ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระไม่ได้ฉันอาหารที่เราใส่บาตร จะได้บุญไหม.?  (อ่าน 914 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไม่ได้ฉันอาหารที่เราใส่บาตร จะได้บุญไหม.?

ถาม : ดิฉันมีข้อสงสัยค่ะ บางครั้งพระรับบิณฑบาต แล้วมีอาหารเยอะมาก ดิฉันคิดว่าพระคงฉันไม่หมดแน่ จึงสงสัยว่าหากเราใส่บาตรแล้ว พระไม่ได้ฉันอาหาร เราจะได้บุญไหมคะ

หลวงตาญาณภาวัน (พระวิชิต ธัมมชิโต) ตอบปัญหาธรรมข้อนี้ไว้ว่า

ตอบ : บางคิดว่าใส่บาตรไปแล้วพระไม่ฉันอาหารที่ตนใส่ก็คงไม่ได้บุญ กลับกัน ถ้าพระฉันก็คงได้บุญมาก จนทำให้บางคนถึงกับบอกกับพระว่า “ท่านฉันให้โยมหน่อยนะ” หรือบอกว่าอาหารของตนดีอย่างนั้น อย่างนี้ เพื่อให้พระฉันของตัวเอง

จริงๆ ก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะ ยิ่งถ้านิมนต์ไปฉันแล้วให้พระระบุชื่ออาหาร พระจะอาบัติ ก็ถือว่าน่าเห็นใจคนเหล่านั้น เพราะเขายังเข้าใจเรื่องบุญไม่ชัดเจน ความจริงแค่ตั้งใจใส่บาตรเพื่อให้ท่านได้อยู่สืบทอดพระศาสนา ศึกษา ปฏิบัติได้ตามควร เราก็ได้บุญเต็มที่แล้ว ท่าจะฉันหรือไม่ หรือจะให้ใครก็เป็นเรื่องของท่าน เราสละไปแล้วก็ถือว่าจบ

แต่บางครั้ง อาหารมีส่วนผสมแปลกๆ ก็ต้องแนะนำพระว่าทำมาจากอะำรบ้าง เพราะอาหารบางอย่าง พระก็ฉันไม่ได้ สิ่งที่พระห้ามฉันมีหลายชนิด เช่น อาหารสด อาหารดิบ เนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ อย่าง ประกอบด้วย เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อหมา เนื้อหมี เนื้องู เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว ราชสีห์

หรือหลังเวลาเพลแล้วห้ามฉันน้ำผลไม้ที่เป็นมหาผล หมายถึง ลักษณะที่ผลโตเกินกำปั้นหรือโตเกินลูกมะตูม อย่างเช่น มะพร้าว ส้มโอ แตงโม สับปะรด เป็นต้น


 ask1 ans1

ทั้งนี้พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ) กล่าวไว้ในบทความ การตักบาตร มีความสำคัญอย่างไร ว่า

การตักบาตร เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญมาก พระอาจารย์มองว่า วิถีชีวิตชาวพุทธที่เริ่มต้นวันใหม่ด้วยการให้เป็นวิถีชีวิตที่มีคุณค่ามาก เริ่มต้นชีวิตวันใหม่ด้วยการให้ เหมือนพระอาทิตย์ทอแสงขึ้นมาแล้วให้แสงสว่าง  คนไทยเป็นคนชอบให้ แต่ไม่ชอบรักษาศีล ไม่มีชนชาติใดให้ทานเก่งเท่ากับคนไทย  จนก็ให้ รวยก็ให้ ให้เป็นเรื่องใหญ่มาก การทำบุญ คือการให้ทานก ารทำบุญเหมือนเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ การทำบุญมีอยู่ 3 วิธี คือ ทาน ศีล เจริญ สมาธิภาวนา

เราทำขั้นพื้นฐานกันอยู่บันไดขั้นแรก แสดงว่าใจเราเป็นกุศล การให้เป็นเรื่องที่ดี ใจคนไทยเป็นบุญเป็นกุศลมาก ชอบให้ ทำให้เราผ่อนคลาย บางคนเครียดแล้วทำบุญ  การทำบุญเป็นวิธีคลายเครียดอย่างหนึ่ง เหมือนกับจิตตสปา คุณค่าของมนุษย์ เริ่มต้นที่รู้สึกภูมิใจ พอถึงจุดหนึ่งก็จะต่อไปอีกว่า เป็นผู้ให้ที่ทำให้ คนอื่นภูมิใจ เหมือนกับเราตักข้าวใส่บาตรพระ เราภูมิใจที่มีชีวิตสังขารทุก วันนี้เราเป็นผู้ให้ พระเป็นผู้รับ

สังเกตไหมว่า การทำบุญตักบาตรต่างจากการทำบุญอย่างอื่น เพราะเวลาที่เราให้ปกติ ผู้ให้จะสูงกว่าผู้รับ  โดยธรรมชาติของผู้รับเป็นหนี้บุญคุณของผู้ให้ ทีนี้พอเราถวายอะไรแด่พระสงฆ์  เราจะมีความรู้สึกว่าขอบคุณ ที่ท่านมารับถึงหน้าบ้าน ถ้าท่านไม่เดินผ่านบ้านเรา เราจะถวายได้อย่างไร  และเราไม่ได้เจาะจงด้วยว่าพระที่เดินมาชื่ออะไรไม่มีใครถาม



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.goodlifeupdate.com/45046/healthy-mind/130260/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระไม่ได้ฉันอาหารที่เราใส่บาตร จะได้บุญไหม.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 18, 2017, 11:10:45 pm »
0


 st12 st12 st12

ผมขออนุญาตเสริมตามความเห็นความเข้าใจส่วนตัวของผมสักนิดนะครับ

บุญบารมีเกิดตั้งแต่สละให้แล้ว แต่ถ้าหลังให้ไปติดใจข้องแวะว่าท่านจะฉันไม่ฉันของตน อันนี้บุญก็หายแล้ว

จริงๆแล้วสาเหตุหลักอีกประการที่พระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาทรงชี้นำพาพระสงฆ์สาวกหรือสมมติสงฆ์ท่านเดินบิณฑบาตร หรือรับกิจนิมนต์ ก็เพื่อโปรดญาติโยมให้ได้ทำบุญทำทานสะสมเหตุกุศลบารมีกัน แต่ชาวพุทธโดยทั่วไปจะไม่เข้าใจจุดนี้ หรือบางที่สมมติสาวกผู้ที่อาศัยผ้าเหลืองหากินก็ทำเพื่อลาภสักการะจนทำให้เสื่อม ชาวพุทธสมมติสาวกโดยทั่วไปที่ยังไม่ได้ศึกษาเรียนรู้พระธรรมของพระศาสดาจึงไม่รู้เหตุผลของการบิญฑบาตร และเห็นคุณในการทำบุญตักบาตรในข้อนี้

- ทานจะเป็นบุญได้ก้อต้องรู้จักสละให้ ให้ด้วยใจเอื้อเฟื้อประโยชน์สุขสวัสดีเกิดมีแก่ผู้รับจากสิ่งที่เราให้นั้น เมื่อให้แล้วก็ถือว่าเราขาดจากความเป็นเจ้าของในสิ่งนั้นแล้วโดยสิ้นเชิง ผู้รับเขาจะเอาไปทำยังไงมันก้อเรื่องของเขา เพราะสิ่งนั้นเราให้เขาแล้ว ผู้รับเป็นเจ้าของในสิ่งนั้นแล้วไม่ใช่เราอีกต่อไป จิตจึงจะเป็นทานได้จาคะ
- แต่หากให้แล้วมาคิดเสียใจเสียดายภายหลัง หรือให้ด้วยหวังลาภสักการะก็ไม่ได้ทานที่สำเร็จ เขาเรียกสักแต่ว่าให้เฉยๆแต่ไม่สำเร็จในทานที่บริบูรณ์ จาคะก็ไม่เกิด บุญก็ไม่ได้ใจเพราะขุ่นข้องไปกับสิ่งที่ตนให้และการให้นั้นของตน ด้วยเหตุอย่างนี้ๆเป็นต้นพระอริยะสงฆ์ท่านจึงสอนว่า...
“ละโลภได้ทาน ละเบียดเบียนได้ศีล ละหลงได้ปัญญา”

กระทู้นี้มีประโยชน์มากครับ บ่งบอกให้คฤหัสทั้งหลายฝึกทำใจให้เป็นทาน ทำไว้ในใจให้เป็น ถึงความสละโดยแท้จริง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2017, 11:18:50 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ