ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทางดับทุกข์  (อ่าน 3559 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ทางดับทุกข์
« เมื่อ: มีนาคม 24, 2012, 04:40:47 pm »
0
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

เสริมสุข

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 223
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทางดับทุกข์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 27, 2012, 09:55:59 pm »
0
น่าจะโพสต์ เนื้อหาเลยนะครับ จะได้มีบทความอีกเว็บหนึ่ง
 :c017:
บันทึกการเข้า
อยากได้รับความสุข จาก ธรรมะ อยากได้รับ ..... แหมก็อยากนี้จ๊ะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทางดับทุกข์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 28, 2012, 12:46:14 pm »
0


ใช้แนวทางปฏิบัติดังนี้  หมายถึงสติเท่าทันข้อใดก็ปฏิบัติข้อนั้น  อันล้วนอยู่ในแนวทางปฏิบัติสติปัฏฐาน เช่นเดียวกัน

    ๑.ให้ยกจิตอย่าให้ขุ่นมัว เพราะจิตที่ขุ่นมัว เศร้าหมองอันเกิดจากอาสวะกิเลสเป็นเหตุเป็นปัจจัยร่วมกับอวิชชา จึงยังให้เกิดสังขาร อันคือ ความคิด หรือโทสะ โมหะ ราคะ หดหู่  อันล้วนเป็นก่อให้เกิดทุกข์,  ปรับจิต ยกจิตให้สดใส,  ปุถุชนเมื่อยังปฏิบัติไม่ได้หมด ดังนั้นส่วนหนึ่งที่เหลือก็จักยังให้เกิดสังขารความคิดชนิดที่ก่อให้เกิดทุกข์ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา

    ๒.ให้เข้าใจเวทนา สักแต่ว่าเวทนา การรับรู้ความรู้สึกของสิ่งที่กระทบสัมผัสให้ชัดเจน  เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่ายังคงต้องเกิดต้องมีต้องเป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดา เป็นสภาวธรรมของชีวิตต่อการรับรู้กระทบสัมผัสต่างๆ    ส่วนหนึ่งจะเบาบางหรือหยุดที่เวทนานี้ด้วยปัญญาความเข้าใจอันจักไม่ก่อให้เกิดตัณหา,   ส่วนที่เหลือก็จักเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา 

    ๓.ให้ "ละ" ที่ตัณหา ที่สรุปง่ายๆแล้วคือ "อยาก" และ "ไม่อยาก" นั่นเอง เพราะตัณหานั้นมีร้อยแปดพันเก้าในทุกๆรูปแบบ  ถ้าสังเกตุโดยโยนิโสมนสิการจักเห็นผลสรุปออกมาดังที่กล่าว คือความอยาก หรือไม่อยากใน สิ่งใดๆ   เพราะตัณหาเป็นเหตุจึงเป็นปัจจัยให้เกิด "อุปาทาน" อันก่อให้เกิดความทุกข์
         ตัณหา มี   
          ๑. กามตัณหา - ความปรารถนา ความกำหนัด ราคะ หรือความอยาก, ความไม่อยาก ในกามทั้ง ๕ อันมี  ความอยาก, ไม่อยากในรูป;  อยาก, ไม่อยากในเสียง; อยาก, ไม่อยากในกลิ่น;  อยาก, ไม่อยาก ในรส;  อยาก, ไม่อยาก ในสัมผัส
          ๒. ภวตัณหา ความปรารถนา หรือความอยากที่เกิดแต่จิต(ธรรมารมณ์หรือความคิด)
          ๓. วิภวตัณหา ความไม่ปรารถนา ความไม่อยากที่เกิดแต่จิต(ธรรมารมณ์หรือความคิ
ด)

        ข้อสังเกตุ รู้เท่าทัน(อันคือมีสติ)จิตขุ่นมัวเศร้าหมองอันเกิดมาจากอาสวะกิเลสและตัณหาที่คือความอยากและไม่อยาก แล้วไม่ต้องไปกดข่มใดๆ, ถ้ารู้ว่ามีอยากและไม่อยากเกิด ให้หยุดคิดนึกปรุงแต่งต่อจากนี้ทันทีที่มีสติ เพราะการปรุงแต่งต่อจากที่นี้ใดๆเข้าไป  ล้วนจักก่อให้เกิดตัณหาได้ทั้งสิ้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

        เราแค่ทํากิจของสมุทัย(ดูอริยสัจ๔)คือ "สมุทัยให้ละ" หรือให้ละ อาสวะกิเลส และตัณหานั่นเอง ตัณหาร้อยแปดพันเก้าสรุปลงเหลือ "อยาก" และ "ไม่อยาก" หรือความปรารถนาเพราะไม่ว่าปรุงแต่งประการใด จะมีผลสรุปจริงๆอยู่สองอย่างนี้เท่านั้น(ต้องโยนิโสมนสิการด้วยตนเอง)



    ๔.หยุดคิดนึกปรุงแต่ง หรืออุเบกขาในโพชฌงค์ ๗ ส่วนที่เหลือหลุดจากตัณหาไป ก็เกิดเป็นอุปาทานอันแข็งแกร่งและถอดถอนได้ยาก และยังให้เกิดจิตสังขารขันธ์หรือความคิดที่เป็นทุกข์
    ต้องใช้สติรู้เท่าทันความคิดนั้น(จิตตานุปัสสนา-สติรู้เท่าทันจิต) แล้วเป็นกลางวางเฉยคืออุเบกขาไม่ปรุงแต่ง(คิดนึกปรุงแต่ง)ใดๆในความคิดที่เป็นทุกข์นั้น  เพราะคิดนึกปรุงแต่งนั้นก็คือขันธ์๕อันยังให้เกิดเวทนา อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา เป็นวงจรหมุนเวียนเกิดตามข้อ ๒ ขึ้นอีกนั่นเอง


        อุปาทาน แข็งแกร่งและถอดถอนได้ยาก ใช้ปัญญาในไตรลักษณ์ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า"นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา(อย่างแท้จริง)"

        ถ้าหลุดจากอุปาทานนี้ ก็จักเกิด "อุปาทานขันธ์๕"ใน ชาติ-ชรามรณะ อันเป็นทุกข์ทันที ก็ต้องใช้วิธีรู้เท่าทันคิดแล้วหยุดคิดนึกปรุงแต่ง ทันทีที่สติรู้เท่าทันดังเช่นเหมือนข้างต้น  แต่จักเป็นการปฏิบัติในอุปาทานขันธ์อันเป็นทุกข์แล้ว( คลิกดูวงจร  วงจรเล็กๆที่กําลังเคลื่อนไหวคือวงจรของอุปาทานขันธ์๕ที่เกิดๆดับๆต่อเนื่องกันจนเป็นความทุกข์คือตําแหน่งที่เกิดในข้อนี้),

        ข้อเสียอันควรเข้าใจคือจักปฏิบัติยากขึ้นเพราะถูกครอบงําแล้วด้วยอํานาจของตัณหาอุปาทาน ต้องใช้สติและกําลังปัญญามากขึ้น จึงจักสลัดหลุดได้,  การหยุดคิดนึกปรุงแต่งนั้นก็คือการตัดหรือทําลายวงจรเล็กของอุปาทานขันธ์๕ที่เกิดๆดับๆวนเวียนอยู่นั้นให้หยุดหรือขาดลงนั่นเอง



        ลองสังเกตุสภาวะที่ถูกอุปาทานครอบงําโดยไม่รู้ตัวให้เห็นง่ายๆก็ได้ เช่นความเป็นพ่อ แม่ ลุก นั่นแหละก็เป็นสภาวะที่ถูกครอบงําโดยอุปาทานไว้แล้วจนเกิดภพหรือสถานะ หรือภาวะความเป็นพ่อแม่ลูก อันสลัดออกไม่ได้ง่ายๆ  ลูกจะดี จะเลวอย่างไรก็ยังรักและหวังดีต่อกันและกันเสมอจนบางครั้งขาดเหตุผล  ยกเว้นแต่องค์อรหันต์เท่านั้นจึงสลัดออกจากภพเช่นนี้ได้,

         มีความทุกข์เช่นนี้อยู่เป็นจํานวนมากเช่นกัน คือถูกครอบงําโดยอุปาทานจนเกิดภพแล้วแต่ในสภาพที่ไม่รู้ตัว เมื่อเกิดคิดและมีตัณหาขึ้นมากระตุ้นก็จะเกิดสภาพของทุกข์ขึ้นแทบทันที จนบางครั้งสังเกตุไม่ออก จนฉงนว่าเหตุไฉนจึงไม่เป็นไปตามกระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์-ปฏิจจสมุปบาท

        จริงๆแล้วมันเคยเกิดแล้วพอมีตัณหาความอยากหรือไม่อยากเกิดขึ้นก็จักดําเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทไปยังวงจรเล็กเล็กที่กําลังเคลื่อนไหวอยู่อย่างรวดเร็ว จนสังเกตุแทบไม่เห็น (คลิกดูวงจรเล็ก อันคือวงจรของอุปาทานขันธ์๕ที่กําลังเคลื่อนไหวเกิดๆดับๆ), เมื่อเกิดขึ้นดังนี้ก็ต้องปฏิบัติตามขั้นต้นเช่นกัน และหยุดหรือตัดความคิดนึกปรุงแต่งให้ได้ แต่ต้องรับผลของทุกข์บ้าง



ที่มา http://nkgen.com/18.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.tripandtrek.com/,http://www.dhammathai.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทางดับทุกข์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 28, 2012, 05:51:34 pm »
0
ขอบคุณท่าน nathaponson มากครับ อนุโมทนาสาธุท่านด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 28, 2012, 08:34:36 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ