ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อย่าสวด "พระมหาสมัยสูตร" ในบ้าน ให้สวดได้แต่ในวัดหรือในวัง เท่านั้น  (อ่าน 6129 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อย่าสวด "พระมหาสมัยสูตร" ในบ้าน ให้สวดได้แต่ในวัดหรือในวัง เท่านั้น

มีธรรมเนียมว่า มหาสมัยสูตรนี้ มักนิยมสวดกันในงานมงคล "ก็เพราะมหาสมัยสูตรนี้เป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา ฉะนั้น ในสถานที่ใหม่เอี่ยม เมื่อจะกล่าวมงคล ก็พึงกล่าวแต่พระสูตรนี้นั่นเทียว" (สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย)

อย่างไรก็ตาม มีเรื่องเล่าขานกันว่า ไม่ควรสดพระสูตรนี้ในบ้านเรือน เนื่องจากเทวดาทั้งหลายจะมาประชุมกันมาก บ้านเรือนมนุษย์นั้นไม่สะอาด และคับแคบ จึงไม่เหมาะกับการรับรองพระสูตรนี้ ดังมีความในสุมังคลวิลาสินี กล่าวว่า "สูตรนี้เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลายอย่างนี้ เทวดาทั้งหลายย่อมถือว่าพระสูตรนั้นเป็นของเรา ด้วยประการฉะนี้."

@@@@@@

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงเล่าไว้ในธรรมเทศนา "แสงส่องใจ ที่ระลึกวิสาขบูชา 2547" เกี่ยวกับการสวดมหาสมัยสูตรไว้ โดยเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ดังนี้ว่า

      "วันหนึ่งได้ไปกราบหลวงปู่เพิ่มที่วัดกลางบางแก้ว โดยมีศิษยานุศิษย์ญาติโยมติดตามไปด้วยหลายคน หลวงปู่เพิ่มท่านชรามากแล้ว ลักษณะท่าทางแบบเดียวกับหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่ญาติโยมพูดตรงกันว่าท่านน่ารักเหมือนกัน วันนั้นหลวงปู่เพิ่มท่านเล่าให้ฟังว่า

       หลวงปู่บุญอาจารย์ของท่านที่มรณภาพไปนานปีแล้ว เคยเล่าให้ท่านฟังว่า ท่านเป็นเพื่อนกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านทรงสั่งหลวงปู่บุญว่า อย่าสวด "พระมหาสมัยสูตร" ในบ้าน ให้สวดได้แต่ในวัดหรือในวังเท่านั้น เพราะการสวด "พระมหาสมัยสูตร" ที่ใด ที่นั้นพรหมเทพจะไปร่วมฟังมาก เพราะดังมีแสดงไว้ในพระสูตรนั้นว่าเป็นที่รักที่พึงใจ นำมาซึ่งปีติปราโมทย์แห่งจิตของเทพดา หลวงปู่เพิ่มท่านพูดเรื่องนี้ในวันนั้นหลายครั้ง จำได้ว่าไม่ต่ำกว่า 3-4 ครั้งทีเดียว


      @@@@

      เมื่อกลับจากหลวงปู่เพิ่มแล้ว ญาติโยมผู้หนึ่งจึงเล่าว่า เป็นผู้สวด "พระมหาสมัยสูตร" ในบ้านทุกวัน เมื่อหลวงปู่เพิ่มท่านเล่าถึงคำสั่งของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ไม่ได้รู้สึกว่า ตนกำลังสวดอยู่ที่บ้านตามที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านทรงห้าม
      หลวงปู่เพิ่มท่านเล่าครั้งแรก ก็รับรู้ธรรมดาว่า "พระมหาสมัยสูตร" นั้น ท่านห้ามสวดในบ้าน ไม่ได้นึกเลยว่าตนเองก็สวด "พระมหาสมัยสูตร" อยู่ในบ้านทุกวัน
     ได้ยินหลวงปู่ท่านพูดซ้ำ 4-5 ครั้ง จึงได้สติ นึกได้ว่า ตนเองก็สวดอยู่ในบ้าน พอมีสติรู้ตัว หลวงปู่ท่านก็มิได้พูดซ้ำอีก จึงได้ความมั่นใจเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ว่านี่คือผลของอำนาจจิตที่เกิดจากการปฏิบัติพระพุทธศาสนา ที่เกิดแล้วแก่หลวงปู่เพิ่มท่าน
 
     @@@@

     ท่านไม่เคยได้รับคำบอกเล่าจากญาติโยมผู้สวด "พระมหาสมัยสูตร" ในบ้าน แต่ท่านก็พูดเหมือนรู้ เพียงแต่ไม่ได้แสดงว่าท่านรู้เท่านั้น ท่านพูดไปตามธรรมดาๆ เล่าคำสั่งของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปตามธรรมดาเท่านั้น
     ด้วยเหตุผลที่ว่า การสวดพระมหาสมัยสูตร พรหมเทพพึงใจ ปีติปราโมทย์เพราะเป็นพระสูตรที่รักของพรหมเทพ การสวดในบ้านเรือน สถานที่ย่อมคับแคบเกินไปสำหรับพรหมเทพ ที่จะไปรวมกันฟังพระสูตรที่รักที่พึงใจ


@@@@@@

ที่มาของมหาสมัยสูตร

พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคทรงแสดง "ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์"  มูลเหตุที่ทรงไปประทับใกล้กับนครกบิลพัสดุ์นั้น คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถา ทีฆนิกาย ได้อธิบายไว้ว่า

เนื่องจากชาวศากยะและโกลิยะทะเลาะเบาะแว้งกันเรื่องแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณี จนถึงขั้นเตรียมยกทัพเข้าประจันบานกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรงทราบด้วยญานว่า จะเกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นกับพระญาติวงศ์ จึงทรงเสด็จไปห้ามเหตุแห่งความขัดแย้งนั้น แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาจนกระทั่งทั้ง 2 ฝ่ายละความบาดหมาง ทั้งยังบังเกิดศรัทธาถวายพระราชกุมารฝ่าย 250 องค์ รวม 500 องค์ ออกผนวช ณ ป่าใหญ่ คือป่ามหาวัน

แล้วทรงสั่งสอนอบรมจนกระทั่ง พระภิกษุราชกุมารทั้ง 500 รูปนั้นสำเร็จอรหันต์ผลทั้งหมด ระหว่างที่พระผู้มีพระภาค และอรหันต์ทั้ง 500 รูป สถิตอยู่ ณ ป่ามหาวัน บรรดาเทพยดาในป่านั้นได้ประกาศแก่เทพยดาทั้ง 10 โลกธาตุมาประชมกันครั้งใหญ่เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ จึงเรียกพระสูตรนี้ว่า "มหาสมัย แปลว่า การประชุมใหญ่"



อ้างอิง :-
- แสงส่องใจ ที่ระลึกวิสาขบูชา 2547
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 2 ภาค 2. มหาสมัยสูตร. หน้าที่ 117
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 2 ภาค 2. มหาสมัยสูตร. หน้าที่ 120
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 2 ภาค 2. มหาสมัยสูตร. หน้าที่ 73
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 2 ภาค 2. มหาสมัยสูตร. หน้าที่ 96
ขอบคุณที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/มหาสมัยสูตร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 02, 2018, 07:10:17 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ