ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุใด.? การแผ่เมตตาให้คนที่เราโกรธเกลียด จึงไม่ได้ผล.!  (อ่าน 1588 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



เหตุใด.? การแผ่เมตตาให้คนที่เราโกรธเกลียด จึงไม่ได้ผล.!

ท่าน ว. มีคำตอบมาให้ว่า ทำไม ” การแผ่เมตตา ” ไม่ได้ผลสักที

ตอนหนึ่งของบทความเรื่อง “อานิสงส์ของการเจริญสติ” ท่าน ว. วชิรเมธี กล่าวถึง การแผ่เมตตา ให้คนที่เราโกรธไว้ว่า…

“แต่ละคนล้วนมีกรรมเป็นของตัวเอง ซึ่งเรียกว่าแค่นี้ก็ทุกข์หนักหนาสาหัสมากพออยู่แล้ว แล้วทำไมจะต้องมาสร้างกรรมใหม่ต่อกันและกันอีก เราแต่ละคนแบกกรรมของตัวเองก็เรียกว่าหนักอึ้งพอแล้ว ถ้าเรายังมาโกรธกันและกัน มาสร้างกรรมสร้างเวรใหม่ก็เท่ากับว่าเรากำลังเพิ่มภาระแห่งความทุกข์ลงไปบนเป้หลังของเราให้หนักอึ้งยิ่งขึ้น เมื่อคิดได้อย่างนี้ว่าเราต่างก็มีภาระมากพอแล้วก็จะเห็นทั้งเราเห็นทั้งเขากลายเป็นเสมือนสัตว์ผู้ลอยคออยู่ในทะเลทุกข์เสมอกัน

แท้ที่จริงทั้งเราทั้งเขาเป็นบุคคลที่ควรแก่การสังเวช ควรแก่ความสงสาร ควรแก่ความเมตตาทั้งคู่ ฉะนั้นอย่ามาเสียเวลาโกรธกันอยู่อีกเลย เมตตากันไว้ดีกว่า แล้วก็แผ่เมตตาให้เขา ภาวนาให้เขามีความร่มเย็นเป็นสุข มีอายุยืนยาว มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตแข็งแรงสมบูรณ์ มีครอบครัวที่มั่นคงมีหน้าที่การงานที่สูงส่ง แล้วนึกถึงเขาแต่ในทางที่ดีงาม ถ้าทำได้อย่างนี้ ปลูกจิตที่ประกอบด้วยไมตรีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดกระแสแห่งเมตตาจิตจากเราก็จะส่งไปถึงเขาพอเขารับรู้ได้ เขาจะมีความร่มเย็นเป็นสุขแล้วจะสามารถหันมาปฏิสัมพันธ์ต่อเราด้วยความเมตตาอารีเหมือนที่เรามีต่อเขา

 :96: :96: :96: :96:

เช่นเดียวกัน เมื่อเราตักน้ำมาแล้วไปรดต้นไม้ ถ้าต้นไม้ชุ่มเย็น เชื่อไหม น้ำที่กระเซ็นถูกตัวเราก็ทำให้ร่างกายเราชุ่มเย็นเหมือนกัน นั่นแหละ คนที่รดน้ำคือเมตตาให้คนอื่น ความชุ่มเย็นนอกจากเกิดขึ้นกับเป้าหมายแห่งความเมตตาของเราแล้วก็เกิดขึ้นกับจิตใจของเราเองด้วย ต้นไม้ที่ได้รับการรดน้ำแล้วงอกงามฉันใด คนที่คอยรดน้ำให้ต้นไม้ก็มีความงอกงามเพิ่มขึ้นในจิตในใจฉันนั้น ฉะนั้นผู้รู้หรือนักปราชญ์จำนวนมากจึงมักจะบรรลุธรรมท่ามกลางแมกไม้ที่ร่มรื่นเพราะแมกไม้ที่ร่มรื่นเป็นที่มาของจิตใจที่รื่นรมย์ในชีวิตของเรา

ความเมตตาเปรียบเสมือนสายน้ำและเปรียบเสมือนผืนป่าอันร่มรื่น ถ้าเราปลูกฝังบ่มเพาะเมตตาจิตลงไปในใจของเรามากขึ้น ๆ ตัวเราเองก็จะรื่นรมย์ เหมือนกับว่าเรานั้นมีธารน้ำหลั่งไหลอยู่ภายในตัว เหมือนกับตัวเราเองนั้นเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ตัวเราเองก็มีความชุ่มเย็นอยู่ภายใน ใครมาก็พลอยชุ่มเย็นตามไปด้วย ฉะนั้นการแผ่เมตตาให้คนที่เราโกรธนั้น อย่าไปแผ่ตอนที่เราโกรธ แต่ควรจะฝึกให้มันเป็นวิถีชีวิตของเราทุกวัน ๆ จนกระทั่งว่าเมตตากับวิถีชีวิตของเรากลายเป็นเนื้อเดียวกัน

 st12 st12 st12 st12

ในสมัยพุทธกาล เวลาที่พระอริยสาวกเจอกัน ท่านมักจะถามกันว่า “ท่านสารีบุตรท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร” พระสารีบุตรก็จะตอบว่า “ช่วงนี้ผมอยู่ด้วยเมตตาพรหมวิหาร”“ช่วงนี้ผมอยู่ด้วยสุญญตาพรหมวิหาร” หรือ“ช่วงนี้ผมอยู่ด้วยกรุณาพรหมวิหาร”

คำว่า “วิหาร” แปลว่า คุณธรรมประจำจิตประจำใจ เราทุกคนควรจะฝึกจิตฝึกใจของเราให้มีเมตตาเป็นเรือนใจเอาไว้เป็นพื้นฐานถ้าเรามีเมตตาเป็นเรือนใจเป็นพื้นฐานอยู่ตลอดเวลา ถึงเวลาโกรธขึ้นมา เราไม่ต้องภาวนามากมาย แค่กลับมาแผ่เมตตาในจิตในใจให้ตัวเอง แล้วก็ให้คนที่เขาทำให้เราโกรธ แค่นั้นเอง แม่น้ำแห่งเมตตาก็จะแสดงปาฏิหาริย์แห่งความชุ่มเย็นให้ปรากฏ

 :25: :25: :25: :25:

การที่คนจำนวนมากแผ่เมตตาแล้วไม่ได้ผล เพราะเขามัวแต่จะแผ่เมตตา แต่ไม่มีเมตตาที่จะนำไปแผ่ เห็นไหม ก่อนแผ่เมตตาจะต้องสร้างเมตตาจิตขึ้นในจิตในใจของตัวเองจนกระทั่งว่าให้ผลเป็นความชุ่มเย็นในจิตในใจของตัวเองก่อน แล้วจากนั้นจึงค่อยแผ่ออกไปกระแสแห่งเมตตาก็จะค่อย ๆ เลื่อนไหลไปถึงคนที่เป็นเป้าหมายที่เราแผ่เมตตาให้เขา คนจำนวนมากที่แผ่เมตตาแล้วไม่ได้ผล เพราะเขาแผ่เมตตาแต่ปาก แต่ใจของเขานั้นยังเต็มไปด้วยความโกรธอยู่เหมือนเดิม ฉะนั้นรากฐานของการแผ่เมตตาที่แท้จริงอยู่ที่ใจ ไม่ใช่ที่ปาก

ส่วนถ้อยคำสำหรับแผ่เมตตานั้น ไม่สำคัญหรอกว่าจะเป็นภาษาบาลีหรือภาษาไทยขอเพียงเรานึกแผ่ความปรารถนาดีออกไปจากใจเราอย่างแท้จริง พลังของจิตก็จะกระทบจิตที่เป็นเป้าหมายได้โดยตรง อย่ากังวลต่อถ้อยคำแต่จงกังวลว่า เวลาที่เราแผ่ความปรารถนาดีไปให้ใคร เรามีความจริงใจอยู่ในนั้นหรือเปล่า ถ้าเรามีความจริงใจที่ปรารถนาจะให้เขาอยู่ดีมีความสุข แม้ไม่ต้องท่องออกมาเป็นถ้อยคำแต่ใช้เพียงกระแสแห่งจิตที่คิดถึงเขาในทางกุศลแค่นั้นการแผ่เมตตาก็สำเร็จเหมือนกัน”



บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอลัมน์ SPIRITUAL JOURNEY นิตยสาร Secret เขียนโดย ท่าน ว. วชิรเมธี
http://www.goodlifeupdate.com/30503/healthy-mind/metta-spiritual/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
st12 st12 st12

ผมขออนุญาตแสดงความเห็นในแนวทางแผ่เมตตาให้ตนเองครับ ผมยังแค่ปุถุชนอยู่ไม่ใช่ว่าทำได้ตลอดขาดสิ้น แต่เพียรทำสะสมเหตุเมตตาให้มากตามสติกำลัง ด้วยหมายในผลว่าเมื่อเหตุมันเต็มดีแล้ว จักเป็นผู้ไม่มักโกรธ แต่จักเป็นผู้มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อตนเองและผู้อื่น
(หากท่านใดที่ถึงสมาธิถึงฌาณจะรู้ดีว่าความไม่ติดใจข้องแวะสิ่งใดมีใจเอื้อเฟื้ออยู่ทุกเมื่อ มันมีความเบาเย็นใจ ผ่องใสเป็นสุขอย่างไร)

ดังนั้นคนอย่างเราๆก็คงทำเมตตาตนเองและผู้อื่นโดยเริ่มจากความคิดในกุศลนำพาใจให้น้อมไปดำรงมั่นในความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน เช่น

- โลกมีความเป็นไปของมันโดยธรรมชาติ ล้วนดำรงด้วยขันธ์มีความรู้สึกนึก มีความแปรปรวน มีความเอนเอียงไปเป็นตามธรรมชาติของมัน มีเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เราได้พบเจอในสิ่งที่รักที่ชังแต่ทุกสิ่งล้วนเป็นไปของมัน จะพึงหมายให้สิ่งอันเป็นที่รักที่จำเริญใจคงอยู่ ให้สิ่งที่ชังที่ไม่ชอบไม่จำเริญใจจงวินาสดับสูญไปให้ไกลตน ก็หาทำได้ไม่ เราย่อมบังคับมันไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนเหล่าใดที่เราจะพึงทำได้ เพราะมันเป็นไปโดยธรรมชาติของมันอย่างนั้น จะเอาความความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใดๆที่ไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวตนแล้วมันจะหาสุขอันใดได้เล่า การเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นมันก็มีแต่ทุกข์อยู่ร่ำไป เลิกเอาความสุขของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นหรือสิ่งไรๆเสียจักไม่ทุกข์
- พึงรู้ว่าธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตความรู้สึกนึกคิดจิตใจมันเป็นแบบนั้น มีความเป็นไปอย่างนั้นของมันอยู่แล้ว แม้แต่ตัวเราเอง เลิกติดใจข้องแวะสิ่งเหล่านั้นไปเสียติดข้องใจไรๆไปก็หาความสุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์
- ความติดใจข้องแวะสิ่งใดย่อมนำพาไปสู่ความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความเบียเบียนทำให้เร่าร้อน ความเร่าร้อนเป็นทุกข์
- ความไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกย่อมไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความไม่เบียดเบียนทำให้เย็นกายสบายใจ ความเย็นใจเป็นสุข

ด้วยเหตุดังนี้ๆ..เราทำความเมตตาตนเองโดยพึงทำไว้ในใจว่า

         - เราจักทำจิตให้ผ่องใสดุจดวงประทีป ละเว้นจากความเบียดเบียนทั้งปวง ยังจิตให้สงบรำงับจากบาปอกุศลทั้งปวงอยู่ ยังความเบาสบายเย็นใจ สุขอยู่ทุกเมื่อ
(ทำจิตน้อมระลึกถึงความไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆในโลก ระลึกถึงดวงแก้วอันสว่างไสวมีความผ่องใสเป็นสุขปราศจากความหม่นมัวหมองคือกิเลสความลุ่มหลงทั้งรักทั้งชังทั้งปวง)
         - เราจักเป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร คือ ไม่ผูกใจเจ็บ ผูกโกรธแค้นเคืองใคร จักสละซึ่งความโกรธเคืองทั้งปวง มีปกติจิตผ่องใสเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเป็นที่สบายกายใจ
(พีงระลึกว่าเราทั้งหลายในโลกล้วนเป็นเพียงสิ่งที่มีชีวิตจิตใจมีสังขารอันเกิดแต่วิบากกรรมให้จิตจรมาอาศัยอยู่ ดังนั้นก็ล้วนมีทำถูกทำผิด พลั้งเผลอมีรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนกันหมด จะเอาอะไรกับสิ่งมีชีวิตที่มีความคิดความรู้สึกปรุงแต่งไปต่างๆนาๆตามอกุศลได้เล่า แม้เราก็มีอยู่ ดังนี้พึงละความติดข้องใจไรๆต่อใครไปเสีย ผูกโกรธผูกเวรไปก็ทำให้ใจเราเศร้าหมองเปล่าๆ ทำใจเราให้เว้นด้วยสละจากความโกรธแค้นพยาบาทเบียดเบียนต่อใครไปเสียเป็นความเอื้อเฟื้อสงเคราะห์ให้เขาเหล่านั้นเป็นอภัยทาน เราก็ได้เมตตาบารมี ทานบารมี ดังนั้นพึงตั้งมั่นเอาความไม่มีโกรธพยาบาทผูกแค้นอาฆาตมาสู่ใจเรา ทำใจให้ผ่องใส)
         - เราจักเป็นผู้ไม่ผูกใจเจ็บแค้นใคร จักทำใจให้ผ่องใสเว้นจากความพยาบาทหมายทำร้ายหรือต้องการให้ใครฉิบหาย จักสละซึ่งความผูกแค้นเคืองอาฆาตทั้งปวง มีปกติจิตผ่องใสเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเป็นที่สบายกายใจ
(พึงระลึกว่าเราทั้งหลายในโลกล้วนเป็นเพียงสิ่งที่มีชีวิตจิตใจมีสังขารอันเกิดแต่วิบากกรรมให้จิตจรมาอาศัยอยู่ ดังนั้นก็ล้วนมีทำถูกทำผิด พลั้งเผลอมีรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนกันหมด จะเอาอะไรกับสิ่งมีชีวิตที่มีความคิดความรู้สึกปรุงแต่งไปต่างๆนาๆตามอกุศลได้เล่า แม้เราก็มีอยู่ ดังนี้พึงละความติดข้องใจไรๆต่อใครไปเสีย ผูกพยาบาทเบียดเบียนต่อใครไปก็ทำให้ใจเราเศร้าหมองเปล่าๆ ทำใจเราให้เว้นด้วยสละจากความโกรธแค้นพยาบาทเบียดเบียนต่อใครไปเสียเป็นความเอื้อเฟื้อสงเคราะห์ให้เขาเหล่านั้นเป็นอภัยทาน เราก็ได้เมตตาบารมี ทานบารมี ดังนั้นพึงตั้งมั่นเอาความไม่มีโกรธพยาบาทผูกแค้นอาฆาตมาสู่ใจเรา ทำใจให้ผ่องใส)
         - เราทำความตั้งมั่นเว้นแล้วซึ่งความเบียดเบียนมีจิตเป็นศีลด้วยความเอื้อเฟื้อสละให้อยู่ดังนี้ ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์เร่าร้อนกายและใจ ไม่มีโรค ไม่มีภัย พ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองกายใจทั้งปวงนั้นเทอญ
(ระลึกถึง ๓ ข้อข้างต้นนั้น นั่นแหละคือมีใจเป็นศีล ศีล คือ เจตนาเครื่องกุศล เจตนาละเว้นจากอกุศลกรรมความเบียดเบียนทั้งปวง มีใจเอื้อเฟื้อน้อมไปในการสละเกื้อกูล ยินดีที่ผู้อื่นสำเร็จประโยชน์สุข ทำข้อนี้ไม่ใช่ได้แค่เมตตาเท่านั้น เรายังได้สีลานุสสติเพราะใจเป็นศีล ได้จาคานุสสติเพราะใจเราทำอภัยทานด้วยสละความโกรธแค้นเบียดเบียนหมายจะทำเขาให้ฉิบหายนั่นเอง)
         - เราตั้งมั่นรักษากาย วาจา ใจไม่พ้นจากสมมติกิเลสเครื่องเร่าร้อนที่ล่อใจไว้อยู่ตามสติกำลัง ด้วยเหตุแห่งประการทั้งปวงนั้น ขอจงเป็นเครื่องปกปักรักษาให้เรารอดพ้นจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งปวง มีความเย็นกายสบายใจเป็นสุขอยู่ทุกที่ในกาลทุกเมื่อตราบจนถึงพระนิพพานนั้นเทอญ

    หากยังทรงจิตให้มีปกติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันไม่ได้ แนวทางนี้ก็เป็นเพียงหลักการสะกดจิตน้อมใจไปให้เป็นอย่างนั้น แต่อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ก็เป็นการสะสมเหตุของปุถุชนอย่างเราๆที่จะพึงพอทำได้ เพื่อให้มีสันดานแห่งพระอริยะในภายหน้าสืบไปครับ

    เมื่อเรามีความเย็นใจผ่องใสเป้นที่สบายแล้ว พึงเห็นว่าไม่ว่าเขา หรือเรา หรือใครๆ ก็ล้วนเป็นผู้ดำรงขันธ์อยู่ มีกายรูปร่างหน้าตา วาจาคำพูดกล่าว วจีเหล่าใด ใจอันเป็นอุปนิสัยจริตสันดาน ซึ่งต่างเกิดขึ้นมาแต่วิบากกรรมที่ติดตามมาแต่ปางก่อนทั้งสิ้น ต่างล่วงพ้นทุกข์ในอีกที่หนึ่งภพหนึ่งจรไปอีกที่หนึ่งภพหนึ่ง จรจากนรกบ้าง จรจากสวรรค์บ้าง จึงลงมาสู่ครรภ์ของมารดาในปัจจุบันชาตินี้ด้วยกันทั้งสิ้น ด้วยเหตุดังนี้พระศาสดาจึงสอนให้มี ทาน ศีล พรหมวิหาร๔ สัมมัปปธาน๔ สติ สัมปะชัญญะ สมาธิ ปัญญาเพื่อเป็นกุศลวิบากกรรมให้ติดตามเราไปทุกภพทุกชาติตราบจนถึงพระนิพพาน
    เมื่อยังปุถุชนอยู่เหมือนกันก็ต้องมีที่รักที่ชังมีความอคติลำเอียงเป็นธรรมดาไม่ว่าเขาหรือเรา ดังนี้แล้วจึงไม่ควรติดใจข้องแวะสิ่งใดๆต่อใครทั้งสิ้น เพราะต่างก็เป็นเพียงขันธ์ เป็นสังขารในโลก เป็นสิ่งที่ชีวิตที่เสมอด้วยกันหมด เพราะต่างเกิดขึ้นเพราะกรรมทั้งสิ้น
    เมื่อเราสงบเราเป็นสุบเราพ้นจากทุกข์ความเบียดเบียนเร่าร้อนแล้ว พึงเห็นว่าเขานั้นแลยังทุกข์อยู่ควรที่เราจะเอื้อเฟื้อสงเคราะห์เกื้อกูลให้เขาพ้นจากความเร่าร้อนที่มีอยู่นั้น อย่างที่เราเป็นสุขพ้นจากทุกข์เร่าร้อนอยู่ในตอนนี้ เมื่อต่างฝ่ายต่างเป็นปกติสุขไม่เร่าร้อน ย่อมไม่เบียดเบียนกัน เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว ก็แผ่เอาเมตตาน้อมไปในความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลความสุขสำเร็จปราศจากกิเลสความเร่าร้อนนั้นไปให้เขาพร้อมบทสวดแผ่เมตตานั้นๆไป


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 03, 2016, 09:50:19 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ สาธุ

ท่านเเอดแมก..เข้ามาอัพเดด

บ้างนะครับ

สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา