ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฤกษ์ดีของพระพุทธเจ้า (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)  (อ่าน 2626 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ฤกษ์ดีของพระพุทธเจ้า

ในสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวัน ใกล้กรุงสาวัตถีในโกศลรัฐได้มีบุคคลผู้หนึ่งในชนบทสู่ขอธิดาของตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถีให้แก่บุตรของตนตกลงกันกำหนดวันประกอบพิธีมงคลเรียบร้อยแล้วต่อมาเขาได้ถามอาชีวก (นักบวชจำพวกหนึ่ง) ผู้เป็นที่นับถือของตนว่าวันนั้นฤกษ์ดีหรือไม่

อาชีวกโกรธว่าไม่ถามตนเสียก่อน กำหนดวันกันแล้วมาถามภายหลังจึงกล่าวว่า วันนั้นฤกษ์ไม่ดี อย่าทำมงคล ถ้าทำจะเกิดมหาวินาศพวกเขาก็พากันเชื่อ เมื่อถึงวันนัดก็ไม่ไปเพราะกลัวจะเกิดมหาวินาศ

ส่วนทางฝ่ายหญิงซึ่งได้เตรียมการมงคลทั้งปวงไว้แล้วรออยู่ไม่เห็นฝ่ายชายมาก็พากันโกรธเพราะได้ตกลงวันกันไว้ได้ตระเตรียมสิ่งทั้งปวงสิ้นเปลืองไปเป็นอันมาก ทั้งเป็นการเสียหน้าแก่ฝ่ายหญิงจึงได้ยกธิดาให้แก่ชายในตระกูลอื่นซึ่งเป็นผู้ขอรับแทน ได้ประกอบพิธีมงคลตามที่เตรียมไว้เสร็จเรียบร้อยไปในวันนั้นเอง

ครั้นวันรุ่งขึ้น พวกฝ่ายชายที่สู่ขอไว้ก่อนจึงพากันไปก็ถูกพวกฝ่ายหญิงด่าว่าขับไล่ให้กลับ พวกฝ่ายชายก็โต้ตอบ
เกิดวิวาทกันขึ้นแต่ก็ไมไ่ด้หญิงเพราะเขายกให้คนอื่นไปแล้ว ต้องพากันกลับ ข่าวเรื่องอาชีวกนั้นทำการทำนายทายทักเป็นอันตรายแก่การมงคลปรากฏไปทั่วนครจนทราบถึงหมู่ภิกษุ

 :25: :25: :25: :25:

พระพุทธเจ้าได้ทรงทราบจากหมู่ภิกษุก็ได้ตรัสเล่าเรื่องทำนองเดียวกันที่เกิดเพราะถือฤกษ์ยามผิดๆ ในอดีตกาลแก่ภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสประทานโอวาทแปลความว่า
"ประโยชน์ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดาวทั้งหลายจะทำอะไรได้"

ตามพระพุทธโอวาทนี้แสดงว่า อันฤกษ์งามยามดีนั้น ก็คือ ประโยชน์ที่จะพึงได้ถ้าเสียประโยชน์ก็ชื่อว่า เสียฤกษ์ฉะนั้นโดยที่แท้ ประโยชน์จึงเป็นฤกษ์ของประโยชน์ มิใช่ดวงดาวที่ไหนส่วนการที่เชื่อดวงดาวไปอย่างหลงๆ จนถึงพากันเสียประโยชน์ต่างๆบางทีผู้ทำนายทายทักเองก็ถูกจับตัวไปลงโทษ นี่แหล่ะเรียกว่า ฤกษ์ไม่ดีหรือว่าฤกษ์มหาวินาศ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในที่อื่นอีก โดยความว่า
"ทำดีเวลาเช้า เป็นฤกษ์ดีเวลาเช้า ทำดีเวลากลางวัน เวลาเย็นเป็นฤกษ์ดีเวลากลางวัน เวลาเย็น" เป็นต้น

รวมความว่า ทางพระพุทธศาสนาถือว่า "ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์โดยแท้"



คัดลอกจากหนังสือ...เรื่อง วิธีการของพระพุทธเจ้า (หัวข้อ วิธีล้างบาปของพระพุทธเจ้า)
พระนิพนธ์ในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒนมหาเถระ)
พิมพ์น้อมถวายเป็นวิทยาทานโดยมหามงกุฏราชวิทยาลัย ปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ หน้า ๘๐ - ๘๑
ที่มา : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=38554
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ฤกษ์ดีของพระพุทธเจ้า (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2016, 03:36:33 pm »
0
จุดเด่นสำคัญของพระพุทธศาสนา ต้องการสอนให้คนฉลาด และรู้ทัน ต่อกิเลส ซึ่งหมายถึงการรู้ทัน ตัวเอง ไม่ใช่คนอื่น

   ธรรมบางอย่างในพระพุทธศาสนา ไม่เป็นสากล สอนกับคนหนึ่ง ได้แต่สอนอีกคนหนึ่งไม่ได้ ในประโยคเดียวกัน แบบเดียวกัน สถานการณ์เดียวกัน เนื่องเพราะว่า สติปัญญาของคนนั้น มีไม่เท่ากัน จิตวิญญาณ สะสมมาไม่เหมือนกัน พระสารีบุตร กับ พระโมคคัลลานะ เป็นเพื่อนกัน เที่ยวด้วยกัน กินด้วยกัน เรียนด้วยกัน ไปด้วยกัน แต่การบรรลุธรรมก็ใช้เวลา มากน้อยต่างกัน ยิ่งฉลาดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสำเร็จช้ามากเท่านั้น เพราะมัวแต่ทำการพิสูจน์ระมัดระวัง ศรัทธา จึงต่ำ ก็เป็นไปตามบารมี

   ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ฤกษ์ดีของพระพุทธเจ้า (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2016, 01:33:24 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ