สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 18, 2019, 07:02:19 am



หัวข้อ: ที่มาของ ”การสังคายนาพระไตรปิฎก“
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 18, 2019, 07:02:19 am
(https://i0.wp.com/goodlifeupdate.com/app/uploads/2016/04/tri.jpg?resize=804%2C420&ssl=1)


ที่มาของ ”การสังคายนาพระไตรปิฎก“

หลายคนสงสัยว่า การสังคายนาพระไตรปิฎก มีที่มาที่ไปอย่างไร เรื่องนี้ พระอาจารย์มานพ อุปสโม กล่าวว่า

     “การทำสังคายนา คือ การนำเอาหลักธรรมทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าแสดงมารวบรวมเพื่อธำรงรักษาพระธรรมเอาไว้ไม่ให้สูญหายหรือคลาดเคลื่อนไป ตอนนั้นหลักธรรมไปอยู่กับบุคคลเพียงสองคน คือ พระอุบาลี ซึ่งจำพระวินัยได้ทั้งหมด และพระอานนท์ซึ่งจำพระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกได้หมด ด้วยเหตุที่พระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์ไปอยู่ในบุคคลสองบุคคล

     ดังนั้นถ้าสองบุคคลนี้ปรินิพพานไปแล้ว ธรรมวินัยก็จะหายไปด้วย พระมหากัสสปะจึงจัดการประชุมสงฆ์และคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีอภิญญาจิตมาเข้าร่วมการทำสังคายนา หรือการถ่ายทอดข้อมูลนั่นเอง

     ตอนซักพระธรรม พระมหากัสสปะจะซักว่า พระพุทธเจ้าแสดงธรรมที่ไหน ว่าอย่างไร พระอุบาลีและพระอานนท์ท่านก็จะตอบ ตอบมาตอนหนึ่ง พระอรหันต์ 500 รูปก็จะท่องจนจำได้

     หากอยากรู้ว่า ที่ท่องจำไปจำผิดหรือถูก วิธีการตรวจทานคือ นำพระอรหันต์ที่ร่วมสังคายนาในครั้งนั้นมาสวดพร้อมกัน 500 รูป เพราะฉะนั้นเสียงจะเป็นเสียงเดียวกันหมด ถ้ามีเสียงใดโด่ออกมา แสดงว่า เสียงนั้นจำผิด…ประเพณีการสวดมนต์จึงมีมาตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้”



ขอบคุณที่มา : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/8246.html#cxrecs_s
ฺัBy Minou 22 February 2017