ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระธรรมมหาวีรานุวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์  (อ่าน 2807 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pakorn

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
พระธรรมมหาวีรานุวัตร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแห่งวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี (มหานิกาย)

อัต โนประวัติ มีนามเดิมว่า ฉลอง จินดาอินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2469 ที่บ้านท้าย ต.ต้นตาล อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายผลและนางกวา จินดาอินทร์

ในช่วงวัยเยาว์ เรียนหนังสือ และสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทศบาล 19 วัดดงมูลเหล็ก บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

ต่อ มาเข้าพิธีบรรพชา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2483 ณ วัดสองพี่น้อง ต.ต้นตาล อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี โดยมี พระครูอุภัยภาดารักษ์ วัดสองพี่น้อง เป็นพระอุปัชฌาย์

ระหว่างเป็นสามเณร มีใจใฝ่ในการศึกษา ได้ตั้งมั่นเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง พ.ศ. 2486 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก จากสำนักเรียนวัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี

จากนั้น ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดสองพี่น้อง

ครั้น อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสม บทเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2489 ณ วัดสองพี่น้อง โดยมีพระครูอุภัยภาดารักษ์ (หลวงพ่อจ่าง) วัดสองพี่น้อง เป็นพระอุปัชฌาย์

ท่านได้สร้างคุณูปการแก่สังคมสงฆ์ ควบคู่ไปกับการศึกษาพัฒนาตัวเอง

พ.ศ. 2491 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค สำนักเรียนวัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ พ.ศ. 2493 สำเร็จการศึกษาบาลีเตรียมอุดม ศึกษาปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2513 สำเร็จการศึกษาอบรมจากโรง เรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง แผนกศึกษาอบรม รุ่นที่ 1

งาน ด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านได้เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตจังหวัดสุพรรณบุรี และเป็นประธานกรรมการหน่วยอบรมประชาชนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี

จัด ตั้งงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 100 หน่วย ได้อบรมประชาชนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งนี้จังหวัดได้สั่งกำชับให้ทุกหน่วยที่อบรมแล้วทำรายงานแจ้งให้ทราบทุก ครั้ง

ส่วนงานพระธรรมทูต จังหวัดได้จัดส่งพระธรรมทูตในสังกัดเข้าไปอบรมประชาชน นักเรียนในสถานที่ต่างๆ ทั่วจังหวัดเป็นประจำ โดยเฉพาะตามโรงเรียนได้จัดส่งเข้าไปอบรมทุกครั้ง ตามที่ขอความร่วมมือมา

การ ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คณะสงฆ์จังหวัดได้ร่วมมือกับทางราชการ จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาขึ้น ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2534 ณ วัดป่าเลไลยก์

จุดมุ่งหมายเพื่อส่ง เสริมให้ประชาชนได้รับรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ ได้ บุคลากรที่ใช้ในการอบรม คือ พระธรรมทูต พระเปรียญอาสา และพระจริยนิเทศก์

เป็นแกนนำในโครงการผนึกกำลังบ้าน วัด ราชการ (บวร)

ขณะ เดียวกัน ยังได้จัดพิมพ์หนังสือเผยแผ่ธรรมะมีรายการดังนี้ 1.ศีลห้ากติกาสากล 2.เสียงพระ เสียงเพลง 3.ธรรมคีติ 4.เบญจศีล เบญจธรรม 5.อนุบุพพิกถา

พระธรรมมหาวีรานุวัตร ยังได้ดำเนินงานด้านการศึกษา พ.ศ. 2495 เป็นกรรมการตรวจข้อสอบประโยคธรรมสนามหลวง พ.ศ. 2500 เป็นกรรมการอุปถัมภ์การจัดตั้งสำนักเรียนวัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี

พ.ศ.2511 เป็นประธานดำเนินการเปิดโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค จ.สุพรรณบุรี

พ.ศ.2528 จัดตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา จัดงานสมโภชและมอบรางวัลแก่นักเรียนที่สอบได้ในสำนักเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี ในนามคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาและเป็นกำลังใจให้นักศึกษามีวิริยะในการศึกษา

รวม ทั้งผลงานในด้านอื่นอีกหลากหลาย ทั้งในงานศึกษาสงเคราะห์ งานปกครองคณะสงฆ์ งานสาธารณูปการ งานบูรณปฏิสังขรณ์ งานสาธารณกุศล เป็นต้น

ลำดับงาน ปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2494 เป็นเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์ จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ.2511 เป็นเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง พ.ศ.2514 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี

พ.ศ.2517 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2522 เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบัวบาน พ.ศ.2527 เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร พระอารามหลวง

พ.ศ.2527 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี (มหานิกาย)

ลำดับ สมณศักดิ์ พ.ศ.2504 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ พระครูศรีปทุมรักษ์ พ.ศ.2514 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2516 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสุพรรณาภรณ์ พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพสุวรรณโมลี

พ.ศ.2540 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมมหาวีรานุวัตร

เนื่องจากเป็นผู้มีคุณูปการทางด้านการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง มีผลงานเด่นชัด

สภา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงมีมติอนุมัติปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ ถวายเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2542 ด้วย

พระธรรมมหาวีรานุวัตร สืบทอดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์อย่างแน่วแน่

ท่านไม่ยึดติดความโลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่ยินดียินร้าย ดำรงตนอย่างสมถะ

ตราบ จนลมหายใจสุดท้ายได้ดับลง เมื่อเวลา 09.55 น. วันที่ 13 ก.ย. ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของคณะสงฆ์และลูกศิษย์ที่ติดตามมาเฝ้าอาการของ หลวงพ่อ ก่อนที่ช่วงบ่าย วันเดียวกัน ได้ประกอบพิธีเคลื่อนศพพระธรรมมหาวีรานุวัตร กลับวัดป่าเลไลยก์

วันที่ 14 กันยายน เวลา 16.00 น. พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โดยมีนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นประธาน

กำหนดตั้งศพสวดพระอภิธรรม ตั้งแต่คืนวันที่ 13 กันยายน ไปจนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2553 เวลา 19.30 น. สวดพระอภิธรรมทุกคืน

วันที่ 31 ตุลาคม 2553 เวลา 16.30 น. จะประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ เพื่อให้สาธุชนที่เลื่อมใสศรัทธาได้ร่วมไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้าย

นับแต่นี้คงเหลือไว้แต่คุณงามความดี ให้อนุชนได้กล่าวขานกันสืบไป
บันทึกการเข้า