ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิตก วิจาร  (อ่าน 2503 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
วิตก วิจาร
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2013, 06:29:35 pm »
0
       

                  วิตก-วิจาร




๑. วิตกเจตสิก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
กล่าวอย่างธรรมดาสามัญ ก็คือการคิด การนึกถึงอารมณ์
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ
มีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อยๆ เป็นกิจ
มีจิตที่ทรงอยู่ในอารมณ์ เป็นผล
มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์) เป็นเหตุใกล้


วิตกเจตสิก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์นี้ มีความหมายใกล้เคียงกับเจตนาเจตสิก
ความตั้งใจในอารมณ์ และมนสิการ เจตสิก ความใส่ใจในอารมณ์
เพื่อให้เกิดความแตกต่างกัน จึงมีอุปมาด้วยเรือแข่งว่า

เจตนาเจตสิก อุปมาดังคนพายหัว ต้องคว้าธงให้ได้
อันหมายถึงความสำเร็จ คือชัยชนะ
มนสิการเจตสิก อุปมาดังคนถือท้าย ต้องคัดวาดเรือให้ตรงไปยังธงอันเป็นหลักชัย
วิตกเจตสิก อุปมาดังคนพายกลางลำ มุ่งหน้าจ้ำพายไปแต่อย่างเดียว




วิตกเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ยกจิตขึ้นสู่ความคิดนึก หรือตรึกไปในเรื่องราวต่าง ๆ
เป็นเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วบ้าง เรื่องราวที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เช่น ไปดูภาพยนตร์
เรื่องที่สนุกสนานแล้ว นำมาเล่าสู่กันฟัง ผู้เล่าก็ยกจิตเล่าไปตาม เรื่องราว ผู้ฟังก็ยกจิต
ฟังตามเรื่องราวที่เล่า ทำให้เกิดความสนุก สนานไปด้วยไม่ง่วงเหงาหาวนอน

อุปมาเหมือนกับบุรุษไปรษณีย์ ที่นำจดหมายเรื่องโน้นเรื่องนี้ มาส่งทำให้จิต
ได้นึกคิดต่อ วิตกเจตสิก นี้เมื่อยกจิต ขึ้นสู่เรื่องราวบ่อย ๆ จะไม่เกิดอาการง่วง
คนที่นอนไม่หลับก็คือคนที่หยุดคิดไม่ได้ จิตจึงไม่ง่วงไม่หลับ ถ้าจะให้หลับ
ก็คือเลิกคิด หยุดคิดให้เป็นแล้ว จะหลับง่ายตามตั้งใจ






๒. วิจารเจตสิก คือ การประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์
กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็ว่า คิดบ่อยๆ นั่นเอง
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

มีการพิจารณาอารมณ์บ่อยๆ เป็นลักษณะ
มีการทำให้สหชาตธรรมประกอบในอารมณ์ เป็นกิจ
มีการตกแต่งจิตให้อยู่ในอารมณ์ เป็นผล
มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้


วิจารเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ประคับประคองจิต ไว้ในเรื่องราวหรืออารมณ์ต่างๆ
ตามที่ต้องการมิให้ไปที่อื่น การทำงานของวิตกเจตสิก และวิจารเจตสิกนี้
ใกล้ชิดกันมาก เหมือนกับนกที่บินถลาอยู่กลางอากาศ เมื่อกระพือปีกแล้ว
จะร่อนถลาไป วิตกเจตสิกเหมือนกับ การกระพือปีกของนก วิจารเจตสิกเหมือนกับ
การร่อนถลาไปของนก ซึ่งจะเห็นว่าการร่อนถลาไปของนก คือวิจารเจตสิกนั้น
มีความสุขุมกว่าการกระพือปีก คือวิตกเจตสิก ทั้งสองนี้จะทำงานร่วมกันเสมอ
สำหรับบุคคลที่ยังไม่ถึงฌาน ถ้าเป็นจิตของผู้ถึงฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒ แล้ว
เจตสิกทั้งสองนี้ จะแยกออกจากกัน นอกจากนี้ วิจารเจตสิก
ยังเป็นปรปักษธรรมกับวิจิกิจฉาเจตสิกที่อยู่ ในนิวรณธรรม





(หมายเหตุ)
ฌานังคะ หรือ องค์ฌาน มี ๗ ประการ คือ
๑. วิตก องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก
ที่ในกามจิต ๔๔ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) ปฐมฌานจิต ๑๑ รวม ๕๕
๒. วิจาร องค์ธรรมได้แก่ วิจารเจตสิก
ที่ในกามจิต ๔๔ (เว้นทวิปัญจ วิญญาณ ๑๐) ปฐมฌานจิต ๑๑
ทุติยฌาน ๑๑ รวม ๖๖




อ้างอิง

http://www.buddhism-...ction04A_03.htm

http://aphidham.mcu.ac.th/ (ปริเฉท 1, 2 , 7)


ขอขอบคุณที่มาจาก http://larndham.org/index.php?/topic/16622-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ