก แต่นางก็ไม่ยอมขาย แต่บัดนี้ เมื่อนางมาเสนอขายเอง ก็ไม่ได้ตามราคาเดิม จึงให้ไป ๘ กหาปณะเท่านั้น สาวใช้นำกหาปณะไปมอบให้แก่ธิดาเศรษฐีผู้มีผมมาก

ธิดาเศรษฐีก็จัดบิณฑบาต ๘ ที่ ให้มีค่าที่ละหนึ่งกหาปณะ ถวายแด่พระเถระทั้งหลาย พระเถระเล็งดูด้วยฌานแล้ว เห็นอุปนิสัยของธิดาเศรษฐี จึงถามว่าธิดาเศรษฐีไปไหน. สาวใช้ตอบว่า อยู่ในห้องเจ้าค่ะ พระเถระว่าจงไปเรียกนางมาซิ. ธิดาเศรษฐีก็มาด้วยความเคารพในพระเถระ ไหว้พระเถระแล้วเกิดศรัทธาอย่างแรง อันว่าทานอันบริสุทธิ์นั้นย่อมให้ผลในปัจจุบันชาติทีเดียว เพราะฉะนั้น พร้อมกับการไหว้พระเถระ ผมของนางจึงเกิดขึ้นดังเดิม

โปรดพระเจ้าจันฑปัชโชต

ฝ่ายพระเถระทั้งหลายจึงถือเอาบิณฑบาตนั้นเหาะขึ้นไปต่อหน้าธิดาเศรษฐี และเหาะลงยังพระราชอุทยานของพระเจ้าจันฑปัชโชต ชื่ออุทธยานกัญจนะ คนเฝ้าพระราชอุทยานเห็นพระเถระนั้น จึงไปเข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระคุณเจ้ากัจจายะปุโรหิตของเราบวชแล้ว และกลับมายังอุทยานแล้วพระเจ้าข้า พระเจ้าจันฑปัชโชตจึงเสด็จไปยังอุทยาน ไหว้พระเถระผู้กระทำภัตกิจแล้วด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ตรัสถามว่า ท่านเจ้าข้าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนล่ะ พระเถระทูลว่า พระองค์มิได้เสด็จมาเอง ทรงส่งอาตมะมา มหาบพิตร พระราชาตรัสถามว่าท่านผู้เจริญ วันนี้พระคุณเจ้าได้ภิกษา ณ ที่ไหน

พระเถระทูลบอกเรื่องที่ธิดาเศรษฐีกระทำทุกอย่างให้พระราชาทรงทราบ ตามถ้อยคำควรแก่ที่ตรัสถาม พระราชาตรัสสั่งให้จัดแจงที่อยู่แก่พระเถระ แล้วนิมนต์พระเถระไปยังนิเวศน์ แล้วรับสั่งให้ไปนำธิดาเศรษฐีมาตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสีแล้ว

พระราชาทรงกระทำสักการะใหญ่แต่พระมหากัจจายนเถระ มหาชนเลื่อมใสในธรรมกถาของพระเถระ บวชในสำนักของพระเถระ ตั้งแต่นั้น ทั่วพระนครก็รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวพัตรเป็นอันเดียวกัน คลาคล่ำ ไปด้วยหมู่ภิกษุ ฝ่ายพระเทวีนั้นทรงเลื่อมใสในพระมหากัจจายนเถระอย่างยิ่ง ขอพระราชานุญาตสร้างวิหารถวายพระเถระในกัญจนราชอุทยาน. พระเถระยังชาวอุชเชนีให้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาแล้ว จึงกลับไปเฝ้าพระศาสดาอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาภายหลังพระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ทรงกระทำพระสูตร ๓ สูตร เหล่านี้คือ มธุบิณฑิกสูตร, กัจจายนเปยยาลสูตร, ปรายนสูตร ให้เป็นอรรถุปบัติเหตุ แล้วทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัสที่ทรงตรัสโดยย่อให้พิสดารแล้ว.

พระมหากัจจายนเถระกราบทูลขอให้ทรงปรับพุทธบัญญัติบางข้อสำหรับจังหวัดอวันตีทักขิณาบถ

สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะ พักอาศัยอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีชายผู้หนึ่งชื่อ โสณะอุบาสกได้ฟังธรรมในสำนักของท่านพระมหากัจจายนะ ก็บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา มีจิตตั้งอยู่ในสรณะและศีล จึงได้สร้างวิหารในที่อันสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ ใกล้ปวัตตบรรพต แล้วนิมนต์พระเถระให้อยู่ในวิหารนั้น โสณะอุบาสกได้อุปัฏฐากท่านพระมหากัจจายนะด้วยปัจจัยทั้ง ๔.ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โสณะอุบาสกเป็นอุปัฏฐากของท่านมหากัจจานะ

ครั้งหนึ่งโสณะอุบาสกได้เดินทางไปยังเมืองอุชเชนีกับหมู่ เกวียนเพื่อต้องการค้าขาย ครั้นค่ำลงในระหว่างทางหมู่เกวียนได้หยุดกองเกวียนไว้ในดงเพื่อพักผ่อน โสณะอุบาสกเพื่อหลีกการพักอย่างแออัดจึงหลีกไปนอนที่ท้ายหมู่เกวียน ครั้นใกล้รุ่ง หมู่เกวียนก็เคลื่อนออกเดินทางต่อไปโดยไม่มีใครปลุกโสณะอุบาสก

ครั้นเมื่อตื่นขึ้น โสณะอุบาสกไม่เห็นใครเลยก็ออกเดินไปตามทางเกวียนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเหนื่อยจึงได้เข้าพักยังต้นไทร ระหว่างทาง ณ ที่นั้นเขาได้พบเปรตตนหนึ่งยืนกินเนื้อของตนเองที่หล่นจากกระดูก โสณะอุบาสกจึงได้ถามถึงกรรมของเปรตที่ทำมาในอดีต

เปรตนั้นก็เล่าว่า เมื่อชาติก่อนตนเป็นพ่อค้าอยู่ในเมืองภารุกัจฉนคร ได้หลอกลวงเอาของ ของคนอื่นมาเคี้ยวกิน เมื่อมีสมณะเข้าไปบิณฑบาต ตนก็ด่าว่า จงเคี้ยวกินเนื้อของพวกมึงซิ เพราะกรรมนั้นจึงต้องเสวยทุกข์เช่นนี้

โสณะอุบาสกได้ฟังดังนั้นกลับได้ความสลดใจอย่างเหลือล้น.และได้เดินทางต่อไป ก็ได้พบพวกเปรตเล็ก ๒ ตน มีโลหิตดำไหลออกจากปาก จึงถามถึงบุรพกรรมของเปรตนั้นเช่นเดียวกัน ฝ่ายเปรตเหล่านั้น ก็ได้เล่ากรรมของตน แก่โสณะอบาสกนั้น.ความว่า

ในอดีตชาติ ในเวลาที่ยังเป็นเด็ก เปรตเหล่านั้นเลี้ยงชีพด้วยการค้าขายสิ่งของ ในภารุกัจฉนคร เมื่อมารดาของตนนิมนต์พระขีณาสพทั้งหลายให้มาฉัน จึงไปยังเรือนแล้ว ด่าว่า ทำไม แม่จึงให้สิ่งของของพวกเรากับพวกสมณะ ขอให้โลหิตดำจงไหลออกจากปากของพวกสมณะผู้บริโภคโภชนะที่แม่ให้แล้วเถิด.เพราะกรรมนั้น เด็กเหล่านั้น จึงไปเกิดในนรก หมดกรรมจากนรกแล้ว ก็มาเกิดเป็นเปรต ด้วยเศษแห่งวิบากของกรรมนั้น

โสณะอุบาสก ได้ฟังดังนั้นก็เกิดความสลดใจอย่างเหลือล้น.ครั้นเมื่อเขากลับไปยังกรุงอุชเชนีจึงได้ขอบรรพชาต่อพระมหากัจจายนเถระ ท่านพระมหาเถระพิจารณาแล้วเห็นว่า ญาณของโสณะอุบาสกยังไม่แก่กล้าพอต่อเพศบรรพชิต จึงได้ยับยั้งไว้ถึงสองครั้ง

ในวาระที่สาม พระเถระพิจารณาเห็นว่าโสณะอุบาสกมีญาณแก่กล้าเพียงพอแล้ว จึงยินยอมให้บรรพชา แต่ว่าในสมัยนั้นการบรรพชาโดยพระสาวกต้องกระทำด้วยองค์ทสวรรค คือต้องหาพระสงฆ์ให้ครบ ๑๐ รูป. สมัยนั้น อวันตีชนบทอันตั้งอยู่แถบใต้ มีภิกษุน้อยรูป ท่านพระมหากัจจายนเถระกว่าจะจัดหาพระภิกษุสงฆ์ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ก็ต่อล่วงไปถึง ๓ ปี จึงอุปสมบทให้ท่านพระโสณะได้.

ครั้นเมื่อบวชแล้วได้ระยะหนึ่ง พระโสณะเถระปรารถนาจะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าจึงได้ขออนุญาตต่อพระอุปัชฌาย์คือพระมหากัจจายนเถระ ท่านพระกัจจายนเถระก็อนุญาตพร้อมทั้งสั่งให้ไปกราบทูลขอพระบรมพุทธานุญาต ให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ๕ ข้อ ซึ่งไม่สะดวกแก่พระภิกษุผู้อยู่ในอวันตีชนบท คือ:-

๑. จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ขอได้โปรดทรงอนุญาตอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะสงฆ์เพียง ๕ รูปได้ ทั่วปัจจันตชนบท

๒. พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ดื่นดาดด้วยระแหง กีบโค ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้พระภิกษุสวมรองเท้าหลายชั้นได้ทั่วปัจจันตชนบท

๓. คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถ นิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ ขอได้โปรดทรงอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ทั่วปัจจันตชนบท

๔. ในอวันตีทักขิณาบถ ใช้เครื่องลาดที่ทำด้วย หนังแกะ หนังแพะหนังกวาง เป็นปกติธรรมดาเหมือนกับที่ในมัชฌิมชนบท ใช้เครื่องลาดที่ทำด้วยหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง เป็นปกติธรรมดาเช่นกัน ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้ภิกษุได้ใช้ หนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังกวาง ทั่วปัจจันตชนบท

๕. เมื่อมีผู้ฝากถวายจีวรให้กับหมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากก็มาบอกแก่ภิกษุชื่อนั้น ๆ ว่า มีคนที่มีชื่ออย่างนี้ ฝากจีวรให้มาถวายแก่ท่าน พวกภิกษุผู้ได้รับคำบอกเล่าเมื่อทราบดังนั้น ก็รังเกียจไม่ยินดีรับจีวรที่มีผู้ฝากมาถวาย โดยคิดว่าจีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้ภิกษุนั้นรับจีวรที่มีผู้ฝากภิกษุอื่นมาถวายได้ โดยให้ถือว่าจีวรนั่นยังไม่ควรนับราตรี ตราบเท่าที่ยังไม่ถึงมือภิกษุผู้ที่เขาเจาะจงถวาย

พระบรมศาสดาทรงอนุญาตตามที่ พระมหากัจจายนเถระกราบทูลขอ

ต่อมาพระโสณะเถระท่านนี้ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็น เอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุผู้กล่าวถ้อยคำอันไพเราะ

ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัสที่ทรงตรัสโดยย่อให้พิสดาร

ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ได้ปรากฏอยู่หลายแห่ง เช่นเมื่อคราวพระพุทธองค์ทรงแสดง มธุปิณฑิกสูตร แก่พระภิกษุหมู่หนึ่ง แต่ได้ทรงแสดงไว้โดยย่อ เหล่าพระภิกษุนั้นเมื่อฟังความโดยย่อเช่นนั้นก็สงสัยว่าใครจะเป็นผู้สามารถเทศนาความโดยละเอียดให้แก่พวกตนได้ ก็นึกถึงพระมหากัจจายนเถระว่าเป็นผู้ที่พระศาสดาทรงยกย่องว่าจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ให้พิสดารได้ จึงได้ไปอาราธนาพระมหากัจจายนเถระให้เทศน์ขยายความในเรื่องดังกล่าว

พระมหาเถระก็ได้เทศนาบรรยายขยายความอย่างพิสดารให้แก่หมู่ ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเมื่อจบแล้ว หมู่ภิกษุจึงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ทูลเรื่องที่พวกตนอาราธนาพระมหากัจจายนเถระ ให้เทศน์ขยายความพุทธพจน์ที่ทรงแสดงโดยย่อแก่พวกตน พระพุทธองค์ทรงตรัสยกย่องพระมหากัจจายนเถระว่า

พระมหากัจจายนะเถระเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก แม้หมู่พระสงฆ์เหล่านั้นจะถามเนื้อความนี้กับพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ก็จะพึงเทศนาเนื้อความนั้น เหมือนกับที่พระมหากัจจานะเทศน์แล้วเช่นนั้น

และใน อุทเทสวิภังคสูตร, มหากัจจายนภัทเทกรัตตสูตร และ อธรรมสูตร พระพุทธองค์ก็ทรงยกย่องพระมหากัจจายนเถระในลักษณะนั้นเช่นเดียวกัน

นอกจากจะเทศนาขยายความย่อในพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระภิกษุทั้งหลายแล้ว แม้กับพุทธบริษัทเหล่าอื่นมี อุบาสก อุบาสิกา เป็นต้น พุทธบริษัทเหล่านั้นเมื่อประสงค์ที่จะฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสโดยย่อ ให้ได้เนื้อความโดยละเอียดก็พากันมาอาราธนาให้พระมหากัจจายนเถระเทศนาเนื้อความโดยพิสดารให้ฟังเช่นกัน เช่นใน กาลีสูตร ท่านได้แสดงธรรมขยายความแห่งกุมารีปัญหาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยย่อไว้ ให้กับอุบาสิกาชื่อ กาลี ชาวเมืองกุรรฆระฟัง

ใน หลิททิกานิสูตร สมัยท่านพักอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้กุรรฆรนครแคว้นอวันตีรัฐ คฤหบดีชื่อหลิทกานิ เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะเถระ แล้วอาราธนาให้ท่านได้เทศนาขยายความแห่ง มาคันทิยปัญหา ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยย่อไว้ ให้ฟังโดยพิสดาร

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

นอกจากการขยายพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้โดยย่อ ให้พิสดารแล้ว ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากที่ท่านก็ได้ปลูกฝังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวนครอุชเชนีให้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาแล้ว ท่านยังได้เทศน์โปรด. พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร แห่งเมืองมธุรา ซึ่งเป็นการเทศนาภายหลังที่พระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ตามที่ปรากฎในมธุรสูตร จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยึดเอาพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะจนตลอดชีวิต

และเทศน์โปรด สุชาตกุมาร ผู้เป็นเป็นราชโอรสของพระเจ้าอัสสกะ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นอัสสกรัฐ ให้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการเทศนาภายหลังที่พระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้ว เช่นกัน และพยากรณ์ว่าสุชาติกุมารจะสิ้นชีวิตภายในห้าเดือนข้างหน้า และได้ให้พระบรมสารีริกธาตุแก่สุชาติกุมาร โดยให้สุชาตราชกุมาร บูชาพระบรมสารีริกธาตุนี้แล้วจะเป็นประโยชน์แก่ตนเอง สุชาตกุมารได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้น ด้วยของหอมและพวงมาลัย และขวนขวายในการทำบุญให้ทาน เมื่อสิ้นชิวิตแล้ว ได้ไปบังเกิดในสวนนันทวัน ที่ดาวดึงส์เทวโลก และมีราชรถทองเป็นสมบัติ ปรากฎเรื่องใน จูฬรถวิมานสูตร

สมัยท่านอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ ใกล้พระนครวรรณะ ท่านได้เทศน์โปรด พราหมณ์ที่ชื่อ อารามทัณฑะ จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสน

สมัยท่านอยู่ที่ป่าคุนทาวัน ใกล้เมืองมธุรา ท่านได้เทศน์โปรด พราหมณ์ที่ชื่อ กัณฑรายนะ จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยึดเอาพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะจนตลอดชีวิต

สมัยท่านอยู่ ณ อรัญญกุฎี ใกล้มักกรกฏนคร ในอวันตีชนบท ท่านได้เทศน์โปรด พราหมณ์ที่ชื่อ โลหิจจ ผู้เป็นเจ้าสำนัก มีศิษย์มากมาย จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยึดเอาพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะจนตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน

เกิดร่วมสมัยกับพระโพธิสัตว์

ท่านได้เกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์อยู่หลายชาติ ดังที่ปรากฎในชาดกต่าง ๆ เช่น

เกิดเป็นรัชชุคาหกะอำมาตย์ผู้รังวัด พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ ใน กุรุธรรมชาดก

เกิดเป็นกาฬเทวิลดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นสรภังคดาบส ใน อินทรยชาดก

เกิดเป็นเทวลดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นสรภังคดาบส ใน สรภังคชาดก

เรื่องพระโสไรยเถระ

เศรษฐีบุตรกลับเพศเป็นหญิงแล้วหลบหนี

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ลูกชายของโสไรยเศรษฐี ในโสไรยนคร นั่งบนยานน้อยกับสหายผู้หนึ่งออกไปจากนคร เพื่อประโยชน์จะอาบน้ำพร้อมกับบริวารเป็นอันมาก.ขณะนั้น พระมหากัจจายนเถระ กำลังเดินไปสู่โสไรยนครเพื่อบิณฑบาต รัศมีแห่งสรีระของพระเถระมีสีเหมือนทองคำ ลูกชายของโสไรยเศรษฐี เห็นท่านแล้วจึงคิดว่า"สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้ ควรเป็นภริยาของเรา หรือสีแห่งสรีระของภริยาของเรา พึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั้น." ในขณะสักว่าเขาคิดแล้วเท่านั้น เศรษฐีบุตรก็กลายเพศไปเป็นหญิง ลูกชายของโสไรยเศรษฐีเกิดความอายจึงลงจากยานน้อยหนีไปทางที่ไปสู่เมืองตักกสิลา.

พวกเพื่อนและพ่อแม่ออกติดตามแต่ไม่พบ

ฝ่ายพวกสหาย เที่ยวค้นหาข้างโน้นและข้างนี้ ก็ไม่ได้พบ.เมื่อตนอาบเสร็จแล้วจึงได้กลับไปสู่เรือน เมื่อถูกถามถึงบุตรเศรษฐี ก็ตอบว่า พวกเขาเข้าใจว่าบุตรเศรษฐีอาบน้ำเสร็จและกลับมาก่อนแล้ว.มารดาและบิดาของเขาเที่ยวตามหาในที่ต่าง ๆ ก็ไม่พบ จึงร้องไห้รำพัน ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลด้วยความสำคัญว่าลูกชายของพวกเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว.

นางเดินตามพวกเกวียนไปเมืองตักกสิลา

ส่วนลูกชายเศรษฐีที่กลายเป็นเพศหญิง เห็นพวกเกวียนไปสู่เมืองตักกสิลาหมู่หนึ่ง จึงเดินตามไปข้างหลัง ๆ เมื่อพวกหมู่เกวียนเห็นนางเข้าจึงถามว่า "หล่อนเดินตามเกวียนพวกเรามาทำไม ? นางกล่าวว่า "พวกท่านจงขับเกวียนของท่านไปเถิด ดิฉันจักเดินไป," เมื่อเดินไป ๆ เมื่อยเข้านางจึงได้ถอดแหวนสำหรับสวมนิ้วมือให้เพื่อแลกกับการนั่งไปในเกวียน

ได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น

พวกกองเกวียนต่างคิดว่า "ลูกชายเศรษฐีของพวกเราในกรุงตักกสิลายังไม่แต่งงาน เราจะบอกเรื่องหญิงนี้แก่ท่านเพื่อจะได้รางวัล" พวกเขาจึงไปแจ้งเรื่องนี้ ครั้นได้ฟังแล้วลูกชายเศรษฐีจึงให้เรียกนางมา เมื่อนางมาแล้ว บุตรเศรษฐีเห็นว่านางเหมาะกับวัยของตน มีรูปงามน่าพึงใจ ก็เกิดความรักขึ้น จึงได้รับนางไว้เป็นภริยา

นางคลอดบุตร

นางอยู่กับบุตรเศรษฐีจนมีบุตรด้วยกัน ๒ คนเมื่อรวมกับบุตรของนางเมื่อครั้งเป็นชายในโสไรยนครอีก ๒ คน.ก็รวมเป็น ๔ คน

นางได้พบกับเพื่อนเก่าแล้วเล่าเรื่องให้ฟัง

ต่อมาลูกชายเศรษฐีผู้เป็นสหายของนาง (เมื่อครั้งเป็นชาย) เดินทางจากโสไรยนครไปสู่กรุงตักกสิลา ขณะเข้าไปสู่พระนคร ได้ผ่านบ้านของนางซึ่งยืนมองดูผู้คนเดินไปมาบนถนนอยู่บนปราสาทชั้นบน เห็นสหายนั้นก็จำได้ จึงส่งสาวใช้ให้ไปเชิญมา แล้วรับรองและเลี้ยงดูอย่างใหญ่โต สหายนั้นสงสัยจึงถามว่า เราเคยรู้จักกันหรือนางจึงได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาให้ฟัง

สหายเก่าของนางจึงแนะให้นางไปขอขมาต่อพระเถระเสีย ขอให้ท่านยกโทษให้

นางขอขมาพระมหากัจจายนเถระ

นางจึงเดินทางไปหาพระเถระ เล่าเรื่องและขอให้ท่านยกโทษให้ พระเถระจึงยกโทษให้ ครั้นพอพระเถระ เอ่ยปากยกโทษให้เท่านั้น นางก็กลับเพศเป็นชายดังเดิม

เมื่อกลับมาเป็นชายแล้ว เขาจึงมอบบุตรที่เกิดกับ เศรษฐีบุตรในกรุงตักกสิลาให้แก่บิดา และออกไปบวชในสำนักพระเถระ ได้นามว่า "โสไรยเถระ" และได้ออกจาริกไปถึงเมืองสาวัตถีกับพระเถระ

ชาวเมืองสาวัตถีทราบเรื่องเข้าพากันแตกตื่นเข้าไปถามเรื่องราว กี่พวกต่อกี่พวกก็ถามแต่เรื่องนี้จนท่านรำคาญใจจึงหลีกไปนั่งแต่คนเดียว ยืนแต่คนเดียว ท่านเข้าถึงความเป็นคนเดียวอย่างนี้ เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว.

ศิษย์ที่ปรากฎชื่อในพระไตรปิฎก หรือ ใน อรรถกถาของท่าน

พระวัลลิยเถระ

พระโสไรยเถระ

พระโสณะเถระ

เครดิตเว็บนี้ด้วยนะครับ ผมไม่ได้พิมพ์เองครับ

http://www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-mahakajayana.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 24, 2010, 06:22:55 pm โดย noppadol »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 06:23:21 pm »
0
อนุโมทนาครับ

เสียดาย คุณนพดลน่าจะหาเนื้อความบางตอนในคัมภีร์นี้

มาแสดงให้ดูบ้าง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

noppadol

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 144
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
0
เนื้อหาในหนังสือเป็น หนังสือเกิดจากกลุ่มการวิจัยของพระนิสิต ซึ่งผม

นำมาประกอบในนี้เป็นไฟล์แนบ

มีประกอบหลายส่วน แต่นำมาเพียงฉบับเดียว

ดูเพิ่มเิติมได้ที่

อยากรู้เนื้อหาให้อ่าน ในบทที่ 3

ส่วนบทที่ 4 แปลยกศัพท์ ไม่ใช่นักแปลอ่านแล้ว ก็จะงง นะครับ

ดาวน์โหลดจากในนี้ได้เลยครับ ( ต้องเป็นสมาชิก )

เครดิต พระนิสิตด้วยครับ

http://www.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=238
บันทึกการเข้า

noppadol

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 144
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
โยชนาปกรณ์ ปริจเฉทที่ 3 - 4
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 06:50:20 pm »
0
ปริจเฉท อื่น ๆ ที่เป็นวิทยานิพนธ์ ตามลิงก์นี้นะครับ

และโหลดจากเว็บโดยตรงเลยก็ได้ครับ

http://www.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=453
บันทึกการเข้า

ปักษาวายุ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 11:34:15 pm »
0
ผมลองอ่าน แล้วก็ยอมรับ ว่าบารมีผมคงไม่พอที่จะอ่านแล้ว ภาวนาได้

ยิ่งอ่านยิ่งงง เพราะสำนวนการแปล สลับไปสลับมา ไม่คล้อยตามเลยครับ

ขอ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ดีกว่าครับ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2011, 07:43:44 am »
0
มีเรื่องราว ของ คัมภีร์ ปรากฏที่ไหน บ้างในพระไตรปิฏก ครับ
และเนื้อหา ของคัมภีร์ มูลกัจจายน์ ว่าด้วยเรื่องใดครับ และ มี ข้อสรุปแบบสารบัญ หรือไม่ครับ

 มีความสนใจ ในตำรากรรมฐาน ครับ ช่วงนี้

  :c017:
บันทึกการเข้า

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2011, 01:31:40 pm »
0
ได้ยินมาว่า คัมภัร์ มูลกัจจายนะ นั้นรจนาโดย พระมหากัจจยานะ และได้ถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับทราบด้วย จัดได้ว่าเป็นคัมภีร์ ที่มีอยู่ในสมัย พระพุทธเจ้ามีพระชนม์ อยู่ใครพอจะเล่าต่อได้บ้างครับ

 ส่วนสำคัญของคัมภัร์ มูลกัจจยานะ นั้นอยู่ที่กรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ หรือเพียงแต่เป็นเนื้อหาสอนการแปล อย่างไรครับ เพราะปัจจุบันถ้ากล่าวถึงคัมภรีนี้ บรรดาเปรียญ จะกล่าวว่าเป็นคัมภีร์ สอนการแปล

   เนื้อหาของคัมภีร์  นี้ มีอะไรสำััคัญมาก และ จะหาซื้อได้ที่ไหนบ้างครับ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2011, 02:38:06 pm »
0
พรรษาแรกพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านก็สามารถศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับเบื้องต้นได้จนจบ สามห้อง พรรษาที่สอง พระองค์ท่าน สามารถท่องพระปาฎิโมกข์จบได้ พรรษาที่สาม พระองค์ท่านทรงศึกษาพระคัมภีร์บาลีมูลกัจจายน์ ๙ กัณฑ์ ๖๗๓ สูตรจบ ศึกษาพระคัมภีร์โยชนาบาลีมูลกัจจายน์ จบทุกผูก
พระอาจารย์สุก ทรงอุปสมบทได้สามพรรษาแล้ว ทรงจบทั้งสมถะ-วิปัสสนา

มัชฌิมา แบบลำดับ คือสมถะมีลำดับดังนี้
ปีติ ๕
ยุคล ๖
สุขสมาธิ ๒
อานาปาน ๙ จุด
อาการ ๓๒
กสิณ ๑๐ ประการ
อสุภะ ๑๐ ประการ
ฌานปัญจกนัย
อนุสสติ ๗
พรหมวิหาร ๔
อาหาเรปฎิกูลสัญญา ๑(๑๐)
จตุธาตุววัฎฐาน ๑ อรูปฌาน ๔ (จบสมถะ)

วิปัสสนา มีลำดับดังนี้
ขึ้นวิสุทธิ ๗ ประการ
พระไตรลักษณะญาณ ๓
พระอนุวิปัสสนาญาณ ๓
วิปัสสนาญาณ ๑๐
วิโมกข์ ๓
อนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ สัญโญชน์ ๑๐

พระอาจารย์สุก จบสมถะ-วิปัสสนาธุระ ที่วัดโรงช้างแล้ว และทรงจบ พระคัมภีร์บาลีมูลกัจจายน์ หรือพระบาลีใหญ่ ๑ ทรงจบพระโยชนามูลกัจจายน์ ๑ ก็สิ้นความรู้ของท่านพระครูรักขิตญาณ วัดโรงช้าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2011, 02:54:28 pm โดย tcarisa »
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2011, 09:04:51 am »
0
พระคัมภีร์บาลีมูลกัจจายน์ ๙ กัณฑ์ ๖๗๓ สูตรจบ
ศึกษาพระคัมภีร์โยชนาบาลีมูลกัจจายน์ จบทุกผูก



  ดังนั้น จากข้อความตรงนี้ ตีความได้ว่า คัมภีร์ มูลกัจจายน์ มีอยู่ 2 ส่วน

  1.ส่วนที่เป็น เนื้อหา มี 9 กัณฑ์  673 สูตร

  2.ส่วนที่เป็น คำอธิบาย รูปศัพท์ หรือ ที่เรียกว่า ไวยากรณ์ หรือ โยชนาบาลีมูลกัจายน์

  ดังนั้นจะเห็นเนื้อหา ที่ แสดงไว้ให้ดาวน์โหลดนั้น เป็นส่วนของ โยชนาบาลี ไม่ใช่เนื้อหา

   
   ถ้าจะแบ่งให้เข้าใจง่าย ๆ กับ ภาษาบาลี ยุคปัจจุบัน ก็คือ

    ไวยากรณ์ อันประกอบด้วย นาม อัพยศัพ์ อาขยาต กิตก์ สมาส ตัทธิต เป็นต้นจัดเป็น โยชนาบาลี

    เนื่อหา ได้แกี่ ธรรมบท มังคลัตทีปนี และ วิสุทธิมรรค เีทียบ มูลกัจจายน์ พระสูตร

   ในส่วน ไวยากรณ์ จะเป็นเรืองน่าเบื่อเพราะเป็นหลักการแปล

       ส่วนเนื้อหา เป็นเรื่อง เป็นราว นั้นมี หลักธรรม อยู่มากมาย

   ใครสามารถนำเนื้อหา มาโพสต์ได้ ก็ขออนุโมทนา ด้วยนะจ๊ะ

 เจริญพร

   ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2011, 11:36:33 am »
0
ได้ความรู้ และ อยากศึกษา คัมภีร์มูลกัจจายน์ บ้างครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2011, 08:56:48 am »
0
พระคัมภีร์บาลีมูลกัจจายน์ ๙ กัณฑ์ ๖๗๓ สูตรจบ
ศึกษาพระคัมภีร์โยชนาบาลีมูลกัจจายน์ จบทุกผูก
   ;)

อยากได้อ่านเนื้อหา ของ คัมภีร์ นี้บ้างจริง ๆ ครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ประวัติคัมภีร์กัจจายนะ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2011, 12:01:55 pm »
0

ภาพจาก http://www.oknation.net/

2. ประวัติคัมภีร์กัจจายนะ

     คัมภีร์กัจจายนะเป็นไวยากรณ์บาลีที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นพื้นฐานของไวยากรณ์บาลีอื่นๆทั้งหมด18 ซึ่งจะขอนำประวัติ รายละเอียดความเป็นมาของคัมภีร์มากล่าวไว้ดังนี้

2.1 ที่มาและความหมายของชื่อคัมภีร์
     ใครๆ ก็ทราบแล้วว่า คัมภีร์กัจจายนะนี้เก่าแก่ที่สุด เพราะถือว่าเขียนโดยพระมหากัจจายนในพุทธกาล แต่ก็ยังมีชื่อเรียกคัมภีร์กัจจายนะนี้อีกหลายชื่อ เช่น กัจจายนโยคะ (กจฺจายนโยค), กัจจายนคันถะ (กจฺจายนคนฺถ), สุสันธิกัปปะ (สุสนฺธิกปฺป), กัจจายนมูลัปปกรณะ (กจฺจายนมูลปฺปกรณ) หรือ มูลกัจจายนัปปกรณะ (มูลกจฺจายนปฺปกรณ) แต่ในงานวิจัยฉบับนี้ขอนำเสนอชื่อที่เป็นที่แพร่หลายคือ คัมภีร์กัจจายนะดังนี้

ชื่อกัจจายนะหรือกัจจานะเป็นนามของพระมหาเถระที่สำคัญรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนาการนำชื่อพระเถระมาตั้งเป็นชื่อคัมภีร์นั้น เพราะอ้างถึงสูตรเริ่มต้นที่เชื่อพระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว พระมหากัจจายนะได้นำไปอธิบายต่อเป็นคัมภีร์กัจจายนะต่อไป

“อตฺโถ อกฺขรสญฺญาโต - เนื้อความหมายรู้ได้ด้วยอักขระ”
สูตรแรกของกัจจายนะนี้เป็นข้อความที่พระพุทธองค์ปรารภแก่พระภิกษุรูปหนึ่งผู้ภาวนากัมมัฎฐานคลาดเคลื่อน พระกัจจายนะจึงนำพุทธพจน์นี้มาขยาย20 อาจารย์ในฝ่ายเถรวาทจึงถือว่าผู้แต่งคัมภีร์กัจจายนะคือพระกัจจานะสาวกของพระพุทธองค์ผู้เป็นเลิศในการอธิบายขยายความที่สั้นให้ละเอียดพิสดาร


สุภาพรรณ ณ บางช้าง ตั้งข้อสังเกตชื่อกัจจายนะนี้ว่า
    “ชื่อกัจจายนะที่มาเป็นชื่อตำราไวยากรณ์บาลีเล่มแรกนี้มิใช่ชื่อผู้แต่งโดยตรง แต่เป็นชื่อที่แสดงว่าตำราไวยากรณ์เล่มนี้เป็นผลงานของสำนักกัจจายนะหรือกัจจานะซึ่งเป็นสำนักที่สืบต่อผลงานทางด้านการอธิบายความหมายของคำและความตลอดจนลักษณะไวยากรณ์ตามแนวทางของพระ มหากัจจานะในสมัยพุทธกาล”

2.2 ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง
     คัมภีร์ไวยากรณ์บาลีที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีสืบทอดมาถึงปัจจุบัน คือ คัมภีร์กัจจายนะ แต่เรื่องผู้แต่งและสมัยที่แต่งคัมภีร์กัจจายนะนั้นยังมีผู้แสดงทัศนะไว้ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องผู้แต่งคัมภีร์นี้ต่างกัน แบ่งเป็น 3 ทัศนะ คือ

ความเห็นที่ 1 เห็นว่า พระมหากัจจายนะในสมัยพุทธกาลเป็นผู้แต่ง ทัศนะนี้ปรากฏในคัมภีร์จูฬคันธวงส์ซึ่งเป็นผลงานของพระนันทาจารย์ พระภิกษุชาวพม่า มตินี้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท


ความเห็นที่ 2 เห็นว่าพระมหากัจจายนะได้แต่งสูตรแล้วต่อมาบุคคลอื่นได้แต่งวุตติและอุทาหรณ์ เพื่ออธิบายคัมภีร์ให้ชัดเจนขึ้น ความเห็นนี้ปรากฏในคัมภีร์กัจจายนเภทะของพม่า

ความเห็นที่ 3 เห็นว่าพระกัจจายนะในสมัยหลังพุทธกาล แต่งในรัชสมัยของพระเจ้าสกมันธาตุ ในราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือในระหว่างที่ราชวงศ์ของกษัตริย์พระองค์นี้เรืองอำนาจตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 เป็นต้นไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ 9

   แต่มีบางมติกล่าวว่าแต่งในราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 ตรงกับความเห็นของนักวิชาการตะวันตก เช่น บี.ซี. ลอว์ (B.C. Law) และวิลเลียม ไกเกอร์ (W. Geiger) มีความเห็นว่า พระกัจจายนะผู้รจนาคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีเล่มแรก เป็นภิกษุคนละรูปกันกับพระมหากัจจายนะในสมัยพุทธกาล พระกัจจายนะผู้รจนาคัมภีร์ไวยากรณ์น่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาระหว่างสมัยอรรถกถากับก่อนสมัยฎีกา จึงมีความเชื่อว่าคัมภีร์กัจจายนะนี้น่าจะแต่งหลังพระพุทธโฆสาจารย์

2.3 วัตถุประสงค์ในการแต่ง
   คัมภีร์กัจจายนะนั้นมีลักษณะเป็นสูตรย่อๆ ที่ยากต่อการเข้าใจ เข้าใจว่าผู้แต่งคงต้องการนำเสนอกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์บาลีทั้งหมดอย่างย่นย่อแต่ให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ในทำนองเดียวกับตำราไวยากรณ์สันสกฤต ลักษณะของตัวสูตรในคัมภีร์กัจจายนะกล่าวว่า ต้องประกอบด้วยคุณ 3 ประการ คือ

  1. มีสูตรอันประกอบด้วยลักษณะ 6 ประการ คือ
     1.1 อปฺปกฺขร มีอักษรน้อย
     1.2 อสนฺเทห ไม่มีความสงสัย
     1.3 สารตฺถ มีเนื้อหาความอันประกอบด้วยประโยชน์
     1.4 สพฺพโตมุข มีวิธีทั้งหมด วิธีมาก
     1.5 อกฺโขภ ไม่หวั่นไหว กล้าให้พิสูจน์
     1.6 อนวชฺช ไม่มีโทษ


   2. มีสูตรสวดได้ง่ายไพเราะ

   3. สมควรต่อพุทธพจน์ (ชินวจนยุตฺตํ หิ. [กัจ. 52] สมควรแก่ถ้อยคำของพระชินเจ้า) ผู้แต่งคัมภีร์กัจจายนะได้กล่าวคาถาเริ่มต้นที่แสดงวัตถุประสงค์การแต่งไว้ว่า

     เสฏฺฐํ ติโลกมหิตํ อภิวนฺทิยคฺคํ
     พุทฺธญฺจ ธมฺมมลํ คณมุตฺตมญฺจ
     สตฺถุสฺส ตสฺส วจนตฺถวรํ สุพุทฺธํ
     วกฺขามิ สุตฺตหิตเมตฺถ สุสนฺธิกปฺปํ
     เสยฺยํ ชิเนริตนเยน พุธา ลภนฺติ
     ตญฺจาปิ ตสฺส วจนตฺถสุโพธเนน
     อตฺถญฺจ อกฺขรปเทสุ อโมหภาวา
     เสยฺยตฺถิโก ปทมโต วิวิธํ สุเณยฺย

     ข้าพเจ้า ผู้มีนามว่า กัจจายนเถระ ขอน้อมนมัสการโดยเคารพซึ่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เลิศด้วยอริยคุณ อันชาวไตรโลกบูชาแล้ว ขอน้อมนมัสการโดยเคารพซึ่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นอันหามลทินโทษมิได้ และขอนอบน้อมนมัสการซึ่งหมู่แห่งพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงคุณอันอุดม จักกล่าวซึ่งคัมภีร์สนธิอันดีเกื้อกูลแก่พระสูตรไว้ในคัมภีร์กัจจายนะนี้
     เพื่อให้กุลบุตรรู้ได้โดยง่ายซึ่งอรรถแห่งพระดำรัสอันประเสริฐของพระศาสดานั้น นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมได้เพื่ออันรู้ได้โดยง่ายซึ่งโลกุตตรธรรมเก้า อันประเสริฐของพระศาสดานั้นโดยนัยอันพระผู้ทรงชนะมารห้าแสดงไว้แล้ว



    อีกประการหนึ่ง นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมได้เพื่ออันตรัสรู้ได้โดยง่ายซึ่งโลกุตตรธรรมเก้านั้น โดยการรู้ได้โดยง่ายซึ่งอรรถแห่งพระดำรัสของพระศาสดานั้นด้วย ซึ่งอรรถโดยความเป็นผู้ไม่หลงในอักขระและบททั้งหลายด้วย

    ดังนั้นนักปราชญ์ผู้มีความต้องการด้วยโลกุตตรธรรมเก้ามีบทอันรู้แล้ว พึงฟังคือศึกษาอักขระและบทมีประการต่างๆ โดยเคารพเถิดวัตถุประสงค์หลักของกัจจายนะคือเพื่ออธิบายหลักและกฏเกณฑ์ทางไวยากรณ์บาลีให้
เป็นระบบตามลำดับดังนี้ เรื่องสัญญาวิธาน(เสียง) และสนธิ ความรู้เรื่องคำนาม ความรู้เรื่องอาขยาตความรู้เรื่อง กิต และอุณาทิ เพื่อให้เข้าใจภาษาบาลีและนำไปสู่ความเข้าใจพระไตรปิฎกซึ่งเป็นพระพุทธพจน์


(ยังมีต่อครับ)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ประวัติคัมภีร์กัจจายนะ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2011, 12:32:33 pm »
0
ภาพจาก http://www.oknation.net/

2.4 โครงสร้างของเนื้อหา
    คัมภีร์กาตันตระแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ภาคหรือบท แต่ละภาคแยกออกเป็นกัณฑ์ รวมทั้งหมด 23 กัณฑ์ ในแต่ละกัณฑ์มีจำนวนสูตรที่ไม่เท่ากัน ซึ่งรวมสูตรทั้งหมดมี 673 สูตร การแบ่งเนื้อหานั้นออกเป็นกัณฑ์ต่างๆ นั้นได้แบ่งออกเป็นหมวดหมู่เนื้อหาเดียวกันจัดไว้ในกัณฑ์เดียวกัณฑ์ผู้วิจัยจะนำโครงสร้างของเนื้อหาในคัมภีร์กัจจายนะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ภาค และแสดงรายละเอียดพร้อมจำนวนสูตร ดังนี้

(รายละเอียดในหัวข้อนี้ ขออนุญาตไม่นำเสนอ)

2.5 วิธีการนำเสนอเนื้อหา
    วิธีการนำเสนอเนื้อหาในคัมภีร์กัจจายนะมีการเสนอเนื้อหาโดยการจัดเนื้อหาทั้งหมดเป็นสูตรต่างๆ และมีวุตติพร้อมด้วยอุหารณ์ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมด สามารถแยกเป็นประเภทของสูตร 6 ประเภท ซึ่งพระคันธสาราภิวงศ์ได้แสดงความเห็นไว้ในปทรูปสิทธิมัญชรีว่า ปทรูปสิทธิปกรณ์สูตรที่ 63 จำแนกสูตรไว้ 4 ประเภท

     แต่ในคัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ สูตรที่ 12 กล่าวถึงคัมภีร์มุคธโพธฏีกาว่าได้อธิบายความสูตรกัจจายนะว่ามีการจำแนกสูตรไว้ 6 ประเภทเพิ่มนิยมสูตร และอติเทสสูตร มีข้อความอธิบายเป็นคาถาว่า

   สญฺญา จ ปริภาสา จ วิธีปิ นิยโมปิ จ
   อติเทโสธิกาโรติ ฉธา วา สุตฺตลกฺขณํ.
   แปลว่า “อีกนัยหนึ่ง ลักษณะของสูตรมี 6 ประการ คือ สัญญาสูตร ปริภาสาสูตร วิธิสูตร นิยมสูตร อติเทสสูตร และ อธิการสูตร”

   ผู้วิจัยได้ศึกษารายละเอียดของสูตรทั้งหมดสามารถจำแนกสูตรให้เห็นประเภทต่างๆ ในเบื้องต้นจะยกตัวอย่างสูตรทั้ง 6 ประเภท คือ

(รายละเอียดในหัวข้อนี้ ขออนุญาตไม่นำเสนอ)

2.6 ความแพร่หลายของคัมภีร์กัจจายนะ
     คัมภีร์กัจจายนะเป็นไวยากรณ์ที่แพร่หลายมาก มีผู้แต่งคัมภีร์อรรถาธิบายคัมภีร์กัจจายนะโดยละเอียดหรือสรุปเนื้อหานับร้อยฉบับ ส่วนใหญ่ยังมิได้พิมพ์เผยแพร่ ในที่นี้จะนำรายชื่อคัมภีร์ที่แต่งในอินเดีย ลังกา และพม่ามาแสดงดังนี้

   2.6.1 คัมภีร์ไวยากรณ์สายกัจจายนะที่แต่งในอินเดียและลังกา
    1. นยาส หรือ มุขมัตตทีปนี ผลงานของพระวิมลพุทธิแห่งลังกา แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 อธิบายสูตรกัจจายนไวยากรณ์โดยเน้นการบอกลักษณะของสูตร และแสดงวิธีการประกอบศัพท์ต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
     2. รูปสิทธิ หรือ ปทรูปสิทธิ ผลงานของพระพุทธัปปิยะ ชาวทมิฬ แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ณ มณฑโจละ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย นำสูตรของกัจจายนะมาจัดลำดับใหม่เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาสาระเป็นหมวดหมู่ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมทั้งอธิบายขยายความเนื้อหาสาระและอุทาหรณ์ให้ความรู้ที่กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น


     3. รูปสิทธิฎีกา เป็นงานอธิบายขยายความสาระในรูปสิทธิ พระพุทธัปปิยะเป็นผู้แต่งเอง
     4. พาลาวตาร มีหลักฐานแสดงชื่อผู้แต่งต่างกัน ในสัทธัมมาลังการ กล่าวว่า พระธัมมกิตติเถระ หรือพระสัทธัมมกิตติเถระ เป็นผู้แต่ง ในคันธวงส์กล่าวว่า พระวาจิสสระ เป็นผู้แต่ง นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นว่า พระธัมมกิตติเถระ เป็นผู้แต่งในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ที่ลังกา

     5. อัตถพยาขยาน ผลงานของพระจูฬพุทธะ ชาวลังกา แต่งในพุทธศตวรรษที่ 19 อธิบายขยายความกัจจายนไวยากรณ์โดยละเอียด
     6. กัจจายนธาตุมัญชูสา ผลงานของพระสีลวงศ์ ชาวลังกา แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ประมวลธาตุในกัจจายนไวยากรณ์มาจัดเป็นหมวดหมู่
     7. อักขรมาลา ผลงานของพระนาคเสน ชาวลังกา แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23
กล่าวถึงอักขระบาลีและสิงหล ประพันธ์เป็นคาถาภาษาบาลี



   2.6.2 คัมภีร์ไวยากรณ์บาลีสายกัจจายนะที่แต่งในพม่า
     1. การิกา ผลงานของพระธัมมเสนาบดี แต่งในช่วงสมัยของพระเจ้ากยันสิตถา (ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1600-1628) ประพันธ์เป็นคาถาจำนวน 568 คาถา แสดงสาระไวยากรณ์ตามโครงสร้างและสาระในกัจจายนไวยากรณ์ ตั้งแต่สนธิกัณฑ์ไปจนถึงกิตกัณฑ์ คัมภีร์นี้เป็นไวยากรณ์บาลีเล่มแรกที่แต่งในพม่า
     2. นยาสัปปทีปิกา ผลงานของพระสัทธัมมโชติปาล นามเดิมว่า ฉปทะ แต่งขึ้นเมื่อพ.ศ. 1724 อธิบายขยายความสาระในคัมภีร์นยาส
     3. สุตตนิทเทส หรือ กัจจายนสุตตนิทเทส ผลงานของพระสัทธัมมโชติปาล เช่นกัน อธิบายความหมายของสูตรในกัจจายนไวยากรณ์
     4. สัททัตถเภทจินตา ผลงานของพระสัทธัมมสิริ แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 แสดงประเภทแห่งศัพท์และประเภทแห่งเนื้อความเป็นคาถาล้วน
     5. สัททัตถเภทจินตาทีปนี หรือ สัททัตถมหาฏีกา ผลงานของพระอภัย น่าจะแต่งหลังจากสัททัตถเภทจินตาไม่นาน


     6. สัททัตถเภทจินตาฏีกา ขยายความสัททัตถเภทจินตา ไม่ทราบนามผู้แต่งและสมัยที่แต่ง
     7. สัททัตถเภทจินตานิสสัย ขยายความสัททัตถเภทจินตา ไม่ทราบนามผู้แต่งและสมัยที่แต่ง
     8. ลิงคัตถวิวรณ์ ผลงานของพระสุภูตจันทนะ แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 อธิบายความหมายของศัพท์ต่างๆ
     9. ลิงคัตถวิวรณัปปกาสกะ ผลงานของพระญาณสาคร น่าจะแต่งหลังการแต่งลิงคัตถวิวรณ์ไม่นาน ถือเป็นงานร่วมสมัยกันได้
     10. ลิงคัตถวิวรณฏีกา ผลงานของพระอุตตมะ เป็นงานวิเคราะห์ขยายความลิงคัตถวิวรณ์อีกเรื่องหนึ่ง น่าจะแต่งในช่วงเวลาเดียวกันกับลิงคัตถวิวรณัปปกาสกะ คือ อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19

     11. ลิงคัตถวิวรณวินิจฉัย ไม่ทราบนามผู้แต่ง อธิบายคำและความที่เข้าใจยากในลิงคัตถวิวรณ์
     12. พาลาวตารฏีกา ผลงานของพระอุตตมะผู้แต่งลิงคัตถวิวรณฏีกาด้วย เป็นผลงานอธิบายขยายความคัมภีร์พาลาวตารของพระวาจิสสระแห่งลังกา
     13. วาจวาจก หรือ วัจจวาจก โบท (Bode) กล่าวว่าพระธัมมทัสสีเป็นผู้แต่ง แต่หนังสือ สัททา-แง ฉบับพม่ากล่าวว่า พระเตชวันตเถระเป็นผู้แต่ง ประมาณว่าแต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 เป็นไวยากรณ์ขนาดเล็ก ประพันธ์เป็นคาถา จำนวน 59 คาถา
     14. สัททพินทุ ผลงานของพระเจ้าโจสวา หรือ จาสะวา (ขึ้นครองราชย์เมื่อประมาณ พ.ศ. 1777) เป็นไวยากรณ์ขนาดเล็ก ประพันธ์เป็นคาถาจำนวน 16 คาถา จำแนกเป็นสนธิ 3 คาถา นาม 4 คาถา การก 3 คาถา สมาส 2 คาถา ตัทธิต 1 คาถา อาขยาต 2 คาถา กิต 1 คาถา
    15. สัททพินทุวินิจฉัย ผลงานของพระสิริสัทธัมมกิตติ-มหาผุสสเทวะ เป็นฎีกาขยายความสัททพินทุ


    16. ลีนัตถวิโสธนี ผลงานของพระญาณวิลาส อธิบายขยายความสัททพินทุ
    17. ปรมัตถพินทุ ผลงานไวยากรณ์บาลีอีกเรื่องหนึ่งของพระเจ้าโจสะวา หรือจาสะวา
    18. วิภัตยัตถะ ผลงานของพระราชธิดาของพระเจ้าโจสะวา หรือ จาสะวา แสดงเนื้อความแห่งวิภัตตินามว่า ปฐมาวิภัตติมีเนื้อความ 11 อย่าง ทุติยาวิภัตติมีเนื้อความ 10 อย่าง ตติยาวิภัตติมีเนื้อความ 16 อย่าง จตุตถีวิภัตติมีเนื้อความ 14 อย่าง ปัญจมีวิภัตติมีเนื้อความ 14 อย่าง ฉัฏฐีวิภัตติมีเนื้อความ 11 อย่าง สัตตมีวิภัตติมีเนื้อความ 11 อย่าง
    19. ตันเบียนฏีกา หรือสันเบียนฏีกา คำว่าตันเบียน หรือ สันเบียน เป็นชื่อบรรดาศักดิ์ที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่ข้าราชการสรรพสามิต หรือข้าราชการศุลกากรตันเบียนฏีกา หรือ สันเบียนฏีกา เป็นฎีกาอธิบายขยายความคัมภีร์นยาส ข้าราชการสรรพสามิตเป็น ผู้เป็นพระราชบุตรเขยของพระเจ้าโจสะวา หรือ จาสะวา เป็นผู้แต่ง
    20. มุขมัตตสาระ ผลงานของพระสาคร หรือพระคุณสาร แต่งในสมัยพระเจ้าโจสะวาหรือ จาสะวา

    21. มุขมัตตสารฏีกา ผลงานอีกเรื่องหนึ่งของพระสาคร หรือพระคุณสาคร อธิบายขยายความคัมภีร์มุขมัตตสาระซึ่งท่านแต่งเอง
    22. วิภัตตยัตถะ ชื่อเหมือนกับวิภัตตยัตถะซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของพระราชธิดาของพระเจ้าโจสะวา หรือ จาสะวา แต่ฉบับนี้เป็นผลงานของพระสัทธัมมญาณเถระ แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ท่านได้แปลคัมภีร์กาตันตระหรือ กลาป อันเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์สันสกฤตซึ่งมีอิทธิพลต่อคัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์เป็นภาษาบาลีด้วย
    23. สัทธัมมนาสินี ผลงานของพระสิริธัมมวิลาส แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19
    24. สัททสารัตถชาลินี ผลงานของพระนาคิตะ ผู้ซึ่งมีฉายาว่า ขัณฑกขิปะ อยู่ในสมัยของพระเจ้ากิตติสีหสูระ (ขึ้นครองราชย์ พ.ศ.1855) ประพันธ์เป็นคาถา 516 คาถา กล่าวแสดงเรื่องสนธิจนถึงเรื่องกิต มีสาระพิเศษ 2 กัณฑ์จัดไว้ในตอนต้น คือ สัททสารปกิณณกกัณฑ์ และอัตถสารปกิณณกกัณฑ์
    25. สัททสารัตถชาลินีฏีกา ผลงานของพระเวปุลลพุทธิ ท่านผู้นี้แต่งคัมภีร์วุตโตทัยฎีกาด้วย

    (เล่มที่ ๒๖ ถึง ๕๒ ขออนุญาตไม่แสดง)

(ยังมีต่อครับ)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ประวัติคัมภีร์กัจจายนะ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2011, 12:47:57 pm »
0
ภาพประกอบจาก http://www.oknation.net/

   2.6.3 คัมภีร์ไวยากรณ์บาลีสายกัจจายนะที่แต่งในไทย
     ในประเทศไทยได้รับคัมภีร์กัจจายนะเป็นคัมภีร์หลักในการศึกษาไวยากรณ์บาลีมานาน ถ้าพิจารณาจากบานแผนกของ เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งแสดงรายชื่อคัมภีร์บาลีจำนวนมากซึ่งพระมหาธรรมราชาลิไททรงใช้ศึกษาในการพระราชนิพนธ์ผลงานที่ทรงคุณค่านี้ เมื่อพ.ศ.1888 แล้ว ก็กล่าวว่า
     คัมภีร์กัจจายนะซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปสู่ความเข้าใจคัมภีร์บาลีอื่นๆ นั้น น่าจะได้มีการศึกษากันแล้วแต่สมัยสุโขทัย หรือแม้ในสมัยหริภุญชัยก่อนสมัยสุโขทัยด้วยคัมภีร์ไวยากรณ์สายกัจจายนะ ที่เรียบเรียงและแต่งในประเทศไทยเท่าที่หา

   หลักฐานได้มี 6 เรื่อง คือ
     1. มูลกัจจายนํ คัมภีร์นี้เป็นคัมภีร์หลักในการศึกษาไวยากรณ์บาลีในประเทศไทยมิใช่เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นใหม่ เพียงแต่นำคัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์มาจัดลำดับเนื้อหาใหม่ตามหนังสือพระมูลกัจจายสูตร์ จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2457 พบว่ามีความแตกต่างจากกัจจายนไวยากรณ์เพียงการนำเอาสาระส่วนการกกัปปะ
     ซึ่งคัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์จัดไว้หลังนามกัปปะไปไว้ตอนสุดท้ายหลังอุณาทิกัปปะหลวงเทพดรุณานุศิษฏ์ (ทวี ธรมธัช) อธิบายความแตกต่างระหว่างคัมภีร์มูลกัจจายน์ที่เป็นตำราศึกษาในประเทศไทยกับคัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์ว่า

     “มติกัจจายนะท่านเรียงการกไว้ต่อนาม คือ สนธิ นาม การก สมาส และอื่นๆ แม้มติสัททนีติ และรูปสิทธิก็เรียงไว้ต่อนามเหมือนกัน ท่านอาจเห็นว่าเมื่อได้เรียนนามแล้ว ควรเรียนประกอบวิภัตตินามและเข้าประโยคให้ถูกต้องตามวิธีการกเลย ส่วนมติมูลกัจจายน์ท่านย้ายเอาการกไปไว้สุดท้าย เพราะการเรียนในเมืองไทยเป็นการเรียนตามคัมภีร์ซึ่งมีอยู่แล้วเป็นพื้นทั่วไป ยังไม่ได้เรียนแต่ง เพราะฉะนั้นมติไทยโบราณจึงได้ย้ายการกไปไว้สุดท้าย อาจเห็นว่าเรียนไม่ถึงการกก็แปลหนังสือออก”

     2. มูลกัจจายนอัตถโยชนา ผลงานของพระญาณกิตติเถระ แต่งที่เชียงใหม่ ในช่วงพ.ศ. 2046-2047 เป็นคัมภีร์อธิบายความหมายของคำและความในคัมภีร์มูลกัจจายน์

    3. สัททพินทุอภินวฏีกา ผลงานของพระสัทธัมมกิตติมหาผุสสเทวเถระ แต่งในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ระยะสมัยเดียวกับการแต่งมูลกัจจายนอัตถโยชนาของพระญาณกิตติสัททพินทุอภินวฏีกา เป็นงานฎีกาอธิบายคำและความในคัมภีร์ภีร์สัททพินทุ พระราชนิพนธ์ของพระเจ้าโจสะวา หรือ จาสะวา แห่งพม่าในพุทธศตวรรษที่ 18

    4. คันถาภรณฏีกา ผลงานของพระสุวัณณรังสีเถระ แต่งที่เชียงใหม่ ในช่วงประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นฎีกาอธิบายคำและความในคัมภีร์คันถาภรณะ ซึ่งพระอริยวงส์แต่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ที่เมืองอังวะประเทศพม่า

    5. สัททัตถเภทจินตาปทักกมโยชนา ผลงานของพระธัมมเสนาบดี แต่งที่เชียงใหม่ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 22 อธิบายขยายความคัมภีร์สัททัตถเภทจินตา ซึ่งพระสัทธัมมสิริแต่งที่ประเทศพม่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19

    6. มูลกัจจายนคัณฐี ผลงานของพระเทพกวี แต่งที่อยุธยา ตอนท้ายของคัมภีร์ท่านได้เล่าว่า ท่านได้ศึกษาในสำนักพระมหาคง พระมหาถิล และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดพุทไธสวรรย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์นี้เป็นอาจารย์ของพระเทพราชาผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาระหว่างพ.ศ. 2231-2246
 
    มูลกัจจายนคัณฐีนี้ อธิบายแก้เนื้อความในคัมภีร์มูลกัจจายน์อย่างสั้นๆในประเทศไทย คัมภีร์กัจจายนะแพร่หลายมากพระภิกษุที่ศึกษาภาษาบาลีต่างศึกษาคัมภีร์กัจจายนะทั้งสิ้น คัมภีร์กัจจายนะที่นิยมใช้ในประเทศไทยนี้เรียกว่ามูลกัจจายนะ ซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยามีนักปราชญ์ทางภาษาบาลีคือ พระมหาเทพกวีได้แต่งมูลกัจจายนคัณฐี

    ดังนั้นอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าคัมภีร์กัจจายนะนั้นเป็นผลงานของนักปราชญ์ทางภาษาบาลีซึ่งอาจเป็นพระในกลุ่มหรือสำนักที่สืบทอดจากพระมหากัจจานะหรือกัจจายนะในสมัยพุทธกาล โดยไวยากรณ์กลุ่มนี้ถือเป็นไวยากรณ์ที่เก่าแก่ที่สุดโดยมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 6-7

    ไวยากรณ์กัจจายนะแพร่หลายมากทั้งในอินเดีย ลังกา พม่า และประเทศไทย ในส่วนของประเทศไทยนั้น พระภิกษุสงฆ์มีการศึกษาคัมภีร์กัจจายนะมานานหลายร้อยปีก่อนที่จะเปลี่ยนไปศึกษาไวยากรณ์บาลีที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปีพ.ศ. 2435 ไวยากรณ์บาลีในระบบกัจจายนะจึงหมดความนิยมลงในที่สุด


ที่มา หนังสือ "ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของคัมภีร์ไวยากรณ์บาลี"


    ผมแนบไฟล์หนังสือ"ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของคัมภีร์ไวยากรณ์บาลี" มาให้ดาวน์โหลดครับ
    :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

malee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 52
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2011, 01:53:13 pm »
0
อนุโมทนา คะ ยอดเยี่ยมกับข้อมูลของคุณ nathaponson
แต่ส่วนตัวอ่านแล้ว ก็ยังไม่ทราบ ความพิศดาร หรือสิ่งที่น่าสนใจจากคัมภีร์ นี้ คะ

  :08: :88: :c017: :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 11:31:45 am »
0
อนุโมทนา ด้วยกับการหาข้อมูล เกี่ยวกับคัมภีร์ มาเสริมกันจนได้ทราบ ภาพรวม ของคัมภีร์

 :25:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2016, 10:24:44 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: มิถุนายน 24, 2016, 07:18:44 pm »
0
 :25: st11 st12 like1
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2016, 11:00:56 am »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2016, 09:50:33 am »
0
อันนี้เป็น ฉบับ โยขนา กัจจายนะสูตรนะ เป็นแบบเรียน บาลี ซึ่งหลายท่านคิดว่า คือ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ต้องขอบอกว่า ไม่ใช่ นะ เมื่อก่อนฉันก็เข้าใจอย่างนั้น

   ดังนั้น มูลกัจจายน์ ที่เขารู้จักกันในขณะนี้ คือ โยชนา มูลกัจจายนะ ซึ่งเป็นเรียนบาลี เกิดขึ้นในยุคหลังไม่ได้เกิดขึ้นในยุคพระพุทธเจ้า เพราะว่ายุคพระพุทธเจ้า คัมภีร์เกิดขึ้นหลังจากมีพระไตรปิฏก และ ต้องการเผยแผ่ พระไตรปิฏก กลุ่มกัจจายนะ จึงได้รวบรวมวิธีการอ่าน เขียน พูด และ แปล ข้อความเป็น โยชนา มูลกัจจายนะ ดังที่ปรากฏสืบทอดมาถึงยุคปัจจุบัน

   ;)
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2016, 12:13:35 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มกราคม 07, 2021, 01:36:33 pm »
0
สาธุ สาธุ สาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

popdham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มกราคม 13, 2021, 07:44:11 am »
0
ละเอียดดีในข้อมูล แต่เคยฟังว่า พอจ อธิบายไว้ 16 สาย แต่หาข้อความไม่เจอครับ

 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: กันยายน 19, 2023, 04:51:54 pm »
0
มูลกัมมัฏฐาน​ ฉะบับโบราณสำนักวัดราชาธิวาส
ต้นฉะบับเป็นหนังสือลาน(ใบลาน)​เก่าแก่​ ถึงบัดนี้​ เป็นเวลา​ 362​ ปี​
ดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ลิ้ง
https://drive.google.com/.../1GLjqmO0ZWQLrjJhUcuyVi.../view
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2023, 04:54:55 pm โดย ปัญญสโก ภิกขุ »
บันทึกการเข้า