ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระสังฆราช สุก ถามพระอริยเถราจารย์ว่า....  (อ่าน 2513 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พละสอง คืออะไรบ้าง  สังขาร 3 คืออะไรบ้าง  ญาณจริยา 16 คืออะไรบ้าง  สมาธิจริยา 9 คืออะไรบ้าง  วสีภาวตา เป็นอย่างไร
        พละ 2 สมถพละ วิปัสสนาพละ
            สมถพละคือ ความไม่ซัดส่ายไป คือความมีอารมณ์เป็นหนึ่งแห่งจิต ด้วยอํานาจเนกขัม เรียกว่า สมถพละ ความไม่ซัดส่ายไป คือ ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งแห่งจิต ด้วยอํานาจอาโลกสัญญา ด้วยอํานาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นต้น ด้วยอํานาจความเป็น ผู้พิจารณาเห็นอย่างสลัดทิ้งลมหายใจเข้า ด้วยอํานาจความเป็น ผู้พิจราณาเห็นอย่างสลัดทิ้งลมหายใจออก เรียกว่าสมถะพละ คือไม่หวั่นไหวนิวรณ์ด้วย ปฐมฌานเรียกว่า สมถพละ คือไม่หวั่นไหวในเพราะวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน เรียกว่าสมถพละ  คือไม่หวั่นไหวในอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เรียกว่าสมถพละ คือไม่ไหว ไม่หวั่น ไม่สั่นไปในอุทธัจจะ เพราะกิเลสที่ร่วมกับอุทธัจจะ และในเพราะขันธ์ นี่เรียกว่า  สมถพละ
       วิปัสนาพละ คือ  อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา คือความคํานึงเห็นนิโรธ ปฏินิสสัคคานุปัสนา คือความคํานึงสลัดทิ้งเสีย ทั้งหมดนี้เรียกว่า วิปัสนาพละ ความคํานึงเห็นว่าไม่เที่ยงในรูป ความคํานึงด้วยสลัดทิ้งเสียในรูป ความคํานึงเห็นว่าไม่เที่ยง ความคํานึงด้วยสลัดทิ้งเสีย ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ...ในจักขุ ในชรามรณะ เรียกว่าวิปัสสนาพละในคําว่า วิปัสสนาพละ
       ความระงับไปแห่ง  สังขาร 3 คือ วจีสังขาร  ได้แก่ วิตก วิจาร ของผู้เข้า ทุติยฌาน ย่อมระงับ
       กายสังขาร คือ อัสสาสะ ปัสสาสะ ของผู้เข้า จตุตถฌาน ย่อมระงับ
       จิตตสังขาร คือ สัญญา และ เวทนา ของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมระงับ

            ญาณจริยา 16
   คือ อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา วิวัฏฏานุปัสนา  คือความคํานึงด้วยหมุนกลับ จากสังขารได้แก่ สังขารุเบกขา และ อนุโลมญาณ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตตมรรค อรหัตตผลสมาบัติ ...เรียกว่าญาณจริยา 16

            สมาธิจริยา 9
       คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญยายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะสมาบัติ เรียกว่าสมาธิจริยา เป็น 8 สมาธิจริยา
       วิตกก็ดี วิจารก็ดี ปีติก็ดี สุขก็ดี จิตเอกัคคตาก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ อันได้ปฐมฌาน ...วิตกก็ดี วิจารก็ดี ปีติก็ดี สุขก็ดี จิตเอกัคคตาก็ดี เพื่อประโยชน์แก่อันได้เนวสัญญานาสัญญายตนะสมาบัติ ....นับเป็นสมาธิจริยา อีก  1 ด้วยสมาธิจริยา 9 เหล่านี้..

             วสี
     ความว่า วสี มี 5  คือ
    อาวัชนวสี
    สมาปัชนวสี
    อธิฏฐานวสี
    วุฏฐานวสี
    ปัจเวกขณวสี
......................................
         เรื่องวสี เป็นการนึกหน่วงเอาปฐมฌานได้ในที่ๆ ต้องการ ตามที่ต้องการ เพียงเท่าที่ต้องการ ความชักช้าในการนึกหน่วงหามีไม่ เหตนี้เรียกว่า อาวัชนวสี
       เข้าปฐมฌานได้ในที่ๆต้องการ ตามที่ต้องการ เพียงเวลาที่ต้องการ ความชักช้าหามีไม่ เหตนี้ จึงเรียกว่า สมาปัชนวสี
       ตั้งอยู่แห่ง ปฐมฌาณไว้ได้ในที่ๆต้องการ ตามที่ต้องการ เพียงเวลาที่ต้องการ ความชักช้าในการยั้งหามีไม่ เหตนี้ จึงเรียกว่า อธิฏฐานวสี
       ออก จากปฐมฌาน ได้ในที่ๆต้องการ ตามเวลาที่ต้องการ เพียงเวลาที่ต้องการ ความชักช้าในการออกหามีไม่ เหตนี้ จึงเรียกว่า วุฏฐานวสี
       ปัจเวกขณ์พิจราณา ปฐมฌาน ได้ในที่ๆต้องการ ตามเวลาที่ต้องการ เพียงเวลาที่ต้องการ ความชักช้าในการปัจเวกขณ์หามีไม่ เหตนี้ จึงเรียกว่า ปัจเวกขณวสี นึกหน่วง ........ปัจเวกขณ์ ทุติยฌาน ...เนวสัญญานาสัญญายตนะได้ในที่ๆต้องการ
ตามที่ต้องการ เพียงเวลาที่ต้องการความชักช้าในการนึกหน่วง ในการปัจเวกขณ์หามีไม่ เหตนี้จึงเรียกว่า อาวัชนวสี.....ปัจเวกขณวสี...

     ...........................ที่มา จากหนังสือพระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน
                                       ยุคอยุธยา ยุคธนบุรี ยุครัตนโกสินทร์

                                       
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสังฆราช สุก ถามพระอริยเถราจารย์ว่า....
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2012, 02:43:25 am »
0
มีเรื่องวสีของบูรพาจารย์
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา