ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สากัจฉาธรรม : สิ่งที่เรียกว่า "ธรรมารมณ์"  (อ่าน 1755 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28437
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




สากัจฉาธรรม : สิ่งที่เรียกว่า "ธรรมารมณ์"

“ธรรมารมณ์เป็นนามธรรม จะรับรู้ธรรมารมณ์ได้ จิตต้องไปรับรู้ ใช้อะไรเป็นเครื่องมือในการรับรู้ หลักเสานั้นคืออะไร คือ มโน แต่จิตกับธรรมารมณ์อันเดียวกันมั้ย ไม่ใช่ ใจกับธรรมารมณ์อันเดียวกันมั้ย ก็ไม่ใช่ มันเหมือนกับรสอาหารที่มันอยู่ตรงนั้น จิตเราก็ไม่ได้เข้าไปรับรู้ มันก็คนละอันกัน เหมือนกับเสียงที่ผ่านไปผ่านมา เหมือนกับบางทีเราอ่านหนังสืออยู่ เราไม่ได้ไปสนใจเสียงนั้น เสียงก็ผ่านมาผ่านไป เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน จึงเป็นความเป็นอนัตตาอันหนึ่ง”

    Q : ความหมายของธรรมารมณ์
    A : จัดเป็นอายตนภายนอก เป็นหมวดธรรมเดียวกันกับรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ต่างๆที่เป็นธรรมอย่างหนึ่ง มีตั้งแต่หยาบๆเช่น ความคิดที่เป็นคำพูด ความคิดที่เป็นรูปภาพ หรือละเอียดลงไปพวกฌานสมาธิ มันกว้างขวางมากเหมือนซุปหม้อใหญ่ ธรรมารมณ์จะรับรู้ได้ก็ต้องไปผูกกับเสาคือมโน จิตจะไปรับรู้ธรรมารมณ์ได้ก็ต้องผ่านช่องทางคือมโนนี้ จิตที่ไปทำหน้าที่ในการรับรู้คือวิญญาน เรียกว่ามโนวิญญาน ดังนั้น มโนวิญญาน มโน และธรรมารมณ์ เป็นคนละอันกัน


    Q : ความหมายของคำว่า สลัดคืน โวสสัคคะ ปฏินิสสัคคะ
    A : สลัดคืนคือ โวสสัคคะ หมายความว่า สลัดกลับหลัง สลัดคืน ปล่อยละทิ้ง วางแล้ววางเลย ไม่ไปยึดถืออีก เหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสลัดคืน เรียงตามลำดับคือ เมื่อจิตมีความวิเวก จิตจะมีอารมณ์อันเดียว ทำให้สามารถเห็นตามเป็นจริงว่า สิ่งต่างๆมีเหตุมีปัจจัยเกิดขึ้น มีความเป็นอนัตตา เห็นแล้วจะมีความหน่าย ความคลายกำหนัด ก็จะปล่อยวางได้

    โวสสัคคะและปฏินิสสัคคะ มาจากรากศัพท์เดียวกัน มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้งานต่างกัน ปฏินิสสัคคะใช้ในความหมายทั่วไปพบได้บ่อย โวสสัคคะใช้เฉพาะเจาะจงลงมา ตรงจุดที่ว่าใช้กับการภาวนา


    Q : คิริมานนทสูตรเกี่ยวอย่างไรกับท่านมหากัสสปะ
    A : คิริมานนทสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าให้ท่านพระอานนท์ไปแสดงธรรมต่อท่านพระคิริมานนท์ที่กำลังป่วย การแสดงธรรม10 ข้อ ที่เป็นเรื่องของการภาวนาเรื่องของการทำจิตให้มีความปล่อยวาง วางขันธ์5 เมื่อวางขันธ์ได้ จิตใจเบาสบาย ตรงนี้อาจทำให้หายป่วยได้ ไม่ใช่ว่าเป็นคาถาที่เสกให้หายป่วยได้ คำถามที่ว่าท่านพระอานนท์ไปบอกเรื่องนี้กับท่านพระมหากัสสปะ ตรงนี้คงไม่ใช่คิริมานนทสูตร แต่เป็นเรื่องของโพชฌงค์ ที่ไปกล่าวให้คนป่วยฟังแล้วหายเช่นกัน

    “พระพุทธเจ้าใช้คำว่า ทุกข์คือโรค คืออาพาธเนี่ย เป็นทุกข์หนัก ก็จะระงับไปตามควรแก่ฐานะ”



ขอบคุณบทความจาก
http://puredhamma.com/1601a0123sa/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สากัจฉาธรรม : สิ่งที่เรียกว่า "ธรรมารมณ์"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 21, 2017, 07:52:38 pm »
0
 st12 st12 st12 thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ