ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำสมาธิ กับ การสะกดจิต คืออันเดียวกันใช่หรือไม่คะ  (อ่าน 11554 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การทำสมาธิ กับ การสะกดจิต คืออันเดียวกันใช่หรือไม่คะ
  คืิอเข้าใจว่าเป็นการสะกดจิต วิธีหนึ่ง และมีผู้อธิบายเป็นหมอจิตแพทย์ ( ขอสงวนนาม ) อธิบาย กรรมฐาน เป็นส่วนหนึ่งของ วิชาสะกดจิต คะ

- คลื่นสมอง
- การถอดรหัสคลื่นสมอง
- ภาษาของภาพ สัญลักษณ์ ค่านิยมที่มีในท้องถิ่
- psychic empathy
- สมาธิ
- การสร้าง Visualization

 จริง เท็จอย่าง วอนท่านผู้รู้ ให้ความรู้ด้วยนะคะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 17, 2012, 10:06:15 am โดย sunee »
บันทึกการเข้า

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะไม่เหมือนกัน นะครับ การสะกดจิต เป้าหมาย คือ ทำให้หลง สติ และ สัมปชัญญะ
แต่ สมาธิ นั้น ทำให้มี สติ และ สัมปชัญญะ สมบูรณ์ นะครับ

  :s_hi: :49:
บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การทำสมาธิ คือ การฝึกจิตครับ  ไม่ใช่การสะกดจิต นะครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


สะกดจิต คือ อะไร

บทที่ 1. รู้จักการสะกดจิต

ทำไมต้องสะกดจิต
       บทแรกนี้บางทีอาจอ่านเป็นวิชาการนิดหน่อย แต่ก็น่าสนใจมากเลย เพื่อให้เราสามารถเข้าใจการสะกดจิตมากขึ้น เราชี้ชัดลงไปไม่ได้ ว่าจิตคือส่วนใดของร่างกาย และมีหน้าที่อย่างไร แต่จิตมีอำนาจและอิทธิพลในการควบคุมระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย รวมไปถึงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และการทำงานของสมอง
        อาจเรียกว่า ร่างกายนั้นคือ รถ สมองคือ พวงมาลัย ตัวคนคือจิตนั่นเองเป็นผู้ถือพวงมาลัย สมองที่ขาดการควบคุมจากจิตก็เหมือนรถที่วิ่งไปโดยขาดคนถือพวงมาลัย หรือที่ขับไปโดยคนเมาไม่ได้สติก็จะวิ่งสะเปะสะปะเช่นกัน เปรียบได้กับจิตที่ไม่ปกติย่อมควบคุมสมองและระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายได้ไม่สมบูรณ์  จิตครอบครองการทำงานทั้งหมดของสมอง


จิตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 
      1. จิตสำนึก (CONSCIOUS  SCREEN) ครอบครองความสามารถและการทำงานของสมอง ร้อยละ 5   
      2. จิตใต้สำนึก (SUBCONSCIOUS) ครอบครองความสมารถและการทำงานของสมองร้อยละ 95 จิตใต้สำนึก คือ แหล่งข้อมูล ความทรงจำ และสิ่งควบคุมระบบอัตโนมัติของร่างกาย


     ความสำคัญอยู่ที่การทำงานและอิทธิพลของจิตใต้สำนึกที่มีในมนุษย์ ตัวอย่างเช่น เวลาเราโกรธ เลือดจะขึ้นหน้าและหน้าแดง  เวลาเรากลัวจะหน้าซีด  เวลาตกใจเหงื่อจะออก  และใจสั่น สิ่งเหล่านั้นคือการทำงานของอารมณ์  ซึ่งระบบการทำงานของร่างกายจะตอบสนองอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้นโดยอัตโนมัติ แต่ในสภาวะปกติเราไม่สามารถนึกที่จะให้ตัวเองหน้าแดง ให้หน้าซีด  เหงื่อออกหรือใจสั่น  ความจริงแล้วเราสามารถทำเช่นนั้นได้ ถ้ารู้วิธีและได้รับการฝึกฝนที่ถูกต้อง 





    คงเคยได้ยินว่า ในประเทศอินเดียมีโยคีที่สามารถสั่งให้หัวใจตัวเองเต้นช้าลงได้  เอาศีรษะทิ่มพื้นและขาชี้ฟ้าอยู่หลายวันโดยไม่เป็นอันตรายใดๆ  นั่นเป็นเพราะกระบวนการสะกดจิตหรือการสะกดจิตตนเองอย่างหนึ่ง  บวกกับการฝึกฝนมาพอสมควร  ก็จะสามารถควบคุมระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นไปอย่างต้องการได้  อารมณ์ต่างๆ ของมนุษย์มีปัจจัยหลัก 4 อารมณ์ คือ ความกลัว  ความกล้า  ความเกลียด  ความชอบ

     ทุกอารมณ์นอกเหนือจากนี้ก็มีที่มาจากอารมณ์ เหล่านี้ทั้งสิ้น ระดับและชนิดของปรากฏการณ์ที่แต่ละคนจะได้รับนั้นแตกต่างกัน เช่น คนบางคนกลัวตาย บางคนไม่กลัวตาย บางคนชอบกินของเผ็ด บางคนไม่ชอบ เหล่านี้เกิดจากประสบการณ์และการเก็บข้อมูล  ประสบการณ์และข้อมูลเหล่านนี้จะถูกเก็บลงจิตใต้สำนึก และจิตใต้สำนึกก็จะทำงานโดยอัตโนมัติที่เราไม่ได้สั่ง เช่น คนบางคนเห็นเลือดอาจจะหน้าซีดหรือเป็นลมไปเลย  โดยไม่จำเป็นต้องเห็นหรือรู้ว่าเป็นเลือดของใคร หรือตัวอะไร ทำไมถึงมีเลือด ฯลฯ

จิตใต้สำนึกจะเปิด เมื่อจิต ร่างกาย  และอารมณ์อยู่ในสภาวะต่อไปนี้
    - มีสมาธิ  (ขณะเข้าญาณ  หรือจิตใจจดจ่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างแรงกล้า)
    - อยู่ในภวังค์  (จิตใจล่อยลอยควบคุมไม่ได้ชั่วขณะ)
    - สภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น
    - จิตใจว่างเปล่า  (หยุดรู้สึก  หยุดนึก หยุดคิดไปชั่วขณะ)
    - ดีใจ  ตกใจ  เสียใจ  ตื่นเต้นสุดขีดจนลืมตัว  (อาการจนลืมตัวจะทำให้จิตใจว่างเปล่าไปชั่วขณะ)


     เวลาเราจำหรือท่องหนังสือนั้น เราจำผ่านจิตใต้สำนึก การท่องหนังสือหรือ ได้รับข้อมูลใดๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บในจิตใต้สำนึก  หรือหากเราใช้จิตใต้สำนึกในการจำจะจำได้ดีขึ้น

     ปัจจุบันมีการสร้างโปรแกรมวิธีเลี้ยงลูกให้เป็นอัจฉริยะด้วยวิธีพิเศษกับลูกเมื่ออยู่ในครรภ์ ตามทฤษฎีการสะกดจิตนั้น มีความเป็นไปได้ของสิ่งต่อไปนี้คือ 
      1. จิตใต้สำนึกจะจดจำได้ดีกว่าจิตสำนึก 
      2. จิตใต้สำนึกจะเปิดมากขึ้นเมื่อจิตสำนึกเปิดน้อยลง 
      3. จิตใต้สำนึกของบุคคลหนึ่งอาจต่อกับจิตใต้สำนึกของอีกบุคคลหนึ่งได้ ด้วยวิธีการสื่อสารทางจิต





      อาศัยความเชื่อนี้ ประกอบกับความเชื่อที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีจิตใต้สำนึก และจิตใต้สำนึกจะมีอยู่พร้อมกับการเกิดขึ้นของชีวิต  หรืออาจจะมีมาก่อนเกิดชีวิตเสียด้วยซ้ำ  ด้วยความเชื่อเหล่านี้เองจึงมีการคิดค้นวิธีสื่อสารกับเด็กที่อยู่ในครรภ์ขึ้น  ผู้เป็นแม่จะสอดแทรกความรู้สึกความคิดและปรับสภาพแวดล้อมต่างๆ  อย่างเป็นระบบเพื่อให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตไปในทิศทางที่ตนต้องการ

      การทำงานของจิตใต้สำนึกและความฝังใจยังอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ เช่น  คนบางคนกลัวแมว  ในขณะที่คนทั่วไปไม่กลัว  เด็กทั่วไปต้องผ่านประสบการณ์ครั้งแรกจะได้พบเห็นแมว  และส่วนใหญ่จะมีความสุข ประทับใจที่ได้เล่นกับลูกแมว ในขณะที่บางคนอาจได้พบในสภาวะที่ไม่เหมาะสม  เช่น  พบลูกแมวตัวเล็กมากๆ  แล้วเข้าไปเล่น  แม่แมวเพิ่งตกลูกออกมาใหม่อาจยังหวงลูก  เลยตะครุบเอาเด็กน้อยเข้าไป 

      ในวัยเด็กนั้น จิตใจมีความว่างเปล่ามากกว่า สภาวะนี้จิตใต้สำนึกเปิดง่ายอยู่แล้ว  ยิ่งอยู่ในสภาวะตกใจสุดขีดโดนแม่แมวตะครุบ  ความกลัวความตกใจนั้นจะส่งเข้าไปเก็บในจิตใต้สำนึก  และส่งผลให้เด็กคนนั้นเป็นคนกลัวแมวตลอดไปทันที  ซึ่งด้วยจิตสำนึกเอง  เขาจะลืมเหตุการณ์นั้นไปแล้วตามวันเวลาที่เปลี่ยนแปลง 

       แต่จิตใต้สำนึกจะไม่ลืม และจะส่งข้อมูลขึ้นมาสร้างอิทธิพลอยู่ตลอดเวลา ทั้งต่อระบบประสาท  ความรู้สึก  และอารมณ์ควบคู่กันไป  ยังมีปรากฏการณ์อีกมากที่สามารถใช้ทฤษฏีการสะกดจิตหรือการทำงานของจิตใต้สำนึกมาตอบคำถามได้  เช่นเรื่องการฝัน  อาการตื่นตกใจอย่างแรง  และสามารถยกของหนักขึ้นออกวิ่งได้ การเห็นภาพหลอนภาพลวงตา ฯลฯ





อะไร เรียกว่า สะกดจิต
     คำว่าสะกดจิต ได้รับการเผยแพร่จากนายแพทย์ชาวสก็อต ดร.เจมส์เบรด ในปี 1841 เบรดกล่าวว่า         
     ภวังค์ (Trance)  เกิดขึ้นเมื่อผู้รับการบำบัดอยู่ในสภาวะผ่อนคลายด้วยดวงตาที่ปิด และสภาพของการนอนหลับ  เขาเรียกสิ่งนี้ว่า การสะกดจิต (Hypnosis) 
      จากคำในภาษากรีกว่า "hypnos" คำดังกล่าวได้ไปแทนที่คำว่า “animal magnetism” 
      และ “mesmerism” ซึ่งไม่ถูกต้องในความหมายของการสะกดจิต ที่เข้าใจมาแต่โบราณนับพันปีก่อนยุคสมัยของเมสเมอร์ และไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องพลังงานของแม่เหล็ก

      น่าเสียดายที่เบรดให้คำจำกัดความไม่ถูกนัก จากที่เขากล่าวว่า ผู้ที่ถูกสะกดจิตจะอยู่สภาพของการนอนหลับ 
     ความจริงแล้วการสะกดจิตไม่ได้ทำให้นอนหลับ ตามที่ ดร.เฮอร์เบิร์ก สไปเกล ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการสะกดจิตกล่าวว่า 
     “การสะกดจิตไม่ได้ทำให้นอนหลับ การสะกดจิตคือ เป็นภาวะที่มีสมาธิสูงสุดระดับหนึ่ง”
     แต่การสะกดจิตก็ทำให้เกิดการนอนหลับได้ในบางสภาวะ โดยความเป็นจริงแล้วก็คือ   
     เป็นภาวะที่มีสมาธิสูงสุดจนสามารถหยุดการรับข้อมูลจากสภาวะแวดล้อมได้   
     สภาวะนี้คล้ายกับเวลาที่เราให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการอ่านหนังสือบางเล่ม 
     ถ้าหากเรามีความรู้สึกเข้าถึงหนังสือเล่มนั้นอย่างมาก 
     เราก็จะไม่รับรู้สภาพแวดล้อมรอบๆตัว แม้จะมีคนตะโกนเรียกก็จะไม่ได้ยิน





     การสะกดจิตจึงแตกต่างจากการนอนหลับ  เพราะผู้ที่ถูกสะกดจิตจะตื่นอยู่และรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว  คลื่นสมองจะอยู่ในสภาวะเหมือนคนตื่นมิได้อยู่ในสภาวะของคนหลับ  ในการนอนหลับจิตใต้สำนึกยังไม่ได้เปิดออก  แต่ในการสะกดจิต  จิตใต้สำนึกจะเริ่มเปิดและตอบสนองข้อมูลที่ได้รับ 
     แทนที่จะมองว่าการสะกดจิตคือ การนอนหลับ
     จะถูกต้องมากกว่าที่จะมองว่าการสะกดจิตคือ การรับข้อมูลด้วยจิตใต้สำนึก ในขณะที่การรับรู้ของภาวะจิตมีสมาธิอยู่ในระดับหนึ่ง 
     ข้อเท็จจริงก็คือ ความคิด ความอ่านในสภาวะถูกสะกดจิต  บางทีเหมือนอยู่ในสภาพว่างเปล่า และจดจ่ออยู่แต่เสียงและสิ่งที่ผู้ทำการสะกดบอกกล่าว และไม่ตอบสนองต่อเสียงอื่นๆ


     จิตสำนึกมีความสามารถในการวิเคราะห์เหตุผล  ในขณะที่จิตใต้สำนึกเป็นผู้ควบคุมวงจรความทรงจำ  มีความสามารถเฉพาะการจดจำเรื่องราวเท่านั้น เราจึงทำการสะกดจิตเพื่อสื่อสารกับจิตใต้สำนึก และเปลี่ยนแปลงหรือให้ข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการ วิธีการที่ให้ข้อมูลเรียกว่า Suggestion เบริ์นไฮม์ (Bernheim) ผู้บุกเบิกการสะกดจิตยุคใหม่กล่าวว่า “จริงๆแล้วไม่มีการสะกดจิตหรอก มีแต่ Suggestion”

    ความหมายของ Suggestion คือ การกระตุ้นให้เกิดการรับรู้อย่างหนึ่ง ames Drever กล่าวว่า             
    Suggestion คือ “ขบวนการทางจิตที่มีผลต่อการรับรู้และการตระหนักในการกระทำหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งเกิดจากการตอบสนองของคำพูด ทัศนคติ และการกระทำของคนอื่นๆ”


Suggestion มีด้วยกันอยู่ 4 ลักษณะ
    - Verbal   ภาษาคำพูด  รวมถึงการสื่อสารทุกชนิดที่ใช้เสียง
    - Non Verbal  ภาษาใบ้  คือ  การใช้ภาษาร่างกายและท่าทางต่าง ๆ
    - Intra  Verbal  คือ  การใช้เสียงระดับเดียวคล้ายเสียงสวดมนต์
    - Extra  Verbal  เป็นการใช้ร่วมกันระหว่างคำพูดและท่าทาง



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.thaihypno.com/content/viewContent.php?menu_id=192&page_id=2
http://image.ch7.com/,http://www.torakhong.org/,http://women.sanook.com/,http://images.thaiza.com/,http://2.bp.blogspot.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เงื่อนไขในการตรวจสอบการเข้าสู่ภวังค์ของการสะกดจิต
    1. CATALYPSY  กล้ามเนื้อหยุดการตอบสนอง พบเห็นใน 3 ระดับของการสะกดจิต
     2. AMNESIA อยู่ระหว่างลำดับขั้นที่ 3 ถึง 4 ไม่สามารถจัดลำดับหมายเลขได้ในขั้นที่ 3 และลืมหมายเลขในขั้นที่ 4
     3. ANESTHESIA อยู่ระหว่างระดับที่ 4 และ 5 ระดับที่ 4 เรียกว่า ANAL TESIA  ไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่ยังรู้ถึงการสัมผัส ในระดับที่ 5 จะไม่รับรู้การสัมผัสและความเจ็บปวด
     4. HALLUCINATIONS  ในระดับที่ 5 เรียกว่า POSITIVE HALLUCINATIONS เห็นและได้ยินสิ่งที่มีอยู่จริง (อาการหลอน) ในระดับที่ 6 เรียกว่า NEGATIVE HALLUCINATIONS  ไม่เห็นและไม่ได้ยินสิ่งที่มีอยู่จริง



การตรวจสอบความลึกของการสะกดจิต
     การตรวจสอบความลึกของการสะกดจิตใช้เมื่อจะทดสอบผู้รับการสะกดจิตใน 
     การทำฟัน ผ่าตัด และคลอดบุตร หรือเพื่อย้อนอดีต ภาวะเบาสบาย ใช้เมื่อต้องการจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  หรือใช้ในการบำบัดทางจิตวิทยา ในการทดสอบความลึกอย่าทดสอบข้ามลำดับขั้น



การที่เราจะตรวจสอบว่าคนที่ถูกสะกดเข้าสู่ภวังค์ของการสะกดจิตได้หรือไม่  มีดังนี้
     1. เปลือกตากะพริบถี่   
     2. แขนขาแข็ง   
     3. นับเลขไม่ครบ 
     4. เกิดอาการชาบางส่วน
     5. อาการหลอน   
     6. เห็นสิ่งที่มีอยู่หายไป





การใช้  SUGGESTION ที่ถูกต้องควรจะใช้หลัก 5P
     1. PESONAL ต้องเป็นเรื่องใกล้ตัว 
     2. POSITIVEคำพูดเป็นด้านบวกเสมอ
     3. PRESENTENSE   คำพูดเป็นปัจจุบันเสมอ 
     4. POSSIBLE  สิ่งที่พูดต้องเป็นไปได้เสมอ 
     5. PRACTICE  สิ่งที่พูดต้องปฏิบัติได้     

     เมื่อมนุษย์รู้และเข้าใจในการทำงานของจิตใต้สำนึก จึงพยายามแสวงหาวิธีควบคุมและสั่งการจิตใต้สำนึก  ด้วยกลวิธีที่สามารถเปิดจิตใต้สำนึกและเพิ่มหรือเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นไปตามที่ต้องการ

               

จิตใต้สำนึกจะเปิดเมื่อจิตร่างกายและอารมณ์อยู่ในสภาวะต่อไปนี้
    - มีสมาธิ (ขณะเข้าญาณ หรือใจจดจ่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งแรงกล้า)
    - อยู่ในภวังค์ (จิตใจล่องลอย ควบคุมไม่ได้ชั่วขณะ)
    - สภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น
    - จิตใจว่างเปล่า (หยุดรู้สึก หยุดนึก หยุดคิดไปชั่วขณะหนึ่ง)
    - ดีใจ ตกใจ เสียใจ ตื่นเต้นสุดขีดจนลืมตัว (อาการจนลืมตัวจะทำให้จิตใจว่างป่าวไปชั่วขณะ)   
     

     การสะกดจิต คือ  สภาวะที่ผู้ถูกสะกดตอบสนองต่อคำบอกกล่าว (SUGGESTION)
     ผู้ถูกสะกดจิตจะอยู่ในสภาวะยอมรับคำบอกกล่าวโดยอัตโนมัติ  ภายใต้สภาวะแวดล้อมและเงื่อนไขที่ผู้สะกดจิตทำขึ้น  โดยรวมแล้วผู้สะกดมักจะทำให้ผู้ถูกสะกดอยู่ในสภาวะเสมือนหลับลึก หรืออยู่ในภวังค์  (DEEP TRANCE) ที่กล่าวว่าเสมือนหลับลึกก็เพราะว่าผู้ถูกสะกดจะไม่หลับ  แต่ผู้ถูกสะกดรู้สึกว่าตนเองกำลังตอบสนองคำบอกกล่าว ผู้ถูกสะกดจะได้ยิน ได้เห็น และรู้สึกไปตามผู้สะกดจิตกำหนด 

     นอกจากนี้  ความทรงจำยังตื่นตัวก็จะถูกควบคุมเช่นเดียวกัน และการตอบสนองเหล่านี้ก็อาจยังคงอยู่แม้หลังการสะกดจิตไปแล้วก็ตาม  ดูคล้ายกับการสะกดจิตสามารถแยกผู้ถูกสะกดออกจากโลกแห่งความจริงในสภาวะหนึ่งๆ ได้ทีเดียว   
         




ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสะกดจิต
      ลักษณะนิสัยและความทรงจำจะถูกเก็บไว้ในจิตใต้สำนึก ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อลักษณะนิสัยและความทรงจำ เว้นแต่จะเข้าสู่จิตใต้สำนึกโดยตรง ในทางจิตวิทยามีการใช้การวัดคลื่นสมอง ตรวจสอบผู้ที่ได้รับการสะกดจิตพบว่า
      ผู้ที่เข้าสู่สภาวะหลับลึก คลื่นสมองจะมีการเคลื่อนไหวลดลงตั้งแต่ระดับ 7 รอบต่อวินาที ซึ่งในแต่ละระดับของคลื่นสมองแสดงประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกัน คือ
      - เบต้า (BETA) ความเร็ว 14 รอบต่อวินาที เป็นระดับเคลื่อนสมองในภาวะปกติ เป็นระดับการรับรู้ขณะที่เราตื่นเต็มที่ สามารถใช้ความคิดและแสดงความรู้สึกอารมณ์ต่างๆ ได้เต็มที่
      - อัลฟ่า (ALPHA) ความเร็ว 7 รอบต่อวินาทีเป็นระดับคลื่นสมองในสภาวะจิตเหม่อลอย ยังรู้สึกตัวและใช้สมองคิด ในภาษาไทยเรียกว่าอยู่ในภวังค์  จิตใจจะมุ่งเพ่งกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนลืมสิ่งอื่นๆไป
      - เธทต้า (THETA) ความเร็ว 4 รอบต่อวินาที เป็นระดับคลื่นสมองที่ค่อนข้างต่ำ อยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น อาจได้ยินและเห็นภาพ แต่จิตใต้สำนึกไม่อาจตอบสนองอย่างทันทีในสิ่งที่เกิด สภาวะนี้จิตใต้สำนึกเริ่มเปิด
      - เดลต้า (DELTA) ความเร็วต่ำ 4 รอบต่อวินาที เป็นระดับคลื่นสมองที่เกือบเป็นเส้นตรง  อยู่ในสภาวะหลับลึก จิตใต้สำนึกเปิดเต็มที่ ข้อมูลต่างๆที่ได้รับการถ่ายทอดในสภาวะนี้จะได้รับการบันทึกสู่จิตใต้สำนึก  (SOM-NAMBULISM)



วิธีเปิดจิตใต้สำนึก
     ขบวนการนี้สำคัญที่สุดในการสะกดจิต จะทำการสะกดจิตได้หรือไม่...ต้องผ่านขั้นตอนนี้ก่อน

    1. นั่งสมาธิ (หรือขบวนการอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน เช่นภาวะจิตจดจ่อ แน่วแน่) ความเข้าใจโดยพื้นฐานของการนั่งสมาธิคือ  การทำจิตใจให้ว่าง เป็นการกำหนดหรือสั่งไปที่จิตใต้สำนึก  ตามทฤษฏีการสะกดจิตตัวเองวิธีหนึ่ง แต่ความจำและลักษณะนิสัยจะเปลี่ยนแปลงไปยาก  เพราะมิได้ส่งข้อมูลโดยตรงไปสู่จิตใต้สำนึก 

      นอกจากนี้การนั่งสมาธิ  เมื่อรวมกับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่จะต้องมีสติอยู่เสมอ
      ซึ่งตีความ หมายถึง การรู้สึกตลอดเวลา (แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ หมายถึง การรับรู้อารมณ์ของตัวเองได้)
      ขัดกับความเข้าใจของทฤษฏีการสะกดจิตตรงที่มีสติอยู่เสมอ  ทำให้ประสาทการทำงานต่างๆของร่างกายตื่นตัว และคลื่นสมองอยู่ในสภาวะเบต้า หรือ อัลฟ่า ทำให้จิตใต้สำนึกไม่อาจเปิดได้อย่างเต็มที่ เว้นแต่อาจนั่งสมาธิฝึกฝนมาถึงระดับหนึ่งแล้ว เช่นมีภาวะจิตจดจ่อแน่วแน่ มีจิตที่นิ่งจนเข้าสู่ภาวะสงบอย่างแท้จริง


        2. อยู่ในภวังค์ (จิตใจล่องลอย ควบคุมไม่ได้ชั่วขณะ) เรากำหนดไม่ได้ว่าจะทำให้ตัวเองอยู่ในภวังค์เมื่อไหร่  การสะกดจิตโดยผู้ถูกสะกดไม่รู้ล่วงหน้า  อาจทำให้ผู้ถูกสะกดอยู่ในภาวะดังกล่าวได้ง่ายกว่า

        3. สภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น  จิตใต้สำนึกของคนทั่วไปจะเปิดเมื่ออยู่ในสภาวะนี้  การฝันเกิดขึ้นจากข้อมูลบางอย่างยังค้างอยู่  และถูกบันทึกลงในจิตใต้สำนึกเมื่อเราอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น  จิตใต้สำนึกเมื่อได้รับข้อมูลแล้วจะทำงานทันที  จิตใต้สำนึกจึงทำงานสะเปะสะปะ การฝันเป็นขบวนการทำงานอย่างหนึ่งของจิตใต้สำนึก

        4. จิตใจว่างเปล่า (หยุดรู้สึก หยุดนึก  หยุดคิดไปชั่วขณะหนึ่ง) ใครๆก็อาจอยู่ในภาวะจิตใจว่างเปล่าได้  การสะกดจิตสามารถทำให้กดจิตอยู่ในภาวะว่างเปล่าไปชั่วขณะหนึ่ง  และในขณะนั้นเองจิตใต้สำนึกจะเปิด

        5. ดีใจ เสียใจ ตกใจ ตื่นเต้นสุดขีดจนลืมตัว (อาการจนลืมตัว  จะทำให้จิตใจว่างเปล่าไปชั่วขณะ)  เราไม่สามารถควบคุมอาการรุนแรงทางอารมณ์เหล่านี้ได้  และเป็นอันตรายที่จะใช้ภาวะดังกล่าวในการสะกดจิต





ทำไมต้องเปิดจิตใต้สำนึก
     จิตใต้สำนึกเป็นแหล่งควบคุมลักษณะนิสัย  ความรู้สึก  นึกคิด  และกระบวนการทำงานของระบบประสาทของร่างกาย  สภาวะทางจิตของมนุษย์อาจปรวนแปร  หรือเสื่อมสมรรถภาพ  หรือสูญเสียการควบคุม  ลักษณะนิสัย  ความรู้สึกนึกคิด  รวมไปถึงกระบวนการทำงานของระบบประสาทของร่างกาย  จิตที่อยู่ในสภาพดังกล่าวต้องได้รับการบำบัดและแก้ไขให้คืนสภาวะปกติโดยเร็วที่สุด  การเปิดจิตใต้สำนึกเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ย่อมทำได้ดีกว่าการบำบัดด้วยวิธีอื่นๆ


ประโยชน์ของการสะกดจิต
      ถ้ารู้การสะกดจิตแล้วไม่รู้ถึงคุณประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางไม่ได้  ก็เหมือนวิธีเล่นกลไพ่พื้นๆ  เอามาเล่นหลอกกันสนุก ๆ  ในวงเหล้า  ถ้าจะตอบคำถามอย่างสรุปได้ใจความที่สุด  ว่าการสะกดจิตคือไร  การสะกดจิตทำให้เกิดอุปทาน  ให้เชื่อและคิดไปตามสิ่งที่เห็นและรู้สึก  ที่ผ่านมาเราเข้าใจกันว่าอุปทานมักเกิดขึ้นเองและมักไม่ค่อยดีหรือไม่มีประโยชน์

      เช่น เกิดอุปทานว่าป่วยไม่สบาย หรืออุปทานว่าจะเกิดความล้มเหลวในการทำงาน  ในทางกลับกันนักสะกดจิตรุ่นแรกๆ ในยุโรปใช้การสะกดจิตทำให้ผู้ป่วยเกิดอุปทานว่าตัวเองหายป่วยไข้แล้ว หรืออาการเจ็บป่วยกำลังทุเลา ปรากฏว่าคนที่ป่วยประเภทปวดหัวตัวร้อน เครียด นอนไม่หลับ  ามารถหายได้เป็นปลิดทิ้งอย่างน่าอัศจรรย์  การสะกดจิตจึงเป็นที่สนใจและศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นเรื่องเป็นราวมาตั้งแต่นั้น

      เรามักได้ยินเรื่องราวสนุกๆของคุณป้าที่อยู่บ้านคนเดียวแล้วเหงา  เลยหาเรื่องป่วยไข้มาหาหมออยู่เรื่อย  โดยอ้างว่าเป็นโรคนอนไม่หลับ หมอก็ให้ยาไปบ่อยมาจนเห็นว่าคุณป้าไม่น่าจะรับยานอนหลับมากไปกว่าที่เป็นอยู่  เพราะมีผลข้างเขียงที่ไม่ดีตามมา

      ครั้งหนึ่งก็เลยให้น้ำตาลอัดเม็ดไป แล้วบอกคุณป้าว่ายานี้เป็นยาใหม่กินแล้วนอนหลับดีกว่าเดิม 
      ปรากฏว่าคุณป้าก็ยังมาหาหมอและเอ่ยชมสรรพคุณยาว่าดีกว่าเก่าจริงๆ  คุณป้ารับน้ำตาลอัดเม็ดไปกินโดยเข้าใจว่าเป็นยานอนหลับนานนับปี  กระทั่งเกิดอาการป่วยไข้อย่างใหม่คือเป็นโรคเบาหวาน  เพราะมัวแต่กินน้ำตาลอัดเม็ดที่ได้มาจากหมอ



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.thaihypno.com/content/viewContent.php?menu_id=192&page_id=2
http://2.bp.blogspot.com/,http://www.dtawanbooks.com/,http://image.zazana.com/,http://images.thaiza.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 06, 2012, 01:41:36 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
การทำสมาธิ กับ การสะกดจิต คืออันเดียวกันใช่หรือไม่คะ
  คืิอเข้าใจว่าเป็นการสะกดจิต วิธีหนึ่ง และมีผู้อธิบายเป็นหมอจิตแพทย์ ( ขอสงวนนาม ) อธิบาย กรรมฐาน เป็นส่วนหนึ่งของ วิชาสะกดจิต คะ

- คลื่นสมอง
- การถอดรหัสคลื่นสมอง
- ภาษาของภาพ สัญลักษณ์ ค่านิยมที่มีในท้องถิ่
- psychic empathy
- สมาธิ
- การสร้าง Visualization

 จริง เท็จอย่าง วอนท่านผู้รู้ ให้ความรู้ด้วยนะคะ


     คำถามนี้ เกินปัญญาครับ และผมก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะตอบได้
     สิ่งที่กล่าวต่อไปนี้ แค่คุยเป็นเพื่อน ห้ามนำไปเป็นบรรทัดฐานหรืออ้างอิงใดๆ

กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ,
       วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ

           สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑
           วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑

           (นิยมเขียน กรรมฐาน)

       

ภาพจาก http://4.bp.blogspot.com/


ในที่นี้ขอกล่าวเพียง "สมถกัมมัฏฐาน" เท่านั้น
    ๑. กัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ กองที่บาลีกล่าวไว้นั้น ต้องปฏิบัติด้วยตัวเอง ไม่มีบุคคลอื่นมาเกี่ยวข้อง ข้อนี้เป็นความแตกต่างที่ชัดเจน ระหว่างสะกดจิตและกรรมฐาน

    ๒. สมถกรรมฐาน หากพูดให้ตรงๆ ก็คือ สมาธิ สมาธิมีหลายประเภท ในที่นี้ขอกล่าวเพียง "สัมมาสมาธิ" เท่านั้น เนื่องจากในบาลีอธิบายไว้เฉพาะสัมมาสมาธิเท่านั้น สมาธิที่อยู่ในชั้นอรรถกถาไม่ขอกล่าวถึง
    สัมมาสมาธิ คือ ฌานสี่ อารมณ์ของฌานต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
           - วิตก(ตรึก)
           - วิจาร(ตรอง)
           - ปีติ(อิ่มใจ)
           - สุข(สบายใจ)
           - เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
    ดังนั้น หากการสะกดจิตไม่มีอารมณ์ตามองค์ ๕ นี้ ก็ไม่ควรกล่าวว่า การสะกดจิตเป็นกรรมฐาน


    ๓. ตามบทความที่นำเสนอข้างต้น กล่าวไว้ว่า การสะกดจิตได้หรือไม่...ต้องผ่านขั้นตอนนี้ก่อน คือ
           - มีสมาธิ (ขณะเข้าญาณ หรือใจจดจ่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งแรงกล้า)
           - อยู่ในภวังค์ (จิตใจล่องลอย ควบคุมไม่ได้ชั่วขณะ)
           - สภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น
           - จิตใจว่างเปล่า (หยุดรู้สึก หยุดนึก หยุดคิดไปชั่วขณะหนึ่ง)
           - ดีใจ ตกใจ เสียใจ ตื่นเต้นสุดขีดจนลืมตัว (อาการจนลืมตัวจะทำให้จิตใจว่างป่าวไปชั่วขณะ)
 



 

     ข้อแรก มีสมาธิ (ขณะเข้าญาณ หรือใจจดจ่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งแรงกล้า)
             ข้อนี้บอกว่า เข้าญาณ หากนำเอา ญาน ๑๖ มาอธิบาย ก็ต้องบอกว่า
             การอยู่ในวิปัสสนาญาณจิตต้องมีลักษณะ ที่ เบา นุ่มนวล ควรแก่การงาน คล่องแคล้ว และซื่อตรง         
             ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า "ใจจดจ่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งแรงกล้า"

    ข้อสอง อยู่ในภวังค์ (จิตใจล่องลอย ควบคุมไม่ได้ชั่วขณะ)
             ข้อนี้ชัดเจนครับ ภวังค์ไม่ใช่สัมมาสมาธิ

    ข้อสาม สภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น
             ข้อนี้ก็ชัดเจน ไม่ใช่สัมมาสมาธิแน่นอน

    ข้อสี่    จิตใจว่างเปล่า (หยุดรู้สึก หยุดนึก หยุดคิดไปชั่วขณะหนึ่ง)
             ข้อนี้หากตีความตามตัวหนังสือ จะเป็น อรูปฌาน(เช่น กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)

    ข้อห้า   ดีใจ ตกใจ เสียใจ ตื่นเต้นสุดขีดจนลืมตัว
             ข้อนี้เป็นนิวรณ์ อยู่ตรงข้ามกับ สัมมาสมาธิ

             

    ขอให้พิจารณาเอาเองนะครับ ผมคงคุยเป็นเพื่อนได้เท่านี้ รู้สึกเหนื่อยและอึดอัดมาก

     :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 06, 2012, 08:44:07 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ข้อมูล ดี มาก ๆ เลยคะ กว่าจะอ่านจบ

 :c017: :25:
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นกระทู้ บทความที่มีเรื่องราว น่าอ่านมากครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นด้วยครับ ขอบคุณผู้ตอบครับ

  :c017:
บันทึกการเข้า