ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำอย่างไร เมื่อเพื่อนพูดแต่เรื่องร้อน ๆ อยากหใ้ห้อารมณ์สงบลงบ้าง ?  (อ่าน 4018 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hiso

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เพื่อนของเราคนหนึ่งเป็นเพื่อนรัก ที่คุ้นเคยกันมาก คบกันมาก็จะเกษียณแล้ว อยู่มาเมื่อปีที่แล้ว เพื่อนของเราคนนี้ก็ไม่รู้ไปอาฆาตเรื่องใด ๆ มา เวลาพูดคุยก็จะมีการระเบิดโทสะ หยาบคายยิ่งคุยประเด็นการเมื่องด้วยแล้ว ยิ่งเป็นฟืนเป็นไฟ ผิดไปจากเมื่อก่อน เราพยายามชวนคุยออกไปนอกเรื่องเพื่อให้เย็นแต่อีกสักพัก ก็นำประเด็นร้อน ๆ กับมาอีก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเมือง นี้แหละคะ

อยากจะทำให้เพื่อนสงบใจ คะ
  :41: :41: :03: :03:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ผมนั้นมีเพื่อนอาวุโสท่านหนึ่งเกษียณแล้วแต่ลดระดับการทำงานลงเป็นรับเหมา ด้วยความขุ่นหมองใจในวิถีครองเหย้า

เฝ้าครองเรือนแม้วัยล่วงเลยผ่านกว่าค่อนชีวิตจิตยังหารู้วางไม่ใดใด กลัดกลุ้มมาระบายความคับข้องใจเรื่องภรรยาผลัก

ไสไปคบชายอื่น ทุกข์โทษโจษกล่าวร้ายอาฆาตจองกรรมชายคู่อริ ซึ่งก็เพื่อนคุ้นเคยเรือนใกล้กัน วันนี้ผมเป็นได้แค่

เพียงฟังอาสาแก้ไขด้วยให้ไม่ได้ เป็นเรื่องของเวรกรรมที่พี่ท่านสารภาพถึงความไม่อิ่มพอในกามของตนล่วงล้ำเกินเลย

ภรรยาคนอื่นไว้มากมายกว่าค่อนชีวิตเกษียณแล้วจึงรับกรรม ยังมีเพื่อนๆอีกหลากหลายท่านที่ดำเนินวิถีชีวิตผิดไปจาก

ศีลเมินหมิ่นสงฆ์ธรรม บาตรทานมีทำบ้างก็เพียงประเพณี แต่ยังหลงโลภละโมบกามเป็นเสียอย่างนี้ ผมก็เลยโดน

อานิสงส์เขม่นเข้าให้ก็ลุ่มๆดอนๆไม่ก้าวหน้าเพราะเขาเหล่านั้นระดับงานสูงกว่าเบื่อแต่ก็ต้องทนกับความลำเค็ญและคอย

เร้นดูเขารับกรรมไปทีละคนอย่างเศร้าใจ ชีวิตจริงสอนเราได้มากกว่าตำราเหนื่อยหน่ายล้าไม่มีที่ไปก็ขออยู่แต่ "พุทโธ"

ในใจเท่านั้นครับ.!




http://dhammaforlife1.blogspot.com/2011/07/blog-post_18.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 14, 2012, 02:36:00 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อนุโมทนา สาธุกับ คุณธวัชชัย ค่ะ  :25: :25:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เหตุ

- ที่เพื่อนคุณเป็นนี้เรียกว่าเอาเรื่องราวภายนอกเข้ามาปะปนในชีวิตจนเสพย์เป็นโทสะแก่ตน นั่นก็เพราะเพื่อนคุณนั้นตั้งความพอใจยินดีในส่วนใดส่วนหนึ่งของเรื่องนั้นไว้อยู่
- แต่พอผลลัพธ์ที่เพื่อนคุณนั้นได้ประสบพบเจอมันกลับไม่เป็นไปตามที่เขาปารถนาพอใจยินดีใคร่ได้ จึงประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลายจนอยากจะผลักไสให้ไกลตน แล้วคิดปรุงแต่ง ตรึกนึก เสพย์อารมณ์เป็นโทสะเพราะความปรุงแต่งจากสิ่งที่พอใจ ไม่พอใจนั้น


ทางแก้ไข

ต้องให้เพื่อคุณนั้นยอมรับความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนี้ วิธีที่จะทำให้คนยอมรับความจริงได้นั้นเขาต้องพิจารณาและเข้าใจตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าดังนี้ว่า
1. คนเรามีความไม่สมหวังปารถนา-ยินดีใคร่ได้ดั่งใจไปทุกอย่าง เราย่อมมีความปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้
- ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

2. คนเรามีความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก-ที่พอใจเป็นแท้จริง เราจะต้องเจอกับสิ่งที่ไม่ปารถนาใคร่ได้ต้องการ เจอสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่อยากได้ ไม่พอใจยินดี เจอการพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจทั้งหลาย เจอความผิดหวัง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นชื่อว่า ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่-พอใจทั้งหลาย จนอยากจะผลักหนีให้ไกลตน เราจะพ้นสิ่งนี้ไปเป็นไม่ได้
- ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย นั่นก็เป้นทุกข์


เมื่อยอมรับความจริงนี้แล้วความไม่ยึดมั่นถือมั่นก็จะลดลงเข้าสู่สภาพความมีใจเป็นกลางๆ ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี ไม่ฟุ้งไป ไม่หลงไป นี่คือสภาพที่เรียกว่า อุเบกขาจิต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2012, 12:01:52 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

inlove

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ปกติ ถ้าเป็นเรา เพื่อนพูดแต่เรื่องร้อน ๆ ก็ ต้องห่าง ๆ คะ ทำนองว่าอย่าเติมเชื้อฟืน อย่าใส่เชื้อไฟ

ถึงแม้จะรักกันสนิท ขนาดไหน ก็ตาม คะ ถ้าห่างได้ต้องรีบห่าง...... เพราะรู้นิสัย เพื่อน

  ที่นี้ ถ้าหลบไม่ได้ จำเป็นต้องสนทนาด้วย ก็ควรสนทนาให้น้อยลง บางครั้งเราเองก็ต้องรู้ฐานะตนเองด้วย
คะว่าไม่ใช่จะอยู่ในฐานะที่ช่วยใครได้เลยนะคะ ใช่จะว่าเราจะไปแก้ไขเขาได้

  บางทีวิธีที่ดีที่สุด ก็คือ ให้คนที่เขาเคารพสอนหรือ ปาม ไว้ดีกว่า เพราะเราเองอาจจะไม่อยู่ในฐานะที่จะคุยกันได้คะ

   เชื่อนะคะ ว่า บางคนก็ คุยกันรู้เรื่อง
   บางคนก็คุยไม่ได้
 
   ต้องดูเหตุการณ์หลาย ๆ อย่าง ประกอบกันด้วยคะ

  :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เพื่อนของเราคนหนึ่งเป็นเพื่อนรัก ที่คุ้นเคยกันมาก คบกันมาก็จะเกษียณแล้ว อยู่มาเมื่อปีที่แล้ว เพื่อนของเราคนนี้ก็ไม่รู้ไปอาฆาตเรื่องใด ๆ มา เวลาพูดคุยก็จะมีการระเบิดโทสะ หยาบคายยิ่งคุยประเด็นการเมื่องด้วยแล้ว ยิ่งเป็นฟืนเป็นไฟ ผิดไปจากเมื่อก่อน เราพยายามชวนคุยออกไปนอกเรื่องเพื่อให้เย็นแต่อีกสักพัก ก็นำประเด็นร้อน ๆ กับมาอีก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเมือง นี้แหละคะ

อยากจะทำให้เพื่อนสงบใจ คะ
  :41: :41: :03: :03:


    - ปิดหู ปิดตา บ้าง ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ดูทีวี ไม่ติดตามข่าวที่อาจทำให้อารมณ์เสีย
    - ถือศีลแปด (ไม่เสพทุกสื่อ)

    ผมก็เคยเป็นครับ ลองวิธีที่ผมบอก ได้ผลมากๆ
    หรือจะเอาพุทธธรรมเข้าช่วย ผมก็มีมาให้อ่าน

     :49:


พุทธวิธีควบคุมความคิด

      พระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีควบคุมความคิด ให้อยู่ในอำนาจใจไว้ว่า ถ้ามีสติรู้ว่ากำลังคิดในเรื่องไม่ควรคิด ซึ่งเมื่อกำลังพูดถึงการแก้โทสะ ก็หมายความได้ถึงเรื่องที่จะทำให้โทสะเกิด หรือเกิดอยู่แล้วแต่น้อยให้เพิ่มมากขึ้น

       เมื่อมีสติรู้ว่ากำลังคิดเช่นนั้น ให้เปลี่ยนเรื่องคิดเสีย เช่น กำลังคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับนาย ก. กำลังเกิดโทสะเกี่ยวกับนาย ก. ก็ให้เปลี่ยนเป็นคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับนาย ข. เสีย โทสะที่กำลังจะเกิดเกี่ยวกับนาย ก. ก็จะดับไป

      แต่ถ้าเปลี่ยนเรื่องคิดเช่นนั้น ก็ยังคอยแต่จะย้อนกลับไปคิดเรื่องเก่าที่ก่อให้เกิดโทสะอยู่นั่นเอง ท่านให้พิจารณาโทษของความคิดเช่นนั้น คือ พิจารณาให้เห็นว่า การคิดเช่นนั้นทำให้จิตใจเร่าร้อน ไม่สบาย ไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่คิดเช่นนั้นแล้วจะสบาย ตนเองได้ประโยชน์จากความสบายนั้น

       แม้พิจารณาโทษของความคิดที่ไม่ดีนั้นแล้ว ก็ยังไม่อาจยับยั้งความคิดนั้นให้สงบลงได้ ท่านก็ให้ไม่ใส่ใจเรื่องนั้น คือ พยายามไม่สนใจเสียเลย พยายามลืมเสียเลย

      แต่ถ้าไม่สำเร็จอีก ลืมไม่ได้อีก คือยังใส่ใจอยู่อีก ท่านให้ใช้ความใคร่ครวญ พิจารณาหาเหตุผลว่าทำไมจึงคิดเช่นนั้น ขณะที่คิดหาเหตุผลอยู่นี้ ความโกรธจะลดระดับความรุนแรงลง

      ท่านเปรียบเหมือนคนกำลังวิ่งเร็วก็จะเปลี่ยนวิ่งช้า กำลังวิ่งช้าก็จะเปลี่ยนเป็นเดิน กำลังเดินก็จะเปลี่ยนเป็นยืน กำลังยืนก็จะเปลี่ยนเป็นนั่ง และกำลังนั่งก็จะเปลี่ยนเป็นลงนอน

     ถ้าทำเช่นนั้นแล้วก็ยังไม่ได้ผล ความคิดเดิมยังไม่หยุดท่านให้ใช้ฟันกัดฟันให้แน่น เอาลิ้นกดเพดานไว้ เช่นนี้ความคิดจะหยุด

     เมื่อแก้ไขความคิดที่จะนำไปสู่ความมีโทสะได้สำเร็จ คือเลิกคิดในทางที่จะทำให้เกิดโทสะได้ ก็เท่ากับไม่เพิ่มเชื้อแก่ไฟโทสะ ไฟโทสะก็จะเย็นลง

     และหากบังคับความคิดเสมอๆ จนเคยชิน ให้ไม่คิดไปในทางที่จะทำให้เกิดโทสะ โทสะก็จะลดลง ทำให้ความร้อนในจิตใจเบาบางลง มีความเยือกเย็นเกิดขึ้นแทนที่

    นั้นแหละจะมีความสุข ทั้งตัวเองและทั้งผู้เกี่ยวข้องใกล้ชิดด้วยทั้งหลาย นับเป็นผลอันน่าปรารถนาที่เกิดจาการบริหารจิตตามหลักพระพุทธศาสนา



อ้างอิง
หนังสือ พุทธวิธีควบคุมความคิด สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช


    ผมแนบหนังสือ พุทธวิธีควบคุมความคิด ฉบับเต็มมาให้อ่านครับ
    เชิญดาวน์โหลดตามอัธยาศัย

     :49: :s_good:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ