ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีดับความติดข้องใจในการกระทำของผู้อื่น(ละจิตไม่ให้ไปผูกไว้กับผู้อื่น)  (อ่าน 19059 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
- ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้เองโดยชอบมีคุณเป็นเอนกอนันต์ได้ตรัสธรรมคำสอนอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่ประเสริฐนั้นให้เราได้รับรู้
- ขอนอบน้อมแด่พระพธรรมซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วมีความหมดจดงดงามไม่มีธรรมใดยิ่งกว่าทั้งขั้นต้นขั้นกลางและที่สุดเป็นธรรมคำสอนซึ่งเป็นหนทางแห่งการพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้นนี้
- ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นผู้ที่ควรแก่เขากราบไหว้ต้อนรับเป็นผู้เผยแพร่พระธรรมอันประเสริฐยิ่งแล้วของพระพุทธเจ้าให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตามทางพ้นทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบได้ตรัสธรรมนั้นไว้ดีแล้ว


- บัดนี้กระผมใคร่ขอสาธยายธรรมเรื่อง "วิธีดับความติดข้องใจในการกระทำของผู้อื่น(ละจิตไม่ให้ไปผูกไว้กับผู้อื่น)" ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมได้ประสบพบเจอ และ ได้เพียรเจริญปฏิบัติพิจารณาจนเห็นทางแก้ไขนี้
- หากผมได้กล่าวผิดพลาดในข้อธรรมเป็นการบิดเบือนพระธรรมใดๆที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนี้ขอให้พระรัตนตรัยและท่านทั้งหลายโปรดอดโทษไว้แก่ผม และ ช่วยตักเตือนชี้แนะ เพื่อให้ธรรมอันที่ผมจะกล่าวนี้ที่คิดว่าประกอบไปด้วยประโยชน์ได้สำเร็จประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายที่ยังความทุกข์อยู่ดังนี้



- เราทุกคนส่วนมากมักจะเอาความสุขความสำเร็จของตนไปผูกไว้กับผู้อื่น เช่น เอาไปผูกไว้กับคนรัก หรือ เพื่อนร่วมงาน หรือ เพื่อนฝูงเพื่อนสนิท
- พอการพูดจา และ การแสดงท่าทางของเขาเหล่านั้น ไม่เป็นไปตามที่เราพอใจใคร่ได้ยินดี เราก็ทุกข์ใจ ขุ่นมัวใจ คับแค้นกาย-ใจ ทรมานทั้งกาย-ใจ
- นี่ทุกข์เพราะเอาความสุขและความสำเร็จไปผูกไว้กับคนอื่นโดยแท้
- พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า "อย่าเอาความสุขและความสำเร็จของตนไปผูกไว้กับผู้อื่น"
- สุขก็อยู่ที่กายใจเรา ทุกข์ก็อยู่ที่กายใจ ทุกอย่างสำเร็จที่ใจ
- ให้เราคงมั่นตรงเจตนาต่อ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ ทาน เป็นเบื้องต้น
- ความคิดดี พูดดี ทำดี กุศลจิต กุศลกรรมทั้งหลาย ความมีปกติสุขยินดีทั้งหลายก็จะอยู่ที่เรา โดยไม่ต้องไปผูกความสุขเอาไว้ที่ใคร
- สุขทุกข์ทั้งหลายเกิดดับที่กาย-ใจเราเท่านั้น ไม่ใช่ที่คนอื่นหรือใครที่ไหน


เมื่อเกิดความอัดอั้นคับแค้นใจ ไม่สบายกาย-ใจ ขุ่นมัวใจ ขัดเคืองใจ ไม่พอใจยินดีใดๆ ให้พึงเจริญปฏิบัติในสมถะ(ความเป็นกุศลจิต มีสัมมาสมาธิ)ตรองพิจารณาเข้าถึงสมุทัยใดๆดังนี้

พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก ระลึก พุทธ-โธ
หายใจเข้าระลึก "พุทธ" หายใจออกระลึก "โธ"
โดยเริ่มต้น ให้หลับตา
ให้หายใจเข้า-ออกแรงๆ และ ยาวหน่อยสัก 3-5 ครั้ง เพื่อเรียกสติและสมาธิ
ระลึก "พุทธ-โธ" ระลึกถึง "พระพุทธเจ้า"


จากนั้นจึงค่อยๆหายใจแบบธรรมดา โดย หายใจเข้าระลึก "พุทธ" หายใจออกระลึก "โธ"
สังเกตุเมื่อจิตเราสงบลงแล้ว ลมหายใจจะไม่แผ่วร้อน ไม่ระส่ำระส่าย ไม่หายใจติดขัด มีความผ่อนคลาย ลมหายใจละเอียดนุ่มขึ้น
เมื่อมีความสงบใจขึ้นแล้ว มีสมาธิจะเกิดแก่จิตแล้ว
ให้พึงละความสำคัญมั่นหมายของใจที่เรามีต่อเขา
ละความปารถนาใดๆ ที่เราต้องการ หวัง ที่จะได้รับจากเขา
ละความติดข้องใจใดๆที่เราเอาจิตของเราไปผูกความสุขและความสำเร็จไว้กับเขา
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวหน่อยระลึก พุทธ-โธ


หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกว่า จะไม่เอาจิตของเราไปผูกความสุขและความสำเร็จใดๆไว้กับเขาอีก
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกว่า ติดข้องใจจากการกระทำใดๆทาง กาย วาจา ของเขาไปก็มีแต่ทุกข์
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกว่า เราจะละความติดข้องใจนี้ จะละความสำคัญมั่นหมายของใจที่มีต่อเขานี้
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงเจริญทำสติให้เกิดรู้ ระลึกเข้าสู่ความว่าง ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีใดๆที่มีต่อเขา
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกเข้าสู่ความว่างอันไม่ปรุงแต่งความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดีที่มีต่อเขา
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกว่า ความติดข้องใจนี้ย่อมดับไปด้วยเดชแห่ง สมาธิจิต และ สติ นั้น
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกถึงพระพุทธรูปที่เรามองดูสงบใจ หรือ รูปพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกว่า พระองค์มีความว่าง สงบ สุข ปกติยินดี ไม่มีปรุงแต่งจิตอกุศลใดๆ
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกเอาความว่างสงบนั้น

หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เราควรละความผูกใจที่เป็นเหตุแห่งความเบียดเบียนทำร้ายกาย-ใจของเราและเขาเหล่านี้ไปเสีย ผูกใจไปก็รังแต่จะทำให้เป็นทุกข์ทั้งกาย-ใจ (เจริญเข้าสู่ "เมตตาจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เขาเป็นอย่างนั้นของเขามาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่เราเองต่างหากที่เอาจิตไปผูกติดไว้กับเขาเอง ก็เลยทุกข์ (พิจารณาตามจริง เพื่อละความสำคัญมั่นหมาย)
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. ก็เมื่อผูกใจ-ผูกโทษเบียดเบียนต่อเขาแล้ว ทำให้เราทุกข์ทั้งกาย-ใจ เราจึงควรปล่อยวางความคิดเบียดเบียนนั้น ควรละความผูกโทษ-ผูกใจ และ เราควรอดโทษใดๆที่มีต่อเขา นั้นคือ อภัยทาน (เจริญจิตเข้าสู่ความปารถนาดีไม่ผูกติดใจเบียดเบียนใดๆต่อเขา มีความเอื้ออนุเคราะห์ให้เขาโดยการอดไว้ซึ่งโทษใดๆแก่เขา จนถึงการให้อันประเสริฐที่เรียกว่า "เมตตาทาน" จนถึงแก่ "อภัยทาน")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. ปล่อยเขาไป ให้เขาเป็นไปของเขา ธรรมชาติของจิตและจริตเขาเป็นอย่างนั้น (เจริญเข้าสู่ "ขันติจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เขาเป็นอย่างนั้นของเขามาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่เราเองต่างหากที่เอาจิตไปผูกติดไว้กับเขาเองก็เลยทุกข์ (พิจารณาตามจริง ด้วยเหตุแห่งทุกข์นั้น)
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เขาเป็นของเขาอย่างนั้น เราจะไปหวังปารถนาอะไรกับเขา เราควรหยุด-ควรอด-ควรละความปารถนานั้นๆไปเสีย ควรปล่อยเขาเป็นของเขาไป ละความติดข้องใจนั้นไปเสีย อย่าใส่ใจให้ความสำคัญกับมัน วางเฉยด้วยความมีใจกลางๆไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีใดๆที่มีต่อเขา (เจริญเข้าสู่ "ขันติจิต" และ "อุเบกขาจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เขามีความสุขที่จะอยู่อย่างนั้นของเขา ก็ปล่อยให้เขาเป็นสุขไป
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. สิ่งที่เราเอื้ออนุเคราะห์ให้เขาได้ คือ อดโทษใดๆไว้แก่เขา รู้วางใจไว้กลางๆ ไม่ติดข้องใจ-ไม่ขุ่นมัวใจ-ไม่ขัดเคืองใจใดๆต่อเขา (เจริญเข้าสู่ "กรุณาจิต" และ "ทานจิต" พร้อมยกจิตเข้าสู่ "อุเบกขาจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาถึง.. ความมีใจกลางๆ รู้ว่า ควรหยุด ควรปล่อยผ่าน ควรอด ควรละในความติดข้องใจใดๆที่มีต่อเขานี้เสีย (เจริญจิตเข้าสู่ "ขันติจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เราไปติดข้องใจ-ขัดเคืองใจใดๆในเขาไปมันก็แค่นั้น มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น เราควรปล่อบผ่าน-ควรละความติดข้องใจ ละความผูกใจนั้นไปเสีย (เจริญเข้าสู่ "อุเบกขาจิต" และ "ขันติจิต)
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. คำนึงว่าเราจักไม่ให้ความสำคัญในการกระทำของเขาอีก ไม่ใส่ใจการกระทำเขาอีก ไม่ติดผูกใจใดๆไว้กับเขาอีก (เจริญเข้าสู่ "อุเบกขาจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. ติดข้องใจ ขัดเคืองใจ ติดผูกใจใดๆไว้กับเขาไปก็ไม่มีประโยชน์นอกจากทุกข์ (เจริญเข้าสู่ "อุเบกขาจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. สุข-ทุกข์เกิดและดับที่กาย-ใจเรา ไม่ใช่กาย-ใจเขา (พิจารณาตามจริง)
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาถึง.. ความมีใจกลางๆ รู้ว่า ควรหยุด ควรปล่อยผ่าน ควรอด ควรละ ในความติดข้องใจใดๆที่มีต่อเขานี้เสีย (เจริญจิตเข้าสู่ "ขันติจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. ความสงบจักเกิดขึ้นแก่ใจเรา
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. ความไม่ทุกข์จักเกิดขึ้นแก่เรา


- ทีนี้เมื่อจิตเราสามารถละจากการผูกติดในตัวผู้อื่นได้แล้ว สงบใจแล้ว
- ให้พึงรับรู้ในสภาพจริงๆนั้นๆ หรือ สภาพจริงของกุศลจิตใดๆที่เกิดขึ้นแก่เรา
- ระลึกถึงสภาพกุศลจิตที่ดับความผูกใจ ที่ทำให้เราละความติดข้องใจนั้นๆไปได้ หรือ เห็นโทษของการผูกติดใจไว้กับผู้อื่นนี้
- เมื่อคราหลังที่เกิดขึ้นอีก เราก็พึงระลึกตามสภาพความรู้สึกข้างต้น หรือ ระลึกว่ามันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้
- แล้วพึงระลึกสภาพจิตเข้าสู่สภาพแห่งกุศลจิตนั้น มีความไม่เบียดเบียน มีความปารถนาดี มีความอื้ออนุเคราะห์แบ่งปันสุข มีการให้อันประเสริฐ มีความพอใจยินดีเมื่อเขามีปกติสุข ปราศจากความเบียดเบียนทั้งกายและใจ มีจิตรู้ว่าควรปล่อย-ควรผ่าน-ควรละ-ควรวาง จนถึงมีความวางใจไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาตั้งเป็นอารมณ์ของจิต
- จากนั้น ความติดใจ ความผูกใจ ความขุ่นมัวขัดเคืองใจ ความทุกข์ใจใดๆเหล่านี้ก็จะหายไป ไม่มีอีก ด้วยการทรงอารมณ์โดยไม่ต้องระลึกพร้อมอาปานานสติอีก



ผมขออนุญาตพระอาจารย์ธัมมวังโส ท่านเสบมาสเตอร์ และ ผู้ดูแลระบบทุกท่าน ขอกลับมาเผยแพร่กระทู้ธรรมที่ผมปฏิบัติเจริญอยู่ตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนโดยผมได้พลิกแพลงประยุกต์ให้ใช้เข้าได้ตามจริตผม ซึ่งเป็นประโยชน์และให้ผลได้ไม่จำกัดกาลมาเผยแพร่ต่อท่านสมาชิกเวบมัชฌิมาทั้งหลายได้ลองปฏิบัติกัน หากเมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติแล้วเห็นผลได้ มีประโยชน์แท้จริง ผมใคร่ขอรบกวนท่านทั้งหลายได้อุทิศส่วนบุญกุศลแห่งธรรมทานนี้ให้แด่

คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2556 เวลา 15.49 น.

ประวัติโดยย่อของท่าน

- ท่านได้เลี้ยงลูกและเอาใจใส่ปลูกฝังให้ลูกมี ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี ซึ่งตัวท่านเองก็ปฏิบัติเช่นนี้อยู่เป็นประจำเพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูกๆเห็นแล้วทำตาม
- เท่าที่ผมจำความได้ท่านสอนให้ผม เว้นจากความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น เว้นจากการฆ่าสัตว์แม้ มด ยุง ริ้น ไร ก็ห้ามไม่ให้ฆ่า ให้ผมไม่ขโมยลักทรัพย์ ไม่เอาของๆผู้อื่นที่เขาไม่ได้ให้ ให้ผมซื่อสัตย์-ซื่อตรงทำดีต่อครอบครัวตนเองและผู้อื่น ชี้ให้ผมเห็นโทษของสุราเมรัยไม่ให้ปารถนาที่จะดื่มกิน รู้สวดมนต์ไหว้พระนั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน มีจิตปารถนาดีต่อผู้อื่น รู้เอื้ออนุเคราะห์แบ่งปันผู้อื่น มีการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีสติรู้ตน รู้สิ่งที่ควรละ-ควรปล่อย-ควรผ่าน-ควรวาง มีความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความปกติสุข-ปราศจากความเบียดเบียนทั้งกาย-ใจ รู้วางใจกลางๆในการอันควร ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดีมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต คิดดี พูดี ทำดี
- ท่านเป็นสหายธรรมของหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ ครูอุปัชฌาย์ของผมเอง สมัยเด็กๆจะเห็นท่านปั่นจักรยานไปสนทนาธรรมกับหลวงปู่นิลเป็นประจำ และ น้อมเอาแนวปฏิบัติสายพระป่ามาเจริญปฏิบัติจนท่านสิ้นอายุขัยด้วยอายุ 90 ปี

ผมขอบุญแห่งการเผยแพร่ธรรมปฏิบัติเพื่อความมีประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายนี้มอบให้แด่ เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ให้ได้อยู่ในภพภูมิที่ดีงาม มีความสุขกายสบายใจ ไม่มีทุกข์กายใจใดๆ ตราบสิ้นกาลนานเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2013, 01:29:46 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12 st11

  คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา  คงได้รับทราบผลบุญธรรมทาน นี้แล้วครับ

  thk56
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุครับท่านโกมล ขอบพระคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ