ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรัยนถามเรื่อง บุญญฤทธิ์ กับ อิทธิฤทธิ์ ต่างกันอย่างไร คะ  (อ่าน 8587 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรัยนถามเรื่อง บุญญฤทธิ์ กับ อิทธิฤทธิ์ ต่างกันอย่างไร คะ
ตามคำถามนะคะ เพราะไม่เข้าใจว่า บุญญฤทธิ์ เกิดมาเพราะการฝึกฝนจากชาติก่อน ด้วยใช่หรือไม่คะ อิทธิฤทธิ์ ก็เป็นการสั่งสมมาและฝึกฝนเช่นกัน และ บุญญฤทธิ์ จะมีกับผู้ใดบ้างคะ ที่มีคุณสมบัติจะได้ บุญญฤทธิ์

 :s_hi: :c017: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าสนใจ นะคะ เพราะจะรู้ได้อย่างไร ? ว่าเราเป็นผู้มี บุญญฤทธิ์ และ บุญญฤทธิ์ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

 -ขอบคุณล่วงหน้า คะ อยากรู้ด้วยคน คะ :c017:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เกิดได้อย่างไร......เกิดเพราะเหตุเคยประกอบชอบในส่วนนั้น

   ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญเป็นไฉน
 พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จเหาะไปในอากาศพน้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ตลอดจนพวกปกครองม้าเป็นที่สุดนี้เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฤทธิ์ของโชติยคฤหบดี ฤทธิ์ของชฏิลคฤหบดี ฤทธิ์ของเมณฑกคฤหบดี ฤทธิ์ของโฆสิตคฤหบดี ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญมาก ห้าคน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญนี้ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ.
  ฤทธิ์สําเร็จด้วยวิชชาเป็นไหน
 พวกวิชชาธรร่ายวิชชาแล้วย่อมเหาะไปได้ แสงพลช้างบ้างพลม้าบ้ง พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆบ้าง ในอากาศกลางหาวนี้ฤทธิ์สําเร็จด้วยวิชชา.

        ความละกามฉันทะย่อมสําเร็จได้ด้วยเนขัมมะ  เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสําเร็จ เพราะเหตุแห่งความประกอบชอบในส่วนนั้นๆ

        ความละพยาบาทย่อมสําเร็จได้ด้วยความไม่พยาบาท

         ความละถีนมิทธะย่อมสําเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา

         ความละกิเลสทั้งปวงย่อมสําเร็จได้ด้วยอรหัตมรรค

          เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสําเร็จ เพราะเหตุแห่งความประกอบชอบในส่วนนั้น ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสําเร็จ เพราะเหตุแห่งความประกอบชอบในส่วนนั้น

   นํามาจาก ปัญญาวรรค อิทธิคาถา
      จากหนังสือ คู่มือกรรมฐานเล่มสอง อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค

              เรียบเรียงโดย  พระอาจารย์สนธยา ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

ปัญญาวรรค อิทธิกถา

     [๖๗๙] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิ บาท บท มูล แห่งฤทธิ์ มีอย่างละเท่าไร ฯ
     ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์เป็นอย่างไร ด้วยความว่าสำเร็จ
     ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์มีเท่าไร มี ๑๐ ภูมิแห่งฤทธิ์มี ๔ บาทมี ๔ บทมี ๘ มูลมี ๑๖ ฯ


     [๖๘๐] ฤทธิ์ ๑๐ เป็นไฉน ฯ
         ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๑
         ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ๑
         ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ๑
         ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๑
         ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๑
         ฤทธิ์ของพระอริยะ ๑
         ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม ๑
         ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๑
         ฤทธิ์ที่สำเร็จแต่วิชา ๑
    ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๑ ฯ

    [๖๘๑] ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ
         ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดวิเวก ๑
         ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข ๑
         ตติยฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข ๑
         จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งความไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ๑
    ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ
    เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ


    [๖๘๒] บาท ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ
        ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขาร ๑
        เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่ง ด้วยความเพียรและปธานสังขาร ๑
        เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขาร ๑
        เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร ๑
    บาท ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ ... เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ


    .......ฯลฯ..........ฯลฯ...........





    [๖๙๑] ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม..เป็นไฉน ฯ
    นกทุกชนิด เทวดาทั้งปวง มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวกมีฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม
    นี้ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม ฯ


     [๖๙๒] ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ..เป็นไฉน ฯ
     พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา
     ตลอดจนพวกปกครองม้าเป็นที่สุด นี้เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
     ฤทธิ์ของโชติยคฤหบดี ฤทธิ์ของชฏิลคฤหบดี ฤทธิ์ของเมณฑกคฤหบดี ฤทธิ์ของโฆสิตคฤหบดี
     ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญมาก ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
     นี้ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฯ


    [๖๙๓] ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชา..เป็นไฉน ฯ
     พวกวิชชาธรร่ายวิชชาแล้วย่อมเหาะไปได้
     แสดงพลช้างบ้าง พลม้าบ้าง พลรถบ้าง พลราบบ้าง
     แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง ในอากาศกลางหาว
     นี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชา ฯ

     .........ฯลฯ...........



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๐๐๙๐ - ๑๐๓๒๐. หน้าที่ ๔๑๙ - ๔๒๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=10090&Z=10320&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=67
ขอบคุณภาพจาก http://www.mahamodo.com/,http://2.bp.blogspot.com/



อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ปัญญาวรรค
๒. อิทธิกถา
(ยกมาแสดงบางส่วน)

      ในบทว่า ปญฺจนฺน มหาปญฺญาน ปุญฺญวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญนี้.
      มีความว่า พึงเห็นบุญฤทธิ์ของผู้มีบุญมาก ๕ คน ชน ๕ คนเหล่านี้
      ชื่อว่าผู้มีบุญมาก ๕ คือ
           เมณฑกเศรษฐี ๑
           นางจันทปทุมา ภริยาเมณฑกเศรษฐี ๑
           ธนัญชัยเศรษฐีบุตร ๑
           นางสุมนาเทวีสะใภ้ ๑
           นายปุณณทาส ๑
      ได้สะสมบุญญาธิการในพระปัจเจกพุทธเจ้า.


      ในชนเหล่านั้น เมณฑกเศรษฐีสร้างฉางไว้ ๑,๒๕๐ ฉาง ลูบศีรษะแล้วนั่งที่ประตู
      แหงนดูเบื้องบน สายข้าวสาลีแดงหล่นจากอากาศเต็มฉางทั้งหมด.

      ภริยาของเมณฑกเศรษฐีนั้นเอาข้าวสารประมาณทะนานหนึ่งหุงข้าว
      แล้วทำแกงในสูปะและพยัญชนะอย่างหนึ่ง ประดับด้วยเครื่องประดับทุกชนิด
      นั่งเหนืออาสนะที่ปูไว้ที่ซุ้มประตู ประกาศเรียกว่า ผู้มีความต้องการภัตตาหารทั้งปวงจงมาเถิด
      ถือทัพพีทองคำตักใส่ภาชนะที่คนมาแล้วๆ นำเข้าไปแล้วให้
      แม้เมื่อนางให้อยู่ตลอดวันก็ปรากฎเพียงถือเอาด้วยทัพพีคราวเดียวเท่านั้น.


     บุตรของเมณฑกเศรษฐีลูบศีรษะแล้วถือเอาถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ถุง
     ประกาศว่า ผู้มีความต้องการกหาปณะจงมาเถิด
     แล้วใส่ภาชนะที่คนมาแล้วๆ ให้ไป กหาปณะ ๑,๐๐๐ ถุงก็ยังอยู่

     สะใภ้ของเศรษฐีประดับด้วยเครื่องประดับทุกชนิด ถือเอาตะกร้าข้าวเปลือก ๔ ทะนาน
     นั่งบนที่นั่งประกาศว่า ผู้มีความต้องการพืชข้าวจงมาเถิด
     แล้วตักใส่ภาชนะที่คนถือมาแล้วๆ ให้ ตะกร้าก็ยังเต็มอย่างเดิม.


     ทาสของเศรษฐีประดับด้วยเครื่องประดับทุกชนิด เชือกทองคำเทียมโคที่แอกทองคำ
     ถือด้ามปฎักทองคำ ให้นิ้วทั้ง ๕ ของโคมีกลิ่นหอม สวมปลอกทองคำที่เขาทั้งสองข้างขับไปนา
     ไถรอยไถไว้ ๗ แห่ง คือ ข้างนี้ ๓ ข้างนี้ ๓ ท่ามกลาง ๑ แล้วไป.   
     ชาวชมพูทวีปถือเอาภัตร พืช เงินและทอง เป็นต้น จากเรือนเศรษฐีตามความชอบใจ.

     เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงภัททิยนครโดยลำดับ ผู้มีบุญทั้ง ๕
     และนางวิสาขาธิดาของธนัญชัยเศรษฐี ได้บรรลุโสดาปัตติผล ด้วยการฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
     นี้ฤทธิ์ของผู้มีบุญมาก ๕ คนเป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ.
     แต่โดยสังเขปความวิเศษแห่งความสำเร็จ ในการสะสมบุญ ที่ถึงความแก่กล้าเป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญ.



           
     
      พึงทราบวินิจฉัยในวิชชามยิมธินิเทศดังต่อไปนี้.
      ชื่อว่า วิชฺชาธรา เพราะทรงไว้ซึ่งวิชชาของชาวคันธาระ มีอาการให้สำเร็จ หรือวิชชาอื่นอันสำเร็จใกล้เคียง อันสำเร็จตามความปรารถนา.
      บทว่า วิชฺช ปริชปฺเปตฺวา ร่ายวิชชา คือร่ายวิชชาตามที่ใกล้เคียงด้วยปาก.
      .........ฯลฯ...........



ที่มา www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=679&p=3#วิชชามยิมธินิเทศ
ขอบคุณภาพจาก http://www.gmwebsite.com/,http://www.dhammajak.net


     ขออนุญาต "ท่าน aaaa" ขยายความนะครับ
      :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เรัยนถามเรื่อง บุญญฤทธิ์ กับ อิทธิฤทธิ์ ต่างกันอย่างไร คะ
ตามคำถามนะคะ เพราะไม่เข้าใจว่า บุญญฤทธิ์ เกิดมาเพราะการฝึกฝนจากชาติก่อน ด้วยใช่หรือไม่คะ อิทธิฤทธิ์ ก็เป็นการสั่งสมมาและฝึกฝนเช่นกัน และ บุญญฤทธิ์ จะมีกับผู้ใดบ้างคะ ที่มีคุณสมบัติจะได้ บุญญฤทธิ์

 :s_hi: :c017: :smiley_confused1:




อิทธิ ความสำเร็จ, ความรุ่งเรืองงอกงาม; อำนาจที่จะทำอะไรได้อย่างวิเศษ

ฤทธิ์ อำนาจศักดิ์สิทธิ์, ความเจริญ, ความสำเร็จ, ความงอกงาม, เป็นรูปสันสกฤตของ อิทธิ;
       ฤทธิ์ หรือ อิทธิ คือ ความสำเร็จ ความรุ่งเรือง มี ๒ คือ
           ๑. อามิสฤทธิ์ อามิสเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางวัตถุ
           ๒. ธรรมฤทธิ์ ธรรมเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางธรรม


บุญฤทธิ์ ความสำเร็จด้วยบุญ, อำนาจบุญ

อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ เช่น ล่องหน ดำดิน เหาะได้ เป็นต้น
                       (ข้อ ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓)


อิทธิวิธา, อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ เช่น นิรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว                     
                          ล่องหน ดำดิน เดินน้ำ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๓ ในวิชชา ๘)


วิชชา ๘ คือ
           ๑. วิปัสสนาญาณ ญาณในวิปัสสนา
           ๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ
           ๓. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
           ๔. ทิพพโสต หูทิพย์
           ๕. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้
           ๖. ปุพเพนิวาสานุสติ
           ๗. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ (=จุตูปปาตญาณ)
           ๘. อาสวักขยญาณ



ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://1.bp.blogspot.com/



อิทธิฤทธิ์
    น. อํานาจศักดิ์สิทธิ์; (ปาก) อำนาจ.


บุญฤทธิ์
    [บุนยะ-] น. ความสําเร็จด้วยบุญ.



ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒




ความเห็นของคุณ : romy.m จากเว็บ http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/009950.htm

    - บุญฤทธิ์ คือ บารมี 10 ทัศ มีศีล เป็นต้น สามารถบันดาลด้วยแรงอธิษฐานขอ
    - อิทธิฤทธิ์ เกิดจากการฝึกควบคุมพลังจิตจนเกิดอภิญญา แสดงฤทธิ์ด้วยพลังจิต




    คำว่า บุญฤทธิ์ คงไม่ต้องอธิบาย เพราะคำตอบมีความชัดเจนอยู่แล้ว
    ส่วนคำว่า อิทธิฤทธิ์ หากดูจาก วิชชา ๘ โดยเฉพาะข้อ ๒ ถึงข้อ ๗ พิจารณารวมๆ ต่างก็เป็นฤทธิ์ทั้งสิ้น


    แต่หากพิจารณาลงไปในรายละเอียด โดยเอา"กายหยาบของมนุษย์เป็นหลัก" จะเห็นว่า
    ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ระบุชัดเจนว่า
    คำว่า อิทธิวิธิหมายถึง แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ เช่น นิรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ล่องหน ดำดิน เดินน้ำ       
    นั่นหมายถึง อิทธิฤทธิ์ น่าจะเน้นที่ "การแสดงฤทธิ์ทางรูปขันธ์หรือทางกาย"
    ส่วนการแสดงฤทธิ์ทางอายตนะอื่นๆ เช่น ตา หู ใจ มีชื่อเฉพาะที่ต่างออกไป ดังรายละเอียดในวิชชา ๘


    ขอคุยเท่านี้นะครับ รู้สึกอึดอัด

     :25:
                         
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2012, 01:11:38 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ